สื่อด้วยจิต หรือคุณเป็นจิตเภท !!!

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย คิดดีจัง, 16 ตุลาคม 2011.

  1. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    เพื่อนสมาชิคลองอ่านข้อมูลเรื่องจิตเภทกันดูนะครับ เพื่อจะได้ข้อมูลในเรื่อง

    อาการของจิตจากสมาธิ หรือ เป็นโรคจิตเภทกันแน่

    จะได้ไม่หลงเข้าใจผิด หรือหลงเชื่อใครง่ายๆครับ

    ขอบคุณข้อมูลมาจากเวปผู้จัดการนะครับ

    จิตเภท (schizophrenia) เป็นอาการผิดปรกติทางจิตใจที่นักจิตวิทยาชาวเยอรมันชื่อ Emil Kraepelin (2399-2469) ได้ศึกษาเป็นคนแรก แต่ในสมัยนั้นเขาเรียกอาการผิดปรกติทางจิตชนิดนี้ว่า dementia praecox ซึ่งแปลว่า การเสื่อมสลายของสมองในวัยเยาว์ จิตเภทจึงตรงข้ามกับ senile dementia ซึ่งเป็นอาการสมองเสื่อมในวัยชรา

    ในปี 2457 Eugen Bleuler นักจิตวิทยาชาวสวิสได้เรียกชื่อโรคจิตนี้ใหม่ว่า schizophrenia ซึ่งเป็นคำสนธิระหว่าง schizen ในภาษากรีกที่แปลว่า จิตใจ ทั้งนี้เพราะ Bleuler เห็นผู้ป่วยมีความนึกคิดและอารมณ์ที่แตกแยก ไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรม เช่น อยู่ในโลกหลอน หลงผิดคิดว่าตนเป็นเทพเจ้า หรือเป็นบางคนที่กลับชาติมาเกิด บ้างก็อ้างว่าได้ยินเสียงแว่วสั่งให้ทำโน่นทำนี่ และมักมีความคิดแตกแยกกระจัดกระจายจนทำให้พูดจาวกวนไม่รู้เรื่อง บางคนเวลาอาการกำเริบ จะใช้คำพูดที่ไม่มีใครใช้กัน บางคนหัวเราะหรือร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล แต่บางเวลาก็วางเฉย ไม่มีอารมณ์ยินดียินร้าย และไม่พูดจาเลย เอกลักษณ์ที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของจิตเภท คือ ชอบแยกตัวจากสังคม เก็บตัวและนั่งเหม่อลอยอย่างไม่อินังขังขอบเรื่องแต่งตัว และเวลาเห็นคนอื่นสนทนากัน คนที่เป็นจิตเภทก็มักคิดว่าพวกเขากำลังนินทาตน อาการระแวงเช่นนี้ทำให้หลงคิดว่าตนกำลังถูกปองร้ายอยู่ร่ำไป

    เพราะอาการของจิตเภทมีหลากหลาย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจที่พบว่า 1% ของประชากรโลกเป็นโรคจิตชนิดนี้ (ไม่มากก็น้อย) และถ้าสถิติขององค์การอนามัยโลกถูกต้อง นั่นหมายความว่า คนไทย 6 แสนคนกำลังป่วยเป็นจิตเภท ณ วันนี้ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจิตเภททำให้รู้ว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นจิตเภทได้มากกว่าผู้หญิง และคนที่เป็นมักมีอายุน้อยกว่า 45 ปี

    สถานภาพของคนป่วยในสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า 10% ของคนป่วยเคยพยายามฆ่าตัวตายอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และแม้ว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะแต่งงาน แต่ในที่สุดชีวิตสมรสก็ล้มเหลวด้วยการหย่า เพราะฝ่ายที่เป็นจิตเภทต้องการแยกตัว คือไม่อยากให้ใครมา “วุ่นวาย” ในชีวิตตน สถิติการสำรวจยังแสดงให้เห็นอีกว่า ผู้ป่วยจิตเภทมักติดยาเสพติด คือ 60% ติดเหล้า บุหรี่ กัญชา หรือโคเคน ดังนั้นเมื่อต้องการเสพยาก็จะคลุ้มคลั่งทำร้ายคนอื่น และผู้ที่เป็นโรคมีเพียง 15% เท่านั้นที่ยอมรับว่าตนป่วย และเข้ารับการบำบัดโดย 20% จะหายขาด 60% จะมีอาการดีขึ้น ส่วน 20% ที่เหลือจะป่วยด้วยโรคนี้ตลอดชีวิต ข้อสังเกตอีกประเด็นหนึ่งคือ 60% ของผู้ป่วยมีฐานะยากจน และ 20% ไม่มีบ้านของตนเอง แม้ข้อมูลนี้จะบ่งชี้ให้เห็นว่า ชีวิตของผู้ป่วยเป็นจิตเภทจะด้อยคุณภาพ แต่มีกรณียกเว้น เช่น John Forbes Nash นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลประจำปี 2537 ซึ่งล้มป่วยเป็นจิตเภท แต่ได้รับการรักษาจนหาย ส่วนกรณีที่ตรงข้ามกับ Nash คือ Andrea Yates ฆาตกรจิตเภทที่ฆ่าลูก 5 คนด้วยการกดศีรษะลูกในน้ำจนตาย และขณะนี้กำลังติดคุกชดใช้กรรมอยู่

    ในการค้นหาสเหตุที่ทำให้คนเป็นจิตเภท นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และวิธีการเลี้ยงดู มีบทบาทสำคัญในการทำให้คนเป็นจิตเภท เพราะได้พบว่า ในกรณีการเลี้ยงดู ถ้ามารดาเลี้ยงลูกแบบประคบประหงมยิ่งกว่าไข่ในหิน คือรับเป็นธุระดูแลให้ทุกเรื่อง ตั้งแต่ช่วยอาบน้ำจนถึงช่วยทำการบ้าน จนเด็กรู้สึกว่าตนไม่จำเป็นต้องมีใครอีกแล้วในโลกนี้ แม่ประเภทนี้สามารถทำให้ลูกเป็นจิตเภทได้ แต่ในทางตรงกันข้าม พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบปากกับมือไม่สัมพันธ์กัน เช่น ปากบอกว่ารัก แต่มือก็ฟาดเอาๆ การสื่อความรักลักษณะนี้ทำให้เด็กรู้สึกสับสน เพราะไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งมีผลทำให้เด็กรู้สึกทั้งรักและเกลียดพ่อแม่ปนกัน หรือในกรณีที่พ่อแม่ทะเลาะกันให้ลูกเห็นตลอดเวลา แล้วต่างฝ่ายก็จะเอาลูกเข้าข้างตน การกระทำเช่นนี้จะทำให้ลูกรู้สึกสับสนเพราะไม่รู้ว่าจะวางตัวอย่างไร วิธีการเลี้ยงลูกแบบสุดขั้วจึงมีส่วนทำให้ลูกป่วยทางใจโดยพ่อแม่ไม่รู้ตัวหรือไม่ตั้งใจ

    พันธุกรรมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีบทบาทในการทำให้คนป่วยเป็นจิตเภท เพราะได้พบว่า คนที่มีญาติสายตรง (ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่) ซึ่งป่วยเป็นจิตเภท จะมีโอกาสเป็นจิตเภทสูงกว่าคนที่ไม่มีญาติป่วยเป็นจิตเภทถึง 10 เท่า ลูกชายของ Nash ก็ป่วยเป็นจิตเภท ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันก็พบว่า ถ้าฝาแฝดคนหนึ่งป่วย โอกาสที่แฝดอีกคนจะป่วยมีสูงตั้งแต่ 30-40% ด้วยเหตุนี้คนที่กำลังจะแต่งงาน จึงควรตรวจสอบประวัติการป่วยทางใจของคู่สมรส เพื่อป้องกันมิให้ทายาทมีปัญหาทางจิตใจในภายหลัง เพราะผู้ป่วยจิตเภทจะไม่สามารถทำหน้าที่บิดามารดาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนั่นก็หมายความว่า ความเชื่อที่ว่า “บ้าแบบนี้ แต่งงานแล้วจะหาย” เป็นความเชื่อที่ไม่สมควรปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง

    ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดปรกติของร่างกาย ในปี 2535 P.C. Fletcher แห่ง Institute of Neurology ในลอนดอนได้ใช้อุปกรณ์ Positron Emission Tomography (PET) ตรวจสมองส่วนที่เรียกว่า dorsolateral prefrontal cortex ของคนป่วยจิตเภทขณะครุ่นคิดปัญหาและได้พบว่า สมองส่วนนี้มีเลือดไหลวนไม่มากเท่าสมองของคนปรกติ นอกจากนี้สมองส่วน amygdala, hippocampus และ parahippocampal gyrus ของผู้ป่วยก็มีขนาดเล็กกว่าของคนปรกติด้วย เขาจึงคิดว่าความผิดปรกติของโครงสร้างสมองเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนป่วยเป็นจิตเภท

    ในปี 2538 D. Silbergsweig แห่ง Cornell Medical Centre ที่นิวยอร์ก ได้ใช้เทคโนโลยี PET ศึกษาสมองของคนที่เป็นจิตเภทขณะเห็นภาพหลอน หรือได้ยินเสียงแว่ว และก็ได้พบว่าสมองส่วน prefrontal cortex ไม่สามารถบอกผู้ป่วยได้ว่า สิ่งที่เห็นหรือได้ยินเป็นของจริงหรือภาพลวงกันแน่ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า การที่สมองส่วนนี้ทำงานบกพร่องเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยสับสน เพราะสมองของผู้ป่วยได้สร้างภาพหรือเสียงขึ้นเอง ทั้งๆ ที่ภาพจริงหรือเสียงจริงไม่มี

    ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า คนป่วยเป็นจิตเภทเพราะสมองมี dopamine ที่เซลล์ประสาทใช้ในการติดต่อกันมากผิดปรกติ แต่การวิจัยที่กระทำในระยะเวลาต่อมาแสดงให้เห็นว่า ความมากผิดปรกติของ dopamine เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนบางคนป่วย เพราะในวารสาร Scientific American ฉบับเดือนมกราคม 2547 D.C. Javitt และ J.T. Coyle แห่ง New York University School of Medicine ได้รายงานว่า ในสมองของผู้ป่วยหลายคนมีโมเลกุล glutamate ที่เซลล์ประสาทใช้ในการส่งสัญญาณน้อยกว่าปรกติ ข้อมูลนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ตระหนักว่า จิตเภททำร้ายสมองหลายส่วน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ในการรักษา แพทย์จะต้องให้ผู้ป่วยกินยาที่ช่วยเพิ่มปริมาณ glutamate และลด dopamine ในสมอง

    ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 12 ธันวาคม 2546 J. McGrath แห่ง Queensland Centre for Schizophrenic Research ที่เมืองบริสเบนในออสเตรเลีย ได้รายงานว่า การขาดวิตามิน D คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเป็นจิตเภท เพราะได้ทดลองให้หนูตัวเมียที่ตั้งท้องกินอาหารที่มีวิตามิน D น้อย แล้วพบว่า ลูกหนูที่เกิดจากแม่หนูเหล่านั้นมีอาการจิตเภท โดยเวลาลูกหนูได้ยินเสียงเบาๆ แล้วต่อมาให้ได้ยินเสียงดัง ซึ่งหนูปรกติจะไม่ตกใจ แต่ถ้าเป็นหนูที่มีอาการจิตเภทจะให้มันได้ยินเสียงอะไรก่อนหรือหลังมันตกใจหมด การตรวจสมองหนูที่ขาดวิตามิน D ได้พบว่า มีโพรงสมองค่อนข้างใหญ่กว่าปรกติถึง 30% ดังนั้น McGrath จึงคิดว่า การที่ร่างกายขาดวิตามิน D น่าจะทำให้คนเป็นจิตเภทได้ McGrath เชื่อในสมมุติฐานนี้มาก เมื่อสถิติการสำรวจแสดงว่า คนเมืองเป็นจิตเภทสูงกว่าคนชนบท และลูกของแม่ที่มีผิวคล้ำ ดำ หรือน้ำตาล เป็นจิตเภทมากกว่าลูกของแม่ที่มีผิวขาว เขาก็ยิ่งมั่นใจว่า การขาดวิตามิน D เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเป็นจิตเภท เพราะร่างกายมนุษย์ตามปรกติได้วิตามิน D จากแสงแดดเพราะเวลาอยู่กลางแดด รังสีอัลตราไวโอเลต B จากดวงอาทิตย์จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุล 7-dehydrocholesterol ที่มีในผิวหนัง สร้างวิตามิน D ให้แก่ร่างกาย แต่คนเมืองมักไม่ถูกแสงแดด ดังนั้นร่างกายจึงขาดวิตามิน D ส่วนหญิงมีครรภ์ที่มีผิวคล้ำ ผิวหนังจะทำหน้าที่ดูดกลืนแสงอัลตราไวโอเลต B ได้ไม่ดี ดังนั้นลูกที่คลอดจึงขาดวิตามิน D และนี่ก็คือเหตุผลที่ McGrath ใช้อธิบายกรณีลูกของหญิงชาว Suriname และ Afro-Caribbean มีโอกาสเป็นจิตเภทค่อนข้างสูง

    ดังนั้นถ้าความคิดของ McGrath ถูกต้องนั่นก็หมายความว่า แพทย์สามารถป้องกันเด็กมิให้เป็นจิตเภทได้ตั้งแต่เขายังอยู่ในท้อง โดยให้แม่กินวิตามิน D เสริม หรือให้แม่ที่ตั้งครรภ์อาบแดดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ10-15 นาทีหรือกว่านั้นถ้าแม่เป็นคนผิวคล้ำ ส่วนแม่ที่ร่างกายขาดวิตามิน D หากจะให้ลูกดื่มนมจากเต้า แม่ก็ต้องกินวิตามิน D จนมั่นใจว่า ลูกได้วิตามิน D 200 IU (International Unit) ต่อวัน ลูกก็จะปลอดภัยจิตเภทและจากโรคกระดูกอ่อน แต่ข้อควรระวังคือ แม่ที่มีครรภ์ไม่ควรบริโภควิตามิน D มากจนเกินไป เพราะวิตามิน D ปริมาณมากจะทำให้ลูกที่คลอดมีร่างกายผิดปรกติ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์เวลาจะกินวิตามิน D เสริม และควรรู้ด้วยว่าการตากแดดมากเกินไปอาจทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง (melanoma) ได้

    สำหรับการตรวจว่าใครกำลังจะเป็นจิตเภทนั้น W. Brewer แห่งมหาวิทยาลัย Melbourne ในออสเตรเลียได้พบว่า นอกจากจะเห็นภาพหลอนหรือหูได้ยินเสียงแว่วแล้ว คนป่วยจิตเภทยังมีอาการผิดปรกติด้านการดมกลิ่นด้วย เช่นไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างกลิ่นพิซซ่ากับกลิ่นส้ม หรือกลิ่นหมากฝรั่งกับกลิ่นควันได้ Brewer ได้รายงานในวารสาร The American Journal of Psychiatry ฉบับที่ 160 ปี 2546 ว่า ในการทดสอบกับคนที่มีโอกาสเป็นจิตเภท 81 คน เป็นเวลา 2 ปี เขาพบว่ามี 12 คนที่ประสบปัญหาเรื่องกลิ่นและเป็นจิตเภทในเวลาต่อมา การวิเคราะห์คนว่าเป็นจิตเภทหรือไม่ด้วยวิธีการทดสอบของ Brewer จึงเป็นวิธีที่รวดเร็วและมีราคาถูกกว่าวิธีตรวจสมองโดยใช้ PET

    โดยสรุปเราจึงเห็นได้ว่า แม้โลกจะรู้จักจิตเภทมานานร่วม 100 ปี แต่แพทย์ก็ยังไม่รู้สาเหตุชัดเจน ดังนั้นเราจึงยังไม่มียาหรือวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพ 100% แต่เราก็รู้ว่า คนที่เป็นจิตเภทถ้าได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ จะมีโอกาสหาย การปล่อยทิ้งจนเรื้อรังจะทำให้รักษายาก และตามปรกติคนที่เป็นมักปฏิเสธว่าตนไม่เป็น ดังนั้นคนใกล้ชิดจะต้องใช้กุศโลบายเกลี้ยกล่อมให้เขาเข้ารับการรักษา ซึ่งแพทย์อาจให้กินยาหรือฉีดยาแต่จะนานแค่ไหนก็ขึ้นกับความรุนแรงของโรค อายุที่เริ่มเป็น สาเหตุที่ป่วย ความเรื้อรัง การตอบสนอง และความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยกับญาติ การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด อาจทำได้โดยการพูดคุยกับคนไข้ ให้คนไข้ทำกิจกรรมกลุ่ม และฟื้นฟูสภาพจิตใจให้เปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับอาการป่วยของตน ให้คิดทำงาน ให้ทำตัวไม่ให้เป็นภาระของคนรอบข้าง ส่วนคนที่เป็นญาติก็ต้องให้กำลังใจ ให้ความใส่ใจ ให้คนไข้กินยาสม่ำเสมอ และให้ความรู้ เขาก็อาจจะหาย

    สุทัศน์ ยกส้าน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    "หนังสือ "สุดยอดนักเคมีโลก"
    โดย ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
    มีจำหน่ายที่ศูนย์ประชุมสิริกิตติ์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 5 - 16 ตุลาคมนี้
    ที่บูธสำนักพิมพ์สารคดี ในราคา 199 บาท จากราคาปก 240 บาท"




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. อหิงสะกะ

    อหิงสะกะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +82
    กระทู้ดีนะเนี่ย
    เอาหละครับ เพื่อนๆก็ลองอ่านและศึกษาในแง่มุมของวิทยาศาสตร์กันด้วยนะจ๊ะ
    มันจึงจะได้ชื่อว่าวิทยาศาสตร์ทางจิตจ้ะ
     
  3. wลังlnw

    wลังlnw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +108
    เรียนคุณคิดดีนะ,

    ขอขอบคุณกับข้อความของคุณนับว่ามีประโยชน์มากเลยจ้ะ แต่ไม่ทราบว่าคุณพอทีจะมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสรุปของJ. McGrathว่าการขาดวิตมินดีคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเป็นจิตเภท มากกว่าที่มีในข้อความที่ลงไหมจ้ะ เพราะนี่คือข้อมูลที่น่าสนใจ อีกประการหนึ่งระยะเวลาจากการที่นิตยสารดังกล่าวได้ลงข้อมูลนี้มา นานพอสมควร น่าที่จะมีข้อมูลมาเสริมเพื่อสนับสนุนว่าข้อมูลของ
    J. McGrathมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือจริง

    เพราะนับตั้งแต่ที่เราๆท่านๆได้รับข้อมูลมาว่าการขาดวิตมินดีมิใช่แบบที่กล่าวอ้างในหนังสือดังกล่าว
    เท่าที่ทราบหากการรับวิตมินดีในปริมาณที่เหมาะสม จะเกิดคุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากรับมากเกินไปหรือน้อยไปก็จะมีโทษ
    อีกประการหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ก็อาจมีผลกระทบ....



    โดยส่วนตัวเห็นว่านักวิทยาศาสตร์ในไทยคงต้องร่วมมือกับนักจิตวิทยาศึกษาในเรื่องนี้เพิ่มเติมเพราะว่าเป็นสิ่งน่าสนใจ

    ดังจะเห็นได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้


    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    วิตามินดี (CALCIFEROL หรือ ERGOSTEROL) เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี


    Cholecalciferol (D3)


    Ergocalciferol (D2)
    วิตามินดีที่เข้าร่างกายจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้ วิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชัน ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำอาหารที่มีวิตามินดีพบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียวที่มีอยู่น้อยมากในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแมคเคอร์เรก
    วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก,วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ,ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ,ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอัตราย ,เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย ,ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน,เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกายอาจจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด
    ถ้าขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็กเรียก Rickets และในผู้ใหญ่เรียกว่า Osteosarcoma มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมเข้าร่างกาย รูปร่างจะไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุ เติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง เช่นหวัด ปอดบวม วัณโรค กล้ามเนื้ออ่อนกำลังขาดความคล่องแคล่ว ว่องไว ไม่กระฉับกระเฉง ไม่มีความกระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อกระตุก ถ้าได้รับวิตามินดีมากเกินไป ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน

    ข้อมูลทั่วไป

    วิตามินดี จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินจำพวกละลายไขมัน ร่างกายได้รับวิตามินดีสองทางด้วยกันคือ รับประทานเข้าไปแล้วซึมในร่างกายทางลำไส้ และโดยการที่ผิวหนังได้รับแสงแดดแล้วแสงอุลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์จะไปกระตุ้นคอเลสเตอรอลชนิดที่อยู่ในผิวหนังให้เปลี่ยนเป็นวิตามินดี โดยตับและไตจะเปลี่ยนให้เป็นวิตามินที่มีฤทธิ์แล้วซึมเข้ากระแสโลหิตเลย ส่วนวิตามินดีที่ได้จากอาหารจะซึมเข้าลำไส้ไปพร้อม ๆ กับอาหารพวกไขมันโดยการช่วยย่อยของน้ำดี วิตามินดีที่เข้าร่างกายแล้วทั้งสองทางจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้
    วิตามินดี เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี
    คุณสมบัติ
    - วิตามินดีที่บริสุทธิ์จะมีสีขาว เป็นผลึกที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งสามารถละลายได้ในไขมันและตัวทำละลายไขมันไม่ละลายในน้ำ จะคงทนต่อความร้อน (140 องศาเซลเซียส) คงทนต่อการออกซิเดชั่น กรดและด่างอ่อน แต่เสียง่ายเมื่อถูกอัลตราไวโอเลต - ส่วนพวกสารแรกเริ่มของวิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชั่น ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับวิตามินดี
    [แก้]ชนิดของวิตามินดี

    วิตามินดีเป็นกรุ๊ปทางเคมีของสารประกอบพวก สเทอรอล ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันโรคกระดูกอ่อน วิตามินดีจะถูกสร้างโดยฉายแสงอัลตราไวโอเลตบนสารแรกเริ่ม รูปแบบของวิตามินดีมีประมาณ 10 หรือมากกว่า แต่มีเพียง 2 รูป ที่เกี่ยวข้องกับทางโภชนาการ
    วิตามินดีสอง (ergocalciferol or calciferor or vitamin D2) สารแรกเริ่มคือ เออร์โกสเทอรอล (ergosterol) พบในยีสต์ เห็ด และพืช เมื่อได้รับแสงอัลตราไวโอเลต ในช่วงความถี่ 230 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นออร์โกแคลซิเฟอรอล หรือวิตามินดีสองได้
    วิตามินดีสาม (cholecalciferol or activeted 7 dehydrocholesterol or vitamin D3) จะพบในเซลล์ของคนและสัตว์ โดยผิวหนังมีสาร 7-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลต จากแสงแดด หรือจากเครื่องมือ ในช่วงความถี่ 275-300 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นคอลีแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol) หรือวิตามินดีสามได้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนผิวหนังในชั้น กรานูโลซัม (granulosum) 7- ดิไฮโดรคอลเลสเทอรอลสามารถสร้างขึ้นได้จากคอเลสเทอรอลที่ผนังลำไส้เล็กแล้วส่งผ่านไปยังผิวหนัง
    [แก้]จำนวนวิตามินดีที่เกิดขึ้นนี้ขึ้นกับสิ่งสำคัญ 2 อย่างคือ

    - จำนวนแสง U.V. จากแสงแดดตอนเช้า ฤดูอาจได้ไม่ถึง 1 ชม. ฤดูร้อนกลางวัน อาจได้แสงถึง 4 ชม. - แสง U.V. นี้ไม่สามารถผ่านหมอกควัน ฝุ่นละออง กระจก หน้าต่าง ม่านกั้นประตูหน้าต่าง เสื้อผ้าและสีของผิวหนัง ( melanin) จากการศึกษา ปริมาณของ วิตามินดีในเลือดที่ได้จากการสังเคราะห์จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลในฤดูร้อนความเข้มข้น ของ วิตามินดีในเลือดจะสูงกว่าในฤดูหนาว

    ประโยชน์ต่อร่างกาย

    วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก
    วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ถ้าขาดวิตามินดี กรดอะมิโนในปัสสาวะจะเพิ่มขึ้น ถ้าวิตามินดีเพียงพออัตราการดูดซึมกลับกรดอะมิโนจะปกติ และในปัสสาวะจะลดปริมาณลง
    ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย แบบ active transport ของแคลเซียมให้ข้ามเซลล์ไปได้ง่าย
    ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอันตราย เช่น แคลเซียมจะต้องอยู่ในเลือดประมาณ 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยวิตามิน ดีจะกระตุ้นการดูดแคลเซียมในลำไส้เพราะมิฉะนั้นแคลเซียมจะถูกขับออกจากร่างกายไปหมด และวิตามิน ดี จะกระตุ้นการนำเอาฟอสฟอรัสมาใช้ โดยทำหน้าที่กระตุ้นตลอดเวลา
    เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย
    ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน
    เกี่ยวข้องกับการใช้คาร์โบไฮเดรต
    เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกาย
    หน้าที่โดยทางอ้อมก็คือ วิตามินดีจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เพราะหน้าที่เหล่านี้จะสัมพันธ์กับการมีอยู่และการใช้แคลเซียมและฟอสฟอรัส ของร่างกาย

    แหล่งที่พบ

    พบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียวที่มีอยู่น้อยมากในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแม็คเคอร์เรก
    นมเป็นอาหารที่นิยมเสริมวิตามินดี เพราะเป็นอาหารที่มี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและไขมัน ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมจากลำไส้เล็ก ปริมาวิตามินดีที่เสริม คือ 400 IU ต่อลิตร
    ปริมาณของวิตามินดีในอาหารอาจเปลี่ยนแปลงได้มากตามฤดูกาล และภาวะแวดล้อมต่างๆ เช่น การถูกแสงแดดมากหรือน้อย อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์มีวิตามินดีมากหรือน้อยเพียงใด เป็นต้น

    ปริมาณที่แนะนำ

    ในการที่บุคคลต่าง ๆ ควรได้รับปริมาณวิตามิน ดี มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น ไขมันในอาหาร การสร้างน้ำดีจากตับ การดูดซึมของระบบทางเดินอาหาร ความบ่อยครั้งในการถูกแสงแดดและขึ้นอยู่กับปริมาณของสารมีสี และ เคราตินที่มีอยู่ที่ผิวหนัง ถ้าผิวขาวมีสารมีสีน้อย แสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์สามารถผ่านเข้าไปในชั้น Granulosum ของผิวหนังได้มาก ทำให้ 7 - dehydrocholesterol ซึ่งมีอยู่มากในชั้นนี้ถูกเปลี่ยนเป็นวิตามิน ดี สามได้มาก ถ้าผิวเหลืองเนื่องจากมีเคราตินมากหรือผิวดำเพราะมีสารมีสีมาก แสงอัลตราไวโอเลตจะผ่านเข้าไปได้น้อยทำให้มีการสังเคราะห์วิตามิน ดีสามที่ผิวหนังน้อย
    วิตามิน ดี 2.5 ไมโครกรัม (100 ไอยู) สามารถป้องกันโรคกระดูกอ่อนและช่วยให้มีการดูดซึมของแคลเซียมในลำไส้อย่างเพียงพอสำหรับการสร้างความเจริญเติบโตของกระดูกและฟันในทารก แต่การกินวันละ 10 ไมโครกรัม (400 ไอยู) นั้นช่วยส่งเสริมการดูดซึมให้ดียิ่งขึ้น
    ทารก 10 ไมโครกรัม
    เด็ก 10 ไมโครกรัม
    ผู้ใหญ่ 20 - 29 ปี 7.5 ไมโครกรัม
    30 - 60 ปี (หรือมากกว่า) 5 ไมโครกรัม
    หญิงมีครรภ์ +5 ไมโครกรัม
    หญิงให้นมบุตร +5 ไมโครกรัม
    ผลของการได้รับมากไป

    พบในรายที่บริโภค 300,000 - 800,000 I.U ต่อวันเป็นระยะเวลานาน วิตามิน ดี ประมาณ 30,000 I.U ต่อวัน หรือมากกว่านี้จะทำให้เป็นอันตราย สำหรับทารกและประมาณ 50,000 I.U ต่อวัน จะเป็นอันตรายสำหรับเด็ก อาการเริ่มต้นด้วยคลื่นไส้อาเจียนท้องเดินปัสสาวะมากกว่าปกติ ทั้งกลางวันและกลางคืน กระหายน้ำจัด น้ำหนักตัวลด มีการสลายแคลเซียมออกมาจากกระดูกและมีการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เพิ่มขึ้น ทำให้มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและในปัสสาวะสูง ซึ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่มีในเลือดอาจไปจับอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมทั้งหลอดเลือดทำให้เป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ในรายที่เป็นมากอาจถึงตาย เพราะมีการล้มเหลวของไต ส่วนในรายที่ยังเป็นไม่มากนัก เพียงหยุดให้วิตามิน อาการต่างๆจะหายไป
    อาการที่เกิดเนื่องจากร่างกายได้รับวิตามินดีมากเกินไป หรืออาการที่จำเป็นต้องสังเกตขณะที่รับประทานวิตามินดี คือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน
    เป็นที่น่าสนใจที่เด็กสามารถสร้างวิตามินมากเกินปกติได้ ซึ่งจะพบในเด็กที่ดื่มนมผสม (Fortified Milk) อาการเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนกับยาอื่น ๆ ได้ อาการอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าเด็กได้รับวิตามินดี ในขนาดธรรมดา ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้นำให้ทราบว่าเด็กมีแคลเซียมมากในร่างกาย (Hypercalcemia) และวิตามินในร่างกายมากเกินความต้องการแล้ว สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปวดตามข้อ รูมาตอยด์ อาไทรติส (Rheumatoid arthritis) ถ้ารับประทานวิตามิน ดีเกินขนาดทำให้มีแคลเซียมไปเกาะที่ผนังเส้นโลหิตแดง ซึ่งจะทำให้ไตปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นปกติ และทำให้ความดันโลหิตสูงด้วย
    นายแพทย์ Arthur A.Knapp ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตา ชาวอเมริกา ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิตามินดี กับตา บอกว่าการที่คนได้รับวิตามิน ดีไม่พอจะทำให้เกิดสายตาสั้น (MYOPIA) และจุดใหญ่แล้วเนื่องจากความไม่สมดุลของแคลเซียม
    [แก้]ข้อมูลอื่นๆ

    การดูดซึม วิตามินดีที่บริโภคเข้าไปจะถูกดูดซึมพร้อมกับไขมันผ่านผนังลำไส้เล็กตรงส่วนของลำไส้เล็กตอนกลางและตอนปลาย โดยการช่วยเหลือของน้ำดี เออร์โกสเทอรอลและสารสเทอรอลอื่นๆ จากพืช ถูกดูดซึมได้ไม่ดีจากลำไส้แต่ถ้าเป็น เออร์โกสเทอรอล ที่ได้อาบแสงอัลตราไวโอเลตหรือแสงแดด และเปลี่ยนไปเป็นวิตามินดี ที่ผิวหนังจะดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็กผ่านเข้าไปในระบบหมุนเวียน เนื่องจากวิตามินดี เป็นอินทรีย์สารที่ละลายได้ดีในไขมันฉะนั้นการดูดซึมจะดีเลวเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมไขมันรวมทั้งต้องมีปริมาณของเกลือน้ำดี อย่างเพียงพอ จึงจะดูดซึมได้ดีด้วย แต่ถ้าหากมีความผิดปกติใดๆ ที่รบกวนการดูดซึมไขมัน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ภาวะการดูดซึมผิดปกติ หรือการเป็นโรคสปรู (Sprue) ที่ร่างกายต้องสูญเสียไขมันทางอุจจาระมาก ล้วนเป็นสาเหตุทำให้การดูดซึมวิตามินดีน้อยลง นอกจากนี้สีของผิวหนังจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการดูดซึมแสงอัลตราไวโอเลต ถ้าผิวหนังมีสารมีสีมาก แสงจะผ่านไปได้น้อย ทำให้วิตามินดี ถูกสร้างขึ้นน้อย เช่น ในคนผิวดำมีสารมีสีมาก หรือคนผิวเหลืองที่มี เคราติน มาก
    หลังจากที่ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กแล้วหรือสร้างขึ้นบนผิวหนัง วิตามินดี จะถูกส่งเข้าระบบน้ำเหลืองในรูปของ Chylomicron จากนั้นจึงเข้าสู่กระแสเลือดไปยังตับ
    วิตามินดี กระจายอยู่ทั่วไปในเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ที่ผิวหนัง สมอง ปอด ม้ามและกระดูก แต่ก่อนเข้าใจว่าตับเป็นแหล่งแรกสำหรับเก็บสะสมวิตามินดี ไว้เป็นเวลานานๆ ปัจจุบันนี้พบว่าแหล่งแรกของการเก็บ วิตามินดี ไม่ใช่ตับแต่เป็น Fat depots ดังนั้นจึงพบวิตามินดีมีอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน
    ตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งคนเก็บวิตามินดีไว้จำนวนจำกัดและมีปริมาณน้อยกว่าตับปลา แต่ก็เพียงพอสำหรับการขาดวิตามินในระยะ 1 - 2 เดือนแรก
    ทารกที่คลอดใหม่ๆ ยังไม่มีการเก็บสำรองวิตามินนี้ ถ้าได้รับอาหารที่มีวิตามินดีไม่เพียงพอจะทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อนได้ง่าย
    วิตามินดีถูกขับออกเล็กน้อยทางน้ำดี ส่วนใหญ่ของวิตามินดีที่ขับออกมาจะถูกดูดกลับเข้าไปใหม่ในลำไส้ สำหรับพวกวิตามินดี metabolite จะถูกขับถ่ายส่วนใหญ่ทางน้ำดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...