เหล็กไหลชนิดต่างๆ หัวแหวนฟันช้างกายสิทธิ์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย เจษฎา เยี่ยมคำน, 17 ตุลาคม 2011.

  1. bung2525

    bung2525 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +1,311
    คำถามแรก แร่ ฟลูออไรต์ ครับ
     
  2. AchillesKnight

    AchillesKnight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +110
    ขอตอบแบบมั่วๆเลย ปรอท อิอิ
     
  3. Aimee2500

    Aimee2500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,703
    ค่าพลัง:
    +1,765

    แร่เทคไทท์ ............


    อ่านเรื่องเต็มได้ที่นี่

    www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1580&CatID=1]Luangta.Com -


    เวลานี้อะไรเป็นเครื่องหุ้มห่อจิตใจ หาความ “ผ่องใส” และ “ความบริสุทธิ์” ไม่ได้ ทั้งๆ ที่เราต้องการหาความบริสุทธิ์ด้วยกันทุกคน อะไรเป็นเครื่องปิดบังอยู่เวลานี้? ถ้าพูดตามหลักธรรมชาติ แล้ว ก็มีขันธ์ห้าเป็นที่หนึ่ง ส่วน “จิตอวิชชา” นั้นยกไว้ก่อน เอาแต่ที่เด่นๆ คือขันธ์ห้านั้นเป็นที่หนึ่ง และที่เป็นสหายกันนั้นก็คือรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ซึ่งติดต่อสื่อสารกันกับตา หู จมูก ลิ้น กาย และเข้าไปประสานกับใจ จากนั้นก็เป็น “ความสำคัญ” ขึ้นมาอย่างนั้นอย่างนี้จากรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส แล้วนำเอาอารมณ์ที่ผ่านไปแล้วนั้นแล เข้ามาผูกมัดวุ่นวาย หรือมาหุ้มห่อตัวเองให้มืดมิดปิดตาไปด้วยความรัก ความชัง ความเกลียด ความโกรธ และอะไรๆ เต็มไปหมด ซึ่งได้มาจากสิ่งดังกล่าวทั้งนั้น

    ส่วน ที่ฝังอยู่ลึกก็คือขันธ์ของ เรานี้ เราถือว่าเป็นตัวเป็นตนของเรามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์กาลไหนๆ ทุกชาติทุกภาษา แม้จะเป็นสัตว์ก็ต้องถือว่าเรานี้เป็นของเรา นี้เป็นสัตว์ เป็นตัวของสัตว์ เป็นตัวของเรา จะเป็นกายทิพย์ ร่างกายทิพย์ก็เป็นตัวของเรา จะเป็นเปรต เป็นผีเป็นอะไรก็ตามเถอะ สิ่งที่อาศัยอยู่ร่างหยาบร่างละเอียด ต้องถือว่าเป็นเราเป็นของเราด้วยกันทั้งนั้น จนกระทั่งที่มาเป็นมนุษย์ที่รู้จักดีรู้จักชั่วบ้างแล้ว ก็ยังต้องถือว่า “นี้เป็นเราเป็นของเรา” ในขันธ์ห้า รูปก็เป็นเรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นเราเป็นของเรา เหล่านี้ยังฝังอยู่อย่างลึกลับ

    ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้พิจารณา การพิจารณาก็เพื่อจะให้รู้ชัดเจนตามความจริงของมัน แล้วถอน ความยึดมั่นถือมั่นสำคัญผิดว่าตน เพื่อความเป็นอิสระนั่นเองไม่ใช่ เพื่ออะไร ตามปกติของเขาแล้วจะพิจารณาเขาทำไม? รูปก็เป็นรูป เสียงเป็นเสียง กลิ่นเป็นกลิ่น รสก็เป็นรส เครื่องสัมผัสต่างๆ เป็นธรรมชาติของเขาอยู่ดั้งเดิม เขาไม่ได้ว่าเขาเป็นข้าศึกอะไรต่อเราเลย ไปพิจารณาเขาทำไม?

    การ พิจารณาก็เพื่อให้ทราบความจริงของสิ่งนั้นๆ ตามความเป็นจริงของเขา แล้วทราบความลุ่มหลงของตนด้วยการพิจารณานี้ และถอนตัวเข้ามาด้วยความรู้ การที่จิตเข้าไปจับจองยึดขันธ์ว่าเป็นตนเป็นของตน ก็เพราะความลุ่มหลงนั่นเอง

    เมื่อ พิจารณาเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรอย่าง ชัดเจนแล้ว จิตก็ถอนตัวเข้ามาด้วยความรู้ความเข้าใจด้วยปัญญา หมดกังวลกับสิ่งเหล่านั้น การพิจารณาอันใดที่เด่นชัดในบรรดาขันธ์ห้านี้ ไม่ต้องไปสำคัญมั่นหมาย คือคาดคะเนว่าเราไม่ได้พิจารณาขันธ์ห้าโดยทั่วถึง คือทุกขันธ์ไปโดยลำดับ ไม่ต้องไปทำความสำคัญ ขอแต่ว่าขันธ์ใดเป็นที่เด่นชัดซึ่งควรพิจารณาในเวลานั้น และเหมาะสมกับจริตนิสัยของเรา ก็ให้พิจารณาค้นคว้าในขันธ์นั้นให้ชัดเจน เช่น รูปขันธ์ เป็นต้น

    ใน รูปขันธ์ มีอาการใดเด่นในความรู้สึกของเรา ที่เกิดความสนใจอยากจะพิจารณามากกว่าอาการอื่นๆ เราพึงจับจุดนั้น กำหนดพิจารณาให้เห็นความจริงของมันว่า “ทุกฺขํ คืออะไร?”

    ตามหลักธรรมท่านกล่าวไว้ว่า “ทุกฺขํ” คือความทนไม่ได้ มันไม่ค่อยสนิทใจเราซึ่งเป็นคนมีนิสัยหยาบ จึงชอบแปลแบบลางเนื้อชอบลางยาเป็นส่วนมากว่า “ทุกฺขํ คือความบีบบังคับอยู่ตลอดเวลานี้แล” นี่เหมาะกับใจเราที่หยาบมาก ดังธรรมบทว่า “ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ” นี้ตรงกับคำที่ว่านี้ คือปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมใจก็เป็นทุกข์ เป็นทุกข์คืออะไร? ก็คือบีบคั้นตัวเองนั้นแล หรือเกิดความไม่สบายนั่นแล้ว ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็ไม่สบาย ปรารถนาสิ่งใดแม้ได้แล้ว แต่สิ่งนั้นพลัดพรากจากไปเสียก็เป็นความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์อันนี้เข้ากันได้กับคำว่า “มันบีบบังคับ” ความบีบบังคับนั้นแลคือความทุกข์ความทนไม่ได้ เมื่อทนไม่ได้ ก็เป็นไปตามเรื่องของเขา ไปยุ่งกับเขาทำไม! ความจริงจะเป็นขันธ์ใด หรือไตรลักษณ์ใดก็ตาม ใจของเราไปยึดไปถือเขาต่างหาก จึงต้องมาพิจารณาให้ชัดเจนในขันธ์

    รูป ขันธ์ อาการใดดูให้เห็นชัดเจน ถ้ายังไม่ทราบชัดใน “ปฏิกูล” ซึ่งมีอยู่ในรูปขันธ์ของเรา ก็ให้ดูป่าช้าในตัวของเรานี้ให้เห็นชัดเจน คำว่า “เยี่ยมป่าช้า” ให้เยี่ยมที่นี่ แม้เยี่ยมป่าช้านอกก็เพื่อน้อมเข้ามาสู่ป่าช้าในตัวของเรา “ป่าช้านอก” คนตายในครั้งพุทธกาล มันป่าช้าผีดิบทิ้งเกลื่อน ไม่ค่อยจะเผาจะฝังกันเหมือนอย่างทุกวันนี้ ท่านจึงสอนให้พระไปเยี่ยมป่าช้า ที่ตายเก่าตายใหม่เกลื่อนกลาดเต็มไปหมดในบริเวณนั้น เวลาเข้าให้เข้าทางทิศนั้นทิศนี้ ท่านก็สอนไว้โดยละเอียดถี่ถ้วน ด้วยความฉลาดแหลมคมของพระพุทธเจ้าผู้เป็น “สยัมภู” หรือ “ผู้เป็นศาสดาของโลก” ท่านสอนให้ไปทางเหนือลม ไม่ให้ไปทางใต้ลม จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะกลิ่นซากศพที่ตายเก่าตายใหม่นั้นๆ

    เมื่อ ไปเจอซากศพเช่นนี้เข้าแล้ว ความรู้สึกเป็นอย่างไร แล้วให้ไปดูซากศพชนิดนั้นๆ ความรู้สึกเป็นอย่างไร ให้ประมวลหรือ “โอปนยิโก” น้อมเข้ามาสู่ตัวเองซึ่ง เป็นซากอันหนึ่ง ท่านสอนให้พิจารณาอย่างนี้ เมื่อเราได้สักขีพยานคือตัวเราเอง ว่าซากศพที่อยู่ในป่าช้าภายนอกนั้นเป็นอย่างไรแล้ว น้อมเข้ามาสู่ป่าช้าภายในคือตัวเราเอง เมื่อได้หลักเกณฑ์ที่นี่แล้ว การเยี่ยมป่าช้านั้นก็ค่อยจางไป ๆ แล้วมาพิจารณาป่าช้านี้ให้เห็นชัดเจนขึ้นโดยลำดับ คือกายนี้เป็นบ่อปฏิกูลน่าเกลียด ต้องชะล้างอาบสรง ทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา

    ทุก สิ่งทุกอย่างที่มาเกี่ยวข้องกับทุกส่วนของร่าง กายเรานี้ มีอะไรที่เป็นของสะอาด แม้เครื่องอุปโภคบริโภคเมื่อนำมาบริโภคก็กลายเป็นของปฏิกูล นับแต่ขณะเข้าทางมุขทวารและผ่านลงไปโดยลำดับ เครื่องนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ มันก็สกปรก ต้องไปชะล้างซักฟอกยุ่งไปหมด ที่บ้านที่เรือนก็เหมือนกัน ต้องชะล้างเช็ดถูปัดกวาดอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นป่าช้าขึ้นที่นั่นอีก เพราะความสกปรกเหม็นคลุ้งทั่วดินแดน มนุษย์ไปอยู่ที่ไหนต้องทำความสะอาด เพราะมนุษย์สกปรก แน่ะ! ในตัวเราซึ่งเป็นตัวสกปรกอยู่แล้ว สิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับตัวเรามันจึงสกปรก แม้แต่อาหารหวานคาวที่มีรสเอร็ดอร่อยน่ารับประทาน สีสันวรรณะก็น่าดูน่าชม พอเข้ามาคละเคล้ากับสิ่งสกปรกที่มีอยู่ภายในร่างกาย เช่น น้ำลาย เป็นต้น ก็กลายเป็นของสกปรกไปด้วย อาหารชนิดต่างๆ ที่ผ่านมุขทวารเข้าไปแล้ว เวลาคายออกมา จะนำกลับเข้าไปอีกไม่ได้ รู้สึกขยะแขยงเกลียดกลัว เพราะเหตุไร? ก็เพราะร่างกายนี้มีความสกปรกอยู่แล้วตามหลักธรรมชาติของตน อันใดที่มาเกี่ยวข้องกับร่างกายนี้จึงกลายเป็นของสกปรกไปด้วยกัน

    การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่า “พิจารณาป่าช้า” “พิจารณา อสุภกรรมฐาน”

    เอ้า กำหนดเข้าไป ในหลักธรรมชาติของมันเป็นอย่างไร ดูทุกแง่ทุกมุมตามความถนัดใจ คือปกติเมื่อเราดูในจุดนี้แล้ว มันจะค่อยซึมซาบไปจุดนั้นๆ โดยลำดับ ถ้าสติกับความรู้สึกสืบ ต่อกันอยู่แล้ว ปัญญาจะต้องทำงานและก้าวไปไม่ลดละ จะมีความรู้สึกซาบซึ้งในการรู้จริงเห็นจริงโดยลำดับ นี่เป็น ปัญญาระดับแรกของการพิจารณา

    เมื่อ พิจารณาในขั้น “ปฏิกูล” แล้ว พิจารณาความเปลี่ยนแปรสภาพของร่างกาย คือความปฏิกูลก็อยู่ในร่างกายนี้ ป่าช้าผีดิบก็อยู่ในร่างกายนี้ ป่าช้าผีแห้งผีสดผีร้อยแปดอะไรก็รวมอยู่ในนี้หมด เวลานำไปเผาไปต้มแกงในเตาไฟ ไม่เห็นว่าเป็นป่าช้ากันบ้างเลย แต่กลับว่า“ครัวไฟ” ไปเสีย ความจริงก็คือป่าช้าของสัตว์นั่นแหละ และขนเข้ามาเก็บเอาไว้ที่นี่ (ท้องคน) ในหลุมในบ่ออันนี้เต็มไปหมด นี่ก็คือที่ฝังศพของสัตว์ต่างๆ เราดีๆ นั่นแลถ้าคิดให้เป็นธรรม คือให้ความเสมอภาค เพราะศพใหม่ศพเก่าเกลื่อนอยู่ที่นี่ เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วจะไม่เกิดความสะอิดสะเอียน ไม่เกิดความสังเวชสลดใจแล้วจะเกิดอะไร? เพราะความจริงเป็นอย่างนั้นแท้ๆ

    พระ พุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงความจริง เพราะความจริงมีอยู่อย่างนี้ ถ้าเราไม่ปีนเกลียวกับความจริง ใครๆ ก็จะได้ปลดเปลื้องความยึดมั่นถือมั่นความสำคัญผิด อันเป็นความโง่เขลาเบาปัญญาของตนออกได้เป็นลำดับๆ จิตใจจะมีความสว่างกระจ่างแจ้ง ฉายแสงออกมาด้วยความสง่าผ่าเผยองอาจกล้าหาญต่อความจริง ที่สัมผัสสัมพันธ์กับตนอยู่ตลอดเวลา พอใจรับความจริงทุกแง่ทุกมุมด้วยความเป็นธรรมไม่ลำเอียง แม้ยังละไม่ขาดก็พอมีความเบาใจ มีที่ปลงที่วางบ้าง ไม่แบก หามอุปาทานในขันธ์เสียจนย่ำแย่ตลอดไป แบบภาษิตท่านว่า “คนโง่นั้นหนักเท่าไรยิ่งขนเข้า” “ปราชญ์ท่านเบาเท่าไรยิ่ง ขนออกจนหมดสิ้น!”

    เมื่อ พิจารณาอย่างนี้แล้ว จงพิจารณาความแปรสภาพของขันธ์ ขันธ์แปรทุกชิ้นทุกอันทุกสัดทุกส่วนบรรดาที่มีในร่างกายนี้ แม้แต่ผมเส้นหนึ่งไม่ได้เว้นเลย แปรสภาพเหมือนกันหมด อันไหนที่เป็นเรา อันไหนที่เป็นของเรา ที่ ควรยึดถือ?



     
  4. เจษฎา เยี่ยมคำน

    เจษฎา เยี่ยมคำน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,332
    ค่าพลัง:
    +5,413
    แร่นี้เดิมสีคล้ายเงินครับ แต่ถ้ากินแร่อื่นมานานแร่สีแร่จะคล้ายเพชรหน้าทั่งครับ
     
  5. hamwin

    hamwin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +240
    ปรอท แร่ภูเขาไฟ 555 นอนดีกว่า ยากจัง
     
  6. hamwin

    hamwin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +240
    แร่สังกะสี มั่วได้อีก ^^
     
  7. AchillesKnight

    AchillesKnight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +110
    ถูกครับ แต่ถูกแค่เปราะแรกถูกหลงทาง จะเป็นผู้ชิบหายจากความดีไปหากท่านผู้นั้นมีปัญญาไม่พอ จะหลงมัวเมาแต่ความสุขที่ได้จากความสงบ ที่ไม่มีรางกายไม่มีกังวล อันเป็นความสุขชั่วคราว แต่ถ้าท่านผู้นั้นมีปัญญาพิจารณาต่ออีกนิดว่า มันเป็นธรรมดาโดยปกติ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายตัวในที่สุดแล้ว จะเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่โดยไม่มีทุกข์เลย รู้สักแต่ว่ารู้โดยไม่ปรุงแต่ง ฉะนั้นการที่คิดว่า จะหาความสงบในความว่างนั้นก็ถูก มันก็มีสุขอยู่แต่ไม่ใช่สิ่งที่จีรังยั่งยืนเท่ากับพระนิพพาน
     
  8. เจษฎา เยี่ยมคำน

    เจษฎา เยี่ยมคำน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,332
    ค่าพลัง:
    +5,413
    อ้าวลืมดู มีคนตอบถูกแล้วครับ ขอแสดงความยินดีกับคุณ Achilles Knight ครับ เพิ่มเติมนิดนะครับ แร่ที่แทรกเข้ามานี้คือแร่ปรอทครับ ปรอทได้เข้ามากินและแทรกตัวอยู่ภายในและคอยดูดทรัพย์แร่ธาตุต่างๆนานเข้าจนกลายเป็นปรอทอิ่มตัว(ลักษณะเช่นเดียวกับคตปรอท)อยู่ภายใน และช้วยให้ฟันช้างไม่เน่าเปื่อยเพราะปรอทได้ทำลายเชื้อทุกชนิดที่จะเข้ามาย่อยสลาย ครับ ดังนั้นฟันช้างนี้นอกจากจะเป็นคตฟันช้างแล้วยังมีสายแร่คตปรอทในตัวครับ นานๆจะเจอซักครั้งครับ เชิญผู้ตอบถูกเลือกรางวัลได้เลยครับ เลือกแล้วส่ง PM มาบอกพร้อมที่อยู่ในการจัดส่งนะครับ ขอบคุณครับ
     
  9. AchillesKnight

    AchillesKnight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +110
    ขอบคุณคร้าบบ:cool:
     
  10. เจษฎา เยี่ยมคำน

    เจษฎา เยี่ยมคำน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,332
    ค่าพลัง:
    +5,413
    คำถามที่ 2 มีคนตอบใกล้เคียงแล้วนะครับ ใครอธิบายผลของการคิดแบบนี้ได้ดีและละเอียดกว่านี้ไหมครับ
     
  11. Pooldum

    Pooldum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +406
    ผมว่า... คำกล่าวนี้ ถูกต้องครับ แต่จริง ๆ แล้วสิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์ คือ จิตที่ปรุงแต่ง เพราะกายของเราถ้ามองทะลุไปภายในกายสังขารเราที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เราก็จะได้เห็นถึงความสกปรก ความหยาบของกายเรา แต่สิ่งที่เราเห็นว่ากายนี้สวยงาม น่าหลงไหล ที่แท้จริงนั้นมันก็เพียงแค่รูปลักษณ์หรือเครื่องอาศัย ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา เวลาเกิดเราก็ไม่ได้เอาอะไรมา มีเพียงจิตของเราที่มาอาศัยกายนี้อยู่เท่านั่น เหตุนี้เวลาตายเราก็ไม่สามารถเอาอะไรไปได้เหมือนกัน ไม่ว่าเงินทอง หรือ ความสวยความงาม ในเมื่อ ร่างกายนี้ ไม่ใช่สิ่งจีรัง เป็นสิ่งน่าเกลียด น่าขยะแขยง เราก็ควรที่จะหาความสุขแท้จริงในความว่างของจิตจึงจะดีกว่า...
     
  12. Chay 4

    Chay 4 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    292
    ค่าพลัง:
    +94
    ตอบ เป็นคำกล่าวที่ถูกครับ ร่างกายมนุษย์นี้ไม่จีรัง มีการเสื่อมสลายไปตามกาลวลา เมื่อพิจารณาอสุภะเเล้ว ร่างกายมนุษย์นั้นคือขยะเหม็นเน่าเท่านั้น ไม่น่าพิศมัย ที่เราเห็น หล่อๆสวยๆเดินได้ทุกวันนี้ ถ้าไม่อาบน้ำ ล้างหน้า เเปรงฟัน สักวัน 2 วัน มันก็เหม็นเหมือนศพเเล้วครับ ดังนั้นจึงไม่ควรหลงรูปกาย เราควรตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ด้วย1.การให้ทาน 2.รักษาศีล5 3.วิปัติสนากรรมฐาน หากต้องการหลุดพ้นจากสังสารวัฎเพื่อเข้าสู่นิพพาน วิปัติสนากรรมฐาน คือ ทางเเห่งการดับทุกข์ครับ หากวิปัติสนากรรมฐานยังไม่ได้ เราก็ ให้ทาน รักษาศีล ตามวิสัยที่เราจะปฎิบัติได้ก่อน
     
  13. up4u

    up4u เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    315
    ค่าพลัง:
    +117
    ขอตอบเล็กๆน้อยๆ ครับ ร่างกายนี้มีธาตุ 4 มาประชุมกัน คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณาสังขารไม่เที่ยง ตั้งอยู่และดับไป คือไม่จีรังยั่งยืน เราอาศัยแค่ชั่วคราว ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร เมื่อเราตายไปสิ่งที่จะเอาไปได้มี่แต่กรรมดีและกรรมชั่วครับ
    เมื่อเราสามารถตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานได้คือ เราไม่ต้องมาเกิดอีก เป็นแดนที่ว่างจากกิเลสตัดอกุศลทั้งหลาย แดนนิพพานคือแดนเที่ยงแท้ ไม่ต้องมาเกิดอีก จิตเราเมื่ออยู่โลกมนุษย์มันไม่ว่างตลอดเพราะต้องคอยสิ่งที่มากระทบจิตใจของเราตลอด ความสงบจากความว่างใที่นี้คือ การทำให้อารมณ์ใจเราเป็นกลาง ไม่ว่าเราจะกระทบ โลภ โกรธ หลง เราก็พิจารณาด้วยปัญญาและเกิดสติรู้แจ้งเห็นธรรม เมื่อนั้นเราก็จะสงบเพราะเราไม่ต้องไปคล้อยตามอารมณ์ของเขา

    บทพิจารณาสังขารครับ
    อัตถิ อิมัสมิง กาเย, ในร่างการนี้มี : เกสา ผมทั้งหลาย, โลมา ขนทั้งหลาย, นะขา เล็บทั้งหลาย, ทันตา ฟันทั้งหลาย, ตะโจ หนัง, มังสัง เนื้อ, นะหารู เอ็นทั้งหลาย, อัฏฐี กระดูกทั้งหลาย, อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก, วักกัง ไต, หะทะยัง หัวใจ, ยะกะนัง ตับ, กิโลมะกัง พังผืด, ปิหะกัง ม้าม, ปัปผาสัง ปอด, อันตัง ลำไส้, อันตะคุณัง ลำไส้สุด, อุทะริยัง อาหารในกระเพาะ, กะรีสัง อุจจาระ, ปิตตัง น้ำดี, เสมหัง เสลด, ปุพโพ หนอง, โลหิตัง โลหิต, เสโท เหงื่อ, เมโท มัน, อัสสุ น้ำตา, วะสา น้ำเหลือง, เขโฬ น้ำลาย, สังฆานิกา น้ำเมือก, ละสิกา น้ำลื่นหล่อข้อ, มุตตัง น้ำมูตร, มัตถะเก มัตถุลุงคัง เยื่อมันสมอง ในกะโหลกศีรษะ, อิติ ดังนี้แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2011
  14. เจษฎา เยี่ยมคำน

    เจษฎา เยี่ยมคำน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,332
    ค่าพลัง:
    +5,413
    ขอเฉลยคำถามที่2เลยนะครับ คนที่ตอบได้ใกล้เคียงคือ คุณ Achilles Knight
    เหตุผลก็เนื่องจากการที่เรามองกายเนื้อเป็นสิ่งน่ารังเกียจแล้วเกิดความรังเกียจจนไม่อยากมีกายเนื่องจากเห็นกายเป็นเครื่องถ่วง เห็นความว่างเปล่าเป็นสิ่งน่ารื่นรม เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วท่านจะได้เกิดเป็นอรูปพรหม คือพรหมที่ไม่มีรูปกายเป็นเพียงดวงสว่าง นิ่งสงบไปเรื่อยๆจนถึงเวลาหมดบุญก็กลับมาเกิดใหม่ ดังนั้นการมองสิ่งใดควรมองให้เห็นความจริงทั้ง 2 ด้าน มองให้เห็นเป็นของธรรมดา ไม่ยึดติดแต่ไม่รังเกียจ น่าแปลกใจนิดนึงครับที่คนที่ตอบโดนใจผมกลับเป็นคนๆเดียวกันทั้ง 2 หัวข้อ ในเมื่อได้ผู้รับรางวัลครบทั้ง 2 คำถามแล้ว ก็ขอแสดงความยินดีกับผู้รับรางวัลและขอขอบคุณทุกท่านด้วยนะครับ พรุ่งนี้จะจัดส่งของรางวัลไปให้นะครับ ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...