ตามรอยเส้นทางธรรม ๙ ปีสุดท้าย : หลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 22 ตุลาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="42%">[​IMG]
    กุฏิหลวงปู่มั่น

    </TD><TD width="50%">ประวัติความเป็นมาของวัด
    ภายหลังจากอยู่จำพรรษาในภาคเหนือเป็นเวลา ๑๒ ปีแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เป็นเวลา ๓ พรรษา แล้วจึงมาพำนักที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ตรงที่เป็นบริเวณวัดร้างชายป่า ใกล้บ้านโคกในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ในปัจจุบันคือที่ว่าการอำเภอโคกศรีสุพรรณ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญได้ทราบข่าวการจำพรรษาของหลวงปู่มั่นจึงเดินทางจากจันทบุรีเข้ามานมัสการหลวงปู่มั่น ซึ่งบ้านโคกแห่งนี้คือบ้านเดิมของพระอาจารย์กงมาเอง พระอาจารย์กงมาได้พยายามแนะนำชาวบ้านให้พากันเลื่อมใสในธรรม จนบรรดาญาติมิตรเดิมของท่านก็ได้พากันเลื่อมใสปฏิบัติธรรมกันมากขึ้นเป็นลำดับ เท่ากับท่านได้มาโปรดญาติโยมของท่านอีกด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    องค์ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านโคกกับพระอาจารย์กงมา ๑ พรรษา และพระ เณรรูปอื่นๆ ได้แก่ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน( หลวงตาได้มอบตัวเป็นศิษย์และอยู่ฝึกหัดกัมมัฎฐานกับหลวงปู่มั่นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ),พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท ( ปัจจุบันคือ หลวงปู่เจี๊ยะ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทา ปทุมธานี มรณภาพแล้ว ), พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันคือพระเทพเจติยาจารย์ (หลวงปู่วิริยังค์) วัดธรรมมงคล กทม.), พระพระอาจารย์สิงห์ จากบ้านหนองหลวง, พระอาจารย์พา, พระอาจารย์ทองปาน, พระอาจารย์สวัสดิ์, สามเณรอุ่น ( ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดร้างแห่งนี้ โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยเป็นสามเณรรูปสุดท้ายที่หลวงปู่มั่นบรรพชาให้ ปัจจุบันคือหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม มรณภาพแล้ว), สามเณรอี๊ด

    ในระหว่างนี้พระอาจารย์กงมาได้พยายามวางรากฐานให้มีวัดป่าในแถบบ้านโคกนี้ ได้สร้างวัดใหม่อยู่ห่างจากที่เก่าประมาณ ๑ กิโลเมตร เนื่องจากที่เก่าอยู่ใกล้ทางสัญจรไปมาของผู้คน จึงไม่ค่อยสงบ เมื่อมาอยู่ที่ใหม่นี้ชาวบ้านจึงถวายที่ตั้งวัด ได้สร้างศาลาและกุฏิถวายหลวงปู่มั่น ตั้งชื่อสำนักสงฆ์นี้ว่า "วัดป่าวิสุทธิธรรม" เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๔๘๕ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่หลวงปู่มั่นได้มาจำพรรษา ณ บ้านโคก อันเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์กงมา ส่วนหลวงปู่มั่นได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามนซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 2 กิโลเมตรในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่วัดป่าวิสุทธิธรรมตามที่พระอาจารย์กงมาได้อาราธนานิมนต์ ในพรรษานี้มีพระเณรจำพรรษาร่วมกับท่าน ได้แก่ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร, พระอาจารย์หลอด ปโมทิโต( ปัจจุบันคือ พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ) วัดสิริกมลาวาส กทม. ), พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม, พระอาจารย์คำดี, พระอาจารย์มนู, พระอาจารย์บุญ, เณรดี, เณรได
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    ศาลาโรงธรรม ( ก่อนบูรณะ)**
    </TD><TD>[​IMG]
    ศาลาโรงธรรม ( หลังบูรณะ พ.ศ. ๒๕๔๗ )

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ณ วัดป่าวิสุทธิธรรมแห่งนี้ หลวงปู่มั่นท่านได้ใช้ศาลาโรงธรรมที่พระอาจารย์กงมาสร้างขึ้นเป็นที่แสดงธรรมเทศนาอบรมศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัท รวมทั้งเป็นที่ประชุมสงฆ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนของคณะกัมมัฎฐานให้ถูกต้อง
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>กุฏิหลวงปู่มั่น สภาพในปัจจุบันภายหลังจากบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    ศาลาโรงธรรมหลวงปู่มั่น สร้างโดยพระอาจารย์กงมา
    </TD><TD>[​IMG]
    ศาลาโรงธรรมหลังปัจจุบัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ภายหลังเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ พระอาจารย์กงมาจึงได้สร้างวัดป่าอีกแห่งหนึ่งคือ วัดดอยธรรมเจดีย์ และมอบวัดป่าวิสุทธิธรรมให้กับพระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโมซึ่งมีศักดิ์หลานชายของท่านดูแลวัดต่อมาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ สืบต่อจากพระอาจารย์กงมา จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    ใต้ต้นค้อมีแท่นอนุสรณ์หลวงปู่อุ่น

    </TD><TD>[​IMG]
    หลวงปู่มั่น ในอริยาบถยืน
    </TD><TD>[​IMG]
    ใต้ต้นค้อมีแท่นอนุสรณ์หลวงปู่อุ่นและบริเวณ
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม
    </TD><TD>[​IMG]
    อัฐิธาตุหลวงปู่อุ่นในเจดีย์พิพิธภัณฑ์
    </TD><TD>[​IMG]
    บริขาร
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    พระพุทธชินราชจำลองภายในเจดีย์
    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    รูปหล่อหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่น
    ประดิษฐาน ณ วัดป่าวิสุทธิธรรม

    </TD><TD width="50%">สภาพในปัจจุบัน
    ในปัจจุบันทางวัดยังได้อนุรักษ์กุฏิและศาลาหลวงปู่มั่นที่หลวงปู่กงมาสร้างขึ้น โดยกุฏิได้มีการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ บนกุฏิมีรูปหลวงปู่มั่นประดิษฐาน ส่วนศาลาได้การทำการบูรณะโดยแปลงเป็นอุโบสถแต่ยังได้รักษาสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุดบนภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองและ หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่น บริเวณด้านหน้าศาลายังมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม อดีตเจ้าอาวาส ภายในเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง รูปหล่อขององค์หลวงปู่ บริขารบางส่วนและอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ที่มีลักษณะเป็นสีขาวมันคล้ายงาช้าง
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ
    เจ้าอาวาสรูปแรก
    </TD><TD>หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม
    เจ้าอาวาสรูปที่ ๒
    </TD><TD>พระครูกิตติสารประสาธน์
    ( พระอาจารย์ประสงค์ กิตติสาโร )
    เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    นอกจากนี้บริเวณด้านขวาของศาลายังมีต้นค้อต้นใหญ่ยืนต้นอยู่ ใต้ร่มไม้มีแท่นก่ออิฐถือปูนที่นั่งภาวนาของหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม ท่านสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงสถานที่ที่ท่านเคยนั่งสมาธิภาวนาจนได้รับผลเป็นครั้งแรกที่นี่ ปัจจุบันมีพระครูกิตติสารประสาธน์( พระอาจารย์ประสงค์ กิตติสาโร )เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    รูปหล่อหลวงปู่มั่น บนกุฏิ

    </TD><TD width="50%">ความเกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่มั่น
    ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระได้จากเสนาสนะป่าบ้านโคกมาพำนัก ณ บ้านนามน ในปัจจุบันคือ วัดป่านาคนิมิตต์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์เนียมสหธรรมมิกของพระอาจารย์กงมา ( ประวัติสังเขปของพระอาจารย์เนียม คลิ๊ก ) อยู่ห่างจากบ้านโคกประมาณ ๔ กิโลเมตร สถานนี้เป็นป่าธรรมชาติ มีพรรณไม้ต่างๆ เช่น ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้รัง และไม้อื่นๆ แม้จะอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านแต่ก็เป็นป่ารกชัฏเหมาะแก่การทำความเพียร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในปีนี้ได้มีการประชุมพระคณาจารย์กันโดยมิได้นัดหมายมิได้มีการอาราธนาหรือบอกกล่าวแต่อย่างใด ได้แก่ หลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์ทองสุข สุจิตฺโต, หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร เป็นต้น ท่านทั้งหลายนั้นได้มาสู่สถานที่นี้ โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นจุดมุ่งหมาย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการประชุมที่อัศจรรย์ เนื่องจากพระคณาจารย์เหล่านี้ไม่ต้องมีพิธีการต้อนรับหรือต้องเกรงใจ หรือต้องทำระเบียบการประชุมเรื่องของบประมาณค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=198>[​IMG]
    </TD><TD height=198>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>กุฏิหลวงปู่มั่น ณ วัดป่านาคนิมิตต์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในการมาของคณาจารย์เหล่านี้ล้วนเป็นพระเถระผู้ใหญ่ และผู้น้อยติดตามจึงเป็นเหตุให้การประชุมรวมตัวของคณะสงฆ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างล้นเหลือ โดยหลวงปู่มั่นได้วางนโยบายสำคัญๆ ทั้งทางด้านปกครอง และด้านการปฏิบัติกรรมฐาน


    ความเป็นมาของวัด

    ความเป็นมาของวัดแห่งนี้จากบทสัมภาษณ์ พระอาจารย์อว้าน เขมโกจากหนังสือบูรพาจารย์พอสรุปได้ว่า เดิมวัดแห่งนี้หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รุกขมูลผ่านมาก่อน ต่อมาหลวงปู่มั่น ได้รุกขมูลมาตามเส้นทางของหลวงปู่เสาร์และแวะพักที่นี่ หลวงปู่มั่นเห็นว่าสถานที่นี้สัปปายะ ท่านจึงปรารภกับญาติโยมว่า "คิดจะสร้างเป็นวัด" จึงได้มีการยกที่ดินถวายท่าน และสร้างเสนาสนะแบบชั่วคราวพอได้อยู่อาศัย แล้วท่านจึงเดินธุดงค์ต่อไปทางภาคเหนือ ๑๒ ปี หลังจากนั้นท่านจึงมาจำพรรษาที่นี่เป็นครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในครั้งนี้ชาวบ้านนามนได้สร้างกุฏิถวายองค์ท่าน รุ่งเช้าของวันที่ได้เริ่มต้นก่อสร้างปรากฏ หลวงปู่มั่นได้ชี้บอกโยมว่า "นั่นแหละ พญานาคทำรอยไว้ให้แล้ว" ชาวบ้านไปดูเป็นรอยกลมๆ จึงนำรอยนั้นเป็นหมายในการขุดหลุมตั้งเสากุฏิ ต่อมาเมื่อจะสร้างศาลาก็ปรากฏรอยนี้อีกจึงได้ลงเสาศาลาในลอยนั้นเช่นกัน ท่านจึงพูดกับโยมว่า "วัดนี้ชื่อว่าวัดป่านาคนิมิตต์" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดป่าบ้านนามนตามชื่อหมู่บ้านนั้น ต่อมาเมื่อได้จดทะเบียนชื่อวัด จึงได้ใช้มงคลนามที่หลวงปู่มอบให้นี้เป็นชื่อวัด

    สถานที่นี้ยังเป็นที่กำเนิดบันทึกพระธรรมเทศนาที่สำคัญของหลวงปู่มั่น คือ " มุตโตทัย " ที่บันทึกครั้งแรก ณ วัดนี้ โดยพระอาจารย์วิริยังค์ ได้เล่าถึงความเป็นมาไว้ในบันทึกใต้สามัญสำนึก ประวัติของท่านดังนี้

    " ... เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นฯ แล้วไพเราะจริงๆ ทำให้ผู้เขียนนั่งกัมมัฏฐานได้รับความสงบใจตามที่ได้มาฟังธรรมของท่าน ซึ่งธรรมเทศนานั้นได้เกิดรสชาติที่ซาบซึ้งหาอะไรเปรียบไม่ได้อีกแล้ว ผู้เขียน ( พระอาจารย์วิริยังค์ ) คิดในใจว่า ทำไมจึงดีอย่างนี้ มันสุดแสนจะพรรณา ทำให้ผู้เขียนระลึกถึงคนอื่นๆ ต่อไปว่า เราจำเป็นที่จะต้องบันทึกธรรมเทศนาของท่านอาจารย์มั่นฯ ให้ได้ เพราะถ้าเราไม่บันทึก ต่อไปธรรมเทศนาอันวิเศษนี้ก็จะหายสูญไปอย่างน่าเสียดาย และธรรมเทศนาเช่นนี้จะพึงแสดงได้ก็แต่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ เท่านั้น รูปอื้นถึงแสดงก็ไม่เหมือน จึงทำให้ผู้เขียนได้พยายามอย่างยิ่งที่จะเขียนบันทึกธรรมเทศนาของท่านให้ได้และก็เป็นผลสำเร็จขึ้นเป็นอันดับแรก เพราะยังไม่เคยมีใครบันทึกธรรมเทศนาของท่านเลย
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    กุฏิพระอาจารย์วิริยังค์
    จำพรรษาและบันทึก "มุตโตทัย"

    </TD><TD width="50%">เป็นที่น่าสังเกต ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ท่านไม่เคยยอมให้ใครบันทึกธรรมเทศนาของท่านโดยเป็นหนังสือเลย มีแต่จำกันใส่ใจเท่านั้น ถ้าใครจะบันทึกด้วยหนังสือจะต้องถูกท่านดุและประนาฌเอาทีเดียว แต่ผู่เขียนได้ขโมยเขียนและยอมทุกสิ่งทุกอย่างเพราะรักและชอบและเลื่อมใสสุดหัวใจแล้ว ท่านจะดุด่าประฌามผู้เขียนยอมทุกอย่าง ขออย่างเดียวให้ได้บันทึกธรรมเทศนาเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นต่อไปภายหลังที่ไม่ได้ฟังจากท่าน แต่ได้อ่านในหนังสือเล่มนี้ ส่วนพระภิกษุสามเณรที่ไปอยู่กับท่านต่างก็กลัวเช่นนี้ จึงไม่มีใครกล้าจะเขียนธรรมเทศนาของท่าน จึงเป็นอันว่าผู้เขียนได้กล้าเสี่ยงอันตรายครั้งงสำคัญทีเดียวในการบันทึกธรรมเทศนา เรื่องนี้เกิดความสำเร็จแก่ผู้เขียนอย่างเต็มภาคภูมิ คือตลอดพรรษานี้ ผู้เขียนได้บันทึกเทศนาตลอดไตรมาส ซึ่งก็สำเร็จขึ้นเป็นเล่มในชื่อ " หนังสือ มุตโตทัย "</TD></TR></TBODY></TABLE>​


    หลังจากผู้เขียนได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านแล้ว ก็พยายามทำเป็นความลับไว้ตลอดเวลา วิธีการที่ผู้เขียนทำสำเร็จนั้นคือ เมื่อเวลาท่านแสดงธรรม พยายามกำหนดไว้ในใจอย่างมั่นคง เพราะขณะนั้นความจำของผู้เขียนยังอยู่ในการใช้ได้ เมื่อท่านแสดงธรรมจบแล้วผู้เขียนยังต้องมีหน้าที่ถวายการนวดอีกไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง เมื่อถวายการนวดเสร็จแล้ว ก็รีบกลับที่พักจับปากการีบเขียนธรรมเทศนาของท่าน ก่อนความจำนั้นจะเลื่อนลางไป ตอนนี้ผู้เขียนจะบอกอะไรสักอย่าง ว่าเป็นเรื่องที่น่าคิดหนักหนา ตอนนั้นอยู่ในระหว่างสงคราม ปากกา - ดินสอ - น้ำหมึกไม่ต้องหา ไม่มีใช้ เผอิญผู้เขียนมีปากกาอยู่ ๑ ด้ามติดตัวไป น้ำหมึกไม่มี ผู้เขียนต้องคิดตำราทำน้ำหมึกใช้โดยเอาผลสมอไทย ผลมะเหลื่อม ผลมะขามป้อม เอามาจำแช่น้ำ แล้วเอาเหล็กที่มีสนิมมากเช่นผาลไถนาแช่ลงไปด้วย เมื่อแช่ ๒ - ๓ วันได้ที่แล้ว เอามากรองด้วยผ้าบางจนใสแล้วก็เอาเขม่าติดก้นหม้อสีดำใส่เข้าไปคนจนเข้ากันดีแล้วกรองอีก คราวนี้ก็เอามาใช้ได้ผล ข้าพเจ้าได้ใช้มันจนเขียนได้เป็นเล่ม แต่เวลาเขียนมันจะไม่แห้งทันที ต้องรอนานกว่าจะแห้ง
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    กุฏิพระอาจารย์วิริยังค์
    </TD><TD>[​IMG]
    ศาลาใหญ่
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    บรรยากาศภายในวัด
    </TD><TD>[​IMG]
    ประตูทางเข้าวัด

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ข้าพเจ้าได้ทำอยู่อย่างนี้ คือฟังเทศน์เสร็จแล้วถวายการนวด เสร็จแล้วกลับมาเขียนหนังสือตลอดเวลา ๓ เดือน การแสดงธรรมของท่านมิได้แสดงทุกๆ คืน ในที่สุดข้าพเจ้าทำงานเสร็จ สมกับคำปณิธานที่ได้ตั้งไว้ แล้วก็พยายามทำความลับไว้มิได้แพร่งพรายให้ผู้ใดทราบถึงการกระทำของข้าพเจ้าเลยแม้แต่คนเดียว

    เมื่อความสนิทสนมผู้เขียนกับท่านอาจารย์มั่นฯ นับวันแต่จะสนิทยิ่งขึ้นท่านได้ให้พรพิเศษ เมตตาพิเศษ แนะนำพิเศษ จนผู้เขียนหายความหวาดกลัวเหมือนอย่างแต่ก่อน

    อยู่มาวันหนึ่งผู้เขียนคิดว่า ก็ธรรมเทศนาที่เราเขียนแล้วนั้นจะปิดเป็นความลับไว้ทำไม เปิดเผยถวายท่านเสียดีกว่า ท่านจะกินเลือดกินเนื้อเราก็ให้รู้ไป จึงเป็นอันว่าผู้เขียนได้นำเอาเนื้อความอ่านเล่าถวาย ท่านจึงเอะใจขึ้นว่า "นี่วิริยังค์คุณไปเขียนแต่เมื่อไร" จากนั้นท่านก็ไม่ว่าอะไร และท่านก็ยอมรับว่า การบันทึกนี้ถูกต้อง โล่งอกโล่งใจข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง นึกว่ายังไงเสียคงโดนด่าหลายกระบุงแต่ท่านกลับให้ความร่วมมือเป็นอย่างน่าอัศจรรย์ ..."

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=181 width="50%">[​IMG]
    หลวงปู่อว้าน เขมโก
    เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน


    </TD><TD height=181 width="50%">สภาพในปัจจุบัน
    วัดป่านาคนิมิตต์ในปัจจุบันมีพระอาจารย์อว้าน เขมโกเป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันยังมีเสนาสนะเก่าแก่ที่ยังอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ได้แก่ กุฏิหลวงปู่มั่นที่ยังอยู่ในสภาพดี และกุฏิพระอาจารย์วิริยังค์ที่ท่านใช้จำพรรษาและบันทึกธรรมะ "มุตโตทัย" ที่อยู่ลึกเข้าไปก็อยู่ในสภาพดีเช่นกัน สภาพวัดทั่วไปยังคงความสงบร่มเย็นเป็นสัปปายะสถานที่เกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่มั่น ที่ยังรักษาสภาพแวดล้อมและข้อวัตรปฏิบัติได้เป็นอย่างเข้มแข็ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    กุฏิหลวงปู่มั่น ณ เสนาสนะป่าบ้านนาสีนวล*

    </TD><TD width="50%">ความเป็นมาของเสนาสนะป่าบ้านนาสีนวล
    ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระจำพรรษา ณ วัดป่านาคนิมิตต์ บ้านนามน ภายหลังจากปวารณาออกพรรษาแล้วองค์ท่านได้จาริกมาพำนัก ณ บ้านนาสีนวลซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนามนประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นเวลา ๘ เดือน จากบันทึก "ใต้สามัญสำนึก" โดย พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกเกี่ยวกับการมาพำนักที่บ้านนาสีนวลไว้ดังนี้

    " ... ท่านปรารภที่จะออกไปจากวัดป่าบ้านนามน เพื่อความสงบตามอัธยาศัยในที่ไม่ไกลจากวัดป่าบ้านนามนนี้เท่าไรนัก มีบ้านหนึ่งชื่อบ้านนาสีนวล อยู่ใกล้เขาภูพาน บ้านนี้มีวัดร้างอยู่วัดหนึ่งไม่ไกลจากบ้าน มีกุฏิหลังเดียว ท่านได้เลือกเอาวัดร้างนี้เป็นที่พัก ได้ออกจากวัดป่าบ้านนามนกับผู้เขียน และมีพระติดตาม ๒ รูป ตาผ้าขาว ๑ คน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    การมาอยู่บ้านนาสีนวลนี้ถือว่าเป็นการพักผ่อนของท่าน ตามธรรมดาท่านก็พักผ่อนอยู่แล้วไม่ว่าอยู่ที่ไหน แต่การอยู่ในหมู่บ้านใหญ่ พระภิกษุสามเณรก็จะมาพักเพื่อศึกษามาก เป็นการกังวลในการดูแลแนะนำสั่งสอน เมื่อมาอยู่บ้านนาสีนวล พระภิกษุสามเณรมาอยู่มากไม่ได้ เพราะเป็นบ้านเล็ก จึงถือว่าเป็นการพักผ่อน ในกาลบางครั้งพระภิกษุสามเณรผู้อยู่โดยรอบไม่ไกลนัก ก็ถือโอกาสเข้ามานมัสการเพื่อรับโอวาทจากท่านเป็นครั้งคราว..."

    และยังมีเหตุการณ์สำคัญ คือ องค์ท่านอาพาธด้วยโรคมาเลเรีย ท่านได้อนุญาตให้พระอาจารย์วิริยังค์จำวัดในห้องเดียวกับท่านได้เพื่อจะได้อุปฐากอาการอาพาธของท่านอย่างใกล้ชิดซึ่งองค์ท่านไม่เคยอนุญาตให้ใครมาก่อนเลย ในช่วงนี้เองที่พระอาจารย์วิริยังค์ได้สังเกตกิจวัตรในช่วงอาพาธขององค์หลวงปู่มั่นบันทึกไว้ใน " ใต้สามัญสำนัก " ดังนี้

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    กุฏิหลวงปู่มั่นถ่ายจากด้านหน้า*
    </TD><TD>[​IMG]
    กุฏิหลวงปู่มั่นถ่ายจากด้านหลัง*
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    กุฏิหลวงปู่มั่นด้านมุมระเบียง
    </TD><TD>[​IMG]
    ช่องลมเหนือหน้าต่าง*
    </TD></TR><TR><TD height=191>[​IMG]
    ห้องภายในกุฎิ*
    </TD><TD height=191>[​IMG]
    ลวดรายบริเวณหน้าจั่ว
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    ชั้นบนกุฏิ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    "... ข้าพเจ้าต้องอัศจรรย์มากทีเดียว ในขณะที่ได้เข้าไปอยู่ในห้องเดียวกับท่าน คือเห็นท่านตื่นตอนตี ๓ ( ๓.๐๐ น. ) ทุกวันเลยทีเดียว ผู้เขียนก็ได้ตั้งใจและคอยระวังอยู่ จึงตื่นพอดีกับท่าน เพื่อคอยปฏิบัติในขณะที่ท่านตื่นขึ้นล้างหน้า

    ต่อจากนั้นก็นั่งกัมมัฎฐานไปจนตลอดแจ้ง ผู้เขียนคิดว่าท่านก็กำลังป่วยยังไม่หายสนิท แต่ทำไมจึงยังบำเพ็ญกัมมัฏฐาน พักเพียง ๔ - ๕ ชั่วโมงเท่านั้นและยิ่งคิดหนักต่อไปว่า ก็ในเมื่อท่านได้บำเพ็ญมาอย่างหนักแล้ว และรู้ธรรมเห็นธรรมตามสมควรแล้ว เหตุไฉนท่านยังมิละความเพียรของท่านเลย อันที่จริงท่านไม่ต้องทำก็เห็นจะไม่เป็นไร เพราะท่านทำมามากพอแล้ว
    ซึ่งในวันหนึ่งผู้เขียนอดไม่ได้ต้องถามท่านว่า " ท่านอาจารย์ครับ ขณะนี้ท่านอาจารย์ก็ไม่ค่อยสบาย ควรจะได้พักผ่อนให้มากกว่านี้ จะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น " แต่แล้วก็ได้รับคำตอบว่า " ก็ยิ่งไม่สบาย คนเรามันใกล้ตาย ก็ต้องยิ่งทำความเพียรโดยความไม่ประมาท แม้เราจะเป็นผู้ได้รับการฝึกฝนมามากแล้ว แต่ก็ต้องทำและยิ่งมีความรู้สึกภายในว่าต้องทำให้มาก เช่นเดียวกับเศรษฐี แม้จะมีทรัพย์มาก ก็ยิ่งต้องทำมาก วิริยังค์ สมาธิมันเป็นเพียงสังขารไม่เที่ยงหรอก ความจริงแห่งสัจธรรมจึงจะเป็นของเที่ยง และการกระทำความเพียรนี้ยังชื่อว่าทำเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์ทั้งหลายด้วย " ทำเอาผู้เขียนขนลุก ปิติซู่ซ่าไปหมด ทั้งคิดว่าท่านแม้จะมีคุณธรรมสูง ท่านก็มิได้เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว ยังต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อบุคคลอื่นอย่างน่าสรรเสริญ ... "

    นอกจากหลวงปู่มั่นแล้วยังมีหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโทได้มาจำพรรษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๖ - ๒๔๘๙ อีกด้วย

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    ซุ้มประตูวัดศรีคูณไชย
    ในปัจจุบัน

    </TD><TD width="50%">สภาพในปัจจุบัน
    เสนาสนะป่าบ้านนาศรีนวลปัจจุบันอยู่ในบริเวณวัดศรีคูณไชย ซึ่งเป็นวัดบ้าน ในปัจจุบันกุฏิที่องค์หลวงปู่มั่นได้มาพำนักยังคงมีอยู่ มีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา สังเกตได้ว่ายังได้รับการดูแลที่ไม่ดีนัก หลายส่วนชำรุด พื้นไม้กระดานผุมากต้องใช้ความระมัดระวังในการขึ้นมาสำรวจ หลังคาที่มุงแผ่นไม้มีมีรอยรั่วอยู่ทั่วไป แต่กุฏิหลังนี้ก็ยังคงความงดงามอยู่จัดได้ว่าเป็นกุฏิที่มีศิลปกรรมการแกะสลักไม้ที่สวยงามมาก ควรได้รับการดูแลและบูรณะอย่างเร่งด่วนเพื่อมิให้ชำรุดไปมากกว่านี้และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป พื้นที่ส่วนใหญ่ในวัดเป็นทุ่งโล่งกว้างภายในวัดมีเสนาสนะคือศาลาการเปรียญและกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างขึ้นในภายหลัง
    หากเดินทางมาวัดนี้ ให้เดินทางมาตามเส้นทางสู่วัดดอยธรรมเจดีย์ เมื่อถึงวัดดอยฯ แล้วให้เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านนาสีนวลอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดศรีคูณไชยอยู่ทางซ้ายมือ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=279 width="50%">
    [​IMG]
    สถานที่ซึ่งเคยเป็นที่ตั้ง
    กุฏิหลวงปู่มั่น*

    </TD><TD height=279 width="50%">ความเป็นมาของวัด

    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ พระอาจารย์วิริยังค์ได้รับคำสั่งจากองค์หลวงปู่มั่นให้มาแก้ไขความเชื่อของชาวบ้านห้วยแคน เนื่องจากมีความเชื่อในการนับถือผีและได้แนะนำเกี่ยวกับการทำการเกษตรให้แก่บ้านนี้อีกด้วย พระอาจารย์วิริยังค์ได้บันทึกเกี่ยวกับสภาพบ้านห้วยแคนในสมัยไว้ในหนังสือ " ชีวิตคือการต่อสู้ " บันทึกประวัติของท่านเองไว้ว่า

    "... บ้านห้วยแคน บริเวณเป็นป่าใหญ่ เป็นชายภูเขาร่มรื่นสมควรที่จะอยู่วิเวกทำสมาธิให้ยิ่งในที่นี้ ..."
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อพระอาจารย์วิริยังค์ได้มาพำนักที่นี่ได้ทำการสั่งสอนชาวบ้านให้เลิกนับถือผี และเกี่ยวกับการประกอบอาชีพจนทำให้หมู่บ้านนี้พัฒนาทั้งทางด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และคุณธรรมจริยธรรม จนเป็นที่น่าพอใจแล้วพระอาจารย์วิริยังค์จึงได้อาราธนาองค์หลวงปู่มั่นมาเยี่ยมและพำนักอยู่ที่นี่เป็นเวลา ๓ เดือน ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ต่อมาชาวบ้านหนองผือได้มาอาราธนาองค์ท่านไปจำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือ หลวงปู่มั่นจึงได้จากที่นี่ไปและจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือติดต่อกันเป็นเวลา ๕ พรรษาจนมรณภาพ

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    กุฏิร้างภายในวัด*
    </TD><TD>
    [​IMG]
    ศาลาใหญ่หลังปัจจุบัน
    สร้างบนบริเวณที่เคยเป็นศาลาสมัยหลวงปู่มั่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    บริเวณที่เคยเป็นเสนาสนะหลวงปู่มั่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สภาพวัดในปัจจุบัน
    ภายหลังจากที่องค์หลวงปู่มั่นได้จากไปแล้ว พระอาจารย์วิริยังค์ได้มาดูแลเสนานสนะป่าแห่งนี้บ้างเป็นการชั่วคราว ต่อมาได้ร้างลงจนเสนาสนะต่างๆ เช่น ศาลาโรงธรรม กุฏิที่หลวงปู่มั่นเคยพำนัก ก็ได้ผุพังสูญหายไปตามกาลเวลา เหลือเพียงสภาพป่าไม้ที่ยังคงรักษาไว้เหมือนเมื่อครั้งที่องค์ท่านยังอยู่ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณวัดบ้านห้วยแคนใหญ่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=320 width="50%">
    [​IMG]
    ห้องน้ำที่พระอาจารย์วิริยังค์สร้างให้วัดบ้านห้วยแคนใหญ่*
    </TD><TD height=320 width="50%">
    [​IMG]
    คุณตาเจริญ ดาสุภี*
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คณะสำรวจได้พบกับคุณตาเจริญ ดาสุภี อายุ ๖๗ ปี ท่านเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านห้วยแคนใหญ่ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๔๑ คุณตาเล่าว่าในสมัยที่องค์หลวงปู่มาพำนักที่นี่ คุณตาอายุประมาณ ๗ - ๘ ขวบ ยังได้ทันเห็นองค์หลวงปู่มั่น ซึ่งคุณตาเองยังได้มาเป็นเด็กวัดคอยช่วยงานที่วัดนี้ โดยเฉพาะพระอาจารย์วิริยังค์คุณตายังได้เคยยกบาตรถวายท่าน คุณตาได้พาไปชี้จุดที่เคยเป็นกุฏิที่พำนักหลวงปู่มั่น ศาลาโรงธรรมในสมัยนั้นซึ่งปัจจุบันได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นมาแทนเพราะของเก่าผุพังลงไปแล้ว คุณตาได้เล่าว่าภายหลังจากที่บริเวณนี้ได้ร้างลง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ก็ได้มีการย้ายวัดบ้านมาตั้งในบริเวณนี้ โดยได้ขออนุญาตกับทางเจ้าคณะจังหวัดฝ่ายธรรมยุติในสมัยนั้นเรียบร้อยแล้ว ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พระอาจารย์วิริยังค์ได้มาเยี่ยมวัดบ้านห้วยแคนใหญ่นี้ และยังได้เมตตาสร้างห้องน้ำให้วัดนี้ด้วย

    วัดนี้ไม่มีหลักฐานอะไรหลงเหลืออยู่เลยว่าองค์หลวงปู่ได้เคยมาพำนักที่นี่ ควรจะได้มีอนุสรณ์เป็นถาวรวัตถุขึ้นชี้บริวณต่างๆ ภายในวัด เพื่อมิให้ลืมเลือนไป เพราะถ้าหากคนรุ่นเก่าได้ล้มหายตายจากไปแล้ว เรื่องราวเกี่ยวกับวัดนี้ก็จะคงจะถูกลืมเลือนไปอีกเช่นกัน
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่นบนกุฏิ
    </TD><TD width="50%">ความเป็นมาของวัด

    เมื่อครั้งที่องค์หลวงปู่มั่นพำนัก ณ เสนาสนะป่าบ้านห้วยแคน ขณะนั้นท่านพระอาจารย์หลุย ( หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ) จำพรรษาอยู่ที่ บ้านหนองผือนาใน พระอาจารย์หลุยได้แนะนำชาวบ้านหนองผือให้อาราธนาหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่นี่ ชาวบ้านจึงได้เดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่น ณ บ้านห้วยแคน ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือในเวลาต่อมา ติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๕ พรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๒
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในอดีตองค์ท่านไม่เคยจำพรรษาซ้ำที่ไหนเป็นปีที่ ๒ เลย การที่ท่านจำพรรษาที่นี่นานเป็นพิเศษนั้น พระอาจารย์วิริยังค์ได้บันทึกถึงสาเหตุไว้ในหนังประวัติพระอาจารย์มั่นไว้ดังนี้

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">" ... ในการที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือนี้ มีความประสงค์เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่เข้ามาศึกษา เป็นการเปิดโอกาสแก่บรรดาพระภิกษุสามเณร และเพื่อให้เข้าใจในธรรมยิ่งๆ ขึ้น กับทั้งการแสดงธรรมนั้นยังความชื่นชมและแก้ความสงสัยให้อย่างไม่มีข้อแย้ง ซึ่งคล้ายกับว่าท่านจะรู้จักกาลแห่งสังขารธรรมจักอยู่ไปไม่ได้นาน ใคร่จะสอนให้แก่บรรดาศิษย์เป็นผู้เข้าใจในธรรมอันควรที่จะพึงรู้พึงเข้าใจ สืบแทนท่านได้เป็นหลักฐานแก่คณะกัมมัฎฐานต่อไป ... เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นได้พักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือตลอดระยะเวลา ๕ ปี ก็มีประโยชน์ที่ได้วางแผนงานขั้นสุดท้ายให้แก่คณานุศิษย์และพระคณาจารย์ของท่าน ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการเป็นทายาทของท่านอย่างยิ่ง ... "

    </TD><TD width="50%">
    [​IMG]
    ศาลาหลวงปู่มั่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=15>
    กุฏิหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ*
    </TD><TD height=15>
    เตียง ธรรมมาสน์ และเก้าอี้ภายในกุฏิ
    หลวงปู่หล้า เขมปตฺโตเป็นผู้ต่อถวาย
    </TD></TR><TR><TD height=19>
    [​IMG]
    ศาลาโรงฉันหลวงปู่มั่น
    </TD><TD height=19>
    [​IMG]
    กุฏิที่หลวงตามหาบัวเคยจำพรรษา*
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สภาพวัดป่าบ้านหนองผือในสมัยนั้น หลวงพ่อชา สุภัทฺโธได้เล่าถึงบรรยากาศในช่วงที่ท่านมาศึกษาธรรมปฏิบัติกับองค์หลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือไว้ในหนังสือ " ใต้ร่มโพธิญาณ " ดังนี้

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    ทางเดินจงกรมหลวงปู่มั่น
    ที่ข้างกุฏิหลวงปู่
    </TD><TD width="50%">"...ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปันพวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ ไปกราบครูบาอาจารย์มั่น...

    ไปพบท่าน แล้วก็เห็นสภาพวัดวาอารามของท่าน ถึงจะไม่สวยงาม แต่ก็ สะอาดมาก พระเณรตั้งห้าสิบหกสิบ เงียบ! ขนาดจะถากแก่นขนุน (แก่นขนุนใช้ต้มเคี่ยว สำหรับย้อมและซักจีวร) ก็ยังแบกเอาไปฟันอยู่โน้น.. ไกล ๆ โน้น เพราะกลัวว่าจะ ก่อกวนความสงบของหมู่เพื่อน...

    พอตักน้ำทำกิจอะไรเสร็จ ก็เข้าทางจงกรม ของใครของมัน ไม่ได้ยินเสียง อะไร นอกจากเสียงเท้าที่เดินเท่านั้นแหละ

    บางวันประมาณหนึ่งทุ่ม เราก็เข้าไปกราบท่านเพื่อฟังธรรม ได้เวลาพอ สมควรประมาณสี่ทุ่มหรือห้าทุ่มก็กลับกุฏิ เอาธรรมะ ที่ได้ฟังไปวิจัย... ไปพิจารณา

    เมื่อได้ฟังเทศน์ท่าน มันอิ่ม เดินจงกรมทำสมาธินี่... มันไม่เหน็ดไม่เหนื่อย มันมีกำลังมาก ออกจากที่ประชุมกันแล้วก็เงียบ! บางครั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน เพื่อนเขาเดิน จงกรมอยู่ตลอดคืนตลอดวัน จนได้ย่องไปดูว่าใครท่านผู้นั้นเป็นใคร ทำไมถึงเดินไม่หยุดไม่พัก นั่น... เพราะจิตใจมันมีกำลัง..."

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=265 width="50%">จึงถือได้ว่าวัดป่าบ้านหนองผือในสมัยนั้นเปรียบดั่งมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนา โดยมีองค์หลวงปู่มั่นเป็นพระอาจารย์ใหญ่ มีหลักสูตรคืออริยมรรคและธุดงควัตร มีกฏระเบียบคือพระธรรมวินัย ข้อวัตรต่างๆ มีปริญญาคือความพ้นทุกข์เป็นหลักชัยตามแนวทางแห่งพระบรมครูพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรดาพระอาจารย์ท่านต่างๆ ที่ได้หลั่งไหลมาศึกษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือนี้ ก็คือครูบาอาจารย์พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พระอริยสัจธรรมในเวลาต่อมานั่นเอง</TD><TD height=265 width="50%">
    [​IMG]
    กุฏิพระอาจารย์วิริยังค์
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=255 width="50%">
    [​IMG]

    ทางเดินภายในวัด*
    </TD><TD height=255 width="50%">สภาพวัดป่าบ้านหนองผือในปัจจุบัน
    วัดป่าบ้านหนองผือ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า " วัดภูริทัตตถิราวาส " ซึ่งเป็นนามที่ตั้งโดยท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) ตามฉายาของหลวงปู่มั่น เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์แก่องค์ท่านที่ได้เมตตาจำพรรษาที่นี่นานที่สุด ในปัจจุบันเสนาสนะต่างๆ ในสมัยหลวงปู่มั่นก็ยังคงรักษาและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ได้แก่ กุฏิพร้อมทางเดินจงกรม ศาลาโรงธรรม ศาลาฉันภัตตาหาร และของใช้เล็กๆ น้อยๆ ขององค์ท่าน สภาพบรรยากาศวัดก็ยังคงความสงบวิเวกอยู่เช่นเดิม ป่าไม้ยังคงสภาพสมบูรณ์มีกุฏิกรรมฐานซ้อนตัวอยู่จุดต่างๆ ภายในวัด ภายใต้ร่มไม้ที่เปรียบดั่งหลังคา
    ธรรมชาติร่มเย็นตลอดทั้งวัน เป็นรมมณียสถานสำหรับการภาวนาอีกแห่งหนึ่งสำหรับนักปฏิบัติทั้งหลาย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    อัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ประดิษฐานบนศาลาใหญ่ วัดป่าบ้านหนองผือ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>

    [​IMG]
    ศาลาในเขตสังฆาวาส*
    </TD><TD>
    [​IMG]
    ศาลาใหญ่หลังปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    [​IMG]
    บิณบาตยามเช้า*
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ
    เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
    </TD><TD width="50%">ปัจจุบันมีท่านพระครูสุทธธรรมมาภรณ์ ( พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ ) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านยังคงรักษาข้อวัตรต่างๆ ไว้เช่นเดียวกับสมัยหลวงปู่มั่น รวมถึงพยายามจำกัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้มีแต่พอดี เพื่อให้วัดแห่งนี้ยังคงสภาพเดิมต่อไป
    ในทุกวันที่ ๑๐ - ๑๑ พฤศจิกายนของทุกปีจะมีจัดงาน วันน้อมรำลึกครบรอบคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งในงานจะได้มีการแสดงพระธรรมเทศนาปฏิบัติธรรมเพื่อน้อมรำลึกถึงองค์หลวงปู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    บรรยากาศภายในวัดป่ากลางโนนภู่*
    </TD><TD width="50%">ความเป็นมาของวัด

    พระอาจารย์ฉลวย ( หลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม วัดป่าวิทยาลัย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มรณภาพแล้ว ) ได้เดินธุดงค์ไปนมัสการหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ก่อนจะเข้าไปถึงวัดปากทางคือบ้านของนายอ่อน โมราราษฎร์ อุปฐากผู้ให้ที่พักและคอยรับส่งผู้ที่จะเข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์ฉลวยได้ไปอาศัยพักเช่นกัน นายอ่อนได้กล่าวถึงสถานที่บริเวณบ้านกุดก้อมว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เคยกล่าวว่า ที่นั้นมีทำเลอันดีเหมาะสมที่จะสร้างวัด พระอาจารย์ฉลวยจึงขอให้นายอ่อนพาไปดู จึงพบว่าเป็นสัปปายะเหมาะแก่การภาวนาจริง จึงได้สร้างเสนาสนะขึ้นนายอ่อนก็ได้ถวายที่ดินของตนเพิ่มเติมด้วยจึงได้เป็นวัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ในเวลาต่อมา โดยมีพระอาจารย์ฉลวยเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาท่านได้นิมนต์ พระอาจารย์กู่ ธมฺมธินฺโน มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วาระสุดท้ายก่อนนิพพาน ณ ศาลาพักอาพาธ วัดป่าบ้านกลางโนนภู่

    ภายหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ แล้ว อาการป่วยขององค์หลวงปู่มั่นหนักขึ้นทุกวัน องค์ท่านทราบถึงความเป็นไปในอนาคตแล้วปรารภที่จะไปมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาสในเมืองสกลนคร จึงได้มีการจะนำท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส โดยอาราธนาท่านพักบนคานหามแวะพักที่ศาลาหลังเล็กวัดป่าบ้านกลางโนนภู่ก่อนเป็นเวลา ๑๑ วัน การที่ท่านมาพักที่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่นี้ก็เพื่อโปรดนายอ่อน โมราราษฎร์ผู้สร้างวัดนี้และยังเป็นโยมที่คอยช่วยเหลือองค์ท่านที่วัดป่าบ้านหนองผือตลอดระยะเวลา ๕ ปี
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    ภาพชุดประวัติศาสตร์ขณะอาราธนาองค์หลวงปู่มั่นขึ้นคานหามจากวัดป่าบ้านหนองผือสู่วัดป่ากลางโนนภู่
    จัดแสดงอยู่บนศาลาพักอาพาธ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    จากบันทึกของหลวงตาทองคำ จารุวณฺโณผู้อุปฐากองค์หลวงปู่มั่นในช่วงอาพาธได้บันทึกเหตุการณ์ในช่วงที่ท่านมาพักอาพาธไว้ในหนังสือ " บันทึกวันวาน " ไว้ดังนี้

    "... เป็นเวลา ๑๑ วันที่ท่านได้พักอยู่ วัดกลางบ้านภู่ อันเป็นวัดที่โยมอ่อน โมราราษฎ์ เป็นผู้สร้าง โยมอ่อนเป็นผู้มีศรัทธารับสิ่งของต่างๆ ที่ส่งมาจากกรุงเทพฯ เชียงใหม่ จันทบุรี โดยทางพัสดุไปรษณีย์บ้าง ฝากคนมาส่งบ้าง ส่งถึงวัดป่าบ้านหนองผือตลอดระยะเวลา ๕ ปี ผู้เล่าคิดว่าท่านพระอาจารย์ คงจะเห็นอุปการะส่วนนี้ อันเป็นวิสัยของนักปราชญ์ จึงมาพักฉลองศรัทธาของโยมอ่อน

    บรรดาพระสงฆ์ที่เป็นศิษย์ทั้งพระเถระ อนุเถระทั้งไกลทั้งใกล้ ได้มาดูแลปฏิบัติเป็นจำนวนร้อย ต่างพักหมู่บ้านใกล้เคียง มีหนองโดก ม่วงไข่ บะทอง เป็นต้น ส่วนวัดกลางบ้านภู่ไม่ต้องกล่าวถึง นอกกุฏิ ตามร่มไม้ ริมป่า ปักกลดเต็มไปหมด

    ทางราชการมีท่านนายอำเภอพรรณานิคมเป็นประธาน ก็ได้ประกาศเป็นทางการให้ชาวพรรณา ฯ ทุกตำบล หมู่บ้าน ขอให้มาช่วยกันดูแล เพื่อความสะดวกสบายแก่พระสงฆ์เป็นจำนวนร้อยๆ นั้น อาหารบิณฑบาต ที่พัก น้ำปานะเพียงพอไม่มีบกพร่อง อาการเจ็บป่วยของท่านพระอาจารย์ ดูจะทรุดลงเรื่อยๆ ตัวร้อนเป็นไข้ไอจะสงบ ก็เป็นครั้งคราว พอให้ท่านได้พักบ้าง

    บรรดาศิษย์ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ได้มีการประชุมกัน มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เป็นประธาน ความว่าจะให้ท่านมรณภาพที่นี่ หรือที่สกลนคร มติในที่ประชุมเห็นว่า ให้ท่านฯ มรณภาพที่นี่แล้วค่อยนำไปสกลฯ โดยให้พระมหาทองสุกไปจัดสถานที่คอย ที่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    ศาลาพักอาพาธด้านหน้า*
    </TD><TD>
    [​IMG]
    ทางขึ้นศาลาพักอาพาธ
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    แค่หามหลวงปู่มั่น*
    </TD><TD>
    [​IMG]
    นิทรรศการบนศาลา*
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คืนวันที่ ๑๑ ที่มาพักวัดกลางบ้านภู่ เวลาตีสามเห็นจะได้ ท่านพระอาจารย์มีอาการไม่สบายมาก ท่านโบกมือขวาบอกว่าไปสกลฯ ไปสกลฯ จนอาการทุเลาลง คณะคิลานุปัฎฐาก ( ผู้ปฏิบัติภิกษุไข้ ) ก็ทำการเช็ดตัว ถวายน้ำล้างหน้า เช็ดหน้า ห่มผ้า ก็รุ่งสว่างพอดี
    อาหารบิณฑบาตพระป่วยก็นำมา ผู้เล่าตักถวาย ท่านอาจารย์วันประคองข้างหลัง อาหารช้อนแรก ท่านเริ่มเคี้ยวพอกลีนได้ครึ่งหนึ่ง ก็มีอาการไอ ไอ ไอติดต่อกัน อาหารช้อนแรกยังไม่ได้กลีนก็ต้องคายออก

    ตักถวายช้อนที่สอง ท่าน ยังไม่ได้เคี้ยวเกิด ไอ ไอ ไอใหญ่ ท่านคายลงกระโดนแล้วบอกว่า

    " เรากินมา ๘๐ ปีแล้ว กินมาพอแล้ว "

    ผู้เล่าถวายน้ำอุ่นให้ดื่มเพื่อระงับอาการไอ

    ท่านบอกว่า " เอากับข้าวออกไป "

    ผู้เล่าอ้อนวอนท่าน อีก " เอาอีกแล้ว ทองคำนี้ พูดไม่รู้จักภาษา บอกว่า เอาออกไป มันพอแล้ว " ก็จำใจนำออกไป

    พอท่านบ้วนปากเสร็จ จึงเข้าไปประคองแทนท่านอาจารย์วัน ท่านบอกว่า " พลิกเราไปด้านนั้นทางหน้าต่างด้านใต้ " แล้วบอกว่า " เปิดหน้าต่างออก "

    ผู้เล่ากราบเรียนว่า " อากาศยังหนาวอยู่ สายๆ จึงค่อยเปิด "

    "เอาอีกแล้ว ทองคำนี้ไม่รู้ภาษาจริงๆ บอกว่าให้เปิดออก หูจาวหรือจึงไม่ได้ยิน"

    พอเปิดหน้าต่างออกไป อะไรได้คนเต็มไปหมดทั้งบริเวณ ประมาณได้เป็นร้อยๆ คน ทุกคนที่มาจะเงียบหมดไม่มีเสียงให้ปรากฏ ถ้าเราอยู่ที่ลับตาจะไม่รู้ว่ามีคนมาทุกคนก้มกราบประนมมือ

    ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า

    "พวกญาติโยมพากันมามาก มาดูพระเฒ่าป่วยดูหน้าตาสิ เป็นอย่างนี้ละญาติโยมเอ๋ย ไม่ว่าพระไม่ว่าคน พระก็มาจากคน มีเนื้อมีหนังเหมือนกัน คนก็เจ็บป่วยได้ พระก็เจ็บป่วยได้ สุดท้ายก็คือ ตาย ได้มาเห็นอย่างนี้แล้วก็จงพากันนำไปพิจารณา เกิดมาแล้ว ก็แก่ เจ็บ ตาย แต่ก่อนจะตาย ทานยังไม่มีก็ให้มีเสีย ศีลยังไม่เคยรักษาก็รักษาเสีย ภาวนายังไม่เคยเจริญ ก็เจริญให้พอเสีย จะได้ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ด้วยความไม่ประมาท นั้นละจึงจะสมกับที่ได้เกิดมาเป็นคน เท่านี้ละ พูดมากก็เหนื่อย" นี้คือ โอวาทที่ท่านฯ ให้ไว้แก่ชาวพรรณานิคมตั้งแต่นั้นจนวาระสุดท้ายท่านไม่ได้พูดอักเลย ..."

    ภายหลังญาติโยมทางวัดป่าสุทธาวาสได้จัดรถมารับองค์ท่านและมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาสในคืนวันนั้นเอง

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=77>
    [​IMG]
    ทางเข้าวัดป่ากลางโนนภู่
    </TD><TD height=77>
    [​IMG]
    พระประธานในวิหาร*
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    เจดีย์ที่เก็บอัฐิพระอาจารย์กู่ ( ซ้าย ) พระอาจารย์กว่า ( ขวา )
    </TD><TD>
    [​IMG]
    กุฏิพระอาจารย์กว่า สุมโน อดีตเจ้าอาวาส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สภาพในปัจจุบัน
    วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ในปัจจุบันยังคงอนุรักษ์ศาลาที่พักอาพาธนี้ไว้ และยังได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงบริขารยามอาพาธโดยมีหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโนได้เมตตามาเปิดและรับผ้าป่าช่วยชาติ บริขารยามอาพาธอันได้แก่อันได้แก่ แคร่ มุ้ง อันเป็นส่วนประกอบของคานหามที่ได้ใช้อาราธนาองค์ท่านมาจากวัดป่าบ้านหนองผือ มาที่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่แห่งนี้ นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับชีวประวัติหลวงปู่มั่น ภาพถ่ายต่างๆ และพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ และของอดีตเจ้าอาวาส คือ พระอาจารย์กู่ ธมฺธินโน กับ พระอาจารย์กว่า สุมโน เสนาสนะที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ อนุสรณ์สถานที่เจดีย์บรรจุอัฐิพระอาจารย์กู่ ธมฺธินโน กับ พระอาจารย์กว่า สุมโน กุฏิที่พระอาจารย์กว่าสุมโนเคยจำพรรษา
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์ฉลวย สุธมฺโม
    </TD><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์กู่ ธมฺมธินฺโน
    </TD><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์กว่า สุมโน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    สามพระอาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ากลางโนนภู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ส่วนสภาพในวัดปัจจุบันยังคงความร่มรื่นร่มเย็น สมกับเป็นสถานที่ที่องค์หลวงปู่มั่นเลือกจะมาพักอาพาธ ณ สถานที่นี่

    ปัจจุบันมีพระอาจารย์ประจักษ์ ขนฺติโก เป็นเจ้าอาวาส
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    รูปหล่อหลวงปู่มั่นภายในพิพิธภัณฑ์
    </TD><TD width="50%">ความเป็นมาของวัด

    หลวงปู่เสาร์ กันตสีลเถระ กับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระได้รับการอาราธนาจาก อุบาสิกาสามพี่น้อง ได้แก่ นางนุ่ม, นางนิล ชุวานนท์ และนางลูกอินทร์ วัฒนสุชาติ ผู้มีความเลื่อมใสในพระอาจารย์ทั้งสอง มาจำพรรษา ณ เสนาสนะป่าบ้านบาก ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ต่อมาจึงได้จัดสร้างเป็นวัดป่าสุทธาวาสในเวลาต่อมา

    ภายหลังที่ท่านจากภาคเหนือมาจำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จ.อุดรธานีแล้ว คณะศรัทธาชาวสกลนครได้กราบอาราธนาท่านมาจำพรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาสอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๘๔ แล้วท่านจึงไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก จวบจนวาระที่ท่านใกล้มรณภาพจึงได้มาทิ้งขันธ์ ณ วัดป่าสุทธาวาสใน พ.ศ. ๒๔๙๒
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">
    วาระนิพพาน ณ วัดป่าสุทธาวาส

    หลังจากที่ท่านพักอาพาธที่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ๑๑ วันแล้ว คณะศิษย์นุศิษย์ได้อาราธนาองค์หลวงปู่มั่นนอนในเปลพยาบาลแล้วนำท่านขึ้นรถเพื่อมาพัก ณ วัดป่าสุทธาวาส ออกเดินทางแต่เช้าถึงวัดป่าสุทธาวาสประมาณเกือบ ๑๒ นาฬิกา จากบันทึกของหลวงตาทองคำ จารุวณฺโณผู้อุปฐากองค์หลวงปู่มั่นในช่วงอาพาธได้บันทึกเหตุการณ์ในช่วงที่องค์ท่านมรณภาพไว้ในหนังสือ " บันทึกวันวาน " ไว้ดังนี้

    "... จากพรรณานิคม ถึงวัดป่าสุทธาวาส สกลนคร เกือบ ๑๒ นาฬิกา เพราะทางหินลูกรังกลัวจะกระเทือนมาก ท่านฯ ก็หลับมาตลอด นำท่านฯ ขึ้นกุฏิ ศิษย์ผู้ใกล้ชิดก็มี ผู้เล่า ท่านวัน ท่านหล้า ผู้จัดที่นอนให้ท่านฯ ได้ผินศีรษะไปทางทิศใต้ ปกติเวลานอนท่านฯ จะผินศีรษะไปทางทิศตะวันออก ด้วยความพะว้าพะวัง จึงพากันลืมคิดที่จะเปลี่ยนทิศทางศรีษะของท่านฯ
    </TD><TD width="50%">
    [​IMG]
    พิพิธภันธ์บริขารหลวงปู่มั่น
    สร้างบนสถานที่ที่หลวงปู่มั่นมรณภาพ*
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    พระพุทธรูปที่หลวงปู่มั่นเคยบูชาเป็นประจำ
    ที่วัดป่าบ้านหนองผือท่านประดิษฐ์ฐานรองด้วยองค์ท่านเอง
    ประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์
    </TD><TD width="50%">
    เวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. เศษ ท่านฯ รู้สึกตัวตื่นตื่นขึ้นจากหลับ แล้วพูดออกเสียงได้แต่อือๆ แล้วก็โบกมือเป็นสัญญาณ แต่ไม่มีใครทราบว่าท่านฯ ประสงค์สิ่งใด มีสามเณรรูปหนึ่งอยู่ที่นั้น เห็นท่าอาการไม่ดี จึงให้สามเณรอีกรูปไปนิมนต์พระเถระทุกรูป มีเจ้าคุณจูม พระอาจารย์เทสก์ พระอาจารย์ฝั้น เป็นต้น มากันเต็มกุฏิ
    เท่าที่สังเกตดู ท่านใกล้จะละสังขารแล้ว แต่อยากจะผินศีรษะไปทางทิศตะวันออก ท่านพลิกตัวไปได้เล็กน้อย ท่านหล้า ( พระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต ) คงเข้าใจ เลยเอาหมอนค่อยๆ ผลักท่านไป ผู้เล่าประคองหมอนที่ท่านหนุน แต่ท่านรู้สึกเหนื่อยมาก จะเป็นการรบกวนท่านฯ ก็เลยหยุด ท่านฯ ก็เห็นจะหมดเรี่ยวแรง ขยับต่อไปไม่ได้ แล้วก็สงบนิ่ง ยังมีลมหายใจอยู่ แต่ต้องเงี่ยหูฟัง ท่านวันได้คลำชีพจรที่เท้า ชีพจรของท่านเต้นเร็วชนิดรัวเลย รัวจนสุดขีดแล้วก็ดับไปเฉยๆ ด้วยอาการอันสงบ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">


    เป็นอันว่าอวสานแห่งขันธวิบากของท่านฯ ได้สิ้นสุดลงแล้ว ท่ามกลางศิษย์จำนวนมาก ในเวลาประมาณ ๐๒.๐๐ น. เศษๆ ณ วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร เหลือไว้แต่ผลงานของท่านมากมายเหลือคณานับ ..."

    ภายหลังจึงได้มีการฌาปนกิจศพของท่าน และประชุมเพลิงศพ ณ วัดแห่งนี้ เมื่อวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ๒๔๙๓ ต่อมาจึงได้สร้างอุโบสถในบริเวณที่ประชุมเพลิง และพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่นตรงบริเวณกุฏิที่องค์ท่านมรณภาพ

    ( ชมประมวลภาพประวัติศาสตร์วันประชุมเพลิงศพหลวงปู่มั่น คลิ๊ก )​

    </TD><TD width="50%">
    [​IMG]
    อุโบสถวัดป่าสุทธาวาส*
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 borderColor=#ffffff cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    อัฐิธาตุหลวงปู่มั่นประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    บริขารและเครื่องใช้ต่างของหลวงปู่มั่นภายในพิพิธภัณฑ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    อัฐิธาตุหลวงปู่หลุย จันทสาโร
    </TD><TD width="50%">
    สภาพในปัจจุบัน
    วัดป่าสุทธาวาสในปัจจุบันกลายสภาพเป็นวัดป่ากลางเมือง เป็นสำนักเรียนสำคัญของพระภิกษุสงฆ์ในสกลนคร ปูชนิยสถานสำคัญภายในวัดนอกจากอุโบสถและพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่นแล้ว ก็ยังมี "จันทสารเจติยานุสรณ์"
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จนฺทสาโรอีกด้วย โดยเจดีย์นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชกระแสว่า

    "ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้ มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านจะได้อยู่ใกล้กัน"

    และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบเจดีย์องค์นี้ ด้วยพระองค์เอง พระราชทาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    จันทสารเจติยานุสรณ์
    </TD><TD>
    [​IMG]
    หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร*
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    บริขาร
    </TD><TD>
    [​IMG]
    ยาประจำตัว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://www.luangpumun.org
     
  8. ป่ากุง

    ป่ากุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +784
    ศิษย์ที่ออกจากบ้านหนองผือ ล้วนเป็นพระอรหันต์แทบทั้งสิ้น เช่น พ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่บ้านตาด หลงปู่ภูจ้อก้อ หลวงปู่ใหญ่แห่งป่ากุง เป้นต้น
     
  9. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +904
    ขอกราบนมัสการพระอาจารย์ทุกองค์
    อนุโมทนาสาธุกับเรื่องราวของพระอริยสงฆ์สายวัดป่าทุกองค์ด้วยเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...