ถามเรื่องการพิจารณาหลังจากนั่งสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tunotun, 23 ตุลาคม 2011.

  1. tunotun

    tunotun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +79
    สวัดดีครับ ผมอยากทราบว่า เราจะพิจารณา ตอนไหน หลังจากนั่งสมาธิครับ
    หรือว่าจะต้องเข้าณาน สุดๆ ก่อนค่อยจะพิจารณาได้
    หรืออย่างไรครับ







    อนุโมทนาบุญครับ
     
  2. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +335
    ตามหลักการแล้ว
    ปฐมฌาน ก็เพียงพอแล้ว
    ต่อการบรรลุโสดาบัน สกิทาคามี

    ถ้าจะเอาอนาคามี อรหันต
    ต้องอาศัยจตุถฌานในการบรรลุ

    ให้เข้าสมาธิเต็มกำลังที่ทำได้
    จากนั้นแล้ว

    1.ถ้าหากถึงจุดเต็มกำลังแล้ว ยังสามารถนึกคิดได้ ก็พิจารณาเลย
    2.แต่ถ้าหากสมาธิแน่นมากจนนึกคิดอะไรไม่ได้เลย ถอยออกมานิดหนึ่ง
    ถอยออกมานิดหนึ่งจนรู้สึกว่าเริ่มคิดได้ ก็ให้คิดพิจารณาเลย
    3.หรือจะใช้อารมสมาธิควบกับการพิจารณาไปพร้อมๆกันเลยก็ได้
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    การพิจารณาธรรม จะดูว่า ทำตอนไหน อันนี้ ก็ค่อนข้างยากที่จะไปดู

    เพราะการมีจิต โยนิโสมนสิการ ที่ถูกต้องนั้น ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากที่จะ
    ลงมือฝึกฝน

    ดังนั้น ผู้ปฏิบัติก็ควรพิจารณาโดยไม่ประมาท โดยเล็งไปที่ "ความสงสัย"

    จะนั่งสมาธิมามากเท่าไหร่ก็ดี หลังจากทำสมาธิเสร็จแล้ว "สงสัย" ยังเกิดไหม

    หรือแม้แต่ จะนั่งพิจารณาธรรม พิจารณาไปแล้ว "สงสัย" ยังเกิดไหม

    ความเหมือนกันของการ นั่งสมาธิมาก็ดี หรือ พิจารณาธรรมก่อนสมาธิก็ดี
    หากเกิด "สงสัย" ตามมาแล้ว จะมีอาการเหมือนกันหมดคือ

    "แล้วชีวิตที่เหลือทำอะไรต่อ?" "จะต้องทำอะไรอีก?"

    คำถามเหล่านี้ที่ตามมา จะเป็นตัวบอกว่า การทำสมาธินั้น และ
    การ พิจารณาธรรม นั้น ยังไม่พอ ให้ฝึกต่อ ด้วยวิธีง่ายๆ คือ
    ทำอย่างเดิมต่อไปก่อน
     
  4. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    ระลึกรู้ได้เมื่อไหร่ ก็พิจารณาได้เมื่อนั้น ก็เพียงดูว่าจิตวิ่งเต้นไปหาอะไร รู้ทันจิตแค่ไหน

    แยกให้ออกระหว่างกำหนดสมาธิกับกำหนดพิจารณา เพราะสมาธิเน้นการเป็นหนึ่งเดียวของอารมณ์

    แต่เท่าที่เห็นครูบาอาจารย์ท่านทำนั้น ท่านก็เน้นหาที่สงบซะก่อนมากกว่า เพราะเมื่อสงบแล้ว จิตจะมองเห็นได้ชัดเจนว่าตอนนี้จิตเศร้าหมองหรือเบิกบาน หรือเฉยๆ เพราะขนาดทรงฌานเก่งๆ ก็ยังไม่ยอมพิจารณาบ่อยมากไป

    ดูอารมณ์1เดียวนั้น ก็เป็นธรรมเหมือนกัน

    เจริญธรรมครับ
     
  5. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ในฌานพิจารณาธรรมทั้งหลายไม่ได้ ต้องถอนออกมาก่อน
     
  6. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ฌานก็คือฌาน ไม่ใช่วิปัสนาญาณที่จะเข้าไปรู้แจ้งถึงนามรูปทั้งหลาย ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อจิตดิ่งสู่ไตรลักษณ์ อาจมีโอกาสที่จะเกิดมรรคจิตผลจิตได้

    แม้ได้สมาบัติ 8 ก็ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดมรรคจิต ผลจิตได้โดยตรง
     
  7. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
     
  8. linake119

    linake119 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +578
    ร่วมตอบคำถามเพ่ิมเติมให้ครับ

    ปรกติการพิจารณาธรรมนั้น จะกระทำเมื่อเรามีสมาธิจิตตั้งมั่นแล้วจึงจะกระทำได้ดี แล้วมีกำลัง ทำให้จิตเห็นแจ้งในสภาพนั้นได้ง่าย เนื่องจากมีสมาธิเป็นพื้นฐาน แต่ว่าเป็นไปได้เมื่อพิจารณาไป จิตก็จะนำเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธรรมะที่เราพิจารณาเข้ามาในอารมณ์ แสดงว่าสมาธิเราอาจเคลื่อนไปจากธรรมะที่เราตั้งใจนั้น ก็กลับมาเจริญสมถะใหม่ ก็ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสมาธิเราทรงตัว และพิจารณาธรรมะใดก็ได้ตามธรรมะนั้น แต่ไม่ควรทำเพียงเวลาที่เรานั่งสมาธิเท่านั้น หากต้องการให้สมาธิคงตัว ควรจะทำตลอด ยืน เดิน นั่ง นอน เอาให้ทรงตัวในอารมณ์อุปจารสมาธิ หรือว่าฌาน 1 จะทำให้การพิจารณาธรรมเกิดได้ง่ายกว่า เห็นได้ชัดขึ้นเนื่องจากสมาธิมันคงตัว การเกิดธรรมนั้นเกิดได้ทุกสภาวะ เกิดได้ทุกที่ เกิดได้ทุกเวลา ดังนั้นอย่าไปติดยึดกับจะต้องนั่งสมาธิครับ ให้ทรงไว้ให้ได้ตลอดทุกขณะจิต

    ก็ขอให้สำเร็จพระนิพพานกันโดยไวครับ
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    การที่เราจะรู้ว่าเมื่อใดก็ตามที่จิตเราควรแก่การงานในการที่จะใช้ในเรื่องของพิจารณานั้น...มันดูได้จากว่าจิตของเรานั้นมีความสงบ ไม่ได้แฝงไปด้วยความฟุ้งแห่งจิต...กล่าวคือจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกำลังแห่งสมาธิ.....สมาธิระดับที่จะใช้ในการพิจารณาธรรมได้นั้น...ที่ดีที่สุดจะเป็นขั้นของอุปจารสมาธิ รองลงมาคือ ขนิกสมาธิ ....เพราะว่า อุปจารสมาธินั้นจะมีความมั่นคง ควรแก่การงานมากกว่าขนิกสมาธิ เพราะว่าธรรมชาติของขนิกสมาธินั้นจะไหวไปกับสิ่งอื่นรอบข้างได้เร็วมากๆ....

    โดยปกติผู้ที่สามารถทรงสมาธิได้ในลำดับที่ลึกๆนั้น มักที่จะทรงฌานให้เป็นกำลังที่สูงก่อนเพื่อปรับสภาพจิตให้ควรแก่การงาน ให้พ้นจากอำนาจของนิวรณ์ทั้ง ๕ ถือเป็นการเคลียร์จิตแล้วถอยกำลังลงมาสู่อุปจารสมาธิ แล้วใช้เป็นบาทแห่งการพิจารณา..

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสำหรับคนที่มีความชินในการปฏิบัติแล้ว....จิตมักจะทรงตัวอยู่ในสมาธิอยู่เป็นปกติ....ด้วยความเป็นปกตินั้น....บางครั้งก็อาจไม่จำเป็นต้องตั้งท่าก่อน...ใช้กำลังแห่งการพิจารณาได้เลย อย่างนี้ก็เป็นได้....

    ข้อแตกต่างจากการเจริญวิปัสสนานั้นคือ วิปัสสนาเมื่อมีกำลังแห่งสมาธิเป็นบาทฐาน ยิ่งพิจารณายิ่งสงบ ถอดถอน เข้าใจตามความเป็นจริงมากขึ้น....ซึ่งต่างจากวิปัสสนาที่ไม่มีกำลังสมาธิ หรือ สมาธิยังไม่ควรแก่การงานเพียงพอ(ภาษาปฏิบัติ เรียก วิปัสสนึก) ยึ่งพิจารณาจะยึ่งมีความฟุ้งซ่าน คือฟุ้งซ่านในธรรมไม่มีที่สุด ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่มีผลในการลดละเลิกถอนกิเลสเลย เพียงแต่เจริญความคิดฟุ้งๆไปเรื่อยๆอย่างนี้....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2011
  10. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ธุระคงยุ่งนะครับ หายหน้าไปพักนึงเลย ^^
     
  11. tunotun

    tunotun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +79
    ขอพระคุณมากครับ

    ผมได้ความรู้และจะนำไปปฎิบัติครับ
     
  12. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    มีคนรู้ทันเราซะและเนี่ย ก็ดีเหมือนกัน ให้มีพยานบุคคลประกาศซะเลย

    ไปเดินเล่นที่ไหนมาหนอ? ตามเก็บเล็กเก็บน้อยอีกแล้วท่านพี่เรา ไม่รู้เต็มกระบุงหรือยัง...ตามเก็บไม่ยั้งเลยน๊า...สว่างไกลเลย

    เจริญธรรมครับ
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    สวัสดีครับผม

    ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ใช้อินเตอร์เน็ตเท่าไรครับผม...
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    การปฏิบัตินั้น ถ้าเราทำให้จริง มันก็ไม่ได้มีอะไรมากหลอกนะครับ เหมือนๆกันนั่นหละ

    ดีแล้วครับ....ทำต่อไปนะน้อง.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
  15. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ต้องพิจารณาในปัจจุบัน เพราะสภาวะธรรมมันปรากฏได้ในปัจจุบัน คือธรรมจริงๆ
    แล้วมันเป็นอนัตตา ไม่มีความหมาย ไม่มีจุดหมาย ไม่มีสาระ แต่ถ้าเราเห็นสิ่งใด
    มีความหมาย มีจุดหมาย มีสาระ นั่นก็คือสภาวะธรรมของเรายังมีความยึดมั่นอยู่
    มันจะเห็นได้ก็ต่อเมื่อ เกิดการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในปัจจุบัน
    มัน
    อยู่ที่ว่าให้มันทันปัจจุบัน
     
  16. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    สัมมาสมาธิคือฌานอันประกอบด้วยสติอันชอบครับ ในพระพุทธศาสนาไม่แยกสมถวิปัสสนาออกจากกันครับ ต้องควบคู่กันไป การบรรลุมรรคผลก็ต้องอาศัยฌานเข้าประกอบ

    โลกุตตรจิตมี ๔๐ ประเภทครับ มรรค ๔ ผล ๔ ประกอบกับฌาน ๕ อย่าง ฉะนั้นต้องอาศัยกำลังของสมถะด้วย อย่างน้อยฌานแรก ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค ยันอรหัตตผล อย่างน้อยต้องอาศัยปฐมฌาน อย่างมากอาศัยปัญจมฌานครับ
     
  17. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ฌานเป็นเครื่องรู้ วิปัสสนาจะเกิดไม่ได้หากไม่อาศัยฌานเป็นเครื่องรู้ ได้เพียงอนุปัสสนาเท่านั้น
    การเห็นไตรลักษณ์ไม่ต้องอาศัยฌาน แต่การประกอบกิจในอริยสัจจ์นั้นต้องอาศัยฌานเป็นเครื่องรู้ด้วย
    สติ สมาธิ ปัญญา ไม่แยกกันครับ เป็นไปตามขั้นตอน มรรคต้องครบถ้วน ขาดข้อใดก็ไม่ได้

    พระวิสุทธิ ๗ แบ่งเป็น ๓ หมวด คือ สีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ปัญญาวิสุทธิ... อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา
    พระพุทธศาสนาต้องศึกษาให้ตรงครับ ไม่อย่างนั้นอาจพลาดไปรังเกียจสมถะได้เพราะความเข้าใจผิด
     
  18. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ในความเห็นของผม ผมเห็นว่าการทำสมาธิจัดเป็นได้ทั้งกรรมฐานและอารมร์สมาธิทั่วๆไป ถ้าเป็นการทำสมาธิทั่วๆไป ปัญญาที่เกิดรู้ก็จะระดับหนึ่ง มีความรู้ความเข้าใจในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นอารมณ์กรรมฐาน ปัญญาก็จะแตกฉานในอรรถธรรมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับไป ส่วนคำถามเรื่องการภาวนา แนะนำว่าทำสมาธิให้จิตใจสงบก่อนแล้วค่อยภาวนา เพราะถ้ายังไม่มีสมาธิมันจะเขาเรียกว่าเกิดนิวรณ์ (จริงป่าวท่านผู้รู้ช่วยๆกันด้วยนะครับ.....) การภาวนาไม่ว่าจะภาวนาอะไรก็ตามที่ขาดไม่ได้เลยคืออริยสัจจ์สี่ เมื่อเข้าใจดีแล้วลองเปรียบเทียบอารมณ์กับสังโยชน์ก็ได้ครับ..........
     
  19. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    อย่าทิ้งความเพียร

    เห็นด้วยครับ ปฏิบัติไปมันก็สงบสว่างเป็นพักๆ บางทีขี้เกียจ บางทีอยากบวช บางทีอยากสึก บางทีอยากไอ้นู่นไอ้นี่ ทีนี้พอเราตั้งสติได้ เราก็ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวชครับ แนะนำดังนี้ คืออย่าละความเพียร ปฏิบัติไปยังไม่ได้ขั้นนั้นขั้นนี้ก็ไม่ต้องท้อ เราอยู่กับธรรมะน่ะเรามาถูกทางแล้ว เมื่อปฏิบัติเวลาเป็นมรรคนั้นอันนั้นบางทีเหมือนได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่อารมณ์ใดๆก็ตาม มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) แนะนำว่าภาวนาอริยสัจจ์สี่ให้มากๆ แล้วจิตใจจะค่อยๆคลายละกิเลส เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะ แล้วถ้าจะไปทางลัดหรือไปนิพพานไวๆ ก้สอบเทียบอารมณ์กับสังโยชน์ครับ.......
     
  20. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    การพิจรณาและสมาธิ

     

แชร์หน้านี้

Loading...