กฐิน..กาลทานอันมีอานิสงส์มาก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เต้าส่วน, 31 ตุลาคม 2011.

  1. เต้าส่วน

    เต้าส่วน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +98
    [​IMG]

    ออกพรรษาแล้วเป็นฤดูกาลทอดกฐิน มีกำหนดหนึ่งเดือนทางจันทรคติ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นกำหนดตายตัวทุกปี

    คนไทยถือการทอดกฐินเป็นการบำเพ็ญกุศลทานครั้งสำคัญมาตั้งแต่โบราณกาล พระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยสุโขทัยดังที่ปรากฏในศิลาจารึกสืบมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินในวัดที่สำคัญต่าง ๆ ทุกปี พระราชวงศ์ ข้าราชการ พ่อค้าประชาชนผู้มีกำลัง ก็ได้ทรงทอดและได้ทอดกฐินในวัดต่าง ๆ วัดโดยมากไม่ตกค้างกฐิน แต่ถ้าวัดใดกฐินตกค้าง ทายกทายิกาใกล้เคียงวัดนั้นก็มักเรี่ยไรกันทอด เพื่อให้พระสงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดได้รับกฐินตามพระวินัย


    [​IMG]

    <TABLE class=tr-caption-container style="MARGIN-LEFT: auto; MARGIN-RIGHT: auto; TEXT-ALIGN: center" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="TEXT-ALIGN: center">[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=tr-caption style="TEXT-ALIGN: center">พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน
    โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค
    เป็นโบราณราชประเพณีของไทยมาแต่ครั้งอดีตกาล
    กษัตราธิราชจะเสด็จมาบนเรือพระที่นั่ง
    และมีการเห่เรือประกอบ ตลอดการเสด็จพระราชดำเนิน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คำว่า กฐิน เป็นชื่อของไม้สะดึงที่วางทอดลงเพื่อขึงผ้าเย็บจีวร เหมือนอย่างไม้สะดึงสำหรับขึงผ้าปัก คำว่าทอดกฐินจึงหมายถึงนำผ้าไปถวายพระสงฆ์ เพื่อให้พระสงฆ์ทอดไม้สะดึงลงขึงผ้าที่ถวายนั้นเย็บทำจีวร ผ้าที่นำไปถวายนั้นจึงหมายถึงผ้าเช่นผ้าขาวเป็นผืนเป็นพับ ยังมิได้ทำเป็นจีวร พระสงฆ์เมื่อรับผ้านั้นแล้วต้องรีบช่วยกันตัดเย็บย้อมจนถึงครอง คือ นุ่งห่มได้ในวันนั้นทีเดียว หมายความว่าต้องให้เสร็จทุกอย่างก่อนที่อรุณจะขึ้นในที่สุดของคืนวันนั้น

    ธรรมดาพระภิกษุสงฆ์ช่วยกันเย็บจีวรใช้เอง เป็นกิจธรรมดาในพุทธกาล เพราะไม่มีผ้าฟุ่มเฟือยอย่างในปัจจุบันนี้ และพระพุทธเจ้ามีพระพุทธประสงค์ให้พระมีผ้าใช้เพียงที่จำเป็น โดยเฉพาะคือ ผ้านุ่ง (อันตรวาสกหรือสบง) 1 ผืน ผ้าห่ม (อุตราสงค์ หรือจีวร) 1 ผืน ผ้าซ้อนกันหนาว (สังฆาฏิ) 1 ผืน เรียกว่าไตรจีวร แปลว่า จีวร 3 ผืน เรียกสั้น ๆ ว่าไตร

    ปีหนึ่ง ทรงอนุญาตให้พระภิกษุเที่ยวแสวงหาผ้ามาทำจีวรเปลี่ยนชุดเก่ากันครั้งหนึ่ง มีกำหนด 1 เดือนท้ายฤดูฝน คือกำหนดที่กล่าวมาข้างต้น เรียกว่า จีวรกาล แปลว่า กาลเวลาทำจีวร

    พระภิกษุสงฆ์ผู้ได้อยู่จำพรรษาในที่ใดที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแล้ว มีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป ทรงอนุญาตให้รับกฐินได้ เมื่อได้รับกฐินแล้ว กาลเวลาทำจีวรขยายออกไปได้อีก 4 เดือน ที่จริงในเวลาอื่นจาก 5 เดือนทั้งหมดนี้ก็ทำจีวรได้ แต่ในระหว่าง 5 เดือนนั้น ได้รับผ่อนวินัยบางข้อ เพื่อให้เที่ยวไปหาผ้ามาทำจีวรกันได้สะดวก แต่ผ้ากฐินนั้น ช่วยกันทำเสร็จได้ในวันเดียวนั้นเพียงผืนเดียว จึงต้องพร้อมกันยกให้แก่พระภิกษุเพียงรูปเดียว พระอาจารย์ในภายหลังได้แก้ให้รับผ้าที่ทำจีวรมาเสร็จแล้วเป็นกฐินได้ จึงมีฝ่ายที่ถือตามมติของพระอาจารย์นั้นก็มี ถือตามธรรมเนียมเดิมในพระวินัยก็มี บางทีชวนกันทอดจุลกฐิน คือ ปลูกฝ้ายอย่างสมมุติ เก็บฝ้ายมาปั่นเป็นด้าย ทอเป็นผ้าเป็นผืนพอแล้ว ถวายแล้วตัดเย็บย้อม จนถึงครองสำเร็จในวันเดียว เป็นการโกลาหลอยู่

    <TABLE class=tr-caption-container style="MARGIN-LEFT: auto; MARGIN-RIGHT: auto; TEXT-ALIGN: center" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="TEXT-ALIGN: center">[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=tr-caption style="TEXT-ALIGN: center">ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    ท่านได้มีโอกาสพบและปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ในปี พ.ศ. 2491
    เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพ ท่านติดตามเป็นศิษย์ปฏิบัติกับพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    ปี พ.ศ. 2508 ท่านรับนิมนต์ชาวบ้านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วชุมพล
    แทนหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งไปสร้างวัดใหม่ที่ถ้ำกลองเพล
    และอยู่เรื่อยมาจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2523
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กล่าวถึงการทำบุญทอดกฐินว่า เป็นกาลทานที่มีอานิสงส์มาก แปลกจากการให้ทานสิ่งอื่นทั่วไป เพราะอานิสงส์ 5 นั้น สามารถห้ามกั้นภิกษุที่รับกฐินจากอาบัติในบางข้อ เช่น ภิกษุในวัดจะเที่ยวไปในหมู่บ้าน จะเข้าไปบ้านในเวลาวิกาลคือบ่ายแล้วไป ต้องบอกลาภิกษุอื่น ถ้าเข้าไปโดยไม่บอกลาภิกษุอื่น ท่านปรับอาบัติ แต่เมื่อได้รับกฐิน ท่านอนุญาตให้เข้าไปโดยไม่บอกลาได้ ไม่ปรับอาบัติ นี่เป็นข้อที่หนึ่งในอานิสงส์ 5

    ข้อที่ 2 ภิกษุทุกรูปจะต้องรักษาผ้าครองของตัว คือ สบง จีวร สังฆาฏิ ไปสถานที่ใดข้ามคืนโดยปล่อยปละละทิ้งผ้าจะเป็นนิสสัคคีย์ เจ้าของจะเป็นอาบัติปาจิตตีย์ (อาบัติหมวดหนึ่ง จัดไว้ในพวกอาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ) จะไปค้างคืนที่อื่นต้องเอาของ 3 สิ่งนี้ติดตัวไป แต่เมื่อรับกฐินแล้ว ท่านอนุญาตให้ปล่อยไว้ผืนใดผืนหนึ่ง เอาไปแต่เพียงสองผืนได้ ไม่เป็นอาบัติ

    ข้อที่ 3 ภิกษุอยู่ด้วยกัน มีผู้มานิมนต์ไปฉันจังหันหรือฉันเพล สำหรับพวกที่ฉันเพล ถ้าหากคนเหล่านั้นมานิมนต์ไปฉันข้าวบ้านผม หรือฉันแกงบ้านผม อย่างนั้นอย่างนี้ โภชนาทั้ง 5 คือ ข้าวสุก นมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ สิ่งเหล่านี้ออกชื่อไม่ได้ ฉะนั้น การนิมนต์พระไปฉันจังหันก็ตาม ไปฉันเพลก็ตาม เขานิยมนิมนต์กันว่า ไปฉันจังหันบ้านผม ไปฉันเพลบ้านผม ถ้าไปออกชื่อว่าไปฉันข้าวบ้านผม ภิกษุเหล่านั้นไปฉันไม่ได้ ผิดพระวินัย เมื่อฉันลงไปแล้วเป็นอาบัติ แต่เมื่อได้รับกฐิน ออกชื่อโภชนะได้ จะไปฉันไม่ปรับอาบัติ

    ข้อที่ 4 ผู้ที่ได้รับกฐิน อนุโมทนากฐิน ยังมีอานิสงส์ยืดออกไป ตั้งแต่เดือน 12 เพ็ญ จนถึงเดือน 4 เพ็ญ ในระยะนี้ สามารถเก็บจีวรที่ไม่ต้องการใช้ไว้ได้

    ข้อสุดท้าย ข้อที่ 5 คือ ลาภสิ่งของที่ให้มาที่วัดนั้น ๆ จะเป็นของภิกษุสามเณรผู้จำพรรษาตลอดไตรมาสครบ 3 เดือนได้แจกปันกันใช้สอย

    ที่กล่าวมาทั้งหมดคืออานิสงส์ 5 ของกฐิน


    [​IMG]

    กฐินเป็นของทำยาก ไม่เหมือนทานทั่วไป เพราะเป็นกาลทาน ทานทั่วไปนั้น เรามีศรัทธา มีสิ่งของเมื่อใด เราก็ทานได้ตามความปรารถนาของเรา แต่กฐินไม่เป็นอย่างนั้น ต้องอาศัยกาล อาศัยสมัย ท่านอนุญาตให้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น คือวันออกพรรษา แรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นเขตกฐิน ถ้าทำในระยะนี้ไม่ทัน ถึงเราจะมีข้าวของเงินทอง อยากจะไปทำกฐิน มันก็ทำไม่ได้ ไม่เป็นกฐิน เป็นบังสุกุล เป็นผ้าป่า เป็นสังฆทานไป ปีหนึ่งมีเพียงเดือนเดียวเท่านั้นที่จะทำกฐินกันได้ กฐินจึงมีอานิสงส์แรงกล้ากว่าอานิสงส์ของทานเรื่องอื่น ๆ

    กฐินนั้น ถึงพระจะจำพรรษาตลอดไตรมาส แต่ถ้าไม่ครบองค์ คือน้อยกว่า 5 รูป ก็ทำไม่ได้ พระครบองค์แต่ทว่าไม่มีใครทราบเรื่องจะทำกฐิน เป็นต้นว่า กะผ้า ตัดผ้า เย็บ ย้อม พินทุ อธิษฐาน กรานไม่เป็น ก็ไม่เป็นกฐิน ให้มีพระครบแล้ว แต่ถ้าพระผู้ที่จะรับกฐินได้ไม่มีความสามารถ ไม่รู้จักการทำกฐินว่าทำอย่างไรจึงจะถูกต้องตามพระวินัย ก็ทำไม่ได้ เพราะถ้าทำไม่ถูกต้องตามพระวินัย อานิสงส์ 5 ก็ไม่เกิดขึ้น

    นอกจากนั้น ถึงแม้เรามีศรัทธา แต่หากว่าร่างกายป่วยไข้ได้ทุกข์ จะทำก็ทำไม่ได้อีก เรามีศรัทธา แต่ไม่มีสมบัติข้าวของ อยากทำก็ทำไม่ได้ จึงเรียกว่ากฐินทำยาก ไม่ใช่ของง่าย

    ฉะนั้น พุทธศาสนิกชนผู้มีโอกาสนำผ้ากฐินมาทอด จึงจัดว่าเป็นผู้ทำมหากุศล ศรัทธาในจิตใจก็มี ข้าวของที่นำมาทำบุญสุนทานก็มี ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมจึงทำได้ จึงควรปลื้มใจในการกระทำบำเพ็ญของตน บุญกุศลที่ได้กระทำบำเพ็ญไปนี้ย่อมไม่สูญหายไปไหน อานิสงส์ที่ได้รับในปัจจุบันคือความสุข ความยินดีเบิกบานใจทุกครั้งที่ได้คิดใคร่ครวญระลึกถึง ในอนาคตต่อไป หากยังเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จะต้องอาศัยบุญกุศลที่ตนทำไว้ ส่งเสียให้ได้รับความสุขความสบายในภพชาติต่าง ๆ

    การเกิดของมนุษย์ เกิดขึ้นมาเพราะบุญกรรมที่ตนสะสมไว้ ไม่เช่นนั้น คนทั่วไปเกิดมาก็จะมีหน้าตา แข้งขา สติปัญญา มีสมบัติข้าวของเท่าเทียมกันหมด เพราะทุกคนเกิดมา ไม่ปรารถนาความทุกข์ยากอดอยาก ไม่ปรารถนารูปร่างที่ไม่สมประกอบ ทุกคนล้วนต้องการความสุขความเจริญ สวยงาม ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน มีสติปัญญาเฉียบแหลม มีสมบัติพัสถานข้าวของเงินทองมาก แต่เหตุที่ไม่เป็นไปตามความปรารถนาก็เพราะกรรมของแต่ละคนที่ได้สร้างเอาไว้ไม่เหมือนกัน

    คนที่มีบุญกุศลเป็นทุนทรัพย์ ทั้ง ๆ ที่เกิดมาไม่มีผ้าผ่อนท่อนสไบติดมือมา ไม่มีข้าวของเงินทองติดตัวมา แต่ทว่าเติบโตมาก็แสวงหาได้ อยากสร้างบ้านใหญ่โตขนาดไหนก็ได้สมใจ จะนุ่งห่มอะไรก็มีเงินแลกเปลี่ยนมา อยากรับประทานอะไรก็ซื้อเอาตามที่ตัวต้องการ เพราะบุญกุศลเก่าก่อน ปุพเพกตปุญญตาสนับสนุนให้

    ฉะนั้น เมื่อยังมีลมหายใจอยู่ ควรพินิจพิจารณาศึกษาหาหนทางประกอบคุณงามความดีให้ทวีคูณขึ้น เพราะจิตใจของเรายังไม่พ้นไปจากทุกข์จากกิเลส จำเป็นต้องอาศัยบุญกุศลสนับสนุน ถึงแม้ใจจะไม่ชอบไม่ยินดี ก็ให้ฝืนทำความดีต่อไป เหมือนกับคนไข้ที่ไม่ชอบรับประทานยา แต่ก็ต้องฝืนใจดื่มกินยานั้นเพื่อให้โรคร้ายภายในกายหายไป ความดีที่ทำไว้จะอำนวยอวยชัยให้ผล ให้ความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า


    [​IMG]

    เรื่องกฐินนี้ พระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี เล่าว่า พระอาจารย์ของท่านคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ชอบทอดกฐินทุกปี ปีละหลาย ๆ วัด อานิสงส์ของกฐินตามที่หลวงพ่อปานเทศน์ให้ฟังนั้น ให้ผลทั้งชาติปัจจุบันและชาติต่อ ๆ ไป คนที่ทอดกฐินให้สังเกตตัวเองดู ถ้าได้ทอดแล้ว 2-3 ครั้ง ความเป็นอยู่จะคล่องตัวขึ้น ถึงแม้จะไม่ร่ำรวย แต่ก็มีโชคดีมากขึ้น หาลาภสักการะคล่องขึ้น ท่านบอกว่านี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวของอานิสงส์ อานิสงส์ของการทอดกฐินนั้น สามารถจะบันดาลให้คนปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าสำเร็จผล

    ในอติเทวราชชาดก ได้เล่าเรื่องพระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดิ ทรงถวายคู่แห่งผ้าเพื่อกฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงตั้งพระราชปณิธานความปรารถนาขึ้นว่า ด้วยอำนาจกฐินทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเถิด ข้าพเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูแล้วในกาลใด จะรื้อขนสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏในกาลนั้น ครั้นจบคำอธิษฐาน พระโกณฑัญญพุทธเจ้าทรงพิจารณาอนาคตกาลด้วยพุทธจักษุญาณ ทราบว่าความปรารถนาของบรมกษัตริย์องค์นี้จักสำเร็จสมพระประสงค์ จึงได้ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดแห่งสามอสงไขยแสนกัลป์ นับแต่กัลป์นั้น พระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินี้ จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "โคดม" คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้

    <TABLE class=tr-caption-container style="MARGIN-LEFT: auto; MARGIN-RIGHT: auto; TEXT-ALIGN: center" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="TEXT-ALIGN: center">[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=tr-caption style="TEXT-ALIGN: center">พระกัสสปพุทธเจ้า
    จิตรกรรมฝาผนัง วัดหอเชียง หลวงพระบาง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในสมัยพระศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งเป็นคนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง ไปอาศัยเศรษฐีนาม "สิริธรรม" ผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ โดยยอมตนเป็นคนรับใช้ มีหน้าที่ดูแลรักษาหญ้า จึงได้ชื่อว่า ติณบาล วันหนึ่ง เขาคิดว่า ตัวเราที่เป็นคนยากจนเช่นนี้ เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติก่อนเลย มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่น ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย เมื่อคิดดังนี้แล้ว เขาได้แบ่งอาหารที่ท่านเศรษฐีให้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวายแก่พระสงฆ์ที่มาบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งสำหรับตนเองรับประทาน ด้วยกุศลผลบุญนั้น ทำให้ท่านเศรษฐีเกิดความสงสาร ให้อาหารเพิ่มอีก 2 ส่วน เขาได้แบ่งอาหารออกเป็น 3 ส่วน ถวายแก่พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งให้แก่คนจนทั้งหลาย ส่วนที่สามไว้บริโภคเอง ทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาช้านาน

    ต่อมา ในวันออกพรรษา เหล่าชนผู้มีศรัทธาต่างพากันทำบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีก็เตรียมจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกัน เมื่อติณบาลได้ทราบก็เกิดความเลื่อมใส เข้าไปหาท่านเศรษฐีเพื่อถามอานิสงส์ของกฐิน ท่านเศรษฐีตอบว่า กฐินมีอานิสงส์มากมายหนักหนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสยกย่องสรรเสริฐว่าเป็นทานอันประเสริฐ

    เมื่อติณบาลทราบดังนี้แล้ว ก็มีความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก แสดงความประสงค์ที่จะร่วมอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานครั้งนี้ด้วย จึงกลับไปยังที่อยู่ของตน ครุ่นคิดอยู่เป็นเวลานาน แต่ก็หาสิ่งที่จะร่วมอนุโมทนากฐินกับท่านเศรษฐีไม่ได้ ในที่สุดเขาได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกพับให้ดี แล้วเย็บใบไม้นุ่งแทน เอาผ้านุ่งนั้นไปเร่ขายในตลาด ในที่สุด เขาได้ขายผ้านั้นไปแล้วนำเงินไปมอบให้ท่านเศรษฐีซื้อด้ายสำหรับเย็บไตรจีวร

    กาลครั้งนั้นได้เกิดโกลาหลทั่วไปในหมู่ชน ตลอดถึงเทวดาในสวรรค์ทั้งหกชั้นฟ้า และล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระเจ้าพาราณสี จึงรับสั่งให้นำติณบาลเข้าเฝ้า แต่เขาไม่ยอมเข้าเฝ้าเพราะอาย เมื่อได้ตรัสถามความเป็นไปของเขาโดยตลอดแล้ว ทรงให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่เขา ทั้งยังได้พระราชทานบ้านเรือนและทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมาก แล้วโปรดให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า ท่านติณบาลเศรษฐี เมื่อเขาดำรงชีวิตอยู่พอสมควรแก่อายุขัยแล้ว ก็ตายไปเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติในวิมานแก้ว มีนางเทพอัปสรเป็นบริวาร ส่วนเศรษฐีสิริธรรมครั้นตายจากโลกมนุษย์แล้ว ก็ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เช่นเดียวกันกับท่านติณบาลเศรษฐี

    ในนรชีวกฐินทานชาดก ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญญาสชาดก ได้เล่าเรื่องพระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นนายนรชีวะ อยู่ในครอบครัวยากจน แต่เป็นลูกกตัญญุเลี้ยงดูมารดา ได้ชักชวนเศรษฐีให้มีศรัทธา ถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระปทุมุตรพุทธเจ้าเป็นประธาน เศรษฐีมีความยินดี ได้จัดกฐินไปถวายพระภิกษุสงฆ์ และได้ทูลถามพระปทุมุตรพุทธเจ้าถึงอานิสงส์แห่งการถวายผ้ากฐิน

    พระปทุมุตรพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเหล่าใดปรารถนาหาความสุขนั้น ได้ถวายกฐินจีวรไว้ บุคคลเหล่านั้นจะพ้นจากความทุกข์ เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมจะถึงความสุขในหมู่เทวดาและมนุษย์ จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น

    เมื่อเศรษฐีได้ฟังอานิสงส์แห่งกฐินทานเช่นนั้น ก็มีใจเบิกบานยิ่งนัก ส่วนนายนรชีวะผู้เป็นพระโพธิสัตว์ ได้หมอบกราบแทบพระบาทของพระปทุมุตรพุทธเจ้า ตั้งวาจาธิษฐานว่า ด้วยกุศลผลบุญที่ข้าพระองค์ได้ชักนำเศรษฐีผู้มีทรัพย์ให้ถวายผ้ากฐินนี้ ขอให้ข้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในกาลภายหน้า แม้ข้าพระองค์ยังไปไม่ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าตราบใด ชื่อว่าความเข็ญใจอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย พระปทุมุตรพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ว่า ด้วยผลแห่งกฐินทานนั้น นายนรชีวะจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีในอนาคตกาล ก็คือพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้
     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    กราบอนุโมทนา สาธุ
    กับทุกท่านที่ได้ทำบุญทอดกฐิน
    และสร้างกุศลทุกอย่างตั้ง่แต่อดีตถึงปัจจุบันด้วยครับ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  3. poomdunn

    poomdunn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +380
    กราบอนุโมทนา สาธุ
    กับทุกท่านที่ได้ทำบุญทอดกฐิน
    และสร้างกุศลทุกอย่างตั้ง่แต่อดีตถึงปัจจุบันด้วยjaaa
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
     
  4. นิ่งไว้

    นิ่งไว้ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +20
    ขออนุโมทนาในความรู้เรื่องกฐินในบทความนี้
    และ อนุโทมทนากับทุก ๆ ท่านที่ได้ทำบุญทอดกฐินในปีนี้ด้วยค่ะ
     
  5. วิปัศย์

    วิปัศย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,443
    เมื่อยังมีลมหายใจอยู่ ควรพินิจพิจารณาศึกษาหาหนทางประกอบคุณงามความดีให้ทวีคูณขึ้น เพราะจิตใจของเรายังไม่พ้นไปจากทุกข์จากกิเลส จำเป็นต้องอาศัยบุญกุศลสนับสนุน ถึงแม้ใจจะไม่ชอบไม่ยินดี ก็ให้ฝืนทำความดีต่อไป เหมือนกับคนไข้ที่ไม่ชอบรับประทานยา แต่ก็ต้องฝืนใจดื่มกินยานั้นเพื่อให้โรคร้ายภายในกายหายไป ความดีที่ทำไว้จะอำนวยอวยชัยให้ผล ให้ความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
     
  6. athikhom1965

    athikhom1965 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +77
    อนุโมทนาสาธุกับทุกท่านที่ได้ทำบุญทอดกฐินครับ
    ที่ได้สร้างกุศลทุกอย่างตั้ง่แต่อดีตถึงปัจจุบันด้วยครับ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  7. CHOLPRATAN319

    CHOLPRATAN319 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +2,552
    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านเป็นอย่างสูง
    ที่ได้ทำบุญในทุกกระทู้เข้ามาเข้าประชาสัมพันธ์ ในหมวดประชาสัมพันธ์
    และข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่าน ที่เอาธรรมะที่เป็นสัมมาทิฐิมามาโพสเผยแผ่ในเว็ปพลังจิต<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  8. dooperty

    dooperty Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +65
    พระปทุมุตรพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเหล่าใดปรารถนาหาความสุขนั้น ได้ถวายกฐินจีวรไว้ บุคคลเหล่านั้นจะพ้นจากความทุกข์ เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมจะถึงความสุขในหมู่เทวดาและมนุษย์ จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น........สาธุๆๆ ครับ
     
  9. เก๋ณัฐา

    เก๋ณัฐา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    5,680
    ค่าพลัง:
    +57,773
    เก๋ขอร่วมอนุโมทนาสาธุคะ
    และขอฝากมหากฐินสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทเมืองนาคไว้ด้วยนะคะสาธุคะ



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาในธรรมทาน และบุญที่ทุกๆท่านได้ตั้งใจสั่งสมไว้ดีแล้ว
     
  11. AmaKuZa_GiNG

    AmaKuZa_GiNG สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    ขออนุโมทนาสาธุ ในการที่ท่านได้นำความรู้เรื่องอานิสงฆ์แห่งกฐินทานมาเผยแพร่เป็นธรรมทานด้วยนะครับ
     
  12. โอม อุดมชัย

    โอม อุดมชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    512
    ค่าพลัง:
    +2,527

แชร์หน้านี้

Loading...