<VSN><<<มาใหม่ สายเขาอ้อ อ.ชุม,อ.ปาล,อ.คง, สรุปรายการหน้า๑๐๓>>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 25 ธันวาคม 2010.

  1. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    รับทราบครับท่าน เผอิญไปตจว. เพิ่งกลับครับ พรุ่งนี้จะไปส่งให้นะครับจะส่งพร้อมกริ่งเขากงเลยครับท่าน
     
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    รายการเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อทองหยิบ เดินทางแล้วนะครับเช้านี้ 26/10/54

    im.peet : EI527840740TH<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    รายการใหม่ เดินทางแล้วนะครับเช้านี้ 26/10/54

    ธีรวิช : EI527840722TH<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    เหรียญหล่อรูปไข่ เนื้อตะกั่วพระฤาษี รุ่นแรก หลวงพ่อมหาอาคม วัดดาวนิมิต จ.เพ็ชรบูรณ์ พ.ศ.2520

    ตำนานตะกั่วพระฤาษี

    ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงเคยเห็นพระหล่อพิมพ์ต่างๆของหลวงพ่ออาคมที่สร้างจากเนื้อ ตะกั่ว ซึ่งส่วนใหญ่ท่านล้อพิมพ์พระกรุเก่า และเหรียญบางรุ่นของท่านก็มีเนื้อตะกั่วด้วยนะครับ เช่นเหรียญล้อพิมพ์รุ่นแรกที่ออกปี 2536 , เหรียญคู่ชีวิต หรือถ้าใครเคยสังเกตเห็นรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรกบางองค์ของหลวงพ่ออาคม ก็มีการนำตะกั่วมาอุดที่ใต้ฐานด้วย ขนาดพระกริ่งท่านรุ่นแรกยังมีการสร้างด้วยเนื้อตะกั่วเลยครับ ส่วนการแยกแยะวัตถุมงคลของท่านที่สร้างจากเนื้อตะกั่วนั้น ถ้าจะให้เขียนกันคงต้องยืดยาวเกินไปครับ เอาเป็นว่าเรามาเจาะประเด็นกันเลยดีกว่าว่า เนื้อตะกั่วที่หลวงพ่ออาคมนำมาสร้างพระนั้น เป็นเนื้อตะกั่วอะไรหรือเป็นแค่ตะกั่วธรรมดาที่มีขายกันอยู่ทั่วไปหรือเปล่า ฉนั้นวันนี้เลยต้องขอเขียนตรงประเด็นนี้หน่อยครับเพราะมีคนเมลเข้ามาสอบถาม กันมากเหลือเกิน ตะกั่วเป็นธาตุโลหะชนิดหนึ่งที่คนโบราณมีความเชื่อกันว่าโลหะธาตุชนิดนี้ถ้า นำมาสร้างพระเครื่องหรือวัตถุมงคลแล้ว จะมีคุณสมบัติสามารถดูดซับพลังกระแสจิตหรือพลังธรรมของพระเกจิอาจารย์ที่ ปลุกเสกได้ดีกว่าโลหะธาตุชนิดอื่น ฉะนั้นพระเกจิในอดีตจึงนิยมสร้างวัตถุมงคลเป็นเนื้อตะกั่วกันซึ่งหลายๆท่าน อาจจะเข้าใจผิดคิดว่า ที่คนโบราณนิยมสร้างวัตถุมงคลเป็นเนื้อตะกั่วเพราะเป็นวัตถุที่หาง่ายและต้น ทุนต่ำ ถ้าท่านคิดเช่นนั้นถือว่าผิดถนัดครับ

    สำหรับ ประวัติความเป็นมาของตะกั่วที่หลวงพ่ออาคมนำมาสร้างเป็นพระเครื่องหรือนำมา อุดใต้ฐานรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรกของท่านนั้น หลวงพ่อมักจะเรียกตะกั่วชนิดนี้ว่า ตะกั่วฤาษี สาเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะว่าสมัยที่ท่านยังเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบา อาจารย์และฝึกจิตให้เข้มแข็งอยู่นั้น มีอยู่วันหนึ่งท่านได้พบกับถ้ำแห่งหนึ่งในแถบภาคอิสาน ณ ถ้ำแห่งนี้หลวงพ่อสังเกตเห็นว่าเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาทางจิตเป็นอย่างมาก ท่านจึงปลักกลด ณ สถานที่แห่งนี้ หลังจากที่ท่านทำภารกิจตามกิจของสงฆ์เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านก็เข้าสมาธิเจริญภาวนาเพื่อฝึกจิต ระหว่างที่ท่านกำลังอยู่ในห้วงแห่งสมาธิก็ได้เกิดเห็นในนิมิตแห่งญาณ เห็นเป็นลักษณะของคนแก่นุ่งขาวห่มขาว มีหนวดเครารุงรัง เดินเข้ามาหาท่านพร้อมกับยกมือไหว้หลวงพ่ออาคม แล้วก็พูดขึ้นมาว่า “เกล้ากระผมรอท่านมาตั้งนานแล้วครับ กระผมขอมอบของสิ่งหนึ่งให้ท่านครับ ให้ท่านเอาไปสร้างเป็นวัตถุมงคลเอาไว้แจกญาติโยมเพราะอีกหน่อยท่านต้องมี ภาระที่ต้องทำสถานที่แห่งหนึ่งเกี่ยวกับพระศาสนา ฉะนั้นท่านต้องมีสิ่งที่น้อมนำให้คนเข้ามาช่วยท่านทำภารกิจตรงนี้ สิ่งที่เกล้ากระผมจะมอบให้นี้ เป็นตะกั่วที่กระผมได้อธิฐานจิตไว้แล้วมีฤทธิ์ทางดับปืนไฟและเป็นมหาอุดหยุด ปืนไฟ ขอให้ท่านเก็บเอาไว้ให้ดีเอาไว้สร้างกุศลเพื่อพระพุทธศาสนาต่อไป และของสิ่งนี้ก็อยู่ในซอกถ้ำด้านข้างใน ขอให้ท่านเข้าไปเอามาเถอะ มีคนเคยเข้ามาในถ้ำนี้กันมากแต่กระผมบังตาเอาไว้ไม่ให้ใครเห็นรอจนท่านมานี่ แหละและก็หวังว่าท่านคงนำสิ่งที่กระผมมอบให้นี้ไปสร้างกุศลเพื่อสืบสานพระ พุทธศาสนาสืบต่อไปเทอญ หมดภารกิจของกระผมแล้ว กระผมต้องไปเสียทีเพราะรอท่านมานานเหลือเกิน กระผมกราบลาท่านละครับ” เสร็จคำพูดของตาประขาวร่างในนิมิตของตาปะขาวตนนี้ก็หายไป หลวงพ่ออาคมจึงถอนจากสมาธิและคิดว่ามันจะเป็นจริงดั่งที่ตาปะขาวพูดหรือไม่ ท่านจึงลองเดินเข้าไปในถ้ำ ดูตามจุดที่ตาปะขาวบอก แล้วก็เป็นจริงดั่งที่ตาปะขาวพูด ท่านพบก้อนตะกั่ว อยู่หลายก้อน ก้อนหนึ่งท่านบอกว่ากะๆดูแล้วน่าจะหนักสักประมาณ 1 กิโลกรัม แต่ท่านเอามาแค่ประมาณ 2 ก้อน และตอนหลังเมื่อธุดงค์ผ่านไป ณ ถ้ำแห่งนี้อีกท่านก็ทยอยเอามาจนหมด แปลกแต่จริงไหมครับที่ตะกั่วในถ้ำนี้ไม่มีใครเคยเห็นแม้จะเดินเข้าไปตรงจุด ที่มีตะกั่ววางอยู่ จะมีก็แต่องค์หลวงพ่ออาคมเพียงท่านเดียวเท่านั้นที่มองเห็นและสามารถเอามา ได้ หรือเทวดาในถ้ำจะบังตาเอาไว้รอเพียงหลวงพ่ออาคมเท่านั้นที่มีสิทธิ์จะเอาไป ได้ เป็นของคู่บุญเฉพาะตนจริงๆ หลวงพ่ออาคมมักพูดเสมอมาว่า แค่ตะกั่วฤาษีอย่างเดียวไม่ต้องเสกอะไรปืนก็ยิงไม่ออกแล้วเพราะพระฤาษีท่าน ทำไว้ดีแล้ว ขลังสุดๆ ตั้งแต่นั้นมาท่านจึงนำตะกั่วดังกล่าวฯมาสร้างวัตถุมงคลโดยการผสมกับตะกั่ว เก่าของกรุนาดูรที่ท่านได้มาตอนธุดงค์เช่นกัน และท่านจะเรียกตะกั่วชนิดนี้ว่า ตะกั่วฤาษีเสมอมา .........
    [​IMG]


    [​IMG][​IMG]





    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lpakk1.jpg
      lpakk1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.5 KB
      เปิดดู:
      1,507
    • lpakk2.jpg
      lpakk2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.4 KB
      เปิดดู:
      1,462
    • index3.jpg
      index3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      148.5 KB
      เปิดดู:
      1,454
    • index333.jpg
      index333.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.5 KB
      เปิดดู:
      1,365
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2011
  5. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    พระผงอายุยืน หลวงปู่สี ปี17 เนื้อพิเศษชานหมาก เกศา ปิดทอง ครับ

    พระผงรุ่นนี้มีประกอบไปด้วยมวลสารสำคัญหลายอย่างดังนี้ ผงว่าน108 ดอกบัวบูชาหลวงพ่อโสธร ขี้ธูปจากที่บูชา สมเด็จโต วัดระฆัง วัดชนะสงคราม วัดอรุณ ขี้ธูปและดอกไม้จากศาลหลักเมือง ดอกไม้บูชาพระแก้วมรกต ดอกไม้บูชาพระนอนวัดโพธิ์ และศาลหลักเมืองที่สำคัญๆ น้ำมนต์จากวัดระฆัง วัดชนะสงคราม วัดอรุณ หลวงพ่อพระพุทธชินราช พิษณุโลก วัดสระเกศ วัดชัยพฤกษ์ วัดอินทร์ ผงดินใจกลางเมือง และดินจาก4 ทิศ ชานหมาก และน้ำหมากรวมทั้งผงวิเศษที่ท่านเขียนขึ้นขององค์หลวงปู่สี หลวงปู่สี ประกอบพิธีปลุกเสกเดี่ยว จึงมั่นใจได้ถึงความเข้มขลัง ด้วยความที่ หลวงปู่สี มีพลังจิตแก่กล้า เจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ พระผงอายุยืนหลวงปู่สี (เต็มองค์) จึงมีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นแคล้วคลาด ป้องกันภยันตรายรอบทิศ คงกระพัน และเมตตามหานิยม คณะศิษยานุศิษย์ หรือผู้ที่ห้อยคล้องพระผงอายุยืนหลวงปู่สี ต่างมีประสบการณ์หลากหลาย จัดเป็นวัตถุมงคลรุ่นสำคัญอีกรุ่นหนึ่งของเมืองนครสวรรค์ ยิ่งเนื้อพิเศษ ชานหมาก เกศา สร้างน้อย พร้อมปิดทองเต็มสูตร สวยสมบูรณ์อย่างนี้หายากอย่างยิ่ง เพราะส่วนใหญ่จะอยู่กับศิษท์ใกล้ชิดเท่านั้น ใครสนใจห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวงนะครับ


    [​IMG]


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2012
  6. im.peet

    im.peet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +172
    ได้รับพระแล้วครับ ขอบคุณมากครับ
     
  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    ได้รับพระแล้ว ถูกใจนะครับท่าน
     
  8. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    สุดยอดเหรียญในตำนาน
    เหรียญรุ่นแรก อาจารย์ชุม ไชยคีรี ปี 2517


    [​IMG]


    เหรียญ รูปเหมือนอาจารย์ ชุม ไชยคีรี รุ่นแรก พิธีปลุกเสกทีละเหรียญตามตำราโสฬส โดยวิญญาณหลวงปู่คง ปรมาจารย์ขุนแผน วิญญาณหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน วิญญาณมหาเทพบรมครู พระพิฆเณศวรที่สำนัก อาจารย์ชุม ไชยคีรี 16 วัน 16 คืน เสกทีละเหรียญ เหรียญสร้างจากเนื้อโสฬสธาตุ 16 อย่าง ส่วนหนึ่งได้นำมาจากชนวนสร้างพระโสฬสมงคล พระภควัมบดีของหลวงพ่อวัดแหลมทราย จ.สงขลาตั้งแต่ปี 2481 ก่อนประกาศสงครามโลกครั้งที่ 2 พิธีจำกัด 2,517 เหรียญ

    โสฬส 16 อย่าง มีดังนี้
    1.เหล็ก ไหล 2.เจ้าน้ำเงิน 3.ทองคำ 4.เงินบริสุทธิ์ 5.นาค 6.ทองแดง 7.ทองเหลือง 8.แร่ดีบุก 9.แร่วุลแฟรม 10.แร่จักรนารายณ์ 11.แร่สังควานร 12.แร่ชิณ 13.แร่ตะกั่วดำ 14.แร่ตะกั่วเถื่อน 15.แร่เหล็กน้ำพี้ 16.เหล็กยอดพระปรางค์

    เหรียญ รูปไข่ รูปอาจารย์ชุม มีโค้ดตอกด้านล่าง หลังยันต์ เหรียญนี้ท่านแจกเฉพาะคณะศิษย์เพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลาย หาชมยากมาก เหรียญนี้เป็นของมรดกตกทอดกันมาจากบ้านของท่านอาจารย์ ชุม รับประกันความแท้เลยครับ แต่ก่อนเคยออกจากสำนักที่กรุงเทพเหรียญละ 10,000บ.เลยนะครับ

    [​IMG][​IMG]



    [FONT=&quot]รายการนี้โชว์ครับ[/FONT] <fieldset class="fieldset"> <legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG]
    </fieldset>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  9. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    ประวัติหลวงพ่อปลอด แห่งวัดหัวป่า
    [FONT=&quot]หากจะกล่าวถึงพระเถราจารย์ที่เป็นผู้ทรง วิทยาคมเรืองวิทยาเวทย์บำเพ็ญตนในเพศสมณะที่สมบูรณ์ด้วยศีลาจริยาวัตรอันงด งาม[FONT=&quot]ประกอบด้วยวัตรปฏิบัติอันสมถะสันโดษ ปราศจากมลทินใดๆ พลังจิตแก่กล้าด้วยเมตตาธรรม เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรครองจิตใจผู้คนทั่วไป พุทธศาสนิกชนต่างทราบเกียรติประวัติของพระเถระรูปหนึ่งเป็นอย่างดี พระเถระรูปนี้คือ พระครูพิศิษฐ์บุญสาร หรือหลวงพ่อปลอด ภาษาถิ่นคือ “พ่อท่านปลอด” หรือ “ตาหลวงปลอด” แห่งวัดหัวป่า ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา[/FONT]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ชาติภูมิ
    [/FONT][FONT=&quot] พระครูพิศิษฐ์บุญสาร (หลวงพ่อปลอด บุญฺญสฺสโร) นามเดิมว่าปลอด นามสกุล อ่อนเเก้ว ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 10ค่ำ เดือน10 ปีจอ ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2441 จ.ศ.1260 ร.ศ.117 ค.ศ.1989 ที่หมู่ 4 ต.ตะเครียะ อ.ระโนด จ.สงขลา เป็นบุตรคนที่3 ในจำนวนพี่น้อง 6คน ของนายสุข นางฝ้าย อ่อนเเก้ว สำหรับพี่น้อง ได้เเก่ นายดำ อ่อนเเก้ว นางกิมเนี่ยว อ่ำปลอด พระครูพิศิษฐ์บุญสาร นายเถื่อน อ่อนเเก้ว นายถั้น อ่อนเเก้ว เเละ นางซุ่นเนี่ยว อ่อนเเก้ว
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ชีวิตยามปฐมวัย
    [/FONT][FONT=&quot] เด็กชายปลอด อ่อนเเก้ว เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นบุตรที่อยู่ในโอวาทของบิดามารดา เป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาโอบอ้อมอารีเป็นที่รักของญาติพี่น้อง ครั้นพออายุควรเเก่การศึกษา บิดาจึงได้นำไปฝากพระอธิการคง ฆงคสฺสโร เจ้าอาวาสวัดหัวป่าในสมัยนั้น เพื่อศึกษาภาษาไทย อักษรขอม และอักษรสมัยใหม่ต่างๆ ซึ่งพระอธิการคงได้รับไว้เป็นศิษย์และสอนให้ด้วยตนเอง จนกระทั่งมีความรู้ความสามารถ อ่านออกเขียนได้
    [/FONT]
    บรรพชาและอุปสมบท

    [FONT=&quot] หลวงพ่อปลอดได้รับการศึกษาอบรมด้านพระธรรมวินัย ครั้นพออายุได้ 19ปี เกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ขอบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพุธ ขึ้น 13ค่ำ เดือน8 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม 2459 ณ วัดหัวป่า โดยมีพระอธิการคง ฆงคสสโร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว สามเณรปลอดก็ได้ศึกษาวิชาวิทยาเวทย์ และคาถาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อคง ด้วยความเป็นผู้มีความเพียรสูง จึงได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากหลวงพ่อคงอย่างรวดเร็ว
    พออายุครบอุปสมบท สามเณรปลอดก็ได้อุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2460 ตรงกับ ขึ้น 14ค่ำ เดือน8 ปีมะเส็ง ณ วัดหัวป่า โดยพระอธิการคง ฆงคสฺสโร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุก ธมฺมสโร และพระชู ติสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปุญฺญสฺสโร”

    ด้วยเหตุที่เป็นผู้ที่รักในการศึกษาหาความรู้ จึงเริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา พระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จนสอบผ่านและได้เลื่อนวิทยฐานะตามลำดับดังนี้

    [/FONT][FONT=&quot]อายุ[FONT=&quot] 35ปี พรรษาที่14 สอบได้นักธรรมตรี นวกภูมิ ณ สำนักเรียนวัดหัวป่า ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2475[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]อายุ[FONT=&quot] 38ปี พรรษาที่17 สอบไล่ได้นักธรรมโท มัชฌิมภูมิ ณ สำนักเรียนวัดหัวป่า ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2478[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]วันที่ [FONT=&quot]5 ธันวาคม 2517 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูพิศิษฐ์บุญสาร”[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot] นอกจากความรู้ทางธรรมแล้ว ท่านยังได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาเวทย์ จากอาจารย์ที่มีความรู้เรื่องไสยเวทย์ ไม่ว่าจะเป็นสมณะชีพราหมณ์ หรือเพศฆราวาส ได้ศึกษาภาษาขอมจากพระอาจารย์ไข่ ศึกษาวิธีทำตะกรุดพิศมร จากอาจารย์ทวดทองขาว ซึ่งเป็นฆราวาสและผู้เรืองวิทยาเวทย์แก่กล้ามาก โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี หนังเหนียว ศาสตราอาวุธทั้งหลายไม่สามารถทำอันตรายได้เลย

    นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจากอาจารย์เพิ่ม ซึ่งเป็นฆราวาสอยู่ที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และจากพระอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ต่างๆอีกมากมาย จนรู้แตกฉานทางวิทยาคมในแขนงต่างๆ จนในที่สุดได้เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกในงานต่างๆนับครั้งไม่ถ้วน

    นับได้ว่าหลวงพ่อปลอด เป็นพระอริยะสงฆ์ที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม และเมตตาจิตรเป็นพระเถราจารย์ที่สำคัญรูปหนึ่งของภาคใต้ ท่านเป็นภิกษุที่มีความเมตตา ยินดีรับทุกข์ของทุกคนที่ไปขอความช่วยเหลือ ช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์ของผู้เดือดร้อน เป็นศูนย์กลางความสามัคคี ใครทะเลาะวิวาทกันก็เรียกมาพูดคุย จนกระทั่งคู่กรณียอมรับในคำตัดสิน แม้ในยามวิกาล ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้ถูกงูพิษกัด ได้รับการรักษาจนรอดปลอดภัยทุกราย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงในละแวกบ้าน จนชาวบ้านเรียกท่านติดปากว่า “พระอาจารย์ปลอด” หรือ “พ่อท่านปลอด”

    ในทางวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อปลอดเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษาโรคนานาชนิด เช่นการรักษาผู้วิกลจริต หรือเสียสติ การรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ติดยาเสพติด ผู้ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยเฉพาะวิชาสยบแมลงป่อง วิชาผสานพลังจิต เป็นที่เลื่องลือยิ่งนัก ท่านจึงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของผู้ตกทุกข์ได้ยาก เป็นผู้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ช่วยเหลือทางราชการในการรักษาพยาบาล เนื่องจากสมัยนั้นโรงพยาบาลของรัฐมีไม่เพียงพอ และอยู่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวก นอกจากนั้นท่านยังมีพลังจิต มีพลานุภาพในการทำน้ำพระพุทธมนต์เพื่อขจัดปัดเป่า ผู้ที่ถูกคุณไสยหรือผีเข้า ล้างสิ่งอัปมงคล และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์คือท่านมี “วาจาสิทธิ์” พูดอะไรจะเป็นไปตามที่พูดเสมอ ในแต่ละปีทางวัดจะจัดพิธีสรงน้ำหลวงพ่อปลอด ในเดือน 5(เมษายน) ของทุกๆปี บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายเฉพาะผู้ชายจะหมอบลงกับพื้น เริ่มที่ประตูห้องตลอดไปตามแนวระเบียงนอกชานกุฏิ จนถึงสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ของวัดจัดไว้ เป็นที่ให้ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปมาสรงน้ำ โดยทุกคนต้องการให้หลวงพ่อเหยียบบนร่างกายของตนเพื่อเป็นสิริมงคล พร้อมกับอธิษฐานขอพรตามปรารถนา

    [/FONT]
    [FONT=&quot]งานด้านการปกครอง
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ. [FONT=&quot]2474 เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวป่า[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ. [FONT=&quot]2478 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดหัวป่า[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ. [FONT=&quot]2507 เป็นพระอุปัชฌาย์[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot] เนื่องจากหลวงพ่อปลอดเป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย ท่านจึงยึดมั่นในระเบียบการครองวัดตามระเบียบของมหาเถรสมาคม มีการทำอุโบสถสังฆกรรม(สวดปาฏิโมกข์)ตลอดปี มีกฎระเบียบของวัดเกี่ยวกับ การบวชนาค นวกภิกษุ การเรียนการสอนปริยัติธรรม และการอบรมศิษย์วัด เป็นต้น

    [/FONT][FONT=&quot]งานด้านการศึกษา [FONT=&quot]
    เนื่องจากหลวงพ่อปลอดเป็นผู้มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการศึกษา ท่านจึงพยายามสั่งสอนศิษย์ทุกคนให้ได้รับการศึกษา และหาความก้าวหน้าในชีวิตด้านการศึกษา วิธีการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ศิษย์รักการศึกษา คือ การตั้งรางวัลให้ทุนกับผู้ที่มีความอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร และเรียนดี นอกจากนั้น ท่านยังสนับสนุนโดยการส่งภิกษุสามเณร ที่ท่านเห็นว่ามีภูมิปัญญาควรแก่การส่งเสริมให้ไปศึกษาเล่าเรียน ณ สำนักเรียนอื่นๆ ซึ่งมีการจัดการศึกษาในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น จะเห็นได้จากศิษย์ของหลวงพ่อปลอดหลายรูปจบปริญญาตรี โท และปริญญาเอก

    [/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]การเผยแพร่พระศาสนา [FONT=&quot]
    ตั้งแต่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ท่านเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในทางเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยเป็นผู้ให้การอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนและประชาชน มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2475 – 2535 และในปี พ.ศ.2519 ท่านได้ร่วมมือกับธรรมฑูตในการเผยแพร่ศีลธรรมให้กัวนักเรียนและชาวบ้านหัวป่า ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมทำความดี ทำบุญกุศล และร่วมพิธีในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และที่สำคัญคือ ท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ในช่วงเข้าพรรษาของทุกๆจะมีผู้เลื่อมใสศรัทธาบวชเรียนประจำพรรษาอยู่วัดหัวป่า เป็นจำนวนมากจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
    [/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]งานด้านสาธารณูปการ[FONT=&quot] และการพัฒนาวัด
    หลวงพ่อปลอดนอกจากเป็นพระอาจารย์ที่เรืองวิทยาเวทย์แล้ว ยังเป็นพระผู้นำ พระนักพัฒนา ท่านชอบสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น ท่านไม่เคยอยู่นิ่งเลย ได้สร้างสิ่งต่างๆ อาทิ[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ.[FONT=&quot]2483 สร้างอาคารเรียน โรงเรียนวัดหัวป่า มีลักษณะทรงปั้นหยา กว้าง 8เมตร ยาว 24เมตร ราคาก่อสร้าง 2,000บาท[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ.[FONT=&quot]2492 สร้างพระอุโบสถถาวร หลังที่3 ทดแทนหลังเดิมที่ชำรุด[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ.[FONT=&quot]2497 สร้างศาลาการเปรียญ ลักษณะทรงไทยชั้นเดียว กว้าง 14เมตร ยาว 16เมตร ราคาก่อสร้าง 70,000บาท[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ.[FONT=&quot]2505 เริ่มดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ เนื่องจากหลังเก่าชำรุดมาก จึงให้รื้อและสร้างใหม่ให้ถาวร กว้าง 9เมตร ยาว 16เมตร[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ.[FONT=&quot]2513 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิ ลักษณะทรงไทย 2ชั้น กว้าง 3เมตร ยาว 6เมตร ค่าบูรณะ 20,000บาท และในปีเดียวกันท่านได้ชักชวนให้ชาวบ้านขุดสระน้ำในในบริเวณที่ดินวัด เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ.[FONT=&quot]2515 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิลักษณะทรงไทย 2ชั้น กว้าง 9เมตร ยาว 9เมตร ค่าบูรณะ 65,000บาท ท่านได้ชักชวนให้ราษฎรบ้านหัวป่าพัฒนาเส้นทางคมนาคม โดยตัดถนนหน้าวัดยาว 2กิโลเมตร[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ.[FONT=&quot]2523 สร้างศาลาการเปรียญ(โรงธรรม)[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ.[FONT=&quot]2524 สร้างเมรุเผาศพ(รื้อแล้ว)[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]พ.ศ.[FONT=&quot]2526–2527 สร้างหอระฆัง[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]
    ช่วงสุดท้ายของชีวิต

    [/FONT][FONT=&quot] หลวงพ่อปลอดได้มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 สิริอายุรวม 97ปี พรรษาที่ 76 ปัจจุบันร่างของท่านนอนสงบนิ่งอยู่ในโลงแก้ว ณ กุฏิหลังหลังใหม่ (ย้ายกลับหลังเดิมแล้ว)วัดหัวป่า หากท่านผู้ใดเป็นศิษยานุศิษย์ ผ่านไปอำเภอระโนด จะเข้าไปกราบบูชาสรีระของท่านเพื่อขอพร ขอบารมี คุณงามความดีของหลวงพ่อมาคุ้มครองปกป้องรักษาให้ประสพโชคดีมีความสุขสืบไป

    [/FONT] [FONT=&quot]ที่มา[FONT=&quot].[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]1. น.อ.ชาติชาย นันทเสนีย์ เรื่องหลวงพ่อปลอดวัดหัวป่า นิตยสารมหาโพธิ์ เล่มที่ 76-81
    2. ทรงพล มากชูชิต นิตยสารเทียนชัย ฉบับพิเศษ
    3. สุศิษย์ เรื่องชีวประวัติหลวงพ่อปลอด หนังสือระโนดสังสรรค์ ครั้งที่ 31

    [/FONT]

    พระผงเนื้อว่านยา พิมพ์เล็บมือ หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า


    พระผงเนื้อว่านยา พิมพ์เล็บมือ สภาพสวย พ่อท่านปลอด ท่านสร้างพระไว้หลายแบบหลายพิมพ์ พิมพ์เล็บมือเป็นพิมพ์มาตรฐานพิมพ์หนึ่งของท่านครับ สร้างยุคแรก ประมาณปี2485 เนื้อหาจัด ใช้บูชาติดตัวเพื่อให้เกิดความศิริมงคลแก่ตนเอง หรือป้องกันภัยต่างๆ แม้กระทั้งเป็นยาวิเศษแก้พิษสัตว์กัดต่อยได้เป็นอย่างดี โดยการเอาองค์พระฝนกับน้ำมะนาวไปใส่ที่โดยพิษสัตว์ มีผู้ใช้ได้ผลมามากแล้ว สร้างก่อนยุคสงครามอินโดจีนเล็กน้อย แจกผู้เข้าร่วมรบ ในสมรภูมิอินโดจีน จนกลายเป็นที่มา ของชื่อ"ทหารผี" พุทธคุณครบเครื่องครับ
    [​IMG]


    [FONT=&quot]ให้บูชา [FONT=&quot]3,500บ.ครับ[/FONT][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_7518.JPG
      SAM_7518.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67.8 KB
      เปิดดู:
      1,562
    • SAM_7521.JPG
      SAM_7521.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65.4 KB
      เปิดดู:
      261
    • SAM_7520.JPG
      SAM_7520.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.6 KB
      เปิดดู:
      224
    • SAM_7525.JPG
      SAM_7525.JPG
      ขนาดไฟล์:
      60.1 KB
      เปิดดู:
      206
    • SAM_7528.JPG
      SAM_7528.JPG
      ขนาดไฟล์:
      177.1 KB
      เปิดดู:
      177
    • SAM_7531.JPG
      SAM_7531.JPG
      ขนาดไฟล์:
      146.4 KB
      เปิดดู:
      203
    • SAM_7532.JPG
      SAM_7532.JPG
      ขนาดไฟล์:
      235 KB
      เปิดดู:
      263
    • 6339512316856800002.jpg
      6339512316856800002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.7 KB
      เปิดดู:
      1,546
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2016
  10. รับโชค

    รับโชค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,131
    ค่าพลัง:
    +11,878
    แต่ละรายการแจ่ม ๆ ทั้งนั้นเลยครับท่าน
     
  11. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    แน่นอนอยู่แล้นนนนนนนน
     
  12. hatoem25

    hatoem25 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +1
    จองครับ รายการที่76.>>>พระสามเหลี่ยม เนื้อผงเกษร

    จองครับ รายการที่76.>>>[FONT=&quot]พระสามเหลี่ยม เนื้อผงเกษร [FONT=&quot]108 ผสมผงสมเด็จวัดระฆัง พิธี 25 ศตวรรษ ท่านพ่อลี วัด อโศการาม[/FONT][/FONT]
    นัทครับที่โทรคุย
     
  13. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    รับทราบครับท่าน ยินดีที่ได้รูจักครับ
     
  14. รับโชค

    รับโชค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,131
    ค่าพลัง:
    +11,878
    [​IMG][​IMG]

    สวยจังหู ยิ่งแลยิ่งสวย
     
  15. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    จ๊าบบบบบบบบปะ.......................
     
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
  17. naiburit

    naiburit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    749
    ค่าพลัง:
    +580
    เหรียญหล่อรูปไข่ เนื้อตะกั่วพระฤาษี รุ่นแรก หลวงพ่อมหาอาคม วัดดาวนิมิต จ.เพ็ชรบูรณ์ พ.ศ.2520
    [FONT=&quot]ให้บูชา 450บ.ครับ[/FONT] <fieldset class="fieldset"> <legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG]


    ขออนุญาตจองรายการนี้ครับ
    </fieldset>
     
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457

    รับทราบครับท่าน............
     
  19. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <CENTER></CENTER>พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ประวัติพิธีการสร้างและปลุกเสก ครั้งยิ่งใหญ่


    พระเครื่องที่มีพิธีกรรมปลุกเสกครั้งยิ่งใหญ่ในเมืองไทย วงการพระจักต้องจารึกพระราชพิธีที่สำคัญยิ่งไว้ในครั้งนั้น ได้แก่ พิธีพุทธาภิเษก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งพิธีนี้ปลุกเสกที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครนี่เอง และนับเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นพระเครื่องที่ทางการได้จัดสร้างขึ้นเพื่อนำเงินรายได้จัดสร้างพุทธมณฑล ที่ตำบลศาลายา และบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียสถานที่สำคัญๆ ในทางพุทธศาสนาของเรา นับเป็นการสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และถูกต้องครบถ้วนตามพิธีทางศาสนา ทำการปลุกเสกโดยพระคณาจารย์ที่มีชื่อ 108 องค์ ซึ่งทางการได้คัดเลือกมาจาก ทั่วราชอาณาจักร เป็นพระเครื่องที่มีพุทธานุภาพและปาฏิหาริย์หลายอย่างแก่ผู้มีไว้ในครอบครอง

    พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ

    1.พระเครื่องเนื้อทองคำแท้ สร้างเพียง 2,500 องค์
    2.พระเครื่องเนื้อชิน สร้างเพียง 2,421,250 องค์
    3.พระเครื่องเนื้อดิน สร้างเพียง 2,421,250 องค์
    4.พระเครื่องชนิดเหรียญนิกเกิล สร้างเพียง 2,000,000 เหรียญ

    อนึ่ง นอกจากนี้ก็มีพิมพ์พิเศษ ซึ่ง พล.ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร หนึ่งในกรรมการดำเนินงานได้สร้างขึ้นเป็นพิมพ์สี่เหลี่ยม พระชุดนี้ พล.ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร ได้นำเข้าพิธีพร้อมกับพระเนื้อชินและเนื้อดิน เมื่อเสร็จพิธีแล้วได้แจกให้กับกรรมการที่มีส่วนในการจัดงานให้ลุล่วงไปด้วย ดีคนละหนึ่งองค์ หากผู้ใดจะเช่าบูชานั้นจะสมนาคุณรายที่เช่าบูชาพระเนื้อดินหรือชินพร้อมกัน ครั้งละ 100 องค์

    สำหรับพระเนื้อชินและเนื้อดินนั้นมีส่วนผสมที่น่าสนใจมาก คือ พระเนื้อชิน ที่ประกอบด้วยมวลสารของโลหะหลายอย่างเช่น พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ และ แผ่นเงิน, ทองแดง ที่พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วประเทศทำการลงอักขระยันต์มาแล้ว ยังมีชนวน หล่อพระในพิธีอื่นๆ พร้อมผงตะไบ “พระกริ่งนวโลหะ” ทั้งของ สมเด็จพระสังฆราชแพ และ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ มาเป็นชนวนในการสร้างที่มากถึง 2,421,250 องค์

    ส่วน พระเนื้อดินผสมผงเกสร ก็มีมวลสารที่ประกอบด้วยดินจาก ทะเลสาบสงขลาเกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา เป็นส่วนผสมหลัก เนื่องจากดินที่เกาะยอเนื้อละเอียดมีลายเป็นพรายน้ำในตัวและมีสีเหลืองนวล คล้าย พระซุ้มกอ, พระลีลาเม็ดขนุน โดยนำมาผสมกับผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิด แล้วยังมีว่านต่างๆ พร้อมดินหน้าพระอุโบสถ, ดินหน้าพระอารามสำคัญของแต่ละจังหวัด และดินจากบริเวณที่ประดิษฐานพระประธานพุทธมณฑล รวมทั้งดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล (ประสูติ-ตรัสรู้-ปฐมเทศนา-ปรินิพพาน) จากประเทศอินเดีย โดยมีผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ 108 รูป ผงพระเครื่องที่ชำรุด เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง, พระรอด, นางพญา, ผงสุพรรณ, ซุ้มกอ, กำแพงลีลาเม็ดขนุน, ขุนแผนบ้านกร่าง ฯลฯ รวมทั้ง ผงตะไบพระกริ่งนวโลหะ ของ สมเด็จพระสังฆราชแพ, เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ดังกล่าวข้างต้น

    เนื่องจากการสร้างพระ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดินผสมผง ตั้งโรงงานสร้างขึ้นในบริเวณวัดสุทัศน์ พระเนื้อดินผสมผงก็สร้างด้วยจำนวนมากเท่ากับเนื้อชิน คือ 2,421,250 องค์ ซึ่งพอสร้างเสร็จและนำเข้าเตาเผาก็จะปรากฏเป็นสีที่แตกต่างกัน เช่น ดำ, น้ำตาลไหม้, เทา, เขียว, ขาวนวล, พิกุลแห้ง, หม้อใหม่, ครีม, ชมพู รวมทั้ง เนื้อสองสี (ที่เรียกว่า เนื้อผ่าน) และหากตั้งข้อสังเกตจะเห็นได้ว่าสีขององค์พระจะคล้ายกับพระที่สร้างในยุค โบราณ ทั้ง พระรอด, พระคง, พระเปิม และ พระบาง รวมทั้งพระเนื้อดินเผาสกุล นางกำแพง, ผงสุพรรณ และพระกรุของเมือง อยุธยา เป็นต้น

    ประธานฝ่ายสงฆ์ของพิธีกรรม คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศมหาวิหาร ประธานฝ่ายฆราวาส จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานฝ่ายจัดสร้างพระพิมพ์ รองประธานฝ่ายจัดสร้างได้แก่ พลตำรวจตรี เนื่อง อาขุบุตร ท่านได้เป็นกรรมการจัดจำหน่ายให้สาธุชนและผู้มีเกียรติทั้งหลายเช่าบูชาไป สักการะ หรือนำติดตัวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายได้อีกด้วย

    พิธีกรรม การทำพิธีพุทธาภิเษกปลุกเสกพระเครื่อง ได้นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาทำพิธีถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกนำสิ่งของที่จะสร้างมาทำพิธีพุทธาภิเษกปลุกเสกเสียก่อนครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2500 ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์ มีพระคณาจารย์มาทำพิธีครบ 108 องค์ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณาเททอง หล่อพระทองคำ แล้วทรงพิมพ์พระเนื้อดินและชนิดเนื้อชินเป็นปฐมฤกษ์ แต่วันนั้นได้สร้างในบริเวณวัดสุทัศน์เป็นเวลาถึง 3 เดือนเศษจึงแล้วเสร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2500 ได้ทำพระเครื่องทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวแล้ว เข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งเป็นระยะเวลา 3 วัน 3 คืน รวมเวลาทำพิธีพุทธาภิเษก 2 ครั้ง 6 วัน 6 คืน มีพระเกจิอาจารย์ที่ทางการ ร่วมอาราธนามาปลุกเสก 108 องค์

    รายนามพระอาจารย์ปลุกเสกพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งได้สร้างเสร็จสิ้นแล้ว ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวรารามมหาวิหาร เมื่อวันที่ 2-3 และ 4 พฤษภาคม 2500 รวม 3 วัน มีดังนี้คือ

    1. พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ กทม.
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
    3. พระครูญาณาภิรัต วัดสุทัศน์ กทม.
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ วัดสุทัศน์ กทม.
    6. พระครูพิศาลสรกิจ วัดสุทัศน์ กทม.
    7. พระมหาสวน วัดสุทัศน์ กทม.
    8. พระมหาอำนวย วัดสุทัศน์ กทม.
    9. พระปลัดสุพจน์ วัดสุทัศน์ กทม.
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ วัดชนะสงคราม กทม.
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (วงษ์) วัดสระเกศ กทม.
    12. พระอาจารย์สา วัดราชนัดดาราม กทม.
    13. พระปลัดแพง วัดมหาธาตุ กทม.
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท วัดพระเชตุพน กทม.
    17. พระอินทรสมาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
    18. พระครูวินัยธร (เฟื่อง) วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
    19. พระครูภักดิ์ วัดบึงทองหลาง กทม.
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ วัดดอนหวาย กทม.
    21. พระอาจารย์มี วัดสวนพลู กทม.
    22. พระอาจารย์เหมือน วัดโรงหีบ กทม.
    23. พระหลวงวิจิตร วัดสะพานสูง กทม.
    24. พระอาจารย์หุ่น วัดบางขวด กทม.
    25. พระราชโมลี วัดระฆัง กทม.
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม กทม.
    27. พระครูโสภณกัลญานุวัตร (เส่ง) วัดกัลญาณมิตร กทม.
    28. พระครูภาวนาภิรัต (ผล) วัดหนัง กทม.
    29. พระครูทิวากรคุณ (กลีบ) วัดตลิ่งชัน กทม.
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กทม.
    31. พระครูญาณสิทธิ์ วัดราชสิทธาราม กทม.
    32. พระอาจารย์มา วัดราชสิทธาราม กทม.
    33. พระอาจารย์หวน วัดพิกุล กทม.
    34. พระมหาธีรวัฒน์ วัดปากน้ำ กทม.
    35. พระอาจารย์จ้าย วัดปากน้ำ กทม.
    36. พระอาจารย์อินทร์ วัดปากน้ำ กทม.
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม กทม.
    38. พระครูวินัยสังวร วัดประยุรวงศาวาส กทม.
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
    40. พระครูพรหมวินิต วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
    41. พระอาจารย์อิน วัดสุวรรณอุบาสิการ กทม.
    42. พระครูวิริยกิจ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
    43. พระปรีชานนทมุนี (ช่วง) วัดโมลี นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) วัดศรีรัตนาราม นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) วัดบางจาก นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากะเหรี่ยง ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน วัดธรรมเสน ราชบุรี,
    48. พระครูบิน วัดแก้ว ราชบุรี
    49. พระอินท์เขมาจารย์ วัดช่องลม ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง วัดเวฬุวัน นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก วัดสระบัว ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ (เทียน) วัดโบสถ์ ปทุมธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ (เหรียญ) วัดหนองบัว กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี วัดเหนือ กาญจนบุรี
    59. พระมุจลินท์โมฬี (ดำ) วัดมุจลินท์ ปัตตานี
    60. พระครูรอด วัดประดู่ นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) วัดอโศการาม สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร วัดใหม่บางปลากด สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง วัดกลางสวน สมุทรปราการ
    65. พระครูศิริสรคุณ (แดง) วัดท้ายหาด สมุทรสงคราม
    66. พระครูสมุทรสุนทร วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม
    67. พระสุทธิสารวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง วัดบางคณที สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ (ฮะ) วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร
    71. พระครูลักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
    72. พระอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) วัดสังโฆ สุพรรณบุรี
    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) วัดวรจันทร์ สุพรรณบุรี
    75. พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ (เฮี้ยง) วัดอรัญญิการาม ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ วัดเสม็ด ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี วัดโพธิ์สัมพันธ์ ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศภิต (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี วัดบรมธาตุ ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) วัดชากหมาก ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง วัดท่าแพ ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธารี วัดท้าวอู่ทอง ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลาจารย์ วัดศรีประจันตคาม ปราจีนบุรี
    87. พระครูสุนทรธรรมประกาศ วัดโพธิ์ปากพลี นครนายก
    88. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ วัดสวรรคนิเวศ แพร่
    90. พระครูจันทร์ (หลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง นครสวรรค์
    91. พระครูศีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติการาม อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี วัดมหาธาตุ เพชรบุรี
    102. พระครูสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ เพชรบุรี
    104. พระครูทม (หลวงพ่อทม) วัดสว่างอรุณ เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรควรนายก วัดสวรรคาราม สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี สุโขทัย
    107. พระครูบี้ วัดกิ่งลานหอย สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทรกิจ วัดเสด็จ สมุทรสงคราม


    อภินิหารพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ปืนเอ็ม16 กระหน่ำยิง ไม่ระคายผิว

    พระเครื่องราคาสูงหลัก “แสน” หรือหลัก “ล้าน” ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะ “เข้มขลังตามมูลค่า” ขณะที่ราคาพระเครื่องหลัก “ร้อย” หรือหลัก “พัน” อาจมีพุทธานุภาพสูงส่งก็ได้เพราะไม่มีอะไรเป็นเครื่องวัดได้ ซึ่งผิดกับความร้อน-หนาวที่วัดได้ด้วย “เทอร์โมมิเตอร์” แต่สิ่งเดียวที่พอจะวัดได้ก็คือ “ประสบการณ์” เพราะเป็น “ปรากฏการณ์” ให้พบเห็นทั้งในอดีตและปัจจุบันอยู่เสมอ “เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน” ฉบับนี้จึงขอนำท่านผู้ อ่าน “อ่านความจริง...อ่านเดลินิวส์” ย้อนกลับไปพบกับข่าวหนึ่งบนหน้าหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์” ที่ได้บันทึกเหตุการณ์เป็นข่าวที่สุดตื่นเต้นเป็นการพิสูจน์ถึงอภินิหารของ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่ปัจจุบันยังมีให้บูชาในราคาไม่สูงเกินไปนัก
    โดยหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์ ฉบับที่ ๙,๔๗๐ ประจำวันศุกร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘” ได้เสนอข่าวถึงเรื่องราวปาฏิหาริย์ของ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่มีรายงานข่าวจาก จังหวัดพัทลุง ว่าเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ เวลา ๐๔.๓๐ น. นายสืบศักดิ์ แกล้วทนง อายุ ๒๓ ปี บ้านอยู่หมู่ที่ ๒ ต.ป่าพยอม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์กลับจากดูโขนสดและภาพยนตร์ที่ วัดป่าพยอม เพื่อกลับบ้าน ขณะขับขี่ไปถึง ตลาดป่าพยอม เกิดไปเฉี่ยวเอาราษฎรหน่วยปฏิบัติการพิเศษ “ชุดล่าสังหาร” ผู้หนึ่งที่ทาง “ทหาร ผส.๕ ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่” มาจัดตั้งหน่วยขึ้นที่ ต.ป่าพยอม อ.ควนขนุน
    เพื่อทำหน้าที่ปราบปรามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งกำลังเดินกลับ เข้าค่าย จำนวน ๔ คน ราษฎรหน่วยปฏิบัติการพิเศษ “ชุดล่าสังหาร” ผู้ที่ถูก “นายสืบศักดิ์” ขับรถเฉี่ยวจึงตะโกนบอกให้ “นายสืบศักดิ์” หยุดรถแต่ “นายสืบศักดิ์” เป็น “คนหูหนวก” จึงไม่ได้ยินเลยไม่หยุดรถ “หน่วยล่าสังหาร” ผู้นั้นจึงรัว “ปืนเอ็ม ๑๖” เข้าใส่ “นายสืบศักดิ์” ที่ยังขับรถทั้งหมด ๓๐ นัด กระสุนปืนพุ่งเข้าหา “นายสืบศักดิ์” เต็มแผ่นหลังจนตกลงจากรถจักรยานยนต์ หน่วยล่าสังหารทั้ง ๔ นายจึงกรูเข้าไปดูกลับเห็น “นายสืบศักดิ์” ปราศจากบาดแผลเนื่องจาก “กระสุนปืนเอ็ม ๑๖” ที่ยิงใส่นายสืบศักดิ์ไม่ระคายผิวเลย “หน่วยล่าสังหาร” ทั้ง ๔ นายจึงช่วยกันหักคอ “นายสืบศักดิ์” จนตายคามือแล้วพากันหลบหนีไป

    ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการชันสูตรศพ จึงพบว่าแผ่นหลังของ “นายสืบศักดิ์” ถูกกระสุนปืนเอ็ม ๑๖ หลายนัดแต่กระสุนไม่ทะลุ มีเพียง “รอยไหม้เกรียม” ที่เกิดจากพิษกระสุนปรากฏเป็นจุด ๆ เท่านั้น ส่วนเหตุที่เสียชีวิตก็เพราะกระดูกบริเวณแผ่นหลังและที่ลำคอของ “นายสืบศักดิ์” หักหลายชิ้นเจ้าหน้าที่ค้นในตัวศพจึงพบว่าหนุ่มใบ้ผู้เสียชีวิตมีเพียง “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ๑ องค์” เท่านั้นซึ่งเป็นพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นเมื่อคราวมีงานฉลอง “๒๕ พุทธศตวรรษ” ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลได้จัดตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ สำหรับเป็นที่ระลึกและแจกจ่ายสมนาคุณให้แก่ประชาชน ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนในการสร้าง “พุทธมณฑล” โดย “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนั้นมีรายการและรายละเอียดดังนี้

    ๑. เนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน เป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มขนาดความกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. วัสดุที่สร้างมีส่วนผสมต่าง ๆ ดังนี้ “พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ, เนื้อนวโลหะ” และ “แผ่นทองแดง, แผ่นตะกั่ว, แผ่นเงิน” ที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรทำการลงอักขระเลขยันต์ และคาถาต่าง ๆ แล้วนำมาผสมหล่อหลอมเข้าด้วยกันโดยมีจำนวนสร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์

    ๒. เนื้อดิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มมีด้วยกัน ๒ พิมพ์คือ “พิมพ์เขื่อง” มีขนาดกว้าง ๑.๖ ซม. สูง ๔.๒ ซม. หนา ๖ มม. “พิมพ์ย่อม” มีขนาดกว้าง ๑.๔ ซม. สูง ๓.๙ ซม. หนา ๔ มม. วัสดุที่ใช้สร้างเป็น “เนื้อดิน” ทั้ง ๒ พิมพ์โดยนำดินที่ขุดจาก ทะเลสาบจังหวัดสงขลา ผสมกับ เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ตลอดทั้งว่านและใบไม้ต่าง ๆ พร้อม ดินจากหน้าพระอุโบสถ ที่มีความสำคัญจากจังหวัดต่าง ๆ อีกทั้งดินที่นำมาจากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ใน ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังใช้ผงวิเศษจากพระอาจารย์ต่าง ๆ และพระเครื่องโบราณที่ชำรุดเช่น “พระสมเด็จฯ, พระขุนแผน, พระนางพญา, พระรอด” มาผสมเข้าด้วยกัน จำนวนที่สร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์ เช่นกันกับเนื้อชินโดยพระเครื่องเนื้อดินเผามีด้วยกันหลายสี อาทิ สีดำ, สีเทา, สีขาวนวล, สีพิกุลแห้ง, สีหม้อใหม่, สีครีม, สีชมพู, สีน้ำตาลไหม้ ฯลฯ เป็นต้น

    ๓. เนื้อทองคำ พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรแบบนูน สร้างด้วยเครื่องปั๊มมีขนาดกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. ด้านหน้าและด้านหลังพุทธลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกันกับพระ “เนื้อชิน” และจำนวนสร้างเท่ากับ พ.ศ. ที่สร้างคือ ๒,๕๐๐ องค์ โดยน้ำหนักทองคำองค์ละ ๖ สลึง ทางด้านพิธีกรรมการ ปลุกเสกครั้งแรกทำการปลุกเสกสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ ก่อนที่จะได้นำมาสร้างเป็นพระโดยประกอบพิธีปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนด้วยกัน โดยในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานพิธี สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) สังฆนายก วัดเบญจมบพิตรฯ จุดเทียนชัยและมีพระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสก บรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ จนตลอดคืน จากนั้นวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานพิธี และพระราชาคณะ ๒๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูปนั่งปรกปลุกเสกบรรจุ พุทธาคมลงในสรรพวัตถุ และมวลสารต่าง ๆ ตลอดคืน

    วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหา วิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชา พระศรีศากยมุนีเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำ” จำนวน ๔ องค์ และทรงกดพิมพ์พระเครื่องฯ “๒๕ พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน ๓๐ องค์ เป็นปฐมฤกษ์แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าสู่พระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายอดิเรกจบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ ส่วนพระเกจิอาจารย์ในจำนวน ๑๐๘ รูป เข้าสู่มณฑลพิธีนั่งปรกปลุกบรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่อไปจนตลอด คืน

    พิธีปลุกเสกครั้งที่สองได้ทำพิธี ณ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ หลังจากพระเครื่องทั้งหมดได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ ๒, ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๐ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ประกอบด้วยเกจิอาจารย์ชั้นนำในยุคนั้นอีก ๑๐๘ องค์ เช่น “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ หลวงพ่อนาค วัดระฆัง หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม” เป็นต้น

    ด้วยเหตุนี้ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” จึงจัดเป็นพระเครื่องที่ดีเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังพอแสวงหาได้ในราคาไม่สูงมากนัก เป็นสิริมงคลล้ำค่าที่จะอาราธนาขึ้นแขวนคอได้อย่างสบายใจ (ขอบคุณข้อมูลรายนามเกจิอาจารย์จากนิตยสารลานโพธิ์).


    เหรียญเสมา 25 พุทธศตวรรษ เนื้ออัลปาก้า สวยๆ

    [​IMG]




    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 251-horz.jpg
      251-horz.jpg
      ขนาดไฟล์:
      412.6 KB
      เปิดดู:
      1,852
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2011
  20. Giant 1

    Giant 1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    1,026
    ค่าพลัง:
    +9,213
    ขอจองบูชารายการนี้ครับ........
     

แชร์หน้านี้

Loading...