ทางรอดจากภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย GluayNewman, 4 พฤศจิกายน 2011.

  1. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ตระหนักถึงภัยพิบัติแล้ว
    เราจะ "รอด" จากมันได้อย่างไร

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=7oQLzO4F8eA"]ทางรอดจากภัยพิบัติ1/7 - YouTube[/ame]
     
  2. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ถ้าเป็นคุณล่ะ...

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=SWdtJ1NpN3c]ทางรอดจากภัยพิบัติ2/7 - YouTube[/ame]
     
  3. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ประสบการณ์ของผม

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=RB7ZSB4WJAc]ทางรอดจากภัยพิบัติ3/7 - YouTube[/ame]
     
  4. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,674
    ค่าพลัง:
    +51,948
    *** สัจจะธรรม ทำได้มีผลตอบแทน ****

    ผู้รอดพ้นภัย เป็นผู้มีสัจจะ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  5. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ครูบาอาจารย์ครับ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=D1-hRE-pyxo]ทางรอดจากภัยพิบัติ4/7 - YouTube[/ame]
     
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ผู้พึงปลงใจเชื่อในพระตถาคต จักเห็นแจ้ง “อมตธรรม”

    [​IMG]

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    [๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายทั้งกายในภายนอกอยู่ ฯลฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งในภายในทั้งในภายนอกอยู่ ฯลฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ<O></O>
    เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ธรรม๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ... ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ <O></O>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯ<O></O>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ... ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ฯลฯ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรม<O></O>ทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดี ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้พึงปลงใจเชื่อใน พระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ อริยศีล ๑ อริยญาณ ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้พึงปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ฯ
    <O></O>
    [๓๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัลลิกคฤหบดี อนาถบิณฑิกสุทัตตคฤหบดี จิตตคฤหบดีชาวมัจฉิกาสัณฑนคร หัตถกคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี อุคคตคฤหบดี สูรอัมพัฏฐคฤหบดี ชีวกโกมารภัจ นกุลบิดาคฤหบดี ตวกัณณกคฤหบดี ปูรณคฤหบดี อิสิทัตตคฤหบดี สันธานคฤหบดี วิชยคฤหบดี วัชชิยมหิตคฤหบดี เมณฑกคฤหบดี วาเสฏฐอุบาสก อริฏฐอุบาสก สาทัตตอุบาสก ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอมตธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ อริยศีล ๑ อริยญาณ ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาทัตตอุบาสกประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑ ปาริจริยานุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ พุทธานุสสติ ๑ ธัมมานุสสติ ๑สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ<O></O>
    <O></O>
    [๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ<O></O>
    <O></O>
    [๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ เพื่อละราคะ เพื่อสิ้นไปแห่งราคะ เพื่อเสื่อมไปแห่งราคะ เพื่อความคลายกำหนัดราคะ เพื่อดับราคะเพื่อสละราคะ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ<O></O>
    <O></O>
    [๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไปเพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวาง ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯลฯ <O></O>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แลอันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อปล่อยวางปมาทะ ฯ<O></O>
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล ฯ<O></O>


    จบฉักกนิบาต<O></O>​

    ----------------------------------------------------
    <O></O>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๐๕๗๔ - ๑๐๖๖๕. หน้าที่ ๔๖๒ - ๔๖๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=10574&Z=10665&pagebreak=0


    [​IMG]




    “…อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
    ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด…”


    โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส (๓๐ : ๒๑๐)


    ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙


    นั่นแล้ว ชอบแล้ว ขอความเจริญในพระสัทธรรมยิ่ง
    กราบมหาอนุโมทนา สาธุการ ท่านเจ้าของกระทู้ค่ะ
     
  7. huten

    huten เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,808
    ค่าพลัง:
    +15,229
    โมทนา สาธุ ค่ะ แม่บุญญ
     
  8. littleyogi

    littleyogi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +41
  9. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ขอบคุณทุกท่านที่มาแชร์นะครับ
    สาธุๆๆๆ
    ขอโพสต่อ
    "เส้นทางที่พ้นทุกข์ได้จริง"

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=w4GSPnpkzV4&feature=related]ทางรอดจากภัยพิบัติ5/7 - YouTube[/ame]
     
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ธรรมธาตุ หรือ อสังขตธาตุ หรือ นิพพาน เป็นผู้สร้างโลก จักรวาล และสรรพสัตว์

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น


    [​IMG]


    ธรรมธาตุ หรือ อสังขตธาตุ หรือ นิพพาน เป็นผู้สร้างโลก จักรวาล และสรรพสัตว์





    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    </CENTER>




    <CENTER>วชิราสูตรที่ ๑</CENTER><CENTER></CENTER>
    [๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ

    ครั้งนั้น เวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ

    [๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า สัตว์นี้ ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดในที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ

    [๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถาจะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ
    ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาปใคร่จะให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ

    ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาป แล้วจึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

    ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับมาว่าสัตว์ ฯ ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี

    ฉันใด ฯ เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ

    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้
    จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ






    <CENTER>จบภิกษุณีสังยุต</CENTER><CENTER>เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๓๖๗ - ๔๔๐๔. หน้าที่ ๑๘๙ - ๑๙๐.</CENTER>


    [​IMG]

    วชิราสูตร ยืนยันว่า: ธรรมธาตุ หรืออสังขตธรรม เป็นผู้สร้างสรรพสัตว์

    วชิราสูตร พุทธพจน์ และ พระสูตร ๔๑. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕

    สัตว์นี้ ใครสร้าง ?
    ปฏิจจสมุปบันธรรม เป็นผู้สร้างสัตว์ ตลอดจนสังขตธรรมทั้งปวง

    ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน ?
    ไม่มีผู้สร้าง หรือกล่าวว่าผู้สร้างคือ ธรรมธาตุ หรืออสังขตธรรม อันเที่ยงแท้และคงทนต่อทุกกาล และความเป็นไปตามธรรมดา

    สัตว์บังเกิดในที่ไหน ?ทุกแห่งหน ที่เกิดขึ้นแห่ง ปฏิจจสมุปบันธรรม กล่าวคือเมื่อมีเหตุมาเป็นปัจจัยครบองค์

    สัตว์ดับไปในที่ไหน ?ทุกแห่งหน ซึ่งเป็นที่ดับไปแห่งปฏิจจสมุปบันธรรมหรือการดับไปแห่งเหตุปัจจัย หรือหลักอิทัปปัจจยตา

    สรุปวชิราสูตร

    ธรรมธาตุ หรืออสังขตธรรม อันเที่ยงแท้และคงทนต่อทุกกาล ที่เป็นผู้สร้างสรรพสัตว์ ศาสนาอื่นเรียกว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้า" หรือพระเจ้า

    นอกเหนือจากวชิราสูตร แล้ว ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ก็ยืนยันว่า สิ่งที่เป็นผู้สร้างเป็นสิ่งที่มีมาก่อนสิ่งอื่นทั้งหมด คือ "นิพพาน" หรือ "อสังขตธาตุ"

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่มีจุดกำเนิด ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง นั้นมีอยู่ ถ้าไม่มี ธรรมชาติที่ ไม่มีจุดกำเนิด ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความเป็นไปของ ธรรมชาติที่เกิดที่เป็น ที่มีอะไรปรุงแต่ง ก็จะปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุที่ มีธรรมชาติ ที่ไม่มีจุดเกิด ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรมาปรุงแต่ง ความเป็นไปของ ธรรมชาติ ที่เกิด ที่เป็น ที่มี ใครทำ ที่อะไร ปรุงแต่ง จึงเกิดขึ้นได้”

    ย้ำ!!!... ถ้าไม่มี ธรรมชาติที่ ไม่มีจุดกำเนิด ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง (นิพพานหรืออสังขตธาตุ) ความเป็นไปของธรรมชาติที่เกิดที่เป็น ที่มีอะไรปรุงแต่ง(สรรพชีวิต,โลกและจักรวาล) ก็จะปรากฏไม่ได้

    หรือ ถ้าไม่มี อสังขตธาตุ(นิพพาน) โลก จักรวาล และสรรพสิ่ง รวมทั้งมนุษย์และสรรพสัตว์ก็จะปรากฏไม่ได้

    ย้ำ!!!... เพราะเหตุที่ มี ธรรมชาติ ที่ไม่มีจุดเกิด ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรมาปรุงแต่ง(นิพพานหรืออสังขตธาตุ) ความเป็นไปของ ธรรมชาติ ที่เกิด ที่เป็น ที่มี ใครทำ ที่อะไร ปรุงแต่ง จึงเกิดขึ้นได้”

    หรือ เพราะเหตุที่มี อสังขตธาตุ(นิพพาน) ความเป็นไปของโลก จักรวาล และสรรพสิ่ง รวมทั้งมนุษย์และสรรพสัตว์ จึงเกิดขึ้น

    ....ควรเรียกบุคคลผู้นั้นว่าเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดแต่โอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เกิดคำว่า " ธรรมกาย " ก็ดี " พรหมกาย " ก็ดี " ธรรมภูต " ก็ดี " พรหมภูต " ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต =
    พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระพรหมสูงสุดที่เป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวง พระพรหมสูงสุดที่เป็นพรหมกาย เป็นพรหมที่มนุษย์เทพพรหมทุกชั้นมองไม่เห็น จึงเรียกว่า " ธรรมภูต " หรือ " พรหมภูต "

    ธรรมธาตุ หรือ อสังขตธาตุ หรือ นิพพาน หรือพระพุทธเจ้า
    เป็นผู้สร้างโลก จักรวาล และสรรพสัตว์

    พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ยังไง นี่เราเคยคิดเมื่อไร มันเป็นแล้วนั่น ถึงพูดออกตามความเป็นแล้ว แล้วไม่สงสัยเสียด้วย นี่ล่ะธรรมแท้ ท่านเรียกธรรมธาตุ ที่ว่า ธรรมธาตุ ๆ ครอบโลกธาตุคือธรรมธาตุ

    ธรรมธาตุครอบโลกธาตุ = นั่นแหละคือ พระนิพพาน/พระธรรม/อสังขตธาตุ สร้างโลกธาตุต่างๆขึ้นมา โดยทำให้สิ่งมายาที่เป็นอนัตตา มองดูเหมือนของจริง จนมนุษย์เราไปหลงไหลในสิ่งมายาเหล่านั้น


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1759084/[/MUSIC]​


    กราบมหาอนุโมทนาพระคุณ ที่มาข้อมูล
    ๑) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=4367&Z=4404
    ๒) http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=821.0
    ๓) เสียงบรรยาย คุณกล้วย
    ๔) ไฟล์เสียงบรรยายธรรม "ธรรมธาตุ" ไม่ทราบผู้บรรยาย (จากอินเตอร์เน็ต)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2011
  11. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +1,073
    ทะแม่งๆ ยังไงชอบกล กับผู้วิเคราะห์ "วชิราสูตร" จึงคลิกเข้าไปดูในลิ้ง

    ทั้งๆ ที่วงรอบของปฏิจสมุปปบาท แสดงให้เห็นว่า อวิชชาโดยอนุโลม เป็นผู้สร้างโลก และสรรพสัตว์(โลก คือ ธาตุ4 ขันธ์5 สฬายตนะ12 ,ส่วนสรรพสัตว์ คือ อัตตาตัวตนเราเขา ยึดโดยสมมุติในอุปาทานขันธ์)

    และอวิชชาโดยปฏิโลม เมื่อทวนกระแสดับลง จึงเป็น อสังขตธาตุ หรือธรรมธาตุ ขึ้นมา

    และโดยหลัก "อิทัปปัจจยตา" ได้กล่าวไว้ว่า
    “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ"

    จึงเป็นปัจจยการ ของ ปฏิจสมุปปบาท

    เมื่อเป็น "อสังขตธาตุ ธรรมธาตุ อวิชชาดับสิ้นไม่เหลือเชื้อ" ให้เกิดในวงรอบ คือ สายเกิด
    แล้วเหตุใดน้อ "จึงยังเป็นผู้สร้างโลก จักรวาล และสรรพสัตว์ทั้งหลายอีกเล่า"

    และทั้งๆที่ "วชิราสูตร" ก็ได้กล่าวไว้ว่า "เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ

    ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้นไป

    นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ"


    นั่นคือ เมื่อยังมี อุปาทานขันธ์ สมมุติจึงเกิดขึ้น
    เมื่อเข้าถึงวิมุตติ สมมุติจึงดับไปด้วย คือ ทุกข์ โดยทุกข์เองก็คือโลกล้วนๆ
    แล้วสรรพสัตว์ คือ อัตตาตัวตน ยังจะมีให้ปรากฏแก่ญานทัสสนะ อยู่อีกหรือ

    หากกล่าวว่า "สังขตธรรม" เป็นผู้สร้างโลก คือ อวิชชา โดยอุปทานขันธ์
    การยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม ก็พอให้ได้พิจารณาไปในธรรม

    ทั้งยังหยิบยก ความเป็นพระเจ้า หรือพรหมเป็นผู้สร้างโลก
    ย่อมต้องตกอยู่ในฝ่ายแห่งมิจฉาทิฏฐิ คือ "สัสสตทิฏฐิ"
    ซึ่งมีมานานก่อนพุทธกาลเสียอีก คือ พวกพราหมณ์ ปฏิบัติเพื่อต้องการไปเกิดเป็นพรหมโดยยึดว่าโลกเที่ยง

    เหตุนี้เอง ท่านพระสารีบุตร จึงได้ไปถ่ายถอนความเห็นผิด ให้กับมารดาท่าน
    ก่อนที่ท่านจะเข้าอนุปาทิเสสนิพพาน มีท้าวมหาพรหมเป็นที่สุด เข้ามาถวายนมัสการ

    เมื่อมารดาท่าน เห็นดังนั้นแล้ว กำลังแห่งมิจฉาทิฏฐิ จึงอ่อนกำลังลง
    กลับกลายเป็นความศรัทธาเลื่อมใสในพระสารีบุตร อินทรีย์จึงกล้าขึ้นมา
    พระสารีบุตรจึงเทศนาโปรด จนมารดาท่าน เกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา
    นั่นไง คลายความเห็นผิดลงมาได้

    พรหม หรือพระเจ้า มิใช่ผู้สร้างโลก และยังต้องตกอยู่ภายกฏไตรลักษณ์

    กิเลสตัณหา กรรม และ วิบาก เท่านั้นที่สร้างโลกนี้ขึ้นมา คือ ขันธโลก จึงเป็นวัฏฏะวนเวียนอยู่นี้ไง

    ผู้โพสลิ้งเนื้อหานี้ เคยอ่านเจอ ยังเข้าใจไปอีกว่า "จิตประภัสสร" คือ พระนิพพาน นั่นไม่ใช่
    (แต่ไม่ใช่ผู้ก็อปปี้เนื้อหานำมาลงในกระทู้นี้นะ)

    นิกายเซน กล่าวไว้ว่า "กายคือต้นโพธิ์ จิตคือกระจกเงาใส หมั่นเช็ดอยู่ทุกโมงยาม จึงไม่มีฝุ่นละอองลงจับ"
    นี่ไงแยกกาย แยกจิตได้ จิตจึงเป็นกระจกเงาใสขึ้นมา แต่ยังต้องอาศัยความเพียร เพื่อขจัดอาสวะ

    แต่ความเป็นอสังขตธาตุ ธรรมธาตุ ไม่ใช่อย่างโศลกธรรมข้างต้น
    นิกายเซนได้กล่าวไปอีกว่า “ไร้กาย ไร้ต้นโพธิ์ ไร้จิต ไร้บานกระจก เดิมที่ไม่มีใดใด ฝุ่นจะจับลงที่ตรงไหน” นี่ไงทำลายตอของจิต คือ อวิชชา และจิตประภัสสร นั่นแหละตัวอวิชชาแท้ๆ คือ ตอของจิต

    ฉะนั้น..ใครได้เข้ามาอ่าน ขอให้ได้พิจารณาให้มากๆ ต่อผู้วิเคราะห์ "วชิราสูตร" ดังกล่าว
    (ซึ่งไม่ใช่ผู้ก็อปมาลงในกระทู้นี้)

    กลัวจะปักใจเชื่อ แล้วตกไปในฝ่ายของมิจฉาทิฏฐิ

    หากคลายความเห็นผิดลงได้ ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ

    แม้ด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นสาสวะ โดยจิตเข้าถึงในคุณพระรัตนตรัย

    ภัยพิบัติทั้งหลาย ไม่ว่าจะเนื่องด้วย ดิน ไฟ น้ำ ลม ก็เอาไปได้เฉพาะรูปขันธ์เท่านั้นล่ะ

    แต่ไม่ใช่นั่งรอ นอนรอ นะ ต้องเอารูปขันธ์นี้ ให้รอดไปก่อน หากเมื่อถึงที่สุดไม่ไหวแล้ว ก็ให้มันมาทั้งโครตเลย

    แต่เอาจิตที่มั่นคง ในคุณพระรัตนตรัยโดยแท้ ไปไม่ได้หรอก


    จึงขอโอกาสครับ..!

    ส่วนเนื้อหาตรงนี้ ผู้วิเคราะห์เอามาจากลิ้งนี้ (จากเนื้อหาข้างบน)

    ลองเอาคำนี้ ไปเสริซในกูเกิ้ลดู "วชิราสูตร ยืนยันว่า: ธรรมธาตุ หรืออสังขตธรรม เป็นผู้สร้างสรรพสัตว์"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2011
  12. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,674
    ค่าพลัง:
    +51,948
    *** แก่นสารการปฏิบัติ ****

    อยู่ที่สัจจะ อยู่ที่ทำได้จริง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  13. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +1,073
    สัจจะอย่างเดียว ไม่สามารถเข้าถึง แก่นสารของการปฏิบัติ ไปได้หรอก
    หากขาดบารมีทั้ง 9 ตัวที่เหลือ หลักๆ คือ ปัญญา ขันติ วิริยะ และอธิษฐาน ต้องประกอบกัน

    มีสัจจะ แต่ขาดปัญญา ก็ไปไม่ได้ ก็ไม่ต่างอะไรจาก ศรัทธา
    แต่หากเนื่องด้วยเพื่อการสร้างบารมีแล้ว สัจจะย่อมเป็นสิ่งสำคัญ

    นั่นจึงจะเข้าถึง อริยสัจธรรมทั้ง4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    เป็นความจริงหนึ่งเดียวที่จะพ้นโลก ด้วยญาณ คือ ปัญญา นำไป

    บารมีทั้งหลายต้องรวมลงเป็นหนึ่งที่ปัญญา คือ สติ สมาธิ ปัญญา
    จึงจะมีพละกำลังชำแรก ทำลายวิปลาสความเห็นผิด และอาสวะลงได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2011
  14. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ศึกษาจิต ด้วยสติที่บริสุทธิ์อยู่เอง ตามธรรมชาติ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=KXqt-MrY4vY&feature=feedu]ทางรอดจากภัยพิบัติ6/7 - YouTube[/ame]
     
  15. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471



    วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เป็น วันพระ ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๒
    (วันลอยกระทง)

    เชิญชวนทุกท่าน เฝ้าระวังประพฤฒิปฏิบัติตน รักษา กาย วาจา ใจ สำนึกพระคุณสรรพสิ่งด้วย "ภาวนามัย"
    ระลึกรู้สึกตัวทั่วพร้อม ละอายเกรงกลัวต่อบาป มิก้าวล่วงพฤฒิกรรมดวงจิตอื่นใด

    ขอคุณพระคุณเจ้าคุ้มครองรักษาทุกดวงจิต มีสุขพ้นทุกข์ เกิดปัญญาญาณ

    โมทนาท่านเจ้าของกระทู้ ขอกุศลส่งบุญค่ะ
     
  16. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +1,073
    ในวันพระนี้ ควรจะฝึกจิตให้มีวิหารธรรม คือเครื่องอยู่ของจิต

    ทั้งอานาปานสติ หรือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็ดี

    เพื่อพัฒนาคุณภาพของจิตให้สูงขึ้น ด้วยกำลังแห่ง ภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน

    ระงับกำลังกล้าแห่งนิวรณ์ มิให้บังเกิดขึ้น นั่นคือด้วย สติ สมาธิ ปัญญา
     
  17. วิชา ละ

    วิชา ละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +2,416
    ขออนุโมทนากับท่านพี่บุญญสิกขาด้วย และกับเจ้าของกระทู้ด้วยครับ
     
  18. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    โมทนาสาธุกับทุกท่าน
    อย่ามัวแต่หาความหมายแห่งพยัญชนะกันอยู่เลยครับ
    ภัยพิบัติมันคืบเข้ามาอย่างไม่รอ และไว้หน้าใครแล้ว
    รีบ "พ้น" จากภัยในจิตของตนเป็นเบื้องต้น และ ความร้สึกจะพ้นจากภัยพิบัติ
    แม้ว่ากายจะประสบทุกข์เข็ญเพียงไร
    มันก็เป็นไปตามธรรมชาติเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2011
  19. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ต้องการสนทนาธรรม หรือปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
    ขอเชิญที่ กลุ่มหลวงพ่อสมบูรณ์
    เข้าสู่ระบบ | Facebook

    ผมชื่อ Gluay Newman จะคอยช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางจิตวิญญาณ อยู่ที่นั่นครับ
     
  20. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ความรู้สึกตัว คือกุญแจของทางรอด

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=BtmtAKgX_2s]ทางรอดจากภัยพิบัติ7/7 - YouTube[/ame]
     

แชร์หน้านี้

Loading...