ช่วงปีใหม่ว่าจะไปปฏิบัติ แนะนำหน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ทำไมทำไม, 10 พฤศจิกายน 2011.

  1. ทำไมทำไม

    ทำไมทำไม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +13
    พอดีช่วงปีใหม่เราว่า จะไปนุ่งขาวห่มขาวอ่ะครับ ปฏิบัติ ขอพรคุณพระคุ้มครองโลก ไม่อยากให้เรื่อง 2012 เป็นเรื่องจริงอ่ะครับ แต่ยังไม่รู้ว่าเค้าต้องเตรียมอะไรกันไปบ้าง พวกข้าวของเครื่องใช้อ่ะครับ
     
  2. purit

    purit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +809
    วัดท่าขนุน ครับ หรืออธิษฐานจิตขอก็ได้นะครับ
     
  3. yai6053

    yai6053 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +4
    วัดโพธิคุณ อ.แม่สอด จ.ตาก 27 ธค - 2 มค (ทุกปี) ครับ
     
  4. nonwarit

    nonwarit สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +6
    อาจารย์ของผมบอกไว้ว่า

    2012 นั้นถ้ามีเกิดขึ้นจริงๆ แสดงว่ามนุษย์มีการทำลายธรรมชาติไปมาก
    แต่ถ้า 2012 ไม่มีเกิดอะไรขึ้น แสดงว่ามนุษย์รู้จัก ลด ละ เลิก ในสิ่งที่เป็นการรบกวนธรรมชาติแล้ว ครับ

    ในส่วนตัวของผมเองคิดว่า การที่ จะเกิด 2012 ไม่แปลกหรอกครับ ขนาก ปีนี้อย่างน้ำท่วมหนักเลย แต่คงจะไม่อลังการเหมือนในหนัง หรอก ^ ^

    คงจะน้ำท่วมเหมือนครั้งนี้แหละ แต่อาจจะหนักกว่านิดหน่อย

    อนุโมทธนาบุญด้วยครับ สาธุ สาธุ

    สถานที่แนะนำไปคือ แดนมหามงคล ครับ ที่กาญจบุรี แยกชาย-หญิง แต่ก็มาหากันได้ในตอนกลางวัน ถือศีล 8 ที่นั้นมีชุดขายครั้บไม่ต้องเตรียมไป แต่แพงนิดนึง แล้วชุดของเขาจะ ชาย จะใส่เสื้อแขนยาวครับ กางเกงแขนยาว ผู้หญิงใส่ชุดเหมือนแม่ชี ครับ ไม่มียุงกัดครับ เป็นสถานที่ ธรรมชาติ ร่มเย็น ครับ นอนศาลาใหญ่ สวย ใหม่ สะอาด มีอาหารให้ ครบ 2 มื้อ/วัน เพราะ ถือศีล8 ห้ามกินข้าวเย็น ที่นั้นไม่มีพระเลย มีแต่มีแม่ชี ใจมากๆครับ

    PMถามรายละเอียดได้ครับ

    _____________________________________________________

    การทำบุญนั้นมีความสุข จงเกิด ปิติ ทั้ง ก่อนทำ ขณะทำ และ หลังทำ สาธุ...
     
  5. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    ไปเรียนอภิญญาดีไหม จะได้เลิกกลัวผี ที่สำนักสงฆ์ธรรมมงคล ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง อยู่ ถ.บายพาส ก่อนถึงสำนักขนส่งจังหวัดครับ
    อย่าลืมเตรียมตัวและใจไปด้วยครับ เพราะคนอาจจะเยอะสักหน่อยครับ
     
  6. mang_wan

    mang_wan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +56
    ยุวพุทธจ้า ศูนย์ 2 ปทุมธานี ก็ได้ ปีหน้าน้ำก็ลดแล้ว เราว่าจะไปเหมือนกันนะ ช่วงกุมภา 55 อ่า
     
  7. phutsa

    phutsa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    261
    ค่าพลัง:
    +852
    ผมสนใจจะลองไปฝึกดูครับ ผมไม่เคยไปโคราชมาก่อนมีแต่ขี่ผ่านเข้ากรุงเทพ หรือพักทานข้าว ผมต้องนั่งรถโดยสารไปเองจากมหาสารคาม - ลงโคราช แล้วต้องต่อรถยังไงบ้างครับ ผมยังไม่รู้เลยว่ารถโดยสารไปจอดที่ขนส่งตรงไหน มีใครพอแนะนำการเดินทางได้ จักขอบพระคุณมาก ๆ ครับ
     
  8. pp2

    pp2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +1,434
    วัดถําวัวแดง ชัยภูมิ ผู้ใดเคยไปปฏิบัติมาบ้างครับ ช่วยบอกหน่อยครับเป็นไง
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    40 แห่ง สำนักปฏิบัติธรรมเมืองไทย

    ๑. วัดธรรมมงคล
    ซอยปุณณวิถี ๒๐ ถ. สุขุมวิท ๑๐๑ บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ
    โทร. ๗๔๑-๗๘๒๑-๒, ๓๓๒-๒๘๒๖-๗
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร
    แนวการปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    สถานที่ปฏิบัติมีหลายแห่ง คือ ๑. ศาลาปฏิบัติธรรม เป็นห้องมุ้งลวด
    ๒. ถ้ำวิปัสสนา (จำลอง) ๓. ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ มี ๘๐ ห้องพัก
    ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศ ๔. ห้องสำหรับทำสมาธิ
    ๕. สถานปฏิบัติธรรม จ. เชียงราย ๖. สำนักสงฆ์น้ำตกแม่กลาง

    ๒. วัดอัมพวัน
    ๕๓ บ. อัมพวัน ถ. เอเชีย กม. ๑๓๐ หมู่ที่ ๔ ต. พรหมบุรี อ. พหรมบุรี จ.สิงห์บุรี
    โทร. (๐๓๖) ๕๙๙-๓๘๑), (๐๓๖) ๕๙๙-๑๗๕
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
    แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”

    ๓. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    ๕๘/๘ ถ.เพชรเกษม ๕๔ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
    โทร. ๔๑๓-๑๗๐๖, ๘๐๕-๐๗๙๐-๔
    วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
    แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
    ตามแนวพระธีรราชมหามุนี วัดมหาธาตุ
    สถานที่เป็นตึกทันใหม่ทันสมัยหลายหลัง โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

    ๔. สวนโมกขพลาราม
    ๖๘ หมู่ ๖ ต. เลเม็ด อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐
    วิปัสสนาจารย์ ท่านพุทธทาสภิกขุ
    แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา

    ๕. วัดป่าสุนันทวราราม
    บ้านลิ่นถิ่น ต. ท่าเตียน อ. ไทรโยค จ. กาญจนบุรี
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา
    เปิดอบรม “อานาปานสติภาวนา” แก่ผู้สนใจ ครั้งละ ๙ วัน
    เปิดรับครั้งละ ๑๐๐-๑๕๐ คน เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัด กินอาหารวันละ ๑ มื้อ
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณดารณี บุญช่วย (๐๒) ๓๒๑-๖๓๒๐

    ๖. วัดภูหล่น
    ๙ ต. สงยาง อ. ศรีเมืองใหม่ จ. อุบลราชธานี
    ปฐมวิปัสสนาหลวงปู่มั่นฯ (สถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์)
    วัดนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ
    มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนักสามารถกางกลดอยู่ได้
    มีโบสถ์บนเขาและมีกุฏิโดยรอบ บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา
    ที่นี่เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์

    ๗. วัดถ้ำขาม
    บ้านคำข่า หมู่ที่ ๔ ตำบาลไร่ อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร
    วิปัสสนาจารย์ อาจารย์ฝั้น อาจาโร
    วัดมีเนื้อที่ ๘๔๐ ไร่ พื้นที่จรดเขตอุทยานป่าแนวเทือกเขาภูพาน วัดอยู่บนเขาสูง
    แต่ก็มีบันไดขึ้นลงสะดวก มีลิงป่า และไก่ป่า
    ที่พัก มีที่พักเป็นกุฏิ (กุฏิละ ๑ คน) หรือพักรวมบนศาลาก็ได้
    เหมาะสำหรับไปปฏิบัติแบบอุกฤษฎ์

    ๘. สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์
    ต. หันตรา อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา
    แนวปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดรู้ รูป-นาม

    ๙. สำนักปฏิบัติธรรมแสงธรรมส่องชีวิต
    ต. โคกแย้ อ. หนองแค จ. สระบุรี ๑๘๒๓๐
    โทร. (๐๓๖) ๓๗๙-๔๒๘
    แนวปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท
    ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันสำคัญทางศาสนา
    จะมีการจัดอบรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน บวชชีพราหมณ์ เนกขัมมะ
    ดูเพิ่มเติม:


    ๑๐. วัดสนามใน
    ๒๗ ต. วัดชลอ อ. บางกรวย จ. นนทบุรี
    โทร. ๔๒๙-๒๑๑๙, ๘๘๓-๗๒๕๑
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ
    แนวปฏิบัติ เน้นการเจริญสติ วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ
    เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา
    ดูเพิ่มเติม:


    ๑๑. วัดป่านานาชาติ
    บ้านบุ่งหวาย หมู่ ๗ ต. บุ่งหวาย อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี
    (สาขา ๑๑๙ ของวัดหนองป่าพง)
    เป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุงและแมลงต่าง ๆ มาก
    คนที่แพ้ยุงก็ควรหายากันยุงไปด้วย อากาศเย็นสบาย ทานอาหารวันละ ๑ มื้อ
    การไป ให้เขียนจดหมายไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาส แล้วจึงเดินทางไปอยู่

    ๑๒. วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
    ถ. พระราม ๑ ปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
    โทร. ๒๕๑-๒๓๑๕, ๒๕๒-๕๔๖๕
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ถาวร จิตฺตถาวโร
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    นั่งปฏิบัติในศาลาพระราชศรัทธา มีอาสนะและผ้าคลุมตักให้หยิบใช้ได้
    บริเวณโดยรอบมีการปลูกแต่งด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ร่มรื่นสวยงาม
    กำหนดการปฏิบัติธรรมที่ศาลาฯ ประจำวันจันทร์ – ศุกร์ วันละ ๓ เวลา
    เช้า ๗.๐๐ – ๘.๐๐ น. กลางวัน ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. เย็น ๑๗.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.

    ๑๓. วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    เลขที่ ๘ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    วิปัสสนาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด)
    แนวปฏิบัติ ตามแนวธรรมกาย ใช้คำบริกรรม “สัมมาอรหัง”
    สถานที่ปฏิบัติ ๑. หอเจริญวิปัสสนาฯ ชั้น ๒ เป็นห้องแอร์ปูพรม
    ๒. หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิมิต ๓. ตึกบวรเทพมุนี

    ๑๔. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
    เลขที่ ๓ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    แนวปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
    สถานที่ปฏิบัติ คณะ ๕ สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ
    เปิดทุกวัน สอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิ
    เช้า ๐๗.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. กลางวัน ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เย็น ๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.

    ๑๕. วัดอินทรวิหาร
    อาคารปฏิบัติธรรม “เฉลิมพระเกียรติ” วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
    กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๖๒๘-๕๕๕๐-๒
    แนวการปฏิบัติ แนวหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย ๘ วัน ๗ คืน หรือ ๔ วัน ๓ คืน
    เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขยายผล จากผู้ปฏิบัติธรรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย
    เป็นอาคารทันสมัย ๕ ชั้น จุได้ประมาณ ๕๐๐ คน

    ๑๖. สำนักงานพุทธมณฑล
    พุทธมณฑล ถ. พุทธมณฑลสาย ๔ ต. ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม
    โทร. ๔๔๑-๙๐๐๙, ๔๔๑-๙๐๑๒
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ กำหนดรู้อารมณ์ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
    สถานที่ปฏิบัติ ชั้น ๒ ของหอประชุม มีเครื่องปรับอากาศ ห้องนอน
    มีเครื่องนอน เช่น หมอน มุ้ง ผ้าห่มให้พร้อม หรือนำไปเองก็ได้ ทานอาหาร ๒ มื้อ

    ๑๗. ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ เฉลิมพระเกียรติ
    คลองสาม จ. ปทุมธานี โทร. ๙๘๖-๖๔๐๔-๕
    เป็นสาขาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย – ภาษีเจริญ

    ๑๘. วัดอโศการาม
    ๑๓๖ หมู่ ๒ กม. ๓๑ ถ. สุขุมวิท (สายเก่า) ต. ท้ายบ้าน อ. เมือง จ. สมุทรปราการ
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อลี ธมฺมชโช
    บริเวณกว้างขวาง มีสระน้ำใหญ่ในบริเวณวัด
    กุฏิพระ แม่ชี และที่พักแยกเป็นสัดส่วนเรียงรายรอบวัดเป็นร้อย ๆ หลัง
    ส่วนมากอยู่ติดริมทะเลซึ่งเป็นป่าชายเลน

    ๑๙. วัดญาณสังวรารามวรวิหาร
    ต. ห้วยใหญ่ อ. บางละมุง จ. ชลบุรี โทร. (๐๓๘) ๒๓๗-๖๔๒
    สถานที่ปฏิบัติ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น มีอาคาร ญส. ๗๒ ชาย และ ญส. ๗๒ หญิง
    ชั้นละ ๑๐ ห้อง มีห้องน้ำในตัว เรือนปฏิบัติธรรมมี ๑๗ หลัง

    ๒๐. สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
    ซ. ประชานุกูล ๗ ถ. ชลบุรี-บ้านบึง ต. บ้านสวน อ. เมือง จ. ชลบุรี
    โทร (๐๓๘) ๒๘๓-๗๖๖
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
    มีเรือนพักปฏิบัติธรรมทั้งหญิงชายแยกเป็นสัดส่วนอยู่จำนวนมาก
    การอยู่ปฏิบัติให้พักคนเดียว เน้นการเก็บอารมณ์ ไม่พูดคุยกัน อย่างเคร่งครัด
    การรับประทานอาหารจะมีปิ่นโตส่งถึงห้อง ๒ มื้อ
    ทุกวันจะมีการสอบอารมณ์กรรมฐานโดยพระอาจารย์
    ค่าน้ำไฟ อาหาร วันละ ๕๐ บาท หรือเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ห้ามอยู่เกิน ๙๐ วัน

    ๒๑. สำนักวิปัสสนาสมมิตร – ปราณี
    จ. ชลบุรี โทร. พระอาจารย์ใหญ่ (๐๑) ๙๒๑-๑๑๐๑
    เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อขยับขยายมาจากวิเวกอาศรม
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
    สถานที่ล้อมรอบด้วยทุ่งและธรรมชาติ มีกุฏิสงฆ์สร้างในแบบธรรมชาติมุงจาก
    อาคารปฏิบัติธรรมขนาดกลางและอุโบสถ ยังรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่มากนัก

    ๒๒. วัดเขาสุกิม
    ต. เขาบายศรี อ. ท่าใหม่ จ. จันบุรี
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ใช้คำบริกรรม “พุทโธ”
    วัดตั้งอยู่สูงขึ้นไปบนเชิงเขา กว้างขวางกว่า ๓,๒๘๐ ไร่
    มีทางบันได และรถรางขึ้นไปบนวัด บริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย
    มีศาลาที่พักที่สะดวกสบาย เป็นห้องมุ้งลวด มีเตียง ที่นอน หมอนให้
    หรือพักที่กุฏิว่างต่าง ๆ

    ๒๓. วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
    ๖๐ บ้านท่าซุง หมู่ ๑ ต. น้ำซึม อ. เมือง จ. อุทัยธานี
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”

    ๒๔. สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
    อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธจาโร
    สำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่บนดอย ทางขึ้นลงเทปูนเป็นบันไดเดินได้สะดวกแต่ค่อนข้างสูง
    หลวงปู่เคยเล่าไว้ว่าที่ถ้ำผาปล่อง และถ้ำเชียงดาวนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
    ให้สำรวมระวัง รักษาความสงบ ไม่ร้องรำทำเพลง เล่นตลกคะนอง
    เพราะเคยมีพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากกุสันโธ
    พระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้าโกนาคม พระอรหันต์สมัยพระกัสสโป
    และพระอรหันต์สมัยพระพุทธโคดม มาบำเพ็ญเพียรและละสังขารอยู่หลายองค์
    การนั่งภาวนาที่นี่จะทำเหมือนสมัยที่หลวงปู่ยังอยู่ คือ
    ท่านจะให้ทุกคนที่ไปภาวนานั่งสมาธิเพชรฟังเทศน์ ด้วยเหตุผลว่า
    ”การนั่งสมาธิเพชรนั้นเป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น”

    ๒๕. วัดป่าสาละวัน
    อ. เมือง จ. นครราชสีมา
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    วันที่ ๑-๕ ของทุกเดือน จะมีการอบรมการปฏิบัติแก่อุบาสกอุบาสิกา
    ที่ใต้ศาลา และบนวิหารชั้น ๒ โดยจะมีพระให้การอบรม

    ๒๖. วัดสมเด็จแดนสงบ (แสงธรรมเวฬุราราม)
    ๙๙ ซอย ๑๙ ถ. มิตรภาพ อ. เมือง จ. นครราชสีมา ๓๐๐๐๐
    โทร. (๐๔๔) ๒๑๔-๑๓๔, ๒๑๔-๘๖๙-๗๐
    วิปัสสนาจารย์ พระครูภาวนาวิสิฐ
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔

    ๒๗. วัดป่าวะภูแก้ว
    ต. มะเกลือใหม่ อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา
    แนวปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์ - หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
    วัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีต้นไม้ใหญ่น้อยมาก สถานที่เงียบสงบ สวยงาม
    มีอาคารอบรมขนาดใหญ่ สำหรับผู้มาทำสมาธิเป็นหมู่คณะ

    ๒๘. วัดหนองป่าพง
    ๔๖ หมู่ ๑๐ ต. โนนผึ้ง อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
    แนวปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ

    ๒๙. ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จ. ขอนแก่น
    บ้านเนินทาง ต. บ้านค้อ อ. เมือง จ. ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
    โทร. (๐๔๓) ๒๓๗-๗๘๖, ๑๒๗-๗๙๐
    เป็นสถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสาขา ของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ เช่นเดียวกับวัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี

    ๓๐. วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม
    ซ. ศรีจันทร์ ๑๓ ถ. ศรีจันทร์ ต. ในเมือง อ. เมือง จ. ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
    โทร. (๐๔๓) ๒๒๒-๐๔๒
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”

    ๓๑. วัดถ้ำผาบิ้ง
    ต. ทรายขาว อ. วังสะพุง จ. เลย
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    เมื่อไปถึงจะพบศาลาสร้างด้วยไม้ที่โปร่งสะอาดน่านั่งสมาธิ มีกุฏิหลายหลัง
    มีถ้ำอยู่ไม่สูงจากเชิงเขา มีบันได้ขึ้นสะดวก เป็นที่สงบวิเวกมาก
    เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์ พระในสายพระอาจารย์มั่นมักมากจำพรรษา
    และปฏิบัติธรรมที่นี่ เพราะเป็นที่สัปปายะ บรรยากาศเงียบสงบ ห่างจากเมือง

    ๓๒. วัดถ้ำกองเพล
    ต. โนนทัน อ. เมือง จ. หนองบัวลำภู ๓๙๐๐๐
    โทร. (๐๔๒) ๓๑๒-๓๗๗
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    เป็นวัดป่ากว้างขวาง พร้อมศาลาปฏิบัติธรรมสร้างภายในถ้ำ
    ทางไปถ้ำสะดวกอยู่ริมถนน รถเข้าถึงปากถ้ำได้ ไม่ต้องปีน
    บางกุฏิก็ซ่อนอยู่ตามเหลือบผาต่าง ๆ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
    เมื่อไปถึงให้ติดต่อศาลาประชาสัมพันธ์เพื่อขออนุญาตก่อน ปฏิบัติธรรมอย่างเข้ม

    ๓๓. วัดป่าบ้านตาด
    ต. บ้านตาด อ. เมือง จ. อุดรธานี
    วิปัสสนาจารย์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    ในวัดมีกุฏิที่พักหลายกุฏิ มักจะมีลูกศิษย์มาอยู่ปฏิบัติกันมาก
    แต่ผู้มาปฏิบัติที่นี่ต้องกินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก
    กลางคืนมักจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ จนดึก หรือโต้รุ่งก็มี
    ไม่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน ผู้ปฏิบัติจึงควรจำไฟฉายหรือเทียนติดตัวไปด้วย
    เพื่อใช้ส่องทางเดิน ทางจงกรม ซึ่งมักจะเป็นทางดิน
    และอาจมีสัตว์ เช่น งู อยู่บ้าง ต้องเจริญเมตตาไม่เบียดเบียนต่อกัน

    ๓๔. วัดหินหมากเป้ง
    บ้านไทยเจริญ หมู่ ๔ ต. พระพุทธบาท อ. ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    ในวัดมีกุฏิเรือนรับรองอยู่มาก บริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วยป่าโปร่ง ป่าไผ่
    ทะเลสาบใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติ

    ๓๕. วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)
    อ. บึงกาฬ จ. หนองคาย
    วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    วัดตั้งอยู่บนภูทอก ทางขึ้นค่อนข้างชัน
    สร้างด้วยความอัศจรรย์และด้วยจิตที่เด็ดเดี่ยวของพระเณร
    ท่านพระอาจารย์จวนได้ทำทางขึ้นเป็นขั้นบันไดและทางเดินด้วยไม้รอบภูจนถึงยอด
    บริเวณหน้าผา ท่านใช้ไม้ ๒ ลำมัดให้แน่นยื่นออกไป ๔ เมตร
    เอาเชือกบังสุกุลผูกปลายไม้ที่ยื่นออกไป ตรึงใส่เสาที่ปักไว้ แล้วไปนั่งที่ปลายไม้นั้น
    เพื่อตอกหินเจาะหลุมที่หน้าผา ปรากฏว่า ถ้าให้ฆราวาสไปนั่งปลายไม้ครั้งใด
    ก็ไม่สามารถควบคุมสติสมาธิได้ เพราะมองไปข้างบ่างก็เกิดความหวั่นไหว
    จนไม่สามารถตอกหินได้สำเร็จ ผู้สร้างจึงเป็นพระและเณร สิ่งปลูกสร้างนี้มี ๗ ชั้น
    มีกุฏิที่พักเชิงเขาที่ชั้น ๒ หรือจะพักกุฏิว่างรอบเขาก็ได้ (ต้องขออนุญาตก่อน)
    เหมาะกับผู้ปฏิบัติที่ฝึกมาดีพอสมควร มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้
    เนื่องจากเปลี่ยวและสูงอยู่บนภูเขา แต่บรรยากาศเย็นสบาย เงียบสงบ

    ๓๖. วัดดอยธรรมเจดีย์
    บ้านทาสีนวล หมู่ ๓ ต. ตองโขบ อ. ศรีสุพรรณ จ. สกลนคร
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    ปกติจะปฏิบัติที่ศาลา ส่วนที่พักมีกุฏิ และอาคารคึกสะอาดทันสมัย

    ๓๗. วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
    ถนน รพช หมู่ ๑ ต. ปทุมวาปี อ. ส่องดาว จ. สกลนคร
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภาวนา “พุทโธ”
    ที่นี่มีหลายถ้ำ มีถ้ำหนึ่งชื่อถ้ำพวง ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า
    เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์ชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่

    ๓๘. วัดป่าสุทธาวาส
    ๑๓๙๖ บ้านคำสะอาด หมู่ ๑๐ ต. ธาตุเชิงชุม อ. เมือง จ. สกลนคร
    แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
    มีอาคารเป็นตึกปูน ๓ ชั้นหลังใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคน เย็นสบาย

    ๓๙. วัดคำประมง
    เลขที่ ๒๐ หมู่ ๔ บ้านคำประมง ต. สว่าง อ. พรรณนานิคม จ. สกลนคร ๔๗๑๓๐
    วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธจาโร
    เนื่องจากเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่น้อยในฤดูนอกพรรษา จึงเงียบสงบ
    มีเจ้าหน้าที่ตัดหญ้า ปลูกดอกไม้สวยงามอย่างดี
    มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ และสิ่งก่อสร้างสวยงาม มีสระน้ำทะเลสาบใหญ่
    ฝูงปลามากมาย มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมและให้อาหารปลาอยู่เสมอ

    ๔๐. สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)
    เขากิ่ว ต. ไร้ส้ม อ. เมือง จ. เพชรบุรี ๗๖๐๐๐
    โทร. (๐๓๒) ๔๒๘-๕๒๒
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อกนฺตสิริ
    แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติ
    เขากิ่วเป็นภูเขาเตี้ย ๆ มีต้นไม้หนาแน่นมาก อยู่ใกล้เมือง เดินทางสะดวก
    บนเขามีลิงอยู่บ้าง แต่ไม่ทำร้ายคน บนสำนักฯ มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    ศาลา ถ้ำชี ซึ่งใช้เป็นอุโบสถ กุฏิที่พัก ห้องน้ำ-ส้วม พอสะดวกสบายแก่การปฏิบัติ
    ที่นี่เน้นการปฏิบัติเคร่งครัด กินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก

    40 แห่ง สำนักปฏิบัติธรรมเมืองไทย
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    พิเศษ..สถานที่ปฏิบัติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่

    [​IMG]
    สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ ณ ศาลาหอฉัน วัดถ้ำเมืองนะ
    ............................................................................


    วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ)
    ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170

    พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) เจ้าอาวาส

    ขอแนะนำที่ถ้ำเมืองนะ มีกุฏิหลายหลัง มีถ้ำให้ได้ปฏิบัติมากมาย กุฏิ กับถ้ำอยู่คนละที่ สามารถเข้าพักได้ ตลอดเวลาตามที่เห็นเหมาะสม เวลาไปถึงก็ไปหาคนเก็บกุญแจกุฏิแล้วเข้าพักได้เลย ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า

    พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) ศิษย์สายหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านเมตตา บอกว่า ใครอยากมา ก็มา ใครอยากกลับก็กลับ จะถือศีลอะไรก็ได้ แล้วแต่กำลังใจ ถ้าโรคภัยมาก ศีล 5 ก็ดีแล้ว ไม่ต้องฝืนไปถือศีล 8 จะอยู่เป็นปี ท่านก็ให้อยู่ ไม่ว่าอะไร บางคนมาอยู่หลายเดือน มาทำสมาธิอย่างเดียว ไม่คุยกับหลวงตาม้าเลยก็มี

    ....ที่ตรงนี้ ห่างจากชายแดนพม่าประมาณ 1 กิโลเมตร

    [​IMG]

    การเดินทางไปสำหรับผู้ที่อยู่ในเชียงใหม่ในกรณีนั่งรถบัสมาเอง

    ระยะเวลาจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปวัดนั้นใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง การเดินทางไปวัดหากมาจากตัวเมืองเชียงใหม่ ให้มาขึ้นรถบัสสีแดงที่ไปเชียงดาวที่ขนส่งช้างเผือก แล้วไปลงแถว ๆ คิวรถเหลืองสาย 2 ที่ อ.เชียงดาว (บอกกระเป๋ารถเขาจะรู้) จากนั้นบอกรถสองแถวสาย 2 ที่เชียงดาว ว่าไปวัดหลวงตาม้า เขาจะทราบ

    การเดินทางหากนั่งรถบัสมาจากต่างจังหวัด

    หากนั่งรถทัวร์มา พอรถทัวร์ลงที่ขนส่งอาเขตให้จ้างรถสามล้อเครื่องหรือมอไซค์รับจ้าง (ประมาณ 50-60 บาท) บอกให้มาขนส่งช้างเผือก พอมาถึงแล้วก็ให้มาขึ้นรถบัสสีแดงที่ไปเชียงดาวที่ขนส่งช้างเผือก แล้วไปลงแถวๆ คิวรถเหลืองสาย 2 ที่ อ.เชียงดาว (บอกกระเป๋ารถเขาจะรู้) จากนั้นบอกรถสองแถวสาย 2 ที่เชียงดาว ว่าไปวัดหลวงตาม้า เขาจะทราบ

    สอบถามข้อมูลเส้นทางเพิ่มเติม-ติดต่อวัดถ้ำเมืองนะ
    แม่ชีประภัสสร โทร. 085-7203608
    คุณศิวกร โทร. 081-8178827

    [​IMG]
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    [​IMG]
    พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ)
    <A onclick="pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_dhammajak_net_board_viewtopic_php_t_2443');" href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2443" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ??ط??Ë?ѭ⭠(Ǒ??铠?ͧ?Щ ?.ક§㋁覬t;/a>

    เว็บไซต์วัดถ้ำเมืองนะ
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ หลวงตาม้า หลวงปู่ทวด - วัดถ้ำเมืองนะ จังหวัดเชียงใหม่

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]

    วัดอรัญวิเวก (บ้านปง)
    หมู่ 7 บ้านปง ต.อินทขิล
    อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป เจ้าอาวาส

    วัดอรัญวิเวก (บ้านปง) เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    พระธรรมเทศนา เรื่อง หลักการทำสมาธิและปฏิบัติภาวนา
    โดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    http://www.childthai.org/e-book/mental/ ... tal001.htm

    เว็บไซต์วัดอรัญวิเวก (บ้านปง)
    www.aranyawiwake.com

    [​IMG]
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    :: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?Ð͒?҃¬໅ը¹ ?ѭ?һ?բ?

    เสียงธรรมบรรยายพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    <A onclick="pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_dhammajak_net_audio_dhamma_files_plean_php');" href="http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/files/plean.php" target=_blank>?§?Ã?Ò - ˅ǧ?荠?ŕ肹 ?ѭ?һ?բ? :: ?Ã?ѡælt;/a>

    มองดูตนเอง (พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
    :: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ???ٵ?? (?Ð͒?҃¬໅ը¹ ?ѭ?һ?բ?)

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]
    พระเจดีย์วัดอุโมงค์
    ............................................................................


    วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)
    เลขที่ 135 หมู่ 10 ถ.สุเทพ
    ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    โทรศัพท์ 053-811-100, 053-810-270

    พระครูสุคันธศีล
    เจ้าอาวาสวัดอุโมงค์ และเจ้าคณะตำบลสุเทพเขต 2

    วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) มีการจัดตั้ง (๑) “ศูนย์พุทธศาสนานานาสชาติวัดอุโมงค์” เพื่อเป็นโครงการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาในรูปแบบของการสนทนา บรรยายธรรม การศึกษาและวิเคราะห์พระสูตร และการปฏิบัติธรรมตามแบบอานาปานสติ ให้แก่ผู้สนใจทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และ (๒) ค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ขึ้นภายในวัด

    ทั้งนี้ วัดอุโมงค์ เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม
    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ศูนย์พุทธศาสนานานาสชาติวัดอุโมงค์
    (โครงการศูนย์ศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมนานาชาติ
    วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม)

    รูปแบบของการอบรม

    1. ให้ศีล 8 แก่ผู้เข้ารับการอบรม
    2. บอกกฎระเบียบ กติกา มารยาท การลุก-นั่ง การกราบ กริยามารยาทในการสนทนากับพระ การพิจารณา
    อาหารก่อนรับประทาน การใช้สถานที่ ห้องน้ำ อาคาร ห้องนอน และกฎระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในระหว่างรับการอบรม
    3. แนะนำวิธีการศึกษาธรรมะ ในระหว่างการอบรม ตามความเหมาะสมของวัยและภูมิความรู้
    4. ทำวัตรสวดมนต์แปล บาลี-ไทย, บาลี-อังกฤษ
    5. ทำสมาธิ เดินจงกรม
    6. สนทนาธรรมกับพระวิทยากรและฟังบรรยายตามช่างต่างๆ
    7. เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้สอบถามปัญหาที่อยากรู้และอภิปรายปัญหาตามสมควร
    8. สอบอารมณ์ 2 ครั้ง คือ สามวันต่อ 1 ครั้ง

    หลักสูตรการอบรม

    1. ภาควิชาการ อบรมความรู้พื้นฐาน ที่จะช่วยเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เช่น เรื่องพระรัตนะตรัย ความกตัญญูกตเวที ความรับผิดชอบในหน้าที่ ความมีระเบียบวินัย อบายมุข อิทธิบาท 4 สติสัมปชัญญะ กฎแห่งกรรม สิ่งแวดล้อม พุทธภาษิต และหัวข้อธรรมอื่นๆ ที่เหมาะสมตามภาวะของผู้เข้ารับการอบรม

    2. ภาคปฏิบัติ ฝึกมารยาทตามแนววัฒนธรรมไทย เช่น การกราบไหว้ การเคารพ การลุก-นั่ง เดิน การรับประทานอาหาร ทำวัตรสวดมนต์ แผ่เมตตา เจริญสมาธิภาวนา เดินจงกรม

    บุคคลากรดำเนินการอบรม

    1. คณะพระวิทยากรประจำศูนย์
    2. พระวิทยากรรับเชิญ

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจและมองเห็นคุณค่าของธรรมะที่มีต่อชีวิต
    สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความตระหนักถึงระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามอันจะทำให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย
    3. ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อพระพุทธศาสนาและนำธรรมะไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง
    4. ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมประเพณีชาวพุทธอย่างถูกต้อง

    สถานที่ติดต่อประสานงาน

    ประธานศูนย์ศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมนานาชาติวัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม
    พระอาจารย์ ดร.ส่งเสริม เกสรธมฺโม
    โทร. 053-810-270 มือถือ 01-179-6509
    Email : phrasongserm@watumong.org

    เว็บไซต์วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)
    <A onclick="pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_watumong_org_');" href="http://www.watumong.org/" target=_blank>เว็บไซต์วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ ธรรมะ, ฟังธรรมะออนไลน์, ชาวพุทธ, CD বt;/a>
    ”??յ鍹Ñ?ʙ褨҂?س?Ã?Ѵ͘⁧?쨊ǹ?ط??Ã? ?ӺŊؠ?? ͓??ͧ ?ѧˇѴક§㋁覬t;/a>


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]

    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
    หมู่ 2 ถ.เชียงใหม่-ฮอด หมายเลข 108
    ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160
    โทรศัพท์ 053-826-869

    เจ้าอาวาส : พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)

    ผู้เข้าปฎิบัติ : รับทุกเพศทุกวัย-รับชาวต่างประเทศด้วย

    แนวปฎิบัติ : สติปัฏฐาน 4 (พองหนอ-ยุบหนอ) ตามแนวทางปฏิบัติของ
    - ท่านมหาสีสะยาดอ
    - พระอาจารย์ภัททันตะอาสภมหาเถระ
    - ท่านพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)
    - คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย

    การปฎิบัติ : สำหรับผู้เข้าปฎิบัติใหม่จะมีครูสอนการปฎิบัติให้
    และพระวิปัสสนาจารย์ จำนวน 4 ท่านสำหรับสอบอารมณ์

    เงื่อนไข :
    1. ผู้ต้องการเข้าปฎิบัติ ต้องโทร.จองห้องก่อนล่วงหน้า 1-2 เดือน
    ก่อนการปฏิบัติ (เนื่องจากห้องปฏิบัติจะเต็มเร็วมาก)
    2. ผู้เข้าปฎิบัติต้องเขียนใบสมัครในวันที่ลงทะเบียนเข้าปฎิบัติ
    3. นำบัตรประชาชนของผู้ปฏิบัติมาด้วย
    4. นุ่งขาวห่มขาวพร้อมสไบ (หากไม่มีทางสำนักมีบริการให้ยืม)
    5. ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ทางสำนักมีบริการให้ยืม (หรือจะนำมาเองก็ได้)

    [​IMG]

    ด้านวิปัสสนาธุระ มีการสอน-ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน ในแนวสติปัฏฐาน 4 (พองหนอ-ยุบหนอ) มีห้องพัก (กุฎิ) สำหรับพระภิกษุและผู้สนใจทั่วไปที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (โทร. ติดต่อจองห้องพักได้ที่เบอร์ 053-826-869, แม่ชีระวีวรรณ)

    ด้านคันถธุระ มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์, งานประเพณีในเดือน 7 ใต้ ขึ้น 15 ค่ำ หรือตรงกับเดือน 9 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ และมีงานสรงน้ำพระบรมธาตุ 5 คืน 4 วัน เป็นประจำทุกๆ ปี

    การเดินทาง : จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปอำเภอจอมทอง ประมาณ 1-2 ชั่วโมง โดยนั่งรถทัวร์หรือรถไฟจากกทม. แล้วต่อรถสองแถวจากสถานีรถไฟ ไปประตูเมืองเชียงใหม่ (เหมาราคา 50-60 บาท ใช้เวลา 10-20 นาที) แล้วลงจากรถ มาต่อรถสองแถวสีเหลือง (ที่ไปจอมทอง) โดยไม่ต้องเหมานั่งไปพร้อมหลายๆ คน ราคา 20 บาท ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง

    [​IMG]
    ‘พระธาตุศรีจอมทอง’ สีทองอร่าม
    ............................................................................


    ประวัติวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ สร้างเมื่อพุทธศักราช 1994 โดยนายสร้อย นางเม็ง เป็นผู้สร้างขึ้นบนดอยจอมทอง จึงได้ชื่อว่า “วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง” สูงจากที่ราบ 10 เมตร อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ 58 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาเรียกว่า “ดอยอินทนนท์” และลำน้ำแม่กลาง วัดนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

    - ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 335

    - ธรณีสงฆ์ มีจำนวน 7 แปลง เนื้อที่ 27 ไร่ 2 งาน 26 ตารางวา น.ส. เลขที่ 334, 336, 337, 676 และโฉนดเลขที่ 17416, 17434

    - กัลปนา มีจำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน โฉนดเลขที่ 22565, 22565, 22565 อยู่ในพื้นที่อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

    - ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพุทธศักราช 2470

    - ได้รับพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
    เมื่อวันที่ 30 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2506

    - ได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี 2524 ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
    (ปัจจุบันกรมการศาสนา สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม)

    - ได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2538 ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

    [​IMG]
    ประชาชนร่วมกันสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง
    ............................................................................


    พระธาตุศรีจอมทอง ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 เชียงใหม่-ฮอดห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรมในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

    พระธาตุศรีจอมทอง เป็นที่ประดิษฐานพระทักษิณโมลีธาตุ หรือพระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับพระธาตุศรีจอมทองนั้น ถือว่ามีความพิเศษ คือ เป็นพระบรมธาตุเพียงแห่งเดียวที่สามารถสักการะและสรงน้ำได้โดยตรง และเห็นองค์พระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะแม้จะมีเจดีย์ (พระธาตุ) อยู่ในวัด แต่องค์พระบรมธาตุแปลกกว่าที่อื่นๆ มาก เพราะมิได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ แต่บรรจุอยู่ในผอบธาตุฯ ออกจากผอบทองคำลงในโกฏแก้ว ที่มีฝาครอบเป็นทองคำ พานรองเป็นเงิน มีสร้อยทองคำโยงลงมาจากฝาครอบทองคำมายังพานเงินทั้ง 4 ด้าน กล่าวคือ พระบรมธาตุประดิษฐานอยู่ภายในกู่ปราสาทปิดทอง ตั้งอยู่ในวิหารจัตุรมุขใกล้เคียงกับเจดีย์ เมื่อถึงวันวิสาขบูชาและวันมาฆบูชาของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุศรีจอมทอง โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้คนทั่วไปได้สักการะและสรงน้ำ

    [​IMG]
    องค์พระธาตุเจดีย์ภายในพระอุโบสถวัดพระธาตุศรีจอมทอง
    ............................................................................


    อาคารเสนาสนะ นอกจากนี้ยังมี พระอุโบสถ พระเจดีย์ หอพระไตรปิฏก หอสรงน้ำพระบรมธาตุฯ อาคารพิพิธภัณฑ์ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม กุฏิสงฆ์ สำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน มีกุฏิสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติ ศาลาสอบอารมณ์กรรมฐาน โรงครัว ห้องน้ำ-ห้องสุขา

    ปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปทองคำ เงิน-งาช้างแกะสลัก เครื่องนักรบโบราณ เครื่องชนช้างโบราณฝักดาบเงิน ฝักดาบทอง ช้อนเงิน ช้อนทองคำ แก้ว 7 สี มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อว่า หลวงพ่อเพชร ซึ่งจำลองจากองค์จริงที่วัดท่าหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร และอื่นๆ ฯลฯ

    [​IMG]
    พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาพระเทพสิทธาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)

    เว็บไซต์วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
    Ǒ??Ð?ҵ؈Õ?́?ͧǃǔ˒àͮ?́?ͧ ?.ક§㋁蠔. 053-826869 => www.geocities.com/watpratat

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]
    หลวงพ่อธี วิจิตตธัมโม
    ............................................................................


    สำนักวิปัสสนาภาวนาอนัตตาราม (ถ้ำวัว)
    หมู่บ้านเจียรจันทร์ ต.เมืองนะ
    อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170
    โทรศัพท์ 081-1629649, 085-7165855,
    084-9405259, 086-1967686, 085-716-5855

    ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานพระธาตุห้วยบอนเก่า
    หมู่ 13 บ้านห้วยบอน
    ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
    โทรศัพท์ (พ่อหลวงบุญตาน)
    089-561-6399, 085-035-5127

    หลวงพ่อธี วิจิตตธัมโม ประธานสงฆ์

    [​IMG]

    คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน

    1. เป็นสุภาพชน รับทั้งชายและหญิง อายุ ไม่น้อยกว่า 7 ปี
    2. ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ
    3. ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา
    4. สมัครใจเข้ารับการอบรม และยินดีปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของสถานอบรม
    5. งดการสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมาก การเสพของมึนเมา ทุกชนิดได้ ตลอดระยะเวลาการอบรม
    6. ยินดีร่วมกันรักษาความเงียบสงบ
    โดยงดการพูดคุยกันระหว่างผู้ปฏิบัติธรรมด้วยกันตลอดระยะเวลา 7 วัน ของการปฏิบัติ
    7. ไม่ประดับหรือนำของมีค่าเช่น สร้อย แหวน ทอง หรือเงินจำนวนมาก ไปด้วยในการอบรม

    การแต่งกาย

    แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สีไม่ฉูดฉาด สุภาพเรียบร้อย ปกปิดร่างกายได้มิดชิด
    ควรเป็นชุดที่หลวมๆ นุ่งสบาย นั่งสบาย จะเป็นชุดสีขาว หรือไม่เป็นชุดสีขาวก็ได้

    อาหาร

    จัดให้เป็นอาหารมังสะวิรัติ วันละ 2 มื้อ เช้ากับกลางวัน ส่วนมื้อเย็นจะเป็นน้ำปานะหรืออาหารว่าง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถอดอาหารมื้อเย็นได้ให้แจ้งล่วงหน้าในวันรายงานตัวจะได้จัดเตรียมอาหารให้เป็นพิเศษเป็นรายๆ ไป

    [​IMG]

    อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ต้องเตรียมไป

    1. เครื่องใช้ประจำตัว เช่น แปรงฟัน สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
    ผ้าขาวม้า ยารักษาโรคที่ต้องรับประทานเป็น ประจำ ยาหม่อง ยาทากันยุง ไฟฉาย ฯลฯ
    2. ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว และผ้าคลุมตัวเวลานั่งปฏิบัติธรรม (อากาศค่อนข้างหนาวในหน้าหนาว)
    3. มุ้ง หรือ กลด กันยุง
    4. เสื้อผ้าสำหรับผลัดเปลี่ยนใช้ ให้พอดีกับเวลา (ท่านอาจซักผ้าได้ในช่วงพักหลังรับประทานอาหารกลางวัน)

    ระเบียบของศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน

    1. รักษาความเงียบอย่างจริงจัง งดพูดคุย ส่งสัญญาณ ทำภาษาใบ้ หรือการกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดเสียงและท่าทางรบกวนผู้อื่นตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ พูดคุยกับอาจารย์ได้เมื่อมีปัญหาการปฏิบัติ พูดคุยกับธรรมบริกรได้เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วย หรือเครื่องมืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ
    2. ไม่สัมผัสเนื้อตัวซึ่งกันและกัน
    3. แยกเขตที่อยู่ระหว่างชายและหญิงโดยเด็ดขาด ไม่ไปมาหาสู่กันในระหว่างการปฏิบัติ
    4. งดการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกตลอดระยะเวลาการอบรม งดการใช้โทรศัพท์มือถือ
    งดการเปิดวิทยุ หรือฟังเทปต่างๆ งดการอ่านหนังสือพิมพ์
    5. งดการประดับประดาตกแต่งร่างกายด้วยน้ำหอม และเครื่องประดับ หรือทาสารที่มีกลิ่นรุนแรง รบกวนผู้อื่น
    6. ไม่ออกนอกบริเวณสถานที่ฝึกอบรม
    7. เว้นจุดธูปเทียน สวดมนต์ ให้ตั้งใจทำปฏิบัติบูชาแทน
    8. งดการออกกำลังกายด้วยท่าทางต่างๆ

    [​IMG]

    ระยะเวลาการปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษ
    สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยไม่สามารถอยู่ได้ตลอด 7 วัน

    ผู้มีเวลาน้อย สามารถสมัครเข้าร่วมการปฏิบัติได้เป็นเวลาอย่างน้อยที่สุดคือ 3 วัน หรือ 5 วัน ก็ได้ โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าในวันสมัคร หรือรายงานตัว (เป็นกรณีพิเศษเฉพาะระยะเริ่มต้น)

    การพิจารณาตกลงรับการสมัคร

    จะพิจารณาผู้ที่สมัครอยู่ปฏิบัติจนครบ 7 วันเป็นอันดับที่ 1 และพิจารณาผู้ที่สมัคร 5 วัน และ 3 วัน เรียงลงมาตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากมีที่พักจำนวนจำกัด

    การปฏิบัติสมทบรายวัน แบบไป-กลับ

    รับไม่จำกัดจำนวน

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่สำนักวิปัสสนาภาวนาอนัตตาราม (ถ้ำวัว)
    <A onclick="pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_dhammajak_net_board_viewtopic_php_t_1929');" href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1929" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըʓ?ѡǔ?ъʹҀ҇?ҍ?ѵ?҃ҁ (?铇ч) ?.ક§㋁覬t;/a>

    แผนที่ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานพระธาตุห้วยบอนเก่า
    <A onclick="pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_dhammajak_net_board_viewtopic_php_t_1931');" href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1931" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըș?¬ǔ?ъʹҡÃ?ҹ?Ð?ҵ؋釂?͹ࡨҠ?.ક§㋁覬t;/a>

    เว็บไซต์หลวงพ่อธี วิจิตตธัมโม
    พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *<!-- google_ad_section_end -->

    สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ดอยสะเก็ด 1 และ 2
    ถ.เชียงใหม่-เชียงราย ต.เชิงดอย
    อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
    ดอยสะเก็ด 1 โทรศัพท์ 053-495-823
    ดอยสะเก็ด 2 โทรศัพท์ 081-993-9933

    แม่ชีอมรี ศรีดารักษ์ ประธานและผู้ดูแล

    แม่ชีท่านเป็นลูกศิษย์พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)
    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
    ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-826-869

    ผู้เข้าปฏิบัติ : รับผู้เข้าปฏิบัติทุกเพศทุกวัย
    โดยเปิดให้บริการทุกวัน

    แนวปฏิบัติ : เป็นแบบ “พองหนอ ยุบหนอ”

    การปฏิบัติ : สำหรับผู้เข้าปฏิบัติใหม่จะมีครูสอนการปฏิบัติให้
    และมีพระวิปัสสนาจารย์-แม่ครูสำหรับสอบอารมณ์

    เงื่อนไข :

    1. ผู้เข้าปฏิบัติต้องมีผู้รับรองมาแสดงตัวด้วยในวันที่ลงทะเบียนเข้าปฏิบัติ
    2. นำสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของทั้งผู้ปฏิบัติและผู้รับรองมายื่นในวันลงทะเบียน
    3. นุ่งขาวห่มขาวพร้อมสไบ (หากไม่มีทางสำนักมีบริการให้ยืม)
    4. ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ทางสำนักมีบริการให้ยืม (หรือจะนำมาเองก็ได้)

    กิจวัตรประจำวัน :

    03.00 น. ทำวัตรเช้า
    06.30 น. รับประทานอาหารเช้า (ฟังเสียงระฆัง)
    07.30 น. ปฏิบัติรวมในศาลา (รอบ 1)
    10.45 น. รวมในวิหาร สวดมนต์และรับประทานอาหารกลางวัน
    12.45 น. ปฏิบัติธรรม (รอบ 2)
    16.00 น. ทำวัตรเย็น
    18.30 น. รับน้ำปานะที่โรงครัวของสำนักฯ
    19.45 น. ปฏิบัติธรรม (รอบ 3)
    22.00 น. พักผ่อน

    หมายเหตุ : วันโกนฟังเทศน์ วันพระเวียนเทียนที่พระวิหารตอนกลางคืน
    (กิจวัตรทุกอย่างให้ฟังเสียงระฆัง)

    การเดินทาง :

    เดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปอำเภอดอยสะเก็ด ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางไป จ.เชียงราย โดยสารรถประจำทางได้โดยขึ้นรถที่ตลาดวโรรส

    สำหรับผู้จะเข้าไปปฏิบัติธรรมที่สำนักนี้ ขอเน้นสำหรับผู้มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติ ถ้าเป็นไปได้ควรจะอยู่ปฏิบัติให้ได้ประมาณ 7 วันขึ้นไป (เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ปฏิบัติเอง) แต่อย่างไรก็ตามทาง สำนักก็ไม่ได้มีข้อกำหนดไว้ แล้วแต่ทางผู้ปฎิบัติจะจัดสรรเวลามาปฏิบัติได้

    ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ มีทั้งหมด 9 สาขา ดังนี้

    1. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ดอยสะเก็ด 1 จ.เชียงใหม่
    โทรศัพท์ 053-495-823

    2. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ดอยสะเก็ด 2 จ.เชียงใหม่
    โทรศัพท์ 081-993-9933

    3. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ลำพูน จ.ลำพูน
    โทรศัพท์ 053-500-507

    4. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ไตรนุสรณ์ จ.สกลนคร
    โทรศัพท์ 042-786-205

    5. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ สกลนคร จ.สกลนคร
    โทรศัพท์ 042-786-200

    6. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    โทรศัพท์ 089-705-0318, 086-128-4907

    7. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ทุ่งโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี
    โทรศัพท์ 081-736-3141

    8. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ สุรินทร์ภักดี จ.สุรินทร์
    โทรศัพท์ 044-520-229

    9. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ สุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
    โทรศัพท์ 077-320-162

    [​IMG]
    พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]

    วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
    เลขที่ 1 หมู่ 5 ต.ในเมือง
    อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50250
    โทรศัพท์ 053-278-620 ต่อ 0

    พระครูภาวนาวิรัช (สุพัน อาจิณฺณสีโล) เจ้าอาวาส

    วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่”, “ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดเชียงใหม่ (ค่ายธรรมภาวนา)” และเป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

    รายละเอียดที่ควรทราบในการเข้าปฏิบัติธรรม ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

    สิ่งของที่ต้องเตรียมมา

    1. ดอกบัว 11 ดอก, ธูป-เทียน อย่างละ 1 ห่อ
    2. บัตรประจำตัวประชาชน และมีบุคคลที่เชื่อถือได้มารับรอง
    3. เสื้อ- ผ้าถุง-สไบขาว สำหรับนักปฏิบัติธรรม (หญิง) เสื้อไม่ควรคอกว้าง-แขนกุด
    เสื้อ- กางเกงขาวสำหรับนักปฏิบัติธรรม (ชาย)
    4. ของใช้จำเป็นส่วนตัว เช่น สบู่, แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน ผงชักฟอก, ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ
    5. อื่นๆ ได้แก่ นาฬิกาปลุก, ผ้ารองนั่ง, ไฟฉาย (หากไปฟ้าดับ), เข็มกลัดซ่อนปลาย
    เสื้อทับในขาว (สวมทับชั้นในให้ดูเรียบร้อย) กระโปรงซับในขาว (เมื่อนุ่งผ้าถุง)

    สิ่งที่ควรทราบในการปฏิบัติธรรม

    1. ไม่ควรสวมเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย, ไม่ควรนำของมีค่า-เครื่องประดับติดตัวมา
    2. ไม่ควรใช้เครื่องสำอาง-ของหอม ตกแต่งใบหน้าและร่างกาย และให้เก็บ-มัดรวมผมให้เรียบร้อย
    3. เพื่อความสะดวกสบาย ควรสวมรองเท้าแตะส้นเตี้ย

    4. เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาในการปฏิบัติฯ ทางวัดได้จัดเตรียมอาหารตามความเหมาะสมให้
    ทั้งมื้อเช้าและกลางวัน ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ออกไปซื้ออาหารหรือปรุงอาหารทานเอง
    5. ผู้ปฏิบัติฯ สามารถซื้อของใช้ที่จำเป็นได้ที่ร้านค้าของวัด
    6. ไม่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติฯ ออกไปนอกบริเวณวัดโดยเด็ดขาด นอกจากจำเป็น ซึ่งจะต้องขออนุญาต
    จากพระอาจารย์ผู้สอบอารมณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรณีๆ ไป

    7. ให้มาปฏิบัติธรรมพร้อมกันทุกวัน เวลา 13.00 น. นอกจากได้รับการยกเว้นจากพระอาจารผู้สอบอารมณ์
    8. ห้ามจับกลุ่มคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นภายในห้องพักหรือบริเวณอื่นๆ ไม่ว่ากับโยคีด้วยกัน
    หรือกับพระเณร- แม่ชีภายในวัด เพราะจะทำให้เสียการปฏิบัติธรรม
    9. ให้สำรวมกริยามารยาท และไม่พูดส่งเสียงดัง

    10. หากมีเพื่อนหรือญาติเยี่ยม ห้ามพากันไปคุยในกุฏิพักและควรพูดคุยกันไม่เกิน 30 นาที
    ห้ามพาบุคคลภายนอก เข้าพัก หรืออาศัยในกุฏิ และห้ามบุคคลต่างเพศเข้าไปในกุฏิ
    11. หากต้องการใส่บาตร ให้แจ้งแม่ชีเจ้าหน้าที่โรงครัว และบริจาคค่าอาหารใส่บาตรได้ที่ตู้บริจาคฯ
    12. ถ้าเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ควรแจ้งแม่ซีพี่เลี้ยงให้ทราบ หรือแจ้งแม่ชีเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ

    13. หากมีปัญหาให้เรียนปรึกษากับพระอาจารย์ผู้สอบอารมณ์ หรือแจ้งแม่ชีเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
    14. ไม่ควรโทรศัพท์ติดต่อกลับบ้าน ที่ทำงาน หรือ เพื่อนๆ เพราะจะก่อให้เกิดความฟุ้งซ่าน

    หมายเหตุ พิธีรับ-ลา พระกัมมัฏฐาน เวลา 08.00 น. ของทุกๆ วัน (เว้นวันพระ)

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
    watrampoeng.org

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *<!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG]

    วัดป่าหมู่ใหม่
    หมู่ 2 บ้านป่าหมู่ใหม่ ต.แม่แตง
    อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150

    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เจ้าอาวาส

    หลวงพ่อประสิทธิ์ เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    วัดป่าหมู่ใหม่ เป็นวัดป่าสายธรรมยุติ เป็นวัดที่สงบเงียบ สงบเย็น ร่มรื่น สัปปายะ ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าในเมือง และเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ได้อนุรักษ์สภาพพื้นที่ และปลูกป่าและต้นไม้มาตลอด จนต้นไม้เติบใหญ่ กระทั่งปัจจุบันวัดมีสภาพสมบูรณ์ร่มรื่น เหมาะสมในการปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างยิ่ง

    วัดตั้งอยู่ด้านหลังสำนักงานชลประทานแม่แตงที่บ้านป่าหมู่ใหม่ ห่างจากสำนักงานไปประมาณ 1.5 กม. ภายในวัด พระภิกษุ สามเณร และญาติธรรมทั้งหลายได้อาศัยแสงไปฉาย, เทียนไข, ตะเกียงในช่วงยามค่ำคืน เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในวัดปัจจุบัน ทั้งๆ ที่วัดเองก็มีไฟฟ้าเข้ามาถึงด้านหน้าแล้ว ก็เพียงได้ใช้อาศัยเปิดเป็นบางจุด สำหรับศาลาด้านหน้า แต่กุฎิต่างๆ ภายในวัด ไม่ใช้ไฟฟ้า เพราะท่านอาจารย์ประสิทธิ์ ท่านไม่ต้องการให้มีไฟฟ้าในกุฎิ เพื่อที่พระภิกษุ สามเณร และญาติโยมสามารถปฏิบัติภาวนาได้โดยไม่มีสิ่งอื่นมาล่อใจหรือไขว้เขวได้

    น้ำใช้สอยก็ไม่ขาดแคลน อาศัยน้ำจากชลประทานแม่แตง แต่ภายในวัดก็ยังมีบ่อน้ำสำหรับผู้ที่ ประสงค์จะใช้สอยได้ ซึ่งน้ำบ่อเก็เย็นและใส สะอาด สามารถใช้อาบ, สรงน้ำ หรือซักจีวรหรือเสื้อ ผ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งดูคล้ายวิถีการใช้ชีวิตของคนสมัยโบราณ ซึ่งหาดูได้ยากเต็มทีในปัจจุบัน น้ำดื่มก็ได้อาศัยน้ำฝน โดยเก็บในแท็งค์ปูนหรือภาชนะเก็บน้ำฝนตามจุดต่างๆ ภายในวัด องค์ประกอบต่างๆ นี้ ทำให้วัดป่าหมู่ใหม่ ทั้งที่อยู่ในเมือง ก็กลายเป็นวัดป่าที่ดูโบราณเก่าแก่ ดูศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์ ต่อผู้เข้ามาสัมผัสและพบเห็น สมกับเป็นวัดป่าจริงๆ ที่พระภิกษุ สามเณร และญาติธรรมทั้งหลาย สามารถเข้ามาปฏิบัติกันเพื่อมรรค ผล นิพพาน อย่างแท้จริง

    [​IMG]
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร

    เว็บไซต์วัดป่าหมู่ใหม่
    http://www.geocities.com/watpamumai/


    วัดป่าหมู่ใหม่
    ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]

    หมู่บ้านพลัม (Plum Village) ประเทศไทย
    บ้านแก่งปันเต๊า กม. 61 ถนนเชียงใหม่-ฝาง
    ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170

    ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) ประธานผู้ก่อตั้ง


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    หมู่บ้านพลัม ชุมชนแห่งสันติ

    ลงไปทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ท่ามกลางต้นไม้ร่มรื่นเขียวขจี อากาศบริสุทธิ์ สัมผัสได้ถึงความงดงามของธรรมชาติ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านพลัม (Plum Village)

    ท่านติช นัท ฮันห์ พระมหาเถระฝ่ายมหายานนิกายเซน ชาวเวียดนาม ก่อตั้งหมู่บ้านพลัมขึ้นเมื่อ พ.ศ.2525 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เจริญสติภาวนาในชีวิตประจำวัน แก่ผู้คนทุกเพศวัยโดยไม่มีเส้นแบ่งทางศาสนา

    ที่มาของชื่อหมู่บ้าน “พลัม” เกิดจากท่านติช นัท ฮันห์ มีความประสงค์จะสร้างชุมชนปฏิบัติธรรมขึ้น ครั้งนั้นมีภิกษุเสนอให้ตั้งชื่อว่า หมู่บ้านโรงเรียนสำหรับหนุ่มสาวเพื่อรับใช้สังคม

    แต่ท่านติช นัท ฮันห์ เสนอให้ใช้ชื่อ “หมู่บ้านพลัม” เพราะพื้นที่ดังกล่าวปลูกต้นพลัมนับพันต้น เพื่อให้ออกผลให้ผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในฝรั่งเศสเก็บรับประทาน และคำว่า “พลัม” ฟังดูน่ารักและเบาสบาย เหมาะเป็นที่พักทางจิตวิญญาณ

    ในปัจจุบัน ชุมชนปฏิบัติธรรมแห่งสังฆะหมู่บ้านพลัม มีทั้งสิ้น 12 แห่ง อยู่ในประเทศฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน และเวียดนาม นอกจากนี้มีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ กระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก เกือบหนึ่งพันกลุ่ม อาทิเช่น

    - Upper Hamlet, Lower Hamlet, New Hamlet, Son Ha กระจายตัวอยู่ในหมู่บ้านชนบทใกล้เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

    - Clarity Hamlet, Solidity Hamlet ที่ Deer Park Monastery, Community of Mindful Living รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

    - Green Mountain Dharma Center, Maple Forest Monastery รัฐเวอร์มอนต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

    - Blue Cliff Monastery รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

    - วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และวัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

    และอีกไม่นานนี้ หมู่บ้านพลัม จะตั้งขึ้นในเมืองไทย บนเนื้อที่ 26 ไร่ ของบ้านแก่งปันเต๊า กม. 61 ถนนเชียงใหม่-ฝาง ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ชาวไทยและชาติอื่นที่สนใจได้ฝึกเจริญสติและเจริญภาวนา

    ต้องการร่วมสร้างหมู่บ้านพลัมแห่งประเทศไทย สามารถบริจาคเข้าบัญชี มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ เพื่อหมู่บ้านพลัม ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีเลขที่ 043-264728-2 บัญชีออมทรัพย์ สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ หรือสอบถามที่ โทรศัพท์ 08-6910-4050 หรือ 08-9700-8720

    รวมถึงเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่
    <A onclick="pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_thaiplumvillage_org_');" href="http://www.thaiplumvillage.org/" target=_blank>ˁ٨?钹?ő?lt;/a>

    [​IMG]
    ท่านติช นัท ฮันห์


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)

    ปรัชญาหลักคิด ‘ติช นัท ฮันห์’ ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมโลก
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - ปรัชญาหลักคิด ‘ติช นัท ฮันห์’ ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมโลก

    ติช นัท ฮันห์ กับมิติใหม่ของพุทธศาสนา (พระไพศาล วิสาโล)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - ติช นัท ฮันห์ กับมิติใหม่ของพุทธศาสนา (พระไพศาล วิสาโล)

    “นิรามิสา” ภิกษุณีแห่งหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - “นิรามิสา” ภิกษุณีแห่งหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *<!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG]

    วัดป่าศาลาปางสัก
    [วัดสาขาของวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี]
    ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220

    วัดป่าศาลาปางสัก ตั้งอยู่บนถนนเชียงใหม่-เชียงราย หลักกิโลเมตรที่ 23 มีอาณาบริเวณติดกับป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่กวง เป็นวัดป่าปฏิบัติธรรมตามแนวทางหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เน้นการภาวนาบริกรรมพุทโธ

    วัดป่าศาลาปางสักเป็นวัดสายอรัญวาสีและสายปฏิบัติ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยคณะศิษย์คือ ดร.วินัย-คุณจรรยา ศิริกุล ผู้ถวายที่ดินให้แก่วัด และเป็นผู้มีความเลื่อมใสใน พระเดชพระคุณพระธรรมสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี และ พระเดชพระคุณพระพุทธพจน์วราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุศโล) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ต่อมาได้ทำการถวายที่ดินก่อสร้าง ศาลา โรงธรรม กุฏิ ที่พักอาศัย โรงครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม ตลอดจน ถาวรวัตถุอื่น และได้ทำพิธีหล่อพระประธาน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2545 โดยหลวงตามหาบัว

    [​IMG]

    นอกจากนี้ วัดป่าศาลาปางสักยังเป็นวัดที่พระครูบาอาจารย์เจ้าหลายรูปได้เมตตาอุปถัมภ์ค้ำชูในการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ พร้อมทั้งเมตตาอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทที่ได้มาปฏิบัติภาวนา และมาทำบุญที่วัดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเดชพระคุณพระพุทธพจน์วราภรณ์ และพระเดชพระคุณหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร เจ้าอาวาสวัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ อีกทั้ง ครูบาอาจารย์เจ้าอีกหลายองค์ก็ได้มาโปรดเมตตาอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน

    ปัจจุบันวัดป่าศาลาปางสักมีพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ มีเสนาสนะประกอบด้วย กุฏิพระ 6 หลัง โรงครัวและโรงนอน 1 หลัง โรงน้ำร้อน 1 หลัง โดยมีศาลาปฏิบัติธรรม 1 หลัง เป็นศูนย์รวมของวัด

    วัดป่าศาลาปางสัก เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมภาวนาเป็นอย่างมาก ร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธ์ ดังนั้นจึงขอเรียญเชิญท่านที่สนใจมาปฏิบัติธรรมภาวนาได้ทุกเวลา

    [​IMG]

    [​IMG]

    ..............................................................................................


    วัดถ้ำดอยโตน
    บ้านแม่สะป๊อก ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    .................................................................................................

    http://palungjit.org/threads/สถานที่ปฏิบัติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่.206154/
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2011
  11. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    เมื่อปีที่แล้ว...

    ผมนึกถึงสมเด็จพระนพรัตน์วัดป่าแก้ว ออกแต่เช้ากะไป countdown ที่วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี เริ่มโปรแกรม
    1. ไปวัดใหญ่ชัยมงคล กราบพระ ขึ้นไปโยนเหรียญบนเกือบยอดเจดีย์ บรรยากาศดีมาก ๆ เจดีย์หลังนี้เป็นที่หลวงพ่อจรัญ มาพบคำภีร์ใบลานทองคำตามนิมิตรพบกับสมเด็จ
    2.เดินทางไปยังวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ระหว่างทางก็เห็นวัดเก่า ปราสาทเจดีย์ต่าง ๆ อาหารก็เยอะ น่าทานทั้งนั้น
    3.ถึงวัดอัมพวัน ก็จะมีร้านลวงต่าง ๆ ที่มาจัดอาหารเลี้ยงปีใหม่ อร่อยมาก ขั้นเทพ กินไม่ไหว ปรกติเป็นคนไม่ค่อยจะกินจุกจิกอยู่แล้วด้วย แต่ก็อร่อยมาก ถ้าจะอยู่ถือศีลก็ไปลงทะเบียนก่อนได้ มีชุดให้ใส่จ๊ะ หากว่าไม่ได้เอาไปนะ
    4.ช่วงบ่ายพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ลงมาด้านล่างของกุฏิให้ลูกหลานได้ไกล้ชิด ผมได้ไกล้ชิดแบบไกล้มาก ๆ ประทับใจ ยังนึกถึงอยู่เลย ได้ไกล้ทุกคนเหมือนกัน
    5.งาน Countdown ที่นี้น่าประทับใจมากครับ คนเยอะ ผู้คนก็หลากหลาย ใจดี อบอุ่นดีมากครับ
    -สำหรับคนปฏิบัติ ขอแนะนำที่นี้ครับ เพราะระบบดี ห้องน้ำสะอาด แล้วก็ขากลับผมได้ของที่ระลึกด้วยนะครับ ประทับใจดีครับ อากาศอาจจะเย็นสักหน่อยแต่ก็โอเค

    โชคดีนะครับ
     
  12. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ไม่ต้องทำอะไรหรอกครับ
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เราๆทั้งหลายเป็นฆราวาสให้รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ และถ้ามีโอกาสก็รักษาศีล 8 หรือศีลอุโบสถให้บริสุทธิ์ก็พอนะครับ จะทำที่ไหนก็ได้นะ
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สอบถามคุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->tOR_automotive<!-- google_ad_section_end --> หน่อยนะครับ คือเคยได้ยินมาว่า ไปปฏิบัติที่วัดอัมพวัน นี่เขาจำกัดเวลาให้อยู่จริงหรือเปล่า...เนื่องจากว่าคนไปปฏิบัติค่อนข้างมาก...ไม่ค่อยมีที่...จึงต้องพลัดเปลี่ยนจริงหรือไม่ครับ...
     
  14. _nnn_123

    _nnn_123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +567
    อีกที่ ดิฉันขอแนะนำ คะ....สำนักสงฆ์ วัดไตรรงค์วิสุทธิธรรม (วัดป่าสระกระโจม) อำเภอดอนเจดีย์ จ. สุพรรณบุรี ดูเวปได้ visudhidham.com | ญาณคุตโต มหาเถโร
    สาธุ..ธรรมคะ..............
     
  15. gasnaka

    gasnaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,811
    ค่าพลัง:
    +3,974
    ไม่ทราบว่าคุณจะไปปฏิบัติที่ไหน แต่เท่าที่จำเป็นใช้ ก็ชุดขาว
    เครื่องใช้ส่วนตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผม ผ้าเช็ดตัว ไฟฉาย นาฬิกาปลุก ยาประจำตัว บัตรปชช.
    บางสถานที่ อาจจะเตรียมเสื่อนั่งสมาธิ หรือเต้นท์นั่งกันยุง
    รายละเอียดอื่นๆขึ้นอยู่กับสถานที่


     
  16. gasnaka

    gasnaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,811
    ค่าพลัง:
    +3,974
    ยังไม่เคยไปปฏิบัติแบบค้างคืนนะคะ แต่สงบดีค่ะ มีพระอาจารย์ท่านสอนปฏิบัติด้วย ถ้าจะขึ้นไปก็อย่าขึ้นเย็นเกินไปนะคะ เพราะเคยเจองูเห่าบางนั้น
    ข้างบนนั้นมีศาลาในพักได้ บางท่านก็นอนในถ้ำกัน
    ไฟฉายห้ามลืม สำคัญมากค่ะ ต้องใส่ชุดขาวค่ะ
     
  17. gasnaka

    gasnaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,811
    ค่าพลัง:
    +3,974

    ขออนุญาตตอบนะคะ ที่วัดอัมพวัน ถ้าจะปฏิบัติ 7 วันให้ไปวันโกน ถ้าจะปฏิบัติ 3 วัน ให้ไปวันศุกร์ อันนี้เป็นช่วงเวลาปกตินะคะ ไม่ใช่ช่วงปีใหม่
    จะขออยู่นานกว่านั้นไม่ได้ จะต้องอยู่เป็นรอบๆไป ชุดขาวถ้าไม่มีไปใช้ของที่วัดได้ จะมีชุดให้ยืม
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ขอบคุณมากนะคะ อยากจะไปสักครั้งค่ะ ตั้งใจไว้นานแล้ว.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...