ปุจฉา ท้าทายชาวพุทธ..พระพุทธเจ้า หมายถึงอะไร?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย moondark999, 6 พฤศจิกายน 2011.

  1. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    เออ.. จ้องไปเรื่อยๆ มันค่อยๆ จางหายไปได้จริงๆ ครับ

    ---------------

    เออ.. จ้องไปเรื่อยๆ มันค่อยๆ จางหายไปได้จริงๆ ครับ

    เป็นภาพที่ทำให้มีสมาธิดีเลยทีเดียว ถ้าวอกแวก สีจะกลับมาใหม่
    แต่ถ้าเพ่งไปที่สีชมพูจุดใดจุดหนึ่งโดยปราศจากสิ่งวอกแวก
    ภาพจะจางไปจนไม่มีสีชมพูเลย จะเหลือเพียงพื้นสีเทาเพียงเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2011
  2. moondark999

    moondark999 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2010
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +41
    ผมไม่ได้คิดท้าทายหรืออวดรู้อวดดีอะไรครับ
    ผมขอกราบขอขมาและขอโทษด้วย หากกระทู้ของผมทำให้ท่านรู้สึกไม่ดี
    เพียงแต่ผมอย่างสำรวจหรือทดสอบดูความเป็นจริงบางอย่าง กับความเชื่อบางอย่างของผม

    เช่น ชีวิตตัวตนแท้ๆของๆเราเอง เรายังไม่รู้จัก ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ราวอะไรเลย
    แล้วไอ้ที่เราคิดว่า เรารู้ เราเข้าใจ เรากำลังรู้ เรากำลังเข้าใจอะไรกัน ในเมื่อความเป็นจริงเห็นๆชัดๆว่า เราไม่รู้จัก..ตัวตน..ของๆเราเองเลย

    เหตุนี้ ผมจึงตั้งกระทู้แสดงแนวคิดของผมขึ้นมา ก็เพื่อเป้าหมายเดียว แสวงหาตัวตนที่แท้จริงของๆตนเอง เท่านั้น

    ลองพิจารณาดูนะครับ กับคำถาม....เป็นไปได้หรือไม่ นี่แหละ..ตัวตน..ที่แท้จริงของเรา

    ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ใดปรารถนาพระนิพพาน จงยังอสุภะกรรมฐานในตนให้เห็นแจ้งชัดเถิด ครั้นไม่เห็นก็ให้พิจารณาปฏิกูลสัญญาลงในตนว่า แม้ตัวเรานี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ ก็หากเป็นของน่าพึงเกียจพึงเบื่อหน่ายยิ่งนัก ถ้าหากว่าไม่มีหนังหุ้มห่อไว้แล้ว ก็จะพึงเป็นของน่าเกียจเหมือนอสุภะแท้ หากมีหนังหุ้มห่อไว้จึงพอดูได้ อันที่แท้ตัวตนแห่งเรานี้จะตั้งอยู่ได้ก็ด้วยลมปัสสาสะ ปสาสะเท่านั้น ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว ตัวตนนี้ก็จะเน่าเปื่อยผุพังไป แต่นั้น ก็จะเป็นอาหารแห่งสัตว์ทั้งหลายมีหนอนเป็นต้น จะมาเจาะไชกิน ส่วนลมหายใจเข้าลมหายใจออกซึ่งเป็นเจ้าชีวิตนั้นเล่า ก็เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ของๆตัว เขาอยากอยู่เขาก็อยู่เขาอยากดับเขาก็ดับ เราจะไปบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา ถ้าขาดลมหายใจเข้าลมหายใจออกแล้ว ความสวยความงามในตนและความสวยความงามภายนอก คือ บุตรภรรยา และข้าวของเงินทองและเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวง ก็ย่อมหายไปสิ้นด้วยกันทั้งนั้น เหลียวซ้ายแลขวาจะได้เห็นบุตรภรรยาและนัดดา หามิได้ ต้องอยู่คนเดียวในป่าช้า หาผู้ใดจะเป็นเพื่อนสอง ก็มิได้

    ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตเทศนาไว้โดยอเนกปริยายนั้น ก็เพื่อจะให้หมู่บุถุชนคนเขลาเห็นเป็นอัศจรรย์และเพื่อให้ได้รับความเชื่อความเลื่อมใส เมื่อพาลชนทั้งหลายไม่เห็นเป็นอัศจรรย์แล้ว ก็จะไม่มีความเชื่อ ความเลื่อมใสในคุณของพระตถาคต ถ้ากล่าวแต่น้อยพอเป็นสังเขป ก็ไม่เข้าใจ ไม่เหมือนผู้มีบุญวาสนา แม้จะกล่าวแต่เพียงเล็กน้อยก็เข้าใจได้หลายอย่างหลายนัย ธรรมชาติผู้ที่มีปัญญาแท้ไม่ต้องกล่าวอะไรเลย ก็รู้ได้ด้วยปัญญาของตนเอง ไม่ต้องให้กล่าวเป็นการลำบาก เราตถาคตได้รับความลำบาก ก็เพราะพาลบุถุชนเท่านั้น ว่ากล่าวสั่งสอนแต่เพียงเล็กน้อยก็ไม่เข้าใจ เพราะเขาถือเสียว่า เขาดีเสียแล้ว แท้ที่จริงความรู้ของเหล่าพาลชน จะรู้ดีซักเท่าใด ก็ดีอยู่แต่เพียงมีลมปัสสาสะ ปสาสะเท่านั้น ถ้าลมปัสสาสะ ปสาสะขาดเสียแล้ว ก็มีแต่เน่าเป็นเหยื่อหนอนนอนกลิ้งเหนือแผ่นดิน จะหาสาระสิ่งใดไม่มีเลย มีแต่เครื่องอสุจิเต็มไปสิ้นทั้งนั้น จะถือว่าตัวมีความรู้ความดี เมื่อมีความรู้ความดีแล้ว จะไม่ตายรึ จะมีความรู้มากรู้มายเท่าใดก็คงไม่พ้นตายไปได้ จะมีความรู้ดีวิเศษไปเท่าใดก็รู้ไปหาตายทั้งสิ้น จะมีความรู้ความดีไปเท่าใดก็รู้อยู่บนแผ่นดิน จะรู้จะดีให้พ้นแผ่นดินไปไม่ได้ เมื่อลมยังมีก็อยู่เหนือแผ่นดิน เมื่อลมออกแล้วก็คงอยู่เหนือแผ่นดินนั้นเอง จะพ้นจากแผ่นดินไปไม่ได้ แล้วจะมาถือตัวว่าตนรู้ตนดีอยู่นั้นเพื่อประโยชน์อะไร ส่วนของเน่าของเหม็นมีอยู่เต็มตัวก็ไม่รู้ไม่เห็น เห็นแต่ว่าตัวรู้ตัวดีถือเนื้อถือตัวอยู่ เราตถาคตเบื่อหน่ายความรู้ความดีของผาลบุถุชนมากนัก

    อันที่แท้ตัวตนแห่งเรานี้จะตั้งอยู่ได้ก็ด้วยลมปัสสาสะ ปสาสะเท่านั้น ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว

    จะรู้ดีซักเท่าใด ก็ดีอยู่แต่เพียงมีลมปัสสาสะ ปสาสะเท่านั้น ถ้าลมปัสสาสะ ปสาสะขาดเสียแล้ว ก็มีแต่เน่าเป็นเหยื่อหนอนนอนกลิ้งเหนือแผ่นดิน



    หากสังเกตการใช้..คำ..จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าระบุแยกคำออกมาชัดเจนระหว่างคำว่า..ลมจิตใจ..กับ..ลมปัสสาสะ ปสาสะ หรือ ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออก
    นั้นย่อมหมายความว่า..ลมจิตใจ..กับ..ลมปัสสาสะ ปสาสะ..ในความหมายของพระพุทธเจ้า จะต้องเป็น ลม คนละตัวหรือเป็น ลม คนละชนิดกัน

    แผ่นดินนี้ มีน้ำรอง ใต้น้ำก็มีลม ลมนั้นหนาได้เก้าแสนสี่หมื่นโยชน์ สำหรับรองน้ำเอาไว้ ใต้ลมนั้นลงไปก็เป็น อากาศหาที่สุดไม่ได้ ที่สุดโลกเบื้องต่ำก็เพียงลมเท่านั้น

    เป็นไปได้หรือไม่ คำว่า..ลมจิตใจ..ในความหมายของพระพุทธเจ้า มันก็คือลมชนิดเดียว หรือรูปแบบเดียว หรือลมตัวเดียวกับ..ลมเก้าแสนสี่หมื่นโยชน์

    เหตุผลก็เพราะ..

    อย่าเข้าใจว่าเมืองนิพพานตั้งอยู่ที่สุดของโลกเหล่านั้น หรือตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นแห่งนี้ อย่าเข้าใจว่า ตั้งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเลย แต่ว่าพระนิพพานนั้น หากมีอยู่ในที่สุดของโลกเป็นของจริง ไม่ตรงสงสัย ให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้เห็นโลก รู้โลกเสียให้ชัดเจน ก็จะเห็นพระนิพพาน พระนิพพานก็หากตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก นั่นเอง

    ปริศนาธรรมที่น่าสงสัยนี้นี่ไง

    ส่วนคำว่า..เรา..ในความหมายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าหมายถึงอะไร
    แล้วทำไมจึงต้องอาศัยอยู่ร่วมกับลมจิตใจ ลองพิจารณาดูนะครับ

    ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตจะแสดงในข้ออันเป็นที่สุด แต่โดยย่อๆ พอให้เข้าใจง่ายๆ ที่สุดนั้นก็คือ จิต กับ ตัณหา จิตนั้นจำแนกออกไปเรียกว่า กองกุศล คือ กองสุข ตัณหานั้นจำแนกออกไปเรียกว่า กองอกุศล คือ กองทุกข์ ต้นเง้าเค้ามูลแห่งทุกข์นั้นก็คือ จิตและตัณหา นี้เอง จิตเป็นผู้คิดให้ได้เป็นดีมีสุขขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้เกิดตามเห็นตาม จิตมีความสุขมากขึ้นเท่าใด ตัณหานั้นก็ให้เกิดทุกข์ตามมากขึ้นไป เท่านั้น

    ที่สุดนั้นก็คือ จิต กับ ตัณหา
    ต้นเง้าเค้ามูลแห่งทุกข์นั้นก็คือ จิตและตัณหา นี้เอง


    พิจารณาตรงนี้ให้ดีๆ พระพุทธเจ้าระบุชัดเจนว่า..ที่สุด..แล้วมีแค่..สอง..เท่านั้น
    แล้วพระพุทธเจ้าก็ระบุชัดเจนว่า...

    เพราะเหตุ ร่างกายจิตใจ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆตน

    พระพุทธเจ้าระบุชัดเจนว่า ร่างกายจิตใจ มันไม่ใช่..ตัวตน..ที่แท้จริงของๆเรา เพราะเราเป็นฝ่ายเข้ามาอาศัย
    เพราะฉะนั้น..ตัวตน..ที่แท้จริง ตัวตนอมตะไม่ตายที่แท้จริงของเรา น่าจะเป็นอะไร ในเมื่อมันมีแค่..สอง..เท่านั้น

    ลองพิจารณาปริศนาธรรมต่างๆเหล่าดูอีกครั้ง

    ที่สุดนั้นก็คือ จิต กับ ตัณหา
    ต้นเง้าเค้ามูลแห่งทุกข์นั้นก็คือ จิตและตัณหา นี้เอง
    เพราะเหตุ ร่างกายจิตใจ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆตน
    อันที่แท้..จิตใจ..นั้น หากเป็น ลม อันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเรา
    โลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับด้วย..ลมจิตใจ ณ. กาลภายหลัง


    ฮะฮะฮะ ฮาขำกลิ้งสนั่นลั่นโลก ใครหรืออะไร? คือสิ่งที่เข้ามาสิงสถิต..อยู่กับด้วยลมจิตใจ
    คำว่า..เรา..ในความหมายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าหมายถึงอะไร เราคือใคร เราคืออะไร
    ท่านจะเชื่อหรือไม่ ว่าตัวตนที่แท้จริง ตัวตนอมตะไม่ตายที่แท้จริงของๆเรา จะเป็นอะไรล่ะถ้าไม่ใช่..ตัวตัณหา
    นอกเสียจากพระพุทธเจ้าจะ..มุสา

    ดูก่อนอานนท์ จงจับตัวตัณหาให้ได้ ถ้าจับได้แล้ว เมื่อตัวต้องทุกข์ก็จะเห็นได้ว่าตัวเป็นอนัตตา ถ้าจับไม่ได้ ก็เห็นตัวเป็นอนัตตาไม่ได้ บุคคลทั้งหลายที่มาเป็นสานุศิษย์แห่งพระตถาคตนี้ ก็มีความประสงค์ด้วยพระนิพพาน การที่จะรู้ว่าดีหรือชั่วกว่ากัน ก็แล้วแต่กิเลสเป็นผู้ตัดสิน ด้วยว่าพระนิพพานเป็นที่ปราศจากกิเลสตัณหา ถ้าผู้ใดเบาบางจากกิเลสตัณหา ผู้นั้นก็เป็นผู้ดียิ่งกว่าผู้ที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลสตัณหา ผู้ใดตั้งอยู่ในนิจศีลคือศีลห้าผู้นั้นชื่อว่ายังหนาอยู่ด้วยกิเลส แต่ได้ชื่อว่าเป็นผู้บางจากกิเลสได้ชั้นหนึ่ง ถ้าตั้งอยู่ในอุโบสถศีลคือศีลแปดได้ชื่อว่าบางจากกิเลสได้สองชั้น ถ้ามาตั้งอยู่ในทศศีลคือศีลสิบ ผู้นั้นได้ชื่อว่าบางจากกิเลสได้สามชั้น ผู้เข้ามาตั้งอยู่ในศีลพระปาฏิโมกข์ ผู้นั้นได้ชื่อว่า บางจากกิเลสได้สี่ชั้น พ้นอนิสงค์ก็มีเป็นลำดับขึ้นไปตามศีลนั้น ผู้ที่ศีลน้อย อนิสงค์ก็น้อย ผู้ที่มีศีลมาก อนิสงค์ก็มากขึ้นไปตามส่วนของศีล บุคคลที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในศีลห้า ถึงจะมีความรู้ความฉลาดมากมายซักเท่าใดก็ดี ก็ไม่ควรที่จะกล่าวคำประมาทแก่ผู้ที่มีศีลห้า ผู้ที่มีศีลห้า ก็ควรยินดีแต่เพียงชั้นศีลของตน ไม่ควรที่จะไปกล่าวประมาทในท่านผู้มีศีลแปด ผู้ที่มีศีลแปด ก็ควรยินดีแต่เพียงศีลของตน ไม่ควรที่จะกล่าวประมาทในท่านผู้ที่มีศีลสิบ ผู้ที่มีศีลสิบ ก็ควรยินดีอยู่ในชั้นศีลของตน ไม่ควรที่จะกล่าวประมาทในท่านผู้ที่มีศีลพระปาฏิโมกข์ ถ้าแลขืนกล่าวติเตียนผู้มีศีลยิ่งกว่าตน ชื่อว่าคนหลงทาง เป็นคนห่างจากทางสุขในมนุษย์และสวรรค์และพระนิพพานโดยแท้

    จงจับตัวตัณหาให้ได้
    ถ้าจับได้แล้ว เมื่อตัวต้องทุกข์ก็จะเห็นได้ว่าตัวเป็นอนัตตา ถ้าจับไม่ได้ ก็เห็นตัวเป็นอนัตตาไม่ได้


    เพราะฉะนั้น คำว่า..ละกิเลสตัณหา..ปราศจากกิเลสตัณหา..ในความหมายของพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้หมายถึงอย่างที่ชาวพุทธทั้งโลก..เข้าใจ..เช่นกัน

    ลักษณะเช่นเดียวกับคำว่า..โลกคือจุดศูนย์กลางของจักรวาล..ของพระเยซูคริสต์ จนทำให้ศาสนจักรขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์ ดั่งที่ผมอธิบายในกระทู้..จุดศูนย์กลางเกลียวสุริยะกับวันสิ้นโลก

    ถ้าหากคำว่า..ลมจิตใจ..ในความหมายของพระพุทธเจ้า มันคือ..ลมเก้าแสนสี่หมื่นโยชน์

    แล้วโครงสร้างโลกที่พระพุทธเจ้ามา มันคือโลกสลับด้านกลับหัวกลับหาง หรือ โลกวงนอกกับโลกวงใน หรือโลกไข่แดงกับโลกไข่ขาว

    ความน่าจะเป็น ตัวตัณหาที่อาศัยอยู่ร่วมกับลมจิตใจ น่าจะเป็นอะไร ถ้าไม่ใช่ เอกภพทั้งเอกภพ

    เด็ดดอกไม้ยังสะเทือนถึงดวงดาว แล้วชีวิตสัตว์ละจะสะเทือนถึงอะไร ถ้าไม่ใช่..ตัวเอกภพ

    จิตเป็นผู้คิดให้ได้เป็นดีมีสุขขึ้น ความน่าจะเป็น จิตนั้นก็คือ..ตาหรือดวงตา..ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างคิ้วของเรา

    ส่วนตัณหานั้นก็ให้เกิดตามเห็นตาม ความน่าจะเป็น ตัณหานั้นก็คือ..แหล่งกำเนิดภาพนึกคิด ภาพความใฝ่ฝัน ภาพความเพ้อฝัน หรือ ภาพจินตนาการต่างๆ ที่บ่งบอกความสุข ความทุกข์ ของจิต

    เหตุผลก็เพราะ..จิตมีความสุขมากขึ้นเท่าใด ตัณหานั้นก็ให้เกิดทุกข์ตามมากขึ้นไป เท่านั้น

    เพราะฉะนั้น ถ้าจิตหรือลมจิตใจ หรือ..อุโมงค์ลมจิตใจ..ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างคิ้วของเรา

    นั้นก็ย่อมหมายความว่า..แหล่งกำเนิดภาพนึกคิด..เมื่อยามตื่นนอน กับ..แหล่งกำเนิดภาพความฝัน..เมื่อยามนอนหลับ
    แหล่งกำเนิดภาพเหตุการณ์ทั้งสองด้านของชีวตเรานั้น มันตั้งอยู่ ณ.ที่สุดโลก ใต้ฝ่าเท้า ของเรานี่เอง

    .....พระจันทร์มืด999.....
     
  3. light worker

    light worker เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +446
    พระพุทธเจ้า แปลว่า ผู้ตื่นน่ะครับ :boo::boo:
     
  4. sandra_29

    sandra_29 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +11
    แอบ ยิ้มคะ ฮ่าๆๆๆๆ โทษที พี่ตลกจังคะ[​IMG]
     
  5. พรหมาวตาร

    พรหมาวตาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +66
    พระพุทธเจ้าหมายถึง ผู้ค้นพบและประทานคำสั่งสอนหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด ได้แก่สิ่งเหล่านี้[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]1. [/FONT]ความเห็นชอบ คือความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาทิฏฐิ[FONT=TH SarabunIT๙]” [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]2. [/FONT]ความดำริชอบ คือความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มุ่งร้าย[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ความดำริในการไม่เบียดเบียน พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาสังกัปโป[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]3. [/FONT]การพูดจาชอบ คือเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาวาจา[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]4. [/FONT]การทำการงานชอบ คือเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมากัมมันโต[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]5. [/FONT]การเลี้ยงชีวิตชอบ คือสาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ในการเลี้ยงชีพที่ชอบ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาอาชีโว[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]6. [/FONT]ความพากเพียรชอบ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ย่อมพยายามปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้เพื่อจะยังอกุศลธรรม[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ปรารภความเพียรตั้งจิตไว้เพื่อละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลื่อน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาวายาโม[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]7. [/FONT]ความระลึกชอบ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาสะติ[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]8. [/FONT]ความตั้งมั่นชอบ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]มีปิติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]เข้าถึงทุติยฌานเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]มีสติและสัมปชัญญะและย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข[FONT=TH SarabunIT๙]” [/FONT]ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]แล้วแลอยู่ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่ง[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]โสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า[FONT=TH SarabunIT๙] [/FONT]อันนี้ [FONT=TH SarabunIT๙]“[/FONT]สัมมาสมาธิ[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]
    ทั้งแปดข้อคือความหมายของพระพุทธเจ้า
     
  6. Jerusale

    Jerusale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +171
    ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ที่หมดสิ้นจากกิเลศทั้งปวง ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ผู้ที่ตรัสรู้ชอบได้โดยตัวเอง เป็นผู้ที่ครองสรณะ ครูบาอาจารย์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ....ฯลฯ
     
  7. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
     
  8. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ปัณฑรกชาดก ตึสตินิบาต
    "...ภัยเกิดจากตนเอง ย่อมตามถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา พูดพล่อย ๆ ไม่บิดบังความรู้ หาความระวังมิได้ ไม่มีการพิจารณา..."

    สุภาสิตสูตร
    "...บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต
    บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลายชื่นชมแล้ว ไม่ถือเอาคำที่ไม่ดีทั้งหลาย กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักแก่ชนเหล่าอื่น
    คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของมีมาแต่เก่าก่อน สัตบุรูษทั้งหลาย เป็นผู้ตั่งมั่นแล้วในคำสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม..."
     
  9. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    เรา = ธรรมชาติ
    ธรรมชาติ = เรา

    ไม่มีตัวตน คน สัตว์ สิ่งของ :cool:
     
  10. konngaam

    konngaam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2008
    โพสต์:
    615
    ค่าพลัง:
    +369
    ช่างเป็นคำถามแบบเดียวกันกับถามว่าเมฆก้อนนั้นเหมือนอะไร
     
  11. YOMI_NK

    YOMI_NK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +91
    ผมคิดว่าเจ้าของกระทู้เป็นคนที่มีมันสมองที่ยอดเยี่ยมนะ รู้จักคนคว้า วิจัย วินิจฉัย สงสัยและตั้งคำถาม...^_^
     
  12. kongsin

    kongsin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +71
    ความมีอยู่ของความไม่มี
     
  13. YOMI_NK

    YOMI_NK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +91
    ความเข้าใจของผมนะ....คำว่า "เรา" ในคำถามนั้น หมายถึงการรับรู้สภาวะอารมณ์ และจิตก็เป็นผู้รับรู้ในสภาวะอารมณ์นั้น สิ่งใดที่จะหลุดพ้นได้ก็คือจิตนั้นเอง แต่ก็ไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดความยึดมั่นต่อจิต เพราะจิตมีการขุ่นมัวอันเกิดจากกิเลสที่จรเข้ามา

    กิเลสที่จรเข้ามาในที่นี้หมายความถึงสภาวะอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาและเกิดการยึดมั่นถือว่าตัวตน

    เจตสิก หรือเจตนาเป็นผู้ปรุงแต่งจนเกิดมโนจิต อันเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อความยึดมั่นนั้น สังเกตุได้จาก การ มโนภาพในสิ่งที่ชอบ การมโนกลิ่นที่เราชอบ การมโนเสียงที่เราชอบ การมโนรสที่เราชอบ การมโนสัมผัสที่เราชอบ การมโนอารมณ์ที่เราชอบ ต่อมาจึงเกิด ภาวะตันหา คือความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ในสิ่งที่มโนจิตนั้น เกิดมานะคือความพยายามแสวงหา เกิดทิฐิความยึดมันในสิ่งที่ได้มา เกิดโลภะคือต้องการเพิ่มพูน เกิดโทสะเมื่อไม่ได้อย่างที่ต้องการ เกิดโมหะความหลงใหลในสิ่งที่ได้มาและสิ่งที่เพิ่มพูน

    เจตสิก ในทางกลับกัน เจตนาเป็นผู้ปรุงแต่งจนเกิดมโนจิต อันเป็นไปเพื่อหลีกหนีต่อความยึดมั่นนั้น สังเกตุได้จาก การ มโนภาพในสิ่งที่ไม่ชอบ การมโนกลิ่นที่เราไม่ชอบ การมโนเสียงที่เราไม่ชอบ การมโนรสที่เราไม่ชอบ การมโนสัมผัสที่เราไม่ชอบ การมโนอารมณ์ที่เราไม่ชอบ ต่อมาจึงเกิด วิภาวะตันหา คือความไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ในสิ่งที่มโนจิตนั้น เกิดมานะคือความพยายามหลีกหนี เกิดทิฐิความยึดมันในสิ่งที่หลีกหนีได้ เกิดโลภะคือต้องการหลีกหนีให้ไกลยิ่งขึ้น เกิดโทสะเมื่อไม่ได้อย่างที่ไม่ต้องการ เกิดโมหะความหลงใหลในสิ่งที่หลีกหนีได้มาและสิ่งที่หลีกหนีเพิ่มพูน

    ไม่ว่าเจตสิกแบบใดที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับจิตก็ล้วนต้องปล่อยวางเพราะจะนำมาซึ่งตันหา และจะเห็นได้ว่าเจตสิกที่เกิดขึ้นมาก็ล้วนแต่ไม่เที่ยงมีความแปรปรวนและสร้างความทุกข์ให้กับเรา นั่นคืออารมณ์ที่เศร้าหมองที่จิตสัมผัสได้

    จะเห็นได้ว่าอารมณ์ใดก็ตามที่มากระทบจิต หรือจิตสัมผัสได้ให้ปล่อยวางเสียให้หมด ความเศร้าหมองแห่งจิตก็จะเบาบางและหมดไป

    และผู้ที่มีการสังเกตุที่ดีก็จะพบว่าอารมณ์ของเรา คือจิตของเรานั้นอารมณ์ไม่แน่นอน ไม่ได้สุขตลอดไป ไม่ได้ทุกข์ตลอดไป เมื่อปล่อยวางได้ก็จะรู้สึกเฉยๆ และจะมีอารมณ์ความสุขสงบเกิดขึ้นในจิตแทน คือจิตแต่เดิมนั้นมีความสุขสงบอยู่ก่อนแล้ว มีความเบิกบานอยู่ก่อนแล้วเพียงแต่เศร้าหมองไปเพราะกิเลสที่จรเข้ามาแต่เท่านั้น.

    โดยสรุปในคำถามแล้ว เรา คือจิต และจิตคือผู้รู้อารมณ์ คือผู้สังเกตุการณ์ อารมณ์ใดที่พัดผ่านเข้ามาก็ให้ปลงเสีย คือไม่ยึดมันในอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิต หรือที่บอกไว้ว่าไม่ยึดมันต่อจิตและเจตสิก

    มีเรื่องเล่าแต่เล่าไม่เป็น เลยสรุปสั้นๆว่า หากจิตเราเปรียบเสมือนดวงจันทร์ที่สุกสว่างแล้ว กิเลสที่จรเข้ามาก็เป็นเสมือนเมฆที่จรเข้ามาบดบังความสว่างแห่งดวงจันทร์นั้น เราเป็นผู้สังเกตุการณ์ย่อมเห็นความหม่นหมองของดวงจันทร์ที่ถูกเมฆบดบัง เราก็เป็นแต่เพียงผู้สังเกตุรู้ เท่านั้นไม่ได้ยึดติดว่าดวงจันทร์นั้นเป็นเราเขาสิ่งของแต่อย่างใด. แต่เมื่อกิเลสนั้นจางหาย ดวงจันทร์ย่อมสว่างอยู่เช่นเดิม....ขอจบแต่เพียงเท่านี้เน้อ
     
  14. BARW

    BARW สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +2
    หัวกระทู้ มัน... เขียนไว้ จะไม่ให้คนเค้าเข้าใจว่าท้าทายได้อย่างไร อิอิ

    เฮ้ออออ... กรรมย่อมเป็นไปตามสัตว์โลก อิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...