เรื่องพิเศษ - รวมรวมบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 และเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับน้ำท่วม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 9 ตุลาคม 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ.ศศิน คาดพญาไท-ดินแดง-ห้วยขวาง น่ารอดน้ำท่วม



    [​IMG]
    "วันนี้ พระรามสองน่าจะเริ่มมีปัญหาระดับน้ำ อย่างที่ว่านะครับ ถ้าลอดใต้ได้มาก สูบเสริมเยอะ ๆ ก็มีหวัง เพราะระบบคลองที่พระรามสอง มีคลองย่อย ๆ แนวตั้งมาก "

    [​IMG]
    "คาดการณ์ พระรามสอง และระดับน้ำปัจจุบัน ตอนเที่ยง ๆ นี้นะครับ"



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp

    อ.ศศิน คาดพญาไท-ดินแดง-ห้วยขวาง น่าจะรอดน้ำท่วม หากคลองบางซื่อรับไหว แต่รามคำแหงเป็นที่ต่ำ ไม่น่าจะพ้น ขณะที่ฝั่งตะวันตกน่าห่วง พระราม 2 น้ำมาแน่ ๆ แต่ถ้าสูบได้ก็มีหวัง

    เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ ได้โพสต์ข้อความคาดการณ์สถานการณ์น้ำท่วมในเฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp โดยระบุว่า หาก คลองบางซื่อสามารถรับน้ำไว้ได้ น้ำจะไม่มาถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งนั่นหมายความว่า เขตพญาไท ดินแดง และห้วยขวาง จะรอดพ้นจากน้ำท่วม แต่พื้นที่รามคำแหงคงไม่รอด เพราะเป็นพื้นที่ต่ำ ขณะที่ฝั่งตะวันตกยังน่าเป็นห่วงเช่นเดิม โดยน้ำจะท่วมมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนได้มากน้อยแค่ไหน

    "ฟัง อ.เสรี แล้ว คิดว่า เราน่าจะ "คาดการณ์" สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับน้ำท่วม กทม. ได้ตามสมควรครับ ผมว่าสถานการณ์ ชัดเจนว่า ถ้าคลองบางซื่อ (ในส่วนของผมเคยคิดว่าจะมาถึง คลองสามเสน) ไม่มีปัญหา น้ำจะไม่มาถึงเสาวรีย์ชัย ดังนั้น เขตพญาไท ดินแดง และ ห้วยขวาง น่าจะไม่ท่วม ถ้าระบบการสูบน้ำที่บางซื่อยังไหว"

    "เช่นเดียวกับฝั่งรามคำแหง ที่ผมคิดว่าไม่รอดแน่ เพราะเป็นที่ต่ำ จะมีน้ำซึมใต้ดินมาถึง แต่จากการที่ กทม. นำน้ำออกไปสู่แสนแสบและทุ่งตะวันออกได้มาก ดังนั้น ระบบระบายน้ำในพื้นที่ต่ำระหว่างคลองแสนแสบและคลองประเวศ เขตสวนหลวง บางกะปิ และ สะพานสูง น่าจะสู้ไหว ถ้าไม่มีปัญหาอะไรเพิ่มเติม ดังนั้น เขตด้านใต้ลงมาชั้นในทั้งหมด น่าจะวางใจได้ ถ้าเขตที่ว่ามาไม่ท่วม (ถึงท่วมก็เตรียมการทัน)"

    "แต่ในขณะเดียวกัน ด้านตะวันออกนอกคันร่มเกล้า นับว่าท่วมเต็มหลายวันแล้ว ก็คงเพิ่มระดับขึ้นที่เขตใต้ลงมาโดยเฉพาะ ลาดกระบัง พื้นที่ บางพลี บางเสาธง ของจังหวัดสมุทรปราการ คงไม่มีน้ำลงมาเร็ว เพราะถนนมอเตอร์เวย์กั้นไว้ จะลอดคลองมาได้ที่คลองลาดกระบัง คลองหนองงูเห่า คลองจรเข้ใหญ่ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต พื้นที่ราบมาก ยังมีคลองย่อย ๆ น้ำมาไม่เยอะ ระบบสูบน้ำออกแรง ดังนั้น ไม่น่าจะท่วมหนัก เอ่อ ๆ รอบสุวรรณภูมิ ตามท่อมั้งครับ แต่ไม่ควรประมาท ว่าจะไม่ท่วมเลย ต้องตามข่าวระดับน้ำในคลองที่ผมว่ามาว่าล้นตลิ่งมาแค่ไหน"

    "ฝั่งตะวันตกยังน่าเป็นห่วงเหมือนเดิม น้ำลดเพิ่มตามการระบายลงท่าจีน ได้มากน้อย คลองสาน ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ และ พระสมุทรเจดีย์ น่าจะโดนขอบ ๆ มวลน้ำ ที่ผ่านลงมาจากภาษี เจริญจอมทอง เอ่อ ตามถนซอยต่ำบ้างแค่นั้น เพราะน้ำน่าจะไหลสู่ที่ต่ำทางคลองราชมนตรี เขตบางขุนเทียน ถ้าคลองสนามชัยรับได้มาก ทำหน้าที่เป็นแก้มลิงซับน้ำ พื้นที่ล่างๆ ใต้คลองไม่น่ามีปัญหา แต่ทั้งหมดต้องไม่วางใจ เพราะน้ำฝั่งนี้ยังมากเหลือเกินครับ ปัจจัยคือ เขาระบายไปท่าจีนได้มาก ก็ท่วมน้อย แต่ถ้าท่าจีนเต็มไปได้น้อยก็ท่วมมาก ปัจจัยจากมนุษย์ ย่อมประเมินไม่ได้ชัดนักนะครับ ขึ้นกับประสิทธิภาพของเครื่องสูบและประตูระบายน้ำ"

    "ผม เป็นห่วงว่า วันนี้พระรามสองน่าจะเริ่มมีปัญหาระดับน้ำ อย่างที่ว่านะครับ ถ้าลอดใต้ได้มาก สูบเสริมเยอะ ๆ ก็มีหวัง เพราะระบบคลองที่พระรามสอง มีคลองย่อย ๆ แนวตั้งมาก เคยเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง แม้ว่าวันนี้การขุดลอกและสูบน้ำ น่าจะไม่พร้อมเท่าทางสมุทรสาคร แต่สภาพธรรมชาติธรณีสัณฐานแบบนี้ ถ้าเขตบางขุนเทียนเอาจริง อาจจะสามารถสู้ไม่ให้ท่วมก็เป็นได้"


    -http://hilight.kapook.com/view/64723-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    พระราม 2 อ่วม! น้ำลอดใต้สะพาน ทำเคหะธนฯ ท่วมเท่าเอว



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


    สถานการณ์ น้ำท่วมที่บริเวณพระราม 2 ขณะนี้ ยังคงทวีความรุนแรงและได้ขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในบริเวณเคหะธนบุรี 1 น้ำเข้าท่วมเกือบเต็มพื้นที่แล้ว บางแห่งสูงถึง 1 เมตร

    โดยมีรายงานว่า ช่วงเช้าวันนี้ (13 พฤศจิกายน) บริเวณพระราม 2 น้ำได้ทะลักลอดใต้สะพานพระราม 2 อย่างรวดเร็ว ไหลเข้าไปยังซอย 69 ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเคหะธนบุรี, โรงเรียนสวนกุหลาบธนบุรี, ห้างโลตัส ครอบคลุมกว่า 1 ตารางกิโลเมตร โดย ระดับน้ำสูงตั้งแต่ระดับหน้าแข้ง จนถึงระดับเอว บางจุดท่วมสูงถึง 1 เมตร ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 5,000 คน ต้องอพยพออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน ซึ่งบางคนก็ไม่สามารถย้ายข้าวของได้ทัน เพราะไม่คิดว่าน้ำจะมาเร็ว และปริมาณมากขนาดนี้

    ทั้งนี้ น้ำที่ล้นพนังกั้นน้ำบริเวณหน้าสวนสมเด็จย่านั้น ได้ไหลเข้าท่วมบริเวณชุมชนเกือบเต็มพื้นที่ อีกทั้งน้ำบางส่วนได้ไหลย้อนกลับเข้าไปท่วมบริเวณชุมชนข้างห้างโลตัสแล้ว

    ขณะ เดียวกัน ในเช้าวันนี้ (13 พฤศจิกายน) ทาง กทม. ได้ประกาศอพยพ 3 ชุมชน ได้แก่ การเคหะแห่งชาติ1, ทรัพย์สินพัฒนา, เชื่อมสัมพันธ์ ในแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว


    -http://hilight.kapook.com/view/64513-

    --------------------------------------------------------


    อ่วม! 2 อำเภอสมุทรสาคร น้ำสูงเฉลี่ย 1-1.5 เมตร


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3

    สมุทรสาครอ่วม 2 อำเภอ กระทุ่มแบน-อ.เมือง โดยเฉลี่ยน้ำสูง 1-1.5 เมตร เร่งระบายน้ำลงท่าจีน

    ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อช่วงเย็นวันที่ 12 พฤศจิกายนว่า ขณะนี้ในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก โดย เฉพาะใน 2 อำเภอ รวม 6 ตำบล คือ ต.อ้อมน้อย ต.สวนหลวง ต.ท่าไม้ ต.แคราย เขตเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน อ.กระทุ่มแบน และ ต.บางน้ำจืด ใน อ.เมือง โดยความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 1-1.5 เมตร และทางจังหวัดกำลังเร่งระบายน้ำลงคลองภาษีเจริญ เพื่อออกสู่แม่น้ำท่าจีน

    ทั้งนี้ สำหรับแนวทางรับมือน้ำท่วมที่ ต.บางน้ำจืด นั้น นายสมชาย สิริศักดิ์พบสุข นายก อบต.บางน้ำจืด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ระบุว่า ทาง จังหวัดได้ระบุว่า ต.บางน้ำจืด จะเป็นเขตพื้นที่รับน้ำที่ไหลงผ่าน ก่อนผันลงสู่แม่น้ำท่าจีน ดังนั้น จึงได้ประสานหน่วยงานราชการ และ อบจ. ให้มาช่วยกันขุดลอกช่องทางน้ำแล้ว แต่เมื่อน้ำหลากมาก็ยังทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งไหลท่วมบ้านเรือนประชาชน เพราะช่องคลองยังไม่พร้อมสมบูรณ์

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรุงเทพธุรกิจ
    [​IMG]

    -http://hilight.kapook.com/view/64640-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    โพลระบุคนส่วนใหญ่เชื่อ มีโกงถุงยังชีพจริง


    ABACโพลไม่มีใครแก้น้ำท่วมดีกว่านายกฯ (ไอเอ็นเอ็น)

    เอแบคโพล เผยผลสำรวจ ประชาชน คิดว่า ไม่มีนักการเมืองคนใด แก้น้ำท่วมได้ดีเท่า นายกฯ "ยิ่งลักษณ์" พร้อมเชื่อมีการโกงถุงยังชีพจริง

    สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องการเมืองกับภัยพิบัติน้ำท่วม และทางออกในสายตาสาธารณชน โดยสำรวจจากประชาชนใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ โดย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 75 คิดว่า ไม่มีนักการเมืองคนใด จะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ดีกว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

    ขณะเดียวกัน ร้อยละ 51.7 เห็นว่า มีการเลือกปฏิบัติ จากฝ่ายการเมืองระดับชาติ และ ร้อยละ 55.7 เห็นว่า มีการเลือกปฏิบัติจากนักการเมืองท้องถิ่น ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 97.8 เห็นว่า ทางออกของปัญหาน้ำท่วม คือ การที่คนไทยช่วยเหลือกัน

    ย่าง ไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.5 คิดว่า มีการทุจริตเงินบริจาคและถุงยังชีพจริง พร้อมทั้งยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 68.2 กังวลว่า จะมีการทุจริตงบประมาณในการเยียวยาและฟื้นฟูน้ำท่วม



    ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64722-

    -------------------------------------------------------------



    ของบริจาคทำพิษ! ปชป.จ่อยืนถอด การุณ-อนุดิษฐ์






    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Thai PBS


    ปชป.เตรียมยื่นถอดถอน การุณ อนุดิษฐ์ เหตุนำของบริจาคเก็บไว้ที่สำนักงาน คาดรวบรวมหลักฐานเสร็จภายใน 2 สัปดาห์


    วันนี้ (13 พฤศจิกายน) นาย วิรัช กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา และหัวหน้าฝ่ายกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมรวบรวมหลักฐานเพื่อยื่นฟ้องนาย การุณ โหสกุล ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทย และ น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรณีที่ พล.ต.อ. ประชา พรมนอก รมว. กระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้บุคคลทั้งสอง สั่งอนุมัติของบริจาคภายในศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) แต่บุคคลทั้งสอง กลับนำของบริจาคไปเก็บไว้ที่สำนักงานของตนเอง


    ทั้งนี้ นายวิรัช กำลังรวบรวมหลักฐานที่เป็นคำสั่งและพยานแวดล้อมเพื่อนำมาเขียนคำร้องเพื่อ ถอดถอน เนื่องจากการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 265-266 คาดว่าการรวบรวมหลักฐานน่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรุงเทพธุรกิจ
    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64719-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    [FONT=Tahoma,]ปรับตัวปรับใจในศูนย์อพยพ

    สดจากจิตวิทยา
    นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต


    จากการที่คนไทยประสบกับปัญหาอุทกภัยทำให้ผู้คนจำนวนมากต่างต้องอพยพโยกย้ายจากบ้านเรือนของตน

    หลาย คนต้องมาอาศัยอยู่ร่วมกันในศูนย์พักพิง และการที่ผู้คนจำนวนมากมาอาศัยอยู่ด้วยกันแต่ละคนล้วนมาจากต่างที่ ต่างครอบครัว การอยู่ร่วมกันจึงอาจมีการกระทบกระทั่ง ไม่พอใจกันเกิดขึ้น ดังนั้น การอยู่ร่วมกันในศูนย์พักพิงให้มีความสุขเราจึงต้องรู้จักการปรับตัวปรับใจ โดยควรทำความรู้จักกับคนรอบข้าง หากิจกรรมทำร่วมกันหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางศูนย์จัดให้ มีความเกรงใจเคารพในสิทธิของกันและกัน มีน้ำใจช่วยเหลือกัน ให้ความช่วยเหลือร่วมแรงร่วมใจกัน ที่สำคัญทำตามระเบียบและกติกาที่ทางศูนย์กำหนดเพื่อความเป็นระเบียบเรียบ ร้อยของส่วนรวม

    การอยู่ร่วมกันกับผู้คนจำนวนมากต้องอาศัยความอดทน ความพยายามในการปรับตัว เห็นอกเห็นใจ และช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน
    [/FONT]


    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNVEUwTVRFMU5BPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNUzB4TkE9PQ==-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    มองดูให้รู้ทันน้ำ สีไหนปลอดภัย สีไหน "เน่า"!?!


    เพราะผู้คนในหลายพื้นที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่กับมวลน้ำที่เคลื่อนตัวเอ่อล้น คู คลอง ผุดจากท่อเข้าท่วมบ้าน ท่วมถนน วิถีชีวิตคนเมืองจากที่เคยขึ้นรถไฟฟ้าต่อรถยนต์ จำต้องเปลี่ยนเป็นขึ้นรถลงเรือ บ้างต้องเดินลุยน้ำเป็นบางช่วง จึงไม่แปลกที่ความกังวลเกี่ยวกับน้ำซึ่งต้องสัมผัสจะผุดขึ้นในหัวเหมือนกับ น้ำผุดท่อ

    ต่อข้อสงสัยดังกล่าว ทีมเดลินิวส์ออนไลน์ได้รับคำตอบจาก นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รักษาการอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ยืนยันว่า มวลน้ำมหาศาลถึงเพียงนี้ไม่ทำให้สารพิษไหลเวียนไปยังบริเวณต่างๆได้ อีกทั้งสารเคมีอันตรายของโรงงงานอุตสาหกรรมก็มีหลักเกณฑ์การจัดการเป็นอย่าง ดีไม่ให้มีการปล่อยทิ้งออกภายนอก ประกอบกับกรมควบคุมมลพิษส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณรอบๆ โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด

    ขณะ ที่ลักษณะของน้ำ การจะรู้ได้ว่าสกปรกหรือไม่? นายวรศาสน์ ชี้แจงว่า ประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า หากเป็นน้ำที่มีสภาพดีตามธรรมชาติต้องไม่ขุ่นจนเกินไป มีสีออกน้ำตาล ในทางตรงกันข้าม น้ำที่สกปรกจะขุ่นมาก มีตะกอน น้ำดำ มีกลิ่้นไม่พึงประสงค์ คล้ายกลิ่นแก๊สไขเน่า กลิ่นเปรี้ยว สัตว์น้ำอาศัยอยู่ไม่ได้

    ดังนั้น หลังจากสัมผัสกับน้ำสกปรกตามลักษณะข้างต้น ควรล้างผิวหนังให้สะอาด เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากเชื้อโรคในน้ำ ที่อาจทำให้เป็นโรคผิวหนัง โรคอหิวาตกโรค ท้องร่วง ไทฟอยด์ โรคฉี่หนู ส่วนผู้ที่วิตกกลัวจะได้รับอันตรายจากสารพิษและโลหะหนัก เช่น แคดเมียม สารหนู ยาฆ่าแมลง สารปรอท แล้วจะป่วยเป็นอิไต อิไต มะเร็ง มินามาตะ และท้องร่วงนั้น นายวรศาสน์ ระบุว่า หากไม่ดื่มลงท้องไป ของแถมที่แฝงในน้ำเหล่านี้จะไม่มีกับสุขภาพ เพราะเพียงแค่สัมผัสถูกผิวหนังไม่ก่อให้เกิดโรค

    ทั้ง นี้กรมควบคุมมลพิษ มีข้อคำเตือนฝากถึงประชาชนที่มีบุตรหลาน โดยนายวรศาสน์ ขอให้หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำที่มีความสกปรกมากหรือเน่าเสีย เพราะเด็กอาจสำลักน้ำ กลืนเอาเชื้อราที่ปะปนอยู่ในน้ำเข้าไปสู่ร่างกาย หากเคราะห์ร้าย เชื้อราอาจเข้าไปเจริญเติบโตในสมอง

    ดังเช่นกรณีของอดีตนักร้องหนุ่ม ‘บิ๊ก วงดีทูบี’ ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ตกคูน้ำและสำลักเอาน้ำสกปรกเข้าไป เป็นผลให้ติดเชื้อราซูดาเลสชีเรียบอยดิไอ เชื้อราเข้าไปกัดกินเส้นเลือดแดงในสมอง แพทย์พบเลือดออกในสมอง และสมองบวม เป็นอันตรายต่อสมองอย่างมาก อีกทั้งเชื้อราเจริญเติบโตเร็ว และยาฆ่าเชื้อรามีราคาแพง

    ทว่าเด็กบังเอิญลงเล่นน้ำแล้วเกิดสำลักน้ำที่มีสภาพไม่น่าไว้วางใจ ให้พยายามบ้วนทิ้งหรืออาเจียนออกมาให้ได้ หลังจากนั้นหากมีอาการผิดปกติ มีไข้สูงไม่ลด ต้องรีบพาตัวส่งโรงพยาบาลให้แพทย์ตรวจหาความผิดปกติ

    และเพื่อลดมลภาวะทางน้ำในช่วงที่มวลน้ำสกัดการคมนาคมทางบกตามวิถีปกติ เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดบ้านเมืองไม่สามารถออกเก็บกวาดขยะไปกำจัดได้อย่าง ที่ควรเป็น นายวรศาสน์ ในฐานะที่เป็นคนทำงานด้านการควบคุมมลพิษ แนะให้ ประชาชนจัดการกับขยะมูลฝอยบริเวณที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยอย่าทิ้งลงน้ำ ให้รวบรวมและบรรจุขยะใส่ถุงมัดปากให้มิดชิดเก็บใส่ถังขยะให้พ้นน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็น ซึ่งหากมีสภาพเช่นนั้นแล้ว สามาถใช้น้ำชีวภาพหรืออีเอ็มบอล แก้ปัญหาได้ในเบื้องต้น ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ หากลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำแล้วพบว่าบริเวณใดมีค่าออกซิเจนละลายในน้ำต่ำ กว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร จะใช้น้ำจุลินทรีย์ราดเพื่อบรรเทาน้ำเน่าเสีย

    อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมมลพิษ ยังจัดกิจกรรมขยะโฟมแลกไข่ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันเก็บโฟมเหลือใช้ ขยะที่ก่อมลพิษและใช้เวลาย่อยสลายยาวนานกว่าขยะชนิดอื่นๆ โดยขยะโฟมจำนวน 20 ชิ้น สามารถแลกไข่ไก่ได้ 1 ฟอง สำหรับประชาชนที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กรมควบคุมมลพิษ 0 2298-2000 หรือ Pollution Control Department, Bangkok, Thailand

    อาทิตยา ร่วมเวียง
    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=656&contentId=175825-

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    'เครื่องกรองน้ำฉุกเฉิน' เน้นวัสดุท้องถิ่น ต้นทุนต่ำ ใช้งานง่ายทำได้จริง !?


    ในสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายวงกว้างอย่างนี้ นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนในเรื่องของที่อยู่อาศัยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบาธารณูปโภคพื้นฐานอย่าง “น้ำ” ที่ใช้สำหรับดื่มกิน และชำระล้างร่างกายอีกด้วย!!

    หลายฝ่าย หลายหน่วยงาน ต่างร่วมแรงร่วมใจระดมความคิด ความสามารถในด้านต่าง ๆ สร้างสำนึกจิตอาสาขึ้นมาช่วยเหลือสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประสบภัยน้ำท่วมในยามคับขัน

    ขณะที่หลายพื้นที่กำลังประสบปัญหามีแต่น้ำท่วมขัง...และน้ำที่มีอยู่ก็เริ่ม ใช้ไม่ได้ บ้างมีสี มีกลิ่น จากน้ำที่เคยใสเปลี่ยนเป็นสีขุ่น ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ ด้วยเหตุนี้ บุคลากรที่มีจิตอาสาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จึงได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “เครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉิน” ขึ้น

    เครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉิน เป็นผลงานของ นายวาสนิธิ์ พญาปุโรหิต นายธีรภัทร์ ฉัตรทอง นายวรนล กิติสาธร นายอภิชัจ เจียรวิริยะนาถ 4 หัวเรือใหญ่ของทีมวิจัย และกลุ่มเพื่อนนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก ศูนย์วิจัยส่วนนวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ (Applied Innovation Division : AID) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร โดยมี ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม และ รศ.ดร.วิษณุ มีอยู่ เป็นที่ปรึกษาของโครงการ

    “จริง ๆ แล้วการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นมาก็เพื่อต้องการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภาวะ น้ำท่วมที่ขาดแคลนน้ำใช้ น้ำเพื่อชำระล้างสิ่งต่าง ๆ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้น้ำไม่มีกลิ่น ไม่มีสี มีความสะอาดเพียงพอและสกปรกน้อยที่สุด เพราะหากผู้ประสบภัยน้ำท่วมใช้น้ำที่มีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อนบ่อยครั้ง อาจไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้” ทีมวิจัย เกริ่นนำ ก่อนช่วยกันอธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของเครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉินให้ฟังว่า

    เครื่องกรองน้ำฉุกเฉินนี้ถูกออก
    แบบไว้ให้มีความสะดวกในการทำใช้ได้เอง ไม่ต้องมีเครื่องมือพิเศษอะไร ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นเป็นขนาดเล็กน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม เพื่อความสะดวกแก่การเคลื่อนย้าย ติดตั้งและซ่อมบำรุง สามารถกรองน้ำได้ครั้งละ 5 ลิตร ภายในครึ่งนาที

    หลักการทำงานไม่สลับซับซ้อน อุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ เครื่องทรงกระบอก ความสูง 45 เซนติเมตร ขนาดบรรจุน้ำได้ 5 ลิตร อีกส่วนหนึ่งคือ กระบอก ความสูง 70 เซนติเมตร เพื่อบรรจุชุดกรองที่ได้ประยุกต์โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาพัฒนาไว้ในตัว กระบอก ซึ่งชั้นกรองแต่ละชั้นทำจากวัสดุที่สามารถหาได้ในพื้นที่ ประกอบด้วย หิน กรวด ชั้นทรายละเอียด และทรายหยาบ เพื่อทำการกรองสารแขวนลอยที่มีอยู่ในน้ำ และก่อนที่อินทรีย์สารจะทำให้เกิดสีจะถูกดูดซับโดยถ่านกัมมันต์

    “ถ่านกัมมันต์จริง ๆ แล้วไม่ได้แตกต่างจากถ่านที่เรารู้จักกันมากนัก เพียงแต่ถูกกระตุ้นหรือปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้มีศักยภาพในการดูดซับสารเจือ ปนต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำได้ ซึ่งชั้นกรองทั้งหลายเหล่านี้จะทำหน้าที่กรอง ดูดซับกลิ่น และปรับสภาพน้ำขุ่นให้กลายเป็นน้ำใสได้”

    อุปกรณ์ชุดนี้ ถูกออกแบบให้สามารถถอดทำความสะอาดล้างเองได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ เนื่องจากน้ำที่ใช้มีความขุ่นไม่เท่ากัน โดยผู้ใช้ต้องสังเกต หากปริมาณน้ำไหลออกมาช้ากว่าปกติ ก็สามารถถอดอุปกรณ์ล้างทำความสะอาดได้ทันที

    ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม กล่าวเสริมว่า เครื่องกรองน้ำประเภทนี้ น้ำจะไหลผ่านชั้นกรองด้วยการอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ส่งผลให้อัตราการผลิตน้ำได้ไม่สูงนัก ดังนั้น ปั๊มน้ำ จึงมีความจำเป็นในการเสริมเข้ามาในระบบ เพื่อใช้เป็นตัวส่งน้ำเข้าสู่ระบบและทำให้อัตราการผลิตน้ำด้วยเครื่องกรอง น้ำนั้นสูงขึ้น

    โดยจะเห็นได้ชัดว่า ถ้ายังมีกระแสไฟฟ้าใช้อยู่ในพื้นที่คงไม่ใช่เรื่องลำบากที่จะติดตั้งระบบ เครื่องกรองน้ำเดิมที่มีอยู่ แต่ในเวลานี้พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ประสบอุทกภัยจะไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องหากลไกอื่นในการปั๊มน้ำส่งเข้าสู่ระบบเครื่องกรองน้ำที่จะต้องไม่ อาศัยกระแสไฟฟ้า เครื่องกรองน้ำที่ถูกจัดทำขึ้นนั้น จึงใช้ แรงลมที่มีอยู่ในกระบอกสูบลม ไปดันน้ำให้เข้าสู่เครื่องกรองน้ำด้วยอัตราการไหลที่เหมาะสมสำหรับการกรอง

    “หลักการทำงานจะอาศัยหลักการแทนที่น้ำของอากาศ ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์พื้นฐานไม่ได้มีความสลับซับซ้อน เพียงแต่ต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตัวเครื่องกรองน้ำจะประกอบไปด้วยชั้นกรองต่าง ๆ เช่น ทรายหยาบ ทรายละเอียด และถ่านกัมมันต์ รวมถึงใยกรองต่าง ๆ ส่วนที่สอง เป็นส่วนของอุปกรณ์ส่งน้ำซึ่งประกอบไปด้วยปั๊มลมที่ต่อเข้ากับภาชนะบรรจุน้ำ ขนาด 5 ลิตร โดยการใช้งานนั้นสามารถทำได้โดยการปั๊มลมเข้าสู่ภาชนะที่บรรจุน้ำอยู่ โดยการปั๊มลมนี้ไม่ต่างอะไรจากการสูบลมเข้าจักรยานนั่นเอง”

    น้ำที่ถูกแทนที่ด้วยอากาศจะไหลผ่านถังกรองน้ำด้วยอัตราการไหลที่เหมาะสม น้ำที่ผ่านเครื่องกรองนี้จะไม่มีสีและสามารถนำไปใช้อาบและชำระล้างได้ แต่ยังไม่เหมาะสำหรับการนำไปบริโภค ทางทีมงานวิจัยจึงได้พัฒนาอุปกรณ์เสริมขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง สำหรับในกรณีจำเป็นที่ต้องนำน้ำนั้นไปดื่ม โดยชุดกรองชุดนี้จะประกอบขึ้นแบบง่าย ๆ โดยเพิ่ม ไส้กรองเซรามิกส์ ฟิลเตอร์ ขนาดรูพรุน 0.3 ไมครอน ที่ใช้ในเครื่องกรองน้ำทั่ว ๆ ไป และมีจำหน่ายในร้านค้าและซุูเปอร์มาร์เกต ราคาตั้งแต่ 150-500 บาท แล้วแต่คุณภาพ ทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับเชื้อโรคในน้ำ เพื่อให้น้ำมีสภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อการนำมาใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งสามารถกรองจุลินทรีย์บางชนิดออกได้

    อย่างไรก็ตาม การจะนำน้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำฉุกเฉินไปบริโภคนั้นควรมีการฆ่าเชื้อ ด้วยการเติมคลอรีนหรือนำไปต้มเสียก่อน ทั้งนี้ ทีมงานวิจัยภายใต้การนำ รศ.ดร.วิษณุ มีอยู่ กำลังทำการพัฒนาถ่านกัมมันต์ชนิดพิเศษที่สามารถใช้กำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ อยู่

    “ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร พร้อมจิตอาสาบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง จะเริ่มผลิตเครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉินนี้ คาดว่าจะผลิตได้วันละ 35 เครื่อง และจะมอบเครื่องกรองน้ำให้แก่ ชุมชน หรือในศูนย์พักพิงที่ประสบปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ หากชุมชนใดสนใจนำไปพัฒนาใช้ต่อสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2988-3655 ต่อ 1105-7 สายตรง 0-2988-4023 สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร”

    สำหรับผู้ที่ต้องการร่วมสมทบทุนสามารถร่วมบริจาคเงินได้ที่ บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาหนองจอก ชื่อบัญชี ม.มหานครผลิตเครื่องกรองน้ำเพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัย เลขที่ 217-4-11111-8

    นับเป็นอีกหนึ่งหนทางของการอยู่รอดในสภาวะที่น้ำท่วมหนักเช่นนี้.

    ทีมวาไรตี้


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=175770-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สุขุมพันธุ์ หลั่งน้ำตา-กดดันศปภ.สั่งงานกลางดึก


    “สุขุมพันธุ์” หลั่งน้ำตาแถลงข่าว หลังศปภ.มีคำสั่งกลางดึกให้ไปแก้ปัญหาชาวดอนเมืองรื้อบิ๊กแบ็ก ขอร้องจะให้ทำอะไรกรุณาแจ้งล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ
    เมื่อเวลา 23.15 น. วันที่ 13 พ.ย. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวด่วนกรณีมีประชาชนเข้ารื้อถอนคันกระสอบทราย (บิ๊กแบ็ก) ว่า กรุงเทพมหานครได้รับแฟกซ์จาก ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนาม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.กระทรวงยุติธรรม ผอ.ศปภ. เมื่อเวลา 22.13 น. ข้อความว่า ด้วยได้รับข่าวสารว่าจะมีประชาชนกลุ่มหนึ่งที่มีบ้านพักอยู่บริเวณสนาม บิน-ดอนเมือง จะเข้ารื้อบิ๊กแบ็กที่กั้นน้ำอยู่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต (บริเวณหน้าร้านนายใช้) ซึ่งจะเป็นเหตุให้มวลน้ำจากด้านทิศเหนือไหลบ่าเข้ากรุงเทพฯชั้นใน ศปภ.ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า บริเวณดังกล่าวเป็นเขตรับผิดชอบของกทม. จึงให้กทม.ได้ดำเนินการยับยั้งการกระทำดังกล่าวโดยรีบด่วนที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญอย่างแน่นอน
    ต่อมาในเวลา 22.25 น. ผู้ว่าฯ กทม. ได้ลงนามคำสั่งถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เลขที่ 4266/2554 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 37 วรรคสอง ประกอบมาตรา 21 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร จึงให้ ผบช.น. สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อย และป้องกันมิให้ประชาชนเข้าไปทำลายหรือทำให้เสียหาย ซึ่งแนวกระสอบทรายที่เป็นคันกั้นน้ำ รวมทั้งจัดชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจคุ้มครองและอารักขาเจ้าหน้าที่ของกทม. และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นที่เข้าไปทำการซ่อมแซมแนวกระสอบทรายบริเวณดัง กล่าวข้างต้นโดยด่วนที่สุด
    จากนั้นเวลา 22.45 น. ปลัดกรุงเทพมหานครได้ประสานด้วยวาจาไปยัง ผบช.น. ซึ่งยืนยันว่าจะให้ความร่วมมือกับกรุงเทพมหานครอย่างเต็มที่ และในวันพรุ่งนี้ผู้ว่าฯ กทม.จะเข้าไปดูพื้นที่ด้วยตนเอง โดยกทม.จะเข้าไปซ่อมแซมจุดที่เกิดปัญหาร่วมกับ บช.น. และถ้าหากไม่สามารถซ่อมแซมด้วยคนและอุปกรณ์ของกทม. ก็จะขอการสนับสนุนไปทาง ศปภ.อีกครั้ง
    “ไม่มีครั้งไหนเร็วขนาดนี้ กรุงเทพมหานครยินดีปฏิบัติตามที่ ศปภ.มีคำสั่ง อย่างไรก็ขอให้แจ้งล่วงหน้า ไม่ใช่ส่งหนังสือมายามวิกาล คราวหน้าขอให้ประสานงานให้เร็วกว่านี้ รู้ตั้งแต่เช้าแล้ว แต่ 4 ทุ่มเพิ่งจะประสานงานมา ผมเข้าใจชีวิต พรุ่งนี้จะเข้าไปดู พร้อมความร่วมมือจาก บช.น. แต่ถ้าเราไม่มีเครื่องมือ ก็จะขอความร่วมมือจาก ศปภ.” ผู้ว่า กทม.กล่าวทั้งน้ำตา พร้อมกับโยนใบคำสั่งจาก ศปภ. ต่อหน้าสื่อมวลชน



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=175893-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เผยทางเลี่ยงน้ำท่วมเหนือ-อีสาน



    บก.ทล.สรุปข้อมูลเส้นทางถนนเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ถูกน้ำท่วมขังให้แก้นักเดินทางที่ต้องการไปยังภาคเหนือ และ อีสาน
    เมื่อ วันที่ 13 พ.ย. กองบังคับการตำรวจทางหลวง ( บก.ทล.) ได้สรุปเส้นทางถูกน้ำท่วม และเส้นทางเลี่ยง ประจำวันว่า 1.ถนนวงแหวนรอบนอกกทม. ประกอบด้วย ถนนวงแหวนตะวันตก (บางปะอิน-บางบัวทอง-พระราม 2 ) น้ำท่วมเส้นทางตั้งแต่ต่างระดับบางปะอิน-ต่างระดับบางแค ทั้งขาเข้าและขาออกระยะทางประมาณ 68 กม. และระดับน้ำเริ่มลดลง แต่ยังคงปิดการจราจรงดใช้เส้นทางนี้ ขณะที่ถนนวงแหวนใต้ (บางพลี-สุขสวัสดิ์ ) ยังไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยถนนวงแหวนตะวันออก (บางพลี-บางปะอิน) ตั้งแต่ด่านเก็บเงินธัญบุรี-ต่างระดับธัญบุรี (ทางลง ถนนรังสิต-นครนายก) ระยะทางประมาณ 3 กม. ขาออกมุ่งหน้าบางปะอินน้ำท่วมบนผิวทางสูง 40 ซม. รถเล็กผ่านไม่ได้ ส่วนขาเข้ามุ่งหน้าเข้ากทม.น้ำท่วมสูงประมาณ 25 ซม. ใช้ได้ช่องทางเดียว รถใหญ่และรถปิกอัพผ่านได้ แต่ไม่แนะนำให้รถผ่าน ควรหลีกเลี่ยงใช้เส้นทางถนนวงแหวนตะวันออก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ) ลงต่างระดับรามอินทรา ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์) (กรุงเทพ-ชลบุรี) แยกลงที่จ.ฉะเชิงเทราหรือแยกลงที่ อ.พนัสนิคมหรือแยก อ.บ้านบึง เพื่อไปใช้ทางหลวงหมายเลข 331 และ 304 มุ่งหน้า อ.กบินทร์บุรี

    2.ถนนพหลโยธิน ทางลงด่วนโทลเวย์-ดอนเมืองตั้งแต่หน้าโรงกษาปณ์-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กม.34- กม.39 ขาออกบริเวณ กม.333-34 มีน้ำท่วมขังเล็กน้อยบางช่วง เปิดให้รถวิ่งย้อนทางและมีปริมาณมากขาเข้า เปิดให้รถวิ่งสวนกันขึ้นและลงโทลล์เวย์ที่ กม.34 ส่วนทางคู่ขนานรถผ่านไม่ได้ ส่วนในเขต อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เลยจากต่างระดับบางปะอินขาเข้า กม.54-56 ระดับน้ำ 35 ซม. รถปิกอัพยกสูงผ่านได้ เปิดให้รถวิ่งย้อนทางช่องขาออก ขาออก กม.55-57 เปิดให้รถวิ่งย้อนทางระดับน้ำช่องทางด่วน 10-20 ซม. รถผ่านได้แต่ยังไม่สะดวก ส่วนหน้าอนุสรณ์สถาน-น้ำท่วมขยายวงกว้างไปถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต ระดับน้ำสูงประมาณ 40-80 ซม. งดใช้เส้นทางนี้

    3.ถนนรังสิต-นครนายก คลอง 1-4 กม.1-6 ระดับน้ำ 30-50 ซม. คลอง 5-7 กม. 7-15 ระดับน้ำ 30-40 ซม. รถกระบะ และรถปิกอัพยกสูงผ่านได้ 4. ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี (บรมราชชนนีหรือพุทธมณฑล) ทั้งขาเข้าและขาออก ตั้งแต่พุทธมณฑล สาย 1 ถึง พุทธมณฑล สาย 6 มีน้ำท่วมสูงระดับน้ำสูงประมาณ 50 ซม. -1 เมตร ปิดการจราจร งดใช้เส้นทางโดยให้ใช้เส้นทาง ถนนเพชรเกษมแยกพระประโทน จ.นครปฐม -อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร – ถนนพระราม 2 และถนนพระราม 2 ด่วนดาวคะนอง หรือวงแหวนใต้ (กทม.)–สมุทรสาคร–สมุทรสงคราม–แยกวังมะนาว-ลงภาคใต้เลี้ยวซ้ายไปทางเพชรบุรี -ถ้าเลี้ยวขวาไปราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี 5.ถนนเพชรเกษม น้ำท่วมตั้งแต่ท่าพระ–บิ๊กซีอ้อมใหญ่ ระดับน้ำสูงตั้งแต่ 20 ซม – 1 เมตร ปิดการจราจร งดใช้เส้นทางนี้ โดยเลียงใช้เส้นทางถนนพระราม 2 เข้าออกกทม. ส่วนสายเอเชีย และ ถนนพระราม 2 สามารถใช้การได้ปกติ แต่มีปริมาณรถมาก

    ส่วนรายละเอียดการจัดเส้นทางเลี่ยงไปภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.เส้นทางไปภาคเหนือ ถนนเพชรเกษม จ.นครปฐม-เข้าถนนมาลัยแมน-กำแพงแสน-อ.อู่ทอง-ใช้เส้นทาง สุพรรณบุรี-ชัยนาท-อ.วิเศษชัยชาญ อ่างทองหรือเลยไปเข้าที่ อ.บางระจัน สิงห์บุรี-ถนนสายเอเชีย (ทล.32) –ผ่านใช้สะพานเดชาติวงษ์-ไปภาคเหนือ และจากถนนเพชรเกษม จ.นครปฐม- เข้าถนนมาลัยแมน-กำแพงแสน-อ.อู่ทอง-ใช้เส้นทาง สุพรรณบุรี-ชัยนาท-อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง หรือ เลยไปเข้าที่ อ.บางระจัน สิงห์บุรี-ถนนสายเอเชีย (ทล.32) –ต่างระดับชัยนาท-อ.ตาคลี -อ.ตากฟ้า (ทล.11)-พิษณุโลก-ไปภาคเหนือ

    ในกรณีที่เริ่มจากถนนพระราม 2-สมุทรสาคร –สมุทรสงคราม-แยกวังมะนาว ถ้าไปภาคใต้ใช้เส้นทางไป จ.เพชรบุรี แต่ถ้าไปภาคเหนือให้ไปทาง จ.ราชบุรี-นครปฐม-สุพรรณบุรี-แล้วใช้เส้นทางชัยนาท-อ.วิเศษชัยชาญ อ่างทองหรือเลยไปเข้าที่ อ.บางระจัน สิงห์บุรี-ถนนสายเอเชีย (ทล.32) –ผ่านใช้สะพานเดชาติวงษ์-ไปภาคเหนือ และจากถนนเพชรเกษม จ.นครปฐม- เข้าถนนมาลัยแมน-กำแพงแสน-อ.อู่ทอง-ใช้เส้นทาง สุพรรณบุรี-ชัยนาท-อ.วิเศษชัยชาญ อ่างทอง หรือ เลยไปเข้าที่ อ.บางระจัน สิงห์บุรี-ถนนสายเอเชีย (ทล.32) –ต่างระดับชัยนาท- อ.ตาคลี -อ.ตากฟ้า (ทล.11) – พิษณุโลก-ไปภาคเหนือ

    ส่วนกรณีเริ่มจากถนนวงแหวนตะวันออก(ทล.พ.9)-ต่างระดับรามอิน ทรา-มีนบุรี-หนองจอก-ลำลูกกา-เข้าคลอง 15 ลำลูกกา-ถนนรังสิตนครนายก-อ.องครักษ์ -อ.บ้านนา.-ใช้เส้นทางถนนสุวรรณศร(ทล.33)-อ.วิหารแดง-แยกหินกอง-ถนนพหลโยธิน ไปสระบุรีไปจ.ลพบุรี ผ่านวงเวียนสมเด็จพระนารายณ์ ไป อ.โคกสำโรง สามแยกไฟแดงเลี้ยวซ้ายมุ่งหน้า ไปตากฟ้า สี่แยกตากฟ้าเลี้ยวขวาขึ้นทางหลวงเลข 11 (อินทร์บุรี-เขาทราย) มุ่งหน้าไปเขาทราย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ลำปาง – เชียงใหม่-เชียงราย หรือ เมื่อถึง จ.สระบุรี ใช้ ทางหลวงหมายเลข 21 (ถนนพุแค-หล่มสัก)-ถึงแยกราหุล (กม.147)-ซ้ายไป อ.หนองบัว ขึ้นทางหลวงหมายเลข 11 ขวาไป พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย
    ขณะที่เส้นทางไปภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มจากวงแหวนตะวันออก (ทล.พ.9)-ต่างระดับรามอินทรา- มีนบุรี –ถนนสุวินทวงศ์-ฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม-ปราจีนบุรี-นครนายก-ออกถนนมิตรภาพที่ อ.แก่งคอย-ขวาไป อ.ปากช่อง-จ.นครราชสีมา-ภาคอีสาน หรือใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ สาย 7 (กรุงเทพ-ชลบุรี) – มุ่งหน้าไปชลบุรี-ลงต่างระดับฉะเชิงเทรา – มุ่งหน้าไป จ.ฉะเชิงเทรา-เลี้ยวขวามุ่งหน้าไป อ.พนมสารคาม-ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (กบินทร์-ปักธงชัย)-สี่แยก อ.กบินทร์บุรี-เขาปักธงชัย-ตรงไป จ.นครราชสีมา-ภาคอีสาน หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ไปปราจีนบุรีหรือนครนายก หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (กบินทร์-ปักธงชัย)-สี่แยกเขาหินซ้อน-ขวาไปสระแก้ว-ตาพระยา-โนนดิน แดง-นางรอง จ.บุรีรัมย์ ไปภาคอีสานตอนล่าง หรือใช้มอเตอร์เวย์ (กรุงเทพ-ชลบุรี)-ออก อ.บ้านบึง-ทางหลวงหมายเลข 331-ทางหลวงหมายเลข 304 –เพื่อไปอีสานตอนบนหรือตอนล่างต่อไป.


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=175891-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ขสมก.เพิ่มรถวิ่งเส้นน้ำท่วมหลายสาย


    ขสมก.จัดรถเมล์วิ่งเพิ่มอีก 9 เส้นทาง วิ่งปกติ4สายฟรี5สาย พร้อมให้บริการประชาชนวันนี้ ตั้งแต่ ตี 5 ถึง เที่ยงคืน
    เมื่อ วันที่ 13 พ.ย. ประชาสัมพันธ์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แจ้งว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขสมก. จัดรถเมล์ธรรมดาวิ่งให้บริการประชาชนเพิ่มอีก 9 เส้นทาง แบ่งเป็นรถเมล์วิ่งในเส้นทางปกติ 4 สาย ได้แก่ 1.สาย 516 บิ๊กคิงส์-ถนนกาญจนาภิเษก-ถนนบรมราชชนนี-เซ็นทรัลปิ่นเกล้า-พาต้า-เทเวศร์ 2.สาย 189 กระทุ่มแบน-คลองขวาง 3.สาย 42 วงกลมเสาชิงช้า-ท่าพระ และ 4.สาย 114 อตก.3-เดอะมอลล์งามวงศ์วาน

    ส่วนรถเมล์ให้บริการฟรีเพิ่ม 5 สาย ได้แก่ 1.สาย 29 อู่บางเขน-พหลโยธิน-บีทีเอส จตุจักร จำนวน 10 คัน 2.สาย 34 จตุจักร-บางเขน-สะพานใหม่ จำนวน 10 คัน 3.สาย 95 อู่บางเขน-รามอินทรา-บางกะปิ จำนวน 19 คัน 4.รถเฉพาะกิจ ปากทางวัชรพล-ตลาดออเงิน-ตลาดวงศกร-สายไหม จำนวน 12 คัน และ 4.รถเฉพาะกิจ กระทรวงศึกษา-สะพานพระราม 8-ยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี-กลับรถบนสะพาน จำนวน 6 คัน วิ่งให้บริการตั้งแต่เวลา 05.00-24.00 น. ของทุกวันจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.184.


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=175890-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ระวังอาหารเป็นพิษช่วงน้ำท่วม


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]





    ประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกจังหวัด โดยเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลที่กำลังผจญกับวิกฤติน้ำท่วมขังอยู่ในขณะนี้ ต้องระมัดระวังเรื่องการบริโภคอาหารเป็นพิเศษ เพราะมีความเสี่ยงและมีโอกาสสูงที่จะป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้ เช่น อาหารเป็นพิษ และโรคท้องร่วง หากบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ดังนั้นประชาชนจึงควรระวังและใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ทั้งพืชผัก ผลไม้ ไข่ เนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ด้วย

    นายสัตวแพทย์ศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) บอกมาว่า ประชาชนควรดูแลสุขภาพและต้องให้ความสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรมาบริโภค โดยเน้นที่ความสดและสะอาด สำหรับสินค้าประมง เช่น กุ้ง ควรอยู่ในสภาพที่สดและสะอาด มีเปลือกหุ้มทั้งตัว ปลา ต้องมีส่วนหัว ครีบ หางครบถ้วน ไม่มีตำหนิที่ผิดธรรมชาติที่เห็นได้ชัดเจน ไม่ควรนำสัตว์น้ำที่ตายจากการเกิดน้ำท่วมมาบริโภค อาจทำให้เกิดการป่วยจากโรคทางเดินอาหารได้ ส่วน เนื้อสัตว์ ต้องมีสีปกติตามธรรมชาติ ปราศจากกลิ่นที่ผิดปกติ กลิ่นแปลกปลอม ไม่มีรอยฟกช้ำ ไม่มีแผลหนอง กรณี ไข่ไก่ ควรเลือกไข่ที่มีผิวเปลือกไข่ปกติ ไม่มีรอยแตกร้าว หรือบุบ เปลือกไข่ไม่มีเชื้อรา เมื่อตอกไข่แล้ว ไข่แดงไม่ติดเปลือกข้างในและไม่แตกเหลว ผัก และ ผลไม้ ต้องเลือกที่สะอาด ไม่เน่าเสีย ไม่มีกลิ่นแปลกปลอม รสชาติที่ผิดปกติ ช่วงนี้ผักผลไม้อาจมีราคาแพง และมีคุณภาพไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้น

    สำหรับอาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท เช่น อาหารกระป๋องต้องดูให้แน่ใจว่าไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวม หรือเป็นสนิม ก่อนที่จะรับประทานควรทำความสะอาดภาชนะบรรจุก่อน และให้ปรุงด้วยความร้อนก่อนบริโภค

    ก่อนที่จะนำวัตถุดิบมาปรุงอาหารต้องทำความสะอาดทุกครั้งด้วยน้ำสะอาด พืชผักผลไม้ที่พบว่ามีคราบดินปนเปื้อนควรล้างซ้ำ และควรขัดผิวที่เปื้อนให้สะอาด ที่สำคัญอาหารทุกชนิดต้องปรุงให้สุกก่อนการบริโภค

    กรณีที่บางบ้านไม่มีน้ำสะอาดใช้ นสพ.ศักดิ์ชัย แนะนำให้ทำการฆ่าเชื้อน้ำที่ใช้ โดยการใส่ปูนคลอรีนลงในน้ำที่จะใช้ตามสัดส่วนที่ผู้ผลิตแนะนำ และถ้าต้องการเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปลา กุ้ง หอย ไว้กินหลายวัน แต่มีปัญหาเรื่องไฟฟ้าดับ ควรทำให้สุกโดยการรวนให้แห้งและมีการเติมเกลือเพื่อป้องกันการบูดเน่า หรืออาจทำเนื้อแดดเดียวไว้บริโภคก็ได้

    ...ซึ่งภายหลังน้ำลดและเข้าสู่ภาวะปกติ มกอช.มีแผนที่จะช่วยเร่งฟื้นฟูเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัย ในเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น เพื่อให้สินค้าเกษตรของไทยมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ด้วย.

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=175795-


    .

    Daily News Online > หน้าเกษตร > ระวังอาหารเป็นพิษช่วงน้ำท่วม

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    บิณฑ์ ฉุน ศปภ.กั๊กของบริจาคที่ดอนเมือง




    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการ ข่าว 3 มิติ จาก youtube.com โพสต์โดย 2b2vb,
    <table class="tborder" style="margin:10px 0" cellpadding="6" cellspacing="1"> <thead> <tr> <td class="tcat" colspan="2" style="text-align:center"> [ame="http://www.youtube.com/watch?v=gfeBtGZI7q4"]Youtube.com โพสต์โดย banideadotcom[/ame] </td> </tr> </thead> <tbody> <tr> <td class="panelsurround" align="center">
    </td> </tr> </tbody> </table>​

    , Youtube.com โพสต์โดย firststepkeng

    บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ฉุน ศปภ.กักตุนของบริจาค พอเรื่องแดงจึงให้ไปขน ยันมีหลักฐาน

    ในช่วงที่ประเทศกำลังประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ เป็นช่วงที่ประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน ควรร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้ประเทศฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้ แต่ในขณะที่ทุกฝ่ายกำลังเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทางฝั่งรัฐบาลกลับถูกสั่นคลอนอย่างหนัก หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยมีกรณีคลิปฉาวกักตุนของบริจาคจนน้ำท่วมเสียหาย เกลื่อน

    และล่าสุด ในวันนี้ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ในนามของมูลนิธิร่วมกตัญญู หนึ่งในอาสาสมัคร ที่ได้ทุ่มเทให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาโดยตลอด ก็ยังได้ออกมาเปิดโปงถึงกรณีดังกล่าวด้วยเช่นกัน


    [​IMG]


    โดยนายบิณฑ์ ระบุว่า ตอนนี้อาสาสมัครทำงานร่วมมือกับทหาร ประสานงานช่วยเหลือกัน เช่น อาสาสมัครจะเข้าไปรับประชาชนอพยพออกมาจากบ้านโดยเรือ จากนั้นก็จะส่งคนขึ้นรถทหารซึ่งรอรับอยู่ แต่ทั้งนี้ตนไม่เคยทำงานร่วม กับรัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ ศปภ. เลย ตนเคยขอน้ำ ข้าวสาร อาหารแห้ง ซึ่งศปภ.รับปากแล้วก็ไม่ให้ เขากลัวว่าสิ่งที่เขาให้เรามา มันไม่เกิดประโยชน์กับเขา เขาต้องการให้ประชาชนรู้ว่าเป็นของเขา

    นาย บิณฑ์ กล่าวต่อไปว่า แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ เพราะเป็นของที่ประชาชนบริจาคมาให้ศปภ. และให้เขาเป็นตัวแทนแจกจ่ายให้ประชาชนที่เดือดร้อน แต่เขากลับรับไว้ แล้วใส่ชื่อ เปลี่ยนถุง เป็นของคนใดคนหนึ่งในหน่วยงานนั้นแทน ซึ่งมันเป็นเรื่องจริง ตนได้ถ่ายรูปไว้หมดแล้ว เมื่อตนขอห้องน้ำ ก็บอกว่าหมดแล้ว แต่พอน้ำท่วมดอนเมืองแล้ว ศปภ.ก็เรียกให้ไปเอาของออกมาได้ เพราะกลัวนักข่าวเห็น ส่วนของบริจาคที่กองอยู่แบบนั้น ศปภ.ก็ให้เหตุผลว่าเป็นของใหม่ เพราะของบริจาคออกทุกวัน ซึ่งตนก็สงสัยว่า จัดใหม่ทุกวันแล้วทำไมยังกองได้เหมือนเดิมขนาดนั้น

    พร้อมกันนี้ นายบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า แต่ ถ้าศปภ.ทำงานไม่เห็นแก่ส่วนรวม จะเอาแต่ผลประโยชน์ก็ไม่เป็นไร แต่นั่นคือการทำงานที่ไม่เห็นแก่ประชาชน เห็นแต่ประโยชน์ของตนและพวกพ้องของตนเอง





    -http://hilight.kapook.com/view/64748-



    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เก่ง การุณ แจงที่ประชุมเพื่อไทย ปัดนำรื้อบิ๊กแบ็ก



    [​IMG]


    สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก kengkaroon

    เก่ง การุณ แจงที่ประชุม ส.ส.เพื่อไทย ปัดนำทีมรื้อบิ๊กแบ็กดอนเมือง โบ้ยสื่อรายงานข่าวคลาดเคลื่อน

    วันนี้ (14 พฤศจิกายน) เวลา 16.00 น. นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมพรรค ถึงกรณีที่มีข่าวว่าเป็นคนนำทีมประชาชนรื้อบิ๊กแบ็กดอนเมืองโดยอ้างคำสั่ง ศปภ. โดย นายการุณ ระบุว่า เป็นการรายงานข่าวที่คลาดเคลื่อน ตนขอยืนยันว่าไม่ได้เป็นคนสั่งให้ชาวบ้านรื้อบิ๊กแบ็กแน่นอน แต่ลงพื้นที่เพื่อเจรจาไม่ให้ชาวบ้านรื้อบิ๊กแบ็ก แต่ชาวบ้านประสบปัญหาน้ำเน่าจากน้ำท่วมขังหลายวัน และขณะตกค้างจำนวนมาก จึงขอรื้อบิ๊กแบ็ก 10 เมตร เพื่อเปิดทางให้น้ำไหลออกมาบางส่วน และให้เรือเข้าออกได้เท่านั้น


    [​IMG] เก่ง การุณ โพสต์เฟซบุ๊ก ปัดนำชาวบ้านพังบิ๊กแบ็กดอนเมือง

    การุณ โหสกุล ปัดนำชาวบ้านพัง บิ๊กแบ็กที่ดอนเมือง ระบุเป็นแค่ผู้ประสานงานชาวบ้าน กับ ศปภ.

    วันนี้ (14 พฤศจิกายน) นายการุณ โหสกุล ส.ส.เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทย ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว กรณีชาวบ้านย่านดอนเมือง เข้ารื้อบิ๊กแบ็ก ถ.วิภาวดี-รังสิต ขาออก โดยระบุว่า มีหลายคนถามว่า เกิดอะไรขึ้น จึงขอชี้แจงว่า ตนเองเป็นแค่ผู้ประสานงาน ระหว่างชาวบ้าน กับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ในบางจุดที่ชาวบ้านเดือดร้อน หรืออยากให้นำบิ๊กแบ็กลงบ้าง ทั้งนี้ ส่วนตัวเข้าใจชาวบ้าน แต่เพราะต้องดูการควบคุมปริมาณน้ำให้ได้ก่อน เหมือนในกรณีที่เรียกร้อง ขอให้เปิดทางให้เรือผ่าน ซึ่งได้ดำเนินการให้ และก็ไม่ทำให้ปริมาณน้ำใน กทม. เพิ่มขึ้น แต่กลับลดลงไปตามลำดับ แต่กลับนำเสนอข่าวว่า ตนเองเป็นคนรื้อ ซึ่งไม่เป็นความจริง

    [​IMG] ประชา ป้อง การุณ ยันไม่เกี่ยวรื้อบิ๊กแบ็ก

    ด้าน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการ ศปภ. กล่าวถึงกรณีที่ส่งหนังสือถึง กทม.เรื่องให้เข้าไปดูแลการรื้อคันกั้นน้ำบิ๊กแบ็กของประชาชน ว่า ต้องขออภัยที่เสียมารยาทที่ส่งหนังสือแจ้ง กทม.ตอนกลางดึก แต่หากไม่แจ้งเจ้าของบ้านแล้วก็ไม่รู้จะต้องแจ้งใคร เพราะตนตั้งนั่งเซ็นงานจนถึงเที่ยงคืน จึงไม่ทราบว่าหนังสือจะไปถึงตอนไหนอย่างไร

    ส่วนกรณีที่นายการุณ โหสกุล ส.ส.ดอนเมือง เข้าไปเจรจากับชาวบ้านนั้น พล.ต.อ.ประชา ยืนยันว่า ทาง ศปภ. ไม่ได้ส่งนายการุณเข้าไปเป็นตัวแทน แต่เชื่อว่า นายการุณเข้าไปเจรจาในฐานะ ส.ส.พื้นที่ อย่าง ไรก็ตาม ยืนยันว่า นายการุณไม่ได้สั่งให้ชาวบ้านรื้อบิ๊กแบ็กตามที่สื่อมวลชนเสนอข่าว อีกทั้งบิ๊กแบ็กที่ถูกรื้อนั้นมีความยาวเพียง 6 เมตร ไม่ใช่ 30 เมตร โดยรื้อเพื่อเปิดทางให้เรือสัญจรได้




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ไอ.เอ็น.เอ็น. และ มติชนออนไลน์

    [​IMG] [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64762-

    -----------------------------------------------------------

    มือชก เก่ง การุณ มอบตัวรับทะเลาะกันจริง



    มือชก เก่ง การุณ มอบตัวรับทะเลาะกันจริง (ไอเอ็นเอ็น)

    มือชก เก่ง การุณ ส.ส.กทม. รับทราบข้อกล่าวหาแล้ว รับสารภาพ ทะเลาะกันจริง ก่อนปล่อยตัวชั่วคราว

    พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐผล ผกก.สน.ดอนเมือง กล่าวถึงความคืบหน้าคดีที่ นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ถูก นายฐิติพันธุ์ บุญใหญ่ อายุ 22 ปี ชกจนปากแตก ต้องให้แพทย์เย็บ 5 เข็ม ว่า ขณะ นี้พนักงานสอบสวนได้เรียกตัว นายฐิติพันธุ์ มารับทราบข้อหาแล้ว โดยแจ้งข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น โดย นายฐิติพันธุ์ ให้การรับสารภาพว่า มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับ นายการุณ เพราะไม่พอใจที่ นายการุณ ขี่เจ็ทสกีมาด้วยความเร็วสูง จนทำให้เกิดคลื่นลูกใหญ่ มากระแทกเรือของตนที่พายมากับพวกรวม 4 คน จนเรือพลิกคว่ำ ทำให้ทุกคนตกลงไปในน้ำ จากนั้น นายการุณ ได้ขี่เจ็ทสกีวนกลับมา ก่อนจะมีปากเสียงกันขึ้น ตนทนไม่ไหวจึงชกที่ใบหน้า นายการุณ

    พ.ต.อ. รังสรรค์ กล่าวอีกว่า หลังจากการสอบปากคำ นายฐิติพันธุ์ เสร็จ ทางพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัว เนื่องจากคดีนี้เป็นแค่คดีทำร้ายร่างกายธรรมดา ส่วนการดำเนินคดีนั้น พนักงานสอบสวนกำลังรอผลตรวจร่างกาย นายการุณ จากแพทย์ เพื่อจะนำไปประกอบในสำนวนส่งฟ้องศาลแขวงต่อไป


    ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG]


    [13 พฤศจิกายน] การุณ ปัดถูกชาวบ้านต่อย เหตุซิ่งเจ็ตสกีทำเรือล่ม

    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ชาวบ้านไม่พอใจรุมต่อย การุณ ส.ส. ดอนเมือง จนปากฉีกเย็บ 5 เข็ม เหตุขับเจ็ตสกีซิ่ง สวนทางเรือพาย เป็นเหตุให้ชาวบ้านเรือล่มทั้งลำ ด้านการุณปัดมีเรื่อง

    หลังจากมีกระแสข่าววิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมของ เก่ง การุณ หรือ นายการุณ โหสกุล ส.ส. เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทย ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการพาพวกไปรื้อคันกั้นน้ำคลองประปาบริเวณแยกศรีสมาน จบเกือบทำให้ชาวกรุงเทพมหานครไม่มีน้ำใช้ เพราะน้ำเน่าจากน้ำท่วมจะไหลรวมกับน้ำประปา ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น หนำซ้ำยังมีข่าวว่า นายการุณ มีนิสัยชอบขู่ และวางอำนาจ เป็นอย่างมาก สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก แต่ทว่าล่าสุดชาวบ้านกลับทนไม่ไหวในพฤติกรรมของ นายการุณ รุมต่อยกันชุลมุน จนนายการุณได้รับบาดเจ็บ ปากฉีก ต้องเย็บถึง 5 เข็ม

    ทั้งนี้ เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน นายการุณ โหสกุล ได้ขับเจ็ตสกี กับลูกน้อง ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนประชาชนในเขตดอนเมือง โดยได้ขับเจ็ตสกีออกมาอย่างรวดเร็วสวนทางกับเรือของชาวบ้านที่พายออกมา ซึ่งคลื่นของเจ็ตสกีทำให้เรือพายของชาวบ้านล่มลง ส่งผลให้ชาวบ้านที่นั่งโดยสารมาตกลงไปในน้ำเน่าทุกคน

    กรณีดังกล่าว ส่งผลให้บรรดาชาวบ้านที่พบเห็นเหตุการณ์ รวมไปถึงชาวบ้านที่ตกน้ำต่างพากันด่าทอ และสาปแช่ง นายการุณ จากนั้นเวลาผ่านไปไม่นาน นายการุณ ก็ได้ขับเจ็ตสกีวนกลับมายังจุดเกิดเหตุอีกครั้ง แต่เมื่อไปถึงก็มีกลุ่มชายฉกรรจ์รุมทำร้าย นายการุณ จนได้รับบาดเจ็บ เป็นเหตุให้นายการุณ เย็บ 5 เข็ม เพราะปากฉีก

    หลังจากนั้น ในวันที่ 12 พฤศจิกายน นายการุณก็ได้เดินทางไปยังสถานที่ตำรวจเพื่อแจ้งความว่าถูกทำร้าย โดย พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐผล ผกก.สน.ดอนเมือง ได้กล่าวว่า นายการุณ ได้เดินทางมาลงบันทึกประจำวันกับพนักงานสอบสวน และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการรอใบผลตรวจร่างกายจากแพทย์ เพื่อนำไปประกอบในการดำเนินคดีคนร้าย

    อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า นายการุณได้แจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้านที่ต่อจนปากแตกเพียงคนเดียว ซึ่งคนที่ถูกดำเนินคดีนั้น ยังไม่ได้รับการเปิดเผยชื่อแต่อย่างใด

    ขณะ ที่นายการุณ ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว โดยระบุว่าไม่ทราบเรื่องนี้ และไม่ได้มีเรื่องชกต่อยกับใคร เพราะแค่เพียงทำงานอย่างเดียวก็เหนื่อยแล้ว

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรุงเทพธุรกิจและมติชนออนไลน์
    [​IMG] [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64708-


    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รู้เอาไว้! ระดับน้ำท่วมแค่ไหน ปลอดภัยเมื่อขับรถ




    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    จาก สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ สื่อหลายสำนักต่างก็ลงพื้นที่ ติดตามสถานการณ์มารายงานให้ประชาชนได้รับทราบกันอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทว่าขณะนี้มวลน้ำกำลังจะไหลมาที่ใด หรือ น้ำท่วมที่ไหนบ้าง และทุกครั้งที่เราฟังรายงานข่าวน้ำท่วม ไม่ว่าจากสำนักข่าวหรือหน่วยงานต่าง ๆ แน่นอนว่าเราจะต้องได้ยินการรายงานระดับน้ำในพื้นที่นั้น ๆ เช่น พื้นที่นั้นน้ำท่วมขัง 20 เซนติเมตรบ้าง พื้นที่นี้น้ำท่วม 50 เซนติเมตรขึ้นไปบ้าง

    แต่ว่าเอ๊...ไอ้น้ำท่วม 20 เซนติเมตร หรือ 50 เซนติเมตรขึ้นไปตามที่ได้ยินในข่าวนี่ มันสูงเท่าไหร่กันหนอ? รถจะผ่านได้หรือเปล่า? ใน วันนี้ เราจะมาตอบคำถาม ไขข้อสงสัยเหล่านั้นให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีเหตุต้องสัญจรในบริเวณน้ำท่วม กันค่ะ โดยมีการสรุประดับความสูงแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้


    [​IMG]


    1. ระดับความสูงของน้ำ 10 - 30 เซนติเมตร


    ความสูงของระดับน้ำ 10 - 30 เซนติเมตร ถ้าจะให้เปรียบให้เห็นภาพก็ประมาณขอบฟุตบาทตามถนน หรือ ถ้าจะวัดกับความสูงของคน ก็จะอยู่ประมาณเลยตาตุ่มขึ้นมาจนถึงกลางหน้าแข้ง ซึ่งระดับน้ำในขนาดนี้ "รถเล็ก (รถเก๋ง รถกระบะ)" ยังสามารถวิ่งได้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรถเก๋งอาจมีปัญหาเล็กน้อย เพราะคุณอาจได้ยินน้ำกระเพื่อมอยู่ที่ใต้ท้องรถ แต่คุณก็ยังคงขับต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยยังไม่มีปัญหาใด ๆ


    [​IMG]


    2. ระดับความสูงของน้ำ 20 - 40 เซนติเมตร


    ความสูงของระดับน้ำ 20 - 40 เซนติเมตร ถ้าจะให้เปรียบให้เห็นภาพก็สูงในระดับเทียบเท่ากับขอบประตูของรถเก๋งทั่วไป ที่มีระยะสูงจากพื้น 150-170 ม.ม. หรือ หากวัดกับความสูงของคนก็ประมาณหัวเข่าขึ้นไปจนถึงต้นขา ซึ่งระดับน้ำขนาดนี้ รถเก๋งจะไม่สามารถวิ่งได้แล้ว เพราะท่อไอเสียนั้นจะจมน้ำอยู่ตลอดเวลา แต่รถขนาดใหญ่ เช่น รถเมล์ รถทหารยังสามารถวิ่งได้ ส่วนรถกระบะนั้นก็ยังพอวิ่งได้


    [​IMG]


    3. ระดับความสูงของน้ำ 40 - 60 เซนติเมตร


    ระดับความสูงของน้ำ 40 - 60 เซนติเมตร ระดับน้ำขนาดนี้ รถกระบะทั่วไปนั้นอาจสามารถวิ่งได้อยู่ แต่ก็ต้องลุ้นพอสมควร โดยที่สำคัญคือต้องระวังเรื่องคลื่นของน้ำ ซึ่งอาจลอยมากระทบตัวรถจนทำให้น้ำสูงขึ้นมาชั่วขณะ แต่อาจเข้าตัวเครื่องยนต์ได้ ซึ่งระดับน้ำขนาดนี้ก็ต้องปิดระบบปรับอากาศขณะขับเท่านั้น


    [​IMG]


    4. ระดับความสูงของน้ำ 60 - 80 เซนติเมตร


    ระดับความสูงของน้ำ 60 - 80 เซนติเมตร บอกได้เลยว่าเป็นอันตรายกับรถทุกประเภทแน่นอน ไม่เว้นแม้กระทั่งรถใหญ่ทั้งหลาย เพราะน้ำอาจมีสิทธิไหลเข้ากรองอากาศได้ง่ายกว่า เพราะถ้าน้ำไหลเข้ากรองอากาศแล้ว สามารถทำให้เครื่องยนต์หยุดชะงักและสร้างความเสียหายต่อระบบต่าง ๆ ได้ ดังนั้น หากรู้ว่าจะต้องขับลุยน้ำความสูงขนาดนี้ ก็ให้หาอะไรมาปิดตัวถังด้านหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้ากรองอากาศ แต่ที่สำคัญ คือ พยายามอย่าขับปะทะคลื่นโดยตรง และขับช้า ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงเครื่องดับกลางคัน โดยระดับความสูงของน้ำขนาดนี้ คงต้องใช้เรือในการสัญจรไปมาแล้ว

    เมื่อ รู้แบบนี้แล้ว เวลาดูข่าว คงหายสงสัยกันแล้วนะคะว่าระดับน้ำตามที่รายงานข่าวนั้นสูงเท่าไร แล้วรถสามารถวิ่งได้ไหม แต่เพื่อเป็นการป้องกัน หากหลีกเลี่ยงไม่ขับรถลุยน้ำได้ก็จะดีที่สุดนะคะ


    -http://hilight.kapook.com/view/64703-


    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ในหลวงเสด็จฯทอดพระเนตรระดับน้ำที่ท่าน้ำร้านสีฟ้า <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 พฤศจิกายน 2554 20:01 น.</td> <td align="left" valign="middle">


    </td></tr></tbody></table>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="middle" width="33%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"><tbody><tr><td align="center" valign="middle"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#FFFFFF" valign="middle"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"><tbody><tr><td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td align="right" background="/images/a_R.gif" valign="middle" width="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/a_Dn.gif" height="2" valign="top">[​IMG]</td> <td align="left" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="middle" width="33%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="right" height="2" valign="bottom" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/a_up.gif" height="2" valign="bottom">[​IMG]</td> <td align="left" height="2" valign="bottom" width="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" background="/images/a_L.gif" valign="middle" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" bgcolor="#FFFFFF" valign="middle"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td align="right" background="/images/a_R.gif" valign="middle" width="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/a_Dn.gif" height="2" valign="top">[​IMG]</td> <td align="left" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="middle"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="right" height="2" valign="bottom" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/a_up.gif" height="2" valign="bottom">[​IMG]</td> <td align="left" height="2" valign="bottom" width="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" background="/images/a_L.gif" valign="middle" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" bgcolor="#FFFFFF" valign="middle"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td align="right" background="/images/a_R.gif" valign="middle" width="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/a_Dn.gif" height="2" valign="top">[​IMG]</td> <td align="left" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline" width="33%">
    </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="baseline" width="33%">
    </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="baseline">
    </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="33%">
    </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top" width="33%">
    </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top">
    </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="middle" width="33%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="right" height="2" valign="bottom" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/a_up.gif" height="2" valign="bottom">[​IMG]</td> <td align="left" height="2" valign="bottom" width="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" background="/images/a_L.gif" valign="middle" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" bgcolor="#FFFFFF" valign="middle"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td align="right" background="/images/a_R.gif" valign="middle" width="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/a_Dn.gif" height="2" valign="top">[​IMG]</td> <td align="left" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="middle" width="33%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="right" height="2" valign="bottom" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/a_up.gif" height="2" valign="bottom">[​IMG]</td> <td align="left" height="2" valign="bottom" width="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" background="/images/a_L.gif" valign="middle" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" bgcolor="#FFFFFF" valign="middle"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td align="right" background="/images/a_R.gif" valign="middle" width="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> <td align="center" background="/images/a_Dn.gif" height="2" valign="top">[​IMG]</td> <td align="left" height="2" valign="top" width="2">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="middle"> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline" width="33%">
    </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="baseline" width="33%">
    </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="baseline"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" width="33%">
    </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert2.gif" valign="middle" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top" width="33%">
    </td></tr></tbody></table>


    พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ทอดพระเนตรระดับน้ำและทัศนียภาพริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชนปลื้มปีติทั่วแผ่นดิน

    <center>[​IMG]</center>

    <center>[​IMG]</center>

    <center>[​IMG]</center>

    วันนี้ ( 14 พ.ย.) เมื่อเวลา 15.57 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจากที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช โดยรถเข็นพระที่นั่ง พระหัตถ์ทรงจูงคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง การนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีนิน หัวหน้าสำนักงานศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นผู้ถวายการเข็นรถพระที่นั่ง พร้อม ศ.คลีนิค นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะแพทย์พยาบาล โดยเสด็จพระราชดำเนินผ่านตึกอานันทราช ไปยังท่าน้ำบริเวณลานสระว่ายน้ำสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในขณะเสด็จฯ พระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพักตร์ที่สดใส แย้มพระสรวลให้แก่พสกนิกร ซึ่งต่างกู่ร้อง ทรงพระเจริญดังกึกก้องทั่วทั้งโรงพยาบาลศิริราช ประชาชนที่ต่างพร้อมใจกันเพื่อมารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับเสด็จฯ อยู่ตามสองฟากฝั่งถนนทั้งในและนอกของโรงพยาบาลศิริราช อย่างเนืองแน่น

    ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในฉลองพระองค์เชิ้ตแขนสั้นสีส้มลายกราฟฟิกดอกกุหลาบ พระสนับเพลาสีกากีเข้ม ฉลองพระบาทสีดำ เสด็จทอดพระเนตรระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและทอดพระเนตรทัศนียภาพริมสองฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งโดยการเสด็จครั้งนี้เป็นการเสด็จส่วนพระองค์

    ในเวลาต่อมา เมื่อเวลา 17.27 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พระราชดำเนินเพื่อร่วมทอดพระเนตรระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

    จากนั้นเวลา 18.40 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯขึ้นชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติที่ประทับ โดยมีพสกนิกรเฝ้าส่งเสด็จอย่างเนืองแน่น



    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145384-



    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ในหลวงเสด็จฯ ทอดพระเนตรน้ำท่า รพ.ศิริราช



    [​IMG]


    ในหลวงเสด็จฯทอดพระเนตรน้ำท่า รพ.ศิริราช (ไอเอ็นเอ็น)

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ลงชั้นล่าง ร.พ.ศิริราช เพื่อทรงทอดพระเนตรแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมี พสกนิกร เฝ้ารับเสด็จฯ อย่างเนืองแน่น

    เมื่อเวลา 15.58 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เชิ้ต สีเหลืองสดใส ลายกุหลาบขาว พระสนับเพลา สีกากีเข้ม เสด็จฯ ลงชั้นล่างโรงพยาบาลศิริราช เพื่อให้ประชาชนได้ชมพระบารมี ว่า ทรงแข็งแรงแล้ว และทรงทอดพระเนตรระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ท่าน้ำศิริราช อีกด้วย โดยมีพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จฯ อย่างเนืองแน่น



    ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG]



    -http://hilight.kapook.com/view/64766-

    .
     
  16. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>คัน...ตกขาว...เชื้อราในร่มผ้า โรคที่หญิงลุยน้ำท่วมพึงระวัง!!!</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 พฤศจิกายน 2554 07:08 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โรคที่ผู้หญิงต้องพึงระวังในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมปัญหาใหญ่ที่พบมาก คือ ความอับชื้นในร่มผ้า ซึ่งเลี่ยงได้ยากสำหรับคนที่ต้องลุยน้ำเป็นประจำ ความอับชื้นของเสื้อผ้า กางเกงยีนส์ ทำให้เกิดเชื้อราในร่มผ้า มีอาการคัน และตกขาวมากตามมา ถึงแม้ความรุนแรงของโรคติดเชื้อกับผู้หญิงอาจไม่มาก โอกาสลุกลามเข้าไปถึงมดลูก ปีกมดลูก ทำให้มีไข้สูงปวดท้องน้อยเป็นไปได้ยาก แต่การย่ำน้ำคลำเป็นเวลานานมีโอกาสเสี่ยงที่เชื้อโรคจะเข้าไปในช่องคลอดได้ หากภาวะสมดุลของกรด-ด่างในช่องคลอดไม่ดี การติดเชื้อก็จะง่ายขึ้นด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=252 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=252>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พญ.วนิชา ปัญญาคำเลิศ ผู้อำนวยการคลินิกสูติ-นรีเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ อธิบายว่าถึงแม้ว่าปัญหาของเชื้อราที่มากับน้ำท่วมก่อความรำคาญแต่มักไม่มีอันตรายร้ายแรง ซึ่งอาการตกขาวจากเชื้อราจะมีอาการคันเป็นหลัก โดยสังเกตได้ง่าย เช่น ตกขาวเริ่มมีสีเหลืองเหมือนนมบูด มีลักษณะเป็นก้อน เป็นแผ่น และมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ซึ่งวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการลุยน้ำหรือลุยเท่าที่จำเป็น ทันทีที่กลับมาบ้านควรรีบถอดกางเกงล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง แม้จะเป็นกางเกงกันน้ำ ก็ทำให้อบเหงื่อ อับชื้นเป็นเชื้อราได้ง่ายขึ้น

    พญ.วนิชา แนะว่า การสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ง่าย จะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้ แต่หากพบอาการบ่งบอกว่าเป็นเชื้อราในช่องคลอดให้ใช้ยาฆ่าเชื้อราเหน็บในช่องคลอด หรือ ใช้ยาทาภายนอกระงับอาการคัน กรณีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เหน็บยาทางช่องคลอดไม่ได้ก็ใช้ยารับประทานฆ่าเชื้อราได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ เพราะตกขาวบางอย่างอาจไม่เกี่ยวกับเชื้อรา แต่มาจาก พยาธิ แบคทีเรียบางชนิด ปากมดลูกอักเสบ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือติดเชื้อโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่เชื้อรา เช่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของบุคคลนั้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=267 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=267>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> “ในผู้ที่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นประจำ คนไข้เบาหวาน คนไข้ที่ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน มีความเสี่ยงติดเชื้อราได้มากกว่าคนทั่วไป การรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อมีผลทำลายแบคทีเรียปกติที่เป็นมิตรกับ ช่องคลอดของผู้หญิงแบคทีเรียเหล่านี้ช่วยรักษาภาวะกรดในช่องคลอดเพื่อ ป้องกันการติดเชื้อของแบคทีเรียก่อโรค จึงไม่ควรใช่ยาปฏิชีวนะบ่อยๆโดยไม่จำเป็น” พญ.วนิชา กล่าว

    ผู้อำนวยการคลินิกสูติ-นรีเวชกรุงเทพ กล่าวว่า ทั้งนี้ การล้างทำความสะอาดอวัยวะในที่ร่มของผู้หญิงที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องใช้ แอลกอฮอล์ หรือสบู่อนามัย เพียงแค่ทำความสะอาดภายนอกด้วยน้ำสะอาดทั้งในซอกหลืบ แต่ไม่ต้องสวนล้างเข้าไปในช่องคลอดและเช็ดให้แห้งเท่านี้ก็เพียงพอ

    สำหรับคนที่มีปัญหาช่องคลอดอักเสบง่าย มีตกขาวเป็นประจำ และมีอาการคันช่องคลอดอยู่เรื่อยๆ แสดงว่า ภาวะในช่องคลอดอาจไม่แข็งแรงพอ ทำให้ติดเชื้อง่าย เป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวมถึงสตรีในช่วงที่มีประจำเดือน ซึ่งเชื้อโรคเข้าไปได้ง่ายขึ้นเพราะปากมดลูกเปิด อีกทั้งเลือดเป็นอาหารที่ดีของเชื้อโรค ดังนั้นสตรีที่มีประจำเดือนควรเลี่ยงที่จะเดินลุยน้ำ ถ้าจำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าที่กันน้ำได้ และหมั่นทำความสะอาด เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ

    พญ.วนิชา ทิ้งท้ายว่า ความต้านทานผิวหนังแต่ละคนต่างกัน บางคนย่ำน้ำไม่นานก็เกิดอาการคัน ผื่นขึ้น บางคนลุยน้ำทั้งวันได้โดยที่ไม่เป็นอะไรอย่างไรก็ตามเพื่อลดความเสี่ยงของ โรคที่มาจากการย่ำน้ำกรณีที่เลี่ยงไม่ได้ ก็ควรป้องกันให้น้ำโดนผิวหนังน้อยที่สุด โดยสวมใส่รองเท้าบูท กางเกงพลาสติกที่ยาวมาถึงเอว ถึงอกในที่น้ำลึก เพื่อไม่ให้สัมผัสกับน้ำโดยตรง ซึ่งนอกจากจะป้องกันเชื้อราในร่มผ้าได้แล้วยังช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคฉี่หนู โรคเท้าเปื่อยจากการแช่น้ำเป็นเวลานาน โรคแผลพุพอง เป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145303-

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พลิกประวัติศาสตร์น้ำท่วม 2485 : ฉันเห็นอุทกภัย (ตอนที่ 1)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>14 พฤศจิกายน 2554 07:30 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วม พ.ศ.2485 และเจ้าของความเห็นในนาม “สามัคคีชัย”</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>หนังสือพิมพ์รายวันนิกร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2612 วันอังคารที่ 29 กันยายน 2485 ที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุอุทกภัยปี พ.ศ.2485 ไว้โดยตีพิมพ์ข้อเขียนเรื่อง “ฉันเห็นอุทกภัยสองครั้ง” ของ “สามัคคีชัย” ไว้ในหน้าที่ 1, 2 และ 8</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ในหนึ่งชั่วอายุคน เชื่อได้ว่าคนทุกคนคงหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมของชีวิต ซึ่งเกี่ยวพันกับเหตุการณ์เปลี่ยนผันทางสังคมหรือความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรงกันหลายครั้งหลายหน ......

    ดังเช่น เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคกลางของประเทศไทยในห้วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แม้คนไทยภาคกลางและคนกรุงเทพทั้งวัยหนุ่มวัยสาว จนถึงผู้หลักผู้ใหญ่วัยเกษียณอายุจะเคยประสบพบเจอกับเหตุอุทกภัยมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง เช่น เหตุอุทกภัยใหญ่ปี พ.ศ.2526 ซึ่งข้อมูลจากสำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานครได้มีการจดบันทึกไว้ว่า น้ำท่วมในปีดังกล่าวมีสภาพรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือ และภาคกลางในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคม หรือ เหตุอุทกภัยใหญ่อีกครั้งใน 12 ปีต่อมา คือ เหตุอุทกภัย พ.ศ.2538 ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่ มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ประกอบกับฝนตกหนัก ในช่วงเดือนสิงหาคม- ตุลาคม เนื่องจากพายุ "โอลิส" ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50-100 เซนติเมตร

    อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์มหาอุทกภัย ณ พุทธศักราช 2554 นี้ ว่ากันว่าถือเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบเกือบ 70 ปี นับตั้งแต่เหตุอุทกภัยใหญ่ในปี พ.ศ.2485 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ถึงปัจจุบันอย่าว่าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เราจะจดจำเรื่องราวดังกล่าวมิได้ อาจเพราะเกิดไม่ทันหรือยังเด็กอยู่ แม้กระทั่งคนรุ่นปู่ย่าตายายที่ประสบเหตุการณ์ในตอนนั้น เชื่อว่าส่วนใหญ่ก็คงลืมเลือนเหตุการณ์ไปหมดแล้ว

    ด้วยเหตุนี้ทีมข่าว ASTVผู้จัดการออนไลน์ จึงขออาสาขุดค้นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุอุทกภัยใหญ่ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย พ.ศ.2485 มาให้พวกเราคนรุ่นหลังได้รับทราบ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และที่สำคัญคือ เตือนใจพวกเราว่าดินแดนที่พวกเราได้อยู่ได้อาศัยแห่งนี้เคยมีเหตุการณ์ภัยพิบัติสำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง

    กล่าวถึงภูมิหลังโดยคร่าวของประเทศไทยในปี พ.ศ.2485 (หรือ ค.ศ.1942) เวลานั้นประเทศไทยถูกดึงเข้าสู่วังวนของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปที่เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2482 (ค.ศ.1939) และสถานการณ์ทางเอเชียซึ่งญี่ปุ่นเริ่มใช้นโยบายชาตินิยมและก่อสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นที่จีนและคาบสมุทรเกาหลี ขณะที่นายกรัฐมนตรีของไทยขณะนั้นคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ใช้รัฐบาลทหาร และสื่อต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศในการทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และปลูกฝังลัทธิชาตินิยมอย่างเข้มข้นให้กับพลเมือง

    ระหว่างที่บ้านเมืองกำลังวุ่นวายกับสงครามนี้เอง ในช่วงปลายปี พ.ศ.2485 ก็เกิดเหตุอุทกภัยใหญ่ที่กินเวลาราว 3 เดือน ในช่วงเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน 2485 โดยหลักฐานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งที่บอกเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปีดังกล่าวก็คือ ข้อเขียนเรื่อง “ฉันเห็นอุทกภัยสองครั้ง” ของ “สามัคคีชัย” ซึ่งในเวลานั้นทราบกันดีว่า “สามัคคีชัย” ก็คือ ทัศนะของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

    ข้อเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ของ “สามัคคีชัย” ชิ้นนี้ ถูกนำมาอ่านออกกระจายเสียงทางกรมโฆษณาการ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2485 และถูกตีพิมพ์ในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์นิกร หนังสือพิมพ์รายวันที่ถือเป็นกระบอกเสียงสำคัญของรัฐ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2612 วันอังคารที่ 29 กันยายน 2485

    สำหรับเนื้อหาของข้อเขียนดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้

    <CENTER>ฉันเห็นอุทกภัยสองครั้ง ของ “สามัคคีชัย” </CENTER>

    เวลานี้ น้ำท่วมหลายจังหวัด ฉันจึงถือโอกาสออกไปดูน้ำที่ทุ่งรังสิต โดยรถยนต์ตามถนนประชาธิปัตย์ เมื่อเริ่มออกเดินทาง ฉันคิดจะไปให้ถึงสระบุรี หรือไกลที่สุดเท่าที่จะไปได้ แต่ต้องไปหยุดและกลับบ้านเมื่อถึงเลยสะพานข้ามคลองรังสิตประมาณ 100 เมตร ตรงนั้นน้ำท่วมถนน น้ำไหลข้ามถนนจากตะวันออกไปลงทุ่งตะวันตก ตาม 2 ข้างถนนประชาธิปัตย์ที่ฉันผ่านไปเห็นแต่น้ำกับฟ้า มีต้นไผ่ต้นไม้เป็นเกาะห่างๆ กัน บางแห่งเป็นบุญของเจ้าของนา ยังแลเห็นต้นข้าวพ้นน้ำเขียวเป็นหย่อมๆ บ้านเรือนชาวนา บางแห่งท่วมถึงครึ่งหลัง ควาย แรงสำคัญช่วยชาวนายืนในน้ำเป็นกลุ่ม บางฝูงควายควายเหล่านั้นยืนกลางทะเล บางแห่งก็พากันมาอาศัยบนถนน โดยเฉพาะทุ่งรังสิต แลไม่เห็นคันข้าวเลยจนจดขอบฟ้า ดูเหมือนทะเลเวลามีคลื่นน้อยๆ ที่กองทัพอากาศดอนเมืองคนยืนในรั้วของกองทัพอากาศ เทียบกับระดับน้ำข้างนอกแค่ไหล่

    วันนี้ฉันไปอีก น้ำท่วมถนนตรงเลี้ยวเข้าสถานีดอนเมืองแล้ว เลยต้องกลับแค่นั้น แวะเยี่ยมกองทัพอากาศของเรา เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศนับแต่ผู้บัญชาการทหารอากาศลงไปกำลังวุ่นเรื่องทำทำนบกันน้ำ ท่านกำลังรบกับอุทกภัยกันอย่างเต็มที่ ทั้งๆ ที่ทุกขภัยก็อยู่เฉพาะหน้าทุกเวลา ท่านผู้บัญชาการทหารอากาศท่านใจดี เห็นอกราษฎร ท่านอนุญาตให้ราษฎรเอาควายไถนาไปเลี้ยงในบริเวณกองทัพอากาศเพราะน้ำไม่ท่วม และมีหญ้าเป็นอาหารด้วย ยิ่งกว่านั้น ยังเตรียมปลูกบ้านให้ราษฎรหนีภัยจากน้ำท่วมอีกด้วย

    สาธุ! ขอให้ท่านมีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะท่านเห็นใจคนจน และจนอย่างชาวนาผู้เป็นกำลังสันหลังของชาติด้วย พี่น้องเหล่านี้ บ้านไม่มีอยู่ ข้าวจะไม่มีกิน เงินก็ไม่ใคร่มีเสียด้วย ไปไหนต้องว่ายน้ำ เพราะเรือไม่มี นี่แหละที่ฉันเห็นเพียงส่วนน้อย

    ภาพของบ้านเมืองและผู้คนที่ต้องอุทกภัยเช่นนี้ ทำให้ฉันนึกถึงเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2460 เวลานั้นฉันมีอายุ 20 ปี ในสมัยรัชกาลของสมเด็จพระมงกุฎเกล้า พระมหาธีรราชเจ้า ปีนั้นมีอุทกภัยอย่างคราวนี้ ฉันอยู่ที่ลพบุรี ทุ่งนาในจังหวัดนั้นกลายเป็นทะเล มีคลื่นน้อยๆ เหมือนกัน ทางรถไฟจมน้ำหมด ผู้คนต้องหนีน้ำกันไปอยู่ตามตีนเขาก็มี อยู่บนทางรถไฟก็มี สุดแต่มีดอนน้ำไม่ท่วมที่ไหน ที่นั่นเป็นสวรรค์ของชาวนา กินในน้ำ นอนแช่น้ำ เป็นของผจญภัยธรรมดา พอสิ้นภัยจากน้ำท่วม ก็พบภัยข้าวของแพง อดข้าวก็มี เพราะข้ามีราคากระสอบละ 40-50 บาท ซ้ำร้ายพอถึงต้นฤดูหนาวไข้หวัดใหญ่ก็ระบาดใหญ่ ผู้คนตายเป็นจำนวนไม่น้อย ฉันกับเมียก็เจ็บด้วยถึงเพ้อ นึกว่าไม่รอด แต่หัวยังแข็งอยู่ เลยทนมาได้พบอุทกภัยครั้งที่ 2 นี่อีก มีผู้กล่าวว่า การสงครามก็ดี อุทกภัยก็ดี โรคภัยก็ดี พระเจ้าท่านสาปไว้ ต้องให้มาล้างผลาญมนุษย์ทุกรอบ 20-25 ปี ทางทหารกล่าวในหลักวิชายุทธศาสตร์ว่า การสงครามเป็นระเบียบของโลก ต้องมีเสมอตามฤดูกาลของมัน

    ท่านผู้ฟังทั้งหลาย บัดนี้เราพบทุกขภัยที่ไม่ได้ไปรบอย่างทหาร เช่น ชาวกรุงเทพฯ เป็นต้น ก็พบแล้ว ต้องวิ่งลงหลุมหลบภัย เมื่อได้ยินเสียงหวอ ซึ่งเสียงนี้ทุกท่านจำได้และไม่ชอบ เพราะฟังแล้วทำให้ใจเย็นและตัวเย็นตามมาด้วย อุทกภัยก็กำลังมาแล้ว กำลังสู้กันอยู่ตัวเปียกปอนชุ่มไปหมด ยังเหลือที่เคยมีมาคราวก่อน เมื่อ พ.ศ.2460 ก็ข้าวราคากระสอบละ 40-50 บาท กับโรคภัยระบาดไปทั่ว

    ฉันเขียนถึงเพียงนี้ ทำให้ฉันเหนื่อยเต็มที่เพราะชาติของเราต้องสู้ และจะต้องสู้ภัยมากมายเหลือเกิน ไม่รู้จักหมดจักสิ้น ฉันสมเพช สงสารพี่น้องชาวนาเสียเหลือเกินที่ต้องกินในน้ำ นอนในน้ำ ข้าวของเสียหาย แต่เมื่อมองดูทุ่งน้ำกำลังขึ้น กำลังไหล ฉันก็ได้แต่บวงสรวงพระผู้เป็นเจ้าของโลกมนุษย์ ได้โปรดมนุษย์ไทยที่ไม่ได้ทำผิดอะไรแก่ใครเลย มีแต่รักสงบ รักอยู่ในศีลในธรรม รักเพื่อสร้างชาติของไทยเท่านั้น ลงโทษแต่พอควรเถิด

    เมื่อกลับบ้านฉันพบในหนังสือพิมพ์ว่ารัฐมนตรีหลายท่านแยกย้ายกันไปตรวจราชการ ทำให้ฉันโล่งใจเพราะเป็นของแน่นอน ท่านรัฐมนตรีเหล่านั้นคงจะได้ตกลงกันช่วยราษฎรไทยในการแก้อุทกภัยแน่นอน เราปล่อยให้งานของท่านผ่านไป เราเชื่อในความสามารถของรัฐบาลนี้ คงจะแก้ไขอุทกภัยคราวนี้ให้หนักเป็นเบา ถึงคราวอดก็คงมีกินเป็นแน่นอน

    บัดนี้ฉันอยากแสดงความเห็นของฉันส่วนตัวว่า ในยามอุทกภัยนี้เราควรสู้และเตรียมสู้อย่างใดจึงจะให้ถึงที่ตายก็ไม่ตาย หรือหนักเป็นเบาลงได้ ฉันไปเห็นตัวอย่างชาวนาเองเมื่อคืนนี้ที่ดอนเมือง พี่น้องชาวนาเหล่านั้นได้นำควายมาเลี้ยงรวมกันที่วงเวียนดอนเมือง มีคนเฝ้าเล็กน้อยแต่มีควายมาก ฉันถามได้ความว่า รวมกันเลี้ยง ผลัดกันเข้าเวร นี่ก็ความสามัคคี ทุกข์ด้วยกัน สุขด้วยกันนั่นเอง จากตัวอย่างพี่น้องชาวนาจำนวนน้อยนี้ฉันจึงเห็นว่าถ้าราษฎรที่ต้องอุทกภัยเวลานี้ได้ช่วยกันเป็นเวรแล้วก็จะทำให้เราดูแลบ้านช่องข้าวของได้ไม่ต้องทิ้งกันหมด ส่วนหนึ่งเฝ้าข้าวของวัวควาย ที่ต้องจำเป็นย้ายไปไว้ที่ดอน อีกส่วนหนึ่งปรับปรุงบ้านช่องให้พ้นน้ำ อย่างไรก็ดี เราเห็นได้ชัดว่า ถ้าราษฎรทุกครอบครัวได้ขุดดินทำที่ปลูกบ้านให้สูงไว้ก่อน ซึ่งฉันเคยได้ทราบว่าทางกระทรวงมหาดไทยได้เคยแนะนำชักชวนมานานแล้ว ราษฎรก็ไม่ต้องขนข้าวของวัวควาย ย้ายไปหาที่ดอนน้ำไม่ท่วม ไกลบ้านเดิมเลย ฉันหวังและขอเสนอให้ทางรัฐบาลออกกฎหมายบังคับให้ราษฎรขุดดินทำที่ปลูกบ้านให้สูงพ้นน้ำท่วมในกาลข้างหน้าก็จะดีไม่น้อย พ้นอุทกภัยในคราวที่ 3 ข้างหน้า ซึ่งอาจเป็นอายุยุวชนบัดนี้จะได้พบเห็นก็ได้

    ฉันพูดมาเพียงนี้เป็นน้ำท่วมทุ่งยังไม่ได้เรื่งอะไร อยากพูดมากกว่านี้ แต่นึกไปนึกมาต้องหยุดพูด เพราะเชื่อว่ารัฐบาลท่านคงทำแล้ว ดังในเรื่องต่อไปนี้

    1.ช่วยย้ายผู้อยู่ในน้ำขึ้นบก
    2.ตั้งงบประมาณช่วยหาอาหารและเครื่องแต่งกายให้ราษฎรที่ถูกน้ำท่วม และหวังว่า คงจะได้บอกบุญแก่พี่น้องที่ไม่ต้องสู้กับอุทกภัยตามศรัทธา
    3.เตรียมซื้อข้าวตุนไว้จำหน่ายจ่ายแจกและทำพันธุ์ตามฐานะของผู้ต้องอุทกภัย และกักข้าวไม่ส่งไปนอกในเวลาอันควร
    4.เมื่อน้ำลด เตรียมให้ราษฎรทำไร่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ตามแต่จะทำได้ สุดแต่ท้องถิ่น
    5.ให้รัฐมนตรีและอธิบดีทุกท่าน คิดช่วยราษฎรผู้ต้องอุทกภัยตามหน้าที่
    6.ให้ข้าหลวง นายอำเภอ คณะกรรมการจังหวัด อำเภอได้ช่วยราษฎรที่อยู่ในน้ำ ขึ้นบกและจัดการเรื่องอาหารการกินตลอดจนที่อยู่

    เหล่านี้เป็นต้น ถ้าท่านได้จัดการตามนี้แล้ว เชื่อว่าเราคงฝ่าฟันอุทกภัยไปได้ตลอดรอดฝั่ง

    ตามที่ฉันพูดมานี้ เป็นสิ่งเกี่ยวแก่ภัย ดูน่ากลัวก็มาก แต่เราก็มีหวังในทางดีอยู่ที่การช่วยของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไม่น้อยเหมือนกัน เราก็ไม่น่ากลัวไม่ใช่หรือ?

    ยิ่งกว่านั้น อุทกภัยคราวนี้มีเฉพาะผู้ที่อยู่ตามลำน้ำซึ่งมีต้นน้ำมาจากภาคเหนือเท่านั้น ส่วนทางภาคอีสาน ภาคใต้ของเรายังดี ไม่มีอุทกภัยอะไรเลยที่น่ากลัว นอกนั้นยังมีข่าวเบาใจว่า ทางลำปางน้ำลดลงประมาณ 1 ใน 8 แล้ว ทางพิษณุโลก พิจิตร น้ำก็ลดลงมากและกำลังลดลงเรื่อยๆ ทางนครสวรรค์น้ำก็ลดลงแล้ว ยังเหลือพวกเราที่อยู่ตั้งแต่ใต้นครสวรรค์ลงมา และในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ท่าจีนเท่านั้นที่จะต้องพบกับอุทกภัย

    ฉันได้พูดมานี้ ทำนองเป็นเรื่องฟังเล่น หากท่านผู้ใดมีความคิด ความเห็น ช่วยกันสู้อุทกภัยฟันฝ่าให้ตลอดรอดฝั่งไปได้ ฉันหวังว่าจะเป็นที่ชอบใจของชาติเรา ในยามทุกข์ถึงอุทกภัยนี้เป็นอย่างยิ่ง

    แม้คำพูดของฉันมีผิดพลาดบกพร่อง ขอประทานอภัยด้วย สวัสดีจงมีแต่พี่น้องชาวไทยทั่วกัน

    27 กันยายน 2485​


    หมายเหตุ : ทีมข่าวได้ถอดความข้อเขียนข้างต้นโดยปรับภาษาไทยที่ใช้ในอดีต ให้ถูกต้องตามหลักการสะกดของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ฉบับ พ.ศ.2542

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000144734-

    .<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พลิกประวัติศาสตร์น้ำท่วม 2485 : 20 กว่าจังหวัดอ่วมอรทัย (ตอนที่ 2)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 พฤศจิกายน 2554 08:06 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพประกอบที่ 1: หน้าปกหนังสือพิมพ์นิกรรายวัน ฉบับวันที่ 30 กันยายน 2485 ลงข่าวโต้ข่าวลือในสมัยนั้นว่าราคาข้าวจะไม่ขึ้นแม้จะเกิดเหตุอุทกภัยใหญ่ก็ตาม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพประกอบที่ 2 : หน้า 1 หนังสือพิมพ์นิกรรายวัน ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2485 วันแรกๆ ที่หนังสือพิมพ์ในยุคนั้นเริ่มลงข่าวเกี่ยวกับเหตุอุทกภัยใหญ่หลายชิ้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ข่าวการขอรับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องนุ่งห่ม และเงิน จากประชาชนทั่วไป ให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย โดยกระทรวงสาธารณสุข หนังสือพิมพ์นิกร ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2485 หน้าที่ 3</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>น้ำท่วมบริเวณหน้าอาคารกรมโฆษณาการ (หรือปัจจุบันกรมประชาสัมพันธ์) แห่งเดิม ณ หัวมุมถนนราชดำเนิน เดือนตุลาคม 2485 (แฟ้มภาพ)</TD></TR></TBODY></TABLE>



    เหตุการณ์มหาอุทกภัย ณ พุทธศักราช 2554 ที่ประชาชนชาวไทยกำลังประสบกันอยู่ ณ ปัจจุบัน ว่ากันว่าเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบเกือบ 70 ปี นับตั้งแต่เหตุอุทกภัยใหญ่ในปี พ.ศ.2485 ถึงปัจจุบันอย่าว่าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เราจะจดจำเรื่องราวดังกล่าวมิได้ อาจเพราะเกิดไม่ทันหรือยังอยู่ในวัยเยาว์ แม้กระทั่งคนรุ่นปู่ย่าตายายที่ประสบเหตุการณ์ในตอนนั้น เชื่อว่าส่วนใหญ่ก็คงลืมเลือนเหตุการณ์ไปหมดแล้ว

    ด้วยเหตุนี้ทีมข่าว ASTVผู้จัดการออนไลน์ จึงขออาสาขุดค้นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุอุทกภัยใหญ่ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเมื่อ 69 ปีที่แล้วมาให้พวกเราคนรุ่นหลังได้รับทราบ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และที่สำคัญคือ เตือนใจพวกเราว่าแผ่นดินที่พวกเราได้อยู่ได้อาศัยแห่งนี้เคยมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง

    ตอนที่ 2

    หลังจากที่ข้อเขียนเรื่อง ”ฉันเห็นอุทกภัยสองครั้ง” ของ “สามัคคีชัย” หรือ อีกนัยหนึ่งคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เผยแพร่สู่สาธารณะโดยถูกนำมาอ่านออกกระจายเสียงทางกรมโฆษณาการ เมื่อ วันที่ 27 กันยายน 2485 และถูกตีพิมพ์ในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ใน วันอังคารที่ 29 กันยายน 2485 ในวันเดียวกันในหน้าที่ 3 ของหนังสือพิมพ์นิกรก็มีการลงประกาศของบริษัท ข้าวไทย จำกัด ระบุข้อความว่า “อย่าตกใจ! ข้าวของบริสัทข้าวไทย จำกัด ไม่ขึ้นราคา ติดต่อได้ที่ แผนกขายข้าวภายในประเทศ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ธนบุรี”



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    จากนั้นในหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์นิกรวันถัดมา คือ วันพุธที่ 30 กันยายน 2485 ก็ตีพิมพ์ข่าวย้ำอีกว่าภายในภาวะภัยพิบัติ บริษัทข้าวไทยยืนยันว่าจะไม่ขึ้นราคา และเตรียมตัวช่วยผู้ประสบอุทกภัยเต็มที่ (รายละเอียดดังภาพประกอบที่ 1)

    “ด้วยมีหนังสือพิมพ์บางฉบับลงข่าวว่า ประชาชนส่วนมากเตรียมการสะสม เสบียงอาหารเกี่ยวกับอุทกภัย และอาจมีผู้ซื้อข้าวไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นได้ นอกจากหนังสือพิมพ์แล้ว ยังมีเสียงลือกันต่างๆ บริษัทข้าวไทยขอชี้แจงว่า บริษัทได้เตรียมตัวไว้พร้อม ที่จะสนองความต้องการของพี่น้องชาวไทยเพื่อช่วยเหลือจากอุทกภัยอย่างเต็มที่ และยังมิได้ขึ้นราคาข้าวเลย ฉะนั้นพี่น้องชาวไทยผู้ใดต้องการซื้อข้าวไว้รับประทาน ขอให้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของบริษัท หรือสำนักงานกลาง และสาขาจำหน่ายข้าวทุกแห่งได้โดยปรกติและซื้อได้โดยไม่จำกัดจำนวน” รายงานของหนังสือพิมพ์นิกรระบุ

    สำหรับสาขาจำหน่ายข้าวของบริษัทข้าวไทย จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร ในเวลานั้นได้แก่ ร้านกมลพานิช เสาชิงช้า, ร้านไทยจำลองลักสน์ สี่พระยา, ร้านไทยบำรุง ยานนาวา, ร้านธัญญมิตต์ สะพานเหลือง, ร้านสีลมอาภรน์ บางรัก และร้านสำเนียง ตลาดลาดหญ้า ธนบุรี

    ในวันเดียวกันบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์นิกรยังได้กล่าวสนับสนุน และชื่นชมถึงข้อเขียนของ “สามัคคีชัย” ในวันที่ 29 กันยายน 2495 ว่า เป็นคำแนะนำที่แสดงให้เห็นถึงความรักใคร่แก่เพื่อนร่วมชาติเป็นอย่างยิ่ง

    “… ’สามัคคีชัย’ ยังได้แสดงความคิดเห็นในการป้องกันอุทกภัยคราวหน้าว่า อยากเสนอให้ทางรัฐบาลออกกฎหมายบังคับให้ราษฎรขุดดินทำที่ปลูกบ้านให้สูงพ้นน้ำท่วมในกาลข้างหน้า ความคิดเห็นนี้ เราขอสนับสนุนอย่างเต็มที่และเราเชื่อว่าทางรัฐบาลคงจะได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาต่อไป” บทบรรณาธิการ นสพ.นิกรระบุ ซึ่งในเวลานั้น นสพ.นิกร (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสยามนิกร) มีเจ้าของคือ บริษัทไทยพนิชยการ และมีนายพรต พุทธินันทน์ ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

    น้ำท่วม 2485 มากกว่า 20 จว.อ่วม

    ต่อมาใน วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม 2485 ข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีความเคลื่อนไหวมากขึ้น ทั้งในประเด็นการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย, การป้องกันโรคที่มากับน้ำ, การจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยการจัดหาเชื้อเพลิงมาสนับสนุนเครื่องยนต์ฉุดระหัดวิดน้ำมาถ่ายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วม, การตรวจราชการของรัฐมนตรีในพื้นที่น้ำท่วมเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน เป็นต้น

    สำหรับข่าวพาดหัวรองของหนังสือพิมพ์นิกร ในวันที่ 1 ตุลาคม 2485 คือข่าวที่รัฐบาลสั่งให้ กรมการจังหวัดดำเนินการป้องกันโรคด่วนโดยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกเยี่ยมเยียนช่วยเหลือประชาชนโดยทั่วถึงทุกแห่ง ซึ่งครอบคลุมจังหวัดต่างๆ ทั้งในภาคเหนือและภาคกลางกว่า 22 จังหวัด (รายละเอียดดังภาพประกอบที่ 2)

    “วันที่ 29 กันยายนนี้ อธิบดีกรมสาธารณสุข ได้มีหนังสือด่วนถึงคณะกรรมการจังหวัดนครสวรรค์ นครปฐม พิษณุโลก ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี พิจิตร นนทบุรี อ่างทอง ปทุมธานี สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี ราชบุรี สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร ลำปาง เชียงราย แพร่ เชียงใหม่ และอุตรดิตถ์ เรื่องแนะนำในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บดังความต่อไปนี้

    “ตามที่กรมสาธารณสุขได้มีหนังสือและโทรเลขแจ้งมาให้คณะกรมการจังหวัดต่างๆ สั่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จัดการป้องกันโรคล่วงหน้าไว้คราวหนึ่งแล้วนั้น บัดนี้ปรากฏว่าน้ำเหนือไหลบ่าลงมาท่วมท้องที่อีกหลายแห่ง กะทำให้เกิดความลำบากแก่ประชาชนอันมาก สมควรและจำเป็นต้องรีบจัดการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ อันอาจจะเกิดขึ้นได้ให้รัดกุม มีผลดียิ่งขึ้นอีก

    “เพราะฉะนั้น ให้ท่านสั่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดนี้ให้ออกไปทำการเยี่ยมเยียนช่วยเหลือบำบัดและป้องกันโรคให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงกันทุกแห่ง อนึ่ง ปรากฏว่าในระหว่างนี้มีประชาชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชอบลงไปเล่นน้ำถือเป็นของสนุก โดยมิได้ระมัดระวังตัว ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้เกิดการเจ็บไข้และถูกสัตว์ร้าย ที่มีพิษขบกัดเป็นอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายขึ้นได้ ขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เอาใจใส่ แนะนำให้ประชาชนทั้งหลายพึงระมัดระวังตัวโดยกวดขัน อย่าบังควรลงไปเล่นน้ำโดยไม่จำเป็น สำหรับน้ำที่จะใช้สอยและบริโภคก็ขอได้แนะนำให้จัดการต้ม เพื่อทำลายเชื้อโรคเสียก่อนและข้อสำคัญต้องระวังอย่าให้น้ำโสโครกเข้าปากได้เป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชน ตลอดจนครอบครัวด้วยกันทั้งหมด”


    ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขในเวลานั้นก็ได้ลงประกาศ ขอรับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องนุ่งห่ม และเงิน จากประชาชนทั่วไป ให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยด้วยเช่นกัน (รายละเอียดดังภาพประกอบที่ 3)

    “ด้วยปรากฏว่าขณะนี้ได้เกิดอุทกภัยขึ้นในจังหวัด บางจังหวัดก่อให้เกิดความเสียหายแก่พี่น้องชาวไทยในจังหวัดเหล่านั้นเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่คาดหมายได้ว่า บรรดาพี่น้องของเราเหล่านี้จะได้ประสบกับความขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จะบำรุงชีวิต เพราะอุทกภัยคราวนี้กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาแลเห็นว่าการที่จะจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ไปช่วยเหลือผู้ได้รับความทุกข์ยากได้โดยวิธีจัดส่งเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ไปช่วยเหลือผู้ได้รับความทุกข์ยากได้โดยวิธีจัดส่งเครื่องอุปโภคบริโภคบางอย่างที่จำเป็นบางประการไปช่วยบ้างตามสมควร แต่การที่จะจัดซื้อแต่ทางเดียวนั้นก็จะไม่เพียงพอ ฉะนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงขอถือโอกาสขอรับความร่วมมือร่วมใจจากท่านที่นับถือ ช่วยกันบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค ได้แก่ข้าว อาหารอย่างอื่น เครื่องนุ่งห่ม ตามแต่จะมีจิตศรัทธาหรือถ้าไม่เป็นการสะดวก ท่านจะบริจาคเงินเพื่อให้ทางการจัดซื้อให้ก็ย่อมจะทำได้

    “สำหรับการมอบสิ่งของ ขอท่านโปรดส่งที่กรมประชาสงเคราะห์วังปารุสก์ ถนนราชดำเนินนอก (ปัจจุบันคือ ที่ตั้งของกองบัญชาการตำรวจนครบาล - ทีมข่าว) หรือถ้าไม่เป็นการสะดวก โปรดติดต่อยัง โทร.22436 เพื่อกรมประชาสงเคราะห์ จะได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปรับเป็นคราวๆ ไป ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขหวังว่าท่านผู้มีจิตศรัทธา คงจะให้ความร่วมมือ ร่วมใจ ช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยคราวนี้เป็นแน่”


    นอกจากนี้ยังมีข่าวระบุว่า ในเวลานั้น กรมประชาสงเคราะห์ได้ส่งบุคลากร สิ่งของ เวชภัณฑ์ และเงินช่วยเหลือมูลค่าสองพันบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดนครสวรรค์เป็นพิเศษ แสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อเกือบ 70 ปีที่แล้ว ชาวจังหวัดนครสวรรค์น่าจะประสบกับภัยที่หนักหนาสาหัส เช่นเดียวกับเหตุอุทกภัยใน พ.ศ. นี้

    “เนื่องในคราวอุทกภัยซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่บางจังหวัดคราวนี้ กรมประชาสงเคราะห์ได้ส่งทุนช่วยเหลือผู้ต้องภัยจำนวน 2,000 บาท ไปให้คณะกรมการจังหวัดนครสวรรค์เพื่อใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเป็นการด่วน ในโอกาสเดียวกันนี้ กระทรวงการสาธารณสุขได้จัดส่งหน่วยสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์ 2 ราย ผู้ช่วยแพทย์กระทรวงสาธารณสุข 1 นาย ออกเดินทางจากจังหวัดพระนครในวันที่ 28 กันยายน พร้อมกับนำเครื่องอุปโภคบริโภค และเวชภัณฑ์ไปสมทบกับผู้ช่วยแพทย์ 2 นายซึ่งได้ส่งล่วงหน้าไปแล้วแต่วันที่ 23 เพื่อไปการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยต่อไป”

    5 มาตรการสนองปัจจัยสี่

    ในปี พ.ศ.2485รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทย ได้ออกมาตรการเร่งด่วน 5 ข้อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยมาตรการดังกล่าวครอบคลุม “ปัจจัย 4” อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ค่อนข้างครบถ้วน คือ ที่อยู่อาศัย, อาหาร, เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม, การแพทย์-รักษาโรค และการเงิน

    “เมื่อวันที่ 29 เดือนนี้ กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือด่วนมากถึงคณะกรรมการจังหวัดที่น้ำท่วมทุกจังหวัด ความว่า ในการปฏิบัติช่วยเหลือราษฎรที่ถูกน้ำท่วมนั้น ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

    1.ที่อยู่อาศัย ให้จัดหาที่อยู่อาศัยของคนและสัตว์ พาหนะให้พ้นภัย และความยากลำบาก ถ้าไม่มีสถานที่ หรือ โรงเรือนจะอาศัยได้ ก็ให้ซื้อไม้ไผ่ปลูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว ทั้งคนและสัตว์
    2.อาหาร ถ้าปรากฏว่าผู้ต้องประสบภัยขาดแคลน อดอยากให้จัดหาเสบียงอาหารในท้องที่มาเลี้ยงดู ถ้าข้าวในท้องที่ไม่มีก็ให้สั่งซื้อตรงจากบริษัทข้าวไทยไปแจกจ่าย
    3.เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ให้จัดหาให้โดยขอความช่วยเหลือบอกบุญในท้องที่ใกล้เคียง ถ้าหาไม่ได้ก็ให้ซื้อแจกจ่าย
    4.การป่วยไข้ ให้จัดแพทย์ออกตรวจ ชี้แจง แนะนำ เพื่อป้องกันไว้ก่อน เมื่อปรากฏว่ามีการป่วยไข้ขึ้นก็ให้รีบจัดการ รักษา จ่ายยาให้ อนึ่ง การเล่นน้ำและอาบน้ำในขณะนี้ อาจเป็นทางที่จะทำให้เกิดโรคขึ้นได้ ฉะนั้นให้ตักเตือนและห้ามปรามราษฎรโดยกวดขัน
    5.การเงิน ให้จ่ายเงินการสำคัญไปก่อน แล้วขอเบิกไปยังกระทรวงสาธารณสุข

    ทั้งนี้ ให้รีบตรวจตราปฏิบัติการโดยทั่วถึง และเมื่อจังหวัดใดมีการขัดข้องอย่างใดให้รายงานแจ้งกระทรวงมหาดไทยโดยด่วน”


    หมายเหตุ : ทีมข่าวได้ถอดความข้อเขียนข้างต้นโดยปรับภาษาไทยที่ใช้ในอดีต ให้ถูกต้องตามหลักการสะกดของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ฉบับ พ.ศ.2542



    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145421-

    .<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    .

    ผู้ว่าฯยันรับเงินชดเชยไม่ต้องถ่ายรูปบ้าน


    แอ่นอกรับผิด คนเดียว อ้างทำงานเหนื่อยเลยไม่รอบคอบ ต่อไปไม่มีหน 2 แน่ ส่วนการขอเงินชดเชย 5 พัน ไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปบ้านมาเป็นหลักฐาน

    เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 15 พ.ย. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.ได้แถลงความผิดพลาดกรณีประกาศอพยพเขตพญาไท ทำให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวแตกตื่น เพราะกลัวน้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้าน จนต้องอดหลับอดนอนมายืนเฝ้าดูน้ำในคลองบางซื่อ จากนั้นอีก 2 ชั่วโมงให้เจ้าหน้าที่มาบอกว่าเป็นความเข้าใจผิด ทำให้ชาวบ้านต่างพากันด่ายับ ว่าซอยอินทามระฝั่งซ้าย ซอยประดิพัทธ์ฝั่งซ้าย และซอยวัดไผ่ตัน เขตพญาไท มีน้ำท่วมจริงแต่แค่ปลายซอยเท่านั้น ดังนั้นตนจึงลงนามยกเลิกประกาศดังกล่าว และต้องขอภัยประชาชนด้วย

    “ความผิดอยู่ที่ผม ผมมึนเองที่ออกพื้นที่ทั้งวัน ทุกคนต้องผิดพลาด หลักการทำงานของผมคือ ถ้าทำผิดต้องรับผิด เข้าใจว่าทุกคนก็เหนื่อย พอเหนื่อยอาจเกิดความไม่รอบคอบบ้าง ส่วนจะเชื่อมั่นหรือไม่ต้องถามประชาชน ถึงจะผิดก็ไม่ได้เกิดความเสียหายมากมาย แค่เสียความรู้สึก 2 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น ต่อไปจะไม่ให้ผิดพลาดขึ้นอีก ส่วนการรับเงินเยียวยา 5,000 บาทนั้น ของกรุงเทพไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปบ้านเป็นหลักฐาน
    ส่วนสถานการณ์ในวันนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ระบุว่า ระดับน้ำในเจ้าพระยาอยู่ที่ 2.34 เมตร คาดว่าจะลดลงเรื่อย ๆ จนถึงปลายเดือนนี้ ส่วนน้ำในคลองมีทรงตัวกับลดลง และพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ว เช่น บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ส่วนถนนพระราม 2 ยังไม่มีปัญหาอะไร ตนได้นำเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งแล้ว ทำให้น้ำไม่แผ่เข้าเร็วมากนัก.



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=354&contentID=176280-

    .
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ่า ลูกค้าผมที่บ้านโดนน้ำท่วม

    ไปติดต่อกับสำนักงานเขตแห่งหนึ่ง

    ทางสำนักงานเขตแห่งนั้นแจ้งว่า ต้องใช้รูปถ่ายบ้านที่ประสบอุทกภัย

    ก็เลยไม่ทราบว่า ทางสำนักงานเขตแห่งนั้น กับ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ใครจะใหญ่กว่ากัน





    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...