ไปดูกัน..บ้านหลังเดียวที่น้ำไม่ท่วม

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย patratyon, 31 ตุลาคม 2011.

  1. Ayukawa

    Ayukawa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +573
    ผมหนีออกมาจากบ้านตั้งแต่น้ำยังไม่เข้าในบ้านเลยหละ เพราะประเมินสถานการณ์ดูแล้วว่าไม่น่ารอด แมวกับน้ำไม่ค่อยถูกกันอยู่แล้วด้วย Meow Meow:z17
     
  2. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ดูการป้องกันบ้านแล้วมาดูวัดกันบ้าง

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]โดย ทีมข่าวภูมิภาค :[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ติดตามข่าวภูมิภาคแบบต่อเนื่อง ได้ที่ทวิตเตอร์ @sophon_Noc [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] สภาพ น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขณะนี้ คือความเสียหายที่เกิดขึ้นครอบคลุมทุกพื้นที่ ด้วยเหตุที่ว่าเป็นการรับน้ำที่บ่ามาจากทางภาคเหนือ เพื่อลงสู่ภาคกลาง และพระนครศรีอยุธยาก็คือเส้นทางที่มวลน้ำหลากมา ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมในครั้งนี้ ครอบคลุมเป็นวงกว้าง ทั้งพื้นที่การเกษตร ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ แหล่งอุตสาหกรรม แต่ก็ยังมีพื้นที่ซึ่งปลอดภัยจากภาวะน้ำท่วมในครั้งนี้ นั่นก็คือ "วัดพนัญเชิงวรวิหาร "[/FONT]
    [​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] วัด พนัญเชิง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี วัดแห่งนี้เป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 15 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตอนใต้ของเกาะเมือง ตำบลกะมัง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) ที่ประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวเชื้อสายจีน ให้ความเคารพ[/FONT]
    [​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] สำหรับ พระพุทธไตรรัตนนายก เป็นชนิดพระปูนปั้นปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 7 วา 10 นิ้ว สูงตลอดรัศมี 9 วา 2 ศอก ประดิษฐ์อยู่ในพระวิหารใหญ่ ในทำเนียบพระพุทธรูปกล่าวว่า สร้างเมื่อปีชวด พ.ศ.1867 ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 26 ปี แต่ไม่ได้ความว่าใครเป็นผู้สร้าง ต่อ มาได้รับการปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2471 เนื่องจากไฟไหม้ผ้าห่มพระพุทธไตรรัตนนายก ในพ.ศ.2444 ทำให้ชำรุดหลายแห่ง และซ่อมแซมเสร็จในปี พ.ศ.2472 เป็นพระพุทธรูปที่สวยงามเป็นที่น่าศรัทธา ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ด้วยความสำคัญดังกล่าว จึงทำให้วัดแห่งนี้เห็นความสำคัญต่อการที่จะรักษาพื้นที่เอาไว้ [/FONT]
    [​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] "เรา ติดตามข่าวสถานการณ์น้ำตลอดเวลา นับตั้งแต่น้ำเริ่มท่วมจังหวัดต่างๆทางภาคเหนือตั้งแต่เดือนสิงหาคม ดูทิศทางและตรวจสอบปริมาณน้ำ เมื่อพบว่าน้ำเริ่มปริมาณมากขึ้น จึงเริ่มมีการวางแผนเตรียมกระสอบทราย เตรียมทรายเตรียมอุปกรณ์กั้นน้ำ เราเฝ้าสังเกตุการณ์มากกว่าวัดอื่นเนื่องจาก วัดพนัญเชิงอยู่ริมแม่น้ำและมีพื้นที่ยื่นเข้าไปในแม่น้ำเหมือนเป็นแหลมยื่น ไปในแม่น้ำ ซึ่งมีแม่น้ำป่าสักกับแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันในช่วงน้ำหลากทุกปี กระแสน้ำไหลเชี่ยวและแรง แนวการป้องกันจึงต้องเพิ่มมากขึ้น " พระมหาเชิดชัย กตปุญโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิง วรวิหาร เล่าถึงแนวทางการรับมือและป้องกัน[/FONT]
    [​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หลัก ในการวางแนวสกัดของวัดพนัญเชิงก็คือ การเข้าใจถึงเทคนิคในการวางกระสอบทรายเพื่อให้เป็น พนังกั้นน้ำ โดยทางวัดได้ทำแนวกั้นน้ำกว้าง 3-5 เมตร สูง 5 เมตร แนวกระสอบทรายยาว 600 เมตร ใช้กระสอบทรายประมาณ 400,000 กระสอบ ส่วนการใส่ทรายในถุงจะไม่แน่นจนเกินไป ไม่มัดปากถุง เพียงแค่ใส่ทรายพอประมาณและพับปากถุง จากนั้นเรียงให้เป็นระเบียบให้แน่น และนำผ้าใบปิดในช่วงที่น้ำท่วมถึง เพื่อป้องกันการกระแทกของน้ำ จากนั้นใช้เสาเข็ม และดิน เสริมด้านหลังอีกชั้นหนึ่งเป็นการค้ำยัน[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระ ราชรัตนวรากรณ์ เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิง วรวิหาร กล่าวว่า วัดสามารถป้องกันน้ำไม่ให้ท่วมวัดได้ ทั้งที่วัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก เนื่องจากมีประสบการณ์ในปี 2538 ที่ขณะนั้นเกิดน้ำท่วมขังภายในวัดนานถึง 4 เดือน มูลค่าความเสียหาย กว่า 20 ล้านบาท แม้ว่าในปีนี้ทางวัดจะรับมือกับสถานการณ์เอาไว้ได้ แต่ก็มีแผนที่วางเอาไว้ โดยอนาคตจะทำเขื่อนถาวรปกป้องวัด เพราะคาดว่าสถานกาณ์จะรุนแรงมากขึ้น เชื่อว่าพระนครศรีอยุธยานับจากนี้ไป น้ำจะท่วมทุกปี [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]มณฑา กิตติชัย อายุ 68 ปี ประกอบอาชีพขายอาหารอยู่ข้างวัดพนัญเชิง วรวิหาร เล่าว่าา มีประสบการณ์ในสมัยที่วัดพนัญเชิง ถูกน้ำท่วมในปี 2538 นับจากนั้นทุกปีหากน้ำหลากมา ก็จะไปช่วยทางวัดกรอกระสอบทราย แล้วแต่กำลังจะทำได้ "ชาวบ้านรอบๆวัดก็ถูกน้ำท่วมทุกปีที่น้ำหลากมา แต่ทุกคนยอมเสียสละออกมาช่วยวัดป้องกันแม้ว่าทั้งบ้านและร้านค้าจะอยู่ติด ข้างแนวกระสอบทรายที่สูงกว่า 5 เมตร จนน้ำท่วมภายในบ้านสูงกว่า 1.50 เมตร ก็ยอมเสียสละ เพราะต้องการให้วัดปลอดภัย " มณฑา กล่าว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]แนว ทางข้างต้นที่เกิดขึ้นจากการตื่นตัวต่อการรับมือ รวมไปถึงการเสียสละของชุมชนโดยรอบ ทำให้วัดพนัญเชิงวรวิหาร ยังคงทำหน้าที่ในการช่วยวัดช่วยชุมชนที่ประสบภัยให้ผ่านพ้นความเดือดร้อน เฉพาะหน้า [/FONT]


    ที่มา: http://www.oknation.net/blog/sophon/2011/11/14/entry-1
     

แชร์หน้านี้

Loading...