ผมมีข้อสงสัยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เอ คอร์, 3 ธันวาคม 2011.

  1. เอ คอร์

    เอ คอร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +30
    1ระหว่างนึกเห็น เห็นด้วยใจ ใช้ใจเห็น จินตนาการ 4อย่างนี้หมายความว่าอะไรครับ แล้วต่างกันอย่างไรครับ
    2ทำความเห็นให้ตรงนี่หมายความว่าอะไรครับ
    3กำหนดเครื่องหมายคืออะไรครับ ทำอย่างไรครับ
    4นึกนี่คืออะไรครับ
    ผมสงสัยครับเวลาปฏิบัติ ตันจนไม่รู้จะไปถามใครแล้วครับ
    ช่วยโปรดคนหน้าโง่ปัญญาโง่อย่างผม ช่วยตอบให้เศษสัตว์อย่างผมกระจ่างด้วยครับ เผื่อจะได้ปฏิบัติสบายใจบ้าง เอาแค่จิตโล่งๆเท่านั้นครับผมฝึกธรรมกายวัดปากนำ้นะครับฝึกในหนังสือ ขอบคุณครับ อนุโมทนาล่วงหน้าครับสาธุ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เอ่อ วิธีหลวงพ่อวัดปากน้ำอะไรนั้น ผมไม่รู้นะ

    แต่ ถ้าถามถึง นึกเห็น เห็นด้วยใจ ใช้ ใจเห็น 3 ตัวนี้ ผมพอ
    ชี้ให้คุณพิจารณาตามพอได้

    ให้ นึกถึง คณิตคิดในใจ

    "1" + "1" = "...." อันนี้ เชื่อไหมว่า เราใช้ตาเห็น ก็ได้ คำตอบ คือ "2"

    "11111" + "11111" = ".........." อันนี้ เชื่อไหมว่า เราใช้ การนึกแล้วเห็นคำตอบ

    ชะอุ้ยส์ เดี๋ยวมา
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    "........." + ".........." = "22222"

    อันนี้เชื่อไหมว่า เราใช้ ใจ แล่นไปเห็นคำตอบ หรือ ระลึกได้

    ถามว่า ทำไมถึงได้คำตอบ ก็เพราะ เราระลึกได้ด้วยใจ และ มันเกิดจาก
    เราเคยรับ ผัสสะ มาก่อน ( เว้นแต่ ผู้เรียนไม่จริง ก็จะไม่ได้คำตอบอะไรเลย งง ด้วย )

    ทีนี้ คนที่ รับรู้ด้วยใจ ที่เก่งจริงๆ เขาจะไม่ได้ เห็นแค่ คำตอบเดียว แต่
    เขาจะระลึกได้ ถึงคำตอบจำนวนมาก ส่วน คนที่นึกได้คำตอบเดียว
    ก็เรียกว่า ยังติด "บัญญัติ" ติดอดีต(โดยส่วนมาก)

    แต่ถ้าเป็นคน ที่ฝุ้งซ่านนะ

    "........." + ".........." = "22222"

    มันจะพอเหมือนๆ ว่า รู้คำตอบจำนวนมาก ล้นเลย แต่พอให้ สาธยาย
    จะทำไม่ได้ จะไม่ทำ เพราะอะไร เพราะเขาไม่รู้ว่า เขาฝุ้งซ่าน จึงรำคาญใจ
    ได้โดยง่าย ขี้เกียจ ท้อถอย ห่วงเวลาเอาไปทำอย่างอื่น ไม่ใส่ใจการตอบ
    คำถามตรงหน้า เรียกว่า โดน นิวรณ์5 เล่นงานจั๋งหนับ

    ส่วนพวก ตอบได้คำตอบเดียว ก็นะ อันนี้คือ สัญญาล้วนๆ แม้นึกได้ด้วยใจก็จริง
    แต่ สัญญาล้วนๆ ก็ไม่มีประโยชน์ แต่ถามว่า หากเขาตอบ คำตอบนั้นผิดไหม

    ไม่ผิดนะ ไม่ผิดเลย แต่ คนที่เป็นบัณฑิตจะรู้ว่า "ไม่ใช่"

    ทีนี้ ก็ลองเอาไปประยุกต์เอา

    จะนึกเห็น ด้วยใจ เห็นได้มาก ซ้อนกันแล้วซ้อนกันเล่า เห็นได้จำนวนมากมาย
    แล้วมันใช่ไหม มันจบจริงไหม หยุดจริงไหม หยุดจริง ดับจริง ก็เรื่องหนึ่งนะ

    แต่ถ้าหยุดไม่จริง ดับไม่จริง คำตอบ ล้นพ้นเลย ก็นะ เรียกว่า ฝุ้งซ่าน

    * * * *

    สำหรับ คนที่พอเป็น พอเห็น อะไรไรคือใจ อะไรเรียกว่า หนึ่ง

    "........." + ".........." = "22222"

    จะเห็นเลยว่า อ้าว "เรียนธรรมคู่(ความแปรปรวน) รู้ธรรมหนึ่ง" แค่นี้ก็พอยุติได้แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2011
  4. ศรรักปักอก

    ศรรักปักอก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +627
    :cool::cool::cool::cool::cool:
     
  5. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  6. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ถึงน้อง เอ คอร์

    ตอบน้องเอ คอร์ ครับ1. นึกเห็นคือมโน หรือความเห็นด้วยสติปัญญา เห็นก็คือเห็นน่ะ เป็นสัมมาทิฏฐิ อย่างเช่น เห็นก็สักแต่ว่าๆ แล้วเพียรปฏิบัติ(ภาวนา) ต่อไป เอาให้ได้ดีจนได้ในชีวิตในภพในชาตินี้ ไม่ต้องรอนั่นรอนี่ เอาในปัจจุบันนี้ ดูที่กาย วาจา ใจ แห่งตน เอาใจเฉยๆ(ใจเป็นธรรมะ เมื่อได้ธรรมะธรรมชาติมันจะเฉยๆ...) จิตก็อยู่ที่ใจ เอาจิตให้สงัด สงัดจากอาสวะกิเลส เห็นด้วยใจ ใช้ใจเห็นคือจิตใจรู้ รู้ธรรมต่างๆ รู้อารมณ์ที่มีผัสสะมากระทบใจ เช่น รัก โลภ โกรธ หลง เมื่อใจรู้สึกก็พิจรณาว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่อารมณ์เหล่านั้น เราไม่ยึดมั่นถือมั่นอารมณ์เหล่านั้น วางใจให้เป็นกลาง สงัด! จินตนาการหมายถึงความรู้สึกนึกคิดของเรา ที่คิดอะไรต่างๆ หรือบางทีจะกล่าวว่าเป็นสัญญาและสังขาร(ในขันธุ์ 5)ก็ไม่น่าจะผิดนัก จินตนาการนั้นถ้าฟุ้งดีก็ควรฟุ้ง แต่อย่าให้เครียดนักนะ ถ้าฟุ้งเลวก็ควรระงับ 2.ทำความเห็นให้ตรงหมายความว่า เห็นถูกเห็นตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว,สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม,กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีและเลวต่างกัน และ ถ้ารักสุข เกลียดทุกข์ ความชั่วอย่าทำเสียเลยดีกว่า 3.กำหนดเครื่องหมายอิงด้วยสัญญา เมื่อรู้มันจะเป็นไปเอง ในการทำสมาธิก็ให้ภาวนาพุทธ-โธ ความหมายก็คือจิตใจเป็นอรรถเป็นธรรม รักธรรมะ ชอบธรรมะ ศรัทธาพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระอริยะสงฆ์ ถ้าเป็นพระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาล เราก็ระลึกถึงท่าน แล้วเจริญกรรมฐานก็นึกถึงท่านก็ได้ เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอานนท์ หรือพระมหากัสสปะ เป็นต้น 4.นึกก็คือความรู้สึกนึกคิดนั่นแหละครับ โดยส่วนตัว ผมเข้าใจว่า นึกก่อนแล้วนึกต่อจะเป็นจินตนาการ การนึกเช่น นึกให้ออก(คิดให้ออก) ว่าเมื่อวานตอนข้าวเย็นเราทานข้าวกับอะไร หรือ ตอนเด็กๆ เราเคยเรียนกับคุณครูท่านใดบ้าง นี้คือนึก, ต่อไปน้องก็ไม่ต้องตำหนิตัวเองหรือนึกว่าตัวเองเป็นนั่นเป็นนี่อย่างที่โพสต์หรอกนะครับ แต่อย่างนี้พี่เองพี่ก็เคยด่าตังเองให้ท่านสมาชิกอ่านอยู่บ่อยๆเหมือนกัน ตอนใช้ชื่อฟางว่านน่ะ คือใจน่ะเป็นใจของเรา เราอย่าน้อยเนื้อต่ำใจต่อธรรมารมณ์ที่มากระทบ ให้คิดดี พูดดี ทำดี และอย่าทำร้ายใจตนด้วยใจตน คืออย่าดูถูกตัวเอง ชมตัวเองบ้าง แต่อย่าให้เหลิง และเตรียมใจยอมรับคำด่าหรือคำนินทาไว้บ้างก็ได้ เพราะจะเป็นการฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง รับได้ทุกสถาณการณ์ อย่างเวลาสมมติว่าน้องอยู่ในสังคม อาจจะมีทั้งคำด่า คำชม เราควรจะรับได้หมด วางใจให้เป็นกลาง ถ้าเป็นคำชมก็รับด้วยความยินดีหรือรับด้วยใจ แต่อย่าให้เหลิง อย่าหยิ่งในตนเพราะคำชม และอย่าใจหดหู่เพราะคำด่า หรืออย่าโกรธเหราะคำด่า ฝึกทำสมาธิเป้นประจำหรือบ่อยๆ เช่นก่อนนอน จะทำให้จิตใจเข้มแข็ง เป็นคนสติปัญญญาดี และจะทำให้ได้นิพพานสมบัติ ท้ายนี้ ขอให้เชื่อพระพุทธเจ้าเถิดว่า บาปบุญมีจริง นรกมีจริง สวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง พระนิพพานมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว...................................................................
     
  7. เอ คอร์

    เอ คอร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +30
    ขอบคุณครับ พี่ๆทุกท่าน ผมเข้าใจแล้ว ผมเชื่อนิพพานมีจริง หายสงสัยแล้วครับ ต่อไปนี้คงเหลือแต่การปฏิบัติเท่านั้นที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่สงสัยว่า ทำไมบางคนปฏิบัติถึงกับยอมตาย บางคนทำไมถึงปฏิบัติเรื่อยๆไม่ทุกข์ร้อนครับ(ถามอีกข้อไปเลยจะโดนจขว.แบนมั้ย)ขึ้นอยู่กับบุญด้วยไหมครับ อนุโมทนาสาธุครับ
     
  8. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    แนะนำเรื่องมงคลครับ

    ศึกษาเรื่องมงคล 38 ครับ เอ คอร์ เป็นคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.........
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ขึ้นอยู่กับ นักปฏิบัติเข้าใจ ทางปฏิบัติที่แท้จริงหรือยัง

    ถ้ายังไม่เจอ ก็ต้องใส่ Action ไว้ก่อน ยามที่จิตมันแสดงความไม่เที่ยง
    บังคับบัญชาไม่ได้ ก็จะอาศัยจังหวะ พิจารณา ทางปฏิบัติที่แท้จริงอีกที

    เมื่อเจอแล้ว คราวนี้ Action ที่เกินความจำเป็น ที่ต้องลูบๆคลำ ก็หายไป

    จริงๆแล้ว ไม่มีอะไรยาก มันยากที่เราไปดูหนังช่อง7 มากเกินไป

    สิ่งที่ใช้พิจารณาว่า เจอทางหรือไม่เจอทางก็คือ สิ่งที่เรียกว่า "วิหารธรรม"

    วิหารธรรม เราไปดูหนังช่อง7 มาก ก็เลยคิดว่า เป็นเรื่อง "จำศีล" แบบหมี
    แบบอาจารย์ก๊วยเจ๋ง แบบผู้ครองดาบเจ็ดสี มณีเจ็ดแสง เกราะเพชร

    จริงๆแล้ว วิหารธรรม จะเป็น กรรมฐานที่นมสิการได้ด้วยใจ ต้องนมสิการ
    ได้ไม่จำกัดกาล ไม่จำกัดสถานที่ ไม่ขึ้นต่อสังขารของผู้ฝึก

    จากพระสูตร วิหารธรรม ที่นิยมสอนแก่สาวกคือ "สัญญา10" สัญญานี่แหละ
    หากทำอย่างถูกต้อง นมสิการได้แคล่วคล่อง ไม่จำกัดกาล ไม่อ้างนู้นอ้างนี่
    อำนาจของ วิหารธรรม จะทำให้ รู้ลงไปที่จิต และ สิ้นอาสวะได้

    พระสมัยใหม่เรียก การมีวิหารธรรมด้วยสัญญา10 นี้ว่า "ต้องบริกรรม"

    หากพิจารณาดู ก็จะทราบตามนั้นว่า คนที่ปฏิบัติแบบยอมตายทั้งหลาย
    แหล่สุดท้ายก็จะปรารภว่า "เพราะเราขาดบริกรรม" จึงไม่สำเร็จ

    ส่วนคนที่เข้าใจหลักการปฏิบัติ ภาวนาแล้ว ก็จะมี วิหารธรรม ในแบบ
    ของตนได้ตลอดเวลา วิหารธรรมด้วยสัญญา10 นี้ ไม่มีตัวไหนที่จะ
    ต้อง Action แอ๊คท่า เพราะมันอยู่ที่ใจ ออกมาจากใจ ใช้ใจระลึก
    ใช้ใจไคร่ครวญ ใช้ใจโยนิโส ใช้ใจมนสิการ ใช้ใจเป็นกัลยาณมิตร
    คือมรรค ใช้ใจเครื่องห่างจากความประมาท

    ยกตัวอย่าง

    คนที่ระลึกถึงความตายตลอดเวลา หรือ มรณะสัญญา คนๆนี้ ย่อมมีปรกติ
    ไม่ทุกข์ร้อน แต่ก็ไม่ประมาทเกียจคร้าน แต่จะขยันในแบบที่เขาต้องเป็น

    คนที่ระลึกรู้ลมหายใจตลอดเวลา หรือ อานาปานสติ คนๆนี้ จะสำรวมกริยา
    ท่าทาง วาจา อาจหาญอย่างมหาบุรุษ เป็นผู้นำได้พร้อมกับๆการเป็นผู้ตาม
    แม้เขาจะเจริญอานาปานสติมาเพียงน้อย ก็ประมาทในราชาที่เยาววัยไม่ได้

    แล้วนะ หากเขามีวิหารธรรม ด้วยสัญญา10 ปฏิบัติด้วยใจ มันยาก ที่เรา
    จะไป "รู้ใจ" คนอื่น ปรกติ "รู้หน้า ไม่รู้ใจ" มันก็เป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว

    ดังนั้น จขกท ก็อย่ารีบร้อนตัดสินใครปฏิบัติดี ปฏิบัติได้ โดย ดูจาก สิ่งภายนอก
    ท่าทางขึงขัง หรือว่า เหลาะแหละ

    ต้องลองเข้าถามว่า เขามี "วิหารธรรม" ใดเป็นส่วนมาก แล้วเราก็ลองคลุกคลี
    แล้วดู จรณะ ว่าสอดคล้องกับ "วิหารธรรม" ที่เขาอยู่เป็นส่วนมากนั้นไหม ถ้าไม่
    สอดคล้อง ก็ไม่ต้องต่อว่าอะไร เราก็แค่ห่างๆ ออกมา ดู "วิหารธรรม" ของเรา
    ไม่ให้เอียง ไม่ให้หาย ไม่ให้ขาด ก็จะมีความก้าวหน้าทางธรรมเอง
     
  10. เขียด in can

    เขียด in can สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +19
    อนุโมทนา :cool:
     
  11. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    1. นึก การระลึก, เห็นด้วยใจ การเห็นด้วยใจ จะเห็นมากกว่าสี สันฐาน รูปร่าง โดยจะทราบว่าสิ่งนี้คืออะไร เช่นเห็นว่า เป็นกุศล หรืออกุศล, ใช้ใจเห็น การใช้ใจดูสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏในปัจจุบัน ว่าเป็นธาตุบ้าง เป็นสิ่งปฏิกูลบ้าง เพื่อให้ละจากอกุศลกรรมทั้งหลาย, จิตนาการ การปรุงแต่งความคิดทั้งหลาย โดยเป็นสิ่งที่ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น

    2. ทำความเห็นให้ตรง คือให้ตรงตามความเป็นจริง มี 3 ประการ เราเรียกว่าไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แปลว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน

    3. กำหนดเครื่องหมาย คือ กำหนดอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง เช่น ลมหายใจบ้าง แสงบ้าง เป็นต้น โดนสันฐานบ้างเป็นรูปภาพ โดยสัมผัสบ้างเป็นลมหายใจ เป็นต้น

    4. ระลึกครับ คือนึก ระลึกถึงแม่ ระลึกถึงสึแดง ระลึกถึงแสง เป็นต้น

    ปรกติขี้เกียจพิมพ์นะเนี๊ยะ แต่ผมชื่นชมในตัวคุณเอคอร์มากครับ
     
  12. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ฝึกธรรมกาย ผมมีเคล็ดลัด ลัดเร็ว ถ้าคุณเอคอร์สนใจจริง ๆ PM มาครับ หากว่าคุณเอคอร์เป็นคนที่กำเหนิดด้วยเหตุ 3 ได้ไม่ยาก และก็ไม่นานด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2011
  13. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    oh my god
    GEEK only จริงๆ
    555
    อยากจะพยายามอ่าน แต่ง่วงจัง ตี3กว่าๆแล้ว
     
  14. อันตรธาน

    อันตรธาน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +1
    คำถามข้อที่สอง การทำความเห็นให้ตรง เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก นั่นเองครับ

    คำถามข้อที่สาม ผมไม่แน่ใจว่าคุณหมายถึง เครื่องกำหนดหมาย หรือไม่
    ซึ่งถ้าเครื่องกำหนดหมาย 3 ประการของรูปนาม ก็คือ กฏ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นอง

    คำถามข้อที่สี่ ภาษาบาลี เรียกว่า วิตก ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...