เหตุเิกิด เพราะกรรมปรุงแต่ง หรือ เิกิดเพราะการกระทำ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย mojito544, 13 ธันวาคม 2011.

  1. mojito544

    mojito544 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +2,345

    รู้นะว่าผิดบอร์ดแต่ผมสงสัยตอบด้วยครับ

    บางทีก็อดสงสัยไม่ได้เหมือนกัน

    ผมสงสัยมานาน เรื่องเวรกรรม ถ้าว่ากรรมวนเวียนเหมือนวงล้อ ทำไรย่อมได้รับอย่างนั้น ถ้าว่ากรรมปรุงแต่งให้ต้องพบให้ต้องเจอกรรมเป็นเหตุให้ต้องเิกิดเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าคนเคยทำชั่วมาก็ ไม่มีสิทธิ์ทำดีเพราะกรรมปรุงแต่งให้ได้รับผลกรรมที่เคยทำชั่วไว้ ไม่มีสิทธ์ที่จะได้พบพุทธศาสนาเลยหรือ ถ้ากรรมเป็นเหมือนวงล้อเหตุใดองคุลิมานจึงได้เป็นพระอรหันต์ ทำไมท่านไม่ได้รับกรรมก่อนเพราะฆ่าคนไปมาก จะฆ่าเพราะเหตุใดก็คือฆ่าก็บาปเหมือนกัน ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพราะกรรมหรือว่าเิกิดเพราะเหตุและผล สมมุตินะว่ามีชายคนหนึ่งกินเหล้าเมา แล้วคนหมั่นไส้รุมทืบ นี่เป็นเพราะกรรมปรุงแต่งหรือเพราะเค้าเมาแล้วกวนตีน ตอบหนอ่ยครับ
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ........ เจตนา นั้นแหละเป็นกรรม..........เหตุเกิดแห่งกรรม คือ ผัสสะ...........................ค้นคว้า...." นิพเพธิกสูตร" เพิ่มเติม ครับ:cool:..................................ส่วนวิบากกรรม คือ ผลจากกรรมดีกรรมชั่วที่ทำ......:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2011
  3. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    ข้าพเจ้าคิดได้ที่คำว่า " เกิดแต่เหตุปัจจัย " " เมื่อเหตุพร้อมผลจึงเกิด เมื่อเหตุดับผลจึงดับ "
    อาจไม่ตรงคำถามเจ้าของกระทู้นัก :cool:
     
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -ต้นไม้ชนิดหนึ่งปลูกแล้ว 1 ปีให้ผล

    -ต้นไม้ชนิดหนึ่งปลูกแล้ว 10 ปีให้ผล

    -บุญ บาป ให้ผลสลับกันไป บ้างคนเมื่อบุญส่งผลได้รับสุขแบบหยาบๆตลอดทั้งชีวิต โดยมีทุกข์แบบละเอียดอยู่ด้วย บ้างคนเมื่อบาปส่งผลได้รับทุกข์แบบหยาบๆตลอดทั้งชีวิต โดยมีสุขแบบละเอียดอยู่ด้วย

    -หากท่านผู้ใดได้เดินตาม พระพุทธเจ้า จะเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นมายา
     
  5. นำขบวน

    นำขบวน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    เพราะกรรมปรุงแต่ง คร้าบ เจตนาของกรรมเป็น ตัวกระทำอีกที
     
  6. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    คุณเป็นคนที่มีตรรกะดีนะครับ

    ถูกแล้วครับ ถ้าทำกรรมอย่างใด รับกรรมอย่างนั้นจริง เราจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลย ทำความดีไปก็เท่านั้น

    แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น หลักที่ถูกต้องคือ เราทำกรรมอย่างใดๆไว้ก็จักต้องรับผลของกรรมนั้นๆ

    ลองศึกษาดูพระสูตรนี้ดูครับ

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำบาป
    ไว้อย่างไรๆ เขาจะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติ
    พรหมจรรย์(การประพฤติดี การบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น)ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ

    ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมที่จะต้องเสวยผลไว้ด้วย
    อาการใดๆ เขาจะต้องเสวยวิบาก(ผล)ของกรรมนั้นด้วยอาการนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้
    การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดย
    ชอบย่อมปรากฏ..."(พุทธะ)

    พูดง่ายๆคือ ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว เช่นฆ่าคนก็ไม่จำเป็นต้องถูกฆ่า ผลของกรรมนั้นอาจทำให้เป็นเกิดเป็นคนพิการก็ได้ เป็นคนขี้โรคก็ได้ เป็นคนอายุสั้นก็ได้ เป็นคนที่พลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นอาจิณก็ได้ เกิดในนรก กำเนิดเดรัจฉานเปรตวิสัยก็ได้ หรืออาจแค่ทำให้เกิดความทุกข์ใจในชาติปัจจุบัน ไม่มีผลต่อไปยังอนาคตก็ได้ (ถ้าเขาถือความผิดพลาดที่ทำเป็นบทเรียน แล้วหันมาทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตให้ผ่องใส กรรมชั่วนั้นก็อาจไม่ให้ผลในภพถัดไปได้) ฯลฯ ส่วนทำดีก็ย่อมได้รับผลดีในทำนองเดียวกัน

    และในท้ายสูตรนี้ พระพุทธเจ้าท่านยังแสดงไว้ด้วยว่า บุคคลแม้ทำกรรม(ชั่ว)แค่เล็กน้อย อย่างเดียวกัน กรรมนั้นย่อมฉุดลากบุคคลที่ไม่อบรม กาย วาจา ใจ ไปสู่นรกได้ แต่ไม่สามารถฉุดลากบุคคลที่มีกาย วาจา ใจ อบรมแล้วไปสู่นรกได้ เหมือนกับใส่ก้อนเกลือลงในน้ำที่อยู่ในขันใบเล็ก น้ำนั้นย่อมใช้ดื่มไม่ได้ แต่หากใส่เกลือขนาดเดียวกันลงในแม่น้ำสายใหญ่ๆ เช่นคงคา น้ำนั้นจะไม่เปลี่ยนรสไปเลย (แต่ยังไงก็อย่าประมาท ว่าค่อยมาทำดีทีหลัง ความชั่วไม่ทำเลยยังไงก็ดีกว่าแน่นอน)

    ส่วนตัวอย่างที่คุณยกมา
    สมมุตินะว่ามีชายคนหนึ่งกินเหล้าเมา แล้วคนหมั่นไส้รุมทืบ นี่เป็นเพราะกรรมปรุงแต่งหรือเพราะเค้าเมาแล้วกวนตีน ตอบหนอ่ยครับ
    การดื่มเหล้า = กรรมชั่ว
    กวนตีน = กรรมชั่ว
    รวมกันได้ผลชั่ว คือ ถูกหมั่นไส้ ถูกรุมกระทืบ ก็สมควรแก่กรรมแล้ว
    จากตัวอย่างนี้ผมว่า คงกรรมปัจจุบันล้วนๆ ล่ะครับ ไม่ต้องยกกรรมแต่ปางก่อนมาอ้างก็สมเหตุสมผลในตัว 555 <!-- google_ad_section_end -->

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 ธันวาคม 2011
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    อุปมาว่า เหมือนคนๆหนึ่ง เช้าตื่นขึ้นมา แปรงฟัน กินข้าว ทุกวัน เมื่อถึงเวลา ก็ทำไปตามเหมือนเดิม
    มีแรงฉุดไปเอง ไม่เคยคิดต่อต้านการกระทำของตน นี่คือกรรมเก่าผลักดัน
    แต่หาก ฉุกคิดตั้งสติดีๆ ฝืนไม่ทำเหมือนเดิมเพราะรู้ว่าไม่ดี หรือ ตั้งใจทำให้ดีมากขึ้น รู้ตัวมากขึ้น ก็เรียกว่าสร้างเหตุปัจจัยที่ดีเพิ่มขึ้นไป เป็นเหตุใหม่ที่ดียิ่งๆขึ้นไป
     
  8. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ก่อนอื่น ต้องไม่เรียน ธรรมะแบบ "ตรรกศาสตร์" และ อย่าเอาการ "คำนวน" เชิง
    พีชคณิต เลขาคณิต มาใช้

    การคำนึกงแบบ ตรรกศาตร์ คือ ทำกรรมหนึ่งครั้ง รับผลครั้งหนึ่ง ในแบบเหมือนๆกัน
    อันนี้ ไม่ใช่เลยนะ 1 ต่อ 1 เชิงตรรกศาตร์นี่ ให้โยนทิ้งไปได้เลย เพราะ กรรมในทาง
    พุทธ ทำไป 1 รับกลับอย่างน้อย 500 หลังจาก รับ 500 แล้ว ก็มีเศษกรรมอีกนับไม่
    ถ้วน ไม่ต้องไปคำนวน เพราะเป็น อจิณไตย

    และเพราะความเป็น อจิณไตบ คือ ไม่สามารถบอกปริมาณได้ จึงใช้หลัก ความน่าจะ
    เป็นเชิงสถิติ ไม่ได้ด้วย แม้ว่า มันจะเหมือนโดย การสุ่มมาให้ผลกรรม ก็ตาม แต่เนื่อง
    จากมันรอให้ผลแบบนับไม่ถ้วน จึงไม่มีทางจะไปควานหาจุดจบได้

    คำว่า เวียนกลับ ท่านจึงอุปมาว่า มันต้องกลับมาให้ผลแน่ๆ ไม่ช้า ก็เร็ว แต่ไม่มี
    ใครบอกได้ว่าจะให้เมื่อไหร่ อย่าง พระพุทธเจ้าต้องดับขันธ์ คนอ่านธรรมะไม่ดี
    ก็คิดว่า มารมาทูลขอ แต่จริงๆแล้ว มันเป็น เศษกรรมที่เหลือจากครั้งเป็นโพธิสัตว์
    ที่ได้รับพยากรณ์ว่าจะได้รับการพยากรณ์ในการเป็นสัพพัญญูฯ

    นี่ขนาดเป็นพระพุทธเจ้า บารมีล้นพ้น เกินกว่าสาวกที่ดูฉลาดๆ หลายเท่า พระองค์
    ท่านยังต้องรับ เศษกรรมเล็กน้อยในการตัดชีวิตรากษ์(ยักษ์กินมนุษย์) ทำมีเหตุ
    ให้มีพระชนมได้ 80 ปี มารมาทูลเป็นเพียงตัวประกอบในการให้ผลของกรรมเท่านั้น
    พยามารเอง ก็ตกภายใตกรรมบางประการเหมือนกัน เลยกลายเป็นตัวประกอบ เรา
    อ่านไม่ดี ก็จะ โทษหรือใส่ร้ายพยามารไปเลย เพราะ การเข้าข้างแบบปุถุชนคนหนา

    ตรงนี้หากอ่านให้ดีๆ พระพุทธองค์ตรัวบอกอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีใครมาปลงพระชนม์
    พระองค์ได้ หากกรรมที่พระพุทธองค์ทำ มันยังไม่มาให้ผล

    สรุปคือ อย่าใช้ ตรรกศาตร์ อย่าใช้สถิติ อย่าใช้ตัวเลข อย่าสอนให้เล่นไพ่
    ประเภทกลบดำ กลบแดง เอากรรมขาวกลบเกลื่อนกรรมดำ ทำกรรมดีมากๆ
    กรรมดำหายไปเอง นี่สอนให้โง่

    ทำกรรมดีแค่ไหน หากกรรมมันจะให้ผลสักอย่าง ห้ามมันไม่ได้หรอก ดังนั้น

    จงใช้วาสนาที่มีอยู่ ตราบที่กรรมยังไม่มาให้ผล ให้ดีที่สุด

    อย่ามัวแต่น้อยเนื้อต่ำใจ ว่าทำดีไม่ได้ดี แบบ คนไม่เคยสดับ อย่าท้อ อย่า
    ขี้เกียจ

    หนทาง พระพุทธองค์ชี้ไว้แล้ว และ ออกได้จริง ที่เรา มัวแต่ลังเลสงสัย
    ก็เพราะ ศรัทธาต่อพระพุทธองค์ มันกลับกรอก

    คนฉลาด จะรู้ทัน ศรัทธากลับกลอก ตัวนี้ แล้วผลิกดูมันเป็นสภาพธรรมเกิด
    ดับในตนไปเลย จะช่วยให้เกิด ปัญญาพละ สติพละ จนจิตตั้งมั่น มีสมาธิพละ

    พอเห็น ศรัทธาพละ กลิ้งไปกลิ้งมา เดี่ยวไปฝั่งซ้าย เดี๋ยวกลับฝั่งขวา เดี๋ยวเดิน
    หน้า เดี๋ยวถอยหลัง ตามเห็นความไม่เที่ยงเป็นประจำ พละ5 ตัวอื่นก็เต็มได้
    อินทรีย์5มันก็เต็มได้ ก็ขอให้ เอามาใช้เป็นประโยชน์ไปเลย

    ไม่มีเงื้อ ไม่มีง้า ราคาแพง โง่ๆแบบ ทำดีมากๆ เดี๋ยวดีเอง

    คือ เปลี่ยนมาดีสุดๆซะ มากๆเชิงจำนวนโง่ๆ ไม่เอา เอาดีสุดๆ เอาที่คุณ
    ภาพ ที่ปัจจุบันธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...