พระโสดาบัน กับ พระสกิทาคามี ต่างกันอย่างไรครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย dooddd, 14 ธันวาคม 2011.

  1. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +1,073
    โอยย ถ้าอย่างนี้ผมก็ไม่บอกหรอก ลำพังพี่พานุเดช นี่
    ก็ชมังอยู่แล้ว ในเรื่องแนะนำสมาชิก ให้ศึกษาธรรมจากหลวงพ่อฤาษี
    ซ้ำยังถ่อมตน ว่ายังเลวอยู่มาก

    ฉะนั้น..! ต้องทรมาน คือ ไม่บอก หาๆ เอาครับ แถวนี้ล่ะ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ครับผม...ผมไม่รู้หลอกนะว่าหลวงพ่อท่านจะกล่าวไว้อย่างไรบ้าง เพราะท่านกล่าวไว้เยอะ หลายที่ ผมก็ไม่ได้ฟังทั้งหมด...ถ้าหลวงพ่อว่าไงผมก็คงจะต้องว่าอย่างนั้นหละ.....เพราะผมไม่รู้ได้...เพราะยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์...ความผิดพลาดย่อมมี...นะครับ...
     
  3. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +1,073
    กล่าวได้เพราะเนาะ งั้นเอาลิ้งไป ^^

    http://palungjit.org/threads/อารมณ์แบบสุกขวิปัสสโก-โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ.140141/
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
  5. boatsa2538

    boatsa2538 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +90
    ตามโอวาทธรรมหลวงปู่มั่น นะครับ คัดลอกจากหนังสือมุตโตทัย

    พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ
    อนาสวํ เจโตวิมุตฺตึ ปญฺญาวิมุตฺตึ ทิฏเฐว ธมฺเม สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตวา อุปฺปสมฺปชฺช วิหรติ พระบาลีนี้แสดงว่าพระอรหันต์ทั้งหลายไม่ว่าประเภทใดย่อมบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ...ที่ปราศจากอาสวะในปัจจุบัน หาได้แบ่งแยกไว้ว่า ประเภทนั้นบรรลุแต่เจโตวิมุตติ หรือปัญญาวิมุติไม่ ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า เจโตวิมุตติเป็นของพระอรหันต์ผู้ได้สมาธิก่อน ส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของพระอรหันต์สุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้นย่อมขัดแย้งต่อมรรค มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีทั้งสัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรมจำต้องบำเพ็ญมรรค ๘ บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็บรรลุวิมุตติธรรมไม่ได้ ไตรสิกขาก็มีทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา อันผู้จะได้อาสวักขยญาณจำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน ฉะนั้นจึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติด้วยประการฉะนี้แลฯ
    อนุโมทนาสาธุ ครับ
    กาเลนะธรรมะ สวะนัง เอตัมมัง คละมุตตะมัง
    การสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลอันสูงสุด:':)cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool:
     
  6. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +1,073
    เอ้า ทำไมเชื่อง่ายจังอ่ะ

    เหมือนอย่างบางกรณี ผู้เข้ามาศึกษาจะถือหลักไว้เลยว่า
    ฝ่ายฤทธิ์นี่จะต้องยึดพระเครื่อง เครื่องลางของขลัง พระคาถาต่างๆ เป็นตัวบ่มอุปนิสัย

    แต่หากใครมาฝ่ายทางปัญญา จะถือว่ามาทางฝ่ายท่านพระสารีบุตร

    แต่แท้จริงพระสารีบุตรนี่ สุดยอดแห่งอภิญญาเลย ทั้งเฉียบแหลมในปฏิสัมภิทาญาณ
    ดูตอนที่จะลาพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน ท่านแสดงฤทธิต่างๆ
    เหาะขึ้นไปบนอากาศเจ็ดชั่วลำตาล แสดงรูปนิมิตร เสียงนิมิตรต่างๆ ให้เป็นที่อัศจรรย์

    แล้วอะไร คือ สายนั้นสายนี้
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ออ...อย่างนั้นก็ดีแล้วครับ.....

    ผมไม่รู้หลอกนะ...ผมเกิดไม่ทันพุทธกาล....ผมไม่ได้เห็นพระสารีบุตรท่านแสดงฤทธิ์....

    อันนี้ตามความเห็นนะครับการแบ่งสายนั้นสายนี้ ผมว่าแต่ก่อนท่านเรียกตามอาการและตามอุปนิสัยให้รู้มากกว่า ..ท่านไม่ได้แบ่งสายกัน..พอต่อมาคนเขาเข้าไปยึดว่าเป็นอันนั้นอันนี้...ก็คือกลายเป็นว่าไปยึดจนปั้นแต่งให้เป็นอัตตาขึ้นมากลายเป็นว่าของฉันต้องอันนี้ ของฉันดีกว่า ของฉันบรรลุได้ ของเธอทำไม่ได้แล้ว บรรลุไม่ได้แล้ว สมัยนี้ไม่มีแล้ว ไม่มีใครทำได้หลอก..อย่างนี้หละนะ...

    จริงๆแล้วอย่างว่านะครับ...มันก็ไม่พ้นไปได้ในเรื่องตัวกูของกู ยึดมั่นในอัตตาตัวตนของตนเอง...ถ้าเป็นอย่างนี้ สักกายทิฏฐิ ตัดยังไม่ขาด พระโสดาบันไม่ได้แน่นอน..

    อย่างในสมัยพุทธกาลท่านพระพุทธเจ้าท่านก็เรียกนะครับ เจโตวิมุติ และ ปัญญาวิมุติ เป็นต้น แต่ท่านเรียกเพื่อให้เห็นชัดในการแสดงธรรม...เรียกเพื่อให้รู้ตามอาการที่ปรากฏ....แต่ไม่ได้เรียกเพื่อยึดเหมือนที่เราคิดๆกันอยู่....

    ไม่ทราบว่าท่านเห็นเป็นอย่างไร...เอ...พูดไปคงจะออกทะเล จากหัวข้อกระทู้หรือเปล่าครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2011
  8. chokdee1959

    chokdee1959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +468
    พระสกิทาคามี มีพรหมวิหารสี่เข้มข้นกว่าพระโสดาบัน นอกจากนี้ยังมีอภัยทาน และจาคานุสติกรรมฐาน
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ตีสีข้าง ออกทะเล แน่นอน

    ถ้าจะกลับเข้าประเด็น ก็ โสดาบัน กับ สกิทาคามี ต่างกันอย่างไร

    มีคนเสนอว่า มีพระสอน ก็ไม่รู้ไปคัดลอกมาจากไหน แต่ที่แน่ๆ อ้างว่า
    พระสอนว่า สกิทาคามี ต่างจาก โสดาบัน ตรงที่ ทำฌาณ4 ได้

    แล้ว ก็มีคนมาทัก แบบ ไม่ร่วมสังฆกรรมกับคนนั้นคนนี้ แต่อาศัย
    ประเด็นว่า แล้ว อรหันต์สุกขวิปัสสโก มาได้อย่างไร หากไม่ผ่าน
    ฌาณ4ที่สกิทาคามี เสียก่อน

    มาได้อย่างไร นั่น เขาแอบแฝงเป็นประเด็น ถาม เป็นที่มาของการ
    ทวงถามหลักฐานแบบโง่ๆ ตบตามด้วยการเชื่อ มั่วซั่วไปเรื่อยๆ แทน
    ที่จะ ทำให้ตกไปอันหนึ่ง ต้องมีอันหนึ่งเป็นคำอ้างคำสอนเท็จแน่ๆ
    เพราะมันขัดกันเอง

    แต่ คนขอหลักฐาน บุ๋งๆ กู เชื่อละกัน แล้ว ก็ตีสีข้างเบี่ยงประเด็น

    ถ้าจะกลับไป ก็ไป พิสูจน์สิ ถามหาหลักฐานแล้ว ก็พิสูจน์หลักฐาน
    ต่อว่า อันไหนเท็จ อันไหนจริง เพราะ ตัวเองตั้งข้อสังเกตุเองว่ามัน
    ขัดแย้ง จนกระทั่ง ขอหลักฐาน

    ได้หลักฐาน แล้วก็ช่วยทำให้กระจ่าง หากอันไหน เป็นคำไม่จริง
    เป็น admin จะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไปทำไม
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    หืม... คุณพูดกับผมอยู่หรือเปล่า....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2011
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ไม่ได้พูด พิมพ์ จ.ม. ไม่จ่าหน้าซอง

    ถ้ามันจะสอดคล้องกับอะไร ก็พิจารณาไป

    คนฉลาด เขาไม่โง่
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ออ...แล้วไปงั้น.....เอาเป็นว่าไม่เกี่ยวกัน...

    ตามสบายนะ....
     
  13. dooddd

    dooddd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +4,855
    ความจริงที่กล่าวกันนั้น จะว่าไม่เกี่ยวกับกะทู้เลยก็ไม่ใช่นะครับ

    ว่าสัมมาสมาธิคืออะไร หมายถึงว่า ปฐมฌานก็เป็นสัมมาสมาธิหรือไม่ หรือจำเพาะเฉพาะ ฌาน๔ เอย

    แล้วปฐมฌานพอใช้ในการพิจารณาต่อไปถึงไหน สุดทางมั้ยครับ

    สำหรับผมมองว่าเป็นเรื่องสำคัญนะครับ เพราะผมไม่มีฌานบอกอะไรเลย เคยฝึกมโนมยิทธิมาหนแต่ก็ยังไม่ได้ สมาธิก็เอาแต่ว่านั่งคราวไหนรู้ึสึกว่าสมาธิตอนนี้น่าจะถึงฌาน พอตอนออกก็เอามาใช้พิจารณาสักหน่อย ไม่ให้เสียของ ดีกว่าออกเปล่าๆ (ไม่มีอะไรวัด ใช้ความรู้สึกอย่างเีดียว)
     
  14. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    สัมมาสมาธิก็คือสมาธิที่เจริญแล้วมีเมตตาเกิดขึ้น ถ้าไม่มีเมตตาก็ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
     
  15. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ข้อแตกต่างระหว่างพระโสดาบันและพระสกทาคามี

    พระโสดาบันละสังโยชน์ 3 ข้อแรกได้ และคุณสมบัติพิเศษคือ ความศรัทธาในธรรม ไม่มีเจตนาที่จะละเมิดศีล และมีดำริออกจากกาม ส่วนพระสกทาคามีก็ละสังโยชน์ 3 ได้เช่นเดียวกับพระโสดาบัน คุณสมบัติอื่น ตามตำราท่านก็ว่า ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง แต่ที่บอกว่า พระสกทาคามีโกรธน้อยนั้นดูจะไม่จริง ท่านที่เข้าถึงภูมิพระสกทาคามี จิตมันจะแกว่ง และต้องผ่านร้อนผ่านหนาวเยอะในภาคปฏิบัติ เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอนาคามี กิเลสทางกามนั้นก็ยังเสพแต่ไม่หมกมุ่น ทั้งพระโสดาและสกทา กิเลสกามของทั้ง 2 ประเภท ในภูมิพระโสดาบันดูจะมีความสุขกว่า ส่วนของพระสกทามันเป็นอนุสัย บางคร้งร้อนรน บางครั้งจะเป็นบ้า แต่ถ้าแก้ด้วยสมาธิพระสกทาคามีจะได้อารมณ์ที่สงัดกว่า ถ้าว่ากันถึงฌาณ ทั้งสองประเภทอย่างต่ำก็อัปนาขึ้นไป ถ้าใจประมาทคิดชั่ว ฌาณก็เสื่อมได้ ที่ทราบมา พระพุทธเจ้าท่านไม่สรรเสริญการอยู่ที่ขั้นพระสกทาคามี คือไม่ต้องรอไปเกิดเป็นเทวดา 1 ชาติ แล้วเลือกเกิดได้ ลงมาจุติเป็นมนุษย์แล้วบรรลุธรรมขั้นพระอรหันต์ อย่างนี้จัดเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ถ้าได้พระสกทาคามีแล้ว ที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือการละกาม เอาจิตให้สงัดจากกาม จิตไม่เสพกาม และดับปฏิฆะ คือความขัดใจ อย่าให้อารมณ์อะไรๆที่มากระทบทำให้เกิดความขัดใจ ความไม่พอใจ เราเล็งเห็นรูปนามว่ามันอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ภาวนาให้มาก เรื่อธาตุขันธุ์เราก็กินก็บำรุงไปตามปกติ แต่เวลาที่จิตมันเข้าด้วยเข้าเข็ม อยากจะภาวนา มันจะเป็นไปของมันเอง ธรรมทั้งหลายในการบรรลุธรรมก็สรุปลงที่อริยสัจจ์สี่ โดยเฉพาะมรรค ๘ นี้แหละควรทำให้แจ้ง เมื่อจิตเราสิ้นกิเลส โดยตัวหลักๆก็คือกาม เราจะอยู่เป็นสุขด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เราได้ปฏิบัติมา ในที่สุดเราย่อมนิพพาน..........
     
  16. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,942
    ค่าพลัง:
    +1,253
    วิธีดูว่า พอไหม สมาธิที่มีอยู่ พอใช้ไหม

    ก็ต้องพิจารณา ตอนออกนั้น สว่างไหม จิตสว่างปลอดโปร่ง โล่ง เบา
    ไหม

    ทีนี้ มันมีอีกตัวคือ ควรแก่การงาน มันก็มีเงื่อนที่ว่า งานอะไร หาก
    เป็นงานเดินปัญญา ละก้อ

    สมาธิที่ออกมานั้นจะต้องพาเดินปัญญาต่อได้เอง โดยไม่ต้องน้อม

    หากยังน้อม ก็แปลว่า ยังฝึก หากยังฝึก สมาธิที่ทำ ก็เรียกว่ายังไม่พอดี
    แต่ก็ถือว่า พอใช้ คือ ยังอบรมอยู่

    แต่เมื่อไหร่นะ ปลอดโปร่ง สว่าง โล่ง เบา แล้วออกมาปั๊ป กระทบผัสสะ
    รูปนามปุ๊ป แล้ว จิตเห็นสภาพธรรมเกิดดับ วับ วับ กระทบอะไรขาดวับ ละลาย
    วับ เนี่ยะ แบบเนี่ยะ สมาธิมีกำลังใช้ได้ แต่ที่ใช้ได้จริงๆ จะต้อง เห็นเป็น
    ขณะๆ ไป เพราะ รูปนามนั้น ชั่วพริบตาเดียว เขาเปลี่ยนเป็นจำนวนโกฏิ
    ถ้าเห็นแล้วค้างเติ่ง เห็นนาน เห็นยาว อันนี้ มันผลิกไปทำสมถะธรรมดาๆ
    สักอย่างแล้ว ทางเทคนิคเรียก ตั้งจิตผู้รู้แรงไป มันเลยถลำเข้าไปทำสมถะ
    (อารัมณูปณิชฌาณ) ไปทำฌาณ ไม่ใช่ ทำสมาธิ(ลักขณูปณิชฌาณ)

    ทีนี้ นามรูปเกิดดับจำนวนโกฏ นี่ต้องไปดูมันให้ทันไหม ก็ไม่ต้องนะ เขา
    ดูกันไม่กี่ตัวเท่านั้น เอาที่สำคัญๆ เพื่อเป็นอุบายนำออก

    ซึ่งหลักๆคือ เห็น โลภะ โมหะ โทษะ ถัดไปก็ อภิชญา โทมนัส หลัง
    จากนั้นก็ ราคะ ตัณหา แล้ว ตบด้วย อวิชชา ซึ่งจะยากเย็นไปตามลำดับ

    เห็นมันติดกับอะไร ก็จะปล่อย สิ่งนั้น ไปเรื่อยๆ จน ขาดในที่สุด

    สิ่งๆนั้นที่ติดกับ สิ่งหลักๆที่ใช้ดู ทางอภิธรรม เรียก เจตสิก ซึ่งติดกับ
    อะไร ก็ติดกับ จิต ปล่อยเจตสิกที่ติดกับจิต ก็คือ ปล่อยจิต พอปล่อย
    จิต ปล่อยโลก เหลืออะไร อันนี้ ต้อง พิจารณาโดยแยบคาย จึงจะเห็น

    พอเห็น ตรงจุดๆนี้ สัมมาสมาธิ คืออะไร นั่นแหละ จะเต็มภาคภูมิ
    นอกนั้น ยังถือว่า เดาสุ่มเอา ลูบคลำเอา ซึ่งไม่ว่ากัน ภาวนาไป
    เรื่อยๆ ไม่เพียร ไม่พัก เนาะ
     
  17. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    เปิดกระทู้คำถามได้น่าสนใจครับ คำถามนี้พระในภาคปริยัติมักจะนำมาเป็นคำถามวิจัย ทำวิทยานิพนธ์กัน
    แล้วก็ตอบกันได้ตามสบายไม่จบสิ้น...แล้วก็ผ่าน ไม่มีการให้ค่า เพราะผู้ตรวจก็ไม่รู้จริง

    คำถามแบบนี้ที่นำเอาสังโยชน์3 มาขีดเส้นแบ่งไว้ ซึ่งมันก็ตัดได้เหมือนกันเท่ากัน แต่ทำไมจึงแยกว่าเป็น โสดาบัน และ สกทาคามี

    ถ้าเรามามองแล้วจะแยกชั้นบรรลุธรรมโดยหยิบ ข้อธรรมมาเป็นข้อถกกันบางส่วน มันก็จะไม่จบสิ้นและพระโสดาบันจะแบ่งออกไปได้อีกเป็นล้านๆประเภท นอกจากเอกพีชี โกลังโกละ...ฯ

    ซึ่งคำถามประเภทนี้และการถกกันหรือให้แสดงทัศนะมีมาก่อนยุคเราแล้ว

    หยิบมาเล่นซักข้อ..ว่ายังไม่ลงเอยเช่นนี้อย่างไร...เช่นแบ่งด้วยเรื่องสมาธิหรือญาณ

    บางท่านว่าพระโสดา ได้แค่ขณิกสมาธิก็พอ บางพวกบอกต้องถึงอัปปนาสมาธิ หรือเอาถึงญาณ4 เป็นอย่างต่ำ จึงจะได้

    เราอย่าลืมว่า แม้ได้ถึงญาณ16 หรือได้ถึงอภิญญา5แล้วนั้น ยังไม่ได้รับประกันว่าคุณจะเป็นพระโสดาบัน,พระสกทาคามีหรือเป็นพระอนาคามี
    พุทธองค์จึงไม่ได้แบ่งชั้นการบรรลุธรรมนี้ตามขั้นญาณหรือขั้นสมาธิ
    ไม่เช่นนั้นพระองค์จะทรงบัญญัติไปแล้วว่าได้สมาธินี้ ญาณระดับนี้ได้เป็นพระโสดาบันประเภทไหน

    ถ้าแบ่งตามลำดับขั้นญาณพระโสดาก็จะมีอีกหลายประเภท

    พระพุทธองค์จึงให้แบ่งตามองค์รวม ตามอินทรีย์ นั้นเอง เพียงแต่ดำรัสว่ายิ่งหย่อนไปกว่ากันเท่านั้นเอง แล้วสามารถไล่เรียงไปได้จากพระโสดาจนถึงพระอรหันต์

    ถ้าเราหยิบองค์ธรรมแต่ละองค์มาพิจารณาแยกกันมันก็แยกไม่ออก เพราะพุทธองค์ไม่ได้บัญญัติแบ่งค่าของอินทรีย์แต่ละตัวไว้

    เพราะว่าถ้าสมมุติแบ่งอินทรย์ไว้ตัวนึงแค่10ค่า มันก็จะเกิดเป็นพระอริยะถึง 50! มีพระอริยะถึงล้านๆระดับ มันก็จะสับสนแล้วครับ

    ถ้าเราพิจารณาโดยแยบคายแล้วการที่แบ่งตามสังโยชน์แล้วเทียบเคียงกับความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ จึงครอบคลุมแล้วด้วยดี

    ไม่ได้เกินความคาดหวัง รู้อยู่แล้วว่ากระทู้นี้ต้องมีกระทบกระทั่งกันบ้าง เนื่องด้วยผู้รู้นั้นเยอะ

    เข้ามาชมทัศนะเหล่าผู้รู้ครับ
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471


    ไม่นะ ถ้าเป็นธรรมะ ที่ถึงอก ถึงใจ ละก้อ ศึกษาแล้ว ต้องจบ ต้องตอบโจทย์ได้
    ไม่ใช่ ศึกษาแล้ว เกิดอาการ ปลายเปิด หาจุดจบไม่ได้

    อย่างกรณีของ สมาธิ นี่ถ้าเรา ทำความแยบคายไว้ในใจแค่นิดเดียว ขอแค่นิด
    เดียวเท่านั้นเองว่า "ฌาณ" เป็นเรื่อง ของโลกียะ เรื่องโลกๆ เรื่องของชาวบ้าน

    แค่นี้ก็พอเห็นแล้วว่า ทำไม เขาเา "ฌาณ" มาชี้วัด ก็ ใจมันยังเป็นชาวบ้านอยู่
    ไง เลยยังติดในทิฏฐิว่า ทำอะไรแล้ว ต้องได้ ต้องมี ต้องเป็น

    แต่ในทาง พุทธ ศึกษาอย่างพุทธ คำว่า "ได้ มี อยู่ เป็น" นี้ไม่มี ยิ่งเป็น โลกียะ
    ธรรม ทั้งหลายนี่ เขาไม่โง่กันแล้วว่า มันมี "ได้ มี อยู่ เป็น" เพราะมันเป็นเรื่อง
    ของชาวบ้าน ที่ยังมีอารมณ์ขี้ฉ้อ มีความลามก

    ในทางพุทธ เขาจะใช้คำว่า "อาศัยระลึก" คือ รู้แล้วก็ปล่อย แค่อาศัยระลึกเท่า
    นั้น ซึ่งมันจะปล่อยได้ ก็ต้องแจ้งในความเป็นโทษของโลกียธรรม เหล่านั้นตาม
    ความเป็นจริง ( ที่ควรยกเห็นกันคือ มันเสื่อมได้ นั้นแหละ)

    พอใช้คำว่า อาศัยระลึกนะ ก็จะไม่พูดว่า "ได้ มี อยู่ เป็น" พูดภาษาชาวบ้าน
    คือ มันผ่านวับไป ไม่ต้องชำนาญในการเข้าออกก็ได้

    เหตุนี้ สุขวิปัสโก ท่าน ภาวนา หรือ ตอนเจริญการภาวนา ท่านใช้ ปฐมฌาณ
    พอแล้ว ส่วนการเข้าถึงวิมุตตินี่ ยังไงเสียก็ต้องมี จตุถฌาณ ให้อาศัยระลึก
    (มีอยู่ในจิต ภาษาธรรมเรียกว่า สัมปยุตต พูดให้ถึงขั้น ก็ สมังคี)

    สรุปคือ เวลาจะพ้นจากโลกเข้าสู่ความเป็นพระแท้ๆ จิตจะต้องสัมปยุตกับจตุถฌาณ
    และแม้แต่การ "อาศัยระลึก" ก็ต้องเป็นสัมปยุตธรรม ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ปล่อยพร้อม
    กันไม่ยึดข้างใดข้างหนึ่งไว้ให้ก้ำเกินกัน หรือที่เรียกว่า กำเริบกลับ (เจโตวิมุตติกำเริบ
    กลับ ปัญญวิมุตติกำเริบกลับ)

    ก็จะเห็นว่า หากเอา ทิฏฐิแบบปุถุชนมาใช้ มันจะไม่เข้าใจว่า สุขวิปัสโก มีฌาณจิต
    อย่างไรกันแน่ เพราะเอาเรื่อง ระหว่างการภาวนา ไปปนกับ ช่วงมรรคสมังคี

    และ เอาเรื่อง "วสี" ของพวกฤาษี พราหมณ์ ที่แปลว่าได้ "ฌาณ" ไปปนกับเรื่อง จิต
    รวมเล็กใหญ่ แบบสมาธิของชาวพุทธ(ที่ท่าน มีแค่อาศัยระลึก แล้วปล่อย เท่านั้น)

    * * * *

    และถ้าค้นคว้ากันจริงๆ จะพบว่า ไม่ใช่ แค่ ฌาณ4 นะ ที่ท่านอาศัยระลึก รู้แล้วปล่อย
    ไม่ซ่องเสพในเชิงวสี ท่านสามารถเดินได้ถึง ฌาณ8 นั่นแหละ แต่มีเพื่ออาศัยระลึก
    เท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อทำให้คล่อง เพื่ออยู่ เพื่อเป็น ดังนั้น หากท่านปราถนาจะ
    แสดงฤทธิ์ ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับท่าน ดูอย่างหลวงปู่ สิงห์ทอง (จำผิดขออภัย)
    ที่สายหลวงปู่มั่นทราบกันว่าเป็น สุขวิปัสโก แต่ กระดูกของท่าน ก็เป็น พระธาตุ สวย
    งาม ( นี่แปลว่า ต้องมีการอธิษฐานได้ ซึงก็คือ ใช้ฤทธิ์แบบพระที่มีฤทธิ์ นั่นแหละ )

    ซึ่งตรงนี้ มีบรรยยายใน พระไตรปิฏก ซึ่ง บรรยายโดยพระสารีบุตร แต่ถูกจัด
    ไปอยู่ในหมวด ปฏิสัมพิทามรรค

    ทีนี้ โสดาบันที่ไม่มีฤทธิ์แต่ได้รับการยกย่องว่ามีปฏิสัมภิทาญาณ ก็ยกตัวอย่าง
    เช่น พระอานนท์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2011
  19. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    เจอทัพหลวง

    ขอแสดงความคิดร่วมกับเพื่อนสหธรรมมิกดังนี้
    ปุถุชนพบกับความทุกข์ ได้สดับธรรม แล้วได้รับผลตามปัญญาตามความสามารถของตนๆ
    จึงตั้งใจศึกษา ศีลสมาธิปัญญา ต่อไป จนได้ซึ้งในธรรม ดื่มกินรสธรรม คล้ายดื่มน้ำแลกินข้าว
    จากจิตปุถุชน จึงเลื่อนมาเป็น พระธรรมานุสารี และ พระสัทธานุสารีบุคคล สู่เส้นทางที่เที่ยงแท้ ที่จะต้องแล่นกระแสจิตเป็นพระโสดาบันอย่างแน่นอน
    ตามความ แห่ง โอกกันตสังยุตต์ ที่มิอาจเป็นอื่นไปได้ ประดุจบุรุษที่กระโจนลงสู่น้ำจะต้องถึงน้ำเป็นแน่ (โอกกันตะ แปลว่า กระโจนลงไป)
    (พระธรรมานุสารี แปลว่า ผู้แล่นไปด้วยอำนาจของธรรมที่ทนต่อการพิสูจน์)
    (พระสัทธานุสารี แปลว่า ผู้แล่นไปด้วยอำนาจของศรัทธา)

    พระธรรมานุสารี และ พระสัทธานุสารี ละความเป็นปุถุชนเข้าสู่อริยะชน
    ละสังโยชน์๓ข้อ เป็นพระโสดาบัน
    ละสังโยชน์๓ข้อ ข้อ๔ข้อ๕ อ่อนกำลัง เป็นพระสกิทาคามี
    ละสังโยชน์๕ข้อ เป็นพระอนาคามี
    ละสังโยชน์๑๐ข้อ เป็นพระอรหันต์

    มันก็น่าสงสัยว่าทำไมพระพุทธองค์จึงทรงแทรก พระสกิทาคามี ลงไป
    ในขณะที่ยังละสังโยชน์๔และ๕ไม่ได้ เพียงแค่อ่อนกำลัง

    คงเป็นเพราะว่าจิตกำลังจะเข้าต่อกรกับกิเลสชนิดที่เรียก ว่า"หนักมาก"
    ขอแสดงความคิดเห็นสาธยายสู่กันดังนี้

    ในช่วงต้นที่บรรลุธรรมจาก พระธรรมานุสารี หรือ พระสัทธานุสารีเข้าสู่พระโสดาบัน
    ล่วงแดนปุถุชนสู่แดนอริยะชน ละสังโยชน์ได้๓ข้อคือ
    ๑.สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายเป็นของตน)
    ๒.วิจิกิตฉา (ความสังสัยในความเป็นไปของเหล่าสัตว์ ความไม่แน่นใจในธรรม)
    ๓.ลีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นในศีลพรต ในข้อปฏิบัติที่ผิด)

    จะสังเกตได้ว่ากิเลสที่พระโสดาบันละได้นั้นเป็นกิเลสหยาบ ที่ครอบงำจิตของปุถุชน
    ปุถุ แปลว่าหนา ปุถุชน แปลว่าคนหนา หนาด้วยกิเลสที่หุ้มอยู่ พระโสดากระเทาะเปลือกหนาออกมาได้ กิเลสตามสมมุติบัญญัติแบบโลกๆหรือโลกธรรม
    ตามรังแกพระโสดาบันได้น้อยลง ท่านอาจจะพลั้งเผลอ โดนสมมุติแบบโลกๆเข้าโจมตีบ้างก็ตอนที่ท่านขาดสติ
    ตัวอย่างเช่น ตอนนางวิสาขาเสียหลานรักไป ร้องไห้โฮเลย แต่พอพระพุทธองค์ให้สติแก่นาง นางวิสาขาท่านก็สลัดความเศร้าโศกออกไปได้

    พระโสดาบันเอาชนะกิเลสแบบโลกๆได้ไม่ยากนัก เพียงท่านกำหนดสติให้ทันเท่านั้นเอง เรียกว่าชนะทัพหน้าของกิเลสได้(กิเลสตามสมมุติของชาวโลก)
    ถึงแม้ว่าท่านจะต้องออกแรงบ้าง(คือต้องกำหนดสติให้ทัน)

    ส่วนการละสังโยชน์อีก ๒ข้อ ข้างหน้า นับว่าหนักมากคือ
    ๔.กามราคะ (ความรัก เรื่องเพศหญิงเพศชาย)
    ๕.ปฏิฆะ (ความโกรธและพื้นฐานแห่งความโกรธ)

    "จิตกำลังต่อสู้กับตนเอง?" อย่างแท้จริง นั่นคือ กิเลสชนิดที่เรียกว่า "สัญชาตญาณ"
    ลองคิดดู สัญชาตญาณแห่งเพศ ต้องละทิ้งเพศ ตัวผู้ ตัวเมีย ความสุขทางเพศเป็นสุขเวทนาชั้นดีของเหล่าสัตว์กามาวจรทั้งหลาย มันเป็นกิเลสชั้นลึก และ
    ความโกรธ สัญชาตญาณแห่งการป้องกันตัว ต้องถอดเขี้ยวเล็บในการที่จะล่วงละเมิดทางกายแก่ผู้อื่น ไม่ได้แม้แต่จะเป็นทางใจเพียงแค่ความรู้สึกโกรธ
    พระโสดาบันชนิดสัตตักขัตตุงปรมะ ต้องใช้เวลาถึง๗ชาติ ในการเอาชนะผ่านกิเลสเหล่านี้ไปได้

    ถึงขั้นจะต้องแยกระดับเป็นพระสกิทาคามีอีกชั้นหนึ่ง ในขั้นตอนที่สามารถทำให้กิเลสสัญชาตญาณนี้อ่อนกำลังลง
    สมควรแล้วที่ต้องยกย่องท่านขึ้นมาอีกระดับที่ต่างจากพระโสดาบัน เพราะพระสกิทาคามีท่านสงบเยือกเย็นลงมาก
    จนคล้ายพระอนาคามี เรียกว่าแทบจะแยกกันไม่ออก ท่านเข้าใกล้แดนพระอนาคามีมากจนเกือบจะเหมือน
    จึงขนานนามสังโยชน์ ข้อ๔และข้อ๕นี้ว่าเป็นทัพหลวง เพราะหนักหนาสาหัสเหลือเกิน

    หลังจากที่ละกิเลสสัญชาตญาณของสัตว์กามาวจรได้แล้ว กิจของจิตที่จะต้องดำเนินต่อคือ
    สังโยชน์อีก ๕ข้อที่เหลือ เป็นกิจของพระอนาคามี ดังนี้
    ๖.รูปราคะ(ความติดใจในรูปฌาน รูปภพ รูปพรหม)
    ๗.อรูปราคะ(ความติดใจอรูปฌาน อ
    รูปภพ อรูปพรหม)
    ๘.มานะ(ความสำคัญตน ถือตน เทียบตนกับผู้อื่น)
    ๙.อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน ความทึ่งในความสามารถแห่งตน)
    ๑๐.อวิชชา(ความไม่รู้จริง ความหลง)
    กว่าจะถึงขั้นนี้ได้จิตได้ผ่านงานหนักมาแล้ว กิจของพระอนาคามีเป็นกิจที่ต้องใช้
    ความละเอียดของจิตเข้าต่อสู้ เป็นกิเลสของพรหมโลก เรียกว่ากำลังต่อสู้กับความสุขก็ว่าได้
    จึงนับเป็นกิเลสทัพหลัง ที่จิตมีหน้าที่รุกไล่ไป จนสุดชายแดนอาจจะเก็บรายละเอียดมาก แต่ก็มีชัยชนะรออยู่แล้ว

    สรุปอีกครั้งว่า
    พระโสดาบัน ต่อสู้กับกิเลสชนิด โลกธรรม กระเทาะเปลือกปุถุชน ขัดขูดสมมุติบัญญัติ
    พระสกิทาคามี
    ต่อสู้กับกิเลสชนิด สัญชาตญาณ(สัตว์กามาวจร) หันมาต่อสู้กับตนเอง ขจัดสัญชาตญาณสัตว์ของตน
    พระอนาคามี
    ต่อสู้กับกิเลสชนิด พรหม ขุดราก ถอนโคน ความสุขอันหลอกลวงออกจากกมลสันดาน




    สุดท้ายนี้ของพระธรรมจงคุ้มครองเหล่าสหธรรมมิกทุกท่าน ให้มี อินทรีย์๕ พละ๕ ที่สม่ำเสมอกัน
    ฟันฝ่ากิเลสสังโยชน์
    อย่างราบคาบ ชนิดไม่เหลือเชื้อด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้นเทอญ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2011
  20. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ถ้าเราเข้าใจมันก็จบ

    ถ้าเราพิจารณาโดยแยบคายแล้วการที่แบ่งตามสังโยชน์แล้วเทียบเคียงกับความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ จึงครอบคลุมแล้วด้วยดี

    อินทรีย์ 5 ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

    มันยังไม่จบเพราะเราดึงอินทรีย์5เอามาพิจารณาเพียงองค์เดียว หรือ2 องค์หรือ 3 องค์บ้าง และยังจะแบ่งอีกเป็นข้อย่อย เป็นศรัทธาระดับ1..2...3..ฯลฯ สมาธิระดับ1..2..3..ฯลฯ ซึ่งพระพุทธองค์ไม่ได้บัญญัติอย่างนั้น ถ้าเราแบ่งอย่างนั้นก็จะมีพระอริยะได้อีกเป็นล้านๆระดับเลย

    พระองค์จึงให้มองโดยรวมตามอินทรีย์ทั้ง5 แล้วนำมาพิจารณาทั้งหมดไม่ใช่แบ่งโดยนำองค์ใดองค์หนึ่งมาพิจารณาเพื่อแบ่งระดับชั้นการบรรลุธรรม

    ข้อสังเกต...เราจะเรียกพระอานนท์ว่าเป็นพระโสดาบันจำพวกใดในขณะนั้น ใช้องค์ธรรมใดบ้างในการจัดระดับ และด้วยเหตุใดจึงจัดมาอยู่ที่ระดับนี้...?

    จบหรือไม่ครับ

     

แชร์หน้านี้

Loading...