คุณลุงหวีด บัวเผื่อน ฆราวาสบรรลุธรรม

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ปะขาวหนุ่ม, 16 ธันวาคม 2011.

  1. ปะขาวหนุ่ม

    ปะขาวหนุ่ม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +66
    หนังสือของลุงหวีดบัวเผื่อนนะครับ หาอ่านได้ที่เวปด้านล่างนี้นะครับ
    ดาวน์โหลดหนังสือจิตเป็นอมตะ | ลุงหวีด บัวเผื่อน
    http://www.google.co.th/url?q=http:/...zvjl7qyKD2B8NQ
    ไม่มีแจก แต่ทุกท่านสามารถ อ่านหรือปริ้นได้ครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  2. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มาก ซึ่งสมาธิใดสมาธินั้น ภิกษุย่อมจะได้โดยไม่หนักใจ ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย. [​IMG]ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิต ก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิไหนกันเล่า? ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่ง การเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้?
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตามแล้วนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นหายใจเข้าก็มีสติ หายใจออก ก็มีสติ.
    [​IMG]เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว.
    [​IMG]เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น.
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงหายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขาร ให้สงบรำงับอยู่หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความจางคลาย หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็น ความจางคลาย หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจเข้าอยู่". ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจออกอยู่".
    [​IMG]เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความสลัดกลับหลัง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความสลัดกลับหลัง หายใจออกอยู่". ดังนี้.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ อยู่อย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้. ....ฯลฯ....
    [​IMG]ภิกษุ ท.! แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไปทางเหย้าเรือนของเรา จงหายไปอย่างหมดสิ้น ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ต่อสิ่งที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ทั้งต่อสิ่งที่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจเสียเลยทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและต่อสิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้น จงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.
    [SIZE=-1](ต่อแต่นี้ มีตรัสทำนองนี้เรื่อยไปจนถึง ความหวังจะได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จนกระทั่งความดับเย็นแห่งเวทนา เพราะความไม่เพลิดเพลินในเวทนานั้น เป็นที่สุด ว่าผู้ต้องการพึงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี). [/SIZE]
    [SIZE=-1] [/SIZE][SIZE=-1]บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙, ๔๐๑/๑๓๒๔, ๑๓๒๙. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน ปรารภพระมหากัปปินะเข้าสมาธินั่งนิ่งไม่ไหวติงจนเป็นปรกตินิสัย.[/SIZE]​
    <table align="center" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100"><tbody><tr><td width="49%">[​IMG]</td> <td align="center" width="2%">[​IMG]</td> <td align="right" width="49%"> [​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  3. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า "สัตว์โลกนี้หนอ ถึงแล้วซึ่งความยากเข็ญย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติ, ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร." [​IMG]ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีชรามรณะ" ดังนี้.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย, แก่เราว่า "เพราะ ชาติ นั่นแล มีอยู่ ชรามรณะ จึงได้มี : เพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ" ดังนี้.
    [​IMG]...* เพราะ ภพ นั่นแล มีอยู่ ชาติ จึงได้มี : เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ" ดังนี้.
    [​IMG]...เพราะ อุปาทาน นั่นแล มีอยู่ ภพ จึงได้มี : เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ"ดังนี้.
    [​IMG]...เพราะ ตัณหา นั่นแล มีอยู่ อุปาทาน จึงได้มี : เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน" ดังนี้.
    [​IMG]...เพราะ เวทนา นั่นแล มีอยู่ ตัณหา จึงได้มี : เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา" ดังนี้.
    [​IMG]...เพราะ ผัสสะ นั่นแล มีอยู่ เวทนา จึงได้มี : เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา" ดังนี้.
    [​IMG]...เพราะ สฬายตนะ นั่นแล มีอยู่ ผัสสะ จึงได้มี : เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ" ดังนี้.
    [​IMG]...เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ สฬายตนะ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ" ดังนี้.
    [​IMG]...เพราะ วิญญาณ นั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี : เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป" ดังนี้.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ความรู้สึกอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป : ย่อมไม่เลยไปอื่น; ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง : ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้."
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า "ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย) ! ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย)!" ดังนี้.
    ... ... ... ​
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราต่อไปว่า "เมื่อไรไม่มีหนอชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งชรามรณะ" ดังนี้.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ ชาติ นั่นแล ไม่มี ชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งชาติ จึงมีความดับแห่งชรามรณะ" ดังนี้.
    [​IMG]... เพราะ ภพ นั่นแล ไม่มี ชาติ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ" ดังนี้.
    [​IMG]... เพราะ อุปาทาน นั่นแล ไม่มี ภพ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ" ดังนี้.
    [​IMG]... เพราะ ตัณหา นั่นแล ไม่มี อุปาทาน จึงไม่มี: เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน" ดังนี้.
    [​IMG]... เพราะ เวทนา นั่นแล ไม่มี ตัณหา จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา" ดังนี้.
    [​IMG]... เพราะ ผัสสะ นั่นแล ไม่มี เวทนา จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา" ดังนี้.
    [​IMG]... เพราะ สฬายตะ นั่นแล ไม่มี ผัสสะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ" ดังนี้.
    [​IMG]... เพราะ นามรูป นั่นแล ไม่มี สฬายตนะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ" ดังนี้.
    [​IMG]... เพราะ วิญญาณ นั่นแล ไม่มี นามรูป จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป" ดังนี้.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่อไรไม่มีหนอ วิญญาณ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ นามรูป นั่นแล ไม่มี วิญญาณ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้.
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "หนทางเพื่อการตรัสรู้นี้ อันเราได้ถึงทับแล้วแล : ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะจึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้."
    [​IMG]ภิกษุ ท.! ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า "ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) ! ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) !" ดังนี้.
    [SIZE=-1] สูตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน. [/SIZE]​
    <hr align="left" noshade="noshade" size="1" width="200"> [SIZE=-1]*[/SIZE][SIZE=-1] ข้อความตามที่ละ... ไว้นั้น หมายความว่า ได้มีความฉงนเกิดขึ้นทุกๆตอน แล้วทรงทำในใจโดยแยบคาย จนความรู้แจ้งเกิดขึ้นทุกๆ ตอน เป็นลำดับไปจนถึงที่สุด ทั้งฝ่าย สมุทยวารและนิโรธวาร; ในที่นี้ละไว้โดยนัยที่ผู้อ่านอาจจะเข้าใจเอาเองได้; คือเป็นการตัดความรำคาญในการอ่าน. [/SIZE]​
     
  4. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    วิญญาณจะมีอยู่โดยไม่ต้องอาศัยขันธ์ ๕ ได้หรือไม่ ?

    พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้ายึดรูป พึงดำรงอยู่ได้ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปซ่องเสพด้วยความยินดี พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์... วิญญาณที่เข้ายึดเวทนา... สัญญา.... สังขาร...พึงดำรงคงอยู่ได้ วิญญาณที่มี รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...เป็นอารมณ์ มี รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร... เป็นที่ตั้ง เข้าไปซ่องเสพ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร ) ด้วยความยินดี พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าเราจักบัญญัติการมา การไป การจุติ การอุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ โดยไม่ต้องอาศัยรูป เวทนา สัญญา สังขารดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุละราคะในรูปธาตุ เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ วิญาณธาตุได้แล้ว อารมณ์ (แห่งวิญญาณ) ก็เป็นอันตัดขาดเพราะละราคะนั้นได้ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งย่อมไม่งอกงาม ไม่สร้างต่อ (อนภิสงฺขจฺจ) ย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่นเพราะตั้งมั่นจึงอิ่มเอิบ (สนฺตุสิตํ) เพราะอิ่มเอิบจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งจึงดับเย็นสนิทเฉพาะตน ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ครบถ้วนแล้ว กิจที่ควรทำได้เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อให้เกิดผลเช่นนี้ไม่มีอีกแล้ว” อุปายสูตร ขันธ. สํ. (๑๐๕)
     
  5. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    วิญญาณธาตุ ต้องอาศัย รูป เวทนา สัญญา สังขารอย่างไร ?

    พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภิกษุพืช ๕ อย่างนี้... คือ พืชงอกจากเหง้า ๑ พืชงอกจากลำต้น ๑ พืชงอกจากข้อ ๑ พืชงอกจากยอด ๑ พืชงอกจากเมล็ด ๑
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ อย่างนี้ มิได้ถูกทำลาย ไม่เน่า ไม่ถูกลม แดด ทำให้เสีย ยังเพาะขึ้น ที่เขาเก็บไว้อย่างดี แต่ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ พืช ๕ อย่างนี้พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ ? ไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ อย่างนี้.... ที่เขาเก็บไว้อย่างดี และมีดิน มีน้ำ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ ? ....ได้ พระพุทธเจ้าข้า
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นที่ตั้งทั้ง ๔ ของวิญญาณ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร) เหมือนธาตุดิน พึงเห็นความยินดีเพลิดเพลินเหมือนธาตุน้ำ พึงเห็นวิญญาณพร้อมด้วยอาหารเหมือนพืช ๕ อย่าง...ฯ”

    พืชสูตร ขันธ. สํ. (๑๐๖)
     
  6. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ๔ มีความสัมพัน์กันอย่างไรหรือไม่ ?

    พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ ปถวี อาโปเตโช วาโย อากาศ วิญญาณ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์ เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ ถึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เราบัญญัติว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชรา... มรณะ... โสกะ.... ปริเทวะทุกข์... โทมนัส... อุปายาส... การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก...การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก.... ความปรารถนาสิ่งใดมิได้สมหวัง... ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ..... โสกะ.... ปริเทวะทุกข์... โทมนัส... อุปายาส...
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ”
    ติตถสูตร ติ. อํ. (๕๐๑)
     
  7. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    ภิกษุที่จะได้ตรัสรู้หรือบรรลุพระอรหัตผลนั้น ควรจะประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง ?

    พุทธดำรัส ตอบ “ ๑. ดูก่อนโพธิราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า...... พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ..... เป็นผู้จำแนกพระธรรม
    ๒. เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่ความเพียร
    ๓. เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาเปิดเผยตนตามความเป็นจริง ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย
    ๔. เธอเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
    ๕. เธอเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดและดับ เป็นอริยะ สามารถชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ” .
     
  8. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    เมื่อภิกษุประกอบด้วยคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว จะได้บรรลุอรหัตผลในเวลาช้านานเท่าไร ?

    พุทธดำรัส ตอบ “ ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า..... ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน (ภายในเวลา) เจ็ดปี..... หกปี..... ห้าปี..... สี่ปี..... สามปี..... สองปี..... หนึ่งปี..... เจ็ดเดือน..... หกเดือน..... ห้าเดือน..... สี่เดือน..... สามเดือน..... สองเดือน..... หนึ่งเดือน..... ครึ่งเดือน..... เจ็ดคืนเจ็ดวัน..... หกคืนหกวัน..... ห้าคืนห้าวัน..... สี่คืนสี่วัน..... สามคืนสามวัน..... สองคืนสองวัน..... หนึ่งคืนหนึ่งวัน..... ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งคืนหนึ่งวันจงยกไว้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียรหาประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ ตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า ตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น....” โพธิราชกุมารสูตร ม. ม. (๕๑๘)
     
  9. ปะขาวหนุ่ม

    ปะขาวหนุ่ม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +66
    หนังสือของลุงหวีดบัวเผื่อนนะครับ หาอ่านได้ที่เวปด้านล่างนี้นะครับ
    ดาวน์โหลดหนังสือจิตเป็นอมตะ | ลุงหวีด บัวเผื่อน
    http://www.google.co.th/url?q=http:/...zvjl7qyKD2B8NQ
    ไม่มีแจก แต่ทุกท่านสามารถ อ่านหรือปริ้นได้ครับ
     
  10. ปะขาวหนุ่ม

    ปะขาวหนุ่ม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +66
    หนังสือของลุงหวีดบัวเผื่อนนะครับ หาอ่านได้ที่เวปด้านล่างนี้นะครับ
    ดาวน์โหลดหนังสือจิตเป็นอมตะ | ลุงหวีด บัวเผื่อน
    http://www.google.co.th/url?q=http:/...zvjl7qyKD2B8NQ
    ไม่มีแจก แต่ทุกท่านสามารถ อ่านหรือปริ้นได้ครับ
     
  11. amarpinky

    amarpinky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    423
    ค่าพลัง:
    +522
    anumothana sathu sathu sathu
     
  12. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม
    ด้วยเครื่องสักการะ ประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี
    อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ
    ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ
    เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอด
    เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
    เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ดังนี้ฯ
     
  13. Pat_DArmy

    Pat_DArmy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +3
    คุณลักษณะของอริยะบุคคล

    ผู้ที่เข้ากระแสนิพพาน ถ้าบวช เรียก อริยะสงฆ์ ถ้าเป็นฆราวาส อย่างเราๆท่านๆ เรียก อริยะบุคคล

    การเข้ากระแสนิพพาน เริ่มต้นจากการเป็น พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ตามลำดับ ทั้งนี้จะเข้าระดับไหนแล้วแต่บุญกุศลที่สั่งสมมาในแต่ละภพชาติของแต่ละบุคคล
    โดยจะต้องเดินตามกระแส มรรค ๘ (ได้มรรค และผล) วนไปเรื่อยๆ
    เช่น โสดาปฏิมรรค (ทำความเพียร) จนไปสู่ โสดาปฏิผล (เพียรจนได้ผล)
    จนไปถึง อรหันต์ผล ในที่สุด

    แนวทางการปฏิบัติ คือ แต่ละชั้นจะลด กิเลส อย่างหยาบ ไปจนถึงกิเลสอย่างละเอียด จนดับไม่เหลือแห่งกิเลส หรือเครื่องร้อยรัดที่ทำให้เกิดปฏิสนธิจิต เกิดภพ เกิดชาติ เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎ นั่นคือต้องละ สังโยชน์ ๑๐
    ดังนั้น จะรู้ว่าใครอยู่ใน มรรค ผล ระดับไหน สังเกตจากความหนาบางของกิเลศ ดังนี้
    ๑ สักกายทิฏฐิ ไม่มี อัตตา ละตัวตน
    ๒ วิจิกิจฉา ไม่มีความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
    ๓ สีลัพพตปรามาส รักษาศีลอย่างจริงจัง เกิดหิริโอตัปปะ
    ๔ กามฉันทะ ไม่มีจิตหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ๕ พยาบาท ไม่มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ๖ รูปราคะ ๗ อรูปราคะ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูป และยึดติดในความดีความชั่ว(เพราะแม้แต่เทวดา หรือ พรหมก็ยังติดสุข )
    ๘ มานะ ไม่ถือตัวถือตน ยศฐาบรรดาศักดิ์
    ๙ อุทธัจจะ ไม่สะดุ้งกลัวสิ่งใดๆในโลก เพราะมองเห็นว่าทุกสิ่งในโลกคือสิ่งมายา
    ๑๐ อวิชชา แตกฉานท้งอรรถและธรรม ถ้าบรรลุอรหันต์ ประเภทที่ใช้ปัญญานำหน้า จะได้ปฏิสัมภิทาญาณ (ใช้ศรัทธานำหน้า ใช้สมาธินำหน้า หรือปัญญานำหน้า)

    แต่จุดเริ่มต้นของผู้ที่จะเข้ากระแสนิพพานได้คือ
    ต้องรู้ตามความเป็นจริง ของสรรพสิ่ง ว่าไม่เที่ยงแท้แน่นอน รู้อริยสัจ ๔ (ซึ่งแปลว่ารู้ตามความจริงของพระอริยะ หรืออริยะบุคคลทั้งหลาย) ดังเช่นพระพุทธเจ้าทรงเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ

    ถ้ามีโอกาสในคราวต่อไปจะแนะนำการปฏิบัติเพื่อหนทางหลุดพ้นในขั้นลึกต่อไป
     
  14. Tang_Gwa

    Tang_Gwa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +28
    โอ้แม่เจ้า ที่เกริ่นมาเป็นเรื่องการฝึกจิตและสติที่ดีจริงๆชอบมากครับ
    แล้วจะนำไปปฏิบัติ
     
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ใช้รูปผิดนะครับ และธรรมะก็ไม่ถูกต้องกับเจ้าของรูปนะครับ

    อ้างอิง
    http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok_hist/ubasok-plean.htm

    http://www.oknation.net/blog/sitthi/2009/03/13/entry-1


    [​IMG]

    อุบาสกเปลี่ยน รักแซ่ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ ปีวอก เดือนยี่ วันอังคาร ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลห้วยจำปา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี.

    อุบาสกเปลี่ยน มีพื้นนิสัยเป็นคนอดทน ประกอบอาชีพด้วยความขยันและซื่อสัตย์สุจริต มีความสันโดษในปัจจัยสี่มาตั้งแต่หนุ่ม ตลอดเวลาครองเรือน ไม่มีความทะเยอทะยานในความเป็นอยู่ของชีวิต ที่จะเอาดีเอาเด่นอย่างในโลกๆ จนเกินไป เป็นผู้มีความพอ ชอบความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ จึงอยู่ในชีวิตครองเรือนด้วยความสุขสงบ.

    ส่วนนี่คือธรรมจริง ของอุบาสกเปลี่ยน รักแซ่

    "ดับหมด เป็นหมด"
    "ผมใช้ภาวนา ธรรมดา รู้อยู่"
    "พิจารณาแยกออกหมดแล้วมันก็ไม่มีอะไร"
    "มันก็ จิตดูจิต เป็นเอง"
    "พระพุทธเจ้าท่านเห็นโลกธรรมแปดนั่นเอง
    อย่างไรทุกข์เกิด มันก็ดับไปเอง"
    "บางทีผมก็ใช้ภานา จิตว่าง วางเฉย
    ถึงพระสามองค์
    บางทีก็มีปรุงเหมือนกันแต่ผมก็เฉยเสีย"
    นี่เป็นคำพูดที่ลึกซึ้งของคุณลุง จึงมาคิดได้ความว่า
    ดับหมด เป็นหมด ก็คือ เห็นทุกสิ่งเป็นของดับหมด เป็นธรรมดาทั้งนั้น;
    ผมใช้ภาวนาธรรมดา รู้อยู่ นั้น มิได้หมายความว่า
    ท่านบริกรรมเป็นองค์ภาวนา
    แต่ว่ามีสติติดต่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดาอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
    เพราะฉะนั้น ธรรมดา รู้อยู่ ก็คือ รู้ธรรมดานั่นเอง
    แต่ความรู้ในขั้นนี้เป็นความเห็นอย่างแจ่มแจ้ง
    เรียกว่า มีทั้งญาณทั้งปัญญา รวมตัวกัน
    คือ ทั้งรู้ และ ทั้งเห็นเป็นอันเดียวกัน;
    ที่ว่า พระพุทธเจ้าเห็นโลกธรรมแปด ก็คือ
    เห็นธรรมดาชัดแล้วจิตก็เป็นกลางวางเฉยไม่ยินดียินร้าย
    และไม่หวั่นไหวไปตามธรรมดา
    ที่ว่า บางทีผมก็ใช้ภาวนา จิตว่าง วางเฉย
    นั่นก็คือ ความรู้เฉยติดต่อเป็นประจำ ไม่ใช่บริกรรมเป็นคำพูด
    จึงได้เห็นความเป็นเองของสิ่งที่เกิดๆดับๆ
    เรียกว่าถึงพระสามองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในตัวเอง
    รวมความแล้วก็คือ เห็นธรรมชัดแล้ว มันก็ไม่มีอะไร ปล่อยวางในตัวเอง
    ที่จะเห็นธรรมดาในชั้นนี้ ต้องมีทั้งญาณและปัญญารวมตัวกัน
    เป็นความที่ทะลุไปถึงความไม่มีอะไร
    เห็นสิ่งทั้งหลายเป็นอย่างเดียวกัน
    จึงเป็นการปล่อยวาง ว่างเฉย
    เห็นสภาพความเป็นเองของรูปนาม
    ทั้งที่เป็นภายนอกและภายในโดยทั่วถึง
    ถึงจะมีผัสสะกระทบก็วางเฉยได้ ไม่มีดี ไม่มีชั่ว
    เป็นความว่างที่ไม่ติดอยู่กับอะไร
    ว่างโล่ง เบาสบายอย่างนี้เอง
    ทำให้เห็นจุดหมายปลายทางว่า คงจะเย็น แสนจะเย็น
    ชุ่มชื่นโดยไม่ต้องรดน้ำ
    ในขณะนั้นมีตื่นเต้น หายใจเหนื่อยๆแล้ว
    ก็รู้ว่าเป็นธรรมดา อาการนั้นก็หายไป.
    หลังจากนี้ท่านก็พูดซ้ำๆ ตลอดมาเป็นประจำ
    รวมทั้งที่แสดงในเวลาประชุม ก็มักแสดงว่า
    "รู้อยู่ ก็ว่างอยู่"
    "รู้ว่าอะไรๆมันไม่เที่ยง แล้วจะไปยึดอะไร"
    "ดับหมด เป็นหมด"
    "หมดเกิด หมดตาย"
    "นามรูปขันธ์ห้าไม่เที่ยง ใครจะไปบังคับบัญชามันได้
    ก็มันไม่มีคัวของมันเอง"
    "รู้เอง เป็นเอง เป็นผู้ตื่น เป็นผู้เบิกบานด้วยธรรม"
    คำพูดเหล่านี้นับว่าเป็นคำพูดที่ประจำชีวิตของท่านเสมอ
    ซึ่งผู้ปฏิบัติผู้หนึ่งเกิดความชัดใจและมั่นใจ ในคำพูดของท่าน
    เมื่อเริ่มปฏิบัติใหม่ๆ ตามคำที่ท่านแสดงบนหอประชุมว่า
    ดับหมด เป็นหมด หมดเกิด หมดตาย
    ผู้ปฏิบัติซึ้งถึงด้านใน ... ซึ้งถึงคำว่า อมตธาตุ
    แม้เริ่มต้นปฏิบัติใหม่ๆ ก็ทำให้ซึ้งถึงสภาพธรรมที่พ้นเกิด พ้นตาย
    พ้นจากทุกข์โดยประการทั้งปวง
    จากคุณค่าที่ท่านได้แสดง ย้ำแล้ว ย้ำอีก
    พร้อมกับเป็นเวลาที่ผู้ปฏิบัติกำลังศึกษาอยู่ โดยเฉพาะสิ่งนี้
    ซึ่งทำให้เกิดปีติในตัววเอง นับว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ในชีวิต
    ที่ได้พัดพาเข้ามาพบท่านผู้ทรงคุณหลายท่านในสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้
    ผู้ปฏิบัติหลายท่านก็มีทัศนะเป็นอันเดียวกัน


    และ พุทธองค์สอนว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา

    ฉนั้นแล้ว จิตไม่ใช่บรมอัตตา หรือ จิตอมตะ อย่างที่เข้าใจ ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 ธันวาคม 2011
  16. ปีหนู

    ปีหนู สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +6
    ขออนุโมธนาบุญด้วยค่ะ

    หลังจากได้อ่านเรื่องของลุงหวีดในเว็บแล้วก็เริ่มลองปฎิบัติดู ก็ยังไม่ถึงกับเข้าถึงทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องใช้เวลา ตอนนี้ก่อนนั่งสมาธิ จะอ่านเรื่องของลุงหวีดก่อนเสมอ ก็จะพยายามปฏิบัติให้ได้ต่อไป และขอบคุณที่มีเรื่องดีๆๆมอบให้แก่ฆราวาสทั่วไปได้ปฎิบัติ สาธุ(deejai)
     
  17. วิกิจ

    วิกิจ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +22
    ขอรับ 1 เล่ม
    วิกิจ วัลศิริพัฒนชัย
    7/8 ม.13 ต.บางรักพัฒนา
    อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
     
  18. สามโบสถ์

    สามโบสถ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +54
    ขอบพระคุณครับ ทำให้ผมได้มรรคเริ่มต้น
     
  19. คนไม่รุ้

    คนไม่รุ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +116

    อนุโมทนากับข้างบนครับ สาธุ:cool:
     
  20. ปะขาวหนุ่ม

    ปะขาวหนุ่ม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +66
    หนังสือของลุงหวีดบัวเผื่อนนะครับ หาอานได้ที่เวปด้านล่างนี้นะครับ
    ดาวน์โหลดหนังสือจิตเป็นอมตะ | ลุงหวีด บัวเผื่อน
    http://www.google.co.th/url?q=http:/...zvjl7qyKD2B8NQ
    ไม่มีแจก แต่ทุกท่านสามารถ อ่านหรือปริ้นได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...