คุยกับ "วิศวกรไทยประจำนาซ่า" เรื่อง "พายุสุริยะ" อีกหนึ่งสาเหตุหลักของอุทกภัย 2554

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 25 ธันวาคม 2011.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    คุยกับ "วิศวกรไทยประจำนาซ่า" เรื่อง "พายุสุริยะ" อีกหนึ่งสาเหตุหลักของอุทกภัย 2554


    [​IMG]


    พลันที่อุทกภัยน้ำท่วมเริ่มคลี่คลายในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เป็นห้วงเวลาเดียวกันกับที่ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วัย 34 ปี วิศวกรอาวุโส ด้านเทคโนโลยีตรวจจับคลื่นพลังงานจากนอกโลก ซึ่งเข้าไปทำงานในองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา ประเทศสหรัฐอเมริกา เดินทางกลับมาประเทศไทย จึงเป็นจังหวะที่ "มติชนออนไลน์" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น ในประเด็นปรากฎการณ์ของพายุสุริยะ ที่พบว่ามีผลทำให้เกิดภัยธรรมชาติ และ ทำให้เกิดภัยพิบัติไปทั่วโลก ติดตามในบทสัมภาษณ์คำต่อคำ

    ปรากฏการณ์ "พายุสุริยะ" มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้อย่างไร ?

    พายุสุริยะ เกี่ยวข้องกับพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ส่งผ่านมายังโลก ซึ่งมีการส่งพลังงานมายังโลกสม่ำเสมออยู่แล้ว แต่ช่วงมีปรากฎการณ์พายุสุริยะ ดวงอาทิตย์จะส่งพลังงานมายังโลกมากกว่าปกติ และ เมื่อมากระทบโลกแล้ว จะส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และ ส่งผลกระทบในเชิงธรณีวิทยาด้วย เพราะจากการพิสูจน์โดยใช้วิธีการเก็บสถิติ และ ทำการทดลองหลายครั้ง ตั้งแต่มีปรากฏการณ์พายุสุริยะเกิดขึ้น จนกระทั่งมาถึงโลกเมื่อไหร่ และ มีผลต่อโลกอย่างไร เมื่อได้ผลเหมือนกัน จึงสรุปได้ว่า สมมติฐานเป็นจริง นั่นหมายถึง พายุสุริยะมีผลทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เราก็ทดลองและทำซ้ำ ถ้าผลเหมือนกันหมดก็แสดงว่าสมมติฐานเป็นจริง ก็คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงเกิดจากพายุสุริยะ

    สมมติฐานดังกล่าว ทำให้เรามั่นใจว่า ปรากฎการณ์พายุสุริยะมีผลทำให้เกิดภัยธรรมชาติ เพราะดวงอาทิตย์จะเป็นตัวกำหนดว่า ความร้อนอุณหภูมิโลกจะเป็นเท่าไหร่ และ การที่โลกหมุนรอบตัวเองได้ จะกำหนดได้ว่าพื้นที่ใดเป็นเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งบอกได้ถึงฤดูกาลทั้งที่เป็นฤดูระยะสั้น และ ระยาว รวมไปถึงแกนโลกที่เอียง และ ตำแหน่งที่โลกโครจรรอบดวงอาทิตย์ ก็บอกฤดูได้เช่นกัน

    ช่วงเวลาที่เกิดปรากฎการณ์พายุสุริยะ จะบอกได้หรือไม่ว่าจะเกิดภัยธรรมชาติบนโลกในช่วงใด และ ที่ใดบ้าง?

    ปรากฎการณ์พายุสุริยะ ปรากฏชัดมากขึ้นในปีที่แล้ว และ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในประเทศปากีสถานเมื่อปี 2553 ส่งผลให้ชาวปากีสถานกว่า 2.5 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนั้น และ คร่าชีวิตผู้คนไป 1,500 คน นับเป็นอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 80 ปี ของปากีสถาน

    เช่นเดียวกับอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีของไทย พบว่ามีการระเบิดของดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 กันยายน 2554 ต่อมาอีก 4 วัน คือ วันที่ 26 กันยายนปี 2554 พลังงานจากปรากฎการณ์พายุสุริยะ เข้ามากระทบโลก จึงส่งผลให้สนามแม่เหล็กโลกเกิดการแปรปรวน และปริมาณรังสีก็แปรตามสนามแม่เหล็ก ซึ่งจะส่งผลเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างฉับพลัน

    ทีมวิจัยพบว่า พายุสุริยะที่เกิดในเดือนกันยายนที่ผ่านมาเป็นพายุสุริยะครั้งรุนแรงที่สุดในรอบปีนี้ และ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในไทย เช่นเดียวกับการเกิดน้ำท่วมในปากีสถาน ซึ่งสรุปได้ว่า ปรากฎการณ์พายุสุริยะมีความสัมพันธ์ 100 เปอร์เซ็นต์กับการเกิดขึ้นของภัยธรรมชาติบนโลกใบนี้ แต่ยังระบุไม่ได้จะเกิดภัยธรรมชาติในประเทศใด และ พื้นที่ใดจะได้รับผลกระทบมากที่สุด

    องค์การนาซ่าให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์พายุสุริยะอย่างไร ?

    เราพบว่า มีการค้นพบการเปลี่ยนแปลงจากนอกโลกมาก่อนแล้ว โดยนักวิจัยจากทวีปยุโรป ชื่อ สเวน สมาร์ค ตั้งสมมติฐานเป็นคนแรก โดยใช้วิธีวัดปริมาณรังสีคอสมิก เทียบกับการก่อตัวของเมฆบนโลก ปรากฏว่าสัมพันธ์กันโดยตรง จึงตั้งสมมติฐานว่า รังสีคอสมิกเป็นตัวปฏิกิริยาทำให้เกิดเมฆ แล้วเขาก็ทำการทดลองถึงตัววิ่งอนุภาค ออกมาตามผลการทดลองนั้น สรุปได้คือ รังสีคอสมิกเป็นตัวเร่งปฏิกริยาทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ และ เมื่อพายุสุริยะวิ่งมาหาโลก รังสีคอสมิกตกลงแบบฉับพลัน และขึ้นแบบฉับพลัน ก็ยิ่งทำให้ภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น

    ทีมงานของผมซึ่งศึกษาเรื่องปรากฏการณ์พายุสุริยะ เก็บสถิติตั้งแต่ปี 2552 ตอนแรกๆ ที่เก็บคือสังเกตจุดดับของดวงอาทิตย์เป็นหลัก ซึ่งตอนที่จุดดับมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ ก็จะมีแผ่นดินไหว และ ภัยเกี่ยวกับน้ำท่วมมากกว่าปกติ แต่เรายังสังเกตไม่ได้แม่นยำถึงเรื่องเวลาที่จะเกิดภัยธรรมชาติ แต่ผมสังเกตว่า ภายในหนึ่งถึงสองวันจะมีพายุน้ำท่วมเกิดขึ้น หลังเกิดปรากฏการณ์พายุสุริยะ

    จุดดับของดวงอาทิตย์มีหน้าตาอย่างไร ?

    เรื่องพลังงานที่ส่งผ่านดวงอาทิตย์มีหลายรูปแบบที่ 1 คือ แสงจากดวงอาทิตย์, อินฟาเรด, ไมโครเวฟ, รังสีแรมม่า และ ฯลฯ ส่วนรูปแบบที่ 2 คือ ความร้อน, รูปแบบที่ 3 คือ นิวตริโน่ ซึ่งรู้จักกันไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา เป็นกัมมันตรังสี ซึ่งมีผลการศึกษาว่า จะมีสารเรดิโอแอคทีฟ มีอัตราการแพร่บนโลกค่าๆ หนึ่ง เมื่อมีปฏิกิริยาดวงอาทิตย์สูง วันนั้นอัตราการแพร่รังสีบนโลกจะลดลง และจะสัมพันธ์กับโลก พอลดลงเสร็จแล้ว ก็กลับมาเท่าเดิม แบบฉับพลัน

    สำหรับรูปแบบที่ 4 คือ เรื่องของกระแสไฟฟ้า ซึ่งเราเข้าใจมากที่สุด หากเปรียบเทียบโลกกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เปรียบเสมือนเป็นแบตเตอร์รี่ แล้วโลกเป็นหลอดไฟ แล้วมีสายไฟเชื่อมระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ คือ พลาสม่า ซึ่งเป็นอนุภาค หรือ สถานะหนึ่งที่มีอยู่ในโลกเรา นอกจากนี้ยังมีแก๊สที่แตกตัวเป็นประจุบวกลบ มีตัวนำเป็นสายไฟฟ้า กระจายทั่ว มองไม่เห็น เห็นเฉพาะต้นทางและปลายทาง ต้นทางคือดวงอาทิตย์ ปลายทางคือ โลก เหมือนเราเห็นทองแดง แต่พลังงานตัวนี้ไม่เห็นด้วยตาเปล่า เรียกว่าตัวนำไฟฟ้า ซึ่งถ้าดูด้วยตาเปล่า พลาสม่าจะเปล่งแสงที่ต้นทางคือ จาก "ดวงอาทิตย์" มายังปลายทางคือ "โลก" โดยแสงที่เปล่งออกมา เรียกว่า ออโรร่า (aurora borealis) ถ้าอยู่ที่ขั้วโลกจะเห็น อย่างในพื้นที่ประเทศนอร์เวย์ , สวีเดน และ แคนาดา จะเห็นแสงสีเขียวบนท้องฟ้าชัดเจนในเวลากลางคืน

    พลังงานส่งผ่านตลอดเวลา ไม่ใช่ส่งผ่านเฉพาะช่วงที่มีพายุสุริยะแล้วค่อยเกิดออโรร่า แต่มันเป็นอนุภาคที่เกิดขึ้นตลอดเวลา พอมีพายุสุริยะแปรปรวน ก็เหมือนกับแบตเตอร์รี่รวน ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ปลายทาง จุดดับ หรือ Sunspots ทำให้เห็นว่า พลังงานแสงอาทิตย์ส่งมาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจุดดับบ่งบอกได้ว่า มีความแปรปรวนที่ดวงอาทิตย์ ซึ่งโลกก็จะแปรปรวนทางไฟฟ้าด้วยเช่นกัน และเชื่อมกัน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบนโลก ทั้งทางธรณีวิทยา และ สภาพอากาศ

    จุดดับ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ จุดดับที่วนรอบดวงอาทิตย์ มีเกิด แล้วมีดับ ซึ่งมันจะทรงตัวพักหนึ่งแล้วก็ดับไป ตอนที่โลกเปลี่ยนแปลงเยอะ คือ ช่วงที่มันเกิดพอดี ช่วงที่มันเกิดแล้วขยายตัวพอดี ช่วงนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น พายุ ซึ่งอาจมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลง ถ่ายเทพลังงานของดวงอาทิตย์ โลก และ ดาวเคราะห์ ดวงอื่นๆด้วย เพราะดวงอาทิตย์ไม่ได้ส่งผ่านโลกอย่างเดียว ส่งผ่านดาวเคราะห์ทุกดวง

    นั่นหมายถึง ดาวเคราะห์ซึ่งเป็นบริวารของดวงอาทิตย์กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงตามดวงอาทิตย์


    -----------------------
    คุยกับ "วิศวกรไทยประจำนาซ่า" เรื่อง "พายุสุริยะ" อีกหนึ่งสาเหตุหลักของอุทกภัย 2554 : มติชนออนไ=
     
  2. pattarawat

    pattarawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,671
    ค่าพลัง:
    +7,981
    ดร.ก้องภพ เป็น idol ของผมเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...