เว็บพลังจิต Youtube งานสัมมนา...มาแล้ว...ครับ...เจาะลึกภัยพิบัติ...พลิกวิกฤตให้เป็นทางรอด ครั้งที่ 2

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ZZ, 29 ธันวาคม 2011.

  1. VGN

    VGN สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +16
    :cool: ขอบคุณมากคับ
     
  2. เอกณัฐยศ

    เอกณัฐยศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3,628
    ค่าพลัง:
    +9,666
  3. tobetruly

    tobetruly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2009
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +427
    ขอบคุณมากๆเลยครับ ขอบคุณจริงๆ
     
  4. โทชิจัง

    โทชิจัง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอบคุณมากๆ คะ ได้ฟังแล้วมีประโยชน์มากๆ จะได้เตรียมตัว ตั้งสติได้ถูกต้อง
     
  5. น้อย11330

    น้อย11330 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    เชิญร่วมสัมมนา เจาะลึกภัยพิบัติ...พลิกวิกฤตให้เป็นทางรอด ครั้งที่ 2 (Version: ต้อนรับปี 2012)

    ขอบพระคุณ เป็นอย่างสูงครับ:cool:
     
  6. ชุติรัตน์

    ชุติรัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +113
    ;aa49catt7catt7 ขอบพระคุณคณะพลังจิตผู้มีจิตสาธารณะทุกๆท่าน catt11 ที่ได้เผยแพร่องค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ยิ่งต่อสาธารณชน อนุโมทนาสาธุบุญ ด้วยค่ะ แม้ไม่มีโอกาสที่จะไปฟัง แต่ก็ไม่หมดโอกาสที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ;aa7;aa31;aa53;aa53;aa41
     
  7. Copenhagen

    Copenhagen สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2011
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +17
    Anumothana Sathu kha
     
  8. kChiwawa

    kChiwawa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +14
    ขอบคุณมากค่ะ

    สวัสดีปีใหม่ 2555
     
  9. Nat Simon

    Nat Simon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2010
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +172
    Thank you for the message.
     
  10. Delio

    Delio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +211
    พระอาจารย์ที่ประดิษฐ์เครื่องดูดเมฆพลังปิระมิดนิเอง
     
  11. sitar

    sitar Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +86
    ขออนุโมทนา สาธุๆ ท่านผู้มีจิตเมตตาทุกท่านที่ได้เผยแพร่ความรู้ ในงานสัมนาในครั้งนี้ทุกๆท่านค่ะ สวัสดีปีใหม่ทุกๆท่านและพี่้น้องชาวเวปพลังจิตทุกท่านด้วยคะ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้โปรดคุ้มครองให้ทุกชีวิตบนโลกใบนี้มีแต่ความสุขสงบ รอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง ด้วยเทอญ สาธุ
     
  12. ่jew+best

    ่jew+best สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณครับ
     
  13. บช

    บช Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2009
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +44
    ขอขอบพระคุณ ขอโมทนาบุญกับคณะวิทยากรและคณะจิตอาสาทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานนี้ด้วยครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. นายสาธิต

    นายสาธิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2008
    โพสต์:
    409
    ค่าพลัง:
    +1,066
    ดูนักวิทยาศาตร์ออกช่องอะไรวันนั้นน้าเค้าเป็นวิทยาศาสตร์เพียวๆๆเลยไม่ใช่เค้าอยากจะเป็นศาสดาองค์ใหม่เร้อที่ให้คนเชื่อเค้าว่ามันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ดูไปๆๆสงสารเค้าจับใจว่าเค้าหลงแบบสุดสุดไปบอกไปสอนเค้าอะไรเค้าคงไม่ฟังความอ่อนน้อมถ่อมตัวอะไรอะไรก้อคงจะไม่มีมีแต่ผมจบนี้มาเรียนนี้มาหลงเข้าไปอีกไปอีก ทุกวันนี้เรามาสัมมนากันเพื่อความไม่ประมาทเพื่อความเบาใจไม่ได้สร้างความเดือดร้อนอะไรๆๆให้ใครเลย มีแต่กันพาทำดีเพื่อหนีภัยส่วนเค้าบอกให้อยู่เฉยๆๆไม่เป็นไรถ้าเกิดไรขึ้นมีตายกันแล้วเค้าจะช่วยบริจาคหรือเปล่าน้า
     
  15. mooda

    mooda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +461
    ขอขอบคุณทีมงานทุกท่านค่ะ
     
  16. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,375
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,652
    แนวโน้มปีงูใหญ่ น้ำมาอีก ระวัง 4 ปัจจัยเสี่ยงมหาอุทกภัย <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td height="40"> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการรายวัน</td> <td class="date" align="left" valign="middle">31 ธันวาคม 2554 06:40 น.</td> <td align="left" valign="middle">

    Share9

    </td><td>
    </td></tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="left" height="12" valign="bottom">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#CCCCCC"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" bgcolor="#FFFFFF" valign="top"> <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="160"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="4" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="baseline">คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="1" valign="middle" width="165">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> <td background="/images/linedot_vert3.gif" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellspacing="7" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-กล่าว ได้ว่าในปี 2555 นี้ สิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศพากันหวั่นวิตกก็คือจะมีเหตุการณ์ 'น้ำท่วมใหญ่' เกิดขึ้นอีกหรือไม่ เนื่องเพราะบทเรียนจากวิกฤตมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา นั้น ได้สร้างความบอบช้ำและความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยหลายสิบ ล้านคน อีกทั้งอยากรู้ว่าควรทำอย่างไรหากเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยอีกครั้ง ?

    แม้ที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานใดที่ออกมาฟันธงว่าในปีหน้าจะมี เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เกิดอีกหรือไม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งตลอดช่วงวิกฤตอุทกภัยในปี 54 ที่ผ่านมา อย่าง ' รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์' ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า น้ำท่วมจะมาถี่ขึ้นและแรงขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นทุกปี ขณะเดียวกันจากสถิติพบว่าปัจจุบันวงรอบของภัยพิบัติในประเทศไทยก็มีความถี่ เพิ่มขึ้น กล่าวคือเดิมเจ้าพระยาเกิดน้ำท่วมใหญ่ทุก 20-25 ปี แต่ปัจจุบันเกิดน้ำท่วมทุกๆ 2 -4ปี ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดน้ำท่วมเพิ่มขึ้น

    และในอนาคตรอบการเกิดของภัยธรรมชาติก็จะสั้นลงอีก หากไม่มีมาตรการแก้ไขและรับมืออย่างทันท่วงที

    ทั้งนี้ สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่นั้นมีอยู่ 4 ปัจจัย ด้วยกันคือ

    1.ฝนตกหนัก ปริมาณน้ำในแม่น้ำลำคลองจึงมากขึ้น
    2.ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากเมื่อโลกร้อนขึ้น น้ำก็ถูกทำให้ระเหยกลายเป็นไอมากขึ้น ความชื้นมากขึ้น ฝนก็ตกมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้นด้วย
    3.แผ่นดินทรุดตัว ซึ่งเมื่อแผ่นดินทรุดตัวลง แม้ปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจะไม่ได้เพิ่มมากขึ้นแต่ก็สามารถท่วมบ้านเรือนซึ่ง อยู่ในบริเวณที่แผ่นดินทรุดตัวได้
    4.ผังเมืองแออัด เนื่องการความแออัดของบ้านเรือนเป็นตัวกีดขวางทางไหลของน้ำ จะเห็นว่าเมื่อก่อนกรุงเทพฯ มีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ถึง 600 ตารางกิโลเมตร จากพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ตารางกิโลเมตร แต่ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯเหลือเพียง 300 ตารางกิดลเมตร นอกจากนั้นพื้นที่ฟลัดเวย์ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริก็เหลือน้อยลง ทำให้การระบายน้ำไม่คล่องตัว

    นอกจากนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผ่านมาปัญหาสำคัญในการรับมือกับอุทกภัยใหญ่ในปี 54 คือการที่ประชาชน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ขาดข้อมูลและขาดระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เวลาที่ภาครัฐจะนำมาตรการต่างๆ ออกมาใช้ ประชาชน ภาคเอกชน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆที่ได้รับผลกระทบทั้งในเชิงบวกเชิงลบต่างก็ไม่ได้รับ รู้ว่ามาตรการนั้นๆจะนำไปสู่อะไร ประชาชนจึงไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ควรทำสิ่งใดก่อน-หลัง ขณะเดียวกันภาครัฐเองก็แก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก ทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลาย

    “ประชาชนจำเป็นต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำว่าจะมามากน้อย เพียงใด เพราะถ้าน้ำจะมามาก แต่ประชาชนไม่รู้ เขาจะไม่วางแผนชีวิต ไม่ขนย้ายข้าวของ ไม่อพยพ เพราะเขาไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเขา ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับภัยธรรมชาติเหล่านี้เป็นเรื่องจำเป็น ส่วนภาครัฐเองก็ต้องมีฐานข้อมูลอยู่ในลิ้นชักแล้วว่าหากใช้บิ๊กแบ็กจะเกิด อะไรขึ้น หากเปิดประตูน้ำตรงจุดนี้ ในระดับ 1 เมตรจะเกิดอะไรขึ้น เปิดระดับ 2 เมตรจะเกิดอะไรขึ้น แล้วก็แจ้งข้อมูลเหล่านี้ให้ประชาชนรับทราบ แต่ที่ผ่านมามันกลายเป็นว่าแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูกอยู่ตลอดเวลา ลองใช้บิ๊กแบ็กดูซิ ลองเปิดประตูน้ำตรงจุดนี้ดูซิน้ำจะลดลงไหม ถ้าได้ผลก็จะเปิดประตูน้ำเพิ่มขึ้น ถ้าไม่ได้ผลก็จะปิดประตู คำสั่งที่ออกมามันเป็นอย่างนี้ตลอด แต่สถานการณ์มันรอไม่ได้ รอ 3 วันน้ำมันเข้ามากี่ร้อยล้านลูกบาศก์เมตรแล้ว”

    “ปัจจุบันปริมาณน้ำฝนที่ตกทั่วประเทศเพิ่มขึ้นถึง 30% ขณะที่ปริมาณน้ำในปี 2554 ซึ่งเป็นปริมาณน้ำสะสมจากฝนที่ตกลงมาตั้งแต่เดือน ส.ค.จนถึง ต.ค.ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปริมาณน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ มีถึง 34,000ล้านลูกบาศก์เมตร ประเด็นสำคัญคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องประเมินว่าปริมาณน้ำเหล่านี้จะไหล ไปที่ไหนบ้าง และแจ้งเตือนให้ประชาชนรู้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ลึกลับอะไรมีอยู่ในเว็บไซต์ของกรมชลประทาน พร้อมทั้งบอกให้ประชาชนรู้ด้วยว่าถ้าเอากระสอบทรายมากั้นที่คลองหกวาสายล่าง จะเกิดอะไรขึ้น กั้นที่คลองมหาสวัสดิ์จะเกิดอะไรขึ้น เพื่อเป็นการสื่อสารเรื่องความเสี่ยงให้ประชาชนรับรู้ ไม่ใช่ว่าแม้แต่พระคุณเจ้าก็ต้องลงมารื้อกระสอบทรายกลางถนน เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาน้ำท่วมวัดยังไง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคม” รศ.ดร.เสรี กล่าว

    นอกจากนั้นที่ผ่านมาแต่ละรัฐบาลก็ไม่ได้ใส่ใจกับข้อมูลและปัจจัยที่ เป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวโน้มภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแต่อย่าง ใด หากย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ หรือไอพีซีซี (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้มีรายงานเกี่ยวกับแนวโน้มและสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นกับไทยและ ภูมิภาคแถบนี้ ออกมาตั้งแต่เมื่อ 16 ปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีรายงานต่อเนื่องออกมาทุกๆ 5 ปี กระทั่งรายงานฉบับล่าสุด ซึ่งออกมาเมื่อปี 2007 คือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ซึ่ง IPCC ระบุชัดเจนว่าความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติมีมากน้อยเพียงใด อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และที่สำคัญคือรายงานฉบับนี้ได้มีการแจ้งให้รัฐบาลของแต่ละประเทศหันกลับมา มองประเทศของตัวเองว่ามีความเสี่ยงในเรื่องอะไรบ้าง พร้อมทั้งแนะให้ใช้มาตรการปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติได้ โดยให้พิจารณาว่าจะใช้มาตรการป้องกันและลดผลกระทบอย่างไร แต่รัฐบาลที่ผ่านมากลับไม่สนใจ ไม่ได้มีการเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าคูคลองหลายแห่งของไทยขาดศักยภาพในการระบายน้ำ สภาพเมืองไร้ระเบียบ มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างระเกะระกะ ขวางทางน้ำ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุทกภัยในปี 2554 นั้นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

    “ เมื่อปี 2509 เวิลด์แบงก์ ก็มีรายงานสิ่งแวดล้อมฉบับหนึ่งเกี่ยวกับกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ ซึ่งรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่ากรุงเทพฯเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ แต่คนไทยกลับไม่เคยรู้ว่ามีรายงานฉบับนี้ เพราะไม่มีการแปลเป็นภาษาไทยออกมาเผยแพร่ ขณะที่ภาครัฐก็บอกว่าเวิลด์แบงก์วิตกจริตเกินไปหรือเปล่า แต่สุดท้ายมันก็เกิดขึ้นจริงๆ ซึ่งหากมีการแปลเป็นภาษาไทยออกมาเผยแพร่คนไทยก็รู้แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น รู้ว่ามีความเสี่ยง และคิดหาวิธีรับมือ ถ้าได้รับข้อมูลนี้ผมคิดว่าผู้อยู่อาศัยที่จะทำเฟอร์นิเจอร์แบบบิวอินก็คง ไม่ทำ อย่างน้อยเขาก็ไม่เสียหาย”

    “ในอีก 2 เดือนข้างหน้าก็จะมีรายงานการวิเคราะห์เหตุน้ำท่วมใหญ่ ของไทยในปี 54ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร โดยรายงานฉบับนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ถึง 500 กว่าคนร่วมกันเขียน ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้น ผมก็อยากให้รัฐบาลกรุณาแปลออกมาให้ประชาชนได้รับทราบด้วย ซึ่งรายงานฉบับดังกล่าวนั้นไม่ได้มองเฉพาะกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่เรามองสถานการณ์ของโลกด้วย เพราะอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของโลกย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทยด้วย ดังนั้นเราต้องดูสถานการณ์โลกก่อน แล้วค่อยมองมายังภูมิภาค แล้วค่อยมองมาประเทศไทย แล้วค่อยมองมาที่กรุงเทพฯ ” รศ.ดร.เสรี ระบุ

    ทั้งนี้ สำหรับการเตรียมรับมือกับปัญหาอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นอีกในระยะเวลาอันใกล้นั้น ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม แนะนำว่าประชาชนควรติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับน้ำและพร้อมที่จะใช้ชีวิตในช่วงที่เกิด อุทกภัย คนในชุมชนควรมีการรวมตัวกันซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดการกับปัญหา ขณะที่ภาครัฐก็ต้องศึกษาและวางแนวทางในการบริหารจัดการน้ำให้ดี เพื่อลดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด และที่สำคัญต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วแก่ประชาชน เพื่อให้ชาวบ้านรู้เท่าทันสถานการณ์และวางแผนรับมือได้อย่างถูกต้อง

    “ ทางออกของประเทศไทยในการรับมือกับอุทกภัยก็คือ หาที่ให้น้ำอยู่ หาทางให้น้ำไป ต้องพิจารณาให้ดีว่าน้ำปริมาณหลายหมื่นล้านลูกบาศก์ที่ไหลลงมานั้นจะนำไปไว้ ที่ไหน ทางระบายน้ำมีเพียงพอหรือยัง แล้วก็ต้องพูดความจริงกับประชาชน ขณะที่ประชาชนก็ต้องช่วยเหลือตัวเองด้วย ผมไม่แนะนำให้ถมดินบริเวณบ้านตัวเองให้สูงขึ้นนะ เพราะถ้าน้ำท่วมอีกบ้านที่ไม่ได้ถมดินจะได้รับความเดือดร้อน วิธีที่ดีที่สุดคือหาทางเสริมหรือต่อเติมบ้านให้สูงขึ้น ถ้าเดิมเป็น 2 ชั้น ก็เสริมเป็น 3 ชั้น ส่วนชั้น 1 ซึ่งเคยถูกน้ำท่วมก็เปิดเป็นที่โล่ง ให้น้ำผ่าน เพราะจากข้อมูลพบว่าเหตุการณ์น้ำท่วมจะมาถี่ขึ้นและแรงขึ้นเนื่องจากปริมาณ น้ำฝนเพิ่มขึ้น ประชาชนต้องตระหนักในความเสี่ยง ติดตามข่าวสารข้อมูลอย่างใกล้ชิด ต้องพิจารณาถึงเรื่องการทำประกันภัยครัวเรือน”

    “ขณะที่ภาครัฐต้องหาเส้นทางให้น้ำไหลผ่าน เช่น ทำฟลัดเวย์ ขุดลอกคลองสาธารณะ จัดทำระบบการเตือนภัย ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระดับชุมชน ทำผังเมืองชุมชน โดยเริ่มตั้งแต่ระดับท้องถิ่นขึ้นไป ถ้าระดับหมู่บ้านทำไม่ไหวก็ต้องส่งต่อไปทางจังหวัด ถ้าจังหวัดทำไม่ได้ก็ส่งต่อไประดับประเทศ ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดในวิกฤตการณ์น้ำท่วมปี 54 ก็คือ ถ้าชุมชนเข้มแข็งและมีส่วนร่วม ปัญหาต่างๆ ก็จะคลี่คลายไปได้ เราได้รู้จักคลองไทยประดิษฐ์ที่สำเร็จได้เพราะความร่วมมือระหว่างบริษัท เอกชน ชาวบ้าน และส่วนราชการในจังหวัดสมุทรสาคร ได้เห็นความร่วมมือของชุมชนสวนส้มโอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งปรากฏกาาณ์เหล่านี้อาจหาไม่ได้ในประเทศอื่นๆ” รศ.ดร.เสรี กล่าวตบท้ายถึงการเตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไว้ อย่างน่าสนใจ</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody> </table>
     
  17. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,375
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,652
    'สมิทธ' เตือน5 จว. ภาคใต้ ระวัง 'สึนามิ' ! <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td height="40"> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการรายวัน</td> <td class="date" align="left" valign="middle">31 ธันวาคม 2554 06:40 น.</td> <td align="left" valign="middle">

    Share97

    </td><td>
    </td></tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="left" height="12" valign="bottom">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#CCCCCC"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" bgcolor="#FFFFFF" valign="top"> <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="160"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="4" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="baseline">คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="1" valign="middle" width="165">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> <td background="/images/linedot_vert3.gif" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellspacing="7" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-ภัย ธรรมชาติอีกลักษณะหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ก็คือภัยที่เกิดจาก 'คลื่นขนาดใหญ่ ' ที่สร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนและอาคารร้านค้าที่อยู่บริเวณชายฝั่ง ทะเล ไม่ว่าจะเป็น 'สึนามิ' ซึ่งเป็นปรากฏการณ์คลื่นยักษ์ที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเล หรือ 'สตอร์ม เซิร์จ' ปรากฏการณ์คลื่นพายุหมุนที่มีความสูงหลายเมตร อันเกิดจากความแรงของลมพายุที่ทำให้น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น เนื่องเพราะเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และแต่ละครั้งก็ได้สร้างความสูญเสียต่อทรัพย์สิน และคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนไม่น้อยทีเดียว

    สำหรับในปี 2555 นี้ แนวโน้มการเกิดสึนามิ และสตอร์ม เซิร์จ ในประเทศไทยจะเป็นเช่นไร 'สมิทธ ธรรมสโรช' ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ นักวิชาการคนแรกที่ออกมาเตือนว่าประเทศไทยกำลังจะเผชิญกับมหันตภัยสีนามิ ก่อนที่จะเกิดคลื่นยักษ์สึนามิขึ้นเมื่อปลายปี 47 จะไขข้อข้องใจให้ทราบ

    ในส่วนของการเกิดสึนามินั้น สมิทธ ระบุว่า จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่าปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวเร่งให้เกิดสึนามิ ก็คือ การที่โลกมีแนวโน้มจะล้ม หรือเกิดการกลับขั้ว อันเนื่องจากน้ำมือมนุษย์ เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่งในจุดที่ก่อให้เกิดปัญหา นั่นคือ การสร้างเขื่อน 3 ขา ที่ขั้วโลกเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตร เพื่อเก็บกักน้ำปริมาณมหาศาลเอาไว้ แห่งที่สองคือเขื่อนอัสวาน ในประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นน้ำขนาดใหญ่กลางทะเลทราย ซึ่งการทำงานของเขื่อนทั้งสองแห่งดังกล่าวส่งผลให้ขั้วโลกเหนือมีแรงเหวี่ยง ผิดปกติ และมีการการยกตัวของเปลือกโลกใต้ทะเล ส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง ที่เรียกว่า 'สึนามิ '

    สำหรับการเกิดสึนามิในประเทศไทยนั้น มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวย โดยจากการสืบค้นข้อมูลที่ชาวเนเธอร์แลนด์ได้บันทึกไว้พบว่า ประเทศไทยเคยเกิดสึนามิ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ส.ค.2426 หรือประมาณ 128 ปีที่ผ่านมา โดยมีคลื่นสูงถึง 35 เมตร มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก ขณะที่ผู้คนที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เสียชีวิตถึง36,000 คน จากนั้นก็เกิดสึนามิขึ้นเป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2547 ส่งผลให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งสถิติเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีโอกาสเกิดสึนามิขึ้นได้อีก โดยจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง มีโอกาสที่จะเกิดสึนามิในระยะเวลาอันใกล้นี้ ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และนราธิวาส

    “ ผมกล้าพูดได้ว่าต้องเกิดสึนามิขึ้นอีกในอนาคต เมื่อมันสะสมพลังงานมากพอที่จะยกเปลือกโลกบริเวณใต้มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่าพระองค์ เป็นห่วงมาก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องเร่งหาข้อมูลโดยด่วน ซึ่งล่าสุดจากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นและชาวไอแลนด์ เหนือ พบว่าในอนาคตจะเกิดสึนามิในทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย 4 จุด ซึ่งผมก็วิเคราะห์ต่อว่า สึนามิที่จะส่งผลกระทบถึงประเทศไทยมี 2 จุดคือ หากเกิดสึนามิในจุดที่ 1 ซึ่งอยู่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย คลื่นจะเข้ามาตั้งแต่ระนอง พังงา ภูเก็ต ถึงสตูล และจุดที่ 4 ซึ่งเกิดบริเวณฟิลิปปินส์และเวียดนาม ซึ่งอยู่ใกล้แถบภาคใต้ ฝั่งตะวันออกของไทย จะเกิดคลื่นที่ส่งผลกระทบต่อนราธิวาสไล่ขึ้นมาถึงก้นอ่าวไทย” นายสมิทธ ระบุ

    สำหรับการเกิด 'สตอร์ม เซิร์จ' หรือคลื่นพายุหมุน ในประเทศไทยนั้น ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยืนยันว่า ยังคงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ และจากสถิติที่ผ่านมาประเทศไทยก็เคยเกิดสตอร์ม เซิร์จ ครั้งใหญ่มาแล้วหลายครั้ง เช่น พายุหมุนที่แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2505 มีคนตายถึง 900 กว่าคน บ้านเรือนเสียหายอย่างหนัก , พายุเกย์ ซึ่ง เกิดที่ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เมื่อปี 2532 มีความเร็วลมจากศูนย์กลาง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีคนเสียชีวิตนับพันคน

    และล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.54 ได้เกิดสตอร์ม เซิร์จ ซึ่งเป็นคลื่นพายุหมุนที่มีความสูงถึง 5 เมตร ใน 4 จังหวัดของภาคใต้ ไดแก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร และประจวบฯ' ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนและร้านค้าจำนวนไม่น้อย

    “คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงปลายเดือน ธ.ค.2554 เป็น สตอร์ม เซิร์จ (storm surge) ที่เกิดขึ้นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดแรงเกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดคลื่นสูงเกิน 5 เมตร ซึ่งคลื่นพายุลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้อีกเพราะช่วงนี้ลมมรสุมมีกำลังแรง โดยพื้นที่เฝ้าระวังคือตั้งแต่ชุมพรไปถึงสุราษฎร์ธานี รวมทั้งจังหวัดปัตตานี ทั้งนี้จากสถิติพบว่าสตอร์ม เซิร์จ มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ในช่วงเดือน ก.ย-ธ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่พายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคใต้ และก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อาจจะเป็นปีหน้านี้ก็ได้

    ทั้งนี้ หากสตอร์ม เซิร์จ เกิดจากพายุที่มีความเร็ว30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น ก็จะอยู่ที่ประมาณ 3-4 เมตร แต่ถ้าเกิดจากพายุที่มีความเร็ว 40-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่นก็จะสูงถึง 5-10 เมตรเลยทีเดียว ซึ่งจะส่งผลให้บ้านเรือนและร้านค้าที่อยู่ตามแนวชายฝั่งได้รับความเสีย หายอย่างหนัก เนื่องจากลักษณะชายหาดของไทยมีความลาดเอียงมาก ความตั้งของชายหาดไม่มี ดังนั้นพอคลื่นมา ความแรงของคลื่นก็จะทำลายอาคารบ้านเรือนที่อยู่ริมหาดเสียหาย”

    ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญที่ทำให้ผลกระทบจากสึนามิและสตอร์ม เซิร์จ รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นก็คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีการแจ้งเตือนให้ประชาชนรับทราบก่อนเกิดเหตุ

    " อย่างสตอร์ม เซิร์จ เที่เกิดเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.54 ที่ผ่านมานั้น เท่าที่รู้กรมอุตุฯ เขาได้แจ้งเตือนแล้ว มีการแจ้งเหตุล่วงหน้าเป็นวัน แต่ทางศูนย์เตือนภัยไม่ยอมนำคำเตือนของกรมอุตุฯไปเผยแพร่ ประชาชนที่อยู่ชายฝั่งทะเลก็ไม่รู้ จึงไม่ได้เตรียมอพยพหรือขนย้ายสิ่งของ ทั้งที่ในสมัยที่ผมเป็น ผ.อ.ศูนย์เตือนภัยฯลงทุนทำระบบเตือนภัยไปตั้งหลายร้อยล้านบาท มีหอเตือนภัยในจังหวัดต่างๆเป็นร้อยแห่ง แต่สัญญาณเตือนภัยไม่ดัง คนในพื้นที่ก็ไม่รู้ว่าเกิดเหตุคลื่นสูงถึง 4-5 เมตร บ้านเรือนที่อยู่ชายทะเลพังหมด และแม้สตอร์ม เซิร์จ จะไม่ใช่สึนามิ แต่สามารถสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นได้ไม่แตกต่างกัน โดยสตอร์ม เซิร์จ ในไทยมักเกิดจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรง และเกิดขึ้นได้เมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น อีกทั้งขณะนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดสตอร์ม เซิร์จ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ริมชายฝั่งจึงต้องเฝ้าระวังมากขึ้น” ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวตบท้าย

    |</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody> </table>
     
  18. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,375
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,652
    2555 จับตาแผ่นดินไหว อย่ากระพริบตา 5 รอยเลื่อนมรณะ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td height="40"> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการรายวัน</td> <td class="date" align="left" valign="middle">31 ธันวาคม 2554 06:40 น.</td> <td align="left" valign="middle">

    Share63

    </td><td>
    </td></tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td align="left" height="12" valign="bottom">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#CCCCCC"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" bgcolor="#FFFFFF" valign="top"> <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="160"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="4" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="baseline">คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="1" valign="middle" width="165">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> <td background="/images/linedot_vert3.gif" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellspacing="7" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-เหตุ แผ่นดินไหวนั้น ถือเป็นภัยพิบัติหนึ่งที่คนไทยกำลังหวาดวิตกอย่างมากในขณะนี้ เนื่องจากกระแสเรื่อง 'คำทำนายของเด็กชายปลาบู่' ที่ทำนายว่า “ในช่วงเวลายามสองของคืนปีใหม่ พ.ศ.2555 นี้ จะเกิดเหตุการณ์เขื่อนที่จังหวัดตากพัง รวมทั้งการเกิดแผ่นดินไหวจนผู้คนล้มตายเป็นใบไม้ร่วง” ซึ่งกำลังดังกระฉ่อนไปทั่วโลกไซเบอร์ ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตากต้องออกมาประกาศจัดงานเคาท์ดาวน์ บริเวณสันเขื่อนภูมิพล ในคืนวันที่ 31 ธ.ค.2554 เพื่อสยบคำทำนาย

    ด้วยเหตุดังกล่าว คนส่วนใหญ่อยากรู้ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นใน ระยะเวลาอันใกล้นี้ ? และหากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริงผลกระทบที่ตามมาจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด ?

    ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทยนั้นมีจุดกำเนิดจากการที่แผ่นดิน ของประเทศอินเดียเคลื่อนตัวมาชนกับทวีปเอเชียเมื่อ 15 ล้านปีที่แล้วทำให้เกิดรอยเลื่อนใหญ่จำนวนมากในประเทศแถบเชียตะวันออกเฉียง ใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่นับว่าประเทศไทยโชคดีที่โดนแค่หางของแผ่นดินไหวเท่านั้น ทั้งนี้งานวิจัยรอยเลื่อนในไทย เมื่อปี 2546 ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บันทึกไว้ว่าทั่วประเทศมีรอยเลื่อนทั้งหมดถึง 121 รอย กระจายอยู่ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ แต่ส่วนใหญ่เป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีพลัง

    ขณะที่ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลัง ทั้งสิ้น 13 รอย ประกอบด้วย

    1.รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง ครอบคลุม จ.เชียงรายและเชียงใหม่
    2.รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอนและตาก
    3.รอยเลื่อนเมย ครอบคลุม จ.ตากและกำแพงเพชร
    4.รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม จ.เชียงใหม่ ลำพูนและเชียงราย
    5.รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุม จ.ลำปางและแพร่
    6.รอยเลื่อนพะเยา ครอบคลุม จ.ลำปาง เชียงรายและพะเยา
    7.รอยเลื่อนปัว ครอบคลุม จ.น่าน
    8.รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ครอบคลุม จ.อุตรดิตถ์
    9.รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และราชบุรี
    10.รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรีและอุทัยธานี
    11.รอยเลื่อนท่าแขก ครอบคลุม จ.หนองคายและนครพนม
    12.รอยเลื่อนระนอง ครอบคลุม จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนองและพังงา และ
    13.รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ครอบคลุม จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่

    นอกจากนั้นยังมี 'รอยเลื่อนองครักษ์' ในจังหวัดนครนายก ซึ่งล่าสุดจากการศึกษาของหลายหน่วยงานระบุตรงกันว่ารอยเลื่อนดังกล่าวมี โอกาสที่จะเคลื่อนตัวได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นคำยืนยันจาก 'รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ' หัวหน้าหน่วยวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง ชี้ว่ารอยเลื่อนองครักษ์เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง ขณะที่จากภาพถ่ายดาวเทียมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่ารอยเลื่อนองครักษ์นั้นมีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนแม่ปิง ที่พาดผ่าน จ.นครสวรรค์ มาทาง จ.กำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ โดยแนวดังกล่าวมีความยาว 50-100 กิโลเมตร และเมื่อ 600 ถึง 700 ปี ที่ผ่านมามีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่า บริเวณนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริกเตอร์มาแล้ว และมีความเป็นไปได้ในการอุบัติซ้ำ พร้อมทั้งได้เสนอให้กระทรวงทรัพยากรฯ ดำเนินการสำรวจและเพิ่มแนวรอยเลื่อนที่มีพลังของประเทศไทย จากเดิมที่มี 13 แห่ง เป็น 14 แห่ง

    ทั้งนี้ การจะระบุว่ารอยเลื่อนใดเป็น “รอยเลื่อนมีพลัง” (active fault) หรือไม่นั้น หน่วยสำรวจธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ให้นิยามว่า ต้องเป็นรอยเลื่อนที่จะทำให้แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในอนาคต และต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อย 1 ครั้งภายในระยะเวลา 1 หมื่นปี

    สำหรับลอยเลื่อนที่น่าจับตาเนื่องจากพบว่ามีสติการเคลื่อนตัวบ่อยครั้งกว่ารอยเลื่อนอื่น ได้แก่
    1.รอยเลื่อนแม่จัน ครอบคลุม จ.เชียงรายและเชียงใหม่ เคยเกิดแผ่นดินไหวในระดับ 5 ริกเตอร์
    2.รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และราชบุรี เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้กับเขื่อนเขาแหลม และเขื่อนศรีนครินทร์
    3.รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี ตาก และอุทัยธานี เป็นรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้กับเขื่อนภูมิพล เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง เคยเกิดแผ่นดินไหวที่มีความแรงถึง 5.9 ริกเตอร์ ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด และแรงสั่นสะเทือนส่งถึงกรุงเทพนอย่างชัดเจน
    4.รอยเลื่อนแม่ปิง เป็นจุดที่อยู่ใกล้กรุงเทพ
    5.รอยเลื่อนองครักษ์ เป็นรอยเลื่อนที่มีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริกเตอร์ในช่วง 700 ปีที่ผ่านมา และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอีก

    “ รอยเลื่อนที่นักธรณีวิทยาให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้มีอยู่ 4-5 รอย อย่างรอยเลื่อนเจดีย์ 3 องค์และรอยเลื่อนแม่ปิง เป็นที่จับตาเนื่องจากอยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ ส่วนรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ก็เป็นจุดที่ตั้งของเขื่อนพอดี ทำให้ผู้คนวิตกว่าถ้าเกิดแผ่นดินไหวจะทำให้เขื่อนแตกหรือเปล่า ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ ซึ่งเราก็ต้องช่วยกันคิดว่าหากรอยเลื่อนต่างๆขยับตัว เราจะอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นอย่างปลอดภัยได้อย่างไร จะรับมือยังไง เพราะต้องยอมรับว่าลอยเลื่อนจากแผ่นดินไหวนั้นก่อให้เกิดแขนงเละแนวเส้นที่ มีความเปราะบางขึ้นมากมาย ในพม่าก็ดี จีนก็ดี ลาวก็ดี เขามีแนวเส้นที่เปราะบางอันก่อให้กิดแผ่นดินไหวใหญ่ๆอยู่มากมาย แต่ไทยโชคดีที่มีแนวเส้นเปราะบางอยู่ไม่กี่เส้น” 'รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ' หัวหน้าหน่วยวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูล

    สำหรับรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้านที่น่าจับตา ได้แก่รอยเลื่อนสกาในประเทศพม่า ซึ่งส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในประเทศพม่าทุกๆ 40 ปี ส่งผลให้เมืองต่างๆที่ตั้งอยู่แถบลุ่มน้ำอิรวดี ไม่ว่าจะเป็น พระโค หงสาวดี หรือกรุงอังวะ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งแขนงของรอยเลื่อนสกาที่วิ่งมายังประเทศไทยนั้นมีอยู่ 2 แขนง คือรอยเลื่อนแม่ปิง และรอยเลื่อนเจดีย์ 3 องค์ ซึ่งเดินขนานกับรอยเลื่อนแม่ปิง โดยแขนงดังกล่าวพาดพ่านจากพม่าเข้ามาทางภาคตะวันตกของไทย ผ่านภาคกลาง แล้วเลยไปถึงกัมพูชา ออกไปยังทะเลจีน หากแต่ยังไม่ได้แผลงฤทธิ์อะไรมากมายนัก

    ทั้งนี้ มีข้อมูลที่น่าสนใจจากกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งระบุว่า ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานั้น มีการเกิดแผ่นดินไหวเฉพาะในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวนถึง 15,000 ครั้ง แต่ที่น่าสังเกตคือบริเวณที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดคือประเทศกัมพูชา เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวพบว่าประเทศกัมพูชาเป็นจุด ปลอดแผ่นดินไหว ขณะที่ประเทศที่มีแผ่นดินไหวมากที่สุดคือประเทศพม่า โดยรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงคือรอยเลื่อนสกา ซึ่งครั้งที่หนักมากนั้นมีความรุนแรงถึง 8 ริกเตอร์ เมืองหลวงเก่าอย่างกรุงย่างกุ้งนั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวถึง 7.3 ริกเตอร์ แม้จะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เนปิดอว์ก็ยังอยู่ในแนวรอยเลื่อนที่มีพลัง ส่วนแผ่นดินไหวในลาว ครั้งที่รุนแรงมากเกิดใกล้กับเมืองชัยบุรี ความแรง 6.5 ริกเตอร์

    ขณะที่แผ่นดินไหวในไทยซึ่งถือว่ารุนแรงมาก มีอยู่ 2 จุดด้วยกัน คือที่ อ.ท่าสองยาง ความแรง 5.6 ริกเตอร์ และที่ด่านเจดีย์สามองค์ ความแรง 5.9 ริกเตอร์ เมื่อปี 2526 ส่วนบริเวณที่ปลอดจากแผ่นดินไหวคือพื้นที่ภาคอีสานซึ่งไม่เคยปรากฏว่ามีแผ่น ดินไหวเกิดขึ้นเลย

    อย่างไรก็ดี การจะคาดการณ์ว่าเหตุแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร และเกิดจากรอยเลื่อนใดนั้นนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา รวมถึงนักวิชาการจากศูนย์เตือนภัยพิบัติ ต่างก็ยืนยันตรงกันว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถคำนวณเหตุแผ่นดินไหวล่วงหน้า ได้

    “ เรามีเพียงสถิติที่บอกว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวที่นั่นที่นี่ ขนาดกี่ริกเตอร์ แต่บอกไม่ได้ว่าอนาคตจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไร บริเวณไหน” ดร.สมิทธ ธรรมสาโรช อดีตประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุ

    อย่างไรก็ดี รศ.ดร.ปัญญา ยังให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผลกระทบอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวประการหนึ่งซึ่งน่าวิตกแต่ไม่ค่อยมีคนพูด ถึงคือกรณีที่ 'น้ำกระฉอกออกจากเขื่อน' อันเนื่องมาจากการ ที่แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวส่งผลให้เกิดรอยร้าวในเขื่อน ทำให้ดินภายในเขื่อนยุบตัว น้ำในเขื่อนจึงเกิดการเคลื่อนไหวและกระฉอกออกมา ซึ่งผลกระทบจากกรณีนี้ไม่รุนแรงมากนัก เพราะน้ำที่กระฉอกออกจากเขื่อนมีปริมาณไม่มาก ต่างจากกรณีเขื่อนแตก อีกทั้งยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ก็เป็นสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่บริเวณท้ายเขื่อนต้องระมัดระวัง

    ทั้งนี้ ไม่ว่าในปี 2555 จะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหรือไม่ หากเกิดจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่ดีที่สุดก็คือการตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิด ขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยสิ่งที่ควรดำเนินการเป็นอันดับแรกคือหน่วยงานภาครัฐต้องทำการสำรวจว่ามี บริเวณใดบ้างที่เป็นทางผ่านของรอยเลื่อน พื้นที่ใดที่มีสถิติการเกิดแผ่นดินไหว และจัดทำเป็นข้อมูลแจกจ่ายให้ประชาชนได้รับทราบ ขณะที่ประชาชนก็ต้องเตรียมพร้อม โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แนวรอยเลื่อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างบ้านเพื่อรองรับแรงสั่น สะเทือนจากแผ่นดินไหว การซักซ้อมการอพยพ สำรวจเส้นทางที่จะใช้อพยพกรณีที่เกิดแผ่นดินไหว เพื่อความไม่ประมาทหากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวขึ้น !!
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  19. Oo Rakdham

    Oo Rakdham สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ไม่ทราบว่า download ยังไงครับ รบกวนทีครับ ขอบคุณครับ
     
  20. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,375
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,652
    1. ไปที่ Keepvid.com

    2. ก๊อบปี้ URL Address (ของ Youtube) ไปวางที่ Enter Video URL ....(ของ Keepvid)

    3. กดปุ่ม Download (ที่ด้านขวา)

    4. หากมีหน้าต่าง JAVA ขึ้นมาให้กด RUN

    5. จะมีไฟล์ขึ้นมาหลายไฟล์ นามสกุล MP4 หรือ FLV ขึ้นมา...ให้คลิ๊กขวา...เลือก Save Link As...ตามต้องการ...ครับ


    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...