ปัญญานิเทศ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย JitJailove, 10 มกราคม 2012.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ปัญญานิเทศ : :

    ในวิสุทธิมรรค กล่าวถึงปัญญา 3 อย่าง คือ ปัญญาที่หนึ่งเป็นปัญญาที่มีมาพร้อมกับปฏิสนธิ ปัญญาที่สองเป็นวิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่สามเป็นปัญญาที่นำในการบริหารกิจกรรม
    ทุก ๆ อย่าง


    สำหรับปัญญาที่หนึ่งที่มีมาพร้อมกับปฏิสนธิ หมายถึง ปัญญาเจตสิกที่ประกอบมาพร้อมกับวิบากจิตไตรเหตุ<sup>*</sup> ที่ทำหน้าที่เกิด ผู้ที่เกิดมาด้วยจิตดวงนี้เรียกว่า ติเหตุกบุคคล หรือคนไตรเหตุ ส่วนวิปัสสนาปัญญาหมายถึงปัญญาที่สามารถละกิเลสอย่างละเอียดออกจากจิตได้ นับตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้นไป จนถึงโคตรภูญาณเป็นที่สุด สำหรับปัญญาที่สามชื่อว่าปาริหาริกปัญญานั้น พระธรรมปาละมหาเถระขยายความปัญญาชนิดนี้ไว้ในคัมภีร์มหาฎีกาว่า
    “ปัญญาที่ได้นามว่า ปาริหาริกา ก็เพราะประกอบแล้วในการนำไปโดยรอบคอบ ซึ่งพระกรรมฐานปัญญาใดที่กำหนดนำเอากิจทุกอย่าง มีการก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น ด้วยอำนาจของสัมปชัญญะมีสาตถกสัมปชัญญะ เป็นต้น ปัญญานั้นชื่อว่า สรรพกิจปาริหาริกาปัญญา”
    “อีกอย่างหนึ่ง การเริ่มต้นด้วยการเรียน การถาม และการเจริญ คือ วิธีใส่ใจในพระกรรมฐานนั้น ต้องมีปัญญาที่นำกิจทุกอย่างไปโดยรอบคอบ เช่น ความเป็นผู้มีปกติทำไปด้วยความเคารพ โดยติดต่อโดยความเป็นสัปปายะ ความเป็นคนฉลาดในนิมิต โดยความเป็นผู้ส่งใจในความสิ้นทุกข์ โดยไม่ย่อท้อเสียในระหว่าง โดยความเพียรให้ถึงความสม่ำเสมอกัน ประกอบความเพียรให้เสมอภาคกัน ปัญญาเช่นนี้ชื่อว่า สรรพกิจปริณายิกาปัญญา”

    ดังนั้น จะเห็นว่าคนทุกคนอาจจะสร้างนิสัยในการเจริญวิปัสสนาได้ แต่มิใช่ทุกคนที่สามารถเจริญวิปัสสนาจนได้ญาณปัญญา จะมีบุคคลเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถเจริญวิปัสสนาให้เกิดญาณปัญญาได้ บุคคลดังกล่าวได้แก่ ผู้ที่เกิดมาพร้อมด้วยไตรเหตุ นอกจากนี้ยังต้องเคยอบรมเคยศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนาจนได้เหตุผลมาก่อนแล้วเท่านั้น
    การสั่งสมปัญญา ความรู้ และความเข้าใจในเหตุผล เป็นงานต่อเนื่องที่อาจทำสำเร็จภายในภพชาติเดียว ความคิดที่ควรสร้างสรรค์ขึ้นในแต่ละภพชาติ คือ ความคิดที่ไม่ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ที่จะพ้นไปจากความทุกข์หรือความวนเวียนของการเกิด แก่ ตาย นั่นเอง

    หมวดปัญญานิเทศเป็นหมวดที่ขยายใจความสำคัญในปริจเฉทที่ 9 ของอภิธัมมัตถสังคหะให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้จำเป็นต้องเข้าใจสภาวธรรมพื้นฐานของปรมัตถธรรมทั้ง 4 ที่กล่าวไว้ในอภิธัมมัตถสังคหะตั้งแต่ปริจเฉทที่ 1 ถึงปริจเฉทที่ 8 มาก่อนด้วยเช่นกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงความรู้ก่อนการปฏิบัติ (แนบ มหานีรานนท์ 2529 : 9-13) อันเป็นเงื่อนไขสำคัญ ใช้ตรวจสอบการปฏิบัติว่าเป็นไปตามบรรทัดฐานหรือไม่ นอกจากนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของญาณ 16 และวิสุทธิ 7 ตามลำดับต่อไป

    4.2.3 ความรู้ก่อนการปฏิบัติ 6 ประการ

    1. เรื่องอารมณ์ อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ 6 คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจจ์ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 เมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ 6 ลงแล้วก็ได้แก่ รูปกับนาม รูปกับนามนี้เป็นตัวกรรมฐานที่จะนำไปใช้ในการพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษารูป-นามให้เข้าใจเสียก่อน แล้วจึงเริ่มปฏิบัติเพราะถ้าไม่เข้าใจแล้ว เมื่อรูปหรือนามอะไรปรากฏ ผู้ปฏิบัติก็จะกำหนดไม่ถูก

    2. เรื่องปัจจุบัน คำว่าปัจจุบัน มี 2 อย่าง คือ ปัจจุบันธรรม กับปัจจุบันอารมณ์ ปัจจุบันธรรม คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลายของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เช่น รูป เสียง กลิ่น รส ความร้อน-เย็น ความอ่อน-แข็ง กลางวัน-กลางคืน คลื่นแม่เหล็ก คลื่นไฟฟ้า ที่มีอยู่ในบรรยากาศทั่วทุกมุมของโลก ความรู้สึก รัก - เกลียด ดีใจ - เสียใจ เจ็บปวด - กลัวตาย การเกิด การตาย ที่มีอยู่ในความเป็นอยู่ของสัตว์ทุกชนิด เช่น ยุง มีอยู่ทั่วไปเป็นปัจจุบันธรรม แต่เมื่อใดที่ยุงมากัดเราทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ ยุงตัวนั้น และความรู้สึกเจ็บ จัดว่าเป็นปัจจุบันอารมณ์

    ดังนั้น ปัจจุบันอารมณ์จึงหมายถึง รูป-นามที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า และผู้ปฏิบัติรู้เท่าทันปัจจุบันธรรมที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้านั้นได้เป็นอารมณ์ได้ อารมณ์นั้นก็ชื่อว่าปัจจุบันอารมณ์ ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามให้ได้ปัจจุบันอารมณ์เสมอ เช่น เวลานั่งอยู่อาการท่าทางของร่างกายที่ตั้งอยู่อย่างนั้นเป็นปัจจุบันธรรมด้วย และผู้ปฏิบัติก็กำหนดดูในขณะที่รูปนั่งปรากฎอยู่เฉพาะหน้านั้น รูปนั่งนั้นก็เป็นปัจจุบันอารมณ์ด้วยดังนี้ เป็นต้น

    ประโยชน์ของปัจจุบันอารมณ์ คือ ทำลายอภิชฌา (ความยินดี) และโทมนัส (ความไม่ยินดี) การเจริญสติปัฏฐานนั้น จุดประสงค์สำคัญก็เพื่อทำลายอภิชฌาและโทมนัส เพียงแต่ความเพียรอย่างเดียว หรือสติอย่างเดียว หรือปัญญาอย่างเดียว ไม่สามารถทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือให้เกิดวิปัสสนาได้ เพราะเหตุว่าไม่มีปัจจุบันอารมณ์ ผู้ปฏิบัติจึงต้องอาศัยอารมณ์ด้วย เพราะอารมณ์ปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่การทำลายอภิชฌาและโทมนัส และเป็นปัจจัยให้เกิดวิปัสสนาปัญญา

    อารมณ์ปัจจุบันนั้นได้มาอย่างไร ก็ได้มาจากอินทรีย์สังวร เช่น สังวรในเวลาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อเวลาได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น ถ้ามีปัจจุบันอารมณ์แล้วอภิชฌาและโทมนัสจะเกิดขึ้นไม่ได้ขณะนั้น

    ผู้ที่มีความเข้าใจในอารมณ์ปัจจุบัน และเคยมีประสบการณ์ตรงในอารมณ์ปัจจุบัน แล้วจึงรู้ว่า กาลใด สถานที่ใดควรแก่การเจริญวิปัสสนา เพราะปัจจุบันธรรมนั้นมีอยู่ตลอดเวลา แต่กาละเทศะที่ควรแก่การจะถือเอาปัจจุบันธรรมมาเป็นอารมณ์ปัจจุบันได้นั้น อาจจะไม่เหมาะสมในบางเวลาและบางสถานที่
    ผู้ไม่เข้าใจก็อาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ เช่น ขณะฟังพระเทศน์ ไม่ใช่กาลที่ควรเจริญวิปัสสนา เพราะถ้ากำหนดการได้ยินว่าเป็นนามแล้ว ก็จะไม่รู้เรื่องที่เทศน์ และสถานที่ในการเจริญวิปัสสนาก็ควรพิจารณาว่าต้องเป็นสถานที่ที่ไม่เป็นปัจจัยแก่กิเลส พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญป่า โคนไม้ เรือนร้างว่างเปล่า เป็นต้น ว่าเป็นสถานที่อันสงัดและเงียบสงบ เหมาะแก่การทำความเพียรที่เกื้อกูลผู้ปฏิบัติให้เกิดวิปัสสนาปัญญาได้สะดวก

    3. เรื่องสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวของผู้ปฏิบัติในขณะที่กำหนดรูป-นาม ความรู้สึกตัวนี้มีหลักอยู่ว่า ในขณะนั้นผู้ปฏิบัติกำลังทำอะไร คือ มีตัวกรรมฐานกับตัวผู้เจริญกรรมฐานหรือเจริญวิปัสสนา ตัวกรรมฐาน ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 หรือรูปนามเป็นตัวถูกเพ่ง ส่วนผู้เพ่งหรือโยคาวจร ได้แก่ อาตาปี สัมปชาโน สติมา คือ มีตัวถูกเพ่ง กับตัวเพ่ง เท่านั้น
    ความรู้สึกตัวในการกำหนดรูปนาม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญวิปัสสนา โดยมากมักเป็นการนึกคิด แล้วเข้าใจว่าความคิดนึกนั้นเป็นความรู้สึกตัว ถ้าความรู้สึกตัวมีมากเพียงใด ก็ได้ปัจจุบันอารมณ์มากเพียงนั้น เป็นความสำคัญของวิปัสสนาว่า เวลากำหนดหรือเวลาดูรูป-นามนั้น จะต้องรู้สึกตัวอยู่ว่าดูรูปอะไร ดูนามอะไร ถ้าดูรูปไปเฉย ๆ หรือดูนามไปเฉย ๆ ก็ไม่เป็นการถูกต้อง เช่น
    ดูรูปนั่ง ต้องให้ได้ความรู้สึกตัวด้วยว่าดูรูปนั่ง บางทีดูรูปนั่งอยู่ แต่สักครู่เดียวสมาธิก็เข้าหรือไม่ก็คิดฟุ้นซ่าน พอสมาธิเข้าแล้วความรู้สึกตัวว่านั่งก็หมดไป เป็นต้น ก็ต้องกลับมาทำความรู้สึกตัวใหม่ ต้องมีความเพียรพยายามยกจิตให้เข้าสู่ในทางของวิปัสสนาเช่นนี้เสมอ ๆ เพื่อขจัดกิเลสความเข้าใจผิดว่าเรานั่งออกไป

    4. การกำหนดอารมณ์ ตามหลักปฏิบัติในสติปัฏฐานนั้น ให้กำหนดที่อารมณ์ปัจจุบัน เช่น การเห็นหรือการได้ยิน เป็นนามธรรมเกิดขึ้น จะต้องกำหนดว่าเป็นนาม คือ กำหนดที่นามเห็นหรือที่นามได้ยินนั้น ๆ หรือเวลานั่ง เวลานอน เป็นต้น ซึ่งเป็นรูปธรรมก็กำหนดรูปนั่งหรือรูปนอนนั้น ๆ กล่าวคือ ต้องมีนามอะไร รูปอะไร ร่วมไปในอารมณ์ปัจจุบันนั้นด้วยเสมอ โดยมากในการสอนวิปัสสนานั้นกล่าวถึงการสังเกตรูป-นามจริง แต่เวลาปฏิบัติไม่ได้นำรูปอะไร นามอะไร ที่จะต้องกำหนดในเวลานั้นไปใช้ด้วย และบางทีก็ไม่รู้ด้วยว่าจะต้องกำหนดอย่างไร และเวลาใด
    เวลาที่กำหนดขึ้น ปริยัติที่เรียนรู้มากับการปฏิบัติต้องเข้าไปด้วยกัน คือ ปริยัติกล่าวถึงการกำหนดอะไร กำหนดอย่างไร เมื่อเวลาปฏิบัติก็ต้องนำเอาปริยัติที่เรียนมาแล้วไปใช้ให้ถูกตำแหน่งในขณะที่กำหนดด้วย

    5. เหตุผลในการปฏิบัติ การเจริญวิปัสสนานั้น ผู้ปฏิบัติควรจะได้เหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติหรือกำหนดเช่นนั้น เช่น ขณะกำหนดอิริยาบถว่ารูปนั่ง เมื่อความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในขณะที่นั่ง ก็ไม่สามารถกำหนดอิริยาบถได้ เพราะความฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์ที่ชัดเจนกว่ารูปนั่งในขณะนั้น และเป็นนามธรรมก็กำหนดนามฟุ้ง
    การที่ให้พิจารณาความฟุ้งซ่านว่าเป็นนามฟุ้งซ่านนั้น เพื่อประโยชน์อะไร มีเหตุผลอย่างไรนั้น ความสำคัญอยู่ที่การใช้เหตุผล อยู่ที่ความเข้าใจ มิใช่อยู่ที่การกำหนด เหตุผลนั้นสำคัญมากที่จะตัดสินได้ว่าการปฏิบัตินั้นผิดหรือถูก มิใช่กำหนดความฟุ้งว่าเป็นนามฟุ้ง เพราะอาจารย์สั่ง แล้วทำตามไป หรือกำหนดเพื่อให้ฟุ้งหาย เช่นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูก

    6. ความสังเกต ความสังเกตมีความสำคัญในการเจริญวิปัสสนา เมื่อสังเกตจะรู้ว่าการกำหนดนั้นตกไปจากอารมณ์รูปนามหรือไม่ ถ้าไม่มีความสังเกตแล้ว เมื่อจิตตกจากอารมณ์ไปใส่ใจสมาธิ รูป-นามก็ตกไปด้วย จึงควรจะรู้ว่าเมื่อสมาธิเกินแล้ว ความรู้สึกตัวจะไม่อยู่ที่ปัจจุบัน คือ จิตจะนิ่งไปโดยไม่รู้ตัว สมาธินั้นทำให้จิตนิ่งและหยุดจากการกำหนด แต่ผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าตนเองยังดูรูปนั่งอยู่
    ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีความสังเกตในเวลานั้นว่าทำถูกต้องหรือไม่ เมื่อรู้ว่าไม่ถูกควรกลับมาทำความรู้สึกตัวให้ถูกในอารมณ์ปัจจุบันใหม่

    ความรู้ความเข้าใจในเรื่องอารมณ์ เรื่องความหมายของปัจจุบันอารมณ์และสติสัมปชัญญะ ตลอดจนวิธีการกำหนดอารมณ์และเหตุผลในการกำหนด ความเข้าใจทั้งหมดนี้รวมอยู่ในหัวข้อการสังเกตทั้งสิ้น หลักการสังเกต คือ การเฝ้าดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เกิดเพราะเหตุใด ในเวลาต่อมาสิ่งเหล่านั้นยังมีอยู่จริงหรือไม่ เปรียบเหมือนกับการดูละคร ตัวละครคือรูปและนาม แต่ละรูปแต่ละนามจะมีพฤติกรรมแสดงออกอย่างไร เพียงแต่ตั้งใจดูก็จะรู้ถึงความสัมพันธ์ของรูปและนามเหล่านั้น โดยผู้สังเกตหรือผู้ดูที่ดีจะไม่ไปจัดแจงหรือบงการตัวละครว่าต้องแสดงอย่างนั้น อย่าแสดงอย่างนี้หรือเข้าไปร่วมเล่นละครด้วย

    ในสังยุตตนิกาย อุปมาเกี่ยวกับการสังเกตไว้ว่า เปรียบเหมือนกับพ่อครัวปรุงอาหารถวายพระราชา พ่อครัวต้องคอยสังเกตหรือสำเหนียกในอาหารที่จะบำรุงพระราชานั้นว่า อาหารอย่างไร รสอย่างไร เป็นที่โปรดปรานของพระราชา หากทำถูกพระทัย พ่อครัวย่อมจะได้รับรางวัล เช่นเดียวกับวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติต้องมีความสังเกตว่า ตนทำถูกหรือไม่ ถ้าทำได้ถูกต้องตามเงื่อนไขย่อมได้รับรางวัลเป็นผล คือ วิปัสสนาปัญญา

    4.3 แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

    ญาณ 16

    ญาน 16 คือ ความรู้สึกด้วยปัญญาที่ได้มาจากการเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสติปัฏฐาน ระดับของปัญญาแบ่งเป็นลำดับขั้น ดังนี้ (วิสุทธิ อ. ภาค 3/205)
    1. นาม-รูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญารู้ว่านามและรูปเป็นคนละส่วน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
    2. ปัจจยปริคหญาณ คือ ปัญญารู้ปัจจัยที่ทำให้เกิดนาม-รูป
    3. สัมมสนญาณ คือ ปัญญารู้ความไม่เที่ยงของนาม-รูป
    4. อุทยัพพยญาณ คือ ปัญญารู้ความเกิดขึ้นและดับไปของนาม-รูป
    5. ภังคญาณ คือ ปัญญารู้ความดับไปของนาม-รูป
    6. ภยญาณ คือ ปัญญารู้ว่านาม-รูปเป็นภัยที่น่ากลัว
    7. อาทีนวญาณ คือ ปัญญารู้โทษของนาม-รูป
    8. นิพพิทาญาณ คือ ปัญญารู้สึกเบื่อหน่ายนาม-รูป
    9. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ปัญญารู้สึกอยากพ้นจากนาม-รูป
    10. ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญารู้ธรรมอันเป็นเครื่องพ้นจากนาม-รูป
    11. สังขารุเปกขาญาณ คือ ปัญญารู้การทำลายความยินดี ยินร้าย ในนาม-รูป แล้ววางเฉยได้
    12. อนุโลมญาณ คือ ปัญญารู้ธรรมที่จะอนุโลมให้เห็นอริยสัจจธรรมทั้ง 4
    13. โคตรภูญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกีย์
    14. มัคคญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกุตตระ
    15. ผลญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกุตตระ
    16. ปัจจเวกขณญาณ คือ ปัญญารู้มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลือ

    ดังได้กล่าวแล้วว่า วิปัสสนามีสติปัฏฐานเป็นเหตุ มีวิสุทธิคือความหมดจดเป็นผล นอกจากนั้นแล้ววิปัสสนาที่เกิดก่อน ๆ ก็เป็นเหตุของวิปัสสนาที่เกิดหลัง ๆ วิปัสสนาบางอย่างเป็นได้แต่เหตุอย่างเดียว บางอย่างเป็นได้แต่ผลอย่างเดียว
    สำหรับที่เป็นเหตุอย่างเดียวกัน ก็ได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ เพราะไม่มีวิปัสสนาญาณอื่นที่นอกเหนือไปจากตนจะเป็นเหตุให้ อาจจะมีปัญญาอื่นเป็นปัจจัยให้ได้ก็เฉพาะสุตมยปัญญาและจินตมยปัญญาเท่านั้น
    สำหรับโคตรภูญาณก็เป็นได้เฉพาะผลของอนุโลมญาณเพียงญาณเดียวเท่านั้น ตนเองไม่อาจเป็นเหตุของวิปัสสนาอื่นอีก เพราะหลังจากตนไม่มีวิปัสสนาญาณอื่นเกิดได้อีกแล้ว เมื่อตนดับลงก็เกิดมรรคญาณ คือ พระโสดาปัตติมรรค ซึ่งเป็นโลกุตตรมรรค และโลกุตตรมรรคนั้นไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
    ส่วนวิปัสสนาในระหว่างคือตั้งแต่ปัจจยปริคหญาณเป็นต้นไป จนถึง อนุโลมญาณ เป็นได้ทั้งเหตุและผล
    (พระมหาแสวง โชติปาโล ; 2536 : 73)


    จาก เวป
     
  2. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    852
    ค่าพลัง:
    +63
    อนุโมทนานะครับ

    สำคัญมาก ต้องมีความเข้าใจเรื่องรูปนาม รู้จักลักษณะต่างๆของรูปนาม ในภูมิวิปัสสนา

    กระทู้เขาดีจริงๆ ชอบมากๆ
     
  3. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    852
    ค่าพลัง:
    +63
    พูดเหมือนไปตจว ไปทำอะไรเป็นเรื่องเป็นราว

    อย่าให้รู้นะว่าไปรดน้ำต้นไม้ ^^
     
  4. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    พูดถึงญาณ ๑๖ ตรงนี้ถ้าจะเทียบเคียงกันดูน่าจะได้

    [​IMG]
    1. นาม-รูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญารู้ว่านามและรูปเป็นคนละส่วน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
    2. ปัจจยปริคหญาณ คือ ปัญญารู้ปัจจัยที่ทำให้เกิดนาม-รูป
    3. สัมมสนญาณ คือ ปัญญารู้ความไม่เที่ยงของนาม-รูป
    4. อุทยัพพยญาณ คือ ปัญญารู้ความเกิดขึ้นและดับไปของนาม-รูป
    5. ภังคญาณ คือ ปัญญารู้ความดับไปของนาม-รูป
    6. ภยญาณ คือ ปัญญารู้ว่านาม-รูปเป็นภัยที่น่ากลัว
    7. อาทีนวญาณ คือ ปัญญารู้โทษของนาม-รูป
    8. นิพพิทาญาณ คือ ปัญญารู้สึกเบื่อหน่ายนาม-รูป
    9. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ปัญญารู้สึกอยากพ้นจากนาม-รูป
    10. ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญารู้ธรรมอันเป็นเครื่องพ้นจากนาม-รูป
    11. สังขารุเปกขาญาณ คือ ปัญญารู้การทำลายความยินดี ยินร้าย ในนาม-รูป แล้ววางเฉยได้
    12. อนุโลมญาณ คือ ปัญญารู้ธรรมที่จะอนุโลมให้เห็นอริยสัจจธรรมทั้ง 4
    13. โคตรภูญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกีย์
    14. มัคคญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกุตตระ
    15. ผลญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกุตตระ
    16. ปัจจเวกขณญาณ คือ ปัญญารู้มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2012
  5. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    กราบอนุโมทนาค่ะ อาแปะ และเพื่อนๆ ทุกท่านค่ะ

    นั่งรถไปปากซอยบ้านกั๊บบบบ...
     
  6. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    <table id="AutoNumber18" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="65%"><tbody><tr><td width="27%">
    การได้เกิดเป็นมนุษย์
    เป็นผลของกุศล
    </td> <td width="38%"> [​IMG]</td> <td width="15%">
    [​IMG]
    </td> <td width="20%">
    ความตายเป็น
    ผลของอกุศล
    ตัดรอนให้ชีวิตล่วงไป
    </td></tr></tbody></table>
     
  7. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    อเหตุกจิต 18
    <center> <table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber13" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td width="43%"> [​IMG]</td> <td width="57%">
    วิบากจิตในกลุ่มอเหตุกจิต 18 ที่สำคัญ คือ
    ทวิปัญจวิญญาณ 10 ดวง แบ่งเป็น
    จักขุวิญญาณจิต 2 (แถวบน 1 ดวง แถวล่าง 1 ดวง)
    โสตวิญญาณจิต 2
    ฆานวิญญาณจิต 2

    ชิวหาวิญญาณจิต 2
    กายวิญญาณจิต 2
    </td> </tr> </tbody></table> </center> ​

    เหตุที่มีอย่างละ 2 เช่นจักขุวิญญาณจิต ก็เพราะว่าสิ่งที่เห็นนั้นอาจเป็นผลของกุศล เช่น โบสถ์ วิหาร สิ่งของสวยงาม บุคคลที่เรารัก สิ่งเหล่านี้เมื่อเห็นแล้วเกิดความพอใจ จักขุวิญญาณที่ทำหน้าที่เห็นนั้นจัดเป็นวิบากจิต ที่เป็นผลจากกุศล
    <center> <table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber18" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="65%"> <tbody><tr> <td width="27%">
    การได้เกิดเป็นมนุษย์
    เป็นผลของกุศล
    </td> <td width="38%"> [​IMG]</td> <td width="15%">
    [​IMG]
    </td> <td width="20%">
    ความตายเป็น
    ผลของอกุศล
    ตัดรอนให้ชีวิตล่วงไป
    </td> </tr> </tbody></table> </center> ​
    แต่บางครั้งสิ่งที่เห็นหรือได้ยินไม่ทำให้เกิดความพอใจสบายใจ มีความเศร้าหมอง เร่าร้อน จัดเป็นผลของอกุศล เช่น เห็นสุนัขตายข้างถนน ไฟไหม้ น้ำท่วมทรัพย์สินเสียหาย หรือได้ยินเสียงทะเลาะวิวาทเป็นต้น เป็นการเห็นในสิ่งที่ไม่น่าพอใจ
    จิตที่ทำหน้าที่เห็นหรือได้ยิน ก็จะเป็นจักขุวิญญาณกุศลวิบาก หรือโสตวิญญาณอกุศลวิบาก เมื่ออารมณ์ต่างกันจิตที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์จึงไม่ใช่จิตดวงเดียวกัน ต้องเป็นจิตคนละดวง
    สัมปฏิจฉนะจิต 2 ( สํ ) ที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ
    สันตีรณจิต 3 ( ณ )
    ที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉนะ

    จิตก็ทำนองเดียวกัน คือ เมื่ออารมณ์กุศลมากระทบ ปัญจวิญญาณฝ่ายกุศลจะทำหน้าที่รู้อารมณ์กุศลนั้น สัมปฏิจฉนะจิตฝ่ายกุศลจะรับอารมณ์ที่เป็นกุศลนั้น สันตีรณจิตฝ่ายกุศลก็จะพิจารณาเฉพาะอารมณ์กุศล จิตที่รับและพิจารณาอารมณ์ต้องเป็นฝ่ายเดียวกัน สัมปฏิจฉนะจิตฝ่ายกุศลจะไปรับอารมณ์ฝ่ายอกุศลไม่ได้
    ในแต่ละวันไม่มีใครสามารถเลือกรับแต่อารมณ์ที่ดีอย่างเดียว ปฏิเสธอารมณ์ที่ไม่ดีว่าอย่าเกิดขึ้นกับตนเลย เป็นต้น เมื่อรับกระทบอารมณ์แล้ว จิตแต่ละดวงก็จะทำหน้าที่ของตน ผ่านทาง วิถีจิต
    <center> <table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber17" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="81%"> <tbody><tr> <td width="26%">
    [​IMG]
    </td> <td width="74%">
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table> </center> ​
    การเรียนรู้กฎเกณฑ์แห่งวิบากจิตนี้ เพื่อการยอมรับข้อจำกัดบางอย่างของจิตและอารมณ์ว่า ไม่สามารถเป็นไปตามความต้องการได้เสมอไป ความต้องการของมนุษย์มีอยู่ไม่จำกัด แต่โอกาสเป็นไปได้สมความปรารถนามีไม่ถึง 5%

    เมื่อเราเลือกรับวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจไม่ได้ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงมุ่งสังเกตการกระทบกันของจิตและอารมณ์ทางปัญจวิญญาณ โดยมีสติคอยระวังไม่ให้อภิชฌาหรือโทมนัสเข้ามีส่วนในการตีความ กลไกของจิตและอารมณ์ยังคงทำงานของตนอย่างสม่ำเสมอ แต่ความดิ้นรน เร่าร้อนใจจะได้รับการพิจารณาใหม่ด้วยสติ และเป็นที่มาของความยับยั้งชั่งใจแทน
    [​IMG]
    จิตทั้ง 89 หรือ 121 ดวง จะมีหน้าที่ ของตนเอง หน้าที่ของจิตมี 14 อย่าง เรียกว่า
    กิจ 14 (บุญมี เมธรางกูร และ วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี 2530 : 25-28) บางดวงทำหน้าที่ได้อย่างเดียว บางดวงทำหน้าที่ได้หลายอย่าง จิตจึงเกิดขึ้นอย่างมีความหมายเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อหมดหน้าที่จิตนั้นก็ดับลง และส่งอำนาจให้จิตดวงต่อไปทำหน้าที่ต่อจากตน ในวิถีจิต เช่น โสตวิญญาณ เกิดขึ้นทำหน้าที่ได้ยินเสียง หมดหน้าที่แล้วดับลง การดับลงของโสตวิญญาณเป็นปัจจัยให้จิตอีกดวง คือ สัมปฏิจฉนจิตเกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสียงนั้นต่อไป เป็นต้น

    <center> <table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber15" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr> <td width="22%">
    [​IMG]
    </td> <td width="78%">
    วิถีทางดำเนินของจิตชนิดต่าง ๆ
    ที่ทำหน้าที่ได้ยินเสียง พิจารณาเสียง ตีความ และให้ความหมายต่อเสียงนั้น เป็นจิตคนละดวงที่เกิดขึ้นตามลำดับไม่ก้าวก่ายกัน กล่าวคือ
    โสตวิญญาณจะไปทำหน้าที่เห็นเสียง หรือพิจารณา หรือตีความ แทนจิตดวงอื่นก็ไม่ได้ เป็นต้น
    </td> </tr> </tbody></table> </center> ​
    แนวคิดเรื่องจิตที่มากไปด้วยจำนวน มากไปด้วยกิจ และมากไปด้วยอารมณ์นี้ แสดงถึงความไม่เที่ยงของจิตว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งต้องรู้อารมณ์ (รูป เสียง ...) อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เมื่ออารมณ์นั้นดับไป จิตที่รู้จำเป็นต้องดับลงด้วย ​
    การดับไปนั้นมีผลให้เกิดจิตดวงใหม่ เพื่อรู้อารมณ์ใหม่ อารมณ์เป็นธรรมชาติที่ไหลเรื่อยไปไม่หยุดนิ่ง ผันแปรไปตามทวารต่าง ๆ (ตา หู ...) จึงต้องมีจิตที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน เพื่อรับอารมณ์ที่หลากหลายนั้น ในขณะที่รูปเกิดขึ้นเพราะสมุฏฐานของ กรรม จิต อุตุ อาหาร จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสภาวธรรม (สมุฏฐาน) 3 อย่าง คือ ​
    1. อดีตกรรม 2. วัตถุรูป (อายตนะภายในและภายนอก) 3. อารมณ์
    <center> <table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber16" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"> <tbody><tr> <td width="24%">
    [​IMG]
    </td> <td width="76%">
    หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จิตก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้​
    </td> </tr> </tbody></table> </center> ​
    กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีผู้ใดลิขิตขึ้น พระพุทธองค์เองก็มิได้เสกสรรขึ้นมาเอง แต่เป็นผลจากพระสัพพัญญุตาญาณของพระพุทธองค์ ที่ทรงหยั่งรู้เข้าไปถึงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว และนำมาเปิดเผย ถึงเหตุที่ทำให้ธรรมชาติใด ๆ เกิดขึ้น พร้อมกับตอบคำถามว่า เหตุใดธรรมชาติเหล่านั้นจึงตั้งอยู่ไม่ได้​
    เท่าที่กล่าวมาในแง่ของเครื่องหมาย ตำแหน่ง การแบ่งประเภท และหน้าที่ เป็นเพียงตัวอย่างพอสังเขปในการศึกษาตัวจิตโดยตรง จิตในกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือก็มีแนวคิดคล้ายกับที่กล่าวมาแล้ว และยังมีแง่มุมที่ลึกละเอียดอีกมากมาย เช่น การแบ่งประเภท โดยการประกอบ (สัมปโยค) โดยสังขาร โดยโสภณ ฯลฯ แต่ของดกล่าวในที่นี้​
    โดยสรุปแล้ว การที่จิตมีจำนวนมากถึง 89 หรือ 121 ดวง แต่ละดวงมีลักษณะประจำตัวตามภูมิของตน มีเงื่อนไขของการเข้าประกอบ มีเงื่อนไขของการรับอารมณ์ และมีหน้าที่เฉพาะของตน
    [​IMG] สิ่งเหล่านี้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ สภาวธรรมของจิตว่า จิตไม่ได้เกิดขึ้นเอง หรือล่องลอยไปมา หรือผุดขึ้นโดยไม่มีจุดหมาย แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัจจัยรองรับ ปัจจัยนั้นได้แก่ อารมณ์ทั้ง 6 เป็นต้น จิตไม่เคยว่างจากอารมณ์ แต่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกทางความคิดและพฤติกรรมทุกอย่าง สามารถฝึกฝนอบรมจิต ให้สันทัดขึ้นได้ทั้งในทางดีและทางชั่ว
    ในทางดีสามารถพัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตได้ ส่วนความสันทัดในทางชั่ว เป็นการวนเวียนอยู่เฉพาะในกลุ่มอกุศล ทั้ง 12 ดวง เนื่องจากจิตบางกลุ่มเป็นธรรมชาติที่พัฒนาได้ พระพุทธองค์จึงเสนอวิธีการทางวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการฝึกฝนและพัฒนาดังกล่าว
    [​IMG]
     
  8. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]ไม่ต้องคิดมาก ยังๆเสียก็ต้องเป็นไปตามกฎเกณท์ ของธรรมนิยาม[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2012
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ว่าต่อไปอีกกำลังฟัง อ่านอยู่ครับ
     
  10. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    [​IMG]
    555 ไม่คิดมาก คิดเยอะได้มั้ยค่ะ อาแปะ
    หายไป 3 วันค่ะอาแปะ รู้ๆ อยู่ว่าหนูหายไปไหนนะคะอาแปะ

    อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ ทุกท่าน
    ตามนี้เลยค่ะ ขุนทิพย์

    .............................................................

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <dl>
    <dt> ถาม - ตอบ วิปัสสนา</dt> ​
    </dl> ​
    [/FONT][FONT=ms Sans Serif,] [/FONT] [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd>ถาม ในการทำวิปัสสนาที่บอกว่าเราจะต้องมีศีล สมาธิ และภาวนานั้น จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีศีลเป็นกำลังที่จะส่งให้เราปฏิบัติได้ถูกต้อง และศีลอะไรที่เรา(ฆราวาส)ควรจะต้องมี

    </dd> <dd>ตอบ หนทางแห่งความพ้นทุกข์นั้นประกอบไปด้วยศีล สมาธิ และปัญญา สามองค์นี้ทำงานร่วมกันได้ แต่ถ้าตั้งคำถามว่า จำเป็นจะต้องอาศัยศีลเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานหรือไม่? ต้องตอบว่า จำเป็น เช่นศีล ๕

    </dd> <dd>คนไม่มีศีลหรือไปทำผิดกฎหมายไปฆ่าคนมา เวลาปฏิบัติจิตใจจะสงบหรือไม่? ไม่สงบ ต้องคอยหวาดระแวง เช่น พอมีคนเดินมาสอบอารมณ์หรือเจ้าหน้าที่มาส่งปิ่นโต ก็สะดุ้งว่า ตำรวจมาหรือเปล่า ? ฉะนั้น ศีลจึงต้องมีเป็นพื้นฐานอย่างแน่นอน

    </dd> <dd>สมาธิ.. ความตั้งมั่นของจิต เป็นความตั้งมั่นในงาน เช่น ให้กำหนดการเดิน ถ้าหากไม่มีความตั้งมั่นแล้วพอยกเท้าขึ้นมาอาจลืมจังหวะของการวางลงไปก็ได้ และก็อาจเตะถูกอะไรไป จึงต้องมีความตั้งมั่น และวิปัสสนาก็อาศัยสมาธินี้แต่อาศัยเพียงขณิกสมาธิเท่านั้น

    </dd> <dd>ส่วนปัญญานั้นก็ต้องด้วยอย่างแน่นอน แต่ที่ตั้งคำถามมานั้นได้ถามเพียงแค่ศีล ก็ขอตอบว่า ควรจะมีศีล โดยเฉพาะศีล ๕ เป็นพื้นฐาน และเมื่อไปที่สำนักปฏิบัติอ้อมน้อยนั้น เขาก็จะให้อาราธนาศีลสำหรับการปฏิบัติโดยเฉพาะโดยเว้นจากการกระทำที่ไม่จำเป็น คืออาชีวปาริสุทธิศีล อินทรียสังวรศีลที่จะเกิดขึ้นได้ต่อไป

    </dd> <dd>ศีล ๕ จึงเป็นพื้นฐานที่ควรจะมีประจำชีวิต ไม่ใช่มีเฉพาะแต่ตอนที่ปฏิบัติ เพราะการละเมิดศีล เช่นการฆ่าสัตว์นั้น ถ้าหากเราได้ฆ่าสัตว์ให้ตายลง เช่น ตบยุงตายภายในพริบตาใช้เวลาแค่นิดเดียวเท่านี้ แต่ทำให้เราต้องได้รับผลอันสาหัสในการเกิดหรือภายหลังการเกิดในชาติหน้าและชาติต่อๆ ไป ถึง ๙ ประการ คือ เป็นคนทุพพลภาพ รูปไม่งาม กำลังกายอ่อนแอ กำลังกายเฉื่อยชา กำลังปัญญาไม่ว่องไว เป็นคนขลาดหวาดกลัวง่าย ฆ่าตนเองหรือถูกฆ่า โรคภัยเบียดเบียน ความพินาศของบริวาร อายุสั้น

    </dd> <dd>คุ้มหรือไม่ที่เราจะทำลงไป การที่ได้รับผลเช่นนี้ก็เพราะก่อนที่สัตว์จะตาย ร่างกายของเขาถูกตีจนบิดเบี้ยว อกุศลจึงสร้างกรรมชรูปอันเป็นวิบากให้บิดเบี้ยวไป หรือสัตว์ที่กำลังจะตายนั้นรูปงามหรือไม่? ไม่งาม เจตนาที่เราฆ่าเขาไปทำให้เขาพิกลพิการแล้วตายไปจึงทำให้เราได้รับผลนั้นตามเจตนา หรือขณะที่สัตว์กำลังจะตายนั้นกำลังกายก็ลดน้อยลง เราจึงได้ผลมาเป็นคนที่กำลังกายอ่อนแอ อย่างนี้เป็นต้น จึงควรมีชีวิตที่เป็นปกติคือมีศีลจึงจะดีที่สุด
    </dd>
    <dt>TOP</dt> ​
    [/FONT] <center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table2" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF1D7"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd> ส่วนในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นถามว่ามีศีลหรือไม่? ตอบว่า มี

    </dd> <dd>เช่น ในขณะกำหนดรูปนั่ง คือ ทำความรู้สึกตัวในอาการนั่ง ในขณะนั้นเป็นชีวิตที่ปลอดภัยและปลอดเวร คือปลอดภัยจากวัฏฏะ และปลอดเวรกรรมคือมีศีล เพราะในการกำหนดรูปนั่งนั้นไม่มีการฆ่า ไม่มีการลักทรัพย์ ไม่มีการประพฤติผิดในกาม ไม่มีการพูดปด ไม่มีการพูดปด ไม่มีการพูดส่อเสียด ไม่มีการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีพยาบาท ไม่มีอภิชฌา และไม่มีมิจฉาทิฏฐิ
    </dd> <dd>ผู้ที่กำหนดรูปนั่งอยู่นั้นจึงเป็นผู้ที่มีศีล เพราะอกุศลกรรมบถ ๑๐ ไม่ได้เกิดขึ้นในขณะนั้นเลย
    </dd> <dd> ผู้ที่กำหนดรูปนั่งอยู่นั้นต้องมีสมาธิหรือไม่? ตอบว่า มี คือ ขณิกสมาธิ
    </dd> <dd>และที่กำหนดรู้ว่าเป็นรูป รู้ว่าที่นั่งนั้นไม่ใช่ "เรานั่ง" ก็คือ ปัญญา
    </dd>
    <dd> ในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงมีไตรสิกขาครบทั้งสามประการเลย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
    </dd> ​
    [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </center><center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table3" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF1D7"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd>ถาม เวลาที่ปฏิบัติกำหนดรูปนั่งอยู่นั้น สายตาที่มองไปแต่ไม่ได้จ้องมากแต่ก็เป็นเรื่องราวคือเห็นลายพรม เห็นลายเก้าอี้ตลอดเวลาเลย แม้ว่าเราไม่ได้ตั้งใจมองแต่มันปรากฏขึ้นมา จะกำหนดอย่างไรจึงจะถูกต้องคะ?

    </dd> <dd>ตอบ การกำหนดใหม่ๆก็จะเป็นแบบนี้ เพราะฟันเฟืองในการทำงานของสติปัญญายังไม่เข้าล๊อค การกำหนดรู้จึงยังไม่ไหลลื่น จึงเป็นเรื่องที่ธรรมดามากสำหรับผู้ที่ปฏิบัติใหม่ เช่น เวลาที่กำหนดรูปเดินก็จะเห็นโน่นเห็นนี่เพราะเราเพิ่งเว้นจากงานทางโลกมาทำงานเดียวคืองานคอยสังเกต

    </dd> <dd>เมื่อจิตมีงานคอยสังเกตปุ๊บ ความเป็น"นักปฏิบัติ" ก็จะเข้ามาทำหน้าที่ทันที คือ "ความช่างสังเกต"ซึ่งในข้อกำหนดนั้นท่านให้คอยระวังและคอยสังเกต คือคอยระวังอย่าให้เผลอไปจากนามรูป และต้องคอยสังเกตว่าในขณะนั้นมีรูปหรือมีนามเกิด

    </dd> <dd>การคอยสังเกตนี้ ท่านให้คอยสังเกตว่ามีรูปหรือมีนามเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ความช่างสังเกตของผู้ปฏิบัติใหม่ๆ จะทำให้เห็นหมดในสิ่งเหล่านั้น ทั้งที่ชีวิตปกติก็ไม่ใช่คนที่ช่างสังเกตถี่ถ้วนขนาดนั้น เพราะเวลามาเรียนในห้องนี้ก็ไม่เคยเห็นว่า ผืนพรมมีรอยด่างจากน้ำกาแฟที่หกรด และก็เดินผ่านกันไปมา บางทีมีของตกอยู่เราก็ยังไม่เห็นเลย แต่พอเข้าไปเป็น "นักปฏิบัติ" ก็จะเห็นอะไรขวางหูขวางตาไปหมด

    </dd> <dd> ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเราตั้งใจสังเกตแรงเกินไป เราไม่รู้ถึงความอ่อนแก่หย่อนตึงของอินทรีย์จึงยังปรับน้ำหนักของสติกับปัญญาไม่ได้ วิธีแก้ไขง่ายๆ ก็คือ "อย่าไปใส่ใจ " แต่เมื่อใดที่ฟันเฟืองของสติปัญญานั้นเข้าล๊อคกันแล้วปัญหาเหล่านี้ก็จะหมดไป

    </dd> <dd>ในขณะที่กำหนดรูปนั่งอยู่นั้น ..ทำความรู้สึกตัว รูปนั่ง อยู่ในฐานของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงต้องทำความพิจารณาในอาการ และต้องคอยสังเกตใจว่า รู้สึกอย่างไร โดยไม่ต้องหลับตา เพราะที่ไปเห็นลายพรมลายเก้าอี้นั้นก็เพราะความใส่ใจของเราไปดูตรง "เห็น"แล้ว ซึ่งทิ้งการกำหนดรูปไป เมื่อรู้ว่าจิตของเรามุ่งไปทางนั้นก็ต้องรู้ว่า นั่นไม่ใช่เป้าหมายที่ควรไปรู้ เพราะละเลยการกำหนดรูปเป็นฐานไปแล้ว เราต้องดู รูปนั่ง แต่เมื่อพลาดไปสนใจเข้าแล้วก็ไม่เป็นไร มันพลาดไปแล้วก็ช่างมัน เริ่มต้นใหม่

    </dd> <dd>แต่ถ้าเรารู้จริตของเราว่า เป็นคนชอบมอง ชอบสังเกต เราก็ต้องแก้ไขโดยการปรับระดับสายตาลงโดยก้มต่ำลงมา และเมื่อทำอย่างนี้บ่อยๆ อีกหน่อยก็จะไม่ใส่ใจไปเอง เวลาที่เราปล่อยใจไปรู้ในสิ่งเหล่านั้นก็ต้องหัดรู้สึกตัวกลับมาที่ฐานที่ตั้งให้ได้
    </dd>
    <dt>[FONT=ms Sans Serif,] TOP[/FONT]</dt> ​
    [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </center><center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table4" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF1D7"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd>ทำไมเราจึงต้องปฏิบัติ?
    </dd> <dd>ก็เพื่อให้วัฏฏะของเราหยุด
    </dd> <dd>เพราะชีวิตของเราทุกคนมีโลภะ โทสะ โมหะเป็นมูล และโมหะที่มีอยู่เป็นมูลนั้นเป็นเหตุใหญ่ที่ปกคลุมไม่ให้เรามองเห็นความจริงทำให้เรามีโลภะและโทสะเกิดขึ้นเนืองๆ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้นอกจากทำลายความเห็นผิดแล้วยังมุ่งหมายไปทำลายอภิชฌาและโทมนัส จึงต้องมีความสำรวมใจไปเลยตั้งแต่แรก ไม่ใช่พอนั่งลงไปปุ๊บจึงตั้งใจว่า เราจะทำลายอภิชฌา เราจะทำลายโทมนัส .. อย่างนี้เป็นการทำที่ไม่ถูก เพราะไม่ใช่เป็นการบอกตนเองให้รู้ในขณะนั้น แต่ต้องรู้กันตั้งแต่ตอนนี้เลย คือรู้เดี๋ยวนี้ แต่วันที่เข้าอ้อมน้อยไม่ต้องไปรู้..แต่ไปทำ

    </dd> <dd>เหมือนกับการที่เรารู้ กอ.ไก่ โดยตอนแรกก็หัดเขียนไปก่อน แล้วก็ท่องในใจว่า กอ.ไก่ แต่พอมาถึงวันนี้บอกให้เขียน กอ.ไก่ แต่ละคนก็เขียนได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกในใจว่า กอ.ไก่เลย แต่เราเขียนเลยเพราะว่ามีความสันทัดแล้ว เช่นเดียวกันกับการปฏิบัติวิปัสสนาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายอภิชฌา(ความพอใจ) และโทมนัส(ความไม่พอใจ) พอใจคือโลภะ ไม่พอใจคือโทสะ ซึ่งมีอยู่ในชีวิตของเรา

    </dd> <dd>ความพอใจและไม่พอใจนี้มีอยู่ทุกวัน ที่เราเรียนกันอยู่นี้ก็มีเรื่องของพอใจกับไม่พอใจ เวลาที่ฟังแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องถามว่าพอใจตนเองหรือไม่? ไม่พอใจ ตอนที่ตอบคำถามได้ดีใจหรือเปล่าคะ? ดีใจ แต่ถ้าไม่ไม่ได้จะเป็นอย่างไร? รู้สึกไม่สบายใจเลย ..เห็นหรือไม่ว่า เรามีความพอใจและไม่พอใจอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งกำลังเรียนพระอภิธรรมอยู่ก็ตาม ฉะนั้น มีแต่การปฏิบัติวิปัสสนาที่เป็นการทำลายอภิชฌาและโทมนัส และการที่เราหยุดความพอใจหรือความไม่พอใจได้ก็เท่ากับหยุดวัฏฏะ

    </dd> <dd> เพราะเมื่อเรากำหนดวิปัสสนาโดยสามารถกำหนดได้ถูกต้อง เช่น ในการได้ยิน การได้ยินเป็นวิบากจิต สิ่งที่มาให้ได้ยินก็เป็นวิบากที่มีทั้งดีและไม่ดี อันเป็นผลมาจากกุศลและอกุศลที่เราเลือกไม่ได้ เมื่อมีเสียงมากระทบหรือมีคนมาพูดชมเราว่า หล่อจัง สวยจัง เราก็เกิดความพอใจขึ้นง่ายๆ หรือเวลาที่ได้ยินเสียงพลงที่เราชอบพอเสียงนั้นมาให้ได้ยินปุ๊บก็มีความพอใจเกิดขึ้นมาทันที หรือในเพลงที่ไม่ชอบก็เหมือนกันความไม่พอใจก็จะเกิดขึ้นมาทันทีด้วยความรวดเร็วเหลือเกิน

    </dd> <dd>พอใจ...ก็เป็นกิเลส ไม่พอใจ...ก็เป็นกิเลส ฉะนั้น เมื่อมีกิเลสแล้ว วัฏฏะก็หมุนสืบเนื่องต่อไป แต่วิปัสสนาเป็นการไปทำลายความเห็นผิด เพราะเมื่อความเห็นผิดหมดลง ความพอใจและไม่พอใจก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น เวลาได้ยิน ให้กำหนดนามได้ยิน เพื่อให้ความรู้ว่า"นามได้ยิน"นี้ไปสกัดกั้นความพอใจหรือไม่พอใจที่จะเกิดติดตามมาด้วยความรวดเร็วนั้นได้ คำว่า "นามได้ยิน"นี้เป็นตัวที่มาชะลอหรือตัวเบรคอภิชฌาและโทมนัส แรกๆที่กำหนดนั้นเราต้องหมั่นระลึกเพื่อให้คำว่า รูป-นามที่กำหนดมาเป็นตัวเบรค

    </dd> <dd>คำว่า นามเห็น นามได้ยิน รูปกลิ่น รูปรส เมื่อหมั่นระลึกในคำเหล่านี้ สติสัมปชัญญะก็จะไปสกัดกั้นอภิชฌาและโทมนัส เพราะเมื่อเกิดความระลึกได้กิเลสก็ไม่เกิดขึ้นมา กรรมวัฏฏ์ก็หมุนไปไม่ได้ เมื่อกรรมวัฏฏ์หมุนไปไม่ได้แล้ว วิบากคือผลของกรรมก็ไม่มีไปด้วย การกระทำเช่นนี้เรียกว่า วิวัฏฏะกรรม

    </dd> <dd>และเมื่อผู้ปฏิบัติได้กระทำอยู่บ่อยๆ ในวิวัฏฏะกรรม คือเมื่ออารมณ์มากระทบปุ๊บ ก็ตัดกิเลสได้ทัน ไม่ว่าอารมณ์อะไรมาก็ไม่ให้กิเลสเกิด เหมือนกับการที่ลบรอยปากกาบนกระดานลงไปทีละครั้งๆ ลบไปเรื่อยๆ ถามว่า ในที่สุดจะลบหมดหรือไม่? ลบได้หมด ฉะนั้น พระนิพพานจึงไม่ไกลเกินความไขว่คว้าถ้าหากยังไม่ละไปจากความเพียรนั่นเอง
    </dd>
    [FONT=ms Sans Serif,] TOP[/FONT]​
    [/FONT]
    [FONT=ms Sans Serif,] [/FONT]​
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    </center><center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table5" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd>ถาม ขอถามนิดเนื่องเรื่องการปรับอินทรีย์ที่มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา คือ ตอนที่เราปฏิบัติใหม่ๆ ยังไม่รู้ว่าอะไรคือรูปอะไรคือนาม เราควรจะปรับอินทรีย์อย่างไร หรือควรจะทำอย่างไรครับ?

    </dd> <dd>ตอบ ตรงนี้ไม่สามารถตอบได้ เพราะในขณะที่เรายังไม่รู้ว่าอะไรคือรูปอะไรคือนามนั้น ก็คือการปฏิบัติไม่ได้ ตรงนี้ก็คือคำถามที่ค้านกับความเป็นจริง คือ คำที่บอกว่า "ตอนปฏิบัติใหม่ๆ เรายังไม่รู้ว่าอะไรคือรูปอะไรคือนาม " ตอนนั้นก็คือตอนที่ยังไม่ได้ปฏิบัติ

    </dd> <dd>ถาม เข้าใจว่า เรื่องความพอใจนั้นหมายถึงเรื่องของโลภะ ส่วนความไม่พอใจนั้นหมายถึงว่าเรามีโทสะ แต่สิ่งหนึ่งที่สงสัยอยู่คือก็โมหะ ในขณะที่กำหนดรูปนาม แล้วกำหนดว่า นามได้ยิน ซึ่งเป็นการกำหนดในขณะที่เรายังไม่รู้ถึงสภาพของนามได้ยินนั้นอย่างแท้จริง คือเรายังไม่รู้ว่าอะไรคือ นาม อะไรคือรูป แต่เป็นการนำไปท่องเอานั้น ในการกำหนดไปอย่างนี้ถึงแม้จะไม่เกิดความพอใจหรือความไม่พอใจก็ตาม แต่ไม่มีความ"รู้"ในขณะนั้นด้วยก็คือว่ามีโมหะ ใช่หรือไม่?

    </dd> <dd>ตอบ คงต้องแยกว่า ในขณะที่เรายังไม่สามารถประหาณกิเลสได้ เราก็ยังมีอนุสัยกิเลสเช่น ความไม่รู้นี้นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเราจะทำกุศลหรืออกุศลเราก็ยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ อันนี้คือธรรมชาติที่มีอยู่ในขันธสันดาน แต่ก็อย่าไปหวั่นว่า เรายังมีโมหะอยู่ อย่าไปกลัวหรือวิตกในปัญหานี้ เพราะว่าในขณะที่เรากำหนดรูปนามอยู่นั้น การกำหนดรูปนามลงไปในแต่ละครั้งก็คือ ตัวปัญญา เป็นเจตสิกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายโสภณ แต่โมหะนั้นเป็นฝ่ายอกุศล

    </dd>
    <dd> ส่วนตอนปฏิบัติที่ยังไม่ได้รูปปรมัตถ์หรือนามปรมัตถ์จริงๆ คือยังไม่ได้ญาณปัญญา ขณะนั้นมีโมหะใช่ไหม? ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะแม้ญาณปัญญายังไม่เกิดขึ้นจริงในขณะกำหนดนามรูปนั้น ก็ไม่มีโมหะเกิดขึ้น เพราะมี"ปัญญา"เข้ามาแล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่งเมื่อยังไม่ได้"ญาณปัญญา" จึงยังไม่มีอำนาจไปขุดรากถอนโคนอนุสัยให้เด็ดขาดเท่านั้นเอง
    </dd> ​
    [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </center> [FONT=ms Sans Serif,] [/FONT]
     
  11. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd>ถามถ้าอย่างนั้นก็เป็นปัญญาเหมือนกัน แต่เป็นปัญญาอีกระดับหนึ่งใช่ไหมครับ? คือเป็นระดับเบื้องต้นใช่หรือไม่ครับ?

    </dd> <dd>ตอบ ใช่ ซึ่งจะบอกว่าตอนกำหนดรูปนามแล้วยังไม่ได้นามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้นนั้นจะบอกว่ายังมีโมหะในขณะที่กำหนดอยู่นั้นไม่ได้ เพราะการกำหนดนั้นเป็นการกระทำที่มีปัญญาแต่ปัญญาที่มีในขณะนั้นไม่แก่กล้าพอที่จะไปกระชากอนุสัยขึ้นมา

    </dd> <dd>เช่น ตอนนี้ผู้ที่ถามอยู่จะไปถอนต้นมะม่วงโดยใช้มือถอน ซึ่งทำอย่างไรก็ดึงไม่ขึ้น ได้แต่เขย่าต้นมะม่วงให้มันสั่น ต้นมะม่วงมันก็สั่นจนดินไหวนิดหน่อย ถามว่าตอนนั้นไม่มีแรงยกใช่ไหม? ตอบว่ามีแรง แต่มีแรงเท่านี้ แต่เมื่อเราเขย่าไปเรื่อยๆ จนดินเริ่มอ่อนแล้ว พอเราเหนื่อยเราก็พักหายเนื่อยแล้วก็ทำต่อ เขย่าไปจนดินเริ่มหลวม ก็เหมือนเราปฏิบัติอยู่บ่อยๆ จนความสันทัดเริ่มมีแล้ว อีกหน่อยพอเหตุปัจจัยพร้อมเหมือนกับดินที่หลวมแล้ว พลังก็จะเพิ่มขึ้นมาจนสามารถถอนต้นมะม่วงได้

    </dd> <dd>ฉะนั้น ความสำคัญจึงอยู่ที่ว่า เขย่าอย่างไรถึงจะคลอน และเมื่อรากคลอนแล้ว ดินหลวมจนเป็นรอยกว้างแล้ว เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมอย่างนี้เราก็สามารถที่จะโยกทีละนิดจนหลุดออกมาได้ ฉะนั้น มันต้องเริ่มจากปริมาณน้อยไปหามาก สักวันหนึ่งก็จะไปถอนรากอนุสัยนั้นได้ </dd>
    [FONT=ms Sans Serif,] TOP[/FONT]​
    [/FONT]
    [FONT=ms Sans Serif,] [/FONT]​
    <center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table7" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF">
    [FONT=ms Sans Serif,] <dd> </dd> <dd> </dd> <dd>ถาม เวลาที่ทำสมาธิอยู่ จะกำหนดนามได้ยินได้อย่างไร?

    </dd> <dd>ตอบ ต้องบอกเลยว่า สมาธิกับวิปัสสนาไม่ใช่ทางเดียวกัน เพราะการทำสมาธิจะมีรูปแบบของท่าทาง เช่น นั่งยืดตัวให้ตรง ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ปลายนิ้วจรดกันเพื่อให้เกิดความตั้งใจประคองอารมณ์และประคองอิริยาบถ แล้วไม่ควรเอามือวางบนหน้าตักเพราะจะเกิดความสบายเกินไป จะเกิดถีนะมิทธะได้ง่าย การทำสมาธิที่ถูกต้องก็คือ ตั้งกายตรงและมือจะประสานกันไว้ในระดับของสะดือโดยมีปลายนิ้วชนกันเพื่อให้เกิดความตั้งใจมากๆ ให้มีกำลัง แล้วจะกำหนดลมหายใจก็ได้ หรือท่อง"สัมมาอาระหัง" ก็ได้ แล้วก็หลับตา แล้วก็ใช้ตบะอดทนไม่เปลี่ยนอิริยาบถจนกระทั่งทำลายความฟุ้งซ่านให้จิตนั้นมีเอกัคคตาคือเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่บริกรรมอยู่ เช่น ลมหายใจเข้าก็รู้ ลมหายใจออกก็รู้ อย่างนี้เรียกว่าทำสมาธิ

    </dd> <dd> ส่วนวิปัสสนานั้นไม่มีรูปแบบของท่าทางกำหนดไว้โดยเฉพาะ แต่จะมีท่าทางที่เป็นไปตามสภาพความจริง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งท่านั่งพับเพียบ ท่านั่งไขว้ขา และท่านั่งต่างๆ ที่เหมาะสมของแต่ละคน ...ก็จะเห็นว่า ระหว่างสมาธิกับวิปัสสนานั้นมีท่านั่งต่างกันแล้ว

    </dd> <dd>สมาธิคือการที่จิตเราหาอารมณ์ ใดอารมณ์หนึ่งมาเป็นที่พึ่ง อารมณ์ที่หามาเป็นที่พึ่งนั้นก็จะเป็นอารมณ์ที่เราถนัด เช่น ลมหายใจเข้าออก หรือคำภาวนา เช่น "พุทโธ" "สัมมาอาระหัง" หรือกสิณต่างๆ ที่ถูกกับจริตแล้วนำมาทำ

    </dd> <dd> ผู้ที่มีอดีตที่ชำนาญกสิณดินก็ต้องไปดินสีอรุณหรือสีหมากสุกมา แล้วก็เอามาทาลงบนผ้าขาวบางที่ขึงตึงอยู่บนปากหม้อดินเพื่อให้ดินเข้าไปในเนื้อผ้าและเป็นวงกลม จากนั้นก็เอาดินนั้นมาเพ่ง ...สมาธิจึงต้องเริ่มต้นจากการไปหามา

    </dd> <dd>ส่วนวิปัสสนานั้นไป "หา" ไม่ได้ ห้ามไป "หา" แต่มาเอง คือ มาที่ปัจจุบัน เพราะปัจจุบันเท่านั้นที่เป็นความจริง และปัจจุบันมีสองชนิด คือ ปัจจุบันธรรม กับปัจจุบันอารมณ์

    </dd> <dd>ปัจจุบันธรรม คือ ธรรมที่มีเกิดขึ้นติดต่อกันอยู่ในโลกนี้ ไม่มีใครไปทำลายปัจจุบันธรรมได้ มีอยู่ตลอดเวลา เช่นในขณะนี้มี "กลางคืน"ไหม? มี มีคนกำลังคลอดลูกไหม? มี มีคนกำลังตายไหม? มี มีคนถูกยุงกัดไหม? มี นั่นก็คือธรรมชาติของโลกเรียกว่าเป็นปัจจุบันธรรม คือเป็นธรรมที่มีอยู่ไม่ว่าจะเกิดกับเราหรือไม่ก็เป็นธรรมที่มีอยู่

    </dd> <dd>ปัจจุบันอารมณ์ คือ ปัจจุบันธรรมนั้นแหละที่เกิดขึ้นกับเรา เช่นขณะนี้มีคนถูกยุงกัด..นั่นไม่ใช่ปัจจุบันอารมณ์ของเรา แต่ถ้ายุงมากัดเราเมื่อไหร่..ขณะนี้แหละเป็นปัจจุบันอารมณ์ของเรา ใครที่ถูกยุงกัดอยู่ตอนนี้ก็เป็นปัจจุบันอารมณ์ของคนนั้นนั่นเอง หรือเช่นยื่นมือไปตีแขนคนที่นั่งอยู่ตอนนี้ คนที่ไม่ถูกตีจะรู้สึกด้วยไหม? ไม่รู้สึก แต่คนที่ถูกตีจะรู้สึกซึ่งเป็นความรู้สึกส่วนตัวเพราะมีการรับอารมณ์เกิดขึ้น ซึ่งตัวรับอารมณ์ตรงปัจจุบันนี้แหละเป็นตัวก่ออภิชฌาและโทมนัส
    </dd>
    [/FONT]​
    [FONT=ms Sans Serif,] [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </center><center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table8" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd>ปัจจุบันธรรมไม่ได้ก่ออภิชฌาและโทมนัส

    </dd> <dd>แต่ปัจจุบันอารมณ์ก่ออภิชฌาและโทมนัส</dd> <dd>
    </dd> <dd>เพราะว่าเมื่อเราถูกยุงกัดหรือถูกใครตี เราพอใจไหม? ไม่พอใจ
    </dd> <dd>แล้ว"ไม่พอใจ"นี้เป็นอะไร ? เป็นกิเลส
    </dd> <dd>เมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้ว วัฏฏะหมุนไหม? วัฏฏะหมุน หมุนเป็นกรรมวัฏฏ์ วิบากวัฏฏ์
    </dd> <dd>แต่ถ้าหากเราได้รับอารมณ์ดี เช่นในขณะนี้มีคนกำลังทานไอศครีมอยู่ มีกล้วยหอม มีช๊อกโกแลต มีถั่ว มีกลิ่นหอม รสหวานๆ เย็นๆ ซึ่งเรากำลังหิวอยู่ถ้าเราได้ทานความรู้สึกเหล่านั้นก็เป็นที่เรา หรือไปทานสุกี้กัน สิ่งที่เราตักเข้าปากแล้วรู้รสขณะนี้นี่แหละทำให้เกิดความพอใจและไม่พอใจ เช่นบางคนเคี้ยวพริกเข้าไปก็ชอบเลยเพราะชอบเผ็ด แต่บางคนพอเคี้ยวโดนพริกปุ๊บก็ "อุ๊ย! เผ็ดจัง" แล้วก็รีบคายออกมาเลย อภิชฌาและโทมนัสจึงเกิดขึ้นได้ในปัจจุบันอารมณ์

    </dd> <dd>ฉะนั้น ในปัจจุบันนี้แหละจึงเป็นปัจจุบันต้องห้าม ที่ต้องห้ามไหลไปกับอภิชฌาและโทมนัสด้วยการรู้สึกไปในความจริงว่า ที่เผ็ดจากพริกที่เคี้ยวเข้าไปนั้น..จริงๆ แล้วเราไม่ได้เผ็ด เพราะถ้าเราเผ็ดเมื่อไหร่..หากเราชอบเราก็พอใจ ถ้าไม่ชอบก็ไม่พอใจ เราจึงต้องย้ายอารมณ์คือเปลี่ยนความเห็นใหม่ ให้เห็นถูกว่าที่เผ็ดนั้นเป็น รูป คือพริกนั้นมันเผ็ด ไม่ใช่เราเผ็ด แต่เป็นพริกเผ็ดคือ รูปเผ็ด

    </dd> <dd> การที่เราต้องไปกำหนดก็เพื่อรื้อเอาสัญญาวิปลาสออกว่าเป็น "เรา" เมื่อเราสามารถรื้อสัญญาวิปลาสออกได้ก็เท่ากับปิดโอกาสสะกัดกั้นอภิฌชาและโทมนัสไม่ให้เกิด เมื่ออภิฌชาและโทมนัสไม่เกิดแล้ววัฏฏะก็จะถูกลบให้เหลือน้อยลงไป ...นี่คือ วิปัสสนา

    </dd> <dd>วิปัสสนาคือการเผชิญความจริง แต่สมาธิคือการกระทำความรู้สึกเพื่อสะกัดกั้นเหมือนกับการสร้างวงล้อมให้ตนเอง ว่าเราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการได้ยิน ไม่ต้องการได้กลิ่น ไม่ต้องการรู้รส ไม่ต้องการให้ใครมาพูดกับเรา ไม่ต้องการคิดอะไรแล้วก็เลยทำสมาธิ แต่จะทำสมาธิได้นานขนาดไหนก็ตามก็ต้องกลับมาเจอทุกข์อีก เช่น ทำไปสามชั่วโมงก็เกิดความหิวแล้ว ความหิวนั้นเกิดได้ในสมาธิถ้าหากยังไม่ได้ฌาน เมื่อหิวแล้วไม่ได้กินก็เกิดความทุกข์ ฉะนั้น การทำสมาธิจึงไม่ใช่การทำลายความทุกข์อย่างแท้จริง สมาธิจึงไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

    </dd> <dd>ส่วนวิปัสสนานั้นก็ใช้ชีวิตตามปกติ เกิดความหิวได้ และเมื่อเกิดความหิวขึ้นมาแล้วก็รู้เลย คือมีความรู้ว่า ไม่ใช่ "เรา"หิว แต่เป็นลักษณะของความรู้สึก และความรู้สึกเป็น "นาม" และความรู้สึกนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ "จำเป็น" แล้วที่จะต้องกินเพื่อแก้ทุกข์ ไม่ได้กินเพื่อแก้อยาก "ความจำเป็น" ทำให้เรามีพฤติกรรม ไม่ใช่ "ตัณหา" ทำให้เกิดพฤติกรรม

    </dd> <dd> เมื่อเรียนแล้วเราจึงรู้ว่าเราควรเลือกทำอะไร เพราะชีวิตของเรา..เกิดยาก ตายง่าย.. กว่าจะเกิดได้นั้นลำบากเหลือเกินโดยเฉพาะการเกิดเป็นมนุษย์ โอกาสที่จะเกิดเป็นมนุษย์นั้นยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร ฉะนั้น เมื่อเกิดมาแล้วและเวลาเราเหลือน้อยแล้ว ปฏิทินชีวิตถูกฉีกออกทุกวัน เราจึงต้องเลือกเดินทางที่ให้ประโยชน์แท้ ควรหรือที่เราจะเลือกทำงานที่จะไม่ให้ประโยชน์แท้ ลองตั้งคำถามตัวเองว่า เราควรจะหลบภัยหรือไปให้พ้นภัย?

    </dd> <dd>หลบภัยคือการทำสมาธิก็ได้ชั่วคราว แต่ไปให้พ้นภัยคือทำวิปัสสนาให้พ้นไปจากวัฏฏะสงสาร
    </dd>
    <dt>[FONT=ms Sans Serif,] TOP[/FONT]</dt> ​
    [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </center><center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table9" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd>อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องทุกข์ เพราะทุกข์เป็นสิ่งที่ให้กำหนดรู้ ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันเป็นอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น ทุกข์มีกิจให้กำหนดรู้ สมุทัยคือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์มีกิจให้ละ นิโรธคือความสิ้นสุดทุกข์มีกิจคือทำให้แจ้ง มรรคคือหนทางแห่งความพ้นทุกข์มีกิจให้ดำเนิน

    </dd> <dd>ในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ นั้นเราจะยกมาอธิบายในที่นี้เพียงอย่างเดียว คือ ทุกข์ เพราะทุกวันนี้ชีวิตเป็นทุกข์ คำว่า "ทุกข์เป็นสิ่งให้กำหนดรู้" คำนี้เป็นคำวิเศษมากๆ มีความหมายสุขุมคัมภีรภาพมากมายเพราะว่าผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นจะสิ้นสุดทุกข์ และการสิ้นสุดทุกข์จะต้องอาศัยทุกข์เป็นบันไดไปสู่ความพ้นทุกข์

    </dd> <dd>ในการปฏิบัติจะมีคำว่า ทุกข์ คือทุกข์อริยสัจจ์นี่แหละที่ให้ไปกำหนดรู้ คือ รูป นาม เพราะรูปและนามต่างก็ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้จึงเป็นทุกข์ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติคือเข้าไปกำหนดรู้ทุกข์ ซึ่งก็คือรูป นาม คือชีวิตของเรานั่นเอง ไม่ว่าหญิงหรือชายก็คือขันธ์ ๕ ที่ประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สรุปเป็นรูป ๑ นาม๔ เมื่อเราเรียนแล้วก็จะสามารถนำชีวิตออกมาเป็นรูปเป็นนามได้

    </dd> <dd> เราจึงมีหน้าที่ไปกำหนดรู้ว่าขณะนี้มีอะไรเกิดขึ้น นั่งก็รู้ เดินก็รู้ ยืนก็รู้ รู้สึกก็รู้ เมื่อรู้ในรูปรู้ในนามในแต่ละขณะก็จะรู้ว่า ในรูปและในนามเองนั้นจะมีทุกข์เบียดเบียนอยู่เป็นนิตย์คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้อันเป็นลักษณะของรูปนามอีกทีหนึ่งที่เรียกว่า ลักษณะทุกข์

    </dd> <dd> ในขณะปฏิบัตินั้นท่านบอกว่าจะทำอะไรให้มีโยนิโสมนสิการเสียก่อนว่า ทำไปเพื่ออะไร มีตัวการอะไรในการกระทำนั้น เช่น นั่งอยู่..แล้วจะเปลี่ยนอิริยาบถเพราะอะไร? ทำไมจึงต้องเปลี่ยน? ก็เพราะว่ามันมีทุกขเวทนา และเมื่อเราไปดูรูปนามนั้น ที่เห็นได้ชัดมากที่สุดคือ ทุกขเวทนาที่ปรากฏขึ้น

    </dd> <dd>ทำไมเราจึงต้องเปลี่ยนอิริยาบถ ก็เพราะมีทุกขเวทนาปรากฏขึ้นในทางกายก็ได้ หรือทางใจก็ได้(โทมนัส) เช่น เดินนานๆ แล้วเกิดความเมื่อย เมื่อย..เป็นทุกขเวทนา ก็ทำความรู้สึกตัว..นั่ง เมื่อนั่งลงไปปุ๊บก็มีกลิ่นเหม็นเข้ามา ถามว่านั่งังไม่ทันเมื่อยเลยแต่เป็นทุกข์หรือไม่? เป็นทุกข์ เพราะจิตรับอารมณ์ให้เกิดเวทนาที่เป็นทุกข์จากกลิ่น
    </dd>
    [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </center><center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table10" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd> รูปนามจึงทำให้เกิดทุกข์เวทนาเพราะเป็นที่ตั้งของทุกขเวทนา และในทุกขเวทนานี้เช่นเมื่อย เราจึงต้องมีโยนิโสกำหนดว่าเมื่อย เพื่อป้องกันตัณหาไม่ให้ทำไปเพราะความอยากแต่เมื่อยแล้วจำเป็นต้องนั่ง จึงเป็นการกระทำที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยตัณหาและอวิชชาแต่เลี้ยงด้วยปัญญาว่าเป็นรูป เป็นนาม

    </dd> <dd>เมื่อจะนั่งก็เพราะ "มีความจำเป็น" ไม่ใช่ตัณหา "อยากนั่ง" เมื่อนั่งเพื่อแก้ไขทุกข์แล้วก็ดูรูปนั่งต่อไป ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ จะเห็นทุกขเวทนาได้ชัด เมื่อมีโยนิโสแล้วต้องเปลี่ยนแปลงอิริยาบถไปก็จะมี "สังขารทุกข์" ตามมาให้เห็น

    </dd> <dd>สังขารทุกข์ คือทุกข์เพราะความเปลี่ยนแปลง เช่น นั่ง ..กำหนดรูปนั่ง ดูอาการ..รู้สึกรูปนั่ง เมื่อเมื่อยแล้วก็สังเกตตัวเองว่ามีความรู้สึกเมื่อยแล้วเช่นเมื่อยหลังจนอยู่ในท่านั่งไม่ได้แล้วรู้ว่าจำเป็นต้องออกไปเดินแล้ว ก็มีสติรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงอิริยาบถจากท่านั่งไปสู่ท่ายืน

    </dd> <dd> การนั่งแล้วมายืนนี้ไม่ได้สำเร็จง่ายดังใจ แต่ต้องมีการช่วยเหลือเช่นเอี้ยวตัว หรือพยุง หรือจับยึดบางสิ่ง หรือท้าวแขนเพื่อดันตัวขึ้นก่อนที่จะลุก ..เราต้องคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงขณะที่กำลังแก้ไขทุกข์นี้ไปสู่ท่าใหม่ ต้องคอยสังเกตว่า เราต้องทำทุกอย่าง ต้องรู้..แล้วต้องแก้ไขเอง ต้องดำเนินงานเอง งานที่ต้องทำเหล่านี้เป็นงานที่เราต้องคอยสังเกต จากรูปหนึ่งไปอีกรูปหนึ่งจึงต้องคอยสังเกต

    </dd> <dd> เมื่อนั่งแล้วจะเปลี่ยนอิริยาบถก็ทำความรู้สึกตัวไปในอาการที่จะเปลี่ยนด้วย แต่อย่าไปทำตั้งใจทำให้ช้าๆ นะ ซึ่งผู้ปฏิบัติใหม่ๆ จะไม่เห็นสังขารทุกข์นี้แต่จะเห็นทุกขเวทนา แต่เมื่อมีความคล่องแล้วสังขารทุกข์ก็จะมาปรากฏให้ผู้ปฏิบัติเห็นประจักษ์ด้วยปัญญาเอง

    </dd> <dd>ทุกขเวทนาท่านเปรียบเหมือนคนป่วย สังขารทุกข์ท่านเปรียบเหมือนพยาบาล ความสืบเนื่องของทุกข์จึงมีอยู่ตลอดเวลา ชีวิตจึงไม่ได้มีความสุขเลย และอย่าลืมว่าอิริยาบถใหม่นั้นปิดบังทุกข์ในอิริยาบถเก่าถ้าหากเราไม่สำเหนียกให้ดี เพราะถ้าขาดโยนิโสแล้วเมื่อนั่งลงไปก็จะ "สบาย"

    </dd> <dd> การไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นเพื่อไปทำความเห็นถูกทำลายอัตตาและทำลายสุขวิปลาสก็จะได้เห็นแต่ทุกข์ทั้งนั้น คือ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นที่ดับไป จึงไม่มีอะไรนอกจากทุกข์อริยสัจจ์
    </dd>
    [/FONT]</td></tr></tbody></table>​
    </center>
     
  12. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd>ถาม เวลาที่เรากำหนดรู้แล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเรารู้จริง?

    </dd> <dd>ตอบ คำถามนี้เป็นคำถามที่สืบเนื่องมาจากเรื่องของสมาธิ เช่น บางครั้งนั่งทำสมาธิแล้วเกิดความรู้สึกว่าเหมือนจะสงบหรือเหมือนจะเห็นอะไร..แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเห็นจริง? เพราะบางครั้งอาจมีคนบอกนำเราว่า มีผ้าเหลือง มีแสงทองอยู่ตรงนั้นตรงนี้ เราก็พยายามสร้างมโนภาพให้เกิดขึ้นมา พอภาพทางใจเกิดขึ้นมาแล้วเราเองนั่นแหละที่จะรู้ว่าเราสร้าง ..คำถามนี้จึงเป็นเรื่องของสมาธิ และนี่ก็คือความลำบากของสมาธิซึ่งสามารถจูงกันไปได้ แต่ไม่ได้เดินเอง จึงไม่มั่นคง

    </dd> <dd> แต่วิปัสสนานั้นมีกฎตายตัวที่เกิดขึ้นจากเหตุผลโดยไม่มีใครสร้างขึ้น เช่น เชื่อไหมว่าผู้ถามมีโลภะคือความโลภ ถึง ๘ อย่างตามแผนผังที่ปรากฏบนกระดาน ความโลภทั้ง ๘ อย่างนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันไปอย่างมีเหตุผลและพิสูจน์ได้ เช่น ความโลภที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีประกอบไปด้วยความเห็นผิดเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครชักชวน ..ลองคิดสิว่า เรามีความโลภชนิดนี้ไหม? เช่นเราเดินไปตลาดเราก็เดินตรงไปที่ร้านขายของชนิดนั้นแล้วแล้วก็หยิบของชิ้นที่ชอบใจคิดว่าดีคิดว่าสวยขึ้นมาด้วยตัวเอง ...ก็จะเห็นว่าความโลภชนิดนี้เราเคยมีแน่

    </dd> <dd> หรือความโลภอย่างที่สองที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีประกอบไปด้วยความเห็นผิดเกิดขึ้นเองโดยมีคนชักชวน เรามีไหม? เช่น เรากำลังเลือกของอยู่แต่มีคนมาชวนให้ไปเลือกของชิ้นอื่น ก็เลยมาเลือกตามเขา ..ความโลภอย่างนี้เราจึงมี หรือความโลภอย่างที่สามความโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบไปด้วยความเห็นผิดเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครชักชวน ..ลองคิดสิว่าเรามีไหม? เช่น เราได้เงินเดือนมาทุกเดือนเลยแต่เงินเดือนครั้งแรก กับเงินเดือนครั้งนี้ทำให้อารมณ์ต่างกันแล้ว เงินเดือนเดือนนี้ทำให้มีความยินดีแต่ไม่ยินดีมากเหมือนเดือนแรกที่รับเงินเดือนใหม่ๆ และเงินเดือนของเราเราก็ยินดีเองไม่มีใครมาชวนเลย ..ก็จะเห็นว่าเรามีความโลภชนิดนี้อยู่เช่นกัน

    </dd> <dd> หรือมาดูในเรื่องของโทสะที่แยกออกเป็นสองชนิดซึ่งมีทุกคน คือ โกรธเองไม่มีใครชักชวน เช่น บางครั้งเรานั่งอยู่เกิดหงุดหงิดรำคาญตนเองโกธรตัวเองขึ้นมาแบบไม่มีใครชวนเลย กับอีกชนิดหนึ่งคือโกรธเพราะมีคนชักชวน เช่น มีคนมาว่า เสียงว่า..ทำให้เราโกรธ ความโกรธจึงมีต่างกันในสองอย่างนี้
    </dd>
    [/FONT] <center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table12" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd> บนกระดานนี้จึงตีแผ่เรื่องของเราพฤติกรรมแต่ละอย่างออกมา นี่คือวิทยาการที่ไม่มีใครมาลบล้างได้เป็นพระสัพพัญญุตญาณ ที่ยกตัวอย่างนี้ขึ้นมาก็เพื่อจะเห็นได้ว่า เราเรียนพระปรมัตถ์เรียนเหตุผล และเมื่อมีหลักการและเหตุผลแล้วเราก็เดินตามหลักการ เพราะหลักการนั้นจะเหมือนไม้บรรทัดที่จะวัดใจตนเองได้เลย เวลาเราไปฟังใครที่ไหนเราก็จะรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามเหตุผลหรือไม่ เพราะเรามีไม่บรรทัดของแท้อยู่ในใจแล้วจึงใช้วัดสิ่งที่ได้ยินนั้นได้ว่าตรง กับพระพุทธเจ้าพูดหรือไม่? เราก็จะเป็นผู้ได้เปรียบ

    </dd> <dd> และเราก็จะไม่มานั่งหลับตาทำอะไรโดยที่เราไม่รู้ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นการทำให้รู้ เช่น หิว..ก็ต้องรู้ตัวสิว่าหิว เมื่อย..ก็ต้องรู้ตัวสิว่าเมื่อย ง่วง...ก็ต้องรู้ตัวสิว่าง่วง ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้มีอยู่และให้ไปรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น และจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อป้องกันตัณหาคือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ...อย่าอยาก เพราะอยากแล้วต้องแสวงหา เมื่อแสวงหาแล้วไม่สมความปรารถนาก็จะยิ่งมีทุกข์มากขึ้น จึงต้องหยุดตัณหาด้วย"ความจำเป็น" เพราะมีทุกข์มาบีบคั้นจึง "จำเป็น" ต้องแก้ไข

    </dd> <dd>และป้องกันอวิชชา คือความไม่รู้ว่าเป็นรูปเป็นนาม ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงทำลายทั้งตัณหาและอวิชชาทันที จึงเป็นการตัดวัฏฏะเป็นวิวัฏฏะแน่นอน รูปนามเป็นอุปกรณ์ให้ปัญญาเพิ่มพูนขึ้น

    </dd> <dd>ฉะนั้น ที่ถามมานั้นเป็นเรื่องของสมาธิ แต่วิปัสสนาให้ลืมตาได้ให้เห็นได้แต่อย่าเห็นผิดว่าเป็นเรา และอย่าอยาก เมื่อเราเห็นในความจริงเช่นนี้ เช่น นั่งอยู่และรู้ว่าเมื่อยแล้วก็เปลี่ยนอิริยาบถ พอเปลี่ยนอิริยาบถก็ดูต่อไปอีก ดูอิริยาบถใหม่ต่อไปก็จะรู้ว่าเมื่อยอีกแล้ว ก็เปลี่ยนอีกก็เมื่อยอีก..

    </dd> <dd> ชีวิตของเราได้ประสบทุกข์อยู่ทุกวันต้องแก้ไขอยู่เป็นอาจิณ ไม่ว่าจะเป็นความหิวที่ต้องบำบัดอยู่ทุกวัน หรือการปวดอุจจาระปวดปัสสาวะเราก็เข้าห้องน้ำกันแล้วก็รีบออกมา แต่ไม่เคยพิจารณาจึงไม่รู้ทุกข์ แต่ในการปฏิบัติวิปัสสนานั้นไม่ใช่การปล่อยให้เกิดขึ้นโดยขาดการพิจารณา เมื่อปวดปัสสาวะเป็นเรื่องธรรมชาติเป็นธรรมะอย่างหนึ่ง เราก็กำหนดรู้ลงไปว่า เป็นทุกข์ มีทุกข์มาปรากฏจำเป็นต้องไปปัสสาวะ แทนที่จะเดินไปอย่างไม่รู้สึกตัวก็มีสติรู้ตัวเดินไป แล้วทำไมต้องเดินล่ะ ..ก็เพราะทุกข์จากการปวดปัสสาวะนี่แหละเป็นคนไข้ แล้วขาที่เดินไปเข้าห้องน้ำนั้นเป็นพยาบาลที่ต้องมาดูแลทุกข์การปวดปัสสาวะให้ไปถึงห้องน้ำ

    </dd> <dd> พอไปถึงห้องน้ำพยาบาลก็ต้องเปิดประตูเข้าไป พอเข้าไปแล้วก็ต้องปิด ต้องปลดเปลื้องเครื่องพันธนาการคือเสื้อผ้า แล้วก็ต้องขับถ่าย ต้องทำความสะอาดเอง ต้องลุกขึ้นมาใส่เสื้อห้าให้เรียบร้อย แล้วก็เปิดประตูออกมา ..จะเห็นว่าสติตามรู้ทุกอย่าง ถามว่าทุกข์มีไหม? มีตลอด นี่คือความจริง
    </dd>
    <dt>[FONT=ms Sans Serif,] TOP[/FONT]</dt> ​
    [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </center><center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table13" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd>ถาม ถ้าหากเราตายไป เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะไปนิพพาน หรือจะไปเป็นเทวดา หรืออยู่ไปอยู่ในภูมิไหน?

    </dd> <dd>ตอบ การศึกษาพระอภิธรรมตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๑ จะบอกกับผู้ศึกษาเลยว่า มีภพภูมิอะไรบ้างในการเวียนว่ายตายเกิด เครื่องหมายของจิตทั้ง ๑๒๑ ดวง ที่ปรากฏอยู่บนกระดานนี้จะบอกได้หมดถึงความเป็นไปในทุกภูมิ มีการแบ่งกลุ่มเครื่องหมายของจิตให้เข้าใจได้ถึงความเป็นกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา อย่างเช่นกลุ่มแรกที่มี ๑๒ ดวงนั้นเป็นกลุ่มของอกุศลจิตที่ประกอบไปด้วย โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และโมหมูลจิต ๒

    </dd> <dd>กลุ่มต่อมาก็คือ กลุ่มของมหากุศลจิตที่มีอยู่ ๘ ดวง เมื่อสักครู่ได้อธิบายตัวอย่างของโลภมูลจิตไปแล้ว ตอนนี้จะยกตัวอย่างในเรื่องของกุศลให้ฟังว่า คนเรานั้นมีกุศลหลายอย่าง เช่น กุศลที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีโดยไม่มีใครชักชวนและประกอบไปด้วยปัญญา เช่น การปฏิบัติวิปัสสนา เป็นต้น กับกุศลที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีโดยไม่มีใครชักชวนและไม่ประกอบไปด้วยปัญญา เช่น การบวชตามประเพณี การรักษาศีล การทำสมาธิ หรือการให้ทานแบบส่งๆ ไป เป็นต้น

    </dd> <dd>ฉะนั้น เมื่อเราทำดีคือกุศล ก็จะได้รับผลเป็นวิบากกุศล และเมื่อทำอกุศลก็จะได้รับผลเป็นวิบากอกุศล ให้ผลได้ทั้งในปฏิสนธิและปวัตติกาลคือภายหลังการเกิด ซึ่งจะต้องค่อยๆ ศึกษาไปตามลำดับจะตอบให้เชื่อตอนนี้เลยก็คงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งโดยปกติวิสัยของผู้ที่นั่งอยู่ตรงนี้นั้นไม่ยอมเชื่อใครง่ายๆ แต่เพราะเหตุผลของพระธรรมจึงทำให้เขาเชื่อ เพราะกว่าจะมีความเข้าใจกันมาจนถึงวันนี้จะต้องมีการเริ่มต้นมาจากสิ่งเล็กๆ น้อยที่พูนเพิ่มจนมากขึ้น เหมือนกับการเขียนหนังสือสักเล่มหนึ่งที่ต้องเริ่มต้นจากพยัญชนะและสระต่างๆ มาผสมรวมกันเป็นคำ เป็นประโยค เป็นย่อหน้า และเป็นเรื่องราวให้เราอ่านได้ กว่าเขาจะเขียนออกมาให้เราอ่านได้เขาจะต้องใช้เวลาเขียน

    </dd> <dd>เช่นเดียวกัน กว่าเราจะเชื่อได้และยอมรับอย่างปักใจเชื่อจึงต้องอาศัยเวลา และพระพุทธเจ้าเองก็ไม่ได้อยู่ดีๆ มาบอกว่าจะสอนเรื่องนรกสวรรค์ แต่พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องกรรม สอนเรื่องชีวิตของตนเองว่าทำกรรมแล้วจะให้ผลอย่างไรบ้าง ซึ่งผู้ที่ศึกษาแล้วก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว เพราะกฎหมายบ้านเมืองนั้นใช้เพียงแค่ชาตินี้ชาติเดียวและบางทียังหลบรอดได้ แต่กฎของกรรมไม่มีใครหนีพ้นแน่ เช่น ทำไมคนเราเกิดมาหน้าตาไม่เหมือนกันล่ะ ..ก็เพราะกรรม คนที่เคยโกหกมากๆ พูดเท็จมากๆ นั้นก็จะมีผลให้ฟันไม่เรียบ มีกลิ่นปากเหม็นรุนแรง มีไอตัวร้อนจัด มีลูกนัยน์ตาไม่อยู่ในระดับปกติ พูดไม่สะดวก พูดติดอ่าง ..ผลเหล่านี้และเป็นสิ่งที่ฟ้องว่า เคยโกหกเอาไว้

    </dd> <dd>เมื่อเราเรียนรู้เหตุแล้ว ก็จะทราบถึงผลที่ปรากฏว่ามาจากเหตุ และเมื่อเราไม่ชอบผลที่ปรากฏนี้เช่นฟันไม่เรียบ เราก็จะสร้างเหตุใหม่เพราะอดีตชาติเราแก้ไม่ได้ แต่เราทำไว้เพื่ออนาคตได้ โดยให้ลองสมมุติตนเองว่าตอนนี้เป็นชาวนากำลังจะออกไปหว่านข้าว เมื่อหว่านข้าวลงไปในนาจนเที่ยงแล้วก็หิวข้าว ถามว่า จะไปกินข้าวในนาที่เพิ่งหว่านลงไปได้ไหม? ไม่ได้ แต่ชาวนามีข้าวกลางวันกินใช่ไหม? ใช่ ข้าวที่ชาวนากินนี้เป็นข้าวปีที่แล้วเป็นข้าวยุ้งที่แล้วที่หว่านและเก็บเกี่ยวไปแล้ว เคยทำข้าวอะไรไว้ในปีที่แล้วก็ต้องกินข้าวชนิดนั้น เราจึงใช้ของเก่าอยู่ตลอดเวลา ส่วนข้าวใหม่ในปีนี้เรายังกินไม่ได้หรอกเพราะกำลังเจริญเติบโต แต่เมื่อถึงเวลาแล้วเราก็ต้องเก็บเกี่ยวแล้วก็เอามากินต่อไป ฉะนั้น เหตุและผลจึงเป็นแบบนี้ นี่แหละคือเรื่องของชีวิต

    </dd> <dd>ความโกรธ เกลียด รัก ชอบ ชัง เป็นอารมณ์ที่เราทำขึ้นเองทั้งสิ้น บางครั้งคำเดียวกันที่เขาด่าว่าเราแล้วเราโกรธ แต่พอเอาไปพูดให้ฝรั่งฟังเขาก็ฟังไม่รู้เรื่องและก็ไม่โกรธ แต่ที่เราโกรธเพราะเราไปตีเทียบแล้วเสพอารมณ์ว่าเขาว่าฉัน ...แท้ที่จริงเสียงนั้นก็คือความสั่นสะเทือนของอากาศ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่เราไปรวบรวมแล้วตีความแล้วเอาเราเข้าไปบงการจึงมีกิเลสเกิดขึ้นทำให้วัฏฏะหมุนไป ฉะนั้น ถ้าหากเราไม่ศึกษาพระอภิธรรมเราก็จะเป็นผู้เสียเปรียบตลอดเวลา ..เป็นชีวิตที่น่าอนาถ แต่เมื่อศึกษาแล้วก็จะทำให้ชีวิตดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น อยู่ได้โดยไม่ต้องหวังพึ่งอะไรลมๆ แล้งๆ แต่มีตนเป็นพึ่งคือมีปัญญาเข้าไปรู้ นี่คือสิ่งพระพุทธองค์ทรงสอนให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ใครเล่าจะมาเป็นที่พึ่งแก่เราได้ ..อัตตาหิ อัตโน นาโถ โกหิ นาโถ ปโรสิยา ..

    </dd> <dd>การที่เราจะเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ ก็คือการที่เราเข้าไปมีปัญญาที่รู้ว่า ที่เราเห็น ได้ยินนี้ เป็นวิบาก ถ้าหากเราไปตอบโต้ผิดวัฏฏะก็จะหมุนเรื่อยไป ยกตัวอย่างเช่นคนเจ้าโทสะ เมื่อมีเรื่องราวเข้ามาก็เหมือนกับมีคนปาลูกบอลมาใส่เรา แล้วเราก็ตีโต้กลับไปปะทะผนัง ลูกบอลนั้นก็กระเด้งกลับมาอีก ยิ่งตีแรงเท่าใดแรงสะท้อนก็ยิ่งแรงกลับมาหาเราเท่านั้น ซึ่งตรงกับคำว่าใครทำใครได้ ทำมากได้มากทั้งดีทั้งชั่ว ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น

    </dd> <dd>ฉะนั้น ทางหลุดพ้นก็คือ "เปิดช่องใจให้กว้างขึ้น" แม้จะมีลูกบอลกองใหญ่ที่พร้อมจะถูกปาเข้ามาหาเรา เราก็ต้องเตรียมใจรับให้ดี เพราะถ้าเราตีโต้กลับด้วยความโกรธลูกบอลก็จะย้อนกลับไปที่กองเดิมและยังมีปริมาณเท่าเดิม แต่ถ้าเขาตีลูกบอลใส่แล้วเรายอมรับกระทบโดยกำหนดว่าเป็น วิบากของเรา และปล่อยให้ลูกบอลตกลงแล้วผ่านเลยไปปริมาณลูกบอลในกองข้างหน้าก็จะน้อยลง และในวันหนึ่งข้างหน้าลูกบอลเหล่านั้นก็จะหมดลงไปได้
    </dd>
    [/FONT]</td></tr></tbody></table>​
    </center>
     
  13. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd>ถาม ในการปฏิบัติที่ผ่านมา ปรากฏว่าในหนึ่งวันนั้นก็รู้สึกว่าไม่มีอะไรทำจึงเดินไปเปิดประตูบ้าง ทำโน่นทำนี่บ้าง และก็จะมีอาการปวดหัว ปวดท้องอยู่ตลอด และปกติก็เป็นคนที่ไม่ได้ดื่มน้ำทั้งวัน แต่พอไปเข้าห้องปฏิบัติก็คอแห้งดื่มน้ำเกือบทั้งวันเลยค่ะ อาการเหล่านี้มันเกิดจากอะไรคะ?

    </dd> <dd>ตอบ เกิดจากการปล่อยปละละเลยงานที่จำเป็นคือการดูรูปดูนาม เหมือนกับในบริษัทแห่งหนึ่งมีพนักงานทำความสะอาด มีเสมียน มีผู้จัดการ และพนักงานอื่นๆ ซึ่งมีงานมากมาย แต่ในบริษัทนั้นเรามีหน้าที่พิมพ์ดีด ถึงจะพิมพ์คล่องเพียงไหนเราก็ต้องกดแป้นไปทีละตัวให้รวมเป็นคำนั้นๆ ไม่มีใครที่ชำนาญขนาดไหมมาพิมพ์กดแป้นครั้งเดียวได้เป็นคำนั้นๆขึ้นมาหรอก แต่เพราะอาศัยความไวในการกดทีละตัวจึงปรากฏตัวอักษรอย่างรวดเร็ว

    </dd> <dd> เมื่อเราเป็นพนักงานพิมพ์ดีดแต่ละทิ้งหน้าที่พิมพ์ดีดเที่ยงเดินไปดูเหรัญญิกคิดเงินบ้าง เดินไปดูภารโรงทำงานบ้าง แต่ไม่ทำงานของตัวเองทั้งที่มีงานน้อย และอีกอย่างหนึ่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้คือการเอาชนะกิเลส เป็นการฝืนกิเลส แต่กิเลสมันไม่ค่อยอนุญาตเพราะเราอยู่ตามอำเภอใจกันมานานมาก เมื่อมีโอกาสที่จะดูตนเองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถนัด ปกติเรามีโอกาสดูตัวเองก็ตอนที่ดูกระจก พอเลิกจากดูกระจกเราก็ดูคนอื่นตลอดเลย แม้กระทั่งการดูทีวีก็ตามก็เป็นการดูคนอื่น

    </dd> <dd>ฉะนั้น การที่มาดูตนเองนานๆ มันจึงน่าเบื่อ แต่ความเบื่อเหล่านี้ยิ่งดูก็ยิ่งรู้ เหมือนกับการส่องกระจกที่ยิ่งจ้องก็ยิ่งเห็นสิวฝ้า ยิ่งมองยิ่งเห็นหน้าตาอัปลักษณ์ ก็คือเห็นความทุกข์นั่นเอง

    </dd> <dd> ถ้าหากมีอาการปวดท้อง..หน้าที่ของเราคือกำหนดนามรู้สึก จะปวดกี่ครั้งก็นามรู้สึกแล้วก็แก้ไข หรืออาการเหล่านั้นเป็นวิบากที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นพอดีเพราะอยู่ปกติไม่ปวด แต่พอเข้าปฏิบัติปุ๊บวิบากอกุศลส่งผลมาให้ต้องปวดท้องมีความทุกข์เกิดขึ้น ให้เห็นชัดก็ได้..ซึ่งถ้ากำหนดได้ก็เป็นเรื่องดี เพราะหน้าที่ของเราเป็นผู้ดูและให้กำหนดรู้เท่านั้นเอง ..อย่าไปกลัว มีอะไรมาก็ให้รู้ ดีกว่าไม่มีอะไรมาให้รู้

    </dd> <dd> ส่วนเรื่องทานน้ำมากนั้นอาจเป็นเพราะปกติไม่เคยสนใจหรืออาจจะคุยมากหรือทำงานเพลินจนลืมทาน จึงลืมสังเกตว่าตนเองปากแห้งคอแห้ง ในพอมาอยู่ในห้องปฏิบัติที่ไม่รู้จะทำอะไรก็อาจรินน้ำดื่มดีกว่าอยู่เฉยๆ เพื่อหางานมากำหนดก็ได้ ..ซึ่งไม่ถูกต้อง
    </dd>
    <dt>[FONT=ms Sans Serif,] TOP[/FONT]</dt> ​
    [/FONT] <center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table15" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd>ถาม เวลาปฏิบัติแล้วเจอนิวรณ์ เช่น ง่วง จะกำหนดอย่างไรครับ? เมื่อเกิดง่วงปุ๊บเราก็รู้แล้วไปนอนเลยหรือเปล่า?

    </dd> <dd>ตอบ เป็นเรื่องธรรมดาของคนเราพอหนาวมากก็ง่วง ร้อนจัดก็ง่วง ว่างมาก็ง่วง เรียนไม่รู้เรื่องก็ง่วง เพราะถีนะมิทธะนั้นพร้อมที่จะครอบคลุมเราตลอดเวลา เรียกได้ว่าเป็นเงาของชีวิตที่พร้อมจะมาตอนที่จิตไม่มีความตื่นตัวเบิกบาน และการไปเข้าปฏิบัตินั้นก็ไม่มีเรื่องอะไรให้เบิกบานและก็มีงานทำน้อย ชีวิตปกตินั้นทำงานสารพัดจึงมีความตื่นตัวจึงหลับไม่ได้ แต่พอว่างปุ๊บก็จะหลับจึงเป็นเรื่องธรรมดา

    </dd> <dd>เวลาที่ปฏิบัติเมื่อเกิดความง่วงนั้น เราต้องดูความสมควรของเรา เช่น ง่วงตอนสี่ทุ่มก็ไม่ต้องไปฝืนล้างหน้าแต่ให้นอนไปเลยเพราะเป็นเวลาที่สมควรนอน แต่ถ้าตื่นเช้ามาพอทานข้าวเสร็จก็ง่วงอีกแล้ว อย่างนี้ต้องพิจารณาแล้วว่าไม่ควรนอน เมื่อเรารู้ว่าเราทานอาหารเสร็จแล้วและนั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ นั้นมันเปิดโอกาสให้ถีนะมิทธะเข้ามาได้คือง่วง จึงต้องกำหนดรู้สึกคือนามข้าไปรู้ นามจิตรู้แล้วว่าขณะนี้เราถูกครอบงำด้วยถีนะมิทธะเริ่มง่วงแล้ว พอเริ่มง่วงแล้วก็รู้และแก้ไข

    </dd> <dd>เมื่อพระโมคคัลลานะท่านง่วง พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ให้แก้ไขโดยการขยับตัว หรือเปลี่ยนอิริยาบถไป ถ้ายังไม่หายง่วงก็ให้หาไม้แยงหู ถ้ายังไม่หายอีกก็ไปล้างหน้า ถ้ายังไม่หายอีกก็ออกไปเดิน ถ้ายังไม่หายอีกทีนี้ก็ให้นอนไปเลย เพราะถีนะมิทธะมีสภาพที่งอมมากแล้วก็อย่าไปทนมัน แต่ถ้าเพิ่งเริ่มง่วงนิดหน่อยก็ให้เปลี่ยนจากนั่งไปเดิน เพราะรูปเดิน รูปยืน ก็กำหนดวิปัสสนาได้ไม่ใช่กำหนดรูปนั่งอย่างเดียว
    </dd>
    [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </center><center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table16" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd>ถาม เวลาที่สมควรจะนอนเช่นตอนกลางคืนนั้นมีความกลัวผีเลยนอนไม่หลับ จึงส่งผลมาถึงกลางวันทำให้ง่วง จะทำอย่างไรดีครับ?

    </dd> <dd>ตอบ ทุกคนมีความกลัวผีเป็นทุนเพราะเราถูกหลอกมาตั้งแต่เด็กว่ามีผีหลอก มีตุ๊กแกกินตับ แล้วเราก็ดูหนังผีที่เขาสร้างให้น่ากลัว จิตของเราก็เลยเก็บข้อมูลของผีหลอกเอาไว้ เราจึงต้องมาทำความรู้จักผีกันก่อน ..ผีคือซากศพ และอีกหน่อยเราก็เป็นผี บอกตัวเองเลยว่าในที่สุดวันหนึ่งข้างหน้าไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้เราต้องเป็นผี เราจะหนีความเป็นผีไปไม่ได้ แต่สิ่งที่เรากลัวก็คือพวกโอปปาติกะ ซึ่งกลัวว่าจะมาทำร้ายหรือมาหลอกเรา

    </dd> <dd> ขอให้ทำความเข้าใจเรื่องภพภูมิว่าผู้ที่อกุศลนำเกิดนั้นจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานต่างๆ และสัตว์ในนรก เปรต อสุรกาย ที่เรียกว่าโอปปาติกะ ซึ่งชีวิตของเขาเหล่านี้เขาก็มีทุกขเวทนามากมายทับถมไม่มีเวลามาหลอกหลอนใครหรอก เป็นชีวิตที่ต้องเสวยทุกขเวทนาจากอำนาจกรรมอยู่ตลอดเวลาจึงไม่มีเวลาเหลือมาแลบลิ้นปลิ้นตาหลอกใคร แต่ที่เราจำภาพไว้ก็คือภาพจากในหนัง ในพวกเปรตนั้นมีเพียงชนิดเดียวที่รับส่วนกุศลได้คือ ปรทัตตูปชีวิกเปรต ซึ่งชีวิตของเขาก็มีความหิวอยู่ตลอดเวลา ให้ลองนึกถึงความจริงว่า คนที่กำลังหิวมากๆ จะมาแกล้งหลอกใครไหม? ไม่หรอก

    </dd> <dd> หรืออย่างอสุรกายที่เกิดด้วยอำนาจของความผูกพยาบาทมากจะมีความหงุดหงิดมาก มีการทำร้ายตนเองด้วยมือของตนเองอย่างหยุดไม่ได้เหมือนคนตีอกชกหัวเพราะเป็นไปตามอำนาจกรรม เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะมาหลอกใครได้ไหม? ไม่ได้ หรืออย่างพวกสัตว์นรกก็ยากที่จะมาหลอกได้เพราะเป็นภูมิที่อยู่ไกลจากเรามากเหลือเกินลึกยิ่งกว่าใต้ดินลงไปอีก และก็ขอให้ถามตนเองว่าเราหวังร้ายหรือหวังดีกับผู้อื่นมากกว่ากัน? ถ้าเราหวังดีกับผู้อื่นมากก็ไม่ต้องไปกลัวอะไร เพราะเรารู้จักชีวิตของเราดีว่าเราเป็นคนอย่างไร ชั่วย่อมไหลไปหาชั่ว ดีย่อมไหลไปหาดี และในขณะปฏิบัติวิปัสสนากำลังทำความดี..อย่ากลัวผีเด็ดขาด ให้กลัวว่าไม่ได้ปัจจุบันดีกว่า

    </dd> <dd>ถาม ทราบแล้วว่า เป็นเพราะใจหลอกตัวเอง แล้วอย่างนี้จะกำหนดอย่างไรเพื่อจะตัดความรู้สึกนี้ออกไป?

    </dd> <dd>ตอบ ก็ต้องมีเทคนิกสร้างความกล้าด้วยการพิสูจน์ พอรู้สึกกลัวก็หันไปพิสูจน์เลย ถ้าหากเจอก็ให้แผ่เมตตาเพื่อให้เขาไป ถ้าหากเขายังอยู่ก็ลองคุยกับเขาดู บอกไปเลยว่า เราเป็นรุ่นพี่เพราะเคยเป็นผีมาก่อนส่วนเขาเป็นแค่รุ่นน้องเท่านั้น ...ให้หันไปคุยเหมือนทักเพื่อนก็ได้ กล้าเสียอย่าง กลัวไปแน่
    </dd>
    <dt>[FONT=ms Sans Serif,] TOP[/FONT]</dt> ​
    [/FONT]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </center><center>
    <table style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" id="table17" bgcolor="#FF9900" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="93%"> <tbody><tr> <td style="font-family: MS Sans Serif; font-size: 12pt" bgcolor="#FDF4DF"> [FONT=ms Sans Serif,]
    <dd> </dd> <dd> </dd> <dd> ถ้าไม่มีใครถามอะไรแล้วก็จะขอย้ำความสำคัญว่า ขอให้เข้าใจว่าตอนไปปฏิบัตินั้นไปทำอะไร ต้องไปใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ให้ตั้งใจเอาความรู้จากตรงนี้ไปใช้ เมื่อเตรียมพร้อมจากบ้านแล้วก็ปวารณาเลยว่า จะต้องไปเข้าปฏิบัติแล้ว เราจะไปละกิเลสความเห็นผิดต่างๆ หรือไปเพิ่มพลังสติและปัญญา ..เป็นการมีมนสิการไปแล้วก็มุ่งตรงไป พอไปถึงก็ทำตามระเบียบของสำนักให้เรียบร้อย

    </dd> <dd>เมื่อเข้าห้องไปแล้วก็ให้ระลึกขึ้นว่า มองย้อนเข้าไปสองพันห้าร้อยกว่าปีนั้นพระสุคตเจ้าท่านอุบัติขึ้นมาและโปรด เวไนยสัตว์มากมายมีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นต้นได้บรรลุดวงตาเห็นธรรมสิ้นโคตร สิ้นชาตินั่นก็คือสิ้นทุกข์ บัดนี้ สองพันห้าร้อยห้าสิบเอ็ดปีล่วงมาแล้ว ถ้าหากเราเวียนว่ายตายเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เป็นยี่สิบห้าชาติแล้วที่เรามี ชีวิตมา ถ้าหากเราไม่รีบทำ พ.ศ.ที่มีมากชาติก็ยิ่งมีมาก ยิ่งชาติมีมากทุกข์ก็มีมากตามไปด้วย

    </dd> <dd>ฉะนั้น แม้กาลจะล่วงผ่านไปมากแล้วแต่วันนี้เราขอเดินตามคำสั่ง คือ การกำหนดรู้ และตั้งใจอธิษฐานเลยว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะชำระความโง่ของเรา จากนั้นก็กำหนด ..รูปนั่ง..ไปเลย

    </dd> <dd>ก็ขอให้พยายามทำไป ความสำเร็จขึ้นอยู่ที่ใจ เหนือสิ่งใดคือใจต้องสู้ การเรียนเราพร้อมพรั่งพรู เหลือแต่สู้คือรู้ทุกข์ให้ได้ เพราะทุกข์เป็นของที่ให้เรากำหนดรู้ และบางครั้งในการดูรูปนามก็ไม่ต้องไปตามดูละเอียด เช่น เดินแล้วก็เห็น กำหนดนามเห็น สิ่งเล็กสิ่งน้อยก็ไปตามกำหนดอยู่ถี่ๆ ซึ่งเป็นการหาอารมณ์ ถ้าเรานั่งอยู่แล้วจะไปเดินเพื่อแก้ไขทุกข์ เราต้องมีการเดินเป็นประธานของอารมณ์ โดยจะต้องกำหนดรู้สึกในการเดินนั้นไป บางครั้งอาจเห็นอะไรเพราะห้ามการเห็นไม่ได้แต่ไม่ต้องไปใส่ใจพิจารณาว่ารายละเอียดคืออะไร เพราะจะทิ้งไปจากอิริยาบถที่เป็นฐานที่ตั้งของสติ

    </dd>
    <dd> แต่ละอิริยาบถนั้นจะสามารถทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จึงต้องมองอิริยาบถนั้นให้ทะลุคือแจ้งในทุกข์ โดยกลับมาดูที่ฐานให้ได้
    </dd> ​
    [/FONT]</td></tr></tbody></table>
     
  14. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    พอมั้ยคะ คุณขุนทิพย์
    วันจันทร์จะนำมาให้อ่านอีกค่ะ

    [​IMG]
     
  15. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    สอบแล้วเหรอ..................
     
  16. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ค่ะ เสาร์อาทิตย์นี้ เยอะมากๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ
    คิดว่า ถ้าไม่เบลอเกินไป น่าจะผ่านนะคะ
    ทำใจสบายๆไว้ค่ะ555 เดี๋ยวเครียดไม่ดี ไม่ดี
    ทำกุศลอยู่555

    ไปทบทวนต่อนะคะ แวะมาพักแป๊บเดียว
     
  17. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    โชแปง กับ ซั๋วเจ๋ง คนเดียวกันหรือเปล่า
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เป็นสาขาย่อย ของ หลงเข้ามา ^^
     
  19. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    อืม..สำนักงานใหญ่ คือ หลงเข้ามา ใช่บ่


    .............................................

    คลิ๊กฟังพุทธพจน์คาถากันค่ะ
    ฝืนๆ กันหน่อยเร้ว

    ควรฝืนใจในการทำความดี ในธรรมรส ในพุทธพจน์คาถา ห้องสมุดพุทธรรม
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...