อยากถามเรื่อง สมาธิ ค่ะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Bloodeagle, 23 มกราคม 2012.

  1. Bloodeagle

    Bloodeagle Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +49
    คือขณะนั่งมีความคิดฟุ้งซ่าน มีเสียงเพลงอยู่ในหัว แบบนี้มีวอธีแก้ยังไงค่ะ
     
  2. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    ทำสัมมาสมาธิให้เกิดสิครับ
    หลักการของพระศาสนา คือ ละชั่ว ทำความดี ทำใจให้ผ่องใส
    ดังนั้นก่อนจะไปสู่ขั้นของการภาวนาทำความดี จะข้ามขั้นของการละความชั่วไม่ได้ ไม่งั้นเราจะทำความดีไม่ขึ้น คือใจจะถูกรบกวนจากอารมณ์ฟุ้งซ่านจนไม่เป็นอันตั้งมั่นเป็นสมาธิ อย่าลืมนะครับว่าก่อนที่เราจะมาภาวนานั้น ตลอดทั้งวัน ทวารต่างๆของเรารับอารมณ์มาปรุงแต่งจนฟุ้งซ่านเยอะแยะเก็บไว้ในจิต
    เราจึงยังไม่ควรใจร้อนภาวนา ก่อนภาวนาจึงจำเป็นที่เราต้องทบทวนข้อธรรมเพื่อชำระใจละความชั่วความฟุ้งซ่านให้ใจสะอาดซะก่อน

    อุปมาว่าการภาวนาคือการทาสีใหม่ลงไปที่ผิวชิ้นงาน ก่อนทาสีเราก็ต้องลอกคราบสกปรกหรือละความชั่วความฟุ้งซ่านออกไปจากชิ้นงานหรือจากจิตซะก่อน สีใหม่หรือการภาวนาจึงจะทาลงไปที่ผิวชิ้นงานได้อย่างราบรื่น

    อย่างน้อยต้องเริ่มจากทบทวนในศีลที่เราตั้งใจรักษา อย่าลืมว่าศีลเป็นพื้นฐานของสัมมาสมาธิ ถ้าพื้นไม่แน่นเราจะทำสมาธิให้ดีไม่ได้
    จึงควรทบทวนว่าในวันนี้ที่ผ่านมา เราผิดพลาดในศีลอะไรมาบ้าง เมื่อรู้ว่าพลาดให้ขอขมาพระรัตนตรัย แล้วตั้งใจเอาใหม่ให้ดี ทบทวนว่าเมื่อก่อนที่เราไม่มีศีล ชีวิตเราแย่ยังไง เมื่อเราตั้งใจรักษาศีล ชีวิตเราดีขึ้นอย่างไร ทบทวนให้ใจเชื่อมั่นว่าคนที่มีศีลจะมีความสุขในปัจจุบันและสุขเมื่อตายไปแล้วขนาดไหน ทบทวนให้เห็นว่าถ้าคนทั้งโลกมีศีล โลกนี้จะมีความสุขขึ้นอย่างไรแค่ไหน

    เมื่อทบทวนในศีลแล้วก็ทบทวนในคุณความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์
    ทบทวนให้เห็นว่าพระท่านดีต่อเราและสรรพสัตว์ทั้งหลายเหลือเกิน ที่ท่านให้ศีลมาเป็นเครื่องรักษาใจเราให้มีความสุข เราคงไม่มีทางรู้เรื่องศีลได้เองแน่ๆ ถ้าพระท่านไม่เคยสอนเรา พระท่านจึงเป็นผู้มีพระคุณใหญ่ต่อเราและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อพระท่านสอนมาว่า ชีวิตนี้ไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง แปลว่าวันนี้เราอาจตายก็ได้ เราจึงขอใช้ลมหายใจที่ยังเหลืออันน้อยนิด เอาบุญอันเกิดจากการมีศีลของเราตั้งแต่ชาติแรกจนถึงชาติปัจจุบัน อุทิศถวายตอบแทนพระคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ขอคุณพระรัตนตรัยได้โปรดโมทนาในกุศลนี้ที่เราตั้งใจทำถวายด้วยเถิด เมื่อพระท่านโมทนาแล้วขอจงเมตตานำส่งบุญกุศลนี้ ให้สำเร็จแก่ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลายในชีวิตเรา ไม่ว่าจะคุณพ่อคุณแม่ ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่เคยปกปักรักษาเรามาในทุกภพทุกชาติ อีกทั้งท่านเจ้ากรรมนายเวรของเราตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน และเพื่อนร่วมเวียนว่ายตายเกิดทั่วจักรวาลทั้งสี่ ก็ขอให้ทุกท่านที่เรากล่าวมาจงโมทนาบุญนี้ แล้วอโหสิกรรมให้เราด้วย เมื่อโมทนาแล้วก็ขอให้ทุกท่านได้พ้นทุกข์โดยทันที มีความสุขยิ่งๆขึ้นไป ถ้าบุญนี้ช่วยให้ท่านได้สิ้นทุกข์ดับเชื้อ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดได้อีกเลย เราก็ยิ่งยินดี
    และขอให้ผลบุญที่เราทำครั้งนี้จงช่วยให้เราทำความสงบใจได้ง่าย ในทุกที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ นับแต่บัดนีไป

    แล้วสุดท้ายก็ทบทวนในอธิษฐานความตั้งใจของเราว่า เราต้องการภาวนาทำความสงบใจไปเพื่ออะไร เพื่อจะได้เด่นดีกว่าคนอื่นหรือเปล่า หรือเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌานหรือเปล่า หรือเพราะเราเข้าใจแล้วว่า เราอาจตายได้เสมอ ถ้าเราตายคราวนี้ เราขอตายไปด้วยใจที่สงบจากความชั่วทั้งหลาย การภาวนาให้ใจมีสติอยู่กับความดี จึงเป็นสิ่งดีที่สุดแล้วที่เราควรทำตอนนี้ เพื่อให้เราตายแล้วไม่พลาดจากพระนิพพาน

    แล้วก็ภาวนาไปตามถนัดได้เลยครับ เพราะใจตอนนี้เป็นกุศลเต็มที่แล้ว สะอาดเต็มที่แล้ว การทำสมาธิต่อจากนี้ไปจึงเป็นสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ถูกตรงตามหลักมรรคคาอันมีองค์แปดของพระพุทธเจ้า เป็นสมาธิที่จะทำให้เกิดปัญญาดับทุกข์ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2012
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  4. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    ถ้าศิล5ไม่สมบูรณ์สมาธิก็ไม่ได้ครับ

    เริ่มต้นด้วยการรักษาศิลให้บริสุทธินะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    ปัจจัตตัง

    หายใจ "เข้า" ภาวนา "พุท"
    (สติกำหนดรู้ลมกระทบที่ชัดที่สุด เช่นปลายจมูก (ไม่ต้องติดตามลม)
    เสมือนน้ำ(ลมหายใจ)ไหลผ่านกระทบหลักปัก(สติ)ในน้ำนั้น ให้ตลอดลมหายใจ
    รับรู้ถึงความรู้สึกที่สัมผัสลมหายใจ เข้า-ออกนั้นต่อเนื่องตลอดสายลมว่า ลมสัมผัส หนัก-เบา รู้ชัด ; หยาบ-ละเอียด รู้ชัด; สั้น-ยาว รู้ชัด )
    หายใจ "ออก" ภาวนา "โธ"
    (สติกำหนดรู้ลมกระทบที่ชัดที่สุด เช่นปลายจมูก (ไม่ต้องติดตามลม)
    เสมือนน้ำ(ลมหายใจ)ไหลผ่านกระทบหลักปัก(สติ)ในน้ำนั้น ให้ตลอดลมหายใจ
    รับรู้ถึงความรู้สึกที่สัมผัสลมหายใจ เข้า-ออกนั้นต่อเนื่องตลอดสายลมว่า ลมสัมผัส หนัก-เบา รู้ชัด ; หยาบ-ละเอียด รู้ชัด; สั้น-ยาว รู้ชัด )
    นับในใจ (นับในขณะที่ สติกำหนดรู้ชัดถึงกองลมอยู่นั้น)
    V
    V
    หายใจ "เข้า" ภาวนา "พุท"
    (สติกำหนดรู้ลมกระทบที่ชัดที่สุด เช่นปลายจมูก (ไม่ต้องติดตามลม)
    เสมือนน้ำ(ลมหายใจ)ไหลผ่านกระทบหลักปัก(สติ)ในน้ำนั้น ให้ตลอดลมหายใจ
    รับรู้ถึงความรู้สึกที่สัมผัสลมหายใจ เข้า-ออกนั้นต่อเนื่องตลอดสายลมว่า ลมสัมผัส หนัก-เบา รู้ชัด ; หยาบ-ละเอียด รู้ชัด; สั้น-ยาว รู้ชัด )
    หายใจ "ออก" ภาวนา "โธ"
    (สติกำหนดรู้ลมกระทบที่ชัดที่สุด เช่นปลายจมูก (ไม่ต้องติดตามลม)
    เสมือนน้ำ(ลมหายใจ)ไหลผ่านกระทบหลักปัก(สติ)ในน้ำนั้น ให้ตลอดลมหายใจ
    รับรู้ถึงความรู้สึกที่สัมผัสลมหายใจ เข้า-ออกนั้นต่อเนื่องตลอดสายลมว่า ลมสัมผัส หนัก-เบา รู้ชัด ; หยาบ-ละเอียด รู้ชัด; สั้น-ยาว รู้ชัด )
    นับในใจ (นับในขณะที่ สติกำหนดรู้ชัดถึงกองลมอยู่นั้น)
    V
    V
    หายใจ "เข้า" ภาวนา "พุท"
    (สติกำหนดรู้ลมกระทบที่ชัดที่สุด เช่นปลายจมูก (ไม่ต้องติดตามลม)
    เสมือนน้ำ(ลมหายใจ)ไหลผ่านกระทบหลักปัก(สติ)ในน้ำนั้น ให้ตลอดลมหายใจ
    รับรู้ถึงความรู้สึกที่สัมผัสลมหายใจ เข้า-ออกนั้นต่อเนื่องตลอดสายลมว่า ลมสัมผัส หนัก-เบา รู้ชัด ; หยาบ-ละเอียด รู้ชัด; สั้น-ยาว รู้ชัด )
    หายใจ "ออก" ภาวนา "โธ"

    (สติกำหนดรู้ลมกระทบที่ชัดที่สุด เช่นปลายจมูก (ไม่ต้องติดตามลม)
    เสมือนน้ำ(ลมหายใจ)ไหลผ่านกระทบหลักปัก(สติ)ในน้ำนั้น ให้ตลอดลมหายใจ
    รับรู้ถึงความรู้สึกที่สัมผัสลมหายใจ เข้า-ออกนั้นต่อเนื่องตลอดสายลมว่า ลมสัมผัส หนัก-เบา รู้ชัด ; หยาบ-ละเอียด รู้ชัด; สั้น-ยาว รู้ชัด )
    นับในใจ (นับในขณะที่ สติกำหนดรู้ชัดถึงกองลมอยู่นั้น)
    V
    V
    ทำเช่นนี้ ซ้ำๆกัน นับไป ๔,๕,๖,๗,๘,๙ ( เรียกว่า อนุโลม)และ
    ๙,๘,๗,๖,๕,๔,๓,๒,๑ (เรียกว่า ปฏิโลม)และ
    ๑,๒,๓............,๙
    ( อนุโลม,ปฏิโลม) ไปเรื่อยๆ
    ********************
    เป็นวิธีที่กระผมใช้ได้ผล....ลองดูครับ
    หาความรู้เพิ่มเติมได้ในหนังสือ วิสุทธิมรรค ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...