คำทำนายหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก เรื่องภัยพิบัติ (UPDATE!)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ขจรศรี, 4 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ขจรศรี

    ขจรศรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +870
    (UPDATE! บทสวดพระอาการวัตตาสูตรและไฟล์เสียง กระทู้ที่15 ค่ะ)

    คิดอยู่นานว่าควรจะพิมพ์ให้ผู้คนได้อ่านดีรึป่าว แต่ก็ตัดสินใจว่า จะพิมพ์ในสิ่งที่เป็นข้อมูลมีหลักฐานอ้างอิงได้<O:p</O:p
    เพื่อให้ทุกคนร่วมเตรียมใจอีกรอบ หลังจากที่ทุกคนคงได้รับข่าวสารเรื่องภัยพิบัติระดับโลกที่คนไทยก็ต้องเผชิญ<O:p</O:p
    เหมือนเป็นการตอกย้ำว่า "เกิดแน่" แต่ก็จะถอดใจ ไม่กังวล และพยายามไม่ตามข่าวสารเรื่องนี้มากแล้ว<O:p</O:p
    เพราะมีข้อสรุปชัดเจนว่า... "เกิดแน่! ตายแน่!" แต่จะเป็นเมื่อไหร่ ก็ไม่อาจรู้ได้.... (รอทีเผลอว่างั้นเหอะ)<O:p</O:p
    เพราะเชื่อว่า "กรรมนั้นก็ฉลาดพอที่จะเล่นงานผู้ที่อยู่ภายใต้กฏแห่งกรรมแน่นอน!!!"
    ฉะนั้น สิ่งที่ตัวเองจะทำ... พยายามทำ... และจะต้องทำให้ได้... คือ<O:p</O:p
    สร้างทาน ศีล ภาวนา บารมี 10 ไปเรื่อยๆ <O:p</O:p
    ศีลห้าที่ต้องพยายามให้บริสุทธิ์จริงๆ<O:p</O:p
    ภาวนาให้เห็นกาย เห็นจิตตน และต้อง ตายหนอ.. ตายแน่... ตาย.. ตาย.. ตาย.. (จิตยังไม่น้อมรับเลย ได้แต่พูดเล่น)<O:p</O:p
    แต่ก็ยังลุ้นอยู่ว่า จะมีผู้มีอภิญญา ผู้มีบารมี... มาช่วยได้มากน้อยแค่ไหน เรียกว่า ผ่อนหนักให้เป็นเบา แต่...ยังไงก็ตามผู้ที่รอด ก็ต้องมีบุญด้วยนะ!!!<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ขอให้ทุกคนโชคดีกับคำทำนายที่ได้อ่านนะคะ<O:p</O:p
    ********************************************************
    คำทำนายที่หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก บอกหลวงพ่อสนอง กตปุญโญผู้เป็นศิษย์ ไว้ และหลวงพ่อสนองได้พูดอีกครั้งในสถานีโทรทัศน์พุทธภูมิ999 ของวัดสังฆทาน<O:p</O:p
    และได้นำมาลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สังฆทานนิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์ที่ทางวัดจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ธรรมะต่างๆ แจกฟรีเป็นธรรมทานทุกเดือน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ข้อความที่เกี่ยวเนื่องกับคำทำนายเรื่องภัยพิบัติที่หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก บอกหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ ไว้ มีดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หนังสือพิมพ์วัดสังฆทานนิวส์
    ฉบับที่ 87 ประจำวันที่ 1-31 ธ.ค. 2553
    คอลัมน์ "คุยกับหลวงพ่อ" (หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ....อาตมาไม่เคยคิดจะอยู่ที่เจริญ มาอยู่สังฆทานกะว่าอายุ 45 ปีจะเข้าป่า วางแผนไว้อย่างดี เดี๋ยวทำเสร็จยังกับตัวเองเนรมิตได้ อายุ 45 ปี ยังไม่มีอะไร ทำมา 45 ปี วัดเจริญฉันไปแล้ว มันไปไม่ได้เราคนหมู่มาก ต้องสงเคราะห์ญาติ ไปก็ต้องเอากันไปให้หมด ภัยมาเราไม่ปกป้องคนเขาลงเราต้องปกป้อง หลวงปู่สังวาลย์ท่านพยากรณ์ไว้ ที่จริงอาตมาไม่อยากออกทีวีหรอกเพราะเดี๋ยวคนจะตื่นตัว แต่ก็ดีแล้วพวกที่คนทั้งหลายมันหลงมันจะได้เบาลง แต่ว่าบางทีอาจจะด่าเราก็ได้ ว่าหลวงพ่อเพ้อเจ้อ.. หลวงปู่สังวาลย์พูดให้ฟัง บอก...สนอง...ไม่ช้าพวกเราก็ตายแล้ว แต่โลกนี้จะเดือดร้อน แต่ถ้าเราอยู่ถึงก็จะเห็นภัย 3 อย่าง น้ำจะท่วมภาคใต้ ฝั่งตะวันตกตายกันเยอะ ครั้งที่1 แล้วก็ตายไม่เท่าน้ำท่วมกรุงเทพ กรุงเทพนี่ น้ำท่วมมาก ท่วมตึก 4 ชั้นเลย สนอง...เตรียมน้ำมันรถไว้ให้ดีนะ เตรียมรถให้ดี อย่าใช้ รถเก่านะ ถ้ามันท่วมกรุงเทพเนี่ย ฝนจะตก 7 วัน 7คืน ฟ้าจะมืดหมด ไม่มีแสงอาทิตย์ แสงตะวัน แล้วไฟดับหมด เงินไม่มีค่า เงินไม่มีความหมาย เอาข้าวตากไว้ดีกว่า ตอน 7วัน 7คืน.. อาตมาอดได้ไม่ตายหรอก แต่คนอื่นจะตายหรือเปล่า เพราะอาตมาเคยอดมาตั้ง19วัน 15วันอดได้ มีน้ำอยู่ได้เพราะผ่านวิกฤตินี้มาแล้ว แต่พวกคนไม่เคยอดกิน 3มื้อนี่วันจะตายหรือเปล่า จะท่วมกรุงเทพคนจะตายกันเยอะ ท่านบอกเราที่วัดอีกครั้งหนึ่ง เวลาฝนตก 7วัน 7คืน ถ้าน้ำท่วมมาถึงชลบุรีโกยเลยนะ ไปโน้นเลย สระบุรีไปเขาใหญ่เลยจะไม่ตาย...<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เราจะโกยไปทำไมคนเดียวล่ะ คลื่นยักษ์มาถึงชลบุรีท่วมภูเขามาเลย ท่วมไปถึงวัดทุ่งน่ะ วัดทุ่งนี่เรานั่งพื้นน้ำเปียกหัวเรือเลยนะ น้ำไปสุดนครสวรรค์...เราบวชมานานเชื่อเราสิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แล้วก็จะเกิดสงครามพระ สงครามพระจะไปลุกทุกหย่อมหญ้าเลย สงครามพระจะเกิด เชื่อเราไหม ก็ยังไม่เห็น เชื่อก็ไม่ได้จะไม่เชื่อก็ไม่ได้ นั่งเฉยก่อน เรากรรมฐานมานาน ท่านบอกว่ามันเป็นกรรมของคนไทย ไปดูสิเดี๋ยวเราตาย วัดทุ่งก็เหมือนกับวัดหลวงพ่อสำเภาที่ลพบุรีน่ะ เมื่อตอนหลวงพ่อเภาอยู่นี่เจริญมาก คนกรุงเทพขึ้นอุดมสมบูรณ์มาก ทุกวันนี้วัดเงียบเลย อยู่ที่ลพบุรี เราอยากจะพาพวกลูกศิษย์ไปดู ตอนที่หลวงปู่สังวาลย์อยู่อุดมสมบูรณ์ เราอยากจะพาไปดู มันจะได้รู้ว่า สิ้นเราแล้วเนี่ยสุนัขก็อดข้าว...ท่านพูดไว้นะ (อ่านต่อฉบับที่ 88...)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ต่อฉบับที่ 88 ประจำวันที่ 1-31 ม.ค. 2554<O:p</O:p
    คอลัมน์ "คุยกับหลวงพ่อ"<O:p</O:p
    หลวงปู่สังวาลย์พูดเรื่องอนาคตให้ฟังต่อไปว่าให้เตรียมตัวไว้นะ เราก็ถามว่า หลวงพ่อแก้ไม่ได้เลยเหรอ พอไม่นานน้ำก็ท่วม ท่วมภาคใต้ เกิดสึนามิ ตอนนั้นอาตมากลับมาจากต่างประเทศมีเงินแค่ 4,000 บาท บอกให้บัญชีดูเงินว่ามีเงินพอไหม ไม่ใช่เงินในธนาคารนะ เงินอยู่ในตู้บริจาคน่ะ มีแค่ 4,000 บาท เอา 4,000 บาทไปซื้องของเลย เอารถบัสไปเลยซื้อของ แล้วซื้อแก๊สไปช่วยภาคใต้ คลื่นสึนามิ บ้านช่องหายหมดแล้วคนก็ไม่มีบ้าน บ้านก็ไม่มีคน บอกกันว่าอยู่ที่วัด บ้านน้ำเค็ม เราก็ส่งของไปอีก ก็หาเอาเงินซื้อพอไปถึงที่ ก็จริงอย่างหลวงปู่ว่า คนจะตายกันเยอะ เคยเล่าไปแล้ว ไม่เล่าต่อแล้ว นี่คือคำพยากรณ์ของครูบาอาจารย์

    เหลืออีกสองอย่างที่ยังไม่จริง ยังไม่ถึง ศึกพระ กับน้ำท่วมกรุงเทพ คนจะตายกันเยอะตายมากกว่าคราวนี้ท่านไม่บอกปีนะ ท่านเตือนบอกให้ระวังตัว เตือนเราว่าให้ดูฝนตก 7วัน 7คืน ฟ้ามืด ไฟจะดับหมด สงสัยจะมีพายุอย่างแรง ไฟฟ้าสงสัยจะดับหมด แต่อาตมาจะมีวิธีไป เดี๋ยวจะพาไป ไม่ตื่นตูม เป็นคนไม่ตื่นตูม เชื่อก็เชื่อแต่ไม่ตกใจ จะไปอย่างสวยๆ ถ้าจะตายก็ตายอย่างเตรียมตัวตายก่อน ตายยิ้มตาย อาตมาจะไม่ร้องไห้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เพราะฉะนั้นคนเรานะมันต้องตาย วิบัติมันเกิดขึ้น เราไม่อยากให้เกิดวิบัติ วิบัติอย่างนี้เราไม่อยากได้ แต่ว่าป้องกันไม่ได้................<O:p</O:p
    ***********************************************<O:p</O:p


    ประวัติ หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก

    พระกรรมฐานแห่งเมืองสุพรรณ
    [​IMG]


    นาม เดิมท่านคือสังวาลย์ นามสกุล จันทร์เรือง เกิดเมื่อ จันทร์ เดือน 4 ปีมะโรง (2459)
    ที่บ้านหนองผักนาก สามชุก สุพรรณบุรี บรรพบุรุษท่านมีอาชีพทำนา
    แต่โยมบิดาท่านเป็นผู้ที่ได้นำภาพยนตร์มาฉายในอำเภอสามชุกเป็นคนแรก

    อุปสมบท ครั้งแรก เมื่ออายุครบบวช แต่ด้วยความที่ท่านเป็นคนไม่รู้หนังสือ
    บทสวดมนต์บางบท ท่านต้องจำจากที่แม่ชีสวดกัน ท่านจึงสวดมนต์ได้แค่อิติปิโส ฯ พาหุง ฯ
    แม้แต่นะโมก็ต้องต่อเอา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องลาสิกขาบท ทั้งๆ ที่ไม่อยากจะลาเลย

    ชีวิตสมรส ท่านสมรสกับแม่บาง เมื่ออายุ 26 ปี ในปี 2448 แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน
    ท่านยึดอาชีพทำนาแต่ด้วยเหตุที่ท่านมีสุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรงเท่าไรนัก
    บางครั้งขณะที่ทำงานเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา ท่านก็ต้องผลัดกันไถนาโดยอาศัยห้างนาเป็นที่พัก
    รอจนไข้ลดจึงได้ออกมาทำนาเป็นปรกติ บางทีก็ทำนาไม่ได้ ต้องให้ภรรยาท่านเป็นคนทำ
    ท่านจึงรับหน้าที่ เป็นผู้ช่วยหุงหาอาหารให้ภรรยาเท่านั้นเอง ท่านได้ทนทุกข์ทรมานกับโรคภัยถึง 2 ปี
    โดยในระหว่างนั้นท่านได้รับคำแนะนำจากแม่ชีจินตนา ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    ให้ทำกรรมฐานเผื่อว่าโรคจะหาย

    ความ ที่ท่านมีโรคภัยนี้เอง จึงได้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านได้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร
    เห็นภัยที่เกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ขึ้นมา ท่านเล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งแม่บางไม่สบาย
    ท่านก็ได้ช่วยดูแลตามประสาสามี ธรรมดาของคนป่วยย่อมจะต้องมีความอิดโรยเป็นธรรมดา
    และช่วยตัวเองไม่ได้ ท่านจึงช่วยตักน้ำราดศีรษะให้แม่บาง พอน้ำราดลงบนเส้นผม
    ไอระเหยที่โดนเส้นผมนั้น ส่งกลิ่นชวนให้น่ารังเกียจ เนื่องจากไม่ได้ทำความสะอาดมาเป็นเวลานาน
    ทำให้ท่านเกิดสลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่งว่า
    ร่างกายของคนเรานี้เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี เป็นรังแห่งโรค
    เป็นที่เกิดแห่งทุกข์

    ครั้งหนึ่งท่านได้เดินผ่านกระจกเงาบานใหญ่ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ทั้งตัว
    แทนที่ท่านจะมองเห็นเป็นรูปร่างของตัวท่าน ท่านกลับเห็นเป็นอสุภนิมิต
    มีโครงกระดูกขึ้นแทน ด้วยตัวท่านเป็นผู้ฝึกทำกรรมฐานอยู่เสมอ
    จึงทำให้จิตใจที่ได้รับการฝึกฝนอยู่ย่อมเกิดปัญญาเกิดความรู้เห็นขึ้น
    มีญาณทัศนะปรากฏขึ้น ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ท่านเห็นภัยในสังขารยิ่งขึ้นและเกิดความเบื่อหน่าย
    ที่จะครองเรือนอีกต่อไป การสละจาการครองเรือนจึงได้เกิดขึ้น

    ท่าน ได้บอกกับแม่บาง ให้รู้ถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ที่ท่านจะไปสู่ธรรมวินัยของพระบรมศาสดา
    เพื่อที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ให้จงได้ ในการจะออกบวชในครั้งนี้ท่านก็ได้ให้พ่อห่วง
    ผู้เป็นบิดา ให้บอกกับลูกหนี้ทั้งหมดที่เป็นหนี้เป็นสินกับบิดาของท่าน ให้มาประชุมพร้อมกัน
    และท่านได้ขอร้องพ่อห่วงให้ยกเลิกสัญญาที่ลูกหนี้ทั้งหลายได้กระทำกับบิดา ของท่าน
    ด้วยการฉีกเอกสารทิ้งทั้งหมด นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นในการให้ทาน อันเป็นที่น่าปีติยินดีอย่างยิ่ง

    หลังจากนั้นท่านได้ทำมหาทานอีกครั้ง ด้วยการบอกภรรยาว่า
    จะขอออกบวชอีกครั้ง ให้แม่บางหาสามีใหม่ได้

    การ บวชครั้งที่ 2 เมื่อท่านอายุได้ 35 ปี ณ วัดนางบวชอำเภอเดิมบางนางบวช
    สุพรรณบุรี เมื่อเวลา 14.45 น. ของวันที่ 27 เมษายน 2494 โดยมี
    พระครูแขก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ทองย้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอธิการไสว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่าเขมโก

    เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว
    ก็ได้เข้าไปปฏิบัติธรรม ณ ป่าช้าวัดบ้านทึง สามชุก ท่านได้อาศัยอยู่ในป่าช้า
    โดยมีหลวงพ่อมหาทอง โสภโณ ซึ่งเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติ ผู้อาวุโส อยู่ด้วย
    ท่านเป็นผู้มีความรู้ทางด้านปริยัติได้ดีท่านหนึ่ง และท่านได้เป็นผู้แปลข้อศีลที่ว่า
    การไม่ยินดีรับเงินและทองเพื่อเป็นของตน หรือให้ผู้อื่นเก็บไว้เพื่อตน
    นับแต่นั้นมาหลวงพ่อสังวาลย์ก็ไม่มีปัจจัยแม้แต่สตางค์แดงเดียว
    และที่พระอาจารย์มหาทองท่านได้สอนหลวงพ่ออีกคือ

    สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวย สมาธิโต ยถาภูตํ ปชานาติ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายพึงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิดเพราะ
    จิตที่เป็นสมาธินั้น ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง

    เพียงประโยคนี้เท่านั้น ที่ท่านถือเป็นแนวทางปฏิบัติ มุ่งมั่นกระทำความเพียร
    อยู่ในป่าช้าตลอดเวลา 5 ปี

    ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัตินี้เองทำให้ท่านรู้เห็นตามความเป็นจริง
    โดยท่านได้ยึดหลักธุดงควัตรตลอดเวลา

    หลัง จากที่ท่านพระอาจารย์มหาทองได้ละสังขารแล้วท่านจึงได้ออกจากป่าช้า
    แต่ท่านก็มิได้ละเลยหรือทอดธุระในภาคปฏิบัติเลยแม้แต่น้อย
    โดยท่านจะนึกถึงคำของอาจารย์ที่ว่า นักปฏิบัติจะทิ้งการปฏิบัติไม่ได้
    จนกว่าจะหมดลมท่านเองก็เป็นเช่นนั้น เมื่อท่านมาอยู่วัดทุ่งสามัคคีธรรม
    และไปสร้างวัดป่าน้ำตกเขมโก ที่ ด่านช้าง สุพรรณบุรี ท่านก็จะสั่งสอนและ
    เจริญสมาธิภาวนาอยู่เสมอมิได้ขาดเลย

    ในระยะเริ่ม แรกท่านมีอุปสรรคมากเพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ
    บางคนถึงกับเข้ามาทำร้ายและขัดขวางการเผยแพร่ธรรมทุกรูปแบบ
    แต่ในที่สุดท่านก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ และเผยแพร่ธรรมให้ทุกคน
    รู้จักประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ อย่างกว้างขวาง
    มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจในการปฏิบัติธรรม
    เข้าห้องกรรมฐานปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐาน 4 ที่หลวงพ่อแนะนำสั่งสอนได้เป็นอย่างดี
    หลวงพ่อจึงมีศิษยานุศิษย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย
    *****************************************************

    ประวัติหลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก

    เลิกจองเวร

    โดย.. ฤทธิ์ รักไทย

    เมื่อ ท่านยังปฏิบัติธรรม บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าช้าวัดบ้านทึง แทบทุกวันตอนที่ท่านบิณฑบาตสุดสาย จะมีโยมผู้หญิงรุ่นโยมแม่ (เป็นคนจับปลาย่านนั้น) พายเรือให้ข้ามฟาก

    วันหนึ่ง...

    หลวงพ่อสังวาลย์...." โยมเลิกดีกว่าหากุ้ง หาปลา ลูกๆ ก็โตหมดแล้ว "

    โยม..." เลิกก็ดีเหมือนกัน อิฉันก็เบื่อเต็มที " แกรับและสารภาพ

    หลวงพ่อสังวาลย์...." อาตมาขอบิณฑบาต พวกแห พวกยอทั้งหมด "

    โยม..." ได้จ้ะ อิฉันจะขนไปให้ท่านเช็ดเท้า "

    ท่าน เล่าว่าโยมผู้นี้หาปลามาตั้งแต่เด็ก ไม่มีอาชีพอื่น แกบุกไปทั่ว ไม่ว่า ท่าโบสถ์ โพธิ์พยา ปากไห่ ฯ โยมมารับศีล ๕ แล้วท่านก็บอกว่า

    หลวงพ่อสังวาลย์...." บ้านโยมมีไม้ไผ่เยอะ สานพัด สานกระบุงขายจะรวย "

    โยม..." ค่ะ อิฉันจะลองทำดู "

    คุณ โยมตั้งตัวได้ในที่สุด เพราะพัด - กระบุง - ตะกร้า ที่ช่วยกันสาน ลูกๆ แม่ๆ ไม่พอส่งขาย...ท่านว่า..ก่อนจะพูดให้โยมเลิกนั้น มันมีสิ่งที่ปรากฏขึ้นในกรรมฐานท่านมาก่อน เมื่อนักล่าประจำลุ่มน้ำมาถือศีลได้ จึงเลื่องลือไปไกล

    มีพระอาวุโส ท่านหนึ่งมาหาแล้วกล่าวว่า...

    พระอาวุโส... " ท่านสังวาลย์เก่งจริง เอาคนหาปลารักษาศีลได้ "

    หลวงพ่อ..." โยมเขาขาดคนชี้นำเท่านั้น...เขาขาดครู "

    พระอาวุโส..." ท่านนี่มีความรู้เหลือหลาย "

    หลวงพ่อ..." รู้เขานั้นไม่ใช่ดีเสมอไป รู้เรานั่นแหละเป็นอุดมมงคล "

    *************************************************


    ขอร่วมประชาสัมพันธ์การสร้างองค์พระหยกขนาดใหญ่
    องค์ละ 1.5 ล้านบาท จำนวน3องค์ เพื่อไปประดิษฐานที่วัดถ้ำกฤษณาธรรมาราม, สำนักป่าวังน้ำเขียว และบ้านมูลบน จ.นครราชสีมา เป็นสาขาของวัดสังฆทาน

    รวมถึง สร้างพระพุทธรูปทองคำปางดีดน้ำมนต์ หนัก 50 กก.เพื่อช่วยป้องกันภัยพิบัติ

    ร่วมบุญได้ที่วัดสังฆทาน หรือ
    โอนเงินทางธนาคาร
    ชื่อบัญชีี่ วัดสังฆทาน (สถานีวิทยุสังฆทานธรรม)
    ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาตลิ่งชัน
    บัญชีออมทรัพย์เลขที่ี่ 387-1-19383-9
    *******************หรือ*******************
    ชื่อบัญชี วัดสังฆทาน ประเภทออมทรัพย์
    บัญชี ธ.ไทยพาณิชย์ สาขารัตนาธิเบศร์
    บัญชีเลขที่ 348-2-02106-0
    **************หรือ*************
    ชื่อบัญชี วัดสังฆทาน ประเภทออมทรัพย์
    บัญชี ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยวิภาวดีรังสิต
    บัญชีเลขที่ 163-2-13051-0

    และขอร่วมลิงค์และร่วมบุญ กับ มหากุศล สร้างพระนอนที่ใหญ่ทีสุดในโลก ตามที่หลวงปู่สังวาลย์ท่านตั้งใจไว้ด้วยคะ
    http://palungjit.org/threads/มหากุศล-สร้างพระนอนใหญ่ที่สุดในโลก.302397/<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2012
  2. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861
    อนุโมทนา....สาธุ หลวงปู่ที่ได้เตือนลูกหลานไว้ ครับ
     
  3. apichan

    apichan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    825
    ค่าพลัง:
    +4,424
    สงครามพระน่าจะหมายถึงสงครามศาสนาคริสต์กับอิสลาม :)
     
  4. ขจรศรี

    ขจรศรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +870
    ศีกพระในที่นี่..อยู่ในประเทศไทยค่ะ แต่ไม่ขอขยายความคะ มีคำบอกกล่าวในหนังสือพิมพ์วัดสังฆทานว่าคืออะไร แต่ขอไม่พิมพ์ลงเพราะ ไม่อยากให้คิดเดาแล้วต้องเป็นบาปแก่ผู้อ่าน ทั้งมโนกรรม วจีกรรมและกายกรรม เพราะนั่นเป็นเรื่องของพระผู้มีศีล227 เราในฐานะฆราวาสอาจบาปโดยไม่รู้ตัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2012
  5. chunhapong

    chunhapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +731
    ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตนให้ยึด
    ก็เข้าไปยึด ไปหมายมั่นเอา
    มันก็เลยเป็นทุกข์ ทุกๆ ชาติ
     
  6. ตาลเดี่ยว

    ตาลเดี่ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +425
    อนุโมทนาสาธุครับ ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงในคำเตือนของหลวงปู่ และผู้นำมาบอกให้เพื่อนๆสมาชิกได้ทราบ
     
  7. CASIO12

    CASIO12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +1,133
    ช่วยบอกเป็นนัยๆ ได้ไหมครับว่า เกิด ได้ไง
    ใช่เกี่ยวกับวัด UFO หรือเปล่าครับ
     
  8. lookpras

    lookpras เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +796
    ...
    ...อนุโมทนาครับ
    ...
     
  9. porntips

    porntips เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    955
    ค่าพลัง:
    +2,410
    หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก อยู่วัดไหน
     
  10. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    อยู่ในโลงแก้วที่วัดทุ่งสามัคคีธรรม "สุพรรบุรี"
     
  11. ขจรศรี

    ขจรศรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +870
    อัพเดท! บทสวดและไฟล์เสียง

    มีผู้ถามถึงเรื่องศึกพระอยู่หลายท่าน ส่วนตัวก็สับสนในการตีความ ลองไปหาอ่านในฉบับที่ 88 ประจำวันที่1-31ม.ค.54 (ต่อจากเรื่องน้ำท่วมล่ะค่ะ) จากเว็บวัดสังฆทาน ไม่แน่ใจว่าจะมีฉบับนี้ไหมนะคะ
    แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องคิดมากหรอกมั่ง..ค่ะ (ขอย้ำ.. ไม่ต้องคิดมากหรอกค่ะ ก็แค่ทะเลาะกัน) ยังไงศาสนาพุทธก็จะอยู่คู่เมืองไทยและรุ่งเรืองไปถึง 5,000 ปี(ตามที่เคยอ่านคำทำนายจากหลายท่าน)

    จบดีกว่านะ เรื่องศึกพระ
    *********************

    แต่ที่สำคัญคือเรื่องภัยพิบัติที่จะคร่าชีวิตมนุษย์ไป

    อย่างที่บอกไปแล้วว่า ไม่อยากกังวลใจเรื่องนี้แล้ว แต่จะขอสร้างบุญไปเรื่อยๆ
    ก้อเลย..จะขอบอกกล่าวในสิ่งที่รู้มาจากหลวงพ่อสนองนะคะ

    (**ขอหมายเหตุตัวเองไว้ก่อนว่า ไม่ได้เป็นศิษย์ใกล้ชิดอะไร ไม่เคยกล้าคุยกับหลวงพ่อด้วยซ้ำ แต่เป็นเพียงผู้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดสังฆทานและวัดสาขาตามวาระและโอกาส)

    เรื่องภัยพิบัติ รวมถึงคำทำนายต่างๆ ยังไงก็ต้องทำให้ผู้คนตื่นตระหนกแน่ แต่สิ่งที่ครูบาอาจารย์บอกกล่าวกันก็คือให้ปฏิบัติธรรม รักษาศีล(ใช่ไหมค่ะ)

    ฉะนั้นจึงตั้งใจว่าจะใช้โอกาสนี้สร้างบุญของตัวเอง(บุญเผยแพร่สิ่งดีๆก่อนสิ้นลม) และเผื่อแผ่ให้กับทุกคนที่มาอ่านในกระทู้นี้ มีโอกาสสร้างบุญของตัวเองและครอบครัวด้วยกัน

    เมื่อวันกฐินปี 54 หลวงพ่อสนองได้บอกญาติโยมให้แผ่เมตตาเยอะๆ และให้สวด"พระอาการวัตตาสูตร" เพื่อช่วยป้องกันตัวเอง และเพื่อช่วยยับยั้งภัยพิบัติ ให้สวดเยอะๆเป็น100จบยิ่งดี เปิดเทปก็ได้

    หลวงปู่สังวาลย์บอกว่า(จากหนังสือสวดมนต์ อาจริยบูชา วัดสังฆทาน)

    "บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลาย
    เทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้
    เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะ จะได้สวดกัน
    ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่
    ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหว
    เหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ
    แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก 2 วัน
    ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้ พอรุ่งขึ้นไปบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตร
    เอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจ แบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐาน เลยไม่ได้สวดเลย
    ท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้
    มีอานุภาพดี
    พิมพ์ตัวโตๆ นะ พิมพ์สีอะไร แบบไหนก็ดีทั้งนั้น สำหรับเราไม่มีอะไรไม่ดี ทุกอย่างดีหมด"

    ที่วัดสังฆทานมีหนังสือสวดมนต์อยู่ ชื่อ "อาจริยบูชา" มีบทสวดพระอาการวัตตาสูตร อุณหิสวิชัยคาถา และโพฌังคปริตในเล่มเดียว ที่วัด เวลาสวด จะสวดทั้งเล่ม..

    ทุกคนอย่าเพิ่งตกใจ แล้วส่ายหน้าว่าไม่ไหว สวดไม่เป็น เรา..มีไฟล์เสียงสวดมนต์ของวัดสังฆทานให้ และบทสวดให้


    สิ่งที่อยากบอกก็คือ ถ้าตอนนี้สวดไม่ได้ ไม่ได้สวด และ/หรือขี้เกียจก็ตาม ยังไงก็ช่วยโหลดไปเข้ามือถือแล้วเปิดไว้ อย่างที่หลวงพ่อสนองบอก และที่หลวงปู่บอกว่า "มีคนมาสวดป้องกันไว้ให้"

    น่าจะเป็นความคิดที่ดี ของการเริ่มต้น เพราะตัวเองก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน




    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-table-layout-alt: fixed; mso-padding-alt: 0cm .5pt 0cm .5pt" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.5pt; WIDTH: 468pt; PADDING-RIGHT: 0.5pt; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm" width=624>

    บทสวดพระอาการวัตตาสูตร,คู่อาการวัตตาสูตร นี้นำมาจากหนังสืออาจริยบูชา ของวัดสังฆทาน <O:p></O:p>
    ส่วนไฟล์เสียง(จากวัดสังฆทานแยกเป็นแต่ละไฟล์ให้)
    1. พระอาการวัตตาสูตร,คู่อาการวัตตาสูตร 2ไฟล์
    2. อุณหิสวิชัยคาถาและโพฌังคปริต (ในที่นี่ไม่มีบทสวด)<O:p</O:p
    3. คำตั้งสัจจาธิษฐาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    บทสวดพระอาการวัตตาสูตร,คู่อาการวัตตาสูตรและคำตั้งสัจจาธิษฐาน
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่าอานิสงส์ดังนี้
    จะพ้นจากภัย๓๐ประการคือภัยอันเกิดแต่งูพิษสุนัขป่าสุนัขบ้านโคบ้านและโคป่ากระบือบ้านและกระบือเถื่อน
    พยัคฆะหมูเสือสิงห์และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชีจตุรงคชาติของพระราชาผู้เป็นจอมของ
    นรชนภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่
    ยักษ์กุมภัณฑ์และคนธรรพ์อารักขเทวตาเกิดแต่มารประการที่ผลาญให้วิการต่างเกิดแต่วิชาธร
    ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย๓๐ประการ
    อันตรธานพินาศไปทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ
    เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แลดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์จะ
    เป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุมมีชนมายุยืนยงคงทนนานจนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุ
    ปัททวันอันตรายนั้นหามิได้ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน
    ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติจักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริตจะได้เป็นพระอินทร์
    ๓๖กัลปเป็นประมาณจะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช๑๖กัลปคับครั่งไปด้วยรัตนะ
    ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ทุคฺคตึโสคจฺฉติแม้แต่สดับฟังท่านอื่น
    เทศนาด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่ทุคติตลอดยืดยาวนานถึง๙๐แสนกัลป์


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )

    อิติปิโสภะคะวาอะระหัง
    อิติปิโสภะคะวาสัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิโสภะคะวาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสุคะโต
    อิติปิโสภะคะวาโลกะวิทู
    อิติปิโสภะคะวาอะนุตตะโรปุริสะทัมมะสาระถิ
    อิติปิโสภะคะวาสัตถาเทวะมะนุสสานัง
    อิติปิโสภะคะวาพุทโธ
    อิติปิโสภะคะวาภะคะวาติ
    ( พุทธะคุณะวัคโคปะฐะโมจบวรรคที่1 )

    อิติปิโสภะคะวาอะภินิหาระปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอุฬารัชฌาสะยะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะณิธานะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวามะหากะรุณาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะโยคะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวายุติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาชุตติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาคัพภะโอกกันติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาคัพภะฐิติปาระมิสัมปันโน
    ( อะภินิหาระวัคโคทุติโยจบวรรคที่2 )

    อิติปิโสภะคะวาคัพภะวุฏฐานะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาคัพภะมะละวิระหิตะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอุตตะมะชาติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาคะติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะภิรูปะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสุวัณณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวามะหาสิริปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอาโรหะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะริณามะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสุนิฏฐะปาระมิสัมปันโน
    ( คัพภะวุฏฐานะวัคโคตะติโยจบวรรคที่3 )

    อิติปิโสภะคะวาอะภิสัมโพธิปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสีละขันธะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสะมาธิขันธะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปัญญาขันธะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะปาระมิสัมปันโน
    ( อะภิสัมโพธิวัคโคจะตุตโถจบวรรที่4 )

    อิติปิโสภะคะวามะหาปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปุถุปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาหาสะปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาชะวะนะปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาติกขะปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวานิพเพธิกะปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปัญจะจักขุปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอัฏฐาระสะพุทธะกะระปาระมิสัมปันโน
    ( มะหาปัญญาวัคโคปัญจะโมจบวรรคที่5 )

    อิติปิโสภะคะวาทานะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสีละปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาเนกขัมมะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวิริยะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาขันติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสัจจะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะธิฏฐานะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาเมตตาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอุเปกขาปาระมิสัมปันโน
    ( ปาระมิวัคโคฉัฏโฐจบวรรคที่6 )

    อิติปิโสภะคะวาทะสะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาทะสะอุปะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาทะสะปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสะมะติงสะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาตังตังฌานะฌานังคะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะภิญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสะติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสะมาธิปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวิมุตติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวิมุตติญาณะทัสสะนะปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะปาระมิวัคโคสัตตะโมจบวรรคที่7 )

    อิติปิโสภะคะวาวิชชาจะระณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวิปัสสะนาญาณะวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวามะโนมะยิทธิวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอิทธิวิธิวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาทิพพะโสตะวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะระจิตตะปะริยะญาณะวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาทิพพะจักขุวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอาสะวักขะยะญาณะวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาจะระณะวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาจะระณะธัมมะวิชชาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะนุปุพพะวิหาระปาระมิสัมปันโน
    ( วิชชาวัคโคอัฏฐะโมจบวรรคที่8 )

    อิติปิโสภะคะวาปะริญญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะหานะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสัจฉิกิริยาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาภาวะนาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาจะตุธัมมะสัจจะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะฏิสัมภิทาญาณะปาระมิสัมปันโน
    ( ปะริญญาวัคโคนะวะโมจบวรรคที่9 )

    อิติปิโสภะคะวาโพธิปักขิยะธัมมะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสะติปัฏฐานะปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสัมมัปปะธานะปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอิทธิปาทะปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอินทรียะปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาพะละปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาโพชฌังคะปัญญาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวามะหาปุริสะกิริยาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะนาวะระณะวิโมกขะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะระหัตตะผะละวิมุตติปาระมิสัมปันโน
    ( โพธิปักขิยะธัมมะวัคโคทะสะโมจบวรรคที่10 )

    อิติปิโสภะคะวาทะสะพะละญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาฐานาฐานะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวิปากะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวานานาธาตุญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสัตตานังนานาธิมุตติกะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอินทรียะปะโรปะริยัตติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวานิโรธะวุฏฐานะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาฌานาทิสังกิเลสาทิญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาจุตูปะปาตะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอาสะวักขะยะญาณะปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะพะละญาณะวัคโคเอกาทะสะโมจบวรรคที่11 )

    อิติปิโสภะคะวาโกฏิสะหัสสานังปะโกฏิสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปัญจะจักขุญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวายะมะกะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสีละคุณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาคุณะปาระมิสะมาปัตติปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปัญญาคุณะปาระมิสัมปันโน
    ( กายะพะละวัคโคทะวาทะสะโมจบวรรคที่12 )

    อิติปิโสภะคะวาถามะพะละปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาถามะพะละญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาพะละปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาพะละญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปุริสะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปุริสะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะตุละยะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอุสสาหะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาคะเวสิญาณะปาระมิสัมปันโน
    ( ถามะพะละวัคโคเตระสะโมจบวรรคที่13 )

    อิติปิโสภะคะวาจะริยาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาจะริยาญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาโลกัตถะจะริยาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาโลกัตถะจะริยาญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาญาตัตถะจะริยาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาญาตัตถะจะริยาญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาพุทธะจะริยาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาพุทธะจะริยาญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาติวิธะจะริยาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน
    ( จะริยาวัคโคจะตุททะสะโมจบวรรคที่14 )

    อิติปิโสภะคะวาปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอายะตะเนสุติลักขะณะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอัฏฐาระสะธาตูสุติลักขะณะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวิปะริณามะลักขะณะปาระมิสัมปันโน
    ( ลักขะณะวัคโคปัญจะทะสะโมจบวรรคที่15 )

    อิติปิโสภะคะวาคะตัฏฐานะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาคะตัฏฐานะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวะสีตะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวะสีตะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสิกขาปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสิกขาญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสังวะระปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสังวะระญาณะปาระมิสัมปันโน
    ( คะตัฏฐานะวัคโคโสฬะสะโมจบวรรคที่16 )

    อิติปิโสภะคะวาพุทธะปะเวณิปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาพุทธะปะเวณิญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวายะมะกะปาฏิหาริยะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวายะมะกะปาฏิหาริยะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาจะตุพรหมะวิหาระปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะนาวะระณะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะปะริยันตะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสัพพัญญุตะญาณะปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาจะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญาณะปาระมิสัมปันโน
    ( ปะเวณิวัคโคสัตตะระสะโมจบ17 วรรคบริบูรณ์)

    พุทธคุณโดยพิศดาร (บทสวดคู่พระอาการวัตตาสูตร)

    อิติปิโสภะคะวาอะสุภะรัพภะสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวายะมะโลกาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะฐะวีธาตุสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอาโปธาตสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาเตโชธาตุสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวาโยธาตุสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอากาสะธาตุสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวิญญาณะธาตุสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาโลกะธาตุสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน

    อิติปิโสภะคะวาจาตุมหาราชิกาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาตาวะติงสาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวายามาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาตุสิตาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวานิมมานะระตีเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน

    อิติปิโสภะคะวาพรัหมะปะริสัชชาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาพรัหมะปะโรหิตาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวามหาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะริตตาภาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอัปปะมาณาภาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอาภัสสะราพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะริตตะสุภาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอัปปะมาณาสุภาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสุภะกิณหะกาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะสัญญิสัตตาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาเวหัปผะลาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะวิหาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะตัปปาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสุทัสสาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสุทัสสีพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะกะนิฏฐะกาพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอากาสานัญจายะตะนะพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวิญญานัญจายะตะนะพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอากิญจัญญายะตะนะพรัหมาเทวาสัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาเนวะสัญญานาสัญญายะตะนะพรัหมาเทวาสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน


    อิติปิโสภะคะวาโสตาปัตติมัคโคสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาโสตาปัตติผะโลสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสะกิทาคามิมัคโคสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสะกิทาคามิผะโลสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะนาคามิมัคโคสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะนาคามิผะโลสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะระหัตตะมัคโคสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะระหัตตะผะโลสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน


    อิติปิโสภะคะวานิพพานังปะระมังสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวานะโมเมสัพพะพุทธานังสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวานะโมโพธิมุตตะนังสัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน


    อิติปิโสภะคะวาตัณหังกะโรนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาเมธังกะโลนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสะระนังกะโรนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาทีปังกะโรนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาโกญฑัญโญนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวามังคะโลนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสุมะโนนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาเรวะโตนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาโสภิโตนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอะโนมะทัสสีนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะทุโมนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวานาระโทนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปะทุมุตตะโรนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสุเมโธนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสุชาโตนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปิยะทัสสีนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาอัตถะทัสสีนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาธัมมะทัสสีนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสิทธัตโถนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาติสโสนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาปุสโสนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาวิปัสสีนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาสิขีนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาเวสสะภูนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวากะกุสันโธนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาโกนาคะมะโนนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวากัสสะโปนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวาโคตะโมนามะภะคะวาสมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน<O:p></O:p>


    ตังโขปะนะภะคะวันตังเอวังกัลยาโณกิตติสัทโทอัพพุคคะโตอิติปิโสภะคะวาอะระหังสัมมาสัมพุทธโธวิชชาจะระนะสัมปันโนสุคะโตโลกะวิทูอะนุตตะโรปุริสะทัมมะสาระถิสัตถาเทวะมะนุสสานังพุทโธภะคะวาติ

    โสอิมังโลกังสะเทวะวังสะมาระกังสะพรัมะกังสัสสะมะณะพราหมะณิงปะชังสะเทวะมะนุสสังสะยังอภิญญาสัจฉิกัตวาปะเวเทสิโสภะคะวาจักขุภูโตญาณะภูโตธัมมะภูโตตัสสะทาปะวัตตาอัสสะชะเนนตาอะมะตัสสะทาตาธัมมะสามิธัมมะราชาธังมังเทเสสิอาทิกัลยาณังมัชเฌกัลยาณังปะริโยสานะกัลยาณังสาตถังสะพยัญชะนังเกวะละปะริปุณณังปะริสุทธังพรัหมะจะริยังปะกาเสสิสาธุโขปะนะตะถารูปา




    (พระคาถาสุนทรีวาณี)(หัวใจพระอาการวัตตาสูตร)

    มุนินทะวะทะนัมพุชะคัพภะสัมภะวะสุนทะรีปาณีนังสะระณังวาณีมัยหังปิณะยะตังมะนัง<O:p></O:p>






    <O:p> </O:p>

    คำตั้งสัจจาธิษฐานบารมีแด่พระบรมสารีริกธาตุ

    ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณของพระพุทธองค์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาและพระกรุณาอันหาประมาณมิได้ที่ได้ทรงเสียสละสั่งสมพระบารมีเพื่อทรงตรัสรู้และประกาศพระธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏฏ์

    ข้าพเจ้าขอน้อมจิตและกายวาจาบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ด้วยความเลื่อมใสยิ่ง
    ขอตั้งสัจจาธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำในวันนี้ขอจงเป็นพลวปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพานองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมอันใดขอให้ข้าพเจ้ามีส่วนแห่งธรรมของพระองค์นั้นด้วย

    แม้ต้องเกิดอยู่ในภพชาติใดๆขอเกิดภายใต้ร่มเงาแห่งพระบวรพุทธศาสนามีกรรมสัมพันธ์อันดีมีโอกาสได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐให้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตรและเป็นสัมมาทิฏฐิทุกชาติไปให้มีโอกาสศึกษาพระธรรมฟังธรรมประพฤติธรรมจนเป็นปัจจัยตามส่งทั้งชาตินี้และชาติหน้าต่อๆไปให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณจนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ

    ***********************************

    (คำแปล) พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า
    คำแปลพระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงครอบงำความทุกข์ได้ทรงไม่มีความลับทรงบริสุทธิ์หมดจดดีเป็นผู้ไกลจากกิเลสทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น
    ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเองตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
    ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชาการแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะเครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ
    ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะทรงดำเนินไปในทางดีคืออริยมรรค-ปฏิปทาเป็นผู้ไปแล้วด้วยดีทรงรู้แจ้งโลก
    เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้งทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม
    เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่าทรงนำเวไนยนิกรออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ
    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่นทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต
    ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
    พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
    คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีเกี่ยวกับอภินิหารพระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร
    พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธานพระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณาพระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ
    พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียรพระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจพระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ
    โชติช่วงชัชวาลย์พระบารมีลงสู่พระครรภ์พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์
    คำแปลคัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอดพระบารมี
    มีพระชาติอันอุดมพระบารมีที่ทรงดำเนินไปพระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม
    พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวงพระบารมีเจริญวัยขึ้นพระบารมีผันแปรพระบารมีในการคลอดสำเร็จ
    คำแปลอภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่งพระบารมีในกองศีลพระบารมีในกองสมาธิ
    พระบารมีในกองปัญญาพระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง
    คำแปลมะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีในมหาปัญญาพระบารมีในปัญญาอันหนาแน่นพระบารมีในปัญญาอันร่าเริง
    พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็วพระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็งพระบารมีในดวงตาทั้งห้าคือตาเนื้อทิพพจักษุ
    ปัญญาจักษุธรรมจักษุพระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส
    คำแปลปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีในการให้ปันพระบารมีในการรักษากายวาจาใจให้เป็นปกติ
    พระบารมีในการเว้นขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือนพระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา
    พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียรพระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ
    ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่นพระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่งพระบารมีในความเมตตา
    พระบารมีในความอดทนพระบารมีในความวางใจตนได้
    คำแปลทสบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ
    พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกายพระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต
    พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์พระบารมีในฌานและองค์ฌานนั้นๆพระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่งพระบารมี
    มีสติรักษาจิตพระบารมีทรงสมาธิมั่นคงพระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น
    พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต
    คำแปลวิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีในวิปัสสนาวิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ
    พระบารมีในอิทธิวิชชาพระบารมีในทิพพโสตวิชชาพระบารมีในปรจิตตวิชชาพระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา
    พระบารมีในทิพพจักขุวิชชาพระบารมีในจรณวิชชาพระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชาพระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า
    คำแปลปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมในพระบารมีคือพระบารมีกำหนดรู้ทุกข์พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์คือตัณหา
    พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้งคือนิโรธพระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา
    พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็นพระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่
    พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ
    คำแปลโพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีในโพธิปักขิยธรรมพระบารมีมีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐานพระบารมี
    มีพระปัญญาในสัมมัปปธานพระบารมีมีพระปัญญาในอิทธิบาทพระบารมีมีพระปัญญาในอินทรีย์หกพระบารมี
    มีพระปัญญาในพละห้าพระบารมีมีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ดพระบารมีมีพระปัญญาในมรรคแปด
    พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษพระบารมีในอนาวรณวิโมกข์พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล
    คำแปลทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระทศพลญาณบารมีอันได้แก่พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ
    พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุพระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง
    รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่างพระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย
    พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น
    แห่งธรรมมีฌานเป็นต้นพระบารมีรู้ระลึกชาติได้พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์
    พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
    คำแปลกายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ
    พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคนพระบารมีหยั่งรู้จักขุห้าคือตาเนื้อตาทิพย์ตาญาณตาปัญญา
    ตาธรรมพระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์พระบารมีในสีลคุณพระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ
    คำแปลถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิตพระบารมีกำลังเรี่ยวแรง
    พระบารมีที่เป็นพลังภายในพระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิตพระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรงพระบารมีที่เป็นพลังภายใน
    พระบารมีรู้กำลังภายในพระบารมีไม่มีเครื่องชั่งพระบารมีญาณพระบารมีอุตสาหะ
    พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้
    คำแปลจริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีที่ทรงประพฤติพระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ
    พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก
    พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์
    พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยาพระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้าพระบารมีครบทั้งสามอย่าง
    พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี
    คำแปลลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
    พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้าพระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
    พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลายพระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย
    พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป
    คำแปลคตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีในสถานที่ไปแล้วพระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป
    พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้วพระบารมีในการตระหนัก
    พระบารมีรู้ในการตระหนักพระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์
    คำแปลปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือพระบารมีในพุทธประเวณีพระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี
    พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ
    พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกางพระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขตพระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง
    พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัลป์หนึ่งร้อย

    **************************************************
    หลวงพ่อใหญ่(หลวงปู่สังวาลย์)เล่าให้ฟัง
    วันพระแรม8 ค่ำเดือน3 ปีมะแม
    บทอาการวัตตาสูตรนี่นะเทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติเสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลาย
    เทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวดสามารถอายุยืนได้
    เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ไม่ให้สูญหายพิมพ์ตัวโตๆนะจะได้สวดกัน
    ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้าแรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำเดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้เรากำลังนั่งสมาธิอยู่
    ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเราบอกจะป้องกันไว้ให้ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหว
    เหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมาหมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ
    แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลยนั่งเฉยพอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆพออีก2 วัน
    ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ทั้งๆที่เราสวดไม่ได้พอรุ่งขึ้นในบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตร
    เอาบทสวดนี้มาให้กับเราเราก็เลยสวดสวดจนขึ้นใจแบบท่องปาติโมกข์พอได้กรรมฐานเลยไม่ได้สวดเลย
    ท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยากจะไม่ตายโหงหมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้
    มีอานุภาพดี
    พิมพ์ตัวโตๆนะพิมพ์สีอะไรแบบไหนก็ดีทั้งนั้นสำหรับเราไม่มีอะไรไม่ดีทุกอย่างดีหมด
    **************************************
    อานิสงส์พระอาการวัตตาสูตร
    เมื่อครั้งพุทธกาล
    พระสารีบุตรได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารมีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
    จึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ามีธรรมอันใดเล่าที่จะลึกสุขุม
    จะห้ามเสียซึ่งหมู่อันธพาลพังกระทำบาปกรรมทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่าอานิสงส์ดังนี้
    ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอมีอานิสงส์มากยิ่งนักหนาแม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิพระปัจเจกภูมิ
    พระอัครสาวกภูมิพระสาวิกาภูมิจะปรารถนามนุษยสมบัติสวรรคสมบัตินิพพานสมบัตินิพพานสมบัติ
    ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก
    เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญได้ทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง
    ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ครั้งหนึ่งจะคุ้มครองภัยอันตราย30
    ประการได้4 เดือนผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจบาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน
    เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้นผู้ใดอุตสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้สวดมนต์ก็ดี
    บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดีเขียนเองก็ดีกระทำสักการะบูชาเคารพนับถือพร้อมทั้งไตรทวารก็ดี
    ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร
    อันจะเป็นที่พักผ่อนพึ่งพาอาศัยในวัฏฏสงสาร
    ดุจเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่
    ฉะนั้นอาการวัตตาสูตรนี้พระพุทธเจ้า28 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี
    พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดีมิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว
    ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆพระองค์
    จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึงเป็นธรรมอันระงับไปโดยแท้ในอนาคตกาล
    ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาตคือปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปเป็นวัชรกรรมที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง8 ขุม
    คือสัญชีพนรกอุสุทนรกสังฆาตนรกโรรุวนรกตาปนรกมหาตาปนรกอเวจีนรกเปรตอสุรกายดิรัจฉานกำเนิดไซร้
    ถ้าได้ท่องบ่นทรงจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน90 แสนกัลป์
    ผู้นั้นระลึกตามเนืองๆก็จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา6 ประการยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์
    ดุจองค์มเหสักข์เทวราชมีการรีบร้อนออกจากบ้านไปจะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป
    จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหารภัยอันตรายศัตรูหมู่ปัจจามิตร
    ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้นี้เป็น
    ทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตาในสัมปรายิกานิสงส์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น
    แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้เมื่อสืบขันธประวัติในภพเบื้องหน้าจะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ
    หิรัณยรัตนมณีเหลือล้นขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้นประกอบด้วยเครื่องอลังการภูษิตพรรณต่างๆ
    จะมีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ
    ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ
    มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวงและจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส
    ์อยู่36 กัลป์โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่4 มีทวีปน้อย2000
    เป็นบริวารนานถึง26 กัลป์จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันแล้วไปด้วยทองควรจะปรีดาบริบูรณ์ด้วยแก้ว7 ประการ
    เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราชจะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน
    ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ
    ้งอาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน
    อนึ่งถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง4 มีนรกเปรตอสุรกายดิรัจฉาน
    กำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง8 ขุมช้านานถึง90 แสนกัลป์และจะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ
    จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิจะไม่ไปเกิดเป็นหญิงจะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนกอันมีเพศเป็น2 ฝ่าย
    จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์เป็นกระเทยที่เป็นอภัพบุคคลบุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ
    ก็จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ
    เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่ายจะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย
    จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่ายจะเป็นคนไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียน
    สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติสรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์
    ผลที่ได้สวดมนต์ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตผ่องใส
    เวลามรณสมัยใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ในทางสุคติเสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์
    นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่าอาการวัตตาสูตร
    มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้



    </TD></TR></TBODY>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2012
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ยอมรับว่าเข้ามาอ่านเพราะเห็นชื่อคุณขจรศรี<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5668000", true); </SCRIPT> คิดว่าเป็นคุณขจรศักดิ์ค่ะ
    มาอ่านแล้วก็ไม่ผิดหวัง ได้ประโยชน์จากกระทู้นี้มาก ขอบคุณและอนุโมทนาบุญนะคะ
     
  13. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    ขอขอบคุณที่ได้เขียนลงให้เพื่อนๆสมาชิกได้รับรู้รับทราบ...ผมเองก็ขอยืนหยัดว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์(หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก วัดทุ่งสามัคคีธรรม จ.สุพรรณบุรี)ท่านได้บอกกล่าวและเตือนบรรดาลูกศิษย์ใกล้ชิดได้รับทราบ...ผมเองก็ได้รับฟังจากท่านตอนที่ไปรับใช้อุปฐากพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่...ก็เคยเตรียมตัวไปอยู่กับหลวงพ่อสนองที่เขาใหญ่และร่วมสร้างสถานที่หมู่บ้านธรรมะสว่างใจ...พร้อมไปช่วยงานที่เกิดสึนามิที่ภาคใต้ที่บ้านน้ำเค็มกับหลวงพ่อสนอง...หลวงพ่อสามารถ...ทำให้มีข้อมูลและเตรียมตัวตลอดและพร้อมที่จะไปสถานที่ๆหลวงพ่อสร้างไว้ที่เขาใหญ่...เรื่องที่ท่านขจรศรีเขียนมาถูกต้อง...ผมเองช่วงนี้ไม่ได้เข้ามาบ่อยและไม่ได้โพสต์และตอบเพราะได้เตรียมข้อมูลและหาแนวทางกับผู้ใหญ่และเพื่อนในกลุ่มพร้อมปรึกษาครูบาอาจารย์(พระ)ก็ได้แนวทางหลายวิธีทั้งเสบียงพร้อมอุปกรณ์และเตรียมกาย(สุขภาพ)เช่นอดอาหารและทานอาหารวันละ1มือพร้อมฝึกโยคะและลมปานที่ต้องทำเพราะถึงเวลาได้ใช้หมด...ส่วนเรื่องสมาธิต้องทำตลอดให้เป็นกจิวัตร...แต่ต้องมีศีลควบคู่ไปด้วย มีสมาธิแต่ไม่มีศีลก็ไปไม่รอดเพราะไม่มีสติรู้...เพราะถึงเวลาคนที่มีสัมมาทิฏฐิอยู่ในคุณธรรมจะเข้าใจและรู้ว่าจะไปอย่างไรเพราะมีปัญญาญาณ...จะเข้าใจ เราต้องทำด้วยตัวของเราเองไม่มีใครช่วยเราได้เท่ากับตัวของเราเอง...สวัสดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2012
  14. Vatairat

    Vatairat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,676
    ค่าพลัง:
    +2,294
    ขอบคุณสำหรับการแจ้งเตือนค่ะ
     
  15. artmaster

    artmaster Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2011
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +52
    เมื่อไม่นานนี้ไม่รู้เป็นเพราะอะไรถึงได้เจอบทสวดอาการวัตตสูตร เจอครั้งแรกที่งานบุญที่คุรุสภา จัดพิมพ์โดยอาจารย์ที่ราชมงคลคลอง6 อ่านอานิสงส์แล้วสะดุดใจเป็นพิเศษ เลยหาข้อมูลบทสวดนี้และเมื่อวันอาทิตย์ที่29 มกราคม ไปวัดสังฆทานเจอบทสวดนี้จากหนังสือที่คุณขจรศรีบอก..ผมเอาสองเล่มมาเทียบเคียงอักขระของวรรค สรุปว่ายังมีอักขระไม่ตรงกัน ขาดบ้าง ใช้คนละแบบบ้าง ตอนนี้ผมรบกวนอาจารย์สุภีร์ ทุมทอง ตรวจทานให้อยู่ แล้วผมก็หาแบบที่สวดแบบเสริมบทพุทธคุณแบบพิสดารเข้าไปด้วย เรื่องภัยพิบัติ...ผมเลิกกังวลแล้ว แต่หันมาสร้างบุญเพื่อรักษาจิตและกายแทน อย่างน้อยๆถ้าตายไปผมขอสุคติภูมิเป็นที่หมาย
     
  16. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861
    อนุโมทนา....สาธุ ครับ :cool:
     
  17. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    บทพระอาการวัตตาสูตร

    <TABLE class="sites-layout-name-one-column sites-layout-hbox" cellSpacing=0 xmlns="http://www.w3.org/1999/xhtml"><TBODY><TR><TD class="sites-layout-tile sites-tile-name-content-1">
    .

    .
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้
    จะพ้นจากภัย ๓๐ ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน
    พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ
    นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่
    ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธร
    ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ
    อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ
    เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะ
    เป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุ
    ปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน
    ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์
    ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗
    ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่น
    เทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่ทุคติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต
    เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ
    อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน
    มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะฯ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวาติ
    ( พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม จบวรรคที่ 1 )

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    ( อะภินิหาระวัคโค ทุติโย จบวรรคที่ 2 )

    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริณามะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
    ( คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย จบวรรคที่ 3 )

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ จบวรรที่ 4 )

    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    ( มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม จบวรรคที่ 5 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะธิฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
    ( ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ จบวรรคที่ 6 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญาณะทัสสะนะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม จบวรรคที่ 7 )

    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปัสสะนาญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิวิธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะปะริยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    ( วิชชาวัคโค อัฏฐะโม จบวรรคที่ 8 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาปะหานะ สัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ปะริญญาวัคโค นะวะโม จบวรรคที่ 9 )

    อิติปิ โส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปุริสะกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    ( โพธิปักขิยะธัมมะวัคโค ทะสะโม จบวรรคที่ 10 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตตานังนานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปะโรปะริยัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโม จบวรรคที่ 11 )

    อิติปิ โส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะโกฏิสะหัสสานัง หัตถีนัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะ หัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม จบวรรคที่ 12 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุสสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ถามะพะละวัคโค เตระสะโม จบวรรคที่ 13 )

    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิ ปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    ( จะริยาวัคโค จะตุททะสะโม จบวรรคที่ 14 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตู สุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ลักขะณะวัคโค ปัญจะทะสะโม จบวรรคที่ 15 )

    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโม จบวรรคที่ 16 )

    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรหมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม จบ 17 วรรค บริบูรณ์ )

    ***************************************************

    (คำแปล) พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า
    คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น
    ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
    ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ
    ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก
    เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม
    เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ
    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต
    ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
    พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
    คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร
    พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ
    พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ
    โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์
    คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี
    มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม
    พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ
    คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ
    พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง
    คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง
    พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ
    ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส
    คำแปล ปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ
    พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา
    พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ
    ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา
    พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้
    คำแปล ทสบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ
    พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต
    พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี
    มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น
    พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต
    คำแปล วิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ
    พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา
    พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า
    คำแปล ปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา
    พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา
    พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่
    พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ
    คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี
    มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี
    มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด
    พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล
    คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ
    พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง
    รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย
    พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น
    แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์
    พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
    คำแปล กายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ
    พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา
    ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ
    คำแปล ถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง
    พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน
    พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ
    พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้
    คำแปล จริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ
    พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก
    พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์
    พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง
    พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี
    คำแปล ลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
    พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
    พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย
    พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป
    คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป
    พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก
    พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์
    คำแปล ปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี
    พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ
    พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง
    พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย

    **************************************************
    หลวงพ่อใหญ่(หลวงปู่สังวาลย์)เล่าให้ฟัง
    วันพระแรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
    บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลาย
    เทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้
    เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะ จะได้สวดกัน
    ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่
    ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหว
    เหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ
    แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก 2 วัน
    ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้ พอรุ่งขึ้นในบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตร
    เอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจ แบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐาน เลยไม่ได้สวดเลย
    ท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้
    มีอานุภาพดี
    พิมพ์ตัวโตๆ นะ พิมพ์สีอะไร แบบไหนก็ดีทั้งนั้น สำหรับเราไม่มีอะไรไม่ดี ทุกอย่างดีหมด
    **************************************
    อานิสงส์พระอาการวัตตาสูตร
    เมื่อครั้งพุทธกาล
    พระสารีบุตรได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารมีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
    จึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่า ที่จะลึกสุขุม
    จะห้ามเสียซึ่งหมู่อันธพาลพังกระทำบาปกรรม ทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้
    ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ
    พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ นิพพานสมบัติ
    ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก
    เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญได้ทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง
    ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30
    ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน
    เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะ ตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้ สวดมนต์ก็ดี
    บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรทวารก็ดี
    ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร
    อันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฏฏสงสาร
    ดุจเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่
    ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี
    พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว
    ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆ พระองค์
    จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึงเป็นธรรมอันระงับไปโดยแท้ในอนาคตกาล
    ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปเป็นวัชร กรรมที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม
    คือ สัญชีพนรก อุสุทนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กำเนิดไซร้
    ถ้าได้ท่องบ่นทรงจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์
    ผู้นั้นระลึกตามเนืองๆ ก็จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์
    ดุจองค์มเหสักข์เทวราชมีการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป
    จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรู หมู่ปัจจามิตร
    ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี้เป็น
    ทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตาในสัมปรายิกานิสงส์ ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น
    แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้เมื่อสืบขันธประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ
    หิรัณยรัตนมณีเหลือล้นขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการภูษิตพรรณต่างๆ
    จะมีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ
    ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ
    มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวงและจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส
    ์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 มีทวีปน้อย 2000
    เป็นบริวารนานถึง 26 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันแล้วไปด้วยทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ
    เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน
    ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ
    ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน
    อนึ่งถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน
    กำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุมช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ
    จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนก อันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย
    จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทยที่เป็นอภัพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ
    ก็จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ
    เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย
    จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียน
    สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์
    ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตผ่องใส
    เวลามรณสมัยใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์
    นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร
    มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. ขจรศรี

    ขจรศรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +870
    ถ้าคืบหน้ายังไงเรื่องบทสวดอาการวัตตาสูตรก็มาแชร์ให้รู้ด้วยนะคะ อย่างละเอียดก็ได้ค่ะ เป็นธรรมทาน ขอบคุณมากค่ะ

    และขอบคุณทุกคนที่มาแชร์กัน ถ้ามีอะไรคืบหน้าใหม่ๆจะมาบอกกล่าวให้ทราบกันนะคะ

    โมทนาบุญกับทุกๆคนค่ะ

    ยังไม่ได้ทำบุญพระนอนของหลวงปู่เลย(ได้แต่บอกคนอื่น!! ไม่เป็นไรวันนี้วันพระ ฤกษ์ดี ยามดี ศีลแปด ศีลอุโบสถ) เดี๋ยวไปโอนเงินแล้วจะแจ้งคุณพสภัธอีกทีนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  19. ixoxikr

    ixoxikr Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +45
    อนุโมทนาสาธุค่ะ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยแจ้งเตือนภัยนะคะ สาธุ สาธุ สาธุ _/\_
     
  20. kasarus

    kasarus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +114
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลของทุกท่านด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...