เมื่อรู้เห็นเช่นนี้แล้วยังอยากจะมีเรารู้เราเป็นเราทำอีกมั้ย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ได้คับ, 17 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    เป็นประสบการณ์ที่ผมบังเอิญไปพบพี่ท่านหนึ่งแล้วทำให้จิตใจเปลี่ยนแปลงไปและขอแบ่งบันให้เพื่อนๆพี่ๆทุกท่านครับ^^
    การรู้ซื่อๆที่ผมเข้าใจ ตอนที่ 1

    ประสบการณ์โดยตรงของผม ไม่ผ่านตำรา และรู้ได้เดี๋ยวนี้เลย...
    ... ลองดูนะครับสำรวจตัวเอง พอรู้สึกตัวแล้ว เห็นความรู้สึกแล้ว
    ไม่เร่งเค้านะครับ ไม่ต้องเร่ง แต่ปล่อยให้เค้าทำงานสบายๆ ความรู้สึกอะไรก็ได้
    จะสุข จะทุกข์ จะเฉย แค่รู้แล้ว ไม่ห้ามความรู้สึกนะครับ หัวใจมันอยู่ตรงนี้จริงๆ
    ความรู้สึกจะหายก็ได้ไม่หายก็ได<WBR></WBR>้ ไม่สำคัญอะไร
    ที่สำคัญอยู่ตรง ไม่รีบ ไม่เร่ง ไม่ทำ และดูให้สบายๆ
    พอรู้ได้แบบนี้ มันจะรู้สึกไม่โดนบีบเค้น มันจะรู้สึกสบายๆเบาๆ
    ถึงจะยังมีความทุกข์อยู่ก็ไม่โด<WBR></WBR>นบีบเค้น ที่สำคัญคือไม่เร่งเค้านะ
    ไม่ต้องมีเราทำอะไร ปล่อยๆ และดูเฉยๆ ดูสบายๆ

    ขั้นต่อไปสำรวจร่างกาย มีเกร็งเนื้อเกร็งตัวมั้ย ถ้ามีก็ผ่อนคลายให้สบายๆ
    จิตใจ มีอั้น มีกลั้นมั้ย ถ้ามีก็ปล่อยให้สบาย
    ที่ให้ดูแบบนี้เพราะปกติร่างกาย<WBR></WBR>เราโดนอัตตาบังคับตลอดเวลา
    (สังเกตมั้ยเมื่อกี้มีเกร็งอยู่<WBR></WBR> แต่พอพูดปุ๊บก็รู้สึกตัวแล้วก็ป<WBR></WBR>ล่อยนั้นแหละครับ)
    เมื่อมีสติจะรู้เลยว่าเมื่อกี้แ<WBR></WBR>อบเกร็ง เห็นมั้ยว่ามีเราแอบทำอะไรไว้โด<WBR></WBR>ยไม่รู้ตัว
    พอไม่เกร็ง ร่างกายก็เบาจิตใจก็เบา สบายกว่าเมื่อกี้ใช่มั้ย^^
    แต่ปกติเรามักจะคุ้นเคยกับการเก<WBR></WBR>ร็งโดยอัตโนมัติ เรียกว่าทำจนชิน

    ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ให้ทร<WBR></WBR>มานตนเอง แต่เราก็มักทำโดยไม่รู้ตัว
    ทีนี้ก็มีสติรู้สึกตัวบ่อยๆนะ พอมันเกร็งก็รู้และปล่อย
    เมื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจแล<WBR></WBR>้ว .....จะรู้สึกทันทีว่าร่างกายเบ<WBR></WBR>าจิตใจเบา

    ทีนี้พอรู้สึก มันจะเห็นเป็นความรู้สึกผ่านมาใ<WBR></WBR>ห้รู้ จะทุกข์ก็ได้สุขก็ได้เฉยก็ได้
    ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ โดยไม่เร่งไม่รีบไม่ทำ ต่อไปเรื่องการรู้
    ต้องบอกก่อนเลยว่า ทุกคนสามารถรู้ได้เองอยู่แล้ว..<WBR></WBR>.ตัวรู้เนี้ยมีกันทุกคน
    แต่เราชอบที่จะกำหนดรู้ การกำหนดรู้เมื่อฝึกบ่อยๆก็เป็น<WBR></WBR>อัตตาปนรู้
    ซึ่งทำให้เราหลงผิดกันเยอะเลย รวมทั้งตัวผมเองด้วย *-*

    ทำไงดีละให้เห็นว่าเป็นมันรู้
    ก็ลองไม่รู้ความรู้สึกตอนนี้ดู ทำได้มั้ย ลองดูนะไม่ต้องรู้ว่ารู้สึกอะไร<WBR></WBR>เลย
    สัมผัสร่างกายร้อนหรือเย็นไม่ต้<WBR></WBR>องรู้ จิตใจมีความรู้สึกดีไม่ดีไม่ต้อ<WBR></WBR>งรู้
    หรือห้ามรู้ได้มั้ย สั่งมันเลย ว่าจงอย่ารู้เลยนะพ่อคุณ หยุดรู้ทีเถอะความรู้สึกเนี้ย

    ทำไม่ได้ใช่มั้ยครับ มันยังคงรู้ความรู้สึกเห็นความร<WBR></WBR>ู้สึกอยู่ ใช่มั้ย
    แสดงว่า มันเป็นสิ่งหนึ่งที่สั่งไม่ได้ ห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้
    เป็นสิ่งที่รู้ได้เอง โดยไม่ต้องมีเรามันก็รู้ได้เองจ<WBR></WBR>ริงมั้ยครับ
    ตั้งแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม มันรู้ได้หมดเลย ห้ามไม่ได้ด้วย
    นี้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นธรรมชา<WBR></WBR>ติที่มีกันทุกคน ความสามารถของมันคือรู้เฉยๆ
    รู้แล้วมันก็สักแต่ว่ารู้ เพราะมันไม่คิด ไม่เทียบเคียง และมันก็ไม่พูดด้วย
    แต่เราหลงมาตลอดว่าเป็นเรารู้ และเราก็คิด และเราก็สงสัยว่าทำไม "เราถึงรู้ๆๆๆ"
    ทั้งๆที่เป็น "มันรู้เอง" ต่างหากละ T^T เป็นสาเหตุหนึ่งที่เราชอบหลงไปว<WBR></WBR>่าเป็นเรารู้
    ขอจบตอน1ครับ^^ดูเพิ่มเติม
     
  2. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    การรู้ซื่อๆที่ผมเข้าใจ ตอนที่ 2

    ตามที่ผมกล่าวมาเรื่อง การรู้เอง (ธรรมชาติรู้ได้เอง)
    สำหรับผู้ที่ยังสงสัยอยู่เกี่ยว<WBR>กับการรู้
    ถ้าช่วงนี้สงสัยว่าจะทำยังไงถึง<WBR>จะรู้ได้จริงๆ หรือกังวลว่าจะตามไม่ทันยาก
    ผมตอบแทนได้เลยว่า ตอนนี้คุณรู้แล้ว ว่ากำลังสงสัยอยู่ (ถูกใช่มั้ย)
    และเกิดความกังวลว่าจะรู้ไม่ทัน<WBR>ยาก การที่เรากลัวที่จะไม่รู้นี้แหล<WBR>ะครับคือ รู้แล้ว
    พอเริ่มเข้าใจแล้ว เราก็เห็นเลยว่า แท้จริง เป็นธรรมชาติที่เค้ารู้ได้เอง(ไ<WBR>ม่มีเรา)
    แล้วทีนี้เรายังจะหลงเป็นเรารู้<WBR>อยู่อีกมั้ย จำเป็นต้องแบกภาระเป็นเราเพิ่มร<WBR>ู้อีกมั้ย
    หรือไปกำหนดจุดต่างๆ ให้รู้มันรู้แค่จุดใดจุดหนึ่ง เป็นการบังคับ+ภาระหน้าที่
    และก็เกิดภาระความเป็นเราขึ้นมา<WBR>อีก(ตัวกู ของกู)
    พูดง่ายๆว่าเราหาเรื่องมีตัวเรา<WBR>ทำ พอทำแล้วก็มีภาระ
    เมื่อมีภาระก็หนัก พอหนักก็ทุกข์ และออกจากทุกข์ไม่ได้
    กลายเป็นกรงขังตัวเองไปเลย เพราะไม่หยุดทำ
    ถ้าจะออกจากทุกข์ ก็ต้องหยุดทำ และปล่อยให้ธรรมชาติเค้าเป็นอิส<WBR>ระ
    โดยไม่มีเราบังคับกดข่ม แล้วจะพบว่าธรรมชาติของเค้าก็คื<WBR>อ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้
    (สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เราของเรา)
    ถ้าผู้ใดเข้าใจธรรมชาติอย่างแท้<WBR>จริง ก็จะไม่ขัดแย้งกับธรรม
    จะรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นธรรมตามความเป็นจริ<WBR>ง
    จะเกิดความเบื่อหน่าย หมดความกำหนัดยินดีและไม่หลงเพล<WBR>ิน
    มีแต่ปล่อยวางและดูเค้าอย่างเข้<WBR>าใจ
    จะจิตก็จะพัฒนาจนสลัดความทุกข์อ<WBR>อกได้

    ขอยกตัวอย่างอีกอย่างเพื่อความเ<WBR>ข้าใจเรื่องรู้นะครับ
    เช่น รูปที่เห็นได้ทางตา เพราะมีตาใช่มั้ยครับ ถึงเห็นรูป
    อาการรู้หรือธรรมชาติรู้ก็เช่นก<WBR>ันครับ เพราะมีมันรู้ ถึงได้รู้อารมณ์
    แต่เราหลงไปนึกว่าเป็นเรารู้ ....อย่าไปเพิ่มรู้....มันรู้ได<WBR>้เองอยู่แล้ว
    พอเริ่มเข้าใจแล้วเราก็มาปล่อยร<WBR>ู้กันนะครับ... เริ่มเลย
    ปล่อยให้มันรู้อย่างเป็นอิสระ โดยไม่ถูกอัตตากำหนด
    มันจะรู้สึกได้กว้างๆอยู่แล้ว เท่าที่เค้ารู้ได้ อะไรเกิดขึ้นมาก็รู้
    ให้รู้เค้าทำงานตามธรรมชาติของเ<WBR>ค้า
    เหมือนปล่อยแมวให้ไล่จับหนู อะไรเกิดขึ้นมาแว๊บก็รู้
    เหมือนหนูโผล่มาแว๊บ แมวมันก็จับหนูปุ๊บ หนูก็โดนแมวไล่
    ไล่จนหนูมันหายไปไม่เหลือ เหลือแต่แมวที่เฝ้าดูอยู่
    พอมันเกิดขึ้นมาอีก แมวก็จับอีกแบบนี้ ไม่มีเราต้องทำอะไร
    ไม่มีภาระเป็นเราเลย ดังนั้นเลิกวุ่นวายกับเค้า
    และปล่อยให้เค้าทำงานอย่างเป็นอ<WBR>ิสระ เวลาคิดมากๆก็ปล่อยให้มันคิดๆๆไ<WBR>ป

    เวลาทุกข์มากๆก็ปล่อยให้มันทุกข<WBR>์ๆๆไป เวลาเจ็บทางกายก็ปล่อยให้มันเจ็<WBR>บๆๆไป
    รู้แล้วปล่อย ปล่อยให้เค้าทำงานไปตามธรรมชาติ<WBR> นี้แหละ สักแต่ว่ารู้
    เมื่อสักแต่ว่ารู้ตัวเราย่อมไม่<WBR>มี เมื่อไม่มีเราแล้วใครจะทุกข์
    ความกำหนัดยินดี ความเพลิดเพลินในอารมณ์อันเกิดจ<WBR>าก
    สุข ทุกข์ เฉย จะมีแก่พวกเรามั้ย

    ผู้เห็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
    เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดยินดีแล<WBR>้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่หลงไหล
    มีปกติเห็นโทษอยู่ ปัญจุปาทานขันธ์ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อขึ้นอีก
    และ ตัณหา อันเป็นเครื่องนำมาซึ่งภพใหม่
    ประกอบด้วยอำนาจแห่งความกำหนัด อำนาจแห่งความเพลิน
    ทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้<WBR>นๆ ของบุคคลนั้น ย่อมละไป
    ความแผดเผา ทางกายและทางจิต ก็ละไป
    ความเร่าร้อน ทางกายและทางจิตก็ละไป
    บุคคลนั้นย่อมเสวยความสุขทั้งทา<WBR>งกายและทางจิต
    ทิฏฐิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นน<WBR>ั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ
    ความดำริของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช<WBR>่นนี้ เป็น สัมมาสังกัปปะ
    ความเพียรของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เ<WBR>ช่นนี้ เป็น สัมมาสติ
    สมาธิ ของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนี้ เป็น สัมมาสมาธิ
    ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะ ของเขาบริสุทธิ์แล้วแต่เดิม
    (ดังนั้นเป็นอันว่า) สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ
    มีอยู่เต็มที่แล้วในบุคคลผู้รู้<WBR>ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น
    ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค(อริยมรรคมีอง<WBR>ค์8)
    บุคคลผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น<WBR> ย่อมถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาว<WBR>นา
     
  3. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    การรู้ซื่อๆที่ผมเข้าใจ ตอนที่ 3

    ผลของการภาวนา
    พอรู้แบบนี้ ผมรู้สึกว่า ภาระความเป็นเรามันค่อยๆน้อยลงๆ<WBR></WBR>เพราะ
    ความยึดมั่นว่าเป็นตัวเราของเรา<WBR></WBR>ลดลง เริ่มไม่เห็นว่ามีอะไรเป็นเราซั<WBR></WBR>กอย่าง
    ... มีแต่ของแปลปรวนไม่เที่ยง ผ่านมาให้รู้แล้วก็ผ่านไป
    มันกระทบแล้วก็ดับๆ สภาวะที่ผ่านมาก็ปล่อยให้ผ่านมา
    รู้สึกถึงความสงบสุขสันติ เพราะไม่ได้อั้น ได้กลั้นเค้า...แต่เป็นการปล่อย

    ภาวนาแล้วจะรู้สึกเหมือนได้หยุด<WBR></WBR> เหมือนมีบ้านที่ปลอดภัย
    ได้พักผ่อน ไม่ใช่การหนีทุกข์ แต่เป็นการอยู่กับทุกข์
    ถึงบอก ว่าไม่รีบ ไม่เร่ง ไม่ทำ ให้รู้เฉยๆ ก็คืออยู่กับทุกข์ แต่ไม่ทุกข์
    ความทุกข์ยังมีเหมือนเดิม อารมณ์ความรู้สึกคิดนึกมีหมด
    เพียงแค่รู้แล้วปล่อยให้เค้าทุก<WBR></WBR>ข์ ปล่อยให้เค้าคิด ปล่อยให้เค้ารู้สึก
    ผมถึงเข้าใจว่าทุกข์ก็ได้ สุขก็ได้ เฉยก็ได้ ยังไงก็ได้ จะตายก็ได้
    ใจมันเฉยๆ ไม่มีความกำหนัดยินดี และไม่เพลินในอารมณ์
    อันเกิดจาก สุข ทุกข์ เฉย แต่จะเป็นอะไรก็ได้ ใจที่ยอมรับธรรมชาติได้
    มันจะไม่ดิ้นมันไม่ไม่ขัดแย้งกั<WBR></WBR>บอะไร เพราะมันรู้ว่า
    ธรรมชาติ คือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้
    มันเลยเลิกดิ้นรน ไม่แสวงหาแล้ว มีแต่ยอมรับ และปล่อยให้เค้าทำงาน
    มันกลับพบความสุข เบิกบาน สงบ เย็น แต่ไม่มีความยินดีร้าย
    สื่งที่ผมเข้าใจคือ ให้เราละอัตตาไป
    เมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึก มันเลยไม่มี "ประธาน" ที่จะไปยินดียินร้าย
    ใจไม่บานเมื่อรู้สึกสุข ใจไม่บีบแคบ เมื่อรู้สึกทุกข์ มันเฉยๆ
    มันจะเหลือแต่ "กริยา" ...ในขณะนั้น ไม่มีผู้ทุกข์ แม้จะมีทุกข์อยู่ก็ตามครับดูเพิ่มเติม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2012
  4. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    กราฟความสุข(ตามความเข้าใจ)
    สมมุติว่าความสุขมี5ขั้น(บางคนอ<WBR>าจมี7ขั้นก็ได้ผมเอาแค่นี้พอ^^)<WBR>
    ขั้น1สุขนิดๆ
    ขั้น2สุขมากหน่อย
    ขั้น3สุขมาก
    ... ขั้น4สุขสุดๆ
    ขั้น5สุขแบบนี้มีด้วยหรือ
    แล้วอยู่ๆความสุขก็ลงไปอยู่ขั้น<WBR>4 แต่เราไม่เรียกว่าสุขแล้ว
    เรากับเรียกความรู้สึกนี้ว่า อ้าว..มันทุกข์กว่าเมื่อกี้
    แต่เมื่อกี้ทำไมเรารู้สึกว่าขั้<WBR>น4สุขสุดๆนะ
    ก็มันเห็นความแตกต่างความไม่เที<WBR>่ยงนั้นเอง
    เเล้วเจ้าความทุกข์มันไล่หลังเร<WBR>าไวจริงๆ *-*
    หรือจะบอกว่าทั้งสุขและทุกข์มัน<WBR>คือตัวเดียวกันก็ได้
    ดังพระพุทธเจ้าตรัสถามว่าอยู่บ่<WBR>อยๆว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุข<WBR>หรือเป็นทุกข์
    ทีนี้ต้องถามตัวเองแล้วว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุข<WBR>หรือเป็นทุกข์
    (อย่าตอบโดยที่ใจยังไม่ยอมรับอย<WBR>่างแท้จริง ใจมันจะแน่นๆครับ)
    (แต่ให้ดูความจริงโดยไม่ต้องหลง<WBR>เชื่อ จนใจยอมรับความจริงมันจะค่อยๆว่<WBR>าง)
    เมื่อได้คำตอบมันก็จะวางเฉยต่อส<WBR>ิ่งที่รู้ กลับมามีสติตั้งมั่นได้เพราะเห็<WBR>นโทษครับ^^
    กราฟความสุขจบแล้วครับ <WBR>ดูเพิ่มเติม
     
  5. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    รู้อย่างไรในการภาวนา 7...หลวงพ่อสมบูรณ์....

    "นิพพานไม่ได้ถือเป็นการไป หรือการมา....แต่คือการหยุด"

    ... ขอให้ดูความรู้สึก....

    หรือดูจิตใจ...อันเดียวกัน....

    ดูเรื่อยๆ ดูเฉยๆ เค้าก็จะปรับเองให้ปกติ...

    บางครั้งเราเผลอไป ถูกปรุงแต่ง

    ก็ดูมันปรุงแต่ง...มันเป็นวิบาก<WBR>กรรม

    พอเราดูเฉยๆ รอได้คอยได้ มันก็จะค่อยๆ สลายไป

    ค่อยๆ ปลดเปลื้องไป...จนเกลี้ยง

    แต่อย่าไปเร่งรัด...อย่าไปข่มกด<WBR>...

    ต้องดูเฉยๆ จะเห็นเองเลย เห็นได้เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องทำอะไร

    สงบก็มีอยู่ พักอยู่...จิตก็พักอยู่...ได้พั<WBR>กความรู้สึก

    .....ธรรมดาสังเกตนะ..ที่เราไม่<WBR>ได้ดู

    .....จิตเราไม่ได้พัก เต้นอยู่ตลอดเวลา ดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา

    .....พอเห็น จิตก็จะได้พัก....

    พักก็มีพลัง มีกำลังใจขึ้น..กำลังใจเราก็ดี

    ไม่ต้องเสียกำลังใจ ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่กับทุกข์

    ไปไหนมาไหนก็ไปกับทุกข์...

    นี่...จิตเราพัก...หยุด

    เค้าเรียกเป็น...นิพพาน...ไม่มี<WBR>อะไร

    นิพพานไม่ได้ถือเป็นการไป หรือการมา....แต่คือการหยุด

    ....คือจิตที่หยุด เราจะเห็น..หยุด....

    ....จิตหยุด ความรู้สึกเราหยุด....

    ไม่ใช่เราหยุดนะ ....ความรู้สึดเค้าหยุดอยู่....

    เค้าหยุดแล้วเค้าก็ปล่อย....วาง<WBR>...
     
  6. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ฐานมันยังไม่มั่นคงเลย ถ้าฐานไม่มั่นคงมันจะล้มครืนลงมาในที่สุด
    เคยได้ยินคำนี้ไหม "จิตเกิดในความว่าง"
    หมายความว่า จิตมันยังเกิดอยู่ ยังหลงอยู่ แต่เราไม่รู้ว่ามันหลง
    มันก็เลยหลงอยู่ในความว่างนั้นเอง
    มันไม่ได้มีปัญญาอะไรไปชำระกิเลสจริงๆ หรอก แค่เพลิน ๆ ไปเท่านั้นเอง...

    อโหสิให้ด้วยนะ
     
  7. สะพาน

    สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +104
    อนุโมมทนา สาธุครับ
    สำนวนการเขียน คล้ายคนในห้อง วิทยาศาสตร์ ที่ชื่อคุณกล้วยเลยนะครับ ก็ติดตามคุณคนนั้นอยู่เหมือนกัน
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    <img src='http://p1.s1sf.com/ns/0/wb/i/ui/189/946522/h3.jpg' width=200>

    เขียนมาตั้งเยอะ ตั้งหลายโพส แต่ทว่า มา "โง่" เอาตอนจบ

    จุดแรก ใช้คำว่า "เค้า" จริงๆ ใช้คำว่า เค้า มันก็ปล่อยไปแล้ว เพราะไม่ใช่ "เรา"
    โดยสภาพก็ต้องถือว่า ใช้ได้แล้ว ไม่ต้องทำกิจเพิ่ม

    แต่นี่ เค้า ไม่พอ ยังใช้คำว่า หยุด จริงๆ หยุดก็ควรจะพอแล้ว หยุดที่เค้า นี่พอใช้
    แต่นี่ไม่พอ ยังจะทำกิจเพิ่มอีกคือ "แล้ว ก็ปล่อย"

    ถ้า "เค้าหยุดแล้วก็ปล่อย" อธิบายถึง มรรค ก็จะไม่แปลก ไม่ผิดอะไร

    แต่นี่ มาเขียนว่า เป็นเรื่อง นิพพาน ก็เลยต้อง ขอแย้ง ว่าไม่ใช่แล้วหละ

    แบบนี้ ต้องใช้น้ำมันเครื่อง ไดเกียว 2T
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2012
  9. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    อืม.......................ignorr
     
  10. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    จิตนั้นหมายถึงสิ่งที่ไม่คิดใช่รึเปล่าครับ
    ความว่างนั้นเป็นว่างจากอัตตานะครับ เพราะหมดความไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา
    ยังมีความรู้สึก กระทบสัมผัส เหมือนเดิมอย่างที่บอกมาด้านบน
    มีทุกข์ สุข เฉย แต่ไม่มีความยินดียินร้าย จิตใจไม่บานเมื่อมีความสุข ไม่แฟบเมื่อทุกข์
    ไม่เพลิดเพลินในอารมณ์ มีแต่รู้เค้ารู้เฉยๆ และไม่มีเราเข้าไปปรุงแต่งรู้
    เป็นแต่สักแต่ว่ารู้ ลองดูนะครับ พยานที่ดีที่สุดอยู่ที่ใจตน กับสิ่งที่เขียนไว้
    อยากให้มองแต่ประโยชน์ในแง่ของการปฏิบัติ จากใจจริง
    ลองสังเกตตามดูนะครับ ถ้าสิ่งที่ผมเขียนไม่จริงอย่างไรก็แนะนำพูดคุยกันครับ ^^

    พี่กล้วย เป็นผู้สอนให้ผมเข้าใจธรรมชาติของรูปนาม (โดยการรู้เฉยๆ)
    ได้มีโอกาสคุย ตั้งแต่วันแรกเมื่อ6เดือนที่แล้ว จนถึงวันนี้ครับ(โชคดีจริงๆ)
    พอได้ลองฝึกรู้ตาม (พูดจริงๆนะผมก็ยังไม่อยากเชื่อพี่กล้วยเท่าไหรแต่แค่ลองดู)
    ผมก็สัมผัสได้ถึงความว่างจากการยึดมั่นถือมั่น และเข้าใจว่า
    ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติ ก็จะหมดความดิ้นรนแสวงหาหมดความบีบเค้น
    เข้าใจอะไร เข้าใจว่าธรรมชาตินั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ ถ้าไม่เห็นตามนั้น
    จิตก็จะยั้งดิ้นรนแสวงหาความสุข ความเที่ยง และบังคับควบคุม
    อาการของผู้กดข่มจิตก็จะบีบครับ ดิ้นรนแสวงหา เหนื่อยมีภาระเป็นเราของเรา
    ผู้ที่เข้าใจธรรมชาตินี้แหละครับ จะไม่ขัดแย้งกับธรรม ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    โลกย่อมขัดแย้งกับเราแต่เราไม่ขัดแย้งกับโลก
     
  11. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้และพี่กล้วยในธรรมทาน
    หากเรายังจำเป็นต้องเรียนรู้ต่อ กาลเวลาจะค่อยๆพาบทเรียนมาให้เราจ้า
     
  12. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ^^ ผมหวังว่าสิ่งที่ผมเขียนจะเ<WBR></WBR>ป็นสิ่งเตือนใจสร้างสติให้ร<WBR></WBR>ู้สึกตัวได้ ไม่ให้หลงเป็นเรารู้ๆ ขอบพระคุณทุกๆท่านครับ ^^ ยิ้มแบบไม่มีตาอีกที ต่อไปจะเขียนเรื่อง เริ่มจากมิจฉาทิฏฐิ สู่ธรรม
     
  13. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    หนทางที่จะนำเราไปสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริงคือ การมีสติเห็นตามความเป็นจริง การเห็นตามความเป็นจริงนี้ไม่ได้หมายเอาแค่ เห็นว่าใจนี้เป็นสุขเป็นทุกข์หรือเฉย ๆ แล้วสามารถปลงได้วางได้เพียงเท่านั้น เพราะนั่นเป็นเพียงแค่ผล เป็นปลายเหตุที่เราเผลอหลงมาแต่ไหนไม่รู้ แล้วเราก็มาใช้วิธีการรวบรัดตัดปลายเอาเลย แบบนี้ความหลงยังคงอยู่ครบเหมือนเดิม แถมยังถูกความเห็นผิดนั้นหลอกซ้ำเข้าไปอีก แบบนี้จะยิ่งหลงไปกันใหญ่ ทางที่ถูกคือเราต้องเจริญสติเข้าไปให้ถึงต้นตอของมันที่เราหลงมาันั่นแหละ ไปสังเกตไปทำความเข้าใจตรงนั้น เราหลงก่อสุขก่อทุกข์ขึ้นมาในใจได้อย่างไร ต้องไปเข้าใจตรงนั้นให้ได้ก่อน เราจึงจะสามารถคลายความเห็นผิด คลายทิฏฐิ คลายอัตตาได้จริง ๆ


    ตามหลักอริยสัจจ์ ทุกข์ คือสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) คือสิ่งที่ต้องละ นิโรธ คือสิ่งที่ต้องทำให้แจ้ง มรรค คือสิ่งที่ต้องเจริญ เราได้ทำตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้แ้ล้วหรือไม่ ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเหตุ และความดับไปแห่งเหตุแห่งธรรมนั้น เราดับเหตุนั้นได้จริงแท้แน่นอนหรือยัง หรือแค่ปลง ๆ แล้วก็จบก็สิ้นเรื่องกันไป ตรงนี้เราต้องแยกให้ออกก่อนว่า อะไรคือเหตุอะไรคือผล


    ผมเอาใจช่วย สอนผิดเป็นกรรม ต้องระวัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2012
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    .....................ยิ้มแบบไม่มีตา อีกที นี่ เป็นอารมณ์ ใหนครับ? แล้วสตืระลึกรู้ได้ใหม....แล้วการที่จะโพส บทใหม่(จากมิฉาทิฎฐิ สู่ธรรม)...นั้น ระลึกรู้ว่า เราจะโพส เพื่ออะไร อารมณ์ที่โพสอยู่เป็นยังไง โพสเสร็จแล้วเป็นยังไง?.....ยังเป็นเราทำอยู่หรือไม่...หรือว่า ตรงนี้ไม่ต้องตามระลึก..:cool:
     
  15. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    เจ้าหนูจำไมหรือไง :cool:
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ................ก็อยากรู้ ว่า ที่จขกท โพสมาทั้งหมด ยัง เห็นอยู่หรือเปล่า ในปัจจุบัน:cool:
     
  17. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุนัขที่เขาผูกไว้
    ด้วยเชือก
    ถูกล่ามไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่<WBR>นคง
    ย่อมวิ่งวนเวียนหลักหรือเสานั้น<WBR>เอง
    แม้ฉันใด. ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉัน
    ... นั้นเหมือนกันแล
    ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาด
    ในอริยธรรม ไม่
    ได้รับแนะนำในอริยธรรม
    ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
    ในสัปปุริสธรรม ไม่
    ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
    ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน
    เห็นตนมีรูป
    เห็นรูปในตน
    หรือเห็นตนในรูป
    ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน
    เห็นตนมีเวทนา
    เห็นเวทนาในตน
    หรือเห็นตนในเวทนา
    ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน
    เห็นตนมีสัญญา
    เห็นสัญญาในตน
    หรือเห็นตนในสัญญา
    ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน
    เห็นตนมีสังขาร
    เห็นสังขารในตน
    หรือเห็นตนในสังขาร
    ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน
    เห็นตนมีวิญญาณ
    เห็นวิญญาณในตน
    หรือเห็นตนในวิญญาณ
    เขาย่อมแล่นวนเวียน รูป เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นเอง
    เมื่อเขาแล่นวนเวียนรูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณอยู่
    ย่อมไม่พ้นไปจากรูป
    ไม่พ้นไปจากเวทนา
    ไม่พ้นไปจากสัญญา
    ไม่พ้นไปจากสังขาร
    ไม่พ้นไปจากวิญญาณ
    ไม่พ้นไปจากชาติ (ความเกิด)
    ชรา
    มรณะ
    โสกะ
    ปริเทวะ
    ทุกข์
    โทมนัส
    อุปายาส
    เรากล่าวว่าย่อมไม่พ้นไปจากทุกข<WBR>์
    บางส่วนจาก คัททูลสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕
    ด้วยเสาล่ามสุนัขดูเพิ่มเติม
     
  18. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น,
    ได้ฟังเสียงแล้ว ก็สักว่าฟัง,
    ได้ดมกลิ่นแล้ว ก็สักว่าดม,
    ได้ลิ้มรสแล้ว ก็สักว่าลิ้ม,
    ได้สัมผัสทางผิวการแล้ว
    ... ก็สักว่าสัมผัส,
    ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่ารู้แจ้งแล้ว.
    เมื่อนั้น "เธอ" จักไม่มี,
    เมื่อใด "เธอ" ไม่มี,
    เมื่อนั้น "เธอ" ก็ไม่ปรากฏในโลกนี้,
    ไม่ปรากฏในโลกอื่น,
    ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอ<WBR>ง,
    นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์.
    อุ. ขุ. ๒๕/๘๓/๔๙.
     
  19. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักไปนอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่ เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    สัญญาเป็นอนัตตา ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้หลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อม ไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
    รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง (ดูตรงจุดนี้นะครับพระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นอะไร) พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    (สรุปว่าละความเห็นผิดได้ว่ารูปเป็นเรา เพราะเเจ้งในความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนของเรา)
    พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน

    เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
    สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
    สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
    แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
    วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูปเธอทั้งหลายพึงพิจารณารูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็ตแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงพิจารณาเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึงพิจารณาสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงพิจารณาสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงพิจารณาวิญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
    ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟัง ได้พิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัดจิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นก็ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี ในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจบไวยากรณภาษิตนี้ จิตของปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ภิกษุ ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดดำรงอยู่ในพระอรหัต ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นแล้ว ๖ องค์
     
  20. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    ปัญญาเข้าใจเช่นนี้ ปัญญากับวิญญาณ(อาการรู้)นั้นทำงานร่วมกัน ปัญญาคือรู้ว่าตัวเราไม่มี วิญญาณคือกำหนดรู้ แต่เราลองสังเกตดูนะครับ เวลารู้มักจะคิดไปว่าเป็นเรารู้ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า ไม่ใช่ตัวเราของเรา เป็นมันรู้นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...