เรื่องเด่น ปฏิทินพลังจิตธรรมสัญจร 55 ตอน ร่วมบุญสร้างลานปฏิบัติธรรมกับ คบ. วิจิตร มนฺญโญ P. 44

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 14 ธันวาคม 2011.

  1. Ninana

    Ninana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,740
    พี่หญิงค่ะ หน่อยขอจองไปร่วมทริป 8 เตียวขึ้นดอย พระพุทธบาท 4 รอย 2 ที่นั่งค่ะ
     
  2. Kump

    Kump เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +508
    โอนให้แล้วครับพี่หญิง วันที่ 21-02-2555 เวลา 12.49 น. จำนวน 900 บาท
     
  3. Piticha

    Piticha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +2,057
    ธรรมสัญจร (๑๐) พิธีสืบชะตามุฑิตาจิตสักการะครูบาวิจิตร มนูญโญ -แจกของเด็กชาวเขา วัดกูเตอร์โกลด์-สักการะพระธาตุอินทร์แขวนเมืองไทย จ. ตาก วันเสาร์ที่ ๒๔-วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มี.ค.
    พี่มาจอง 2 ที่นั่งค่ะ (มีสว 1 ท่านค่ะ )
     
  4. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,673
    สวัสดีค่ะพี่หญิงนู๋จองทริปนี้ 2 ที่ค่ะ ^__^

    ธรรมสัญจร (๑๐) พิธีสืบชะตา
    มุฑิตาจิตสักการะครูบาวิจิตร มนูญโญ -แจกของเด็กชาวเขา วัดกูเตอร์โกลด์-สักการะพระธาตุอินทร์แขวนเมืองไทย จ. ตาก วันเสาร์ที่ ๒๔-วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มี.ค.

     
  5. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รับทราบและปรับปรุงรายชื่อให้แล้วค่ะ
     
  6. อัสนี

    อัสนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,401
    ค่าพลัง:
    +3,566
    -ร่วมกิจกรรมบุญทุกบุญ ใน ทริปธรรมสัญจร(๗)นมัสการสักการะพระพุทธบาทเขาวงพระจันทร์-พระพุทธบาทสระบุรี-พิธีพุทธาภิเศกพระศรีอริยเมตไตรย์ ครับ
    อัสนี-แกรนิต
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06743.jpg
      DSC06743.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.8 KB
      เปิดดู:
      1,312
  7. aor_bn

    aor_bn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2009
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +117
    ขอจองทริป ธรรมสัญจร (๑๐) พิธีสืบชะตามุฑิตาจิตสักการะครูบาวิจิตร มนูญโญ -แจกของเด็กชาวเขา วัดกูเตอร์โกลด์-สักการะพระธาตุอินทร์แขวนเมืองไทย จ. ตาก วันเสาร์ที่ ๒๔-วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มี.ค. 2 ที่นั่งค่ะ
     
  8. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประวัติงานประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย

    [​IMG]
    พระพุทธบาทสี่รอย อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่


    ประวัติงานประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย
    งานประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย ซึ่งเป็นงานประจำปีที่ทางวัดได้จัดทำบุญทุก ๆ ปี มีการเดินแห่ขบวนฆ้อง กลอง และของวัตถุไทยทานพร้อมด้วยของบริวารขึ้นสู่บนยอดเขา คือวัดพระพุทธบาทสี่รอย หรือเรียกว่าประเพณีเตียวขึ้นดอย (เดินขึ้นเขา) งานทุก ๆ ปี จะมีการจัดทำบุญ ๒ วัน คือ วันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๔ หรือเพ็ญเดือน ๔ โดยเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ของทุกปี จะมีการเดินขบวนแห่ฆ้อง กลอง เดินขึ้นไปวัดพระพุทธบาทสี่รอย โดยเริ่มเดินตั้งแต่ตอนค่ำเวลา ๒๐.๐๐ น. เป็นต้นไป จนขึ้นถึงวัดพระพุทธบาทสี่รอยเช้าในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๔ แล้วก็ประกอบพิธีทำบุญตักบาตร พระภิกษุสงฆ์ สามเณร

    ระยะทางที่ใช้ในการแห่ขบวนขึ้นไปยังวัดพระพุทธบาทสี่รอยรวมทั้งหมดประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยช่อธง พระพุทธรูป อัฐิครูบาศรีวิชัย รูปเหมือนครูบาศรีวิชัย และน้ำสรงพระราชทาน แห่ฆ้อง กลอง พร้อมญาติโยมพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมากร่วมเดินขบวนด้วยกันทุก ๆ ปี เดินทางมาทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และต่างจังหวัด โดยได้รับพระราชทานน้ำสรงรอยพระพุทธบาทสี่รอย จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อน้อมมาสรงรอยพระพุทธบาท

    ผู้ริเริ่มจัดงานทำบุญประจำปี หรือประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยคือ ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ซึ่งท่านครูบาศรีวิชัยเป็นผู้นำญาติโยมศรัทธาสาธุชนเดินขบวนแห่ฆ้อง กลอง ขึ้นไปวัดพระพุทธบาทสี่รอย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีถนนหนทาง ต้องเดินบุกป่าฝ่าดงขึ้นไปด้วยความยากลำบาก ต้องขึ้นเขาและข้ามลำน้ำห้วย ๓๒ ท่า ขึ้นไปถึงเช้าในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (เดือน ๖ เป็งเหนือ) และทำบุญตักบาตร เจริญพระพุทธมนต์ สรงน้ำรอยพระพุทธบาท อยู่ปฏิบัติธรรม ๑ คืน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป ครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงสั่งให้ร่วมกันทำบุญสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยขึ้นทุก ๆ ปี หลังจากนั้นทางศรัทธาสาธุชนที่อาศัยที่อยู่เชิงเขาและที่ได้ร่วมกับครูบาศรีวิชัยในครั้งนั้น ก็ได้พากันประพฤติปฏิบัติมาประมาณ ๓๐ ปี
    ประเพณีเตียวขึ้นดอย (เดินขึ้นเขา) หรือประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยก็ถูกทิ้งและลืมไป เพราะการเดินทางขึ้นวัดพระพุทธบาทสี่รอย ซึ่งไม่มีถนนหนทางรถยนต์ไม่สามารถขึ้นได้ ประกอบด้วยครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพ ครูบาอาจารย์ และศรัทธาญาติโยมที่เคยร่วมงานกัน จัดทำประเพณีสรงน้ำประจำปีก็เฒ่าแก่ชรา ไม่สามารถจะเดินขึ้นได้ ประเพณีจึงถูกลืม พอมาถึงปี พ.ศ.๒๕๓๖ ประเพณีจึงถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ โดยเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบัน คือ ระครูพุทธบทเจติยารักษ์ (ครูบาพรชัย ปิยวณฺโณ) และได้จัดประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยมาทุก ๆ ปี โดยมีการขอพระราชทานน้ำสรงทุกปี เพื่อน้อมนำมาสรงรอยพระพุทธบาทสี่รอย ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ และจะรักษาประเพณีอันดีงามและทรงคุณค่านี้ต่อไป

    วัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์รักษาประเพณีเตียวขึ้นดอย (เดินขึ้นเขา) หรือประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยประจำปี เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยและพุทธศาสนิกชนผู้เฒ่าผู้แก่ที่ได้ประพฤติ ปฏิบัติเป็นแบบอย่างแนวทางให้ชนรุ่นหลังได้เดินตามแนวทางปฏิบัติสืบต่อไป และเพื่อให้เป็นการชักจูงศรัทธาสาธุชน ได้แสดงออกถึงความสามัคคี และความตั้งมั่นศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจในการดำเนินชีวิต เป็นกำลังใจให้ประกอบแต่คุณงามความดี ประพฤติปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา สืบทอดอายุพระพุทธศาสนายั่งยืนยาวไปตลอดกาล

    หมายเหตุ
    งานประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยในทุก ๆ ๓ ปี ก็จะตรงกับวันมาฆบูชาครั้งหนึ่ง ถ้าหากปีไหนเป็นเดือน ๘ สองหนทางเหนือ (เดือน ๑๐ ภาคกลาง) ปีนั้นก็จะตรงกับวันมาฆบูชา

    ขอบคุณที่มา : วัดหนองก๋าย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2012
  9. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักสถานที่ ๆ จะไปในธรรมสัญจร (๘) กันเถิด...

    [​IMG]

    ๑. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

    พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชี<wbr>ยงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมื<wbr>องเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมื<wbr>องเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสน รู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"

    ประวัติวัดพระสิงห์วรวิหาร
    พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์เม็<wbr>งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง ๒๓ วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก ๒ ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์<wbr>มาจากเมืองเชียงราย เมื่อขบวนช้างอัญเชิญมาถึงหน้<wbr>าวัด ช้างก็ไม่ยอมเดินทางต่อ พระเจ้าแสนเมืองมา จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิ<wbr>งค์ประดิษฐาน ณ วัดลีเชียงพระ ประชาชนทางเหนือนิยมเรียกพระพุ<wbr>ทธสิหิงค์ ว่า "พระสิงห์" จึงเป็นที่มาของชื่อ "วัดพระสิงห์" ในปี พ.ศ. ๒๓๖๐ พระญาธัมมลังกา หรือพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระอนุชาของพระเจ้ากาวิละ โปรดให้บูรณะพระอุ<wbr>โบสถและพระเจดีย์

    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์สุดท้าย พร้อมด้วยครูบาศรีวิชัย และประชาชนชาวเชียงใหม่ ได้ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์วั<wbr>ดพระสิงห์อีกครั้ง และได้มีการขึดพบสิ่งของมีค่<wbr>ามากมาย อาทิ แผ่นทองคำจารึกเรื่องราวต่าง ๆ โกศบรรจุอัฐิพระญาคำฟู แต่สิ่งของเหล่านี้สูญหายไปในช่<wbr>วงสงครามเอเชียบูรพา และในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ วัดพระสิงห์ ได้รับโปรดเกล้าให้เป็<wbr>นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

    ตำนานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์)

    พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้<wbr>วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง ๗๙ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๔๓ เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีป ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๗๐๐ ต่อมา เจ้านครศรีธรรมราชได้<wbr>ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุ<wbr>โขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทั<wbr>ยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์<wbr>มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา
    ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมื<wbr>องกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมื<wbr>องเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์<wbr>มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกั<wbr>บพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตี<wbr>เมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์<wbr>มาประดิษฐานที่วัดพระศรี<wbr>สรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็น เวลานานถึง ๑๐๕ ปี

    มื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุ<wbr>ทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็<wbr>นของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุ<wbr>ทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิ<wbr>งหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุ<wbr>งเทพมหานครเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๓๘

    ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล โดยจะมีพิธีเชิญออกมาช่<wbr>วงเทศกาลสงกรานต์ให้<wbr>ประชาชนไทยได้สักการะและสรงน้ำ ส่วนพระสิงห์ที่ประดิษฐานที่วั<wbr>ดแห่งนี้เป็นพระพุทธรูปจำลอง


    ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย



    [​IMG]

    ๒. วัดเชียงมั่น

    วัดเชียงมั่น เป็นวัดที่ตั้งอยู่ถนนราชภาคิ<wbr>ไนย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีพระเสตังคมุณี (พระแก้วขาว) และพระศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรู<wbr>ปปางปราบช้างนาฬาคีรี ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่<wbr>และพงศาวดารโยนก หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังรายทรงสร้างเมืองเชี<wbr>ยงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ ทั้ง ๓ พระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ และพญามังรายทรงประทับชั่<wbr>วคราวในระหว่างควบคุมการสร้<wbr>างเมือง ตรงหอนอนบ้านเชียงมั่น เรียกว่า "เวียงแก้ว" ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวงเวี<wbr>ยงเหล็ก ตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่<wbr>งแรกและพระราชทานนามว่า "วัดเชียงมั่น" จากนั้นคาดว่าเจดีย์พั<wbr>งลงมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๑) พระองค์จึงโปรดให้สร้างเจดีย์<wbr>ใหม่ ทำด้วยศิลาแลง เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๑๔

    เมื่อเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้<wbr>นของพม่า ในปี พ.ศ. ๒๐๙๔ วัดเชียงมั่นจึงถูกปล่อยร้าง จนปี พ.ศ. ๒๑๐๑ เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) แห่งพม่า บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้<wbr>นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้สร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขง มีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้<wbr>าอาวาสเมื่อถึงสมัยพระยากาวิ<wbr>ละครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๓๒๔-๒๓๕๘) ต่อมาพระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิ<wbr>กายเผยแผ่เข้ามาในอาณาจักรล้<wbr>านนา เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์จึงนิ<wbr>มนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ แต่ได้ย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวั<wbr>ดเจดีย์หลวงตามลำดับ ในภายหลัง

    ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย




    [​IMG]

    ๓. วัดแสนฝาง

    วัดแสนฝาง ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยใด ทราบแต่เพียงว่าเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งเท่านั้น วัดแสนฝางเป็นวัดศิลปะพม่า จึงมีศิลปะการก่อสร้างแบบพม่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ โปรดฯให้รื้อที่ประทับของพระเจ้ากาวิโรรสสุริวงศ์ (เจ้าชีวิตอาว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ มาสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๐ ครั้นสร้างเสร็จแล้วจึงโปรดฯให้มีการฉลองวัดแสนฝางในปีพ.ศ. ๒๔๒๑

    ขอบคุณที่มา : วัดแสนฝาง



    [​IMG]

    ๔. วัดพระพุทธบาทสี่รอย

    ตั้งอยู่ ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาท แห่งองค์สมเด็จพระโลกนาถ สัมมาสัมพุทธเจ้าถึง ๔ พระองค์

    เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ ได้เสด็จจาริกประกาศธรรมและโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจันตประเทศ (ประเทศไทยปัจจุบัน) จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศชื่อ เขาเวภารบรรพต ซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก ๕๐๐ องค์และได้แวะฉันจังหันอยู่บนเขาเวภารบรรพตแห่งนี้ เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จขณะประทับอยู่ที่นั้นก็ได้ทราบด้วยญาณสมาบัติว่าบนเทือกเขาแห่งนี้ได้มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่ บนก้อนหินใหญ่ คือ พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้แล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระพุทธบาทแห่งพระ พุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ พระพุทธเจ้ากัสสปะ อันมีในที่นี้พุทธสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นประธาน เมื่อเห็นเช่นนี้จึงทูลถามว่าพระพุทธองค์ทรงเล็งดูด้วยเหตุใด พระพุทธองค์ตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลายสถานที่แห่งนี้ แม้นว่าพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ที่ล่วงมาแล้วในอดีตกาลก็มาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ทุก ๆ พระองค์ และแม้นว่าพระศรีอาริยเมตไตรก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้และจักประทับรอยพระบาทสี่รอยนี้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว (คือ ประทับลบทั้งสี่รอยให้เหลือรอยเดียว )

    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระ บาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ จึงมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์จึงกําเนิดเป็นพระพุทธบาทสี่รอย เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของ พระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์นั้นแล้วก็ทรงอธิษฐานว่าในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนําเอาพระธาตุของกูตถาคมมาบรรจุไว้ที่รอยพระบาทที่นี่ ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว ๒,๐๐๐ ปี พระพุทธบาทสี่รอยนี้ก็จักปรากฏแก่ปวงคนและเทวดาทั้งหลายก็จักได้มาไหว้และ บูชา เมื่อทรงอธิษฐานและทํานายไว้ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จไปเชตวันอารามอันมีในเมืองสาวัตถีวันนั้นแล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงนิพพานไปแล้วเทวดาทั้งหลายก็นําเอาพระธาตุของพระ พุทธองค์มาบรรจุไว้ที่พระพุทธบาทสี่รอย

    เมื่อพระพุทธองค์นิพพานล่วงแล้วประมาณ ๒,๐๐๐ วัสสา เทวดาทั้งหลายต้องการอยากให้พระพุทธบาทสี่รอยปรากฏแก่คนทั้งหลายตามที่พระ พุทธองค์ทรงอธิษฐานไว้ก็จึงเนรมิตเป็นรุ้งตัวใหญ่ ( เหยี่ยว ) ก็บินลงจากภูเขาเวภารบรรพตอันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบันนี้ เพื่อบินลงไปเอาลูกไก่ชาวบ้าน ( พรานป่า) ที่อยู่ตีนเขาเวภารบรรพต แล้วก็บินกลับขึ้นไปอยู่ยอดเขา พรานป่าโกรธมากจึงตามขึ้นไปคิดว่าจะยิงเสียให้ตาย ติดตามไปค้นหาดูแต่ก็ไม่เห็นรุ้งตัวนั้นอีก แต่เห็นรอยพระพุทธบาทสี่รอยอันอยู่พื้นต้นไม้และเถาวัลย์ พรานป่าผู้นั้นก็ทําการสักการะบูชา เสร็จแล้วก็ลงจากภูเขา พอมาถึงหมู่บ้านก็เล่าบอกแก่ชาวบ้านทั้งหลายฟังความอันนั้นก็ปรากฏสืบ ๆ กันไป คนทั้งหลายที่ทราบก็พากันไปสักการะบูชามาก แต่นั้นมาจึงได้ชื่อว่า พระบาทรังรุ้ง (รังเหยี่ยว)

    ในสมัยนั้นมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่าพระยาเม็งราย เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ได้ทราบข่าว จึงมีพระราชศรัทธาอยากเสด็จขึ้นไปกราบบูชาพระพุทธบาทสี่รอย ก็นําเอาราชเทวีและเสนาพร้อมกับบริวารทั้งหลาย เมื่อพระยาเม็งรายกราบนมัสการเสร็จแล้ว ก็นําเอาบริวารของตนกลับมาสู่เมืองเชียงใหม่ ก็ตั้งอยู่เสวยราชมบัติตราบเมื่อสิ้นอายุขัยแล้วก็เจริญตามรอยและได้ขึ้น มากราบพระพุทธบาททั้งสี่รอยทุก ๆ พระองค์ หลังจากนั้นมาพระบาทรังรุ้งหรือรังเหยี่ยวก็เปลี่ยนชื่อเป็น" พระพุทธบาทสี่รอย " เพราะมีรอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึงสี่รอย คือมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ที่ล่วงลับมาแล้วในภัทร กัลป์นี้ คือ

    ๑. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ รอยแรกเป็นรอยใหญ่ยาว ๑๒ ศอก
    ๒. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ เป็นรอยที่ ๒ ยาว ๙ ศอก
    ๓. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะ เป็นรอยที่ ๓ ยาว ๗ ศอก
    ๔. รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ (ศาสนาปัจจุบัน) เป็นรอยที่ ๔ รอยเล็กที่สุด ยาว ๔ ศอก

    เมื่อมาถึงสมัยพระยาธรรมช้างเผือก ผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยบริวาร ๕๐๐ คนก็ขึ้นไปกราบสักการะบูชาพระพุทธบาทสี่รอย และได้สร้างวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ชั่วคราว โดยแต่เดิมถ้าใครจะดูรอยพระพุทธบาทบนยอดหินก้อนใหญ่ต้องใช้บันไดพาดขึ้นไป หรือปีนขึ้นไปดูซึ่งก็คงจะขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ดังนั้น พระยาธรรมช้างเผือกจึงตรัสสร้างแท่นยืนคล้าย ๆ นั่งร้านรอบ ๆ ก้อนหินที่มีพระพุทธบาทสี่รอยและได้สร้างหลังคาชั่วคราวมุงไว้ ต่อมาในสมัยพระชายาเจ้าดารารัศมีก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยและ ได้มีพระราชศรัทธาก่อสร้างวิหารเป็นการกราบบูชารอยพระพุทธบาทไว้หนึ่งหลัง เล็กปัจจุบันได้บูรณะปฏิสังขรณ์แล้วทั้งหลัง

    พอมาสมัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย และได้รื้อพระวิหารที่เจ้าพระยาธรรมช้างเผือกสร้างไว้ชั่วคราว และได้สรางพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ใหม่ และได้ฉาบปูนครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย พระพุทธบาทสี่รอยนี้เป็นพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย


    ประเพณีเตียวขึ้นดอย (เดินขึ้นดอย) หรือประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย ผู้ริเริ่มคือ ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ซึ่งท่านเป็นผู้นำญาติโยมศรัทธาสาธุชนเดินขบวนแห่ฆ้อง กลองขึ้นไปวัดพระพุทธบาทสี่รอย
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีถนนหนทาง ต้องเดินบุกป่าฝ่าดงไปด้วยความยากลำบาก ต้องขึ้นเขาข้ามลำห้วย ๓๒ ท่า ขึ้นไปถึงเช้าวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ และทำบุญตักบาตร เจริญพระพุทธมนต์ สรงน้ำรอยพระพุทธบาท และตั้งแต่นั้นก็เป็นประเพณีปฎิบัติสืบต่อกันมา ๓๐ ปี จนท่านมรณภาพก็ถูกละเลือนไป

    พอมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ประเพณีจึงถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ โดยเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบัน คือ พระครูพุทธบทเจติยารักษ์ (ครูบาพรชัย ปิยวณฺโณ) และได้จัดประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยมา่ทุกปี โดยมีการขอพระราชทานน้ำสรงทุกปีเพื่อน้อมนำมาสรงรอยพระพุทธบาทสี่รอย ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ และจะรักษาประเพีอันดีงามและทรงคุณค่านี้ต่อไป


    วัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ประเพณีเตียวขึ้นดอย เพื่อ เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย และพุทธศาสนิกชนผู้เฒ่าผู้แก่ที่ได้ประพฤติปฎิบัติเป็นแบบอย่างแนวทางให้ชน รุ่นหลังได้เดินตามแนวทางปฎิบัติสืบต่อไป และเพื่อให้เป็นการชักจูงศรัทธาสาธุชนได้แสดงออกถึงความสามัคคีและความตั้ง มั่นในพระพุทธศาสนา มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจในการดำเนินชีวิต เป็นกำลังใจให้ประกอบแต่คุณงามความดี ประพฤติปฎิบัติ ทาน ศีล ภาวนา สืบทอดอายุพระพุทธศาสนายั่งยืนยาวไปตลอดกาล

    หมายเหตุ
    งานประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยในทุก ๆ ๓ ปี จะตรงกับวันมาหบูชาครั้งหนึ่ง หากปีไหนเป็นเดือน ๘ สองหนทางเหนือ (เดือน ๑๐ ภาคกลาง) ปีนั้นก็จะตรงกับวันมาฆบูชา


    ขอบคุณที่มา : วัดพระพุทธบาทสี่รอย/วัดหนองก๋าย

     
  10. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักสถานที่ ๆ จะไปในธรรมสัญจร (๙) กันเถิด...

    [​IMG]

    ๑. วัดจันทราราม (ท่าซุง)

    วัดท่าซุง มีชื่อว่าวัดท่าซุง เพราะว่าสมัยที่การล่องซุงทางน้ำ แพซุงมักจะพักแวะที่หน้าวัดแต่ชื่อเดิมของวัดชื่อว่า วัดจันทาราม ตั้งชื่อตามอดีตเจ้าอาวาสชื่อ จันทร์ อดีตเจ้าอาวาสอีกหนึ่งองค์ที่มีความสำคัญ คือหลวงปู่ไหญ่ ,หลวงปู่เล่ง ,หลวงพ่อไล้ และหลวงปู่ขนมจีน สำหรับหลวงปู่ใหญ่ และหลวงปู่ขนมจีน พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานได้สร้างรูปเหมือนและสร้างมณฑปไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้สักการะบูชา เดิมก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อจะมาอยู่ วัดท่าซุงทรุดโทรมมาก พระครูสังฆรักษ์อรุณ อรุโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าซุง จึงได้นิมนต์พระเดชพระคุณหลวงพ่อมาจากวัดสะพาน จังหวัดชัยนาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เพื่อมาช่วยบูรณะปฏิสังขรวัด

    วัดท่าซุง แต่เดิมมีเนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่เศษ ปี ๒๕๑๗ คณะศิษย์และลูกหลานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ร่วมกันซื้อที่ดินฝั่งตรงข้ามวัดเก่า เพื่อสร้างโบสถ์แทนโบสถ์เก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ต่อมาก็มีสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายวัดมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันนี้วัดมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๕๑๐ ไร่ โดยแยกเป็นเนื้อที่วัด ๒๘๐ ไร่ เนื้อที่ป่า ๒๓๐ ไร่ มีสิ่งปลูกสร้างและถาวรวัตถุมากมายอาทิเช่น
    - ห้องปฏิบัติพระกรรมฐาน
    - ศาลา ๒ ไร่
    - ศาลา ๓ ไร่
    - ศาลา ๑ ไร่
    - ศาลา ๑๒ ไร่
    -
    มหาวิหาร ๑๐๐ เมตร
    - วิหารสมเด็จองค์ปฐม
    -
    วิหารสมเด็จพระศรีอรียเมตไตรย์
    สิ่งก่อสร้างที่เลื่องลือกันมากที่สุดคือ ศาลา ๑๒ ไร่ และมหาวิหาร ๑๐๐ เมตร

    สมเด็จองค์ปฐม หน้าตัก ๔ ศอก เป็นพระหล่อด้วยโลหะผสมทองคำ ภายในบรรจุุพระบรมสารีริกธาตุ มณฑปทั้งหมดบุแก้วทั้งข้างนอกข้างในสวยงามมาก

    มหาวิหาร ๑๐๐ เมตร
    เป็นตึก ๒ ชั้น หลังคาเป็นจตุรมุข ๓ ยอด ด้านนอกด้านใน
    ปิดกระจกจากชั้น ๒ ถึงยอดหลังคา ภายในปิดกระจกเสาทุกต้น ข้างฝาและเพดานทั้งวิหาร พระเดชพระคุณหลวงพ่อให้ประดับด้วยกระจกเงาใสสะท้อนสวยงามมาก ดูเด่นเป็นสง่า ไม่ว่าจะมองใกล้หรือไกล ตัวตึกสร้างสูงยกพื้น ๑.๕ เมตร มีขนาดกว้าง ๒๘ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร สูง ๘ เมตร ภายในวิหารมีพระประธานแบบทรงพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก นอกจากนั้นยังมีรูปปั้นพระอรหันต์ ๗ องค์ เช่น พระโมคลาน์, พระสารีบุตร อยู่หน้าพระพุทธชินราช ฯลฯ
    มีรูปหล่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อลักษณะยืนถือไม้เท้า เพดานวิหารมีช่อไฟระย้าทั้งช่อใหญ่่และช่อเล็กรวมทั้งหมด ๑๑๙ ช่อ สวยงามมาก และมีบุษบกตั้งศพพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ตั้งอยู่ในมหาวิหารนี้ด้วย

    พระวิสุทธิเทพ
    เป็นพระองค์สำคัญของวัดท่าซุง ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อจำลอง
    ของจริงบนพระนิพพานชั้นดาวดึงส ์ประดับด้านในพระจุฬามณีเจดียสถาน

    พระจุฬามณี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดท่าซุง ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา และอยู่ใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช
    ระวิสุทธิเทพจำลองพร้อมวิหาร "พระจุฬามณี" ในโลกนี้มีอยู่แห่งเดียวที่วัดท่าซุงซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๓ จะนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกก็ได้

    อีกสิ่งหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้วัดท่าซุงอย่างมากคือการเป่ายันต์เกราะเพชร การเป่ายันต์เกราะเพชร เป็นการอาราธนาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช้บทพระพุทธคุณจุดกลางยันต์ เมื่อเข้าไปรักษาคนจะอยู่ที่กระหม่อม แล้วจะวนรอบทั่วร่างกายใช้ป้องกัน และแก้โรคไสยศาสตร์ได้ สำหรับยันต์เกราะเพชร เป็นยันต์ยอดธงมหาพิชัยสงครามสมัยสุโขทัย สมัยนั้นตอนเรารบทำสงครามกันจะมีผู้ถือยันต์นำหน้าทัพ ยันต์เกราะเพชรเป็นยันต์ที่ทำไว้สูงกว่ายันต์พิชัยสงคราม
    เป็นยันต์ยอดธง ซึ่งทางวัดท่าซุงย่อส่วนลงมาให้เล็กลง ผ้ายันต์แดงเป็นยันต์พิชัยสงคราม ยันต์เกราะเพชรเป็นผ้าสีขาว

    ท่านสาธุชนสามารถมาปฏิบัติธรรมที่วัดได้ โดยค้างที่วัดได้คราวละอย่างมาก ๗ วัน ต้องมีบัตรประชาชนมาแสดงด้วย หากเป็นพระต้องมีใบรับรองจากเจ้าอาวาสที่ท่านสังกัดมาแสดงโดยทางวัด จะฝึกกรรมฐานทั้งแบบมโนมยิทธิและกรรมฐานแบบปกติในเวลา ๑๒.๓๐ - ๑๔.๐๐ น. เตรียมเสื้อผ้าที่สุภาพมาให้เพียงพอ ทางวัดมีที่พักและห้องน้ำไว้บริการเพียงพอ แต่ห้ามไม่ให้ดื่มเหล้า และเล่นการพนันรวมทั้งอบายมุขทุกอย่าง สำหรับเวลาเปิด - ปิดมหาวิหาร ๑๐๐ เมตร มีสองเวลาคือ ระหว่าง ๙.๐๐ - ๑๒.๓๐ น. และ ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

    " จงอย่าสนใจจริยาของบุคคลอื่น และการเจริญสมาธิจงอย่าทำเพื่อโอ้อวด การเจริญสมาธิ
    ที่จะทำให้ดีได้ ให้ถือใจความพระพุทธเจ้าว่า ใครเขาจะมีกินมาก ใครเขาจะมีกินน้อย ใครเขาอ้วนมาก ใครเขาอ้วนน้อย ใครเขามีสาวกมาก ใครเขามีสาวกน้อย คนนั้นมีสมบัติมาก คนนั้นมีสมบัติน้อย คนนั้นเจริญสมาธิ วิปัสสนาญาณ แล้วยังแต่งตัวสวย ยังผัดหน้า ยังทาแป้ง ใครเขาจะดีจะชั่วอย่างไร เป็นเรื่องของเขา จงอย่าไปสนใจ เราจะนั่งสมาธิก็จงอย่านั่งให้บุคคลอื่นเห็น ถ้าหาก
    ไปทำอย่างนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ยังมีกิเลสอีกมาก "


    ขอบคุณที่มา :
    คัดจากคำสอนที่สายลม เดือนสิงหาคม ๒๕๒๒



    [​IMG]

    ๒. วัดสังกัสรัตนคีรี

    ตั้ง อยู่เชิงเขาสะแกกรัง เดิมชื่อหมู่บ้านสะแกกรัง หมู่ ๓ บ้านน้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นวัดราษฎร์ มีประวัติความเป็นมาหมู่บ้านสะแกกรัง สมัยสุโขทัย เรียกว่า อู่ไทย หมายถึงที่อยู่ของคนไทย เป็นเมืองหน้าด่านสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสมรภูมิสำคัญในการขับไล่พม่าสมัยกรุงธนบุรี ย้ายเมืองอู่ไทยมาไว้ที่บ้านสะแกกรัง จนกลายเป็นชุมชนเติบโตถึงปัจจุบัน

    สมเด็จพระวันรัต วัด มหาธาตุฯ มีนามเดิมว่า เฮง หรือ กิมเฮง นามฉายาว่า เขมจารี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง จ.ศ. ๑๒๔๓ ตรงกับวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ณ บ้านท่าแร่ ต.สะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี บิดาเป็นจีนนอก ชื่อตั้วเก๊า แซ่ฉั่ว เป็นพ่อค้า มารดาชื่อ ทับทิม ยายชื่อ แห อุปถัมภ์เลี้ยงดูพระวันรัต วัดมหาธาตุฯ ครั้นอายุย่างเข้า ๘ ปี ป้าชื่อ เกศร์ ได้พาท่านไปฝากให้เรียนหนังสือไทยอยู่ในสำนักพระอาจารย์ชัง วัดขวิด จนมีความรู้หนังสือไทยเขียนได้อ่านออก ครั้นอายุย่างเข้า ๑๑ ปี ยายและป้าพาไปพักอยู่ในสำนักพระปลัดใจ (ซึ่งต่อมาเป็นพระราชาคณะ ที่พระสุนทรมุนี เจ้าคณะจ.อุทัยธานี) เจ้าอาวาสวัดทุ่งแก้ว ซึ่งต่อมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ รวมวัดขวิดกับวัดทุ่งแก้วเข้าด้วยกัน ตั้งชื่อว่า วัดมณีสถิตปิตถาราม สุดถนนท่าช้างในเขตเทศบาลเมือง

    พ.ศ. ๒๓๓๕-๒๓๔๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมที่ชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่าง ๆ เมืองอุทัียธานีได้รับ ๓ องค์ พระพุทธรูปองค์ที่ ๑ นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดขวิด เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓ ศอก สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ฝีมือช่างสุโขทัยยุค ๒ มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์ เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี
    ต่อ มาเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว จึงได้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่วัดสังกัสรัตนคีรี และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร พร้อมกับถวายนามว่าพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ สร้างมาแล้วนาน ๒๑๔ ปี

    ชาวอุทัยธานีเชื่อกันว่าหากได้มากราบไหว้ขอพระพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ที่ วิหารนมัสการพระพุทธบาทและสักการะพระราชนุสาวรีย์ปฐมบรมราชชนกบนยอดเขาสะแก กรังนี้แล้วพลานิสงส์ที่ได้คือ ความเป็นสิริมงคลความสำเร็จสมหวังในความปรารถนาประสบแต่ความสุขความ รุ่งเรืองในชีวิต วัดสังกัสรัตนคีรีมีงานประเพณีตัก บาตรเทโว ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือเดือนตุลาคมของทุกปี (ออกพรรษา) จะมีพระสงฆ์กว่า ๓๐๐ รูปออกบิณฑบาตโดยเดินลงบันไดกว่า ๔๐๐ ขั้นจากยอดเขาสะแกกรัง นับเป็นงานตักบาตรเทโวที่สวยงาม และยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

    ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย



    [​IMG]

    ๓. ล่องเรือชมวิถีขีวิตริมแม่น้ำสะแกกรัง

    ล่องเรือชมวิถีขีวิตชาวแพริมน้ำ ท่องเที่ยวกินลมชมวิว รับประทานปลาแรดที่แม่น้ำสะแกกรัง อีกทั้งดูการเลี้ยงปลาในกระชัง ชมวิถีขีวิตขาวบ้านกับการจับปลาตามธรรมชาติ รับลมเย็นสบาย ชมวัดอุโบสถสถาน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดโบสถ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง เป็นวัดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่เต็มไปด้วยโบราณสถานอันทรงคุณค่า ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๒.๓๐ ชั่วโมง ถ้าล่องเรือในช่วงเย็น เวลาประมาณ ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. จะเห็นพระอาทิตย์ตกสวยงามมาก

    เส้นทางล่องเรือท่องเที่ยว เริ่มจากบริเวณหน้าตลาดสดเทศบาล หรือจะขึ้นจากท่าเรือหน้าวัดท่าซุงก็ได้ ล่องชมวิถึชีวิตในลำน้ำ ไปสิ้นสุดที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท จุดที่เราจะได้เห็นแม่น้ำสะแกกรังไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นทางที่ได้สัมผัสเสน่ห์แห่งชุมชนลุ่มแม่น้ำสะแกกรังอย่างเต็มอิ่ม

    ขอบคุณที่มา : ท่องเที่ยวอุทัยธานี

     
  11. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักสถานที่ ๆ จะไปในธรรมสัญจร (๑๐) กันเถิด...

    <center>[​IMG]</center>

    ๑. วัดพระธาตุดอยหินกิ่ว
    วัดพระธาตุหินกิ่ว หรือดินกี่ หรือเจดีย์หินพระอินทร์แขวนซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับพระธาตุอินทร์แขวนประเทศพม่า ภายในวัดพระธาตุหินกิ่วนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญอยู่มากมาย อาทิเรือโบราณอายุกว่า ๒๐๐ ปี ยังมีพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์งดงามซึ่งอยู่ระหว่างทางเดินขึ้นไป

    เจดีย์หินกิ่วเป็นความมหัศจรรย์จากธรรมชาติ นับเป็นสิ่งที่ปรากฎการณ์จากธรรมชาติและสิงศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดตากและ ใกล้เคียงหลั่งไหลมากราบไหว้เสมอ การขึ้นไปนมัสการพระธาตุ ต้องเดินขึ้นบันได ๔๑๓ ขั้น พระธาตุดอยดินกี่เป็นเจดีย์ทรงมอญขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑.๕ ม. ประดิษฐานอยู่บนก้อนหินใหญ่ที่มีฐานเล็กมาก เรียกว่า "หินกิ่ว" องค์พระธาตุได้รับอิทธิพลจากพม่า เป็นสีทองมีฉัตรที่สวยงามวิจิตร รอบ ๆ มีปูนปั้นรูปสิงห์และเทวดา เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี จะมีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุหินกิ่ว ชาวบ้านจะเรียกหินมหัศจรรย์นี้ว่า "เจดีย์หินพระอินทร์แขวน" เดินขึ้นบันไดต่อไปอีก ๒๘๓ ขั้น ก็จะถึง ถ้ำฆ้อง ถ้ำกลอง ชื่อถ้ำมาจากเมื่อโยนหินไปในถ้ำ หินกระทบผนัง คล้ายเสียงฆ้อง เสียงกลอง

    วัดพระธาตุดอยหินกิ่ว (ดอยหินกิ่ว) ตั้งอยู่ท่บ้านวังตะเคียน หมู่ที่ ๗ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก

    ขอบคุณที่มา : จังหวัดตาก


    [​IMG]

    ๒. วัดมณีไพรสณฑ์

    วัดมณีไพรสณฑ์[ ]ตั้งอยู่ถนนอินทรคีรี เขตเทศบาลเมืองแม่สอด พื้นที่ตั้งหน้าวัดติดถนนใหญ่ด้านหลังติดลำห้วยแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๘ ภายในวัดมีปูชนียวัตถุโบราณสถาน ได้แก่ พระพุทธโคดมบรมศรีเมืองฉอด (หลวงพ่อโต) และเจดีย์วิหารสัมพุทเธ มีลักษณะแปลกคือ บนองค์เจดีย์มีเจดีย์เล็ก ๆ ล้อมรอบถึง ๒๓๓ องค์ และพระพุทธรูปบรรจุอยู่ถึง ๕๑๒,๐๒๘ องค์ มีโบสถ์เก่าแก่อายุกว่า ๒๐๐ ปี

    ขอบคุณที่มา : จังหวัดตาก



    [​IMG]

    ๓. ตลาดริมเมย

    ตลาดริมเมย
    เป็นชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมย ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตากตรงข้ามกับอำเภอเมียวดี ของสหภาพพม่า เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายทั้งของไทยและสหภาพพม่า เช่น หน่อไม้แห้ง ปลาแห้ง ปลาหัวยุ่ง เห็ดหอม ถั่ว เครื่องหนัง ผ้าซาติน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นตลาดการค้าอัญมณี เช่น หยก ทับทิม และพลอยสีที่มาจากสหภาพพม่า

    สะพานมิตรภาพไทย-พม่า (ประตูเชื่อมอันดามันสู่อินโดจีน)
    ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว ๔๒๐ เมตร กว้าง ๑๓ เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน


    ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย


    [​IMG]

    ๔. วัดกูเตอร์โก (นาแฮ)

    วัดกูเตอร์โก (นาแฮ)
    ตั้งอยู่บ้านนาแฮ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในกลางหุบเขา มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี การเดินทางใช้เส้นทางสาย ๑๑๗๕ (แม่ระมาด-บ้านตาก) ขึ้นลงเขาหลายลูก จนผ่านอุทยานแห่งชาติพะวอ และเข้าสู่วัดที่บ้านนาแฮ พระครูบาวิจิตร มนุญโญ ท่านมีเด็กชาวเขาในความดูแลจากทุกยอดดอยกว่า ๒,๐๐๐ คน

     
  12. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    บางบท...บางตอน...บางภาพ...จากแม่ระมาด กับผู้จัด

    โรงเรียนกูเตอร์โกล และโรงเรียน ตชด. บ้านแสมใหญ่ อ. แม่ระมาด จ.ตาก ในความอนุเคราะห์ดูแลของ พระครูบาวิจิตร มนูญโญ วัดกูเตอร์โกล ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (หลวงปู่ครูบาวงศ์) แห่งวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ. ลี้ จ. ลำพูน

    ท่านได้สืบสานต่อตามปฎิปทาขององค์หลวงปู่อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย โดยเฉพาะเกี่ยวกับกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ สอนชาวเขาให้รักผืนป่าและอยู่ร่วมกับป่า ช่วยกันดูแลผืนป่าโดยไม่ทำลาย มีเด็กชาวเขาจากทุกดอยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติพะวออยู่ในความดูแลของท่านกว่า ๒,๐๐๐ คน ท่านเป็นที่เคารพรัก เคารพศรัทธาของชาวแม่สอด-แม่ระมาด จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "นักบุญแห่งขุนเขา" และเป็นพระที่ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบอีกองค์หนึ่งของล้านนา

    ทุกปีในวันครบรอบงานพิธีสืบชะตาของท่านที่จัดแบบดั้งเดิมตามต้นฉบับขององค์หลวงปู่ครูบาวงศ์ จะมีพระเถระ-พระภิกษุ และลูกศิษย์ลูกหาจากทุกสารทิศเดินทางมาร่วมมุฑิตาจิตสักการะอย่างล้นหลาม ไม่เว้นแม้แต่ชาวเขาจากทุกดอยที่จะแต่งตัวสวยงามด้วยเครื่องแต่งกายประจำเผ่าเดินทางมาร่วมกราบด้วยความเคารพรักศรัทธาในเทพเจ้าของเขา


    [​IMG]


    ไปตามเส้นทางบ้านตาก-แม่ระมาด

    [​IMG]


    โรงเรียนแรก คือ โรงเรียน ตชด. บ้านแสมใหญ่ สภาพดีทีเดียวมีครบทุกอย่าง

    [​IMG]


    [​IMG]



    ถัดมาอีกหน่อยเป็นวัดกูเตอร์โกล (นาแฮ) ซึ่งมีโรงเรียนกูเตอร์โกลตั้งอยู่ในพื้นที่วัด หลวงพ่อ (พระครูบาวิิจิตร) ท่านได้แบ่งเด็กจากโรงเรียนแม่มาช่วยสอนที่นี่ เพราะเด็กต้องเดินทางไกล

    [​IMG]

    สภาพอาคารเรียน ที่จะกลายเป็นที่นอนของสมาชิกในทริปนี้

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    ที่นี้ยังขาดแคลนหลายอย่าง สนามเด็กเล่นใช้ไม้ไผ่ทำตามรูป
    โรงเรียนกูเตอร์โกล เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล-ป.๓ เด็กนักเรียนเป็นชาวเขา


    [​IMG]

    เครดิตภาพประกอบจาก : คุณตนเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2012
  13. ขวัญ09

    ขวัญ09 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +431
    (เมารถ 1 คน ขอแนวหน้าริมหน้าต่างนะคะ )
     
  14. Piticha

    Piticha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +2,057
    ร่วมกิจกรรมบุญทุกบุญ ใน ทริปธรรมสัญจร(๗)นมัสการสักการะพระพุทธบาทเขาวงพระจันทร์-พระพุทธบาทสระบุรี-พิธีพุทธาภิเศกพระศรีอริยเมตไตรย์ ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    สอบถาม

    วันที่ ๒๓ ก.พ. ๕๕ มียอดเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยหลายรายการ ไม่ทราบว่าเป็นของสมาิชิกท่านใด ขอให้แจ้งระบุเข้ามาด้วย ไม่เช่นนั้นจะขออนุญาตนำเข้าร่วมบุญทุกกิจกรรมบุญในทริปธรรมสัญจร (๗) ทั้งหมดในนามของผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

    โมทนาค่ะ
     
  16. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    เชิญรับชมการถ่ายทอดสดพิธีพุทธาภิเษกที่วัดเขาวง

    ขอบคุณที่มา : เว็บวัดท่าขนุน
     
  17. wrabbit

    wrabbit Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +42
    ขอจองทริปธรรมสัญจร 8 ไหว้พระพุทธบาท 4 รอย 2 ที่นะคะ
     
  18. JINTAWADEE

    JINTAWADEE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +4,728
    โอนเงินวันที่ 29 นะจร๊ะ (ทริปเดินเตียวขึ้นดอย)

    ขอบคุณค่ะ
     
  19. เอก_ekk

    เอก_ekk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +328
    แจ้งโอนเงิน ธรรมสัญจร (๗)
    วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๑๘.๔๒
    จำนวน ๙๐๐ บาท ครับ
     
  20. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รับทราบและปรับปรุงรายชื่อให้แล้วค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...