ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย <Q>, 19 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แปะไว้ก่อน..

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อริยานํ อทสฺสาวี เป็นต้นดังต่อไปนี้.
    พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายกล่าวว่า อริยะเพราะไกลจากกิเลส เพราะไม่ดำเนินไปในความเสื่อม เพราะดำเนินไปในความเจริญ เพราะโลกพร้อมด้วยเทวโลกพึงดำเนินตาม.
    อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นแลเป็นพระอริยะในโลกนี้ อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระตถาคตท่านเรียกว่าอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ ดังนี้
    ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สปฺปุริสานํ ดังต่อไปนี้
    พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกของตถาคต พึงทราบว่าสัตบุรุษ จริงอยู่ ท่านเหล่านั้น ท่านกล่าวว่าสัตบุรุษ เพราะเป็นคนงาม เพราะประกอบด้วยคุณอันเป็นโลกุตตระ.
    อนึ่ง ท่านทั้งหมดนั้น ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นทั้ง ๒ อย่าง จริงอยู่ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระอริยะด้วยเป็นสัปบุรุษด้วย แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เรียกอย่างนั้นเหมือนกัน
    เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
    บุคคลใดแล เป็นผู้กตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์
    เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีอันมั่นคง
    กระทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดยเคารพ บัณฑิตทั้ง
    หลายเรียกบุคคลผู้เช่นนั้นว่า เป็นสัปปุรุษ.

    บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ โหติ ความว่า ก็พุทธสาวก ท่านกล่าวไว้ด้วยบทเพียงเท่านี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านกล่าวด้วยคุณมีกตัญญุตาเป็นต้น.
    ผู้ใดมีปกติไม่เห็นพระอริยะเจ้าเหล่านั้นในบัดนี้ และไม่ทำความดีในการเห็น ผู้นั้นพึงทราบว่าเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะเจ้า และผู้ไม่เห็นพระอริยะเจ้านั้นมี ๒ จำพวก คือผู้ไม่เห็นด้วยจักษุพวกหนึ่ง ผู้ไม่เห็นด้วยญาณพวกหนึ่ง. น ๒ พวกนั้น ผู้ไม่เห็นด้วยญาณท่านประสงค์เอาในที่นี้.
    แม้ผู้ที่เห็นพระอริยะเจ้าด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ ก็ชื่อว่าเป็นอันไม่เห็นอยู่นั่นเอง เพราะถือเอาเพียงสี (รูป) แห่งจักษุเหล่านั้น ไม่ใช่ถือเอาโดยเป็นอารมณ์แห่งอริยปัญญา. แม้สัตว์เดียรัจฉานมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยเจ้าด้วยจักษุ และสัตว์เหล่านั้นจะชื่อว่าไม่เห็นพระอริยเจ้าก็หามิได้
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    <DL><DD>
    </DD><DD>
    อรรถกถา นกุปิตุสูตร
    </DD></DL>(ต่อ)
    <DL><DD> </DD><DD>ในข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์</DD></DL>เล่ากันมาว่า อุปัฏฐากของพระเถระผู้ขีณาสพ ผู้อยู่ ณ จิตรลดา-
    บรรพต เป็นผู้บวชเมื่อแก่ วันหนึ่งท่านเที่ยวบิณฑบาตกับพระเถระ
    ถือบาตรและจีวรของพระเถระเดินไปข้างหลังถามพระเถระว่า
    ท่านขอรับ ขึ้นชื่อว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร.

    พระเถระตอบว่า บุคคลบางตนในโลกนี้เป็นคนแก่ ถือบาตรและจีวรของ
    พระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติ แม้เที่ยวไปด้วยกัน ก็ไม่รู้จักพระอริยะ
    ผู้มีอายุ พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้.

    แม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้นท่านก็ยังไม่รู้อยู่นั้นเอง
    เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุและการเห็น
    ด้วยญาณ (ปัญญา) ก็ชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ตรัสไว้ว่า ดูก่อน วักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยกายเน่าที่ท่านเห็นอยู่นี้.
    ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา. ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม.
    เพราะฉะนั้น แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นที่
    พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุ
    แล้ว พึงทราบว่าไม่เห็นพระอริยะ เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำ
    ความเป็นพระอริยะ และไม่เห็นความเป็นพระอริยะ.

    อรรถกถา นกุปิตุสูตร - วิกิซอร์ซ
     
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ในนกุปิตุสูตร เหมือนจะพูดถึงการเห็นทั้งสอง
    ในวักกลิสูตร เหมือนจะพูดถึงการเห็นด้วยญาณจักษุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ธรรมอะไรเล่า คือธรรมพระอริยะ

    ตอบว่า มรรค ๘


    พิจารณาอะไรเล่า คือพิจารณาในสัมมามรรค

    จิต เจตสิก รูป ใน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทียร์ อริยะสัจ ปฏิจสมุปบาท


    จักษุอะไรเล่า คือจักษุญาณ

    ตอบว่า เห็นลักษณะต่างๆ ในขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยะสัจ ปฏิจสมุปบาท

    โดยความเป็น ไตรลักษ์ ตั้งอยู่ในความไม่เที่ยง ตั้งอยู่ในความแปรปวน ตั้งอยู่ในความไม่มีสาระ


    จักษุอะไรเล่า คือจักษุธาตุ

    ตอบว่า ความเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุม

    ความเป็น สี ความกระทบ ความเห็นสี นี้คือ สัจจะที่จักษุรับได้


    ธรรมกาย คืออะไรเล่า ชื่อว่าธรรมกาย

    ตอบว่า กายนี้เป็นที่ตั้งแห่งธรรม ก็รูปกายก็ดี นามกายกายก็ดี

    โลกก็ดี โลกแห่งอายตนะก็ดี โลกธาตุก็ดี ขันธ์โลกก็ดี นี้เรียกว่าโลก นี้เรียกว่า ธรรม


    เห็นอย่างไรเล่า จึงได้ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า

    ตอบว่า ในพุทธกาลมีอุบาสก อุบาสิกา เห็นพระวรกายพระพุทธองค์มามาก

    ล้วนไม่เคยเห็นธรรม นอกจากเงี่ยงโสตสดับธรรมพุทธองค์ จนธรรมเกิดในใจ

    เห็นจริงแล้วว่า ขันธ์๕ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ นี้คืออริยะทรัพย์ของพระโสดาบัน


    อริยะทรัพย์ ๓ คืออะไรเล่า

    ตอบว่า
    เพราะเห็นแล้ว จึงหมดความเห็นผิดความสงสัย ปิดอบาย นี้เรียกว่า เห็นธรรม ธรรมสถิตเป็นทรัพย์เฉพาะตนแล้ว

    เพราะรู้แล้ว มรรคจิตเกิดแล้ว โลภะ๔ ถึงความดับแล้ว ทิฏฐิ ๔ ถึงความดับแล้ว

    เพราะประจักษ์ธรรมเนืองๆ ยิ่งเพิ่มพูนศรัทธาเนืองๆ ที่พระอริยะในอดีตทุกองค์ ในอนาคตทุกองค์ ล้วนเห็นธรรมนี้เหมือนกันหมด

    อุปมา เหมือนเห็นพระจันทร์ เกิดรำพึงจันทร์นี้แล คือจันทร์ดวงเดียวกัน

    ที่ผู้ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นอยู่ และผู้จะเห็นในวันข้างหน้า ย่อมเห็นเหมือนกัน

    เพราะจันทร์มีอยู่ ย่อมรำพึงถึงผู้เคยมองจันทร์อยู่ก่อนแล้วนั้นมีอยู่

    ธรรมก็อยู่ที่นี้ ไม่ได้อยู่ที่ผู้อื่นเลย



    งงมั๊ย นี่พูดเองยังงงเอง ^^
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ผมว่า พี่หลง ใหล แล้วครับ....สติ ตามไม่ทัน แหง แหง:cool:โพส เลย ออกมา เป้นอย่างนี้:cool:
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา [วักกลิสูตร]

    นี่ต้องทราบเนื้อหาพระสูตรนี้ก่อนว่า พระวักกลินั้น หลงในพระรูป พระวรกายพระพุทธองค์

    มีจิตปลื้มในการเห็นพระพุทธองค์ จนไม่อาจภาวนาใดๆนอกจากติดแต่จะให้ได้เห็นพระพุทธองค์

    พุทธองค์จึงทรงแก้ธรรมให้พระวักกลิ

    ถ้าผมจำพระสูตรไม่ผิดนะ

     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    หรอ เป็นอย่างนั้นหรอ :cool:

    ค่อยๆทำความเข้าใจไป สิ่งใดยังไม่เข้าใจก็วางไว้ก่อน ^^
     
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เห็นธรรม เห็นพระจันทร์ ... :cool:

    วันนี้คิดทั้งวันแต่ไม่พอใจ คล้ายคิดอะไรไม่ออกเลย

    อนุโมทนาทุกท่านด้วยจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2012
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ไม่ใช่เรื่องนิมิต เป็นอุปมา ในการเห็นปรมัตถ์ธรรม

    เช่น มีคนบอก กายนี้ คือ ขันธ์๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันไม่เที่ยง

    เราฟังก็ไม่เชื่อ ว่าเอาอะไรมาพูด

    จนกว่าจะพิสูจน์ว่า เออ มันเป็นขันธ์๕ มันไม่เที่ยงจริงด้วย

    ที่ใครๆบอกว่าขันธ์ ๕ไม่เที่ยงนั้น เขาเห็นกันอย่างนี้นี่เอง
     
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    จ๊ะ ทราบว่าเป็นอุปมา เพราะดี

    กำลังคิดเรื่อง
    มีคนเห็นพระอริยะแต่ไม่ทราบว่าเป็นพระอริยะ เป็นจำนวนมาก
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    :cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool:
     
  12. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ก็ผู้ที่ไม่ได้เป็นพระอริยะ ก็ย่อมไม่เห็นพระอริยะ
    ผู้มิได้เป็นพระอริยะมีจำนวนมาก ก็ย่อมไม่เห็นพระอริยะจำนวนมาก
     
  13. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +3,165
    10ปากว่า ไม่เท่าตาเห็น 10ตาเห็น ไม่เท่ามือคลำ 10มือคลำ ไม่เท่าเราทำเองไม่เท่าเราเป็นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...