จงเอาชนะ ความรู้สึกแข่งดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 10 มีนาคม 2012.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ๘. จงเอาชนะ ความรู้สึกแข่งดี




    O สารัมภะ คือ แข่งดี

    สารัมภะ ท่านแปลว่า “แข่งดี” ความหมายของคำว่า “แข่งดี” เป็นคนละอย่างกับ “ตีเสมอ” เมื่อพูดถึงตีเสมอ จะได้ความรู้สึกถึงความไม่มีสัมมาคารวะ ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง หยาบคาย ส่วนแข่งดี เป็นเพียงความทะเยอทะยานที่อาจประกอบด้วยขาดอุปกิเลส ข้อริษยาด้วยได้ ไม่ถึงกับแสดงความหยาบคาย ขาดสัมมาคารวะ เช่นตีเสมอ

    O ความแข่งดี ให้ความร้อนทั้งใจและกาย

    แต่ถึงเช่นนั้น ความแข่งดีก็เกิดจากความคิดปรุงแต่งที่ไม่ดี ให้ความร้อนแก่ตนเองก่อน ซึ่งเป็นเรื่องของใจ ต่อไปก็จะเป็นเรื่องของกายและวาจา เมื่อต้องการแข่งดีกับผู้ใดก็จะต้องพูดต้องทำ เพื่อให้บรรลุถึงความมุ่งหมาย อันจะเป็นการพูดการทำที่ไม่เลือกความควรไม่ควร หรือความถูกความผิด เพราะมีความต้องการแข่งดีเท่านั้น เป็นเหตุผลักดัน ไม่มีเหตุผลอื่น อาจเอาชนะความรู้สึกแข่งดีได้

    O เมื่อความรู้สึกแข่งดีเกิดขึ้นกับผู้ใด ความรู้สึกถูกผิดของผู้นั้น ย่อมดับไป

    เมื่อความรู้สึกแข่งดีเกิดขึ้นกับผู้ใด ความรู้ถูกรู้ผิดของผู้นั้น ย่อมดับไป ปัญญาก็มิไม่พอจะพิจารณา เป็นความมืดไปหมด ความแข่งดีจะไม่เกิด

    ถ้าไม่มีความคิดปรุงแต่งขึ้นมา ว่าทำไมเขาจะต้องสำคัญกว่าเรา ใหญ่กว่าเรา ดังกว่าเรา เราะต้องสำคัญกว่า ใหญ่กว่า ดังกว่าเขา เราจะต้องสำคัญกว่าใหญ่กว่า ดังกว่าให้ได้ และความคิดปรุงแต่งเช่นนี้ จะประกอบพร้อมด้วยความขุ่นเคืองขัดใจ หมายมั่นจะต้องกดอีกฝ่ายหนึ่งให้ต่ำลงกว่าตนให้จงได้

    นี่คือความแข่งดีที่ไม่ใช่ความดี ก่อนถึงเวลาที่จะสมดังมั่นหมาย ซึ่งอาจไม่ถึงเวลานั้นเลยก็ได้ ความคิดปรุงแต่งเพื่อแข่งดีจะไม่หยุดยั้ง จะยังให้ร้อนระอุ ให้มืดมัวด้วยควันไฟของความมุ่งมั่นแข่งดี เป็นอีกหนึ่งของเครื่องพรางความประภัสสรแห่งจิตที่เป็นสมบัติล้ำค่าของทุกคน

    อันผู้ที่จะเกิดความคิดปรุงแต่เพื่อแข่งดีนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีความมั่นใจในตนเองว่ามีความดีอยู่แล้ว เช่นคนดีทั้งหลาย ทำนองเดียวกับคนมีปมด้อย นี่มิได้หมายความว่าให้ยินดี พอใจ จะดีอยู่เท่าที่เป็นตลอดไป

    O การเพิ่มพูนความดียิ่งทวีความเป็นสุข ส่วนความแข่งดีมีแต่จะทวีความร้อนเร่า มืดมิด

    ความดีเป็นสิ่งควรเพิ่มพูนไม่หยุดยั้ง แต่การเพิ่มพูนความดี ยิ่งวันยิ่งทวีความเยือกเย็นเป็นสุขสว่างไสวในจิตใจ การแข่งดียิ่งวันยิ่งทวีความร้อนเร่า มืดมิด

    ผู้ใดคิดว่า ตนเองกำลังทำความดี แต่มีจิตใจเร่าร้อน หาความสงบสุขยาก ก็พึงเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า ตนมิได้กำลังทำความดี อาจเป็นเพียงกำลังคิดแข่งดีเท่านั้น

    O ระดับแห่งความคิดแข่งดี

    อันความคิดแข่งดีนั้น มีมากมายหลายระดับ ถ้าคิดแข่งดีกับผู้มีระดับไม่แตกต่างจากตนมากนัก ความเร่าร้อนจากความคิดนั้นก็จะไม่มากมาย ไม่ผลักดันให้พูดให้ทำอย่างรุนแรง เลวร้ายมากมาย

    แต่ถ้าคิดแข่งดีกับผู้มีระดับ แตกต่างจากตนมากเพียงไร ความเร่าร้อนก็จะรุนแรงมากมายเพียงนั้น ผลักดันให้พูดชั่ว ทำชั่ว วางแผนชั่ว เพื่อดำเนินไปสู่ความสำเร็จของตน อันผลที่ได้จากการแข่งดีนั้น แม้เจ้าตัวผู้คิดแข่งดีจะถือว่าเป็นผลดี แต่ความจริงมิใช่

    ความคิดแข่งดี เน้นความคิดที่ไม่ดี ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลสที่จะปิดกั้นความประภัสสรแห่งจิต และจิตที่ปรากฏความประภัสสรนั้น เป็นสิ่งหาค่ามิได้อย่างแท้จริง จิตที่ปรากฏความประภัสสรเต็มที่ให้เจ้าของเห็นประจักษ์แก่ตัว ย่อมเป็นความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง

    O หยุดความคิดปรุงแต่งความแข่งดีเสีย ถ้าปรารถนาจะได้มีโอกาสเห็นจิตที่ประภัสสร

    เมื่อใดเกิดความคิดปรุงแต่งขึ้นมาว่า เขาต้องดีกว่าเราไม่ได้ เมื่อนั้นให้รู้ว่านั่นคือ กำลังคิดแข่งดี ซึ่งไม่ใช่ความถูกต้อง เป็นความผิด ความไม่ชอบ พึงพยายามหยุดความคิดนั้นเสียให้ได้ ถ้าปรารถนาจะได้มีโอกาสเห็นจิตที่ประภัสสรของตนคือ มีโอกาสได้พ้นทุกอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง

    O มานะ คือ ถือตัว

    มานะ ท่านแปลว่า “ถือตัว” มานะที่เป็นอุปกิเลสมิได้หมายถึงความพยายาม ความตั้งใจจริงเป็นความดี แต่มานะความถือตัวเป็นความไม่ดี อย่างไรก็ตามต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ความถือตัวที่ไม่ดีนั้นเป็นคนละอย่างกับความถูกต้องในการวางต้ว

    แม้ว่าการวางตัวอย่างถูกต้องบางทีจะเหมือนเป็นถือตัว แต่ความจริงไม่เหมือนกัน ความไม่ถือตัวมิได้หมายถึงอะไรก็ได้ ใครจะปฏิบัติต่อตนผิดอย่างไรก็ได้ หรือตนจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไรก็ได้ ไม่เช่นนั้น สมมติบัญญัติยังมีอยู่ ความถูกต้องตามสมมติบัญญัติต้องรักษาไว้ ต้องระวังให้ถูกต้อง

    ไม่ใช่ว่าจะถือว่าเป็นผู้ไม่มีมานะความถือตัว คือผู้ต้องยอมให้ผู้น้อย ไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ หรือไม่ใช่จะถือว่าผู้ไม่มีมานะความถือตัวก็คือ แม้ตนจะเป็นผู้ใหญ่ก็นอบน้อมต่อผู้น้อย ราวกับเป็นผู้น้อยยิ่งกว่า

    O ใจที่อบรมถูกต้องตามธรรมนั่นแหละ เป็นใจที่ไม่มีมานะ...ความถือตัว

    มานะความถือตัวเป็นเรื่องของใจ ใจที่อบรมแล้วอย่างถูกต้องตามธรรมของพระพุทธศาสนานั่นแหละที่ไม่มีมานะถือตัว ส่วนการแสดงเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสมมติบัญญัติ ที่ผู้เข้าใจไม่ถูกเพียงพออาจเห็นเป็นมานะได้ จึงเป็นเรื่องเฉพาะตนอย่างแท้จริงและต้องเป็นความรู้สึกอย่างจริงใจของตนเองด้วยว่า ตนเองมีมานะเพียงไร

    ไม่ใช่ว่าปฏิบัติอย่างหนึ่งและปกปิดความจริงใจบอกว่าใจไม่มีมานะ ปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมเท่านั้น การยอมรับกับตนเองอย่างถูกต้องอย่างจริงใจนั่นแหละสำคัญ

    O ทางเกิดของมานะ...ความถือตัว

    มานะความถือตัวจะเกิดก็ต่อเมื่อคิดปรุงแต่งว่าเราต้องถือตัวเราไว้ เพราะเราดีกว่าเขา เดี๋ยวเขาจะนึกว่าเราเป็นคนระดับเดียวกับพวกเขาจะดูถูกได้ และก็อาจจะคิดปรุงแต่งยืดยาวต่อไปในทำนองนี้ได้อีกมากมาย

    ยิ่งคิดปรุงแต่งไปในทำนองดังกล่าวมากอีกเท่าไร มานะถือตัวก็จะยิ่งมากขึ้นแรงขึ้นเพียงนั้น ให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ความร้อนความมืดแห่งสติปัญญาพรางความประภัสสรแห่งจิตเพียงนั้น

    ความคิดปรุงแต่งเป็นเหตุให้เกิดมานะความถือตัวจึงต้องระวังความคิดปรุงแต่งให้ดีที่สุด พยายามยับยั้งที่จะไม่ให้มีความคิดปรุงแต่งให้มากที่สุด เมื่อบังคับไม่ได้จริงแล้วก็พึงพยายามอย่าคิดปรุงแต่งที่จะนำให้เกิดอุปกิเลส เช่นมานะถือตัวเป็นต้น

    O อติมานะ คือ ดูหมิ่นท่าน

    อติมานะ ท่านแปลว่า “ดูหมิ่นท่าน”ก็เข้าใจได้ชัดแล้วว่าความรู้สึกหรือการกระทำที่เป็นการดูหมิ่นไม่ใช่สิ่งดี เป็นที่ตำหนิของคนทั่วไป ดูหมิ่นกับดูถูกก็ทำนองเดียวกัน ผู้ที่คิดดูหมิ่นหรือแสดงอาการดูหมิ่นผู้อื่นก็ต้องเริ่มจากความคิดปรุงแต่งว่าผู้อื่นต่ำต้อยกว่าตนต่างๆ

    เป็นต้นว่า ฐานะความรู้ความสามารถ ชาติตระกูล เมื่อเกิดความคิดปรุงแต่งเช่นนี้ขึ้น ต้องพยายามหยุดให้ได้ จึงจะไม่เกิดความรู้สึกดูหมิ่นติดตามมา เปรียบดังพัดพาหมอกควันที่เริ่มขึ้นมิให้ผ่านเข้าปิดบังความประภัสสรแห่งจิตเพิ่มขึ้นกว่าที่มีอยู่เพราะความคิดปรุงแต่ง อันเป็นอุปกิเลสข้ออื่นๆ

    O ความคิดดูหมิ่นท่าน ป้องกันได้ด้วยการตั้งใจทำดี

    ผู้มีความรู้ความสามารถหรือสติปัญญาหรือฐานะชาติตระกูล รู้แน่ในความเป็นจริงเช่นนั้นของตน จักไม่ทะนงเห่อเหิม เห็นตนวิเศษกว่าผู้ใดผู้หนึ่งแล้วดูหมิ่นผู้นั้น

    ผู้ไม่มีสมบัติดังกล่าว แต่ปรารถนาจะให้เขายกย่องว่ามี นั่นแหละที่จะคิดปรุงแต่งไปต่างๆ นานาว่า คนนั้นคนนี้ต่ำต้อยกว่าตน แล้วก็ดูหมิ่นเขาแสดงออกให้ปรากฏ จะแก้ไขได้ด้วย การอย่านำตนไปเปรียบกับผู้อื่น

    ตั้งใจทำดีเท่านั้น นั่นแหละจึงจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะได้พ้นทุกข์ ได้ประจักษ์ชัดเจนในความประภัสสรแห่งจิตตน

    O มทะ คือ มัวเมา

    มทะ อุปกิเลสข้อ ๑๕ ท่านแปลว่า “มัวเมา” คนเมาเหล้าจนไม่มีสติ สามารถทำวามผิดได้โดยไม่รู้ตัว ผู้มัวเมาก็เป็นเช่นเดียวกัน ความหลงในลาภยศสรรเสริญสุข หรือความหลงในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ จนลืมความถูกความควร

    คือความมัวเมานี้ เป็นอุปกิเลสที่เกิดขึ้นจากความคิดปรุงแต่งให้เพลิดเพลิน เห็นลาถยศสรรเสริญสุขเป็นความสำคัญที่สุดสำหรับชีวิต จึงทำทุกสิ่งได้ไม่ว่าถูกหรือผิดควรหรือไม่ควรเพื่อให้ไดด้มา

    O ความมัวเมาเกิดขึ้น ความเสื่อมเสียย่อมตามมา

    คนเมาเหล้าเมื่อสร่างเมาแล้วยังมีโอกาสที่จะมีภาวะฐานะเช่นเดิมได้ แต่คนเมาลาภยศสรรเสริญสุขไม่มีโอกาสเช่นนั้น เมื่อความมัวเมาเกิดขึ้นแล้ว ความเสื่อมเสียย่อมเกิดตามมา ทั้งในความรู้ความเห็นของคนอื่นทั้งหลาย

    โดยเฉพาะความรู้สึกนึกคิดของตัวเองจะมืดมัวปิดบังความประภัสสรแห่งจิตได้ และความคิดปรุงแต่งว่าดีว่าสนุกว่าสบายนั่นเอง ทำให้ติดทำให้มัวเมาให้ปรารถนาต้องการ ผู้มีปัญญาจึงพยายามหยุดความคิดปรุงแต่งนั้น เพื่อให้พ้นจากความมัวเมา เพื่อให้ปรากฏความประภัสสรแห่งจิต

    O ปมาทะ คือ เลินเล่อ

    ปมาทะ อุปกิเลสข้อ ๑๖ ท่านแปลว่า “เลินเล่อ” คือประมาทนั่นเอง ความประมาทเลินเล่อก็เกิดจากความคิดปรุงแต่งเช่นกันเพียงง่ายๆ คือคิดปรุงแต่งว่าไม่เป็นไรเท่านั้นก็ประมาทได้แล้ว ที่ชอบคิดกันก็คือไม่เป็นไรเรามีบุญมาก หรือไม่เป็นไรเราไม่ได้ทำไม่ดี หรือไม่เป็นไรเราต้องสบายไปทุกชาติ ดังนี้ เป็นต้น

    O ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย แก้ได้ด้วยการ อย่าคิดว่า “ไม่เป็นไร” ไปเสียหมด

    นี่คือประมาทที่ท่านกล่าวว่า เป็นทางแห่งความตาย ที่ชัดๆ ก็คือความมัวเมาบังปัญญา บังความประภัสสรแห่งจิต จึงพึงทำลายความประมาทเลินเล่อเสีย ด้วยวิธีอย่าคิดปรุงแต่งว่า ไม่เป็นไร ไปเสียหมด

    หน้าหลัก
     
  2. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    มานะทิฐิ เกิดก็รู้ มีสติ ก็ดับไป
    แต่ไม่ได้ ถาวร สุดท้ายก็เกิดมาอีก เพราะไม่ได้ตัดเป็นสมุทเฉกประหาญ
    มันเป็นกิจของพระอนาคามี
    ไปข้ามขั้น จะดับมานะทิฐิ มันจะเสียเวลานะ
    เอาไวละสังโยชน์เบื้องต่ำ5 ให้ได้เป็นสมุทเฉกประหาญแล้ว ค่อยทำ
    สากยทิฐิ + วิจิกิจฉา + สีพลัมปรามาส + กามราคะ + ปฎิคะ + รูปราคะ +อรูปราคะ
    ล้วนเป็นปัจจัยเกื้อให้เกิด มานะทิฐิทั้งนั้น
    อารม + วิญญาณ + อายตนะ >>> เวทนา >>> ปปัญจะ (ตัญหา มานะ ทิฐิ)
     
  3. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    และวิธีง่ายๆ คือ ให้ตั้งจิตมั่นว่า จริยาอาการคำพูดของใครๆ
    จะไม่ทำให้กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของเราทุจริตอีกแล้ว

    ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็ทำไปเรื่อยๆ ค่ะ เคยจะกล่าวไม่ดีอะไรออกไป
    มันก็ชะงักได้บ้างเหมือนกัน

    ใครจะทำอย่างไรก็เป็นเรื่องของเค้า รักษาใจเราไว้ให้ดีเท่านั้นพอค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...