สร้างบุญได้...แม้ไม่มีเงิน ...

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 2 พฤษภาคม 2009.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ผู้ที่ยากจนมาก ๆ ไม่มีเงินจะทำบุญ มีวิธีอื่นที่จะสร้างบุญได้หรือไม่


    [​IMG]

    วิธีจะสร้างบุญมีเยอะ แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเสียก่อนว่า เราเอาบุญมาทำอะไร ถ้ารู้ว่าเอาบุญมาทำอะไรแล้ว เดี๋ยวจะเห็นว่า วิธีสร้างบุญมีช่องทางอยู่เยอะ


    บุญเป็นธาตุกายสิทธิ์ประเภทหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มีฤทธิ์ ทำให้ใจทั้งผ่องด้วย ทั้งใสด้วย แถมชุ่มชื่นเบิกบานอิ่มเอิบอีกต่างหาก ที่อยากได้บุญกันนั้น เพราะว่าจะเอามาทำให้ใจผ่อง ใจใส ใจอิ่มเอิบ เบิกบาน นี้เป็นหลักทีเดียว นอกนั้นเป็นของแถม เช่น มีบุญมากๆ ก็จะทำให้ทำมาค้าขึ้น มีบุญมากๆ จะทำให้ยศถาบรรดาศักดิ์ บังเกิดง่ายขึ้น ตรงนี้ขอยกไว้ก่อน บุญที่จะเอามาให้ทำใจผ่องใส คือบุญจากอะไรบ้าง


    บุญจากการทำทาน ตักบาตรกันตอนเช้า ได้บุญแน่ ที่รู้มาเห็นกันมาตั้งแต่เล็ก ๆ รักษาศีล ท่านก็บอกว่าได้บุญ หลวงพ่อก็เคยตั้งปัญหาถามครูบาอาจารย์ตั้งแต่อยู่ชั้นประถม ชั้นมัธยมแล้วว่า รักษาศีลนี่มันได้บุญอย่างไร ก็ไม่เห็นได้ทำอะไร อยู่เฉย ๆ แล้วบอกว่าได้บุญ

    ที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ คือรักษาศีลข้อที่ ๑ ได้บุญตรงไหน ได้บุญตรงที่ให้ความปลอดภัยกับชีวิตผู้อื่น เพราะฉะนั้นเข้าใกล้ใคร คน ๆ นั้นเขาก็ผ่องใสขึ้นมาว่า ชีวิตเขาปลอดภัยแน่ ตัวเราเองก็ใจใสทีเดียวว่า ไม่มีเวรไม่มีภัยกับใครแน่ ตรงนี้บุญเกิด


    ไม่ลักทรัพย์ ไม่คดไม่โกงใคร ศีลข้อที่ ๒ ได้บุญตรงไหน ได้บุญเพราะให้ความปลอดภัยอีกเหมือนกัน ให้ความปลอดภัยในทรัพย์สิน ใครมีทรัพย์มีสินเขาก็ห่วง กลัว มันจะหมดไป หายไป พอมั่นใจว่าเราไม่โกง ไม่ขโมยเท่านั้นแหละ ใจเขาใสขึ้นมา หมดกังวล เราเองผู้ให้ความปลอดภัยกับเขา คือตั้งใจไว้แล้วว่า ทรัพย์สมบัติของใครไม่อยากได้ ถึงจะมีคุณค่าวิเศษอย่างไร ไม่สน อย่างนี้เราก็ใจใส ใจผ่อง บุญเกิดตรงนี้เอง เพราะว่าความโลภมันไม่มาบดบังใจ ความโกรธมันไม่มาบดบังใจ ความหลงมันไม่มาบดบังใจ ใจมันใส ใจมันผ่อง


    รักษาศีลข้อที่ ๓ ดีๆ คือให้ความปลอดภัยต่อคู่ครองของเขา ลูกเขาเมียใครไม่ไปยุ่งด้วย สามีเขาก็หน้าบาน ใจมันใส เราเองก็ใจใส เพราะไม่ได้ข้องแวะกับใคร


    รักษาศีลข้อที่ ๔ เราก็ให้ความจริงใจกับทุกคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย มนุษย์กังวลเรื่องอะไร ก็กังวลเรื่องความไม่จริงใจกัน แม้สามีภรรยาพอระแวงว่าไม่จริงใจกันเท่านั้นแหละ บ้านก็จะระเบิดออกมาแล้ว ถ้าเราให้ความจริงใจ ไม่โกหกใครเลย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรา ก็จะใจใสขึ้นมา เราก็ยิ่งใจใสหนักเข้าไป เพราะเราเป็นผู้ให้ ยิ่งเราไม่กินเหล้าเมายา ไม่เผลอสติซึ่งเป็นต้นทางแห่งความดี เมื่อเราไม่ไปแตะต้องสิ่งเหล่านี้ ความไม่มีเวรมีภัยทุก รูปแบบก็เกิดขึ้นกับเรา และพร้อมจะแจกความไม่มีเวรไม่มีภัยนี้กับทุกคนที่เข้าใกล้เรา เพราะฉะนั้นพอเรารักษาศีล ๕ ได้ ทั้งเนื้อทั้งตัวเราเป็นร่างกายแห่งบุญ เป็นโรงผลิตบุญเคลื่อนที่ ใครเข้าใกล้เราก็ใจใส ตัวเราเองก็ผลิตบุญเรื่อยไป ใจก็ใส เพราะฉะนั้น ให้ทานด้วยทรัพย์สินสิ่งของ นั่นก็ทำให้ใจใส ก็ได้บุญ รักษาศีล ให้ความปลอดภัยสารพัดรูปแบบ ก็ได้บุญ นอกจากนี้ เรายังมีสมบัติขุมอื่นๆ อีกเยอะ ที่จะเปลี่ยนเป็นบุญได้ เช่น อะไรบ้าง ความรู้ ถ้าให้ถูกที่ก็เปลี่ยนเป็นบุญได้ เรี่ยวแรงของเรา ก็สามารถเปลี่ยนเป็นบุญได้ ใครจะทำบุญทำทานที่ไหน เราไม่มีเงินไปทำ กระโดดเข้าไปช่วยเขาประกอบการบุญการกุศลนั้นๆ เอาแรงไปเป็นทาน ช่วยให้งานบุญเขา สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เราก็ได้บุญ อย่าว่าแต่เอาเรี่ยวแรงไปทำ แม้เอาเสียงของเราไปทำทาน เช่น ใครเขาจะทำความดีอะไร เราก็เชียร์ ไปเลยว่าดี พอเชียร์เข้าไป มันเป็นการให้กำลังใจเขา ใจเราก็ใสขึ้น คนได้ยินเสียงเชียร์ เขากำลังจะทำดีอยู่แล้ว พอได้ยินเสียงเชียร์เข้า ก็คึกคักขึ้น เขาก็เลยทำบุญได้เต็มที่ขึ้น


    หรือมีคนมาสนับสนุนให้ทำบุญยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เราก็เลยพลอยได้บุญไปด้วย เพราะฉะนั้นแค่เสียงเชียร์ยังได้บุญ ถ้าในเสียงเชียร์นั้นแถมเอาความรู้ที่เรามีอยู่ไปให้อีกด้วย มันเลยไม่แค่เสียงเชียร์ มันกลายเป็นว่าเราให้ธรรมทานไปด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง คือได้บุญเยอะกว่าทานประเภทอื่นเสียอีก มองภาพนี้ชัดๆ แล้วเราจะเห็นว่า ถ้าอย่างนั้นเรามีช่องทางที่จะทำบุญอีกเยอะเลย เห็นใครทำบุญ ทำทาน เราไม่มีเวลาเข้าไปช่วย ยกมือสาธุ ขออนุโมทนาในจิตกุศลของท่านที่ทำบุญ ทำทานหรือทำความดี ยกมือเปล่งวาจาแค่สาธุเท่านั้น บุญก็เกิด ยังไม่พอ วันนี้อยู่คนเดียว เหลียวซ้ายแลขวาไม่รู้จะไปทำทานให้กับใคร ถามตัวเองวันนี้ยังคับแค้นใจเมื่อนึกถึงหน้าใครคนใดคนหนึ่งไหม พอนึกได้ อ้อ! นาย ก นาย ข นึกถึงทีไรทำให้ขุ่นใจ เรื่องในอดีตอย่างนั้นๆ โผล่ขึ้นมาเป็นฉาก ก็ให้อภัยทานทั้งๆ ที่นอนอยู่ในบ้านนั่นแหละ นั่นก็ยังได้บุญ


    คนมีปัญญาช่องทางที่จะหาบุญมาใส่ตัวมีมากมายมหาศาลนัก ไม่รู้จะทำอะไร วัดพระธรรมกายก็ได้ วัดต่างๆ ก็ได้ เขาต้องการผู้มาช่วยงานเยอะแยะ อย่างวัดพระธรรมกาย ต้องการใคร ต้องการผู้นำบุญ คือนำข่าววัดว่าทำบุญทำทานอย่างนั้นอย่างนี้ ทำความดีงาม อย่างนั้นอย่างนี้ ช่วยเอาไปประกาศให้ชาวโลกเขารู้ อย่างนี้ก็ได้บุญ ไม่รู้จะทำอะไร หลับตาภาวนาทำสมาธิของเราไปก็ได้บุญ หาบุญได้ทุกลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็นึกถึงความตายบ้าง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความขุ่นมัวในใจมันหมดไป หายใจออกนึกถึงความตายบ้าง จะได้เลิกโลภ เลิกโกรธ เลิกหลง ท่านบอกว่าหายใจเข้าออก อย่างนี้ ไม่ใช่หายใจทิ้งเปล่า หายใจแล้วได้บุญด้วย พระที่ห้อยอยู่บนคอก็เหมือนกัน อย่าห้อยเปล่า ตื่นเช้าขึ้นมาก็ยกขึ้นมาพิจารณา จำลักษณะมหาบุรุษของท่านให้ดี แล้วก็อาราธนา ให้ท่านไปนั่งอยู่กลางท้องที่ศูนย์กลางกายของเรา จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะทำงานการ อะไรนึกถึงองค์พระ ถ้าอย่างนั้นไม่ว่าทำงานอะไรไป นอกจากได้งาน ได้เงินแล้ว ก็ยังได้บุญต่อไปอีก


    ก่อนจะนอนสำรวจตรวจสอบว่าวันนี้ทำความดีอะไรไว้บ้าง ทำความไม่ดีอะไรไว้บ้าง เป็นการตรวจสอบบัญชีบุญ บัญชีบาป ประจำวันของเรา ไปพบบัญชีบาปเข้า ก็สัญญากับตัวเองว่าพรุ่งนี้จะไม่ทำอีก อย่างนี้มันบาป ส่วนว่าอะไรที่เป็นบุญ สำรวจตรวจสอบแล้ว ชัดเจนขึ้นแล้ว พรุ่งนี้ก็จะทำต่อ แล้วก็ล้มตัวลงนอน ก่อนจะนอน อาราธนาองค์พระในตัวที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่เช้ามาว่าหลวงพ่อช่วยขยายองค์โตๆ หน่อย ลูกขออนุญาต ไปนอนอยู่กลางท้องหลวงพ่อ หรือยังนึกขยายองค์พระไม่ออกไม่เป็นไร นอนคืนนี้นึกถึงองค์พระใส ๆ เกิดขึ้นที่กลางกาย นึกจนกระทั่งหลับไป หลับอย่างนี้ หลับพร้อมกับองค์พระ ถ้าฝันก็ไม่ฝันเรื่องอื่นหรอก ฝันว่าไปเจอพระพุทธเจ้า ฝันว่าไปเจอพระอรหันต์ แม้ในความฝันยังได้บุญเลย ทำอย่างนี้ไปทุกวัน ทุกคืน ทำตั้งแต่วันนี้จนกระทั่งวันตาย บุญมีให้เรา เกิดขึ้นกับเรา ทั้งหลับ ทั้งตื่น ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน นี่แหละคนมีบุญเขาทำกันอย่างนี้


    [​IMG]

    ..บุญเป็นธาตุกายสิทธิ์ประเภทหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มีฤทธิ์ทำให้ใจผ่องด้วย ทั้งใสด้วย แถมชุ่มชื่อเบิกบานอิ่มเอิบอีกต่างหาก ที่อยากได้บุญกันนั้น เพราะว่าจะเอามาทำให้ใจผ่อง ใจใส ใจเอิบอิ่ม เบิกบาน นี้เป็นหลักทีเดียว นอกนั้นเป็นของแถม


    Loading...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2012
  2. มาร-

    มาร- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +487
    สาธุ สาธุ สาธุ
    ดีแล้ว ชอบแล้ว

    ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

    พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

    ทุติยังปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ทุติยังปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

    ตะติยังปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

    พุทธังคุ้ม ธัมมังคุ้ม สังฆังคุ้ม คุ้มด้วย นะ โม พุท ธา ยะ
     
  3. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    เงินเรื่องเล็ก ใจเรื่องใหญ่

    พระพุทธองค์บรรลุธรรมตอนเป็นนักบวชครับ

    ดังนั้นเงินอาจจะจำเป็น แต่ก็ทำบุญได้แค่ในหมวดของทานครับ

    ส่วนศีล กับ ภาวนา ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน

    โมทนาครับ
     
  4. ราศีสิงห์

    ราศีสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    815
    ค่าพลัง:
    +2,118
    [​IMG]
     
  5. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,270
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,079
    คนเราจะสำเร็จมรรคผลก็ด้วยการภาวนาครับ ส่วนการให้ทานเป็นพื้นฐานเบื้องต้นเท่านั้น
    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  6. นิพ_พาน

    นิพ_พาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,984
    ค่าพลัง:
    +7,810
    อนุโมทนาเจ้าค่ะ


    อิมัง นะภะ อุอะ นะชาลีติ
     
  7. ahantharik

    ahantharik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,596
    ค่าพลัง:
    +6,346
    ..บุญเป็นธาตุกายสิทธิ์ประเภทหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มีฤทธิ์ทำให้ใจผ่องด้วย ทั้งใสด้วย แถมชุ่มชื่อเบิกบานอิ่มเอิบอีกต่างหาก ที่อยากได้บุญกันนั้น เพราะว่าจะเอามาทำให้ใจผ่อง ใจใส ใจเอิบอิ่ม เบิกบาน นี้เป็นหลักทีเดียว นอกนั้นเป็นของแถม
     
  8. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,285
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -คัดลอกมาให้อ่านครับ

    บุญ ๑๐ วิธี

    ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ

    ๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม

    ๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ

    ๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น

    ๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)

    ๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย)

    ๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)

    ๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)

    ๘. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย)

    ๙. แสดงธรรม ให้ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)

    ๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วยเช่นกัน (ทิฏฐุชุกรรม)

    ทิฏฐุชุกรรมหรือสัมมาทัศนะ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิดและทุกโอกาส จะต้องประกบและประกอบเข้ากับบุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อ เพื่อให้งานบุญข้อนั้น ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมาย พร้อมทั้งได้ผลถูกทาง

    การทำบุญ ๑๐ ประการนี้ สามารถสรุปเป็นข้อความคล้องจองกันว่า

    ๑. แบ่งปันกันกิน ๒. รักษาศีล คือ กาย วาจา

    ๓. เจริญสมาธิภาวนา ๔. กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม

    ๕. ยอมตนรับใช้ ๖. แบ่งให้ความดี

    ๗. มีใจอนุโมทนา ๘. ใฝ่หาฟังธรรม

    ๙. นำแสดงออกไม่ได้เว้น ๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้อง

     
  9. kaenlukson

    kaenlukson เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +2,126
    บุญเป็นธาตุกายสิทธิ์ประเภทหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มีฤทธิ์ทำให้ใจผ่องด้วย ทั้งใสด้วย แถมชุ่มชื่อเบิกบานอิ่มเอิบอีกต่างหาก ที่อยากได้บุญกันนั้น เพราะว่าจะเอามาทำให้ใจผ่อง ใจใส ใจเอิบอิ่ม เบิกบาน นี้เป็นหลักทีเดียว นอกนั้นเป็นของแถม
    ____________________________________

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  10. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ
    ๑. ทานมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ปันสิ่งของ

    ทานมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ปันสิ่งของ


    "ทาน" คือการให้ การสละ การเผื่อแผยแบ่งปัน วัตถุที่ควรให้ ได้แก่ วัตถุ ๑๐ อย่าง คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักอาศัย และประทีปโคมไฟ ให้ด้วยการบูชาคุณ ความดี คือ ถวายแก่สงฆ์ หรือให้ด้วยเมตตา โดยอนุเคราะห์แก่ผู้ยากไร้ ขาดแคลน ด้วยเจตนาที่ดีทั้ง ๓ กาล คือ ก่อนจะให้ กำลังให้ และให้ไปแล้ว ก็ยังมีความชื่นชมยินดีในการให้นั้น โดยไม่หวัง ผลตอบแทนใดๆ การให้เช่นนี้เป็นทานที่มีผลมากมีอานิสงส์มาก


    ท่านแสดงอานิสงส์ของการให้ "วัตถุทาน" เหล่านี้ว่า

    ๑. การให้ ข้าว น้ำ ชื่อว่า ให้กำลังวังชาแก่ผู้รับ
    ๒. การให้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ชื่อว่า ให้ผิวพรรณวรรณะ
    ๓. การให้ ยานพาหนะ ชื่อว่า ให้ความสุข
    ๔. การให้ ประทีปโคมไฟ ชื่อว่า ให้ดวงตา
    ๕. การให้ ที่อยู่อาศัย ชื่อว่า ให้ทุกอย่าง คือ
    ให้ทั้งกำลังวังชา ผิวพรรณวรรณะ ความสุข และดวงตา

    นอกจากการให้วัตถุสิ่งของเหล่านี้แล้ว การให้ความรู้ ศิลปวิทยาต่างๆ การให้คำแนะนำสั่งสอน ให้แนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกที่ควร หรือแนะนำให้มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญกิจที่ดีงาม ก็นับว่าเป็นทานที่เรียกว่า "ธรรมทาน" ตลอดจนการให้อภัยก็ชื่อ "อภัยทาน"

    อานิสงส์ของทานมีมากมาย เพราะเพียงสาดภาชนะลงไปในบ่อน้ำคร่ำ ด้วยหวังว่าจะให้สัตว์ที่อาศัยในบ่อน้ำครำได้รับเศษอาหารก็ยังได้รับอานิสงส์ถึงร้อยชาติ คือเป้นผู้มีวรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณถึงร้อยชาติ เป็นต้น

    ทานนั้นนอกจากจะให้ความมั่นคงแก่ผู้ให้แล้ว ยังจัดเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส คือ ความตระหนี่ให้ออกไปจากจิตใจด้วย หากมีจิตเลื่อมใสในที่ใด คือมีผู้รับในที่ใดแล้ว แม้สิ่งของที่จะให้นั้นเล็กน้อย ก็ยังมีผลมาก


    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ทักขิณาวิภังคสูตรข้อ ๗๐๖-๗๑๙ และอรรถกถา
    เอกสารแจก วัดพระมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช





    ๒. ศีลมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล
    ศี ล มั ย บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล

    " ศีล " คือ ความ ประพฤติที่ดีงาม ความมีระเบียบวินัย และความมีมรรยาทงดงาม

    การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย การควบคุมตน ให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน เว้นจากความชั่วคือ

    เว้นจากการฆ่า เว้นจากการใช้ผู้อื่นฆ่า

    เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นจากการขโมย การละเมิดกรรมสิทธ์ และทำลายทรัพย์สิน

    เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการล่วงละเมิดในบุคคลที่ผู้อื่นรักใคร่ หวงแหน

    เว้นจากการพูดเท็จ พูดไม่ตรงต่อความที่เป็นจริง

    เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท เว้นจากสิ่งเสพติดทั้งปวง

    การงดเว้นจากความชั่วเหล่านี้ ท่านเรียกว่า ศีล ๕ บ้าง สิกขาบท ๕ บ้าง เบญจศีลบ้าง หรือนิจศีลบ้าง เป็นศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ คำว่า ศีล มิใช่หมายเพียงความประพฤติที่ดีงาม ทางกาย และทางวาจาเท่านั้น แต่หมายถึง ว่าจะต้องมีอาชีพสุจริตด้วย

    ........ศีลของบรรพชิต และศีลของคฤหัสถ์........

    ศีลของบรรพชิต ได้แก่ ศีล ๒๒๗ หรือจตุปาริสุทธิศีล สำหรับภิกษุ
    . . . . . . . . . . . . . . . . . . ศีล ๑๐ .....สำหรับสามเณร
    ศีลของคฤหัสถ์ ได้แก่ ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล สำหรับอุบาสก อุบาสิกา
    . . . . . . . . . . . . . . . . . ศีล ๕ หรือ เบญจศีล สำหรับบุคคลทั่วไป

    " จตุ ปา ริ สุท ธิ ศีล " เป็นศีลที่บริสุทธิ์ มี ๔ อย่าง คือ

    ๑. ปา ฏิ โม กข สัง วร ศีล การสำรวมในพระปาฏิโมกข์
    ๒. อิ น ท ริ ย สัง วร ศีล การสำรวมในอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
    ๓. อา ชี ว ปา ริ สุ ท ธิ ศีล การเลี้ยงชีพโดยทางที่ชอบ
    ๔. ปัจ จ ย สั น นิ สิต ศีล การพิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช

    " ศีล อุ โบ สถ " คือ ศีล ๘ ที่อุบาสก อุบาสิกา รักษาในวันอุโบสถ คือ ขึ้นและแรม ๘, ๑๕ ค่ำ ศีล ๘ ไม่กำหนดวันรักษา คือ รักษาได้ทุกวัน

    .......... การรักษาศีล จะต้องมีเจตนาที่จะงดเว้น จากการทำความชั่วทั้งปวง จึงจะเป็น ศีล

    ถ้าไม่มีเจตนาที่จะงดเว้น แม้ผู้นั้นมิได้ทำความชั่ว ก็ไม่ชื่อว่ามีศีล เหมือนเด็กอ่อนที่นอนแบเบาะ แม้จะมิได้ทำความชั่วก็ไม่มีศีล เพราะเด็กไม่มีเจตนาที่จะงดเว้น


    (ข้อความเพิ่มเติมใน อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต อุโบสถสูตร ข้อ ๕๑๐)


    ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา

    " ภาวนา " แปลว่า การทำให้มีขึ้น ทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ การฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ ขั้นสมาธิและปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงข้อปฏิบัติไว้ ๒ ประการ คือ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา

    สมถภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตใจให้เกิด ความสงบ จนตั้งมั่น เป็นสมาธิ อารมณ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งการเจริญ สมถภาวนา ชื่อว่า กรรมฐาน มี ๔๐ ประเภท คือ
    กสิณ ๑๐ อสุภะ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัฏฐาน(รายละเอียดในวิสุทิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒)

    วิ ปัส สนา ภาวนา คือ การฝึกอบรม เจริญปัญญา ให้เกิดความ รู้แจ้งใน สภาพธรรมที่ เป็นจริง ตามสภาพ ของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    กรรมฐาน อันเป็น ที่ตั้ง ของการ เจริญ วิปัสสนา ภาวนา
    ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ ๔ และปฏิจจสมุปบาท ๑๒

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า หนทางปฏิบัติ เพื่อการ เข้าไป รู้แจ้งลักษณ์ ของ สภาพธรรมทั้ง ๖ ประการ นี้ มีเพียง ทางเดียว ที่จะนำไปสู่ พระนิพพานได้ ทางสายเอกนั้นได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

    - กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นกายในกาย มี ๑๔ ข้อ

    - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นเวทนาในเสทนา มี ๙ ข้อ

    - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นจิตในจิต มี ๑๖ ข้อ

    - ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มี ๕ ข้อ

    สำหรับ การเจริญภาวนา ในขั้น บุญกิริยาวัตถุ นี้ โดยทั่วไป ท่านหมายเอาเพียง มหากุศลธรรมดา แต่หากว่าผู้ใด ได้ศึกษา ข้อปฏิยัติ ให้มีความเข้าใจ ก่อนลงมือปฏิบัติ แล้วพากเพียรปฏิบัติ ให้ถูกต้อง ตามแนวทาง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ ก็สามารถเป็นบันได ให้ก้าวไปถึงฌาน หรือมรรคผลได้


    (รายละเอียดในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร ข้อ ๑๓๑ - ๑๕๒ และทีฆนิกาย มหาวรรค สติปัฏฐานสูตร ข้อ ๒๗๓ - ๓๐๐)



    ๔.อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
    อปจายนะ คือ ความอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อม ผู้ที่ขัดเกลาความมานะ และนิสัยกระด้างออกแล้ว รู้จักบุคคลที่ ควรจะ อ่อนน้อมด้วย ในฐานะใด ในสภาพใด

    ......สำหรับบุคคลที่ควรจะอ่อนน้อมด้วย มี ๓ ประเภท คือ
    ...... ๑. วัยวุฒิ ผู้ที่สูงกว่า ด้วย วัย
    ...... ๒. ชาติวุฒิ ผู้ที่สุงกว่า ด้วยชาติ ตระกูล
    ...... ๓. คุณวุฒิ ผู้ที่สูงกว่า ด้วยคุณธรรม

    . . . . บุคคลผู้มีปกติอ่อนน้อมกราบไหว้ผู้ใหญ่ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ในมงคลสูตร กล่าวว่า ผู้อ่อนน้อม ถ่อมตน กำจัดมานะ กำจัดความกระด้างได้ ทำตนให้เป็นเสมือนผ้าเช็ดเท้า เสมอด้วยโคอุสุภะเขาชาด หรือเสมอด้วยงูที่ถอนเขี้ยวแล้ว ท่านตรัสว่า เป็นมงคล







    ๕.เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายรับใช้

    เวยยาวัจจมัย คือ การขวนขวาย ช่วยเหลือ ในธุระ กิจการงานของผู้อื่น ที่อยู่ในขอบข่ายของศีลและธรรม เช่น ช่วยเป็นธุระ จัดการในงานบุญ งานกุศล ของส่วนรวม ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ แก่สังคม หรือ ขวนขวาย ทำกุศลต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่นการพยาบาลผู้เจ็บไข้ การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยต่างๆ เป็นต้นว่า ไฟไหม้ ถูกรถชน ตกน้ำ หรือแม้แต่การชี้บอกทาง การช่วยพาคนข้ามถนน ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นต้นเหล่านี้ ก็ชื่อว่าเป็นบุญที่ขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น

    . . . . . การสนับสนุนช่วยเหลือในกิจการของส่วนรวม เช่นการสร้างสะพาน สร้างศาลา สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล ขุดสระน้ำ ปลูกต้นไม้ ปลูกสวนป่า อันเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวมก็จัดเป็น เวยยาวัจจะ เช่นกัน ในคาถาธรรมบท มลวรรค แสดงตัวอย่างเรื่องบุญประเภทนี้ว่า

    . . . . . พราหมณ์ผู้หนึ่ง ยืนดูภิกษุผู้ห่มจีวร ณ สถานที่อันเป็น ที่ห่มจีวร ของพระภิกษุ ก่อนที่จะไปบิณฑบาต พราหมณ์ ได้เห็น ชายจีวร ของภกษุเหล่านั้น เกลือกกลั้ว หญ้าที่เปียกน้ำค้าง เขาได้ไปถางหญ้าให้พื้นเรียบ วันรุ่งขึ้น เขาเห็น ชายจีวรของพวกภิกษุ ตกลงบน พื้นดินเกลือกกลั้วฝุ่น เขาก็ไปขนทรายมาเกลี่ยลงในที่เป็นฝุ่นนี้น ในเวลาท่พวกภิกษุ กลับจาก บิณฑบาต ก่อนจะฉัน ภัตตาหาร ณ ที่นั้น มีแสงแดดกล้า พราหมณ์ เห็นเหงื่อของภิกษุผู้ห่มจีวรแย่ เขาจึงสร้างมณฑป คือเรือนยอดที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เพื่อให้ร่มเงาแก่ภิกาเหล่านั้น รุ่งขึ้นอีก มีฝนตกพรำ พราหมณ์นั้นได้สร้างศาลาให้ท่านหลบฝน เขาเป็นผู้ฉลาดขวนขวายหากุศล นี้ชื่อว่าเป็นบุญในข้อ เวยยาวัจจะ

    ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการยินดี...

    การอนุโมทนาในส่วนบุญ ที่ผู้อื่นแบ่งให้ หรือพลอยยินดีด้วยในส่วนบุญที่ผู้อื่นกระทำ ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"

    การอนุโมทนาบุญที่มีผู้แบ่งให้

    คาถาธรรมบท พราหมณวรรค เรื่องพระโชติกะเถระ แสดงไว้ว่า กฎุมพีสองพี่น้อง ในกรุงพาราณาสี ทำไร่อ้อยไว้เป็นอันมาก วันหนึ่งกฎุมพีผู้น้องไปไร่อ้อย ถือเอาอ้อยมาสองลำคิดจะให้พี่ชายด้วย ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็มีจิตเลื่อมใสได้ถวายอ้อยในส่วนของตนลงในบาตร ตั้งความปรารถนาว่า "ด้วยผลแห่งรส (อ้อย) อันเลิศนี้ ข้าพเจ้าพึงได้เสวยสมบัติในเทวโลก และมนุษยโลก ในที่สุดพึงบรรลุธรรมที่ท่านบรรลุแล้วนั่นแล"

    เมื่อท่านฉันแล้ว เขาจึงได้ถวายอ้อย ส่วนที่สอง อันเป็นส่วนของพี่ชายลงในบาตรอีก ด้วยคิดว่า เราจักให้มูลค่าหรือส่วนบุญแก่พี่ชาย พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้ว เหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ ถวายน้ำอ้อยนั้นแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าอีก ๕๐๐ องค์ที่ภูเขานั้น กฎุมพีผู้น้องเห็นเหตุการณ์นั้นเกิดปีติ กลับไปเล่าให้พี่ชายฟัง ถึงเหตุนั้น ถามพี่ชายว่า "พี่จักรับเอามูลค่าอ้อยนั้น หรือจักรับเอาส่วนบุญ" พี่ชายมีจิตเลื่อมใส ไม่รับเอามูลค่า ขออนุโมทนาส่วนบุญจากกกฎุมพีผู้น้องด้วยใจโสมนัส ตั้งความปรารถนาว่า "ขอเราพึงได้บรรลุธรรมที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นนั้นเถิด"

    นี่คือตัวอย่างของการที่มีผู้แบ่งบุญให้ที่ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"

    การพลอยยินดีด้วยในบุญที่ผู้อื่นกระทำ

    ในขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ความย่อมีว่า พระอนุรุทธะถามนางเทพธิดาว่า "ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เมื่อท่านฟ้อนอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์น่าฟังรื่นรมย์ใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน ทั้งกลิ่นทิพย์อันหอมหวลก็ฟุ้งออกจากกายทุกส่วน เสียงของเครื่องประดับ ช้องผมที่ถูดรำเพยพัดก็กังวานไพเราะดุจเสียงดนตรี แม้พวงมาลัยบนเศียรเกล้าของท่าน ก็มีกลิ่นหอมชวนเบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดูกร นางเทพธิดา อาตมาขอถามว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร"

    นางเทพธิดาตอบว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้า นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้สหายของดิฉัน ที่อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันได้เห็นวิหารนั้น มีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาพลอยยินดีด้วยในบุญนั้นของนาง ก็วิมานและสมบัติทุกอย่างที่ดิฉันได้แล้วนี้ เพราะการพลอยยินดีโมทนาบุญของสหายนั้น ด้วยจิตอันบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น"

    จากพระสูตรนี้จะเห็นได้ว่า เพียงจิตเลื่อมใสอนุโมทนาในบุญที่ผู้อื่นที่ได้กระทำแล้ว ยังให้ผลเห็นปานนี้ แม้ว่าจะยังไม่มีใครบอกบุญให้ก็อนุโมทนาเช่น เห็นคนกำลังใส่บาตร มีจิตยินดีอนุโมทนาด้วยในบุญนั้น ก็นับเป็นบุญที่ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"

    ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม

    การฟังธรรม เป็นการศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญา เข้าใจในหลักพระธรรมคำสอน ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสามารถจะนำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏนี้ได้

    การฟังธรรมมีอานิสงส์มากถึง ๕ ประการ คือ

    ๑. ได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    ๒. เรื่องใดที่เคยได้ฟังแล้ว ได้ฟังซ้ำอีกย่อมมีความชัดเจนขึ้น
    ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
    ๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
    ๕. จิตของผู้ฟังธรรมย่อมผ่องใส

    การได้ฟังพระธรรม พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็รเหตุให้ประสบผลวิเศษนาแระการ มีการละจากความชั่ว ประพฤติความดี และบรรลุธรรมอันเป็นที่สิ้นอาสวะได้ในที่สุด เป็นต้น

    ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ปิยังกรสูตร กล่าวไว้ว่า ในเวลา ใกล้รุ่งแห่งราตรีหนึ่ง ที่พระวิหารเชตวัน ท่านพระอนุรุทธะกำลังกล่าวธรรมอยู่ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ได้กล่าวห้ามบุตรว่า “อย่าอึงไป ภิกษุกำลังกล่าวบธรรมอยู่ ให้ตั้งฟัง เมื่อเรารู้แจ้งบทธรรมนั้นแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจักมีประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา หากเราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ จักพ้นจากกำเนิดปีศาจได้”

    ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา คือเมื่อฟังแล้วย่อมเกิดความเข้าใจในธรรม ที่มีผู้ยกมาแสดง เมื่อเข้าใจในธรรมนั้นแล้ว น้อมนำคำสอนนั้นมาประพฤติปฏิบัติตามย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    ในขณะที่ฟังธรรม แม้จะไม่รู้เรื่องราว ไม่เข้าใจในธรรมนั้น แต่ฟังด้วยความรู้สึกว่า “นั่นคือเสียงแห่งพระธรรม” เลื่อมใสในเสียงที่ได้ยินย่อมก่อให้เกิดบุญกุศลได้เช่นกัน ดังท่านเล่าไว้ว่า ค้างคาว กบ ได้ยินเสียงพระสวด ด้วยความตั้งใจฟัง และมีจิตเลื่อมใสในเสียงที่กล่าวธรรมนั้น ตายลงในขณะนั้น ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความเป็นสัตว์เดรัจฉานได้

    ๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม

    การแสดงธรรม ด้วยใจที่หวังจะให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์ โดยที่ตนมิได้มุ่งหวังในลาภสักการะใดๆ จัดเป็นบุญที่เรียกว่า “ธรรมทาน” เป็นบุญที่ให้ผลมากว่าทานทั้งปวง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสวา “การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง”

    การแสดงธรรมด้วยการแจกจ่ายธรรม

    คือแจกแจงพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่ออนุเคราะห์ให้ผู้ได้รับฟังเกิดจิตเลื่อมใสในพระสัทธรรมของพระพุทธองค์ที่ทรงพร่ำสอนอย่านี้ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ เป็นต้น

    การแสดงธรรมให้เลิกละ จากอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายเช่น

    การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑
    การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑
    การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑
    การไม่กล่าวร้าย ๑
    การไม่ทำร้าย ๑
    การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑
    การรู้ประมาณในการบริโภค ๑
    การนอนการนั่งในที่อันสงบสงัด ๑
    ความเพียรประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง ๑

    ธรรมเหล่านี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร โอวาทปาฏิโมกข์)

    ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุทายีสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ในใจก่อน แล้วจึงแสดงธรรม คือ

    เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑
    เราจักแสดงธรรมโดยอ้างเหตุผล ๑
    เราจักแสดงธรรมโดยอาศัยความเอ็นดู ๑
    เราจักไม่เป็นผู้เพ่งอามิสในการแสดงธรรม ๑
    เราจักไม่แสดงธรรมให้กระทบตนและผู้อื่น ๑

    ผู้ใดตั้งธรรม ๕ ประการนี้ ไว้ภายในใจแล้วแสดงธรรม อย่างนี้ชื่อว่าเป็น “ธรรมทาน” โดยแท้

    อนึ่ง แม้บุคคลผู้แสดงธรรมเองก็ย่อมได้รับประโยชน์ คือ ได้เข้าใจในความหมาย และความลึกซึ้งในธรรมที่ยกมาแสดงนั้น เพิ่มขึ้น ๑ เป็นที่พึงพอใจของพระบรมศาสดา ๑ อาจแทงตลอดเนื้อความอันลึกซึ้งของธรรมนั้น ได้ ๑ เป็นที่สรรเสริญของกัลยาณชน ๑

    สำหรับการแสดงธรรมนี้มิได้หมายว่า ภิกษุเท่านั้นที่จะเป็นผู้แสดงธรรมได้ แม้ อุบาสกอุบาสิกา หรือฆราวาสผู้มีความรู้ ผู้ศึกษาธรรม ผู้ปฏิบัติ แม้แต่การอบรมเยาวชน หรือลูกหลานด้วยธรรมะ ก็ชื่อว่า “ธัมมเทสนา” เช่นกัน

    ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ตรง

    “ทิฏฐิ” แปลว่าความเห็น เช่น “สัมมาทิฏฐิ” ความเห็นชอบ หรือ “มิจฉาทิฏฐิ” ความเห็นผิด ส่วนคนที่มีความอวดดื้อถือดี หรือยึดมั่นในอุดมการณ์ต่างๆ อย่างงมงาย โดยไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น คือมีความเชื่อมั่นในความเห็นของตนเองว่าอย่างนี้ถูก ถือเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่แต่ประการเดียว โดยที่ยังมิได้พิจารณาด้วยเหตุและผลว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก บุคคลนั้นชื่อว่าผู้มีทิฏฐิ

    ความเห็นที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ มี ๑๐ ประการ

    ๑. เห็นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล
    ๒. เห็นว่า การบูชาพระรัตนตรัยมีผล
    ๓. เห็นว่า การบวงสรวงเทวดามีผล
    ๔. เห็นว่า ผลของกรรมดี กรรมชั่ว มีอยู่
    ๕. เห็นว่า สัตว์ที่เกิดมาในโลกนี้มีอยู่ (โลกนี้มี)
    ๖. เห็นว่า สัตว์ในโลกนี้ตายแล้วเกิดในโลกอื่นมีอยู่ (โลกหน้ามี)
    ๗. เห็นว่า คุณของมารดา มีอยู่
    ๘. เห็นว่า คุณของบิดา มีอยู่
    ๙. เห็นว่า โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดขึ้น แล้วโตทันที มีอยู่
    ๑๐. เห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้รู้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นได้รู้ด้วย (พระพุทธเจ้า) มีอยู่ และสมณพราหมณ์ที่ถึงพร้อมด้วยความสามัคคี ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ (พระสงฆ์) มีอยู่

    ในบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการ นี้ เป็นการทำบุญที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในพระพุทธศาสนา โดยไม่ต้องใช้จ่ายเงินทองมากมาย มีบุญกิริยาประการเดียวคือ การให้วัตถุทานเท่านั้นที่ต้องใช้เงินทอง บุญกิริยาที่เหลืออีก ๙ ประการ มิต้องใช้เงินทองเลย เพราะฉะนั้นทุกคนสามารถที่จะสั่งสมบุญได้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน ถ้ามีความเข้าใจในขั้นตอนของการทำบุญเช่นนี้แล้ว

    ในคาถาธรรมบท ท่านกล่าวว่า ไม่ควรประมาทในบุญเล็กๆ น้อยๆ ว่ายังไม่ควรทำ เพราะแม้บุญเล็กน้อยนั้น ถ้าได้สั่งสมบ่อยๆ ก็ยังมีผลให้เกิดความสุข เหมือนหม้อน้ำที่เปิดปากไส้ แม้น้ำหยดลงที่ละหยด ก็สามารถเต็มหม้อน้ำนั้นได้ ฉันใด บุญเล็กบุญน้อย ที่บุคคลทำบ่อยๆ ก็ย่อมจะพอกพูนให้เต็มเปี่ยมได้ เหมือนหยดน้ำที่หยดลงมาจนเต็มหม้อน้ำ ฉันนั้นแล


    ............ จบบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ............

    เลือกทำเอาเองนะครับ ไม่ต้องเสียตังค์แล้วได้บุญเยอะๆๆก็มีมากเลยนะครับ
     
  11. Miss-Blissy

    Miss-Blissy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +349
    อนุโมทนากับทุกๆคนที่นำความรู้มาให้อ่านกันประดับปัญญา
    ขอให้ทั้งผู้ให้ และผู้รับ อ่านแล้วใจใสๆกันทุกคนนะคะ
    สาธุ......
     
  12. แสงส่องทาง

    แสงส่องทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2010
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +223
    สร้างพระภายในกันนะครับ
     
  13. คนมีองค์

    คนมีองค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +451
    โมทนาสาธุด้วยนะคะ

    :cool: ดีใจนะคะที่ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาในเว็บนี้ มีประโยชน์มากเลยค่ะ

    ขอบคุณท่านผู้ดูแลเว็บด้วยนะคะ ที่เปิดโอกาสให้ได้โมทนาบุญด้วย
    อยากสนับสนุนให้เว็บนี้อยู่ไปนานๆ เพื่อเป็นทางออกของคนที่มีเวลาน้อย
    และด้อยปัญญาอย่างดิฉัน ขอบคุณค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,828
    ค่าพลัง:
    +5,414
    มีมากทำมาก มีน้อยก็ทำน้อยครับ ที่ไม่ทำเลยไม่ควรครับ เมื่อทำแล้วให้ปลื้มปิติในบุญที่ทำให้มากที่สุด หมั่นระลึกนึกถึงบุญบ่อยๆ แม้ทำด้วยทรัพย์เพียงเล็กน้อยก็ได้บุญมาก
     
  15. nongnee

    nongnee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +15
    ทาน ศีล ภาวนา เป็นบุญทั้งหมดให้มีศรัทธาอย่างที่สุดเป็นดี ขออนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  16. paderm

    paderm สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +4
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    บุญ หรือ กุศล คือ สภาพธรรมฝ่ายดี ที่เป็นเครื่องชำระสันดาน ให้หมดจดจากกิเลส

    ดังนั้น ขณะที่เป็น บุญ หรือ กุศล ขณะนั้นไม่มีกิเลสที่เป็นเครื่องเศร้าหมองเลยครับ

    ซึ่งบุญในพระพุทธศาสนา ก็มีหลากหลายแตกต่างกันไปตามลักษณะของการกระทำ

    ทางกาย วาจาและใจ มี บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ครับ
     
  17. paderm

    paderm สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +4
  18. mu-nice

    mu-nice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +650
    ขออนุโมทนาด้วยค่ะ จริงค่ะแม้ไม่มีเงินก็สามารถสร้างบุญได้รักษาศีล 5 นั่งสมาธิทำใจให้สงบไม่คิดเรื่องอะไรทั้งหมดจิตอยู่ที่องค์พระ เริ่มต้น เราทำประมาณวันละ 5นาทีก็พอค่ะถ้าต่อๆไปได้มากขึ้นกว่านั้นก็ดีค่ะ ขอให้ทุกท่านตั้งใจไปพระนิพพานนะคะ โลกมนุษย์น่าเบื่อค่ะ
     
  19. oon_dee

    oon_dee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +24
  20. ทิพย์ปทุโม

    ทิพย์ปทุโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +2,471
    <meta http-equiv="CONTENT-TYPE" content="text/html; charset=utf-8"> <title></title> <meta name="GENERATOR" content="OpenOffice.org 3.1 (Linux)"> <style type="text/css"> <!-- @page { margin: 2cm } P { margin-bottom: 0.21cm } --> </style> เวลาเข้าวัดไหนบ่อย ๆ จะรู้ว่าค่าน้ำ ค่าไฟ มหาศาลเหมือนกัน ยิ่งคนมาก ยิ่งใช้จ่ายมาก หากมีเงินทำบุญ ก็จะหยอดตู้ทำบุญ อย่างน้อยก็เบาใจตนเองว่าไม่เอาเปรียบวัด เวลาที่วัดมีงานบุญอะไรที่เราคิดว่าเราอยากทำมาก เราก็ช่วยทำบุญ นิด ๆ หน่อย ๆ ไม่ถึงกับเดือดร้อนไม่มีกิน พอทำแล้วก็ มีปีติ สุขใจก็โอเคแล้ว ทำบุญ ทำทาน ตามด้วยรักษาศีล เจริญภาวนา สมาธิ ครบสูตร สำหรับฆราวาส
    เมื่อจะนอน สวดมนต์ก่อนนอนทุกวัน ก่อนจะหลับระลึกถึงพระอริยสงฆ์ที่เราเคารพบูชา จบด้วยการห่มผ้า ที่กำหนดจิตให้เป็นชายจีวรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุ้มครองกายเราขณะไม่มีสติขณะหลับ..... สุขไปหรือเปล่าเรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...