อ ริ ย ม ร ร ค ส มั ง คี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย JitJailove, 6 มีนาคม 2012.

  1. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    เจริญอริยมรรคเพื่อมรรค [ผลย่อมสมควรแก่เหตุ]

    โดยคุณเมตตา จากเวปบ้านธัมมะ



    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาภสรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้าที่ ๓ - ๔​
    บทว่า ตโปกมฺมา อปกฺกมฺม แปลว่า หลีกออกจากตบะกรรมด้วยบทว่า อปรทฺโธ มาร​
    กล่าวว่า ท่านยังห่างไกลจากทางแห่งความหมดจด.​
    บทว่า อปรํ ตปํ ความว่า ตบะอันเศร้าหมองที่กระทำเพื่อประโยชน์แก่ตบะอย่างอื่นอีก ​
    เป็นอัตตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากเปล่า. บทว่า สพฺพํ นตฺถาวหํ โหติ ความ​
    ว่า รู้ว่าตบะทั้งหมดไม่นำประโยชน์มาให้เรา. ​
    บทว่า ถิยา ริตฺตํว ธมฺมนิ ความว่า เหมือนถ่อเรือบนบกในป่า. ท่านอธิบายว่า เปรียบ

    เสมือนคนทั้งหลาย วางเรือไว้บนบกในป่า บรรทุกสิ่งของแล้ว เมื่อมหาชนขึ้นเรือแล้วก็​
    จับถ่อ ยันมาข้างนี้ ยันไปข้างโน้น ความพยายามของมหาชนนั้น ไม่ทำเรือให้เขยื้อนไป​
    แม้เพียงนิ้วหนึ่ง สองนิ้ว ก็พึงไร้ประโยชน์ไม่นำประโยชน์มาให้ ข้อนั้น ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉัน​
    นั้นเหมือนกัน เรารู้ว่า ตบะอื่น ๆ ทั้งหมด ย่อมเป็นตบะที่ไม่นำประโยชน์มาให้ จึงสละ​
    เสีย. ครั้นทรงละตบะอย่างอื่น ๆ นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทางที่เกิดเป็น​
    พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า สีลํ เป็นต้น. ในคำว่า สีลํ เป็นต้นนั้นทรงถือเอาสัมมาวาจา ​
    สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ด้วยคำว่า สีลํ ทรงถือเอาสัมมาวายามะ สัมมาสติ และ

    สัมมาสมาธิ ด้วยสมาธิ ทรงถือเอาสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ด้วยปัญญา. บทว่า มคฺคํ ​
    โพธาย ภาวยํ ได้แก่ ทรงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อตรัสรู้. ก็ในคำนี้ บทว่า โพธาย ​
    ได้แก่ เพื่อมรรค เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายต้มข้าวต้มอย่างเดียว ก็เพื่อข้าวต้ม ปิ้ง

    ขนมอย่างเดียว ก็เพื่อขนม ไม่ทำกิจไรๆ อย่างอื่น ฉันใด บุคคลเจริญมรรคอย่างเดียว ​
    ก็เพื่อมรรค ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ ​
    ดังนี้. บทว่า ปรมํ สุทฺธึ ได้แก่ พระอรหัต.​
    บทว่า นีหโต ได้แก่ ท่านถูกเราตถาคต ขจัดออกไป คือทำให้พ่ายแพ้ไปแล้ว.
     
  2. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ทำไมสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะจึงเป็นเป็นปัญญา



    ถาม ได้ทราบว่ามรรคมีองค์ ๘ นั้น บางองค์ก็เป็นศีล บางองค์ก็เป็นสมาธิและบาง

    องค์ก็เป็นปัญญา สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะเป็นปัญญา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

    ตอบ สัมมาทิฎฐิรู้ชัดในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น สัมมา

    สังกัปปะนำจิตไปสู่อารมณ์เพื่อให้สัมมาทิฎฐิรู้ชัดในอารมณ์นั้น เพราะสัมมาสังกัปปะ

    นำจิตไปสู่อารมณ์ในทางที่ชอบ ฉะนั้น จึงเป็นปัญญาในมรรคมีองค์ ๘



    โดยบ้านธัมมะ เวปบ้านธัมมะ
     
  3. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    จะเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาเดี๋ยวนี้จะทำอย่างไร



    ก. ทุกท่านที่นั่งอยู่ในที่นี้คงอยากจะทราบว่า
    จะเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาเดี๋ยวนี้จะทำอย่างไร
    .
    .
    .


    อ. ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ

    ขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดนั้น

    สัมมาสังกัปปะ คือ วิตกเจตสิก ก็ตรึก ​
    คือ จรดในลักษณะของอารมณ์ที่กำลังปรากฏ​
    และปัญญาเริ่มศึกษาพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ​
    ทีละเล็กทีละน้อย​
    จนกว่าความรู้จะเพิ่มขึ้น ความรู้จะเกิดขึ้น และเจริญขึ้นได้จากการพิจารณา

    รู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งปรากฏในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น​
    สภาพธรรมเกิดขึ้นปรากฏแล้วก็หมดไปเร็วเหลือเกิน

    บางทีก็ยังไม่ทันจะพิจารณาศึกษาลักษณะของสภาพธรรมนั้นเลย​
    เช่น ขณะได้ยิน สติเกิดระลึกรู้สภาพได้ยินนิดเดียว​
    แต่ยังไม่ทันศึกษาพิจารณารู้ว่าเป็นสภาพรู้เสียง สภาพได้ยินก็หมดไปแล้ว

    แม้ว่าในตอนต้นปัญญาจะไม่เกิดขึ้นรู้ชัดในลักษณะของสภาพได้ยิน

    ก็เป็นธรรมดาที่จะเป็นอย่างนั้น​
    เพราะไม่มีใครสามารถยึดจับเสียงหรือนามธรรมที่ได้ยินเอามาทดลอง​
    เอามาพิสูจน์พิจารณาได้

    แต่ว่าสภาพได้ยินก็จะต้องเกิดอีก ผู้อบรมเจริญสติและปัญญา

    จึงระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมที่ได้ยินในคราวต่อไปอีกได้​

    ขณะนี้สติจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมที่กำลังปรากฏ

    ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทางหนึ่งทางใดก็ได้

    ทีละลักษณะ และพิจารณาศึกษารู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย

    จนกว่าปัญญาจะเพิ่มขึ้น รู้ชัดในลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม

    สามารถที่จะแยกรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมที่ได้ยินกับเสียง ฯลฯ​
    ในที่สุดก็จะชินกับสภาพของนามธรรมและรูปธรรมมากขึ้น

    เมื่อชินแล้วความรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมก็เพิ่มขึ้นอีก​
    ไม่ว่านามธรรมใดรูปธรรมใดจะเกิด ณ สถานที่ใด

    สติและปัญญาก็สามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม นั้นๆ

    ในขณะนั้นได้ตามปรกติตามความเป็นจริง ​

    การเจริญสติปัฏฐานเป็นการเจริญสติปัญญา ความรู้ใดที่ได้อบรมให้เกิดขึ้นแล้ว

    ความรู้นั้นก็จะเพิ่มขึ้น และละคลายความไม่รู้ให้ลดน้อยลงไปด้วย​

    โดย บ้านธัมมะ จากเวปบ้านธัมมะ
     
  4. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    จ้า พ่อคนญาติเยอะ วันนี้จะพาญาติมาศึกษาธรรมะเวปนี้กี่คนค่ะ
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ลืมอะไรไว้ในรถรึเปล่า ^^
     
  6. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ขำนะนั่น อกหักเพราะเป็นเกลื้อน หายรึยัง
     
  7. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ในมหากุศลญานสัมปยุตตจิต ๔ องค์มรรค ๘ เกิดได้แต่ไม่พร้อมกัน
    จะเห็นว่า วีรตี ๓ คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เกิดได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ จึงมีองค์มรรคได้ ๖ มรรคเท่านั้น ที่เกิดพร้อมกันได้
    แล้วเมื่อไหร่ วีรตี ๓ จะเกิดพร้อมซักทีน๊า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2012
  8. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    อาแปะอ่ะ รู้แล้วก็อธิบายเป็นธรรมทานซิค่ะ
    หนูก็เรียนมาบ้างแล้วเหมือนกัน ว่าทำไงจะครบ 8
    แต่ถ้าตรึกภาวนาอยู่แค่ 6 องค์ ก็เห็นผลการภาวนาได้
    มรรคครบ 8 องค์
    มรรคสมังคีเหมือนสายฟ้าฟาดเปรี้ยง แค่ชั่วลัดนิ้วมือเดียว
    ทำอย่างไร อธิบายมาเลยเร็วค่ะ อาแปะ

    จุดธูปเชิญ คุณขุนทิพย์ ก็หายวับไปเลย
    เรื่องใหญ่ๆ แบบนี้ ต้องอาแปะอธิบายค่ะ เชิญค่ะ
     
  9. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    สัมมาอาชีวะ

    paderm จาก เวปบ้านธัมมะ

    วันที่ 24 พ.ย. 2554 11:37


    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    สภาพธรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้น เกื้อกูล อุปการะกันและกันครับ ซึ่ง สำหรับ คำถามที่
    ถามนั้น เป็นนัยของการอธิบาย อริยมรรค มีองค์ 8 ที่เกื้อกูลอุปการะกันและกันในแต่ละ
    ข้อครับ ซึ่ง อริยมรรคมีองค์ 8 มีดังนี้ครับ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา
    กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิซึ่ง ธรรมแต่ละข้อ เกื้อกูล
    อุปการะกัน ดังนี้เพราะมี สัมมาทิฏฐิ ปัญญา ที่เป็นความเห็นถูก เพราะมีความเห็นถูก
    ทำให้คิดถูกต้อง คือ ทำให้มีสัมมาสังกัปปะที่บริบูรณ์ คือ ความคิดที่ชอบที่ถูกต้อง อัน
    อาศัย ความเห็นถูก คือ สัมมาทิฏฐิ และอาศัยความคิดที่ถูก สัมมาสังกัปปะ ก็ทำให้ วาจา
    ที่พูดก็ถูกต้อง เพราะถ้าคิดผิด คิดด้วย อกุศล วาจาก็ไม่ถูกต้อง วาจาไม่ชอบ วาจาเป็น
    ทุจริตครับ เพราะฉะนั้น อาศัย สัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบ ก็ทำให้มีวาจาชอบ และ
    เพราะอาศัยวาจาชอบ การกระทำทางกาย ที่เป็นกายสุจริต ก็ย่อมน้อมไปตามวาจาที่ถูก
    ต้องด้วยครับ สัมมาวาจา จึงเป็นปัจจัย อุปการะแก่สัมมากัมมันตะ และต่อไป คือ สัมมา
    อาชีวะ การกระทำการงานที่ชอบ คือ ไม่กระทำการงานที่ไม่ดี งดเว้นจากการงานที่ไม่ดี
    เช่น งดเว้นจากอาชีพที่ไม่ควรประกอบ เป็นต้น ขณะนั้น เป็นสัมมาอาชีวะ เพราะงดเว้น
    จาก กายทุจริตและวจีทุจริต งดเว้นจากวาจาที่ไม่ดี การกระทำทางกายที่ไม่ดี คือ มี
    สัมมาวาจา และสัมมกัมมันตะ ย่อมทำให้ถึง สัมมาอาชีวะ ที่บริบูรณ์ เพราะ สัมมาอาชีวะ
    ในที่นี้ พระไตรปิฎก อธิบาย ถึง สัมมาอาชีวะ ที่เป็น อาชีวัฏฐมกศีล คือ ศีลมีอาชีพเป็นที่
    ๘ คือ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักทรัพย์ ๓. เว้นจากการพูดเท็จ ๔. เว้น
    จากการพูดส่อเสียด ๕. เว้นจากการพูดคำหยาบ ๖. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๗. เว้นจาก
    การประพฤติผิดในกาม ๘. เว้นจากอาชีพที่ผิด
    จะเห็นนะครับว่า จะถึงความบริบูรณ์แห่ง สัมมาอาชีวะ ที่เป็นอาชีวัฏฐมกศีล คือศีลมี
    อาชีพเป็นที่ ๘ ก็ต้องงดเว้นจากการกระทำทางกายและวาจาที่ไม่ดีก่อนครับ และงดเว้น
    จากอาชีพที่ไม่ดี เป็น สัมมาอาชีวะ เพราะอาศัยการงดเว้น กาย วาจาที่ไดี ทุจริต ย่อมถึง
    ความบริบูรณ์แห่ง สัมมาอาชีวะ โดยนัยนี้ครับ
    อีกนัยหนึ่ง สัมมาอาชีวะก็คือ การเลี้ยงชีพชอบ หมายถึง วิรตีเจตสิกดวงหนึ่งที่ทำกิจ
    ให้เกิดการงดเว้นจากมิจฉาชีพซึ่งเป็นไปทางกายหรือวาจาที่ทุจริต เช่น ขณะที่งดเว้นใน
    การประกอบอาชีพที่ไม่ดี ซึ่ง อาชีพที่ไม่ดี ก็ต้องเนื่องด้วยกายและวาจา ขณะที่ไม่ฆ่าสัตว์
    อันเนื่องด้วยอาชีพ ก็เป็นผู้งดเว้นจากกายทุจริต มีการฆ่าสัตว์ในขณะนั้น และมาประกอบ
    อาชีพที่สุจริต งดเว้น จากวาจาที่โกหก เช่น เป็นแม่ค้า แต่งดเว้นที่จะโกหก อันเป็นไป
    เพื่อประกอบอาชีพสุจริต ก็งดเว้น วาจาที่ไม่ดี และดำรงอยู่ในสัมมาอาชีะ ครับ ดังนั้น ถ้า
    กายทุจริต วาจาทุจริตอยู่ ย่อมไม่ถึง ความเป็นสัมมาอาชีวะที่บริบูรณ์ได้ แต่เพราะงดเว้น
    กายวาจาที่ไม่ดี ย่อมถึง สัมมาอาชีวะได้ ตามเหตุผล 2 ข้อข้างต้นที่กล่าวมาครับ
    อนึ่ง เพราะชนทั้งหลายจัดแจงการงานด้วยวาจาก่อนว่า เราจักทำสิ่งนี้ ๆ แล้วจึง
    ประกอบการงานในโลก ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมากัมมันตะไว้ในลำดับของ
    สัมมาวาจา เพราะวาจาเป็นอุปการะแก่การทำงานทางกาย.
    ก็เพราะอาชีวมัฏฐมกศีล - ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ ย่อมบริบูรณ์แก่ผู้ละวจีทุจริต ๔
    อย่าง กายทุจริต ๓ อย่าง แล้วบำเพ็ญสุจริตทั้งสองไม่บริบูรณ์แก่ผู้บำเพ็ญนอกไป
    จากนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาอาชีวะไว้ในลำดับต่อจากทั้งสองนั้น.
    ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ......
    อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
     
  10. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อือ ! ยากเน๊อะตัวเองก็ไม่เคยได้เหมือนกันแต่อาศัยหลักวิชาการตามที่ได้ศึกษามา
    ก็คงมีทางเดียวก็คือเจริญวิปัสสากรรมฐาน ยึดหลักสติปัฏฐาน ๔
    โดยอาศัยนามรูปเป็นอารมณ์จนแยกรูปแยกนามเป็นสมุจเฉท

    คือญานที่ ๑ จนถึงญานที่ ๔ คืออุทยัพพยญาน วิปัสสนูกิเลสจะเกิดขึ้น เมื่อผ่านวิปัสสนูกิเลสได้
    จนถึงญานที่ ๑๑ สังขารุเปกขาญาน หรือเรียกว่าวุฎฐาคามินี เป็นที่ละสังโยชน์ตามกำลัง
    เป็นการอนุโลมเข้าสู่โคตรภูญาน มรรคญาณ จึงเกิดขึ้นเรียกว่ามรรคสมังคีย์จึงเกิดขึ้น
    แต่ขณะมรรคสมังคีย์เป็นไปชั่ว ๑ ขณะจิตเดียวแล้วก็ดับ ที่เรียกว่าเหมือนสายฟ้าแลบนั่นแหละ ผลญาณจึงเกิดขึ้น

    อะๆ พูดดูเหมือนง่าย แต่ทำจริงมันคงยากแหระ เอาเท่านี้แล้วกันกลัวพลาด
    ไม่กล้าอธิบายมากไปเอาพอเป็นหอมปากหอมคอรอผู้รู้ก็แล้วกัน อิอิ ไปหระ กลัวฟ้าผ่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2012
  11. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    กราบอนุโมทนา สาธุค่ะอาแปะ
    พูดเหมือนง่าย จริงอย่างที่สุดเลยค่ะ เกิดยากมาก
    อยู่ที่การฝึก ฝึกให้ถูก ให้ได้มาก

    มรรคสมังคีเหมือนสายฟ้าแลบ ทันกันกับอกุศล
    แปลกนะคะ อกุศลไม่ต้องฝึกเลย เวลาเห็นอะไรไม่ถูกใจนี่
    จี๊ดเลย ไวมาก ไวดุจสายฟ้าแลบ แลบได้ทั้งวันด้วย
     
  12. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    อรรถที่เป็นลักษณะของจิตประการท<wbr>ี่ ๓ ที่ว่า ชื่อว่าจิต เพราะเป็น

    ธรรมชาติอันกรรมกิเลสสั่งสมวิบา<wbr>ก


    แสดงให้เห็นว่าในชีวิตตามความเป<wbr>็นจริง

    บางขณะก็เป็นกิเลส บางขณะก็เป็นกรรม


    บางขณะก็เป็นวิบาก ซึ่งถ้าเข้าใจ

    ชัดในเรื่องวิถีจิต ก็จะเป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้นพิ<wbr>จารณารู้ว่า


    ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ


    และคิดนึกนั้น ขณะใดเป็นกิเลส ขณะใดเป็นกรรม และ

    ขณะใดเป็นวิบาก เช่น ขณะที่เห็น :

    ปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่ใช่วิบากจิต

    จักขุวิญญาณ เป็นวิบากจิต

    สัมปฏิจฉันนะ เป็นวิบากจิต

    สันตีรณะ เป็นวิบากจิต

    โวฏฐัพพนะ ไม่ใช่วิบากจิต

    ชวนะ ไม่ใช่วิบากจิต

    ตทาลัมพนะ เป็นวิบากจิต


    จาก เวปบ้านธัมมะ
     
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนาจิตมหากุศลนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...