ทุกข์ และ สมุทัย เป็นยังไง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสิงห์, 13 มีนาคม 2012.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    แจ่มเลยครับป๋า:cool:
     
  2. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    น้าปราบ

    จิตเป็นทุกข์ หรือ สมุทัย
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เอาไว้ ให้เจ่หลง เข้าไปเห็นการพ้นเจตนาให้ได้บ่อยๆก่อน

    เพียรเข้า
     
  4. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ไม่คิดว่า ขณะที่คิดว่าพ้นเจนนา ขณะนั้นเจตนาเกิดแล้วบ้างหรอ

    ตกลง จิต เป็นทุกข์ หรือ สมุทัย
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไม่ตอบหรอก
    จนกว่าเจ่หลง ไปเจอสภาวะแบบนั้น
    ด้วยอาการ ใสใจในวิธีของเจ่หลงน่ะละ

    สู้ๆ :cool:
     
  6. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ทำไมไปคิดว่า ผู้นี้ไม่ประกอบความเพียร ผู้นี้รู้ไม่เท่าเราล่ะครับ

    หลงผิด ผุดคิดว่าพ้นเจตนาอยู่รึเปล่า ฟังคุณปุณฑ์บ้างก็ดีนะครับ (k)(k)
     
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    <CENTER>สัจจวาร
    </CENTER>[๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ
    แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ
    สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน
    เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?
    ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน
    เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ
    วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ-
    *คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุ
    เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ
    เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2012
  8. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม

    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส</center> <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="darkblue">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>อชิตมาณวกปัญหานิทเทส </center><center>ว่าด้วยปัญหาของท่านอชิตะ </center>

    [๙๙] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค) ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มีฉันทะร่วมกัน มีประโยคร่วมกัน มีความประสงค์ร่วมกัน มีความอบรมวาสนาร่วมกัน กับอชิตพราหมณ์นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. และจิตของอชิตพราหมณ์ นั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่น น้ำ ผม และหนวดของอชิตพราหมณ์หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัต. อชิตพราหมณ์ นั้น เป็นภิกษุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร เพราะการปฏิบัติตาม ประโยชน์ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี- *พระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้. <center>จบ อชิตมาณวกปัญหานิสเทสที่ ๑.
    __________________________________________________________
    <center>
    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส</center> <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="darkblue">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>ปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทส </center><center>ว่าด้วยปัญหาของท่านปิงคิยะ </center>

    [๕๓๑] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุอันปราศจากกิเลสธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่สัตว์หลายพันผู้มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน มีประโยคเป็นอันเดียวกัน มีความประสงค์ เป็นอันเดียวกัน มีการอบรมวาสนาเป็นอันเดียวกัน กับปิงคิยพราหมณ์นั้น ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. ส่วนปิงคิยพราหมณ์นั้น มีธรรมจักษุ (อนาคามิมรรค) อันปราศจากกิเลสธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. หนังเสือ ชฎา ผ้า. คากรอง ไม้เท้า เต้าน้ำ ผมและหนวดหายไปแล้ว พร้อมกับการได้ธรรมจักษุ. พระปิงคิยะนั้น เป็นภิกษุทรงผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ทำความเคารพด้วยการปฏิบัติเป็นไป ตามประโยชน์ นั่งนมัสการ พระผู้มีพระภาคประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค เป็นพระศาสดาของข้าพระองค์, ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล. <center>จบ ปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖.
    __________________________________________________________________
    </center>
    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑</center> <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="darkblue">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร </center><center>ปฐมเทศนา

    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.........
    .......ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อ ของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้. <center>________________________________________________________________
    __

    [​IMG]<center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑</center> <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="darkblue">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา </center><center>พระอัสสชิเถระ </center>

    <center>พระอัสสชิเถระแสดงธรรม </center> [๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:- ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม เหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้. <center>สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม </center> [๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่ สารีบุตรปริพาชก</center>
    _______________________________________________________________
    [​IMG]<center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑</center> <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="darkblue">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา </center><center>พระอัสสชิเถระ </center>


    โมค. ท่านบรรลุอมตธรรมได้อย่างไร ด้วยวิธีไร? สา. ผู้มีอายุ วันนี้เราได้เห็นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ มี มรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว เหยียดแขน คู้แขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึง พร้อมด้วยอิริยาบถ ครั้นแล้วเราได้มีความดำริว่า บรรดาพระอรหันต์หรือท่านผู้ได้บรรลุอรหัตมรรค ในโลก ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า ท่าน บวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร เรานั้นได้ยั้งคิดว่า ยัง เป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้ เพราะท่านยังกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้น เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลังๆ เพราะเป็นทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ ลำดับ นั้น พระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไปแล้ว ต่อมา เราได้เข้า ไปหาพระอัสสชิ ครั้นถึงแล้ว ได้พูดปราศรัยกับพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็น ที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เรายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้ต่อพระอัสสชิว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ? พระอัสสชิตอบว่า มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตรเสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล เรา บวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเรา ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า ก็พระศาสดาของ ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร? พระอัสสชิตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมา สู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ เรา ได้เรียนว่า น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการ ใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม. [๖๘] ผู้มีอายุ ครั้งนั้น พระอัสสชิได้กล่าวธรรมปริยายนี้ ว่าดังนี้:- ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุ แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้. <center>โมคคัลลานปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม </center> [๖๙] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่ โมคคัลลานปริพาชก
    _____________________________________________________________


    คำว่า ธรรมจักษุ หรือ ดวงตาเห็นธรรม มีความหมายถึง การบรรลุธรรม
    โดยอาจเป็นการบรรลุจาก ปุถุชน เป็น พระโสดาบัน
    หรือจาก พระโสดาบัน เป็น พระสกิทาคามี
    หรือจาก พระสกิทาคามี เป็น พระอนาคามี
    หรือการบรรลุ เป็น พระอรหันต์
    ในความหมายหลักคือได้รู้ธรรมแจ้งในธรรมขั้นนั้นๆแล้ว

    </center>
    </center></center>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2013
  9. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574

    -คือว่าแบบนี้เรื่อง ทุกข์ ที่เขาเจอ แต่เเรกเดินผ่านร้านขายรถผ่านไปผ่านมาก็ไม่เป็น ทุกข์ พอนึกคิดขึ้นว่าอยากได้ รถ จังชื้อดีกว่า(นี้ทุกข์แบบละเอียดจะเอาทุกข์เข้ามาโดยไม่รู้)ทั้งที่รถยังไม่ชื้อมา(ยังไม่เป็นของเรา) พอชื้อมาแล้วเกิด อัตตา ขึ้นที่รถทันที่(นี้ทุกข์อย่างกลาง)นั้งอยู่ในบ้านรถจอดแตกแดดก็คิดว่ารถร้อน หาที่จอด พอดีเดินไปเห็น หมา กำลังฉี่ใส่ล้อรถ ไล่เลยครับ ไล่เตะตี หมา(นี้ทุกข์อย่างหยาบ)นี้คือ ทุกข์ ที่อยู่ภายนอกแต่เอามา ทุกข์ ข้างใน ส่วนทุกข์ ภายในนั้นคงจะเห็นยากอยู่ เพราะทุกข์ภายนอกก็ยังไม่เห็น
     
  10. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    ทุกข์ และ สมุทัย เป้นยังไง

    ณ ที่แห่งหนึ่ง แต่ แห่งใดนั้น เราไม่ทราบ
    ชายคนหนึ่ง กำลังเดิน เล่น อยู่ที่ หน้าบ้าน
    เขามองเห็น ชายคนหนึ่ง กำลัง นั่งร้องให้อยู่
    เขาสงสัยว่า ชายคนนั้นที่เขาเห็นอยู่ ร้องให้ทำไม
    เขา จึงเข้าไปถามชายคนดังกล่าว ว่า คุณ ร้องไห้ทำไม
    เขาบอก ว่า รถของเขาหายไป เขาเสียใจมาก เขาไม่รู้จะทำยัง เขาจึงได้แต่ของให้

    เราจึงเกิดความสงสัยขึ้นว่าเหตุใดเขาจึง ต้อง ร้องไห้เพราะ รถหายไปด้วย
    ชายคนนั้นกำลังร้องไห้ กำลังทุกข์อยู่เพราเหตุใด

    ชายคนที่สงสัยนั้นก็เก็บความสงสัยนั้นไว้ในใจ........
    จนวันหนึ่งเขามีโอกาศได้ฝึกการเจริญสติ
    เขาก็เกิดเข้าใจข้นมาเองว่า ที่ผู้ชายคนนั้นเขาร้องไห้เพราะรถเขาหายไปนั้น

    เพราะความคิด คือเขาคิดว่ารถคันนั้นคือรถของเขา มันเป็นของเขา
    แต่เมื่อเขาศูยน์เสียมันไป เขาจึงร้องให้ นั้นเพราะเขาเชื่อในความคิด นั้นเพราะเขายึดมั้นในความคิด

    ดังนั้นความคิดนั้น คือ ทุกข์

    การเข้าไปยึดมั้นถือมั้นในความคิดนั้นแหล่ะ คือ เหตุแห่งทุกข์ จบครับ....
     
  11. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณเมขลาช่างแต่งกลอนเก่ง........คงจะเคร่งในเรื่องตัวอักษร

    จึงได้มาบอกกล่าวด้วยคำกลอน........เป็นคำสอนที่เตือนจิตให้จดจำ

    สาธุครับ
     
  12. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    ตอบ
    เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี
    เมื่อสิ่งนี้ปรากฏ สิ่งนั้นจึงปรากฏ
    เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ
    เมือนี้ไม่ปรากฏ สิ่งนั้นจึงไม่ปรากฏ

    ไม่มีผู้คิด หรอกหน่า มีแต่ รู้ ครับ

    เวลาไม่ค่อยมี เท่านี้ก่อนนะ อาจจะดิบไปหน่อยนะ
     
  13. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ยินดีครับ

    เห็นอะไรเรียกว่าเห็นธรรมครับ
     
  14. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ความคิดคือเหตุแห่งทุกข์ ชัวร์รึเปล่าครับ

    ปัญญา ๓ สุตยปัญญา จิตามยปัญญา ภาวนาปัญญาเป็นเหตุแห่งทุกข์ด้วยรึเปล่าครับ
     
  15. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เคยเห็นปลาดิ้นติดแหไหมล่ะท่าน
     
  16. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    จอมกวีศรีสยามยามอักษร
    คมอมรพริ้งพรายสยายขาม
    สบัดพริ้วครามสอนชนชมงาม
    ยืนนานสู้สูงฟ้าวาจาจริง

    ขอบคุณกลอนเพราะครับ
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    อุปาทานในเบญจขันธิ์ ก็เป้นทุกข์....เหตุปัจจัยของเบญจขันธิ์ก็เป็นทุกข์...แม้ตัวเบญจขันธิ์เองก้เป็นทุกข์.....(ไม่ใช่สมุทัย แต่เป็นทุกข์):cool:
     
  18. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    แล้วควรทำยังไงดีครับ

    ไม่ต้องไปคิดมัน คงทำไม่ได้ เพราะเห็นทีไรช้ำใจทุกที
    แต่ตอนนี้ทำสีใหม่สบายใจขึ้นเยอะ ได้เสียตังค์
     
  19. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ทุกอย่างเป็นทุกข์ หมดเลยใช่ไหมครับ
    เหตุเกิดทุกข์อยู่ตรงไหน
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น ภิกษุทั้งหลาย สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไร และตัวอุปาทานเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น นั้นคือ ตัวอุปาทาน ในรูปนั้น..................ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป้นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใดเข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น ฉันทะราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในเวทนานั้น............................ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใดเข้าไปมีอยู่ ในสัญญานั้น ฉันทะราคะนั้น คือ ตัวอุปาทานในสัญญานั้น......................ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เป้นสิ่งวึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสังขารเหล่านั้น ฉันทะราคะนั้นคือ ตัวอุปาทาน ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น......................ภิกษุทั้งหลาย วิญญาน เป็นสิ่งวึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใดเข้าไปมีอยู่ใน วิญญานนั้น ฉันทะราคะนั้นคือ ตัวอุปาทาน ในวิญญานนั้น...............ภิกาุทั้งหลาย ขันธิ์เหล่านี้เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะนั้น เรียกว่า ตัวอุปาทานแล---ขนธ.สํ.17/202/309.:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...