คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย JitJailove, 14 มีนาคม 2012.

  1. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    <table class="contentpaneopen"><tbody><tr><td class="contentheading" width="100%">คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘ </td><td class="buttonheading" align="right" width="100%"> [​IMG] </td><td class="buttonheading" align="right" width="100%"> [​IMG] </td></tr> </tbody></table> <table style="page-break-after: avoid; width: 100%;" border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><colgroup><col width="128*"></colgroup><colgroup><col width="128*"> </colgroup> <tbody> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๓๕. ปณฺฑุปลาโสวทานิสิ,
    ยมปุริสาปิ จ เต อุปฏฺฐิตา,
    อุยฺโยคมุเข จ ติฏฺฐสิ,

    ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติ. (๑๘:๑)

    </td> <td width="50%"> บัดนี้ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง อนึ่ง
    แม้บุรุษของพระยายมก็ปรากฏแก่ท่านแล้ว
    ท่านตั้งอยู่ในปากแห่งความเสื่อม
    และเสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๓๖.
    โส กโรหิ ทีปมตฺตโน
    ,
    ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว
    ,
    นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ,
    ทิพฺพํ อริยภูมึ อุเปหิสิ
    . (๑๘:๒)
    </td> <td width="50%"> ท่านจงทำที่พึงแก่ตน
    จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
    ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว
    ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
    จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๓๗.
    อุปนีตวโย ว ทานิสิ
    ,
    สมฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติกํ
    ,
    วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา,
    ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติ
    . (๑๘:๓)
    </td> <td width="50%"> บัดนี้ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว
    เตรียมจะไปยังสำนักของพระยายม
    อนึ่ง ที่พักในระหว่างของท่านก็ยังไม่มี
    และเสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๓๘.
    โส กโรหิ ทีปมตฺตโน
    ,
    ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว
    ,
    นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ,
    น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ
    . (๑๘:๔)
    </td> <td width="50%"> ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน
    จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
    ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว
    ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
    จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๓๙.
    อนุปุพฺเพน เมธาวี
    , โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ,
    กมฺมาโร รชตสฺเสว, นิทฺธเม มลมตฺตโน. (๑๘:๕)
    </td> <td width="50%"> นักปราชญ์ทำกุศลทีละน้อยๆ ในขณะๆ
    พึงขจัดมลทินของตนออกได้โดยลำดับ
    เหมือนช่างทองขจัดมลทินของทอง ฉะนั้น.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๐.
    อยสา ว มลํ สมุฏฺฐิตํ
    ,
    ตทุฏฺฐาย ตเมว ขาทติ
    ,
    เอวํ อติโธนจารินํ,
    สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ
    . (๑๘:๖)
    </td> <td width="50%"> สนิมเกิดขึ้นแต่เหล็กเอง ครั้นเกิดขึ้น
    แต่เหล็กนั้นแล้ว ย่อมกัดเหล็กนั้นแหละ ฉันใด
    กรรมของตนย่อมนำบุคคลผู้มัก
    ประพฤติล่วงปัญญาชื่อโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้น.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๑.
    อสชฺฌายมลา มนฺตา
    , อนุฏฺฐานมลา ฆรา,
    มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ, ปมาโท รกฺขโต มลํ. (๑๘:๗)
    </td> <td width="50%"> มนต์มีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
    เรือนมีการไม่หมั่นเป็นมลทิน
    ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ
    ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๒.
    มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
    , มจฺเฉรํ ททโต มลํ,
    มลา เว ปาปกา ธมฺมา, อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ. (๑๘:๘)
    </td> <td width="50%"> ความประพฤติชั่วเป็นมลทินหญิง
    ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้
    ธรรมทั้งหลายที่ลามกเป็นมลทินแท้
    ทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๓.
    ตโต มลา มลตรํ
    , อวิชฺชา ปรมํ มลํ,
    เอตํ มลํ ปหตฺวาน, นิมฺมลา โหถ ภิกฺขโว. (๑๘:๙)
    </td> <td width="50%"> เราจะบอกมลทินกว่ามลทินนั้น
    คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
    ละมลทินนี้เสียแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีมลทินเถิด.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๔.
    สุชีวํ อหิริเกน
    , กากสูเรน ธํสินา,
    ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน, สงฺกิลิฏฺเฐน ชีวิตํ. (๑๘:๑๐)
    </td> <td width="50%"> บุคคลผู้ไม่มีหิริกล้าเพียงดังกา มักขจัด มักแล่นไป ผู้คะนอง เป็นผู้เศร้าหมองเป็นอยู่ง่าย.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๕.
    หิรีมตา จ ทุชฺชีวํ
    , นิจฺจํ สุจิคเวสินา,
    อลีเนนาปคพฺเภน, สุทฺธาชีเวน ปสฺสตา. (๑๘:๑๑)
    </td> <td width="50%"> ส่วนบุคคลผู้มีหิริ มีปกติแสวงหา
    ความสะอาดเป็นนิตย์ ไม่หดหู่ ไม่คะนอง
    มีอาชีวะหมดจดเห็นอยู่เป็นอยู่ยาก.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๖.
    โย ปาณมติมาเปติ
    , มุสาวาทญฺจ ภาสติ,
    โลเก อทินฺนํ อาทิยติ, ปรทารญฺจ คจฺฉติ. (๑๘:๑๒)
    </td> <td width="50%"> นรชนใดย่อมล้างผลาญสัตว์มีชีวิต
    ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในโลก
    คบหาภริยาคนอื่น กล่าวคำเท็จ.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๗.
    สุราเมรยปานญฺจ
    , โย นโร อนุยุญฺชติ,
    อิเธวเมโส โลกสฺมึ, มูลํ ขนติ อตฺตโน. (๑๘:๑๓)
    </td> <td width="50%"> และประกอบการดื่มสุราเมรัยเนืองๆ
    นรชนนี้ย่อมขุดทรัพย์อันเป็นต้นทุนของตนในโลกนี้แล.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๘.
    เอวํ โภ ปุริส ชานาหิ
    , ปาปธมฺมา อสญฺญตา,
    มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ, จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํ. (๑๘:๑๔)
    </td> <td width="50%"> ดูกรบุรุษผู้เจริญท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
    บาปธรรมทั้งหลายอันบุคคลไม่สำรวมแล้ว
    ความโลภและสภาวะมิใช่ธรรม
    อย่าพึงย่ำยีท่านเพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๔๙.
    ททาติ เว ยถาสทฺธํ
    , ยถาปสาทนํ ชโน,
    ตตฺถ โย มงฺกุโต โหติ, ปเรสํ ปานโภชเน,
    น โส ทิวา วา รตฺตึ วา สมาธึ อธิคจฺฉติ. (๑๘:๑๕)
    </td> <td width="50%"> ชนย่อมให้ตามศรัทธาตามความเลื่อมใสโดยแท้
    บุคคลใดย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำและข้าว
    ของชนเหล่าอื่นนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิ
    ในกลางวันหรือกลางคืน.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๕๐.
    ยสฺสเจตํ สมุจฺฉินฺนํ
    , มูลฆจฺฉํ สมูหตํ,
    ส เว ทิวา วา รตฺตึ วา สมาธึ อธิคจฺฉติ. (๑๘:๑๖)
    </td> <td width="50%"> ส่วนผู้ใดตัดความเป็นผู้เก้อเขินนี้ได้ขาด
    ถอนขึ้นให้รากขาดแล้ว ผู้นั้นแลย่อมบรรลุสมาธิ
    ในกลางวันหรือกลางคืน.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๕๑.
    นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
    , นตฺถิ โทสสโม คโห,
    นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ, นตฺถิ ตณฺหาสมา นที. (๑๘:๑๗)
    </td> <td width="50%"> ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี
    ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๕๒.
    สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ
    , อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ,
    ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ, โอปุนาติ ยถาภุสํ,
    อตฺตโน ปน ฉาเทติ, กลึว กิตวา สโฐ. (๑๘:๑๘)
    </td> <td width="50%"> โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย
    ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก
    เพราะว่าบุคคลนั้นย่อมโปรยโทษของคนอื่น
    ดุจบุคคลโปรยแกลบ แต่ปกปิดโทษของตนไว้
    เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพด้วยกิ่งไม้ ฉะนั้น.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๕๓.
    ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส
    , นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน,
    อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ, อารา โส อาสวกฺขยา. (๑๘:๑๙)
    </td> <td width="50%"> อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคล
    ผู้ตามเพ่งโทษผู้อื่น มีความสำคัญ
    ในการยกโทษเป็นนิตย์ บุคคลนั้นเป็น
    ผู้ไกลจากความสิ้นอาสวะ.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๕๔.
    อากาเสว ปทํ นตฺถิ
    , สมโณ นตฺถิ พาหิโร,
    ปปญฺจาภิรตา ปชา, นิปฺปปญฺจา ตถาคตา. (๑๘:๒๐)
    </td> <td width="50%"> สมณะภายนอกไม่มี
    ดังรอยเท้าไม่มีในอากาศ ฉะนั้น
    หมู่สัตว์ยินดีแล้วในธรรมเครื่องยัง
    สัตว์ให้เนิ่นช้า พระตถาคตทั้งหลาย
    ไม่มีธรรมเครื่องยังสัตว์ให้เนิ่นช้า.
    </td> </tr> <tr valign="TOP"> <td width="50%"> ๒๕๕.
    อากาเสว ปทํ นตฺถิ
    , สมโณ นตฺถิ พาหิเร.
    สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ, นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ. (๑๘:๒๑)

    มลวคฺโค อฏฺฐารสโม นิฏฺฐิโต.

    </td> <td width="50%"> สมณะภายนอกไม่มี ดังรอยเท้าไม่มีในอากาศฉะนั้น
    สังขารทั้งหลายเที่ยงไม่มี กิเลสชาติเครื่อง
    ยังสัตว์ให้หวั่นไหวไม่มีแก่พระพุทธเจ้า.

    จบมลวรรคที่ ๑๘


    จากเวป
    http://palipage.com/jm/index.php?option=com_content&view=article&id=471:dhammapada-vagga18&catid=3:newsflash&Itemid=183
    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2012
  2. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    สาธุครับ กำลังสะสมเสบียง กำลังกระทำที่พึ่ง
    มีศีลเป็นเกราะ เป็นที่พึ่ง เป็นบาท เป็นเบื้องต้น
    ย่อมพ้นจากสายตาของพยายม ที่คอยตั้งด่านซักถาม
     
  3. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ขอบคุณครับ
     
  4. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +1,073
    "เทวทูตสูตร" :cool:

    ตามประวัติมีอยู่ ท่านหนึ่ง ไม่ต้องผ่านด่านพยายม

    ที่ว่าให้พระมาสวด สติปัฏฐานสูตร ให้ฟัง ก่อนที่จะสิ้นชีวิต

    มีเทวดาทุกชั้นพร้อมด้วยรถม้าสินธพต่างมารอรับ

    โยนพวงมาลัยไปคล้อง เลือกภูมิสุคติได้เลย

    คือท่าน "ธรรมิกอุบาสก"
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ยกเอาต่อจาก คุณหม้อหุงข้าว...!
    23 อานิสงส์การฟังธรรม
    ......ในพระนครสาวัตถี มีธรรมมิกอุบาสก คนหนึ่งมีธิดาเจ็ดคน ซึ่งทั้งบุตรและธิดาก็ขวนขวายใน
    การให้ทาน มีการถวายสลากยาคู สลากภัตต์ ปักขิกภัตต์ อุโปสถิกภัตต์ อาคันตุกภัตต์ คนละอย่างกัน
    บุตรธิดาเหล่านั้น จึงได้ชื่อว่าอนุชาตบุตร ด้วยกันทั้งนั้น
    ครั้นต่อมาวันหนึ่งธรรมมิกอุบาสก ได้ป่วยเป็นไข้ขึ้น อายุและสังขารก็ถอยลง มีความประสงค์
    จะฟังธรรมจึงส่งสาส์นไปยังสำนักพระศาสดาขอให้พระองค์จัดส่งภิกษุสักแปดรูปหรือสิบหกรูป
    พระศาสดาก็ทรงส่งภิกษุไปแล้ว ธรรมมิกอุบาสกก็พูดว่าท่านเจ้าขา การที่เห็นพระผู้เป็นทั้งหลาย
    ข้าพเจ้าหาได้ยากมาก เพราะข้าพเจ้ามีกำลังน้อย ดังนั้นขอท่านพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย
    จงสวดพระสูตรหนึ่งเถิด พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายก็สวดพระสูตรสติปัฏฐานให้ธรรมมิกอุบาสกฟัง
    ทันใดนั้น รถหกคันประมาณร้อยห้าสิบโยชน์ประดับด้วยเครื่องอลังการครบทุกอย่างเทียมด้วย
    ม้าสินธพ หนึ่งพันได้แล่นมาแต่เทวโลกทั้งหกชั้น พวกเทวดาผู้ประจำรถก็กล่าวกันว่า พวกข้าพเจ้าจัก
    นำไปสู่เทวโลกของพวกข้าพเจ้า ธรรมมิกอุบาสก ไม่ปรารถนาอันตรายแก่การฟังธรรมจึงกล่าวว่ารอ
    ก่อนดังนั้นภิกษุทั้งหลายก็พากันนิ่งเสีย ด้วยเข้าใจว่าธรรมมิกอุบาสกบอกให้หยุด บุตรและธิดาก็พากัน
    ร้องไห้ว่าบิดาของตน เมื่อก่อนนี้เป็นผู้สนใจการฟังธรรมแต่บัดนี้กลับห้ามไม่ให้ภิกษุสวดด้วย บิดา
    ของเรากลัวตาย ภิกษุทั้งหลายก็พากันกลับสู่สำนักธรรมิกอุบาสก เผลอไปคู่หนึ่ง เมื่อได้สติแล้วถาม
    บุตรว่าเจ้าทั้งหลายค่ำครวญกันทำไม และพระภิกษุไปไหนกันเสียหมดเล่า
    ข้าแต่พ่อ พ่อได้สั่งให้พระภิกษุหยุดสวด แล้วภิกษุทั้งหลายได้กลับไปหมดแล้วพวกฉันมาคิดว่า
    ธรรมดาสัตว์ผู้ไม่กลับความตายย่อมไม่มี
    พ่อไม่ได้พูดกับพระผู้เป็นเจ้า ถ้าเช่นนั้นพ่อพูดกับใคร พ่อบอกกับเทวดาทั้งหลาย ที่เอา
    รถซึ่งประดับมาหกคัน แต่เทวโลกหกชั้น แล้วหยุดอยู่ในอากาศแล้วบอกพ่อกับเทวดาเหล่านั้น
    พ่อจึงบอกให้รอก่อน รอก่อน ดังนี้
    รถอยู่ที่ไหนเล่าพ่อ พวกฉันไม่เห็น
    พ่อจึงถามว่า "ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวงมีบ้างไหม"
    ลูก "มีพ่อ"
    พ่อ "เทวโลกชั้นไหนน่ารื่นรมย์ "
    ลูก"ดุสิตพิภพ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ทุก ๆ พระองค์ น่ารื่นรมย์พ่อ"
    ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงอธิษฐานว่า ขอพวงดอกไม้จงคล้องอยู่ที่รถมาแต่ดุสิตพิภพ แล้วโยน
    พวงดอกไม้ขึ้นไปบุตรทั้งหลายโยนดอกไม้ขึ้นไป พวงดอกไม้ก็คล้องอยู่ที่งอนรถห้อยอยู่ในอากาศ
    มหาชนเห็นพวงดอกไม้นั้นแต่ไม่เห็นรถ อุบาสกพูดว่าพวกเจ้าเห็นดอกไม้อยู่ในอากาศแล้วมิใช่หรือ
    บุตรธิดาทั้งหลายบอกว่าเห็นแล้วจึงบอกว่านั่นแหละ พวงดอกไม้ได้แขวนอยู่ที่รถชั้นดุสิตพ่อจะไปสู่
    ดุสิตพิภพ พวกเจ้าอย่าตกใจไปเลย เมื่อต้องการจะไปบังเกิดในสำนักเดียวกับพ่อ ก็จงทำบุญให้ทาน
    รักษาศีลแล้วฟังธรรมตามโอกาสเวลาสมัย ดังที่เราได้ทำไว้แล้วนั่นแหละครั้นแล้วธรรมมิกอุบาสก
    ก็ทำกาลกิริยาตายไป ไปประดิษฐานอยู่ในรถที่มาแต่ชั้นดุสิตพิภพ มีนางเทพอัปสรพันหนึ่ง แวดล้อม
    วิมานแก้ว ประมาณยี่สิบห้าโยชน์ได้ปรากฏคอยรอรับธรรมมิกอุบาสกนั้น
     
  6. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    กราบอนุโมทนา สาธุค่ะ ลุงหมาน

    อยู่ที่การสั่งสมด้วยว่า ชวนะสั่งสมอะไรมาในแต่ละวันค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...