สงสัยเรื่องผลของการสวดมนต์แต่ละบทครับ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย ปลาแมว, 4 มีนาคม 2012.

  1. ปลาแมว

    ปลาแมว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +797
    คือเท่าที่ผมอ่านมา การสวดมนต์เป็นหนึ่งในกุศโลบายสำหรับการทำสมาธิ ด้วยการสวดซ่้ำ ๆ จนจิตนิ่งรวมเป็นหนึ่ง

    ที่ผมสงสัยคือ ถ้าบทสวดมีหน้าที่แค่นั้น ก็หมายความว่าบทสวดแต่ละบทแม้จะออกเสียงแตกต่างกัน ความยาวแตกต่างกัน ความหมายแตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้ก็น่าจะไม่แตกต่างกัน ถูกมั้ยครับ

    - สมมติว่าสวดบทอิติปิโสตามอายุแล้วบวกหนึ่ง ผลที่ได้ก็คือการที่จิตนิ่งหลังจากสวดไปซักพัก ถูกมั้ยครับ

    - สมมติว่าสวดคาถาเงินล้าน แต่ผู้สวดไม่รู้ความหมายของแต่ละคำ หรืออาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่านั่นเป็นคาถาเงินล้าน ผลของคาถาเงินล้าน (การไม่ขัดสนยากลำบาก) จะเกิดได้อย่างไรครับ มันจะต่างกับบทอิติปิโสอย่างไร ในเมื่อการสวดบทใด ๆ ก็ตาม หากสวดซ้ำ ๆ แล้วจิตก็จะนิ่งเหมือนกันหมด

    - บทสวดเมื่อแปลเป็นไทยแล้ว ก็คือบทพูด ประโยคบอกเล่าอย่างหนึ่ง นั่นหมายความว่าถ้าคนสวดใช้วิธีการสวดภาษาไทย ก็เหมือนการพูดประโยคนึงซ้ำ ๆ กัน ถ้าเป็นอย่างนั้นการสวดมนต์จะต่างกับการพูดจาสื่อสารในชีวิตประจำวันอย่างไรครับ

    - ถ้าเป็นนั้นก็หมายความว่า เราไม่จำเป็นต้องสวดทุกบท (ที่แตกต่างกัน) แต่สามารถเลือกบทใดบทหนึ่งขึ้นมาสวดบทเดียวก็ได้ เพราะผลลัพธ์ที่ได้ไม่แตกต่างกัน ถูกมั้ยครับ

    การตั้งคำถามนี้ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่นะครับ แต่ถามเพราะอยากทราบจริง ๆ ท่านใดที่รู้คำตอบก็ขอความกรุณาชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  2. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011
    ถามน่าสนใจดีครับ
    อย่าลืมเวลาสวดมนต์จริง เราก็ควรวางความลังเลสงสัยพวกนี้ เนื่องจากเป็นนิวรณ์ ถ่วงผลของการสวดครับ

    ผมแลกเปลี่ยนตามความเข้าใจของผมแล้วกันนะครับ
    เปรียบการสวดมนต์ เหมือนเราตักน้ำไปใช้
    โดยแต่ละบทสวดมนต์ เหมือนคุณใช้ภาชนะที่ตักน้ำแตกต่างกัน

    เราจะใช้ภาชนะแบบไหนตักก็ตาม สุดท้่ายเมื่อตักเสร็จ สุดท้ายก็ได้น้ำไปใช้ได้เหมือนกัน
    น้ำที่ได้ก็คือสมาธิ ไม่ว่าจะสวดบทไหน ที่สุดแล้ว ผลคือสมาธิเกิดขึ้น
    ส่วนน้ำที่ได้มา เราจะเอาไปใช้ทำอะไรก็แล้วแต่จุดประสงค์
    ดื่ม อาบ รดน้ำต้นไม้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงต่างกัน
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    ผมขอเข้ามาแบ่งปันความรู้ด้วยคนนะครับ

    การสวดมนต์ของแต่ละบุคคล ย่อมมีที่มาแตกต่างกัน บางท่านอาจจะมาจากศรัทธาจริงๆ บางท่านอาจจะมาจากหมอดูบอกให้สวด บางท่านก็อาจจะมาจากอยากลองของ ถ้าบุคคลผู้นั้นได้กระทำอย่างต่อเนื่อง รู้ความหมายของบทส่วนบ้าง ไม่รู้บ้าง แต่ผลที่ได้ก็คือสมาธิอย่างที่เจ้าของกระทู้กล่าวมา ถ้าเรามีความศรัทธาในคำสอนของพระพุทธองค์ เราก็ควรศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง "ผู้ใดหมั่นศึกษา กระทำอย่างต่อเนื่อง แล้วจะเข้าใจในคำสอนของพระพุทองค์เอง" ผมว่าเจ้าของกระทู้ก็มีความคิดเห็นที่น่าคิดดี ส่วนผม บางทีก็คิดกับตัวเองอยู่เหมือนกัน เกี่ยวกับภาษาบาลีที่คนเก่งๆเค้าคุยกัน ว่าทำไมเราไม่รู้อะไรเลย แต่สุดท้ายผมก็ค้นพบตัวเองเจอ ภาษาบาลีที่เค้าคุยกันถึงเราจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าเรามีจุดยืนในการทำความดี มุ่งสู่ธรรมมะ ผลลัพธ์มันก็คือ สิ่งเดียวกัน ยิ่งฝึกฝนมาก ทำมาก เดี๋ยวจิตเราก็จะบอกเองว่า "นายมาถูกทางแล้ว"

    ผมยกตัวอย่างเรื่องง่ายๆ ของการไปกราบไหว้ตามวัดต่างๆที่มีพระพุทธรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระเกจิอาจารย์ดังๆ เวลาที่ทุกๆคนไปกราบไหว้ จะมีจำนวนผู้ที่มีจิตศรัทธาจำนวนเท่าใด ที่ไปเพื่อนำบุญของตนเองไปให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องและคุ้มครองสถานที่เหล่านั้น หรือผู้ที่รอคอยผลบุญจากผู้ที่มาทำบุญ ส่วนใหญ่ผู้คนที่มากราบไหว้ ก็มาเพื่อที่จะขอ ขอให้กับตนเอง ญาติพี่น้อง ความคิดนี้ผมได้ตอนไปวัดบางนมโค ไปกราบหลวงปู่ปาน และได้คุยกับป้าขายก๋วยเตี๋ยว เกี๋ยวกับเรื่องของต้นตะเคียนสองต้นในวัดบางนมโค ที่มีผู้คนมากราบไหว้ และมาขอกันมากมาย จนของเต็มใต้ต้นตะเคียน ป้าเค้าบอกว่า นั่นยังน้อยนะ เอาไปเก็บไว้ในวัดอีกมากมาย ตะเคียนสองต้นนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก ใครขออะไรก็ได้ทุกอย่าง ก็เลยมีของมาเซ่นไหว้อย่างที่เห็น สำหรับต้นตะเคียนนี้มีมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่ปานยังมีชีวิตอยู่และก็ไม่สามารถตัดได้ เพราะเจ้าของเค้าไม่ยอมให้ตัด (หาอ่านได้ในประวัติหลวงปู่ปานนะครับ)ก็ต้องขอขอบคุณ คุณป้ามากๆเลย ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกสุขใจ เมื่อได้ค้นพบทางของตัวเอง ตราบใดที่ตนเองยังมีความอยาก แม้แต่สักน้อยนิด มันก็จะตามติดเราไปตลอด ถึงแม้ว่าจะขอในสิ่งที่ดีก็ตาม แต่มันก็คือกิเลสอย่างหนึ่งนี่เอง การทำดีทุกอย่าง เราสมควรเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ แล้วจะทำให้จิตของเรานั้นแข็งแกร่งขึ้น

    ขออนุโมทนาบุญ แด่เจ้าของกระทู้และผู้ใฝ่ธรรมมะทุกๆท่าน ด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2012
  4. ปลาแมว

    ปลาแมว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +797
    ขอบคุณสำหรับคำตอบที่มีค่าจริง ๆ จากทั้งสองท่านนะครับ :cool: บวกให้ไปเลย
     
  5. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    นอกจากเป็นการรวมสมาธิแล้ว ยังเป็นการระลึกถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยครับ (รวมสมาธิ ใช้ได้จริงๆ เมื่อก่อนตอนผมเริ่มฝึกสมาธิ ผมก็สังเกตตัวเองได้ว่า สวดมนต์ก่อนทำสมาธิ จิตใจจะนิ่งกว่า)

    ส่วนตัวผมเองนั้น สวดมนต์ เอาไว้สอนตัวเองเป็นหลัก อย่างเช่น บทพาหุง สวดไป ก็ระลึกถึงคำแปลไป ว่า ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าใช้ความดี ชนะได้อย่างไร จะได้เตือนตัวเองไว้เสมอครับ
     
  6. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง สุขอื่นยิ่งกว่าความความสงบไม่มี
    ไม่ต้องสวดยาวก็ได้ แต่ให้สวดมาก ๆ คือสวดคำว่า พุทโธ ๆ ที่ลมหายใจเข้าออก ก็พอ
    แล้วปาฏิหาริย์จะเกิดให้เห็น ถ้าไม่เชื่อก็ทดลองดู แบบต่อเนื่องซัก 1 วัน ฯ


    การสวดมนต์ทุกบทมีค่าเดียวกันคือทำให้เกิดความสงบแห่งจิต ฯ
    สงบอย่างไร สงบจากอะไรน่ะหรือ ?
    สงบ หรือจิตปราศจากกิเลสรบกวนในขณะจิตนั้น ๆ นี่เป็นความดีควรเพิ่มพูนต่อไปอย่างยิ่ง

    ส่วนผลคือสิ่งที่ได้จากการสวดมนต์โดยตรงคือไล่ความเกียจคร้านออกไปได้บ้างตลอดช่วงการสวดมนต์ แม้จะมีความเกียจคร้านอยู่บ้างก็ตาม
    และอานิสงส์คือโลกุตตรธรรมที่จะได้คือฌานใดฌานหนึ่งตามที่จิตสงบ เพราะปราศจากนิวรณ์ คือปราศจากเครื่องกั้นกุศล(นิวรณ์เป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งที่เป็นอกุศล ภาษาพระท่านเรียกว่าอกุศลธรรม, ธรรม แปลว่า สิ่งที่ ก็ได้ )
    บทสวดแต่ละบทนั้นมีความหมายอาจแตกต่างกันไป จึงให้ผลมีอานุภาพต่างกัน เช่นบทสวดต่ออายุ (อุณหิสวิชัย) ก็จะให้ผลไปในทางนั้น บทอื่น ๆ เช่นบท ชยันโต โพธิยา มูเล ฯลฯ ก็จะให้ผลต่างกัน ฯ
    แต่มีอานิสงส์อันเดียวกัน คือความสงบ ทำให้เกิดโลกุตตรสุข(คำว่าอานิสงส์ท่านหมายเอาธรรมะชั้นสูง ๆ ขึ้นไปที่โน้มไปโลกุตตรสุข คือเกิดผลขึ้น เพื่อการละกิเลส เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัดในกามคุณทั้ง5 ท่านไม่ได้มุ่งเอาโลกิยสุขดังที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ)

    ความสงบ เป็นผลดีที่เป็นโลกุตตระ ที่เกิดจากการทำดี(สวดมนต์) เป็นทรัพย์ภายใน ไม่ใช่หาได้ง่าย ๆ
    เงิน-ทอง เป็นของดี ก็พอหาได้บ้าง ถ้าปีวิชาในการประกอบอาชีพนั้น ๆ ก็อาจหาทรัพย์ภายนอกได้ ฯ

    บทสวดมนต์ที่เป็นภาษาอื่น กับภาษาไทย ก็ให้ผลคล้ายกัน ถ้าเรากล่าวด้วยความเลื่อมใส ด้วยความเชื่อมั่น(ศรัทธา) ก็ให้ผลได้เช่นเดียวกัน เช่นเราสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ ว่าองค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน......เป็นต้น เราก็ได้ความสงบใจ ขณะจิตนั้นก็ปราศจากกิเลสอื่น ๆ
    ใช่หรือไม่ ต้องสังเกตให้ดีในแต่ละขณะจิตที่กำลังสวดนั้น เรามีสติอยู่หรือเปล่า ถ้ามีสติก็สวดไม่ผิด เมื่อใดเผลอง่วงหรือหลับในก็สวดผิด ละเมอไป ใช่หรือไม่ ฯ



    เอาเท่าที่จำเป็นก็พอ ความพอทำให้เกิดความสุข ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มีนาคม 2012
  7. ปลาแมว

    ปลาแมว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +797
    ขอบคุณสำหรับคำตอบที่ชัดเจนครับ :cool: บวกไปเลย
     
  8. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ผมว่าผู้สวดจะต้องศรัทธาในบทที่ตัวเองสวดๆจริง ถึงจะจิตรวมเข้าเปนหนึ่ง(ไม่มีสองได้) จิตยึดอยู่กับบทสวดและสวดให้ขึ้นใจ สวดแล้วซึ้งเข้าไปในจิตใจ เชื่อได้เลยว่าผู้ที่สวด ไม่ได้สวดแล้วจิตอย่กับบทสวดตลอดแน่นอน อาจจะแว๊บไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้บ้าง แต่ถ้าพยามไม่ให้คิด แล้วตั้งใจสวด สวดจริงๆจังๆ ก้รับรองว่าเปนหนึ่งแน่นอน ไม่ว่าจะคาถาไหนก้ตาม หากมาทำสมาธิต่อก้เกือบจะเข้าฌานได้เลยว่าอย่างงั้น

    แต่ก้มีอย่างคือเราควรเลือกสวดบทที่ง่ายๆ ใช้เวลาไม่นานมาเปนบทสวดประจำใจเราก่อค่อยไล่ไปหาบทยาก เช่นยอดพระกัณฑ มหาเมตตาใหญ่ โอวาทฯ สิบสองตำนานและก้ที่เปนปริตรๆทั้งหลาย เป็นต้น
     
  9. Sonaz

    Sonaz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    762
    ค่าพลัง:
    +348
    บทไหนผมว่า ก็สวดๆ ไปเถอะ สิ่งที่เราทำ มันก็คือกุศล จะบทไหนก็ได้บุญทั้งนั้น

    ผมว่า ที่ให้ผลที่ต่างกัน ก็คือเนื้อความของคาถา เช่น จะแผ่เมตตา ก็ใช้บทที่เกี่ยวกับแผ่เมตตา ที่มีเนื้อความตามนั้น เช่น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อะไรแบบนี้ละครับ


    จึงได้มีคนบอกไว้ว่า รู้ความหมายของคาถา จึงจะดี สวดบทไหน ก็ให้ระลึกรู้ไปในทุกๆ เนื้อคาถา อย่างผมไม่รู้คำแปลหมดหรอก อย่างน้อย ก็เข้าใจว่า บทนี้ ใช้สรรเสริญ ในคุณทางใด เช่น ชินบัญชร เท่าที่เคยอ่าน จะออกไปในทาง อัญเชิญ พระศาสดา และพระอริยะสาวก และพระสูตรต่างๆ มาประทับ ที่อวัยวะต่างๆ และพระสูตร มาล้อมเป็นตาข่ายจนไม่มีช่องว่าง จึงดีไปในทาง ป้องกันสิ่งไม่ดี กันภัย และขับไล่สิ่งชั่วหลาย ประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้ ถ้าเป็นเมตตาใหญ่ ก็จะดีไปในทาง แผ่เมตตา อะไรแบบนี้ละมั้งครับ

    เคยอ่านเจอว่า คาถา มาจากคำว่า กถา(พิมผิด หรือให้ความหมายผิดประการใด ขออภัยด้วย จำไม่ค่อยได้) ซึ่งแปลว่า ใช้วาจาเป็นสื่อ

    ประมาณนี้ครับ ผิดถูกประการใด ขออภัยด้วยคร้าบ
     
  10. yongyong

    yongyong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +122
    ปฏิบัติธรรม

    [​IMG]
    การสวดมนต์นั้นมีอานิสงส์ดังนี้
    ๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น

    ๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน

    ๓. เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย

    ๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น

    ๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง

    และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า

    ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่า ที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี
    ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ


    เรื่องการสวดมนต์ มีบางแห่งกล่าวถึงเหตุผลของการสวดมนต์ไว้ว่า

    ๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่
    ๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย
    ๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร
    ๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
    ๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน
    ๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้
    ๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง
    ๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน
    ๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์

    และกล่าวถึงประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า...

    ๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
    ๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
    ๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร
    ๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
    ๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
    ๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
    ๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
    ๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
    ๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ

    ********
    อนุโมธนา สาธุ ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...