หัวใจไก่เถื่อน

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย populational2010, 18 มีนาคม 2012.

  1. populational2010

    populational2010 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +62
    เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา ทาสาทิกุ กุตะกุภู ภูกุตะกุฯ

    เป็นคาถาโบราณ ท่านว่าให้ภาวนาทุกๆวัน ให้ได้ ๓ เดือน จะเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่ง ภาวนาครบ ๗ เดือน จะเป็นคนเจ้าปัญญากว่าคนทั่วไป เดินทางให้ภาวนา ๘ คาบตามเวลา จะได้ลาภไม่มีภัย ป้องกันโจรผู้ร้ายดีนักแล
     
  2. supachaipnu

    supachaipnu ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,475
    ค่าพลัง:
    +7,303
    คาถาหัวใจไก่เถื่อน

    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1542.0

    คาถาหัวใจไก่เถื่อน

    เวทาสากุ กุสาทาเว
    ทายะสาตะ ตะสายะทา
    สาสาทิกุ กุทิสาสา
    กุตะกุภู ภูกุตะกุ

    -----------------------------------------------------------------------------------------------

    ผมได้รับโทรศัพท์จากผู้ที่อยู่ในแวดวงเดียวกันท่านหนึ่ง ขอให้ช่วยลง Comment ต่อท้ายบันทึกนี้ แต่ผมอ่านบันทึกต่อท้ายแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์มากในการรู้ที่มาที่ไปของพระ คาถานี้ ผมก็เลยขออนุญาต นำความเห็นนั้นมาเขียนต่อบันทึกให้สมบูรณ์ และถ้าท่านเจ้าของความคิดเห็นมาเยี่ยมและบันทึกความคิดเห็นใหม่แล้วผมก็จะลบ ข้อความนี้ออกไปครับ

    -----------------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อความส่วนนี้มีผู้ให้ความคิดเห็นไว้ครับ​

    พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน (สมเด้จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน)​

    เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว

    ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา

    สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา

    กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

    พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็น พระคาถานำ พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นพระคาถามหาเมตตา ปลดปล่อยสัตว์ และปลดปล่อยจิต ตัวเอง

    พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เกี่ยวเนื่องกับ ไก่ป่ามากมาย และทรงกล่าวกับ พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ว่าไก่ป่านี้ปราดเปรียว คอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว

    เหมือนกับ จิต ของคน ไก่ป่าเชื่องคนยาก เหมือนจิตของคนเรา ก็เชื่องต่ออารมณ์ยากมาก

    เหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็จะไม่กล้า เข้ามาหาคน นานๆเข้า จึงจะกล้าเข้าหาคนเหมือนจิตคนเรา ก็ชอบท่องเที่ยว ไปไกลตามธรรมารมณ์ต่างๆ ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่ พักเดียว ก็เตลิดไป

    ต่อนานๆไป เมื่อจิตชินต่ออารมณ์ดีแล้ว จึงจะเชื่อง และตั้งมั่นเป็นสมาธิ

    พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ถามพระอาจารย์สุก อีกว่า

    "พระคาถาไก่เถื่อน ๔วรรค แต่ละวรรค กลับไป กลับมา เป็นอนุโลม ปฏิโลม หมายถึงอะไร"

    พระอาจารย์สุกตอบว่า

    "แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด

    วรรค ๑ หมายถึง มีลาภ เสื่อมลาภ

    วรรค ๒หมายถึงมียศ เสื่อมยศ

    วรรค๓หมายถึง มีสรรเสริญ ก็มีนินทา

    วรรค๔ หมายถึง มีสุข ก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปรปรวน มีดี และมีชั่ว ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ มีละเอียด"

    ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกองค์คุณแห่ง ไก่ปา ในมิลินท์ปัญหา มาให้พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรืองฟังว่า ผู้ที่จะได้บรรลุมรรด ผล นิพพานต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณแห่ง ไก่ หรือไก่ป่า มี ๕ ประการ ดังนี้คือ

    ๑.เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลง หากิน

    ๒. พอสว่าง ก็บินลง หากิน

    ๓.จะกินอาหาร ก็ใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน

    ๔.กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไรได้ถนัดแต่เวลากลางคืนตาฟางคล้ายคนตาบอด

    ๕. เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน

    นี้เป็นองค์คุณ ๕ ประการของไก่ผู้มุ่งมรรค ผล ต้องประกอบให้ได้ กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับองค์คุณเหล่านี้คือ

    ๑. เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่ และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ไว้ให้เรียบร้อย อาบน้ำชำระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ ปูชณียวัตถุ และวัฒบุคคล

    ๒.ครั้นสว่างแล้ว จึงกระทำการหาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่แห่งเพศของตน

    ๓. พิจารณาก่อนแล้ว จึงบริโภคอาหาร ดังพุทธภาษิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจารณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร แล้วไม่มัวเมา มุ่งแต่จะทรงชีวิตไว้ เพื่อทำประโยชน์สุข แก่ตน และผู้อื่น

    ๔. ตาไม่บอด ก็พึงทำเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดี ยินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดี ก็พึง ทำเป็นเหมือนคนตาบอด มีหูได้ยิน ก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ ก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้ มีกำลังก็พึง เป็นเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น

    ๕. จะทำ จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่งไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้จะบรรลุ มรรด ผล นิพพาน

    พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง จึงกล่าวกับพระอาจารย์สุกฯ ว่า

    "ดีนัก ดีนักแล และพระอริยเถราจารย์ ได้กล่าวอีกว่า ตามตำนาน เมืองเหนือ กล่าวถึงอุปเท่ห์ พระคาถาไก่เถื่อน ไว้ว่าพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ผู้ใดภาวนาได้สามเดือน ทุกๆวันอย่าให้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญา ดังพระพุทธโฆษาฯ"

    และไก่ป่านี้ ขันขานเพราะนัก ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ให้สวดสามจบ จะไปเทศ ไปสวด ไปร้อง หรือเจรจา สิ่งใดๆดีนัก มีตะบะเคชะนัก

    ถ้าแม้สวดได้เจ็ดเดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนไก่ป่า รู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น

    ถ้าสวดครบหนึ่งปี มีตะบะเดชะยิ่งกว่าคนทั้งหลาย

    แม้จะเดินทางไกล ให้สวดแปดจบ เหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลาย

    ให้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้น เหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก

    เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนักคนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา

    พระคาถานี้แต่ก่อน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กะฐานธรรม แต่ภายหลัง ถึงยุคพระอาจารย์สุก พระคาถานี้จึงเรียกขานใหม่ว่า พระคาถาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาพระยาไก่เถื่อนบ้าง

    พระคาถาบทนี้ทางภาคเหนือเรียกว่า พระคาถาไก่แก้ว กุกลูกพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงออกรุกข์มูลไปได้ ประมาณปีเศษก็เข้าสู่เขตป่าใหญ่ แขวงเมืองเชียงใหม่ ท่านใช้เวลาอยู่ที่ป่า แขวงเมืองเชียงใหม่ ป่าแขวงเชียงราย ป่าแขวงเชียงแสน เกือบปี พระองค์ท่านทรงพบพระมหาเถรวุฒาจารย์ ผู้ทรงอภิญญามากมาย ทั้งที่เชี่ยวชาญในด้านกสิณดิน กสิณไฟ กสิณลม กสิณน้ำ และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระ

    ต่อมาพระอาจารย์สุกฯ มาถึงวัดท่าหอยแล้ว พระองค์ท่าน ก็ทรงแปลง พระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็นรูปยันต์ เรียกว่าพระยันต์ มหาปราสาท ไก่เถื่อน ตามนิมิตสมาธิเวลาลงพระคาถาพระยา ไก่เถื่อน ลงเป็นยันต์มหาประสาท ให้ลงด้วยเงินก็ดีทองก็ดี ผ้าก็ดี กระดาษก็ดี

    ลงแล้วเสกด้วย พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๓ จบ ไปเทศนาดีนัก เป็นเมตตาแก่คนทั้งหลาย เกิดความศรัทธาในตัวเรา (ไก่ร้อง เสียงฟังได้ไกล)เอายันต์นี้ ไปกับตัวค้าขายดีนัก เกิดลาภสักการะ มากกว่าคนทั้งหลาย เหมือนไก่ป่า ขยันหากินให้เขียนยันต์ปราสาทไก่เถื่อน ไว้กับเรือน เวลาเขียน ให้แต่งเครื่องบูชาครูสิ่งละ ๑๖ คือ ข้าวตอก ๑๖ ถ้วยตะไล ดอกไม้ ๑๖ ถ้วยตะไล เทียน ๑๖ แท่ง ธูป ๑๖ ดอกข้าวเปลือก ๑๖ ถ้วยตะไล สิ่งของเหล่านี้วางบนผ้าขาว ให้เสกด้วยพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๑๐๘ จบ ๑๐๘ คาบ ให้อธิษฐานเอาตามแต่ปรารถนา กันโจรภัยอันตรายทั้งหลายมีชัยแก่ศัตรู ลงเป็นธงปักในนา กันแมลง มาเบียดเบียน เสกน้ำมันงาใส่แผล แลกระดูกหัก เสกข้าวปลูกงอกงามดี เสกน้ำมนต์พรมของกัมนัลพระยารักเราแล เสกเมตตาก็ได้ ถ้าต้องคุณโพยภัยใดๆ ให้เสกส้มป่อยสระหัวหายแล ใช้สารพัดตามแต่จะอธิษฐานเถิดฯ

    พระคาถา และยันต์ไก่เถื่อน นี้มีผู้คนเคารพเชื่อถือมาก และจะว่านำพระคาถาอื่นๆก่อนเสมอ โด่งดังมาจนถึงปัจจุบันนี้

    พระคาถานี้ ได้เมื่อ พระกกุสันโธ เป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสอง ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ ประองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตยพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนี้ ได้ในสมัยพระพุทธเจ้า พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น พญาไก่เถื่อน แม้พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ก็เคยเกิดเป็น ไก่เถื่อน บำเพ็ญบารมีมา แต่การสร้างบารมีนั้น ต่างๆกัน

    และพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนั้น ยังเป็นอาการสามสิบสอง ของพระอาจารย์สุกด้วย และเป็นตะปะเดชะ ของพระอาจารย์สุก ในเมตตาบารมีนี้ด้วยพระคาถาบทนี้ ถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภ ยศ มิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไป ทางบก หรือเข้าป่า สวดภาวนาคลาดแคล้ว จากภัยอันตรายดีนักแล บั้นปลายก็จะ บรรลุพระนิพพาน ด้วยเมตตาบารมีนี้

    คัดความจาก

    หนังสือ พระวัติสมเด็จพระสังราชสุก ไก่เกื่อน ยุคกรุงศรีอยุธยา บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาท คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
     
  3. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    อนุโมทนาค่ะ.. กำลังอยากได้อะไรที่ส่งเสริมด้าน ปัญญา มากๆๆ
    ตอนนี้คิดงานวิจัยไม่ออก ติดมาจะ 5 ปีแล้ว เบื่ออยากลาออกมาก
    งานทางโลกมันไม่ได้อะำไร สุดท้ายก็กลับมาเกิดอีก ก็จะทนจนกว่า
    จะจบเกม...ขอบคุณอีกทีนะคะ
     
  4. wainkam

    wainkam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    757
    ค่าพลัง:
    +881
    "แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด
    วรรค ๑ หมายถึง มีลาภ เสื่อมลาภ
    วรรค ๒หมายถึงมียศ เสื่อมยศ
    วรรค๓หมายถึง มีสรรเสริญ ก็มีนินทา
    วรรค๔ หมายถึง มีสุข ก็มีทุกข์

    อนุโมทนาสาธุครับ รู้จัก+ท่องได้ตั้งแต่ ป4 พึ่งจะรู้คำแปล ^^'
     
  5. เด็กแวนซ์

    เด็กแวนซ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +35
    ท่องขึ้นใจครับ.............................คาถานี้อาจารย์สอนมาครับ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...