ปรัชญาแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (มหายาน-วัชรยาน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เทพธรรมบาล, 14 มกราคม 2012.

  1. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +1,488
    หวัดดีครับลุงเทพ ยังรักษาความยาวไว้เหมือนเดิม
     
  2. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    บทที่สี่

    ป ฏิ บั ติ โ พ ธิ จิ ต
    บทที่ ๔ ความตระหนัก

    ในบทที่ ๔ นี้ แสดงการพยายามตรวจสอบ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราให้มั่นคงตามแนวโพธิสัตต์ มรรค เพราะหลังจากที่เราตั้งปณิธานที่จะน้อมรับโพธิจิตโดยสมบูรณ์ ถือสัจจะตามโพธิสัตต์ศีล เพื่อยัง ประโยชน์ แก่สรรพสัตว์ทั้งปวงแล้วในบทที่ ๓ จากนั้นเราต้องนำปณิธานของเราไปสู่ภาคปฏิบัติอย่าง แท้จริง ​

    เมื่อเราได้ศึกษาคุณค่าแห่งโพธิจิต จนเกิดความศรัทธาที่จะดำเนินตามครรลองของวิถีโพธิสัตต์ เราควรมี การสำรวจซ้ำแล้วซ้ำอีก ทั้งสภาพและจิตของเรา พร้อม ๆ กับหมั่นเพียรศึกษาเพิ่มเติมด้วยความมีปัญญา เพื่อให้เข้าใจและตระหนักอย่างถ่องแท้ถึง คุณความดีแห่งโพธิจิตและโพธิสัตต์มรรค เพราะคงไม่ใช่เรื่อง ฉลาดเลย หากเราจะเกิดความศรัทธาและเลือกที่จะปฏิบัติตามโพธิสัตต์มรรคเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เนื่อง จากเพียงเพราะเชื่อตามคำชักชวนของผู้อื่นโดยไม่มีการศึกษาอย่างถ่องแท้ ดังนั้นสำหรับผู้มีปัญญาแล้ว เมื่อได้ใช้ปัญญาของตนศึกษาพิจารณา จนเกิดศรัทธาที่จะน้อมรับโพธิจิต ตั้งมั่นอยู่บนวิถีโพธิสัตต์ย่อม ไม่คิดหวนคืนกลับ จุดนี้เองคือความสำคัญยิ่งของการตั้งมั่นอยู่บนวิถีนี้​

    ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจรับโพธิสัตต์ศีล เราควรจะศึกษาและตรวจสอบตัวเราให้มีความเข้าใจยิ่งขึ้น และ เมื่อตัดสินใจที่จะก้าวเดินต่อไปตามวิถีนี้แล้ว ก็ต้องพยายามตระหนักในตนเองที่จะไม่หวนกลับ เพราะ เมื่อเราได้ตัดสินใจที่จะมุ่งสู่การตรัสรู้เพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ และตั้งมั่นที่จะถือศีลโพธิสัตต์ แต่ต่อ มากลับประพฤติ ตนผิด ไปจากปณิธานอันงามสง่าของตน แต่เรายังได้ทรยศต่อสรรพสัตวืทั้งปวง เพราะ เราได้ผิดสัญญาที่จะปกป้อง และปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากห้วงทุกข์​

    นั่นคือผู้ที่อยู่บนวิถีโพธิสัตว์ ย่อมพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผองเพื่อน สรรพสัตว์์ือย่างมีปัญญา และการ ที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นได้ ก็จำเป็นที่จะต้องหมั่นศึกษาเพิ่มเติมและตรวจสอบทั้งสภาพกายและจิต ของตนเองให้เกิดความตระหนักอยู่เสมอที่จะดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และพยายามที่จะไม่ก่อ อกุศลกรรมแก่ผู้ใด







    1. ด้วยเหตุนี้
    เมื่อรับโพธิจิตเอาไว้แล้ว
    บุตรธิดาของพระสุคต
    ควรพยายามเอาใจใส่ อย่าให้ละเลยการฝึกฝนนี้


    2. แม้ว่าเราจะได้ปฏิญานตนแล้ว
    ก็ยังเหมาะสมที่จะพิจารณาซ้ำอีก
    ว่าจะปฏิบัติถึงสิ่งที่ได้รับมาอย่างลวก ๆ
    หรือว่า ไม่ได้ไตร่ตรองมาอย่างดีแล้วหรือไม่

    3. แต่ข้าฯ จะละทิ้งสิ่งที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
    จากพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    และบุตรธิดาทั้งหลายของพระองค์
    รวมทั้งจากตัวข้าฯ เอง
    ซึ่งได้พิจารณาด้วยความสามารถอย่างสูงสุดได้ละหรือ?

    4. ในเมื่อข้าฯ ได้ให้คำมั่นสัญญาแล้ว
    หากไม่ปฏิบัติตาม
    ข้าฯ จะมีชะตากรรมอย่างไร
    เนื่องจากได้หลอกลวงสัตว์โลกทั้งมวล?

    5. กล่าวไว้ว่าผู้ที่ตั้งใจจะให้แม้แต่สิ่งเล็กน้อย
    แต่ไม่ได้ให้
    จะกลายเป็นเปรต

    6. แล้วยิ่งไปกว่านั้น
    การที่ข้าฯ ได้หลอกลวงโลกทั้งโลก
    หลังจากที่ได้เชื้อเชิญสัตว์โลกทั้งหมด
    ด้วยเสียงอันดัง และด้วยความจริงใจ
    เพื่อให้ได้รับความสุขอันมิมีสิ่งใดเทียบได้เล่า?
    ข้าฯ จะได้รับความเป็นอยู่แบบใดกัน?

    7. มีแต่พระผู้ทรงสัพพัญญุตญานเท่านั้น
    ที่ทรงทราบถึงเส้นทางแห่งกรรม อันไม่สามารถหยั่งถึงได้
    อันเป็นเส้นทางของผู้ที่พระองค์ทรงช่วยให้รอดพ้น
    แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้น
    จะละทิ้งโพธิจิต

    8. ด้้วยเหตุนี้
    สำหรับพระโพธิสัตว์แล้ว
    การละทิ้งโพธิจิต
    เป็นการตกต่ำที่หนักหน่วงที่สุด
    เนื่องด้วยว่าหาก พระโพธิสัตว์ละทิ้งเช่นนี้แล้ว
    เขาจะทำร้ายสวัสดิภาพของสัตว์โลกทั้งปง

    9. หากบางคนหน่วงเหนี่ยว คุณธรรมของพระโพธิสัตว์
    ไว้แม้เพียงชั่วขณะ
    เขาเหล่านั้นจะไม่รู้จัก
    จุดจบของความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ มากมาย
    ด้วยเหตุที่ว่า
    เขาได้ลดสวัสดิภาพของสัตว์โลก

    10. ผู้ที่กำจัดความสุขของสัตว์โลกแม้เพียงหนึ่งเดียว
    ก็จะถูกทำลายไป
    แล้วที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ
    ผู้ที่กำจัดความสุขของสัตว์โลกทั้งหลายที่อยู่ทั่วไปทั้งท้องฟ้าเล่า
    จะเป็นฉันใด?
    11. ดังนั้น
    ด้วยอำนาจของการตกต่ำ
    และ
    อำนาจของโพธิจิต
    ผู้ที่หมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ
    จึงมีความล่าช้าในการบรรลุถึงภูมิของพระโพธิสัตว์

    12. ด้วยเหตุนี้
    ข้าฯ จึงปฏิบัติตามคำมั่นของข้าฯ
    ด้วยความเคารพ
    หากข้าฯ ไม่มีความพยายามในตอนนี้
    ข้าฯ จะตกลงไปสู่อบายภูมิ
    ต่ำลงๆ ไปเรื่อยๆ

    13. พระพุทธเจ้าจำนวนนับไม่ถ้วนได้ผ่านไปแล้ว
    ต่างก็แสวงหาสัตว์โลก
    แต่ด้วยความผิดบาปของข้าฯ
    ข้าฯ จึงมิได้มายังดินแดนของสัตว์เหล่านี้
    เพื่อช่วยเหลือพวกเขา

    14. หากข้าฯ เป็นเช่นที่เป็นอยู่นี้
    ข้าฯ จะลงมาสู่ภพชาติอันเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน
    ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
    มีโรคภัยไข้เจ็บ
    ความตาย
    การตัดแขนขา
    การถูกทำลายล้าง
    เป็นอาทิ

    15. แล้วเมื่อใดเล่าที่ข้าฯ จะได้พบ
    พระตถาคตเจ้า
    ผู้ซึ่งปรากฏพระองค์ขึ้นมายากมากเหลือเกิน
    เมื่อใดข้าฯ จะได้พบ
    กับศรัทธา
    การเกิดเป็นมนุษย์
    ความสามารถในการปฏิบัติธรรม

    16. รวมทั้งสุขภาพ
    การกินอยู่ประจำวัน
    และการปราศจากศัตรู?
    ชีวิตเป็นของชั่วครู่ชั่วยาม
    และเป็นมายา
    ร่างกายนี้ก็เป็นของยืมมา

    17. ด้วยความประพฤติเช่นนี้ของข้าฯ
    ข้าฯ จะไม่ได้ร่างเป็นมนุษย์อีก
    เมื่อไม่ได้ร่างเป็นมนุษย์
    ก็จะมีแต่ความเลวร้าย
    แล้วจะได้รับพรได้อย่างไร?

    18. หากข้าฯ ไม่ปฏิบัติธรรมในขณะที่ข้าฯ ยังทำได้
    ข้าฯ จะทำอย่างไร
    เมื่อข้าฯต้องงงงันไปด้วยความทุกข์ทรมานของสังสารวัฏ?

    19. สำหรับผู้ที่มิได้ประพฤติธรรม
    แต่หากทำบาปแม้กระทั่งคำพูดว่า
    " สุคติภูมิ "
    ก็จะสูญหายไปเป็นพันล้านกัป

    20. ดังนั้น
    พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
    การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่ได้มายากอย่างยิ่งยวด
    เช่นเดียวกับเต่าที่โผล่หัวขึ้นมาสอดอยู่กลางแอก
    ที่ล่องลอยอยู่กลางมหาสมุทรอันกว้างใหญ่

    21. คนผู้หนึ่งทนทรมานอยู่ในอวิจีมหานรก
    ด้วยผลของความชั่ว ที่ทำไปเพียงแม้หนึ่งชั่ววูบ
    แล้วจะพูดถึงภพภูมิอันเป็นสุคติได้อย่างไร
    ในเมื่อบาปกรรมได้สะสมมาตั้งแต่กาลเวลาอันไม่มีจุดกำเนิด?

    22. เมื่อได้ประสบแต่ความชั่วร้าย
    ก็จะยังไม่หลุดพ้น
    ดังนั้น
    เมื่อประสบแต่สิ่งเหล่านี้
    ก็จะทำแต่ความชั่วเพิ่มมากขึ้น

    23. เมื่อข้าฯ ได้มีเวลาว่างเช่นนี้
    หากข้าฯ ไม่ปฏิบัติธรรม
    ก็จะไม่มีความปลิ้นปล้อนตลบแตลงอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว
    และจะไม่มีการหลอกลวงอะไรที่ยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว

    24. หากข้าฯ รับรู้สิ่งเหล่านี้
    แต่หากยังจมอยู่ในความเกียจคร้าน
    ด้วยอำนาจความหลง
    เมื่อข้าฯ ถูกบัญชาโดยฑูตของพระยมราช
    ข้าฯ ก็จะอยู่อย่างทนทุกข์ทรมานมหาศาล

    25. ไฟนรกอันสุดที่จะทนทาน
    จะเผาไหม้ร่างของข้าฯ เป็นกัปกัลป์
    หลังจากนั้น
    ไฟแห่งการรู้สึกสำนึกผิด
    ก็จะทรมานจิตอันปราศจากการฝึกของข้าฯ
    เป็นเวลายาวนาน

    26. ด้วยเหตุบางประการ
    ข้าฯ ได้มาแล้วซึ่งสถานะอันประเสริฐ
    ซึ่งได้มายากยิ่ง
    และแม้ว่าข้าฯ จะรู้เรื่องนี้
    ข้าฯ ก็ยังถูกพากลับไปยังนรกขุมเดิมๆ

    27.ข้าฯ ไม่มีเจตนาในเรื่องนี้
    ราวกับว่าข้าฯ ถูกมนต์สะกดของแม่มด
    ข้าฯ ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สะกดตัวข้าฯ
    หรือว่าใครอาศัยอยู่ในตัวข้าฯ

    28. ศัตรูเช่น ตัณหา กับ โทสะ
    ไม่มีแขนขา หรืออาวุธอื่นใด
    ศัตรูเหล่านี้มิได้กล้าหาญ หรือฉลาดเฉลียว
    เมื่อเป็นเช่นนี้
    ศัตรูนี้
    จองจำข้าฯ เป็นทาสได้อย่างไร?

    29. ศัตรูเหล่านี้
    ปักหลักอยู่ในจิตใจของข้าฯ
    ทำลายข้าฯ
    แต่ขณะเดียวกันก็
    ทำให้ตนเองตั้งมั่นยิ่งขึ้น
    แต่แม้กระนั้น
    ข้าฯ ก็ยังไม่โกรธเกรี้ยว
    กับความอดทนต่อสถานการณ์อันน่าละอายและไม่บังควรนี้

    30. ถ้าหากว่า เทพกับมนุษย์ทั้งปวง
    เป็นศัตรูของข้าฯ
    แม้กระนั้นทั้งหมดนี้ก็ยังไม่อาจนำพาข้าฯ
    ไปยังอวิจีมหานรกได้

    31. เมื่อพานพบกับศัตรูนี้
    มันก็เผาทำลาย
    แม้กระทั่งเถ้าของเขาพระสุเมรุ
    เครื่องเศร้าหมองในจิต อันเป็นศัตรูผู้ทรงพลัง
    ได้โยนทั้งหมดนี้ให้แก่ข้าฯ

    32. เนื่องจากความมีอายุยืนยาวของศัตรูใดก็ไม่ยืนยาว
    ปราศจากกำเนิด
    และ
    ปราศจากจุดจบ
    เช่นศัตรูทั้งหลายของข้าฯ
    อันได้แก่
    กิเลส
    เครื่องเศร้าหมองต่างๆ

    33. ทุกๆ คน
    จะตั้งอยู่ในเส้นทางอันหมดจดงดงาม
    เมื่อเปี่ยมไปด้วยความกรุณา
    แต่เมื่อยกย่อง กิเลส เครื่องเศร้าหมองเหล่านี้
    ก็จะนำพาความทุกข์มาให้อีกมากมาย

    34. ข้าฯ จะยินดีเพลิดเพลินในสังสารวัฏได้อย่างไร
    ในเมื่อศัตรูถาวร ผู้มีอายุยืนยาวเหล่านี้
    ผู้ซึ่งเป็นสาเหตุเพียงประการเดียว
    ของกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากของอกุศลกรรม
    ได้ดำรงอยู่อย่างปราศจากความกลัวในหัวใจของข้าฯ

    35. ข้าฯ จะมีความสุขอยู่ได้อย่างไร
    หากผู้คุมคุกแห่งสังสารวัฏ
    ผู้เป็นฆาตกร
    และคนฆ่าสัตว์ในนรก กับสถานที่แบบเดียวกัน
    ยังคงอยู่ในกรงขังแห่งตัณหา ภายในบ้านอันได้แก่ หัวใจของข้าฯ?


    36. ด้วยเหตุนี้
    ตราบเท่าที่ศัตรูเหล่านี้
    ยังไม่ถูกทำลายลงไปต่อหน้าต่อตาของข้าฯ
    ข้าฯ จะไม่เลิกล้มภารกิจนี้
    ผู้ที่หยิ่งผยองด้วยความทะนงตน
    ผู้ที่เกรี้ยวกราดกับใครก็ตามที่มาดูหมิ่นแม้เพียงน้อยนิด
    จะไม่นอนหลับจนกว่า จะได้ฆ่าศัตรูนั้น

    37. ท่ามกลางการสู้รบ
    เหล่าผู้ที่ได้รับบาดแผลจากคมหอก และลูกธนูจำนวนนับไม่ถ้วน
    ผู้ซึ่งพร้อมจะฆ่าผู้ที่อยู่ในความมืด
    และผู้ที่ทนทุกข์อยู่กับความตาย
    จะไม่หันหลังจนกว่าจะทำงานสำเร็จแล้ว

    38. แล้วจะเป็นอะไรเล่า
    ในเมื่อข้าฯ กระตือรือล้นจะทำลายศัตรูตามธรรมชาติ
    อันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งมวลมาตลอดกาลนาน?
    วันนี้
    แม้ว่าข้าฯ จะมีศัตรูมากมายเป็นร้อย
    เหตุใดข้าฯ จึงเหน็ดเหนื่อย และเศร้าหมอง

    39. หากพวกเขามีรอยแผลเป็นจากศัตรูโดยไม่มีเหตุผล
    ราวกับแผลนั้นเป็นเครื่องประดับ
    แล้วเหตุใดความทุกข์เหล่านี้
    จึงมายุ่งเกี่ยวกับข้าฯ
    ในขณะที่ข้าฯ ได้ตั้งใจมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย?


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มีนาคม 2012
  3. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    40. หากชาวประมง
    คนถูกเนรเทศ
    ชาวนา
    และคนอื่นๆ
    ซึ่งจิตของพวกเขา จดจ่ออยู่กับการทำมาหากิน
    หากคนเหล่านี้อาจต้านทานศัตรู
    อันได้แก่ ความร้อนหนาวได้
    แล้วเหตุใดเล่า
    ข้าฯ จึงไม่ทนทาน เพื่อประโยชน์ของโลกนี้?


    41.
    เมื่อข้าฯ ได้ตั้งปณิธาน
    จะปลดปล่อยสัตว์ทั้งหลายในอากาศธาตุทั่วทั้งสิบทิศ

    จากทุกข์ทางใจ
    ข้าฯ ไม่ได้แม้กระทั่งปลดปล่อยตนเองจากทุกข์ทางใจนี้

    42. ข้าฯ ไม่รู้ขีดจำกัดของข้าฯ เอง
    ข้าฯ พูดในขณะนั้น ราวกับว่าข้าได้เสียสติไป
    ด้วยเหตุนี้
    ข้าฯ จะไม่มีวันหันหลังให้แก่
    การทำลายล้างกิเลส เครื่องเศร้าหมอง


    43. ข้าฯ จะเหนียวแน่นในเรื่องนี้
    และจะตั้งมั่นอยู่กับการแก้แค้น
    ข้าฯ จะก่อสงคราม
    เว้นแต่กับกิเลส ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดกิเลส


    44. ขอให้ไส้พุงของข้าฯ ไหลออกมา
    ขอให้หัวของข้าฯ หลุดออกมา
    แต่ข้าฯ จะไม่มีวันก้มหัวให้แก่ ศัตรูทั้งหลายของข้าฯ
    อันได้แก่ กิเลส


    45. แม้ว่าได้ถูกขับไล่ไปแล้ว
    แต่ศัตรูผู้หนึ่งก็ยังได้ที่อยู่ กับผู้ติดตามในต่างประเทศ
    ซึ่งเขาสามารถเดินทางกลับมาจากที่นั่นด้วยพลังแข็งแรง
    แต่สำหรับศัตรู
    อันได้แก่กิเลสแล้ว
    จะไม่มีที่พักพิงนี้


    46. เมื่อกิเลสทั้งหมดที่อยู่ในใจของข้าฯ
    ถูกขับไล่ไปหมดแล้ว
    กิเลสนั้น จะไปไหนได้อีก?
    แล้วจะพำนักอยู่ที่ใด กับพยายามทำลายข้าฯ อยู่ที่ใด?
    ข้าฯ มีจิตใจอ่อนล้า
    ข้าฯ เป็นผู้ขาดความเพียร
    กิเลสในใจเป็นของแบบบาง และอาจเอาชนะได้ด้วย
    ตาแห่งปัญญา

    47.
    กิเลสไม่ได้อยู่ในรูป
    ไม่ได้อยู่ในอายตนะ
    ไม่ได้อยู่ในช่องว่างระหว่างกลาง
    หรือในที่แห่งใดเลย
    แต่เมื่อเป็นเช่นนี้
    กิเลสอยู่ ณ ที่ใด

    และทำให้โลกทั้งโลกปั่นป่วนไปหมดได้อย่างไร?
    ทั้งหมดนี้เป็นเพียงมายาเท่านั้น
    ขอให้เธอปลดปล่อยหัวใจที่หวาดกลัว
    และปลูกฝังความเพียร
    เพื่อให้ได้ปัญญา

    เธอจะทรมานตนเองในนรกไปทำไมโดยปราศจากเหตุผล?

    48.
    หลังจากได้ครุ่นคิดคำนึงเช่นนี้แล้ว
    ข้าฯ จะพยายามนำเอาคำสอนเหล่านี้ไปใช้ตามที่ได้อธิบายไว้แล้วนี้

    ผู้ที่อาจได้รับการเยียวยาให้หายจากโรค
    จะหวนกลับคืนมามีสุขภาพดีได้อย่างไร?
    หากเขาละเลยคำแนะนำของแพทย์
    ?

     
  4. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    [​IMG]

    ท่านอสังคะผู้ก่อตั้งนิกายวิญญาณวาทิน อันเป็นรากฐาน ของนิกายต่างๆในมหายาน เซน และ วัชรยาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มีนาคม 2012
  5. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    คำสอนของท่านอสังคะว่าด้วยมหากรุณา
    เพื่อตั้งจิตที่อธิษฐานแน่วแน่ไปสู่การหลุดพ้นเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ หรือที่เรียกว่าโพธิจิต ท่านควรพัฒนาจิตอันเป็นอุเบกขาต่อสัตว์โลกทั้งมวล จากนั้นจึงพิจารณาคำสอนว่าด้วยสาเหตุและผลเจ็ดประการที่พระโพธิสัตว์ไมเตรยะได้ให้ไว้แก่ท่านอสังคะ ในเบื้องแรกขอให้ท่านคิดอยู่เบื้องหน้าของท่าน ว่ามีสัตว์โลกผู้หนึ่งที่ไม่เคยช่วยเหลือท่าน และก็ไม่เคยทำร้ายท่าน คิดว่า "จากมุมมองของสัตว์ผู้นี้ เขาต้องการได้ความสุข และไม่ต้องการความทุกข์ เหมือนกับคนอื่นทุกๆคน ข้าพเจ้าจะทำตนเองให้ปลอดจากความผูกพันและความรังเกียจ ข้าพเจ้าจะไม่รู้สึกใกล้ชิดกับคนบางคนกับช่วยเหลือเขา ในขณะที่รู้สึกห่างเหินจากคนอื่นๆกับทำร้ายเขา ข้าฯจะพัฒนาจิตอุเบกขาต่อสัตว์ทั้งมวล ขอให้พระอาจารย์และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายช่วยเหลือข้าพเจ้าด้วย"

    เมื่อท่านรู้สึกเป็นอุเบกขาต่อผู้ที่เป็นกลางๆกับท่านแล้ว ก็ขอให้นึกถึงผู้ที่น่ารักใคร่ น่ายินดี ซึี่งท่านรู้สึกผูกพันด้วย พยายามตั้งจิตอันเป็นอุเบกขากับคนผู้นี้ คิดว่า "ความรู้สึกลำเอียงที่ข้าพเจ้ามีเกิดมาจากความผูกพัน เนื่องจากข้าพเจ้าได้เคยอยากได้สิ่งสวยงามน่าดังดูดใจมาตลอด ข้าพเจ้าจึงต้องเกิดใหม่มาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนี้ไม่จบสิ้น" ด้วยวิธีนี้ขอให้ท่านยับยั้งความปรารถนาและทำจิตให้เป็นสมาธิ

    เมื่อท่านรู้สึกเป็นอุเบกขาต่อผู้ที่ท่านผูกพันด้วยแล้ว ก็ขอให้นึกถึงผู้ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่ายินดี พยายามตั้งจิตอันเป็นอุเบกขาต่อคนผู้นี้ คิดว่า "เนื่องจากเคยมีข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างเราทั้งสอง ข้าพเจ้าจึงมีจิตรังเกียจคนผู้นี้ จึงไม่มีอุเบกขา หากไม่มีอุเบกขาแล้ว ข้าพเจ้าก็จะไม่สามารถตั้งอธิษฐานไปสู่การหลุดพ้นได้เลย!" ด้วยวิธีนี้ขอให้ท่านยับยั้งความรังเกียจนั้นและทำจิตให้เป็นสมาธิ

    เมื่อท่านรู้สึกว่าจิตเป็นอุเบกขาต่อผู้ที่ท่านรังเกียจแล้ว ก็ขอให้คิดถึงคนทั้งคู่นี้ ได้แก่ผู้ที่ท่านรู้สึกผูกพันด้วย กับผู้ที่ท่านรังเกียจ แล้วคิดว่า "คนทั้งสองนี้ก็เหมือนๆกันตรงที่จากมุมมองของตนเอง ต่างก็ต้องการความสุข และไม่ต้องการความทุกข์ จากมุมมองของข้าพเจ้า ผู้ที่ข้าพเจ้ารู้สึกผูกพันด้วยได้เคยเกิดมาเป็นศัตรูของข้าพเจ้าเป็นจำนวนชาติอันประมาณมิได้ และผู้ที่ข้าพเจ้ารู้สึกรังเกียจ ไม่ชอบก็เคยเกิดมาเป็นมารดาที่ได้เอาใจใส่ดูแลข้าพเจ้าด้วยความรักเป็นจำนวนนับชาติไม่ถ้วน ข้าพเจ้าควรชอบคนไหน? ข้าพเจ้าควรเกลียดคนไหน? ข้าพเจ้าจะรู้สึกเป็นอุเบกขาและหลุดพ้นจากความผูกพันและความรังเกียจ ขอให้พระอาจารย์และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายโปรดช่วยเหลือข้าพเจ้าให้เป็นเช่นนี้ด้วยเถิด!"

    เมื่อท่านรู้สึกเป็นอุเบกขาเช่นนี้แล้ว ก็แผ่ขยายความรู้สึกนี้ให้แก่สัตว์โลกทั้งมวล "สัตว์โลกทั้งหลายเสมอเหมือนกัน ต่างก็อยากได้ความสุขและไม่ต้องการความทุกข์ สัตว์โลกทั้งหลายเป็นญาติของข้าพเจ้า ดังนั้นข้าพเจ้าจะเรียนรู้การตั้งจิตเป็นอุเบกขา และหลุดพ้นจากความรู้สึกผูกพันและรังเกียจที่มีต่อสัตว้ืโลกไม่ว่าใกล้หรือไกล จากการช่วยเหลือบางคนและทำร้ายบางคน ขอให้พระอาจารย์และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายโปรดช่วยเหลือข้าพเจ้าให้ประสบความสำเร็จด้วยเถิด
    <!-- ws:start:WikiTextImageRule:2:<img src=&quot;http://www.tharpa.com/us/graphics/common/arts/art-as.jpg&quot; alt=&quot;ท่านอสังคะ&quot; title=&quot;ท่านอสังคะ&quot; /> --><!-- ws:end:WikiTextImageRule:2 -->เมื่อท่านได้พัฒนาจิตอันเป็นอุเบกขาแล้ว ก็ขอให้ท่านปฏิบัติขั้นแรกของคำสอนเจ็ดประการเพื่อบรรลุถึงพระโพธิจิต ขอให้ท่านตั้งนิมิตนึกภาพพระอาจารย์กับพระโพธิสัตว์ทั้งหลายมาอยู่ต่อหน้าท่าน ทำสมาธิพิจารณาดังนี้ "เหตุใดสัตว์โลกทั้งหลายจึงเป็นญาติของข้าพเจ้า? เนื่องจากสังสารวัฏไม่มีการเกิด การเกิดมาในชาติต่างๆของข้าพเจ้าจึงมีจำนวนไม่อาจประมาณได้ ในการดำเนินชีวิตจำนวนนับชาติไม่ถ้วนเช่นนี้ จึงไม่มีชีวิตรูปแบบใดเลยที่ข้าพเจ้าไม่เคยถือกำเนิดมาเป็น และก็ไม่มีประเทศหรือดินแดนใดที่ข้าพเจ้าไม่เคยเกิดมาในนั้น ในบรรดาสัตว์โลกทั้งหลายไม่มีใครเลยที่ไม่เคยเป็นมารดาของข้าพเจ้ามาเป็นเวลานับครั้งไม่ถ้วน และต่างก็ได้เคยเป็นมารดาของข้าพเจ้ามานับชาติไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน และก็จะมาเป็นมารดาของข้าพเจ้าอีกเป็นจำนวนนับชาติไม่ถ้วนอีกในอนาคต"

    เมื่อท่านตระหนักถึงความจริงข้อนี้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว ขอให้ท่านทำสมาธิพิจารณาความรักความกรุณาที่สัตว์โลกทั้งหลายมีให้แก่ท่านเมื่อสัตว์เหล่านั้นเป็นมารดาของท่าน ขอให้ท่านตั้งนิมิตนึกภาพพระอาจารย์กับพระโพธิสัตว์ทั้งหลายมาอยู่ต่อหน้าท่าน แล้วก็ทำสมาธินึกภาพมารดาของท่านในชาตินี้ให้แจ่มชัดที่สุด ทั้งในเวลาที่ท่านยังสาวอยู่กับในเวลาที่ท่านมีอายุมากแล้ว "ไม่เพียงแต่ท่านจะเป็นมารดาของเราในชาตินี้เท่านั้น แต่ท่านยังได้ดูแลฟูมฟักเลี้ยงดูเรามาในชาติต่างๆอันประมาณมิได้ ในชาตินี้ท่านได้ปกปักรักษาเรามาอย่างดีในมดลูกของท่าน และเมื่อข้าพเจ้าเกิดมาก็อุ้มเราวางบนฟูกกับหมอนอันอ่อนนุ่ม กับอุ้มข้าพเจ้าไว้แนบอกอันอบอุ่น กับให้ข้าพเจ้าดูดนมอันมีรสหวานโอชะ ท่านต้อนรับข้าพเจ้าด้วยรอยยิ้มอันเปี่ยมไปด้วยความรัก และมองข้าพเจ้าด้วยสายตาอันเปี่ยมไปด้วยความสุข ท่านเช็ดน้ำมูกออกจากจมูก กับเช็ดอุจจาระของข้าพเจ้า เมื่อยามที่ข้าพเจ้าป่วยเป็นโรคอันใดแม้แต่น้อย ท่านก็เป็นทุกข์เสียยิ่งกว่าจะสูญเสียชีวิตของท่านเอง ท่านดูแลข้าพเจ้าอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ไม่คำนึงถึงร่างกายของท่านเองว่าจะเจ็บปวดทรมานเพียงใด ท่านให้อาหารกับที่พักแก่ข้าพเจ้าอย่างดีที่สุดเท่าที่ท่านจะหามาได้ ท่านได้มอบความสุขกับประโยชน์อันประมาณมิได้แก่ข้าพเจ้า กับทั้งปกป้องข้าพเจ้าจากภัยอันตรายทุกสิ่งทุกอย่าง" ขอให้ท่านพิจารณาความกรุณาอันใหญ่ยิ่งของมารดา จากนั้นก็พิจารณาความกรุณาของบิดา และคนอื่นๆที่ใกล้ชิดกับท่าน ซึ่งต่างก็เคยเป็นมารดาของท่านมานังครั้งไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน

    เมื่อท่านตระหนักถึงความจริงข้อนี้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็ขอให้ท่านทำสมาธิพิจารณาสรรพสัตว์ที่ท่านรู้สึกเป็นกลางๆ "แม้จะดูเหมือนว่าสัตว์โลกเหล่านี้มิได้มีความผูกพันอันใดเป็นพิเศษกับข้าพเจ้า แต่สัตว์เหล่านี้ก็เคยเป็นมารดาของข้าพเจ้ามานับชาติไม่ถ้วน ในชาติเหล่านั้นสัตว์โลกนั้นก็ได้ดูแลฟูกฟักข้าพเจ้าเป็นอย่างดียิ่งด้วยความรักความกรณา" เมื่อท่านตระหนักถึงความจริงข้อนี้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็ขอให้ท่านทำสมาธิพิจารณาสรรพสัตว์ที่เป็นศัตรูกับท่าน นึกถึงสัตว์เหล่านี้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งที่สุดว่ามาอยู่ต่อหน้าท่าน พิจารณาดังนี้ "ข้าพเจ้าจะรู้สึกได้อย่างไรว่าสัตว์เหล่านี้เป็นศัตรูของข้าพเจ้า? เนื่องจากชาติต่างๆในสังสารวัฏมีจำนวนมากจนไม่อาจประมาณได้ สัตว์เหล่านี้ก็ย่อมเคยเกิดมาเป็นมารดาของข้าพเจ้ามานับชาติไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน เมื่อสัตว์เหล่านี้เป็นมารดา ท่านก็ได้ดูแลฟูกฟักข้าพเจ้าเป็นอย่างดียิ่งด้วยความสุขและประโยชน์อันประมาณมิได้ และก็ได้ปกป้องข้าพเจ้าจากความทุกข์และภัยอันตรายทั้งปวง หากไม่มีท่านเหล่านี้ข้าพเจ้าก็ไม่อาจดำรงชีวิตอยู่ได้แม้เพียงชั่วขณะ และเช่นเดียวกันหากไม่มีข้าพเจ้าท่านเหล่านี้ก็ไม่อาจดำรงชีวิตอยู่ได้แม้เพียงชั่วขณะ เรามีความผูกพันต่อกันอย่างมากมาเป็นเวลานับชาติไม่ถ้วน การที่ท่านเหล่านี้มาเป็นศัตรูของข้าพเจ้าในเวลานี้ ก็เป็นแต่ด้วยเหตุของกรรมที่ได้เป็นมาจากอดีต ในเวลาหนึ่งในอนาคตท่านเหล่านี้ก็จะกลายมาเป็นมารดาของข้าพเจ้าผู้ดูแลฟูกฟักข้าพเจ้าอีก" เมื่อท่านตระหนักถึงความจริงข้อนี้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็ขอให้ท่านทำสมาธิพิจารณาความกรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ

    หลังจากนั้นก็ทำสมาธิพิจารณาการตอบแทนความกรุณาของสัตว์ทั้งหลายผู้ต่างก็เป็นมารดาของท่าน ขอให้ท่านตั้งนิมิตนึกภาพพระอาจารย์กับพระโพธิสัตว์ทั้งหลายมาอยู่ต่อหน้าท่าน แล้วพิจารณาว่า​ "จากเวลาอันประมาณไม่ได้ในอดีต มารดาเหล่านี้ได้ปกป้องข้าพเจ้ามาด้วยความกรุณา แต่ด้วยเหตุที่จิตของท่านถูกรบกวนจากปิศาจอันได้แก่กิเลสทั้งหลาย ท่านจึงไม่ได้รับรสของความเป็นอิสระและก็ยังเฝ้าวนเวียนอยู่ราวกับได้เสียสติไป ท่านไม่มีดวงตาสำหรับมองเห็นหนทางสู่สถานะอันสูงของมนุษย์และเทวดา หรือหนทางสู่พระนิพพานอันเป็นสุดยอดของความดี ท่านไม่มีพระอาจารย์คอยดูแล ผู้เป็นดั่งผู้นำทางให้แก่คนตาบอด ท่านถูกทุบถองอยู่ตลอดเวลาด้วยผลของอกุศลกรรม ท่านจึงลื่นไถลลงไปในหุบเหวอันน่าสะพรึงกลัวของการเกิดใหม่และสังสารวัฏ โดยเฉพาะในแดนอบาย การละเลยไม่เอาใจใส่มารดาเหล่านี้เป็นสิ่งน่าละอายอย่างยิ่ง เพื่อตอบแทนบุญคุณที่มารดาเหล่านี้ได้เคยเลี้ยงดูข้าพเจ้ามา ข้าพเจ้าจะปลดปล่อยพวกท่านออกจากความทุกข์ของสังสารวัฏ กับทั้งให้ท่านเหล่านี้ได้ตั้งมั่นอยู่ในบรมสุขอันเกิดจากการหลุดพ้น ขอให้พระอาจารย์และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายช่วยเหลือข้าพเจ้าด้วย"

    จากนั้นขอให้ท่านทำสมาธิพิจารณาความรัก นึกภาพผู้ที่ท่านมีความรู้สึกรักผูกพันด้วยอย่างมาก เช่นมารดาของท่านเอง "ท่านจะมีความสุขอันไม่แปดเปื้อนด้วยมลทินได้อย่างไร ในเมื่อท่านมิได้มีแม้กระทั่งความสุขแปดเปื้อนในสังสารวัฏ? สิ่งที่ท่านจะคุยได้ว่าเป็นความสุขก็ไหลออกไป มีความทุกข์เข้ามาแทนที่ ท่านอยากได้ ไฝ่ฝัน พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะได้ความสุขมา แม้จะเป็นเพียงชั่วเสี้ยววินาทีหนึ่งก็ตาม แต่ท่านก็ยังสร้างเหตุแห่งทุกข์ในอนาคตกับการเกิดใหม่ในสังสารวัฏต่อออกไปในอบายภูมิ ในชีวิตนี้ก็เช่นเดียวกัน ท่านแสนจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ท่านก็ยังสร้างเหตุแห่งทุกข์ต่อไปอีก ท่านมิได้มีความสุขที่แท้จริงเลย จะน่าอัศจรรย์เพียงใดหากท่านมีความสุขและเหตุทั้งหลายแห่งความสุข! ขอให้ท่านมีเหตุเหล่านั้น! ขอให้พระอาจารย์และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายช่วยเหลือข้าพเจ้าด้วย"

    เมื่อท่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนี้แล้ว ก็ทำสมาธิต่อไป ในเบื้องแรกพิจารณาถึงผู้คนอื่นๆที่อยู่ใกล้ชิดกับท่าน เช่นบิดา ต่อจากนั้นก็พิจารณาผู้ที่เป็นกลางๆ แล้วก็ศัตรู และในท้ายที่สุดก็พิจารณาสัตว์โลกทั้วมวล

    จากนั้นก็ทำสมาธิเกี่ยวกับมหากรุณากับความรับผิดชอบต่อสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีประมาณ ดังนี้:

    "บิดาและมารดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งจำนวนของท่านมีมากมายจนเต็มท้องฟ้า ต่างก็ถูกพันธนาการอยู่ด้วยวิบากกรรมและกิเลสต่างๆ แม่น้ำทั้งสี่อันได้แก่โลภะ โทสะ โมหะ และอวิชชา ได้พัดพาพวกท่านไปในกระแสของสังสารวัฏ จนทำให้พวกท่านต้องทนทุกข์อยู่กับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พวกท่านถูกผูกมัดอยู่ด้วยเชือกอันได้แก่วิบากกรรมประเภทต่างๆอย่างแน่นหนา ยากที่จะหลุดไปได้ นับตั้งแต่กาลเวลาอันไม่มีจุดตั้งต้นพวกท่านได้เดินเข้าไปสู่กรงเหล็กของการยึดมั่นว่ามี ‘ตัวกู’ และ ‘ของกู’ ในหัวใจ กรงเหล็กนี้เปิดออกได้ยากอย่างยิ่ง เนื่องจากพวกท่านถูกม่านหมอกอันได้แก่อวิชชามาปิดบัง จึงทำให้การตัดสินความดีความชั่วผิดพลาดไป และพวกท่านจึงมองไม่เห็นแม้แต่หนทางสู่การมีความสุข อย่าว่าแต่หนทางไปสู่การหลุดพ้นและการตรัสรู้เลย"

    "สรรพสัตว์เหล่านี้ทนทุกข์ทรมานอย่างไม่รู้จบสิ้นอยู่ด้วยความทุกขเวทนา ความทุกข์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง และความทุกข์ทั่วไปของสรรพสิ่งที่ถือกำเนิดขึ้นมา ข้าพเจ้าได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย มารดาทั้งหลาย ต้องทนทรมานอยู่ในทะเลของการเวียนว่ายตายเกิด หากข้าพเจ้าไม่ช่วยท่านเหล่านี้ ใครเล่าจะช่วยได้? หากข้าพเจ้าจะละเลยไม่สนใจท่านเหล่านี้ ข้าพเจ้าก็จะเป็นคนไร้ยางอายและอยู่ในที่ๆต่ำที่สุด ความปรารถนาของข้าพเจ้าที่จะเรียนมหายานจะเป็นเพียงแค่คำพูดกับลมปาก และข้าพเจ้าจะไม่สามารถไปปรากฏตัวต่อเบื้องหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้ากับพระโพธิสัตว์ทั้งหลายได้ ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าจะสั่งสมความสามารถที่จะดึงมารดาผู้ทนทุกข์ของข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ให้พ้นจากทะเลของสังสารวัฏ และนำพาพวกท่านให้ตั้งมั่นอยู่บนเส้นทางอันนำไปสู่พระพุทธภาวะ"

    ขอให้ท่านคิดพิจารณาประเด็นนี้ และสร้างจิตอันเข้มแข็งและใสสะอาดที่มุ่งมั่นในการรับผิดชอบต่อสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีประมาณ

    ท้ายที่สุด ขอให้ท่านทำสมาธิพิจารณาโพธิจิต อันเป็นจิตตั้งมั่นที่จะไปสู่การตรัสรู้ ถามตัวท่านเองว่าท่านจะนำพาสัตว์ทั้งหลายไปสู่พระพุทธภาวะได้หรือไม่ แล้วคิดคำนึงว่า "ข้าพเจ้าไม่รู้ว่ากำลังไปทางไหน แล้วจะนำพาสัตว์แม้แต่ตนหนึ่งไปสู่พระพุทธภาวะ เป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร? แม้แต่ผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ยังสามารถทำได้เพียงช่วยให้สรรพสัตว์บรรลุเป้าหมายเล็กๆของตนเองเท่านั้น และไม่สามารถนำพาสัตว์เหล่านี้ให้ไปสู่การเป็นพระพุทธเจ้าได้ มีแต่เพียงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเท่านั้นที่จะนำพาสรรพสัตว์ไปสู่การตรัสรู้ได้หมดสิ้น ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าจะบรรลุถึงพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งหลาย ขอให้พระอาจารย์และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายช่วยเหลือข้าพเจ้าด้วย!"
     
  6. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวัชรยานในเมืองไทยที่มีมานาน

    โดย Rittichai Eksinitkul

    กราบเรียนท่านผู้รู้ในวัชรยานที่เข้ามาตอบกระทู้นี้ทุกท่าน
    เป็นความเข้าใจผิดอย่างมากของเราชาวพุทธในประเทศไทย ด้วยการรับรู้ในสิ่งซึ่งไม่ถูกต้องมาตั้งแต่ยุคการสื่อสารยังเป็นไปด้วยความ ยากลำบาก ในยุคนั้น คนไทยไม่มีใครรู้จัก วัชรยานเลย มาเริ่มรู้จักวัชรยานก็ด้วย นักปราชญ์ท่านหนึ่งของไทยได้แปลเรื่องราวของพุทธวัชรยานหรือตันตระยานจาก หนังสือฝรั่งเล่นหนึ่งซึ่งแพร่หลายมากในตะวันตกขณะนั้น ผู้เขียนคือ ออสติน แวดเดล ผู้ซึ่งเข้าไปหลบๆซ่อนๆแอบดู การประกอบพิธีของลามะในธิเบต โดยที่ไม่รู้เลยว่า มันมีความเป็นมาอย่างไร มีเหตุผลอย่างไร มีปรัชญาอย่างไร เมื่อเห็นแล้วก็นำมาใช้จิตนาการของตนเอง โดยอนุมานว่า คำว่าตันตระนั้นตรงกลับคำว่าตันตระของฮินดู คงจะไม่มีอะไรแตกต่างกัน แล้วนำมาเขียนเป็นหนังสือขาย แม้แต่ชาวตะวันตกเองก็เชื่อเพราะว่าเขาได้เคยไปธิเบตมา อย่างว่าแต่ชาวไทยซึ่งได้รับรู้เช่นเดียวกันและความกว้างขวางทางการรู้เห็น ในขณะนั้นยังน้อยกว่าชาวตะวันตกมาก
    พุทธตันตระ นั้นมีหลักฐานอันยอมรับกันในปัจจุบันว่า มีมาก่อนฮินดูเป็นเวลานาน มีขึ้นและปฏิบัติกันในแวดวงของพระสงฆ์ไม่มากนักหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ด้วยว่าพุทธศาสนาเถรวาทในขณะนั้นรุ่งเรืองสูงสุด มีหลักฐานการได้พบคำสอนตันตระของท่านนาครชุนหลายเล่ม (พุทธศตวรรษที่5) ราวๆพุทธศตวรรษที่8-9 พุทธตันตระรุ่งเรืองมาก ในยุคของมหาวิทยาลัยนาลันทา ชาวฮินดูจึงได้นำปรัชญาแห่งตันตระไปใช้และได้ประยุกต์ให้เข้ากลับปรัชญาของ ตน (ขอให้ท่านไปอ่านหนังสือพุทธศาสนประวัติระหว่าง2500ปีที่ล่วงแล้ว โดยสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย หน้า351--)ด้วยความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม การใช้จิตนาการของเราก็ผิดมาโดยตลอด เมื่อกล่าวถึงพุทธตันตระจิตนาการก็จะนึกถึง เรื่องของ 5 ม (1มัทยะ-น้ำเมา 2-มางสะ-เนื้อ 3 มัตสยา-ปลา 3 มุทรา-ยั่วให้กำหนัด 5 ไมถุนะ-เสพเมถุน) ดังที่ท่านทั้งหลายได้กล่าวไว้ กระผมผู้ศึกษาและปฏิบัติพุทธตันตระยานโดยได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากพระลามะ จากธิเบต แห่งนิกายณิงมาปะอันเป็นนิกายเก่าแก่ที่สุดของธิเบต ก็ไม่มีคำสอนจากท่านลามะและจากพระคัมภีร์ใดได้จารึกเรื่องเกี่ยวกับ 5 ม .ดังความหมายที่ท่านได้ว่าไว้เลย ขอยกตัวอย่างมุทรา ที่ท่านได้รับรู้ว่าเป็นไปเพื่อกระตุ้นกำหนัดนั้น ผมคัดลอกจากหนังสือเล่มเดิมหน้า359 มาตอบแทน ซึ่งให้ความหมายพื้นๆเท่านั้น ดังนี้ มหามุทราซึ่งเป็นชื่อระบบการทำสมาธิระบบหนึ่งในพุทธตันตรยาน ในลัทธิตันตรในพระพุทธศาสนาแบบอินเดียยุคแรกๆ มหามุทราถูกถือว่าเป็นสตรีเพศอันนิรันดร ดังจะเป็นได้จากคำจำกัดความของ อัทวยวัชร ว่า คำว่า มหากับมุทรา รวมกันเป็นคำว่ามหามุทรา มหามุทราไม่ใช่อะไรสิ่งหนึ่ง แต่พ้นจากการครอบงำของ สิ่งอันมองเห็นได้ มหามุทราส่องแสงเหมือนกับท้องฟ้าอันสงบในเวลาเที่ยงระหว่างฤดูใบไม้ร่วง มหามุทราเป็นเครื่องสนับสนุนความสำเร็จทั้งมวล มหามุทราเป็นเอกภาพแห่งสังสารวัฎฎ์และนิพพาน มหามุทรา คือความกรุณาซึ่งไม่จำกัดอยู่แห่วัตถุสิ่งใด มหามุทราเป็นเอกภาพแห่งควางสุขอันยิ่งใหญ่
    พุทธตันตระกับฮินดูตันตระ แม้จะเรียกเหมือนกันแต่ต่างกันหน้ามือเป็นหลังมือ การซึ่มซับฮินดูตันตระไว้แล้วจนเต็มเปี่ยมเมื่อมาได้ฟังคำว่าตันตระอีกครั้ง ก็นึกว่าเป็นอย่างเดียวกัน ความรู้พุทธตันตระที่ถูกต้องเพิ่งเริ่มเผยแพร่เข้าสู่ตะวันตกหลังจากธิเบตแตก หลังปีพ.ศ.2502นี้เอง การรับรู้เรื่องราวของตันตระโดยผ่านมาทางฮินดูอินเดีย สำหรับชาวพุทธก็เหมือนการหันหน้าผิดทิศเสียแล้ว การจะเดินต่อไปให้ถูกทิศจึงเป็นไปไม่ได้
    สำหรับผู้ที่นับถือ 5 มเป็นสรณะนั้น เราจะนับว่าเป็นชาวพุทธหรือ ดังเช่น ผู้ลักลอบนุ่งเหลืองห่มเหลืองในประเทศไทย หมดหนทางในการทำมาหากิน เที่ยวเรี่ยไร เป็นอาชีพเลี้ยงตัว ไม่เคยรู้เรื่องหรือปฏิบัติธรรมเลย แถมทำตัวเสียหายอีก เราจะนับว่าเขาเหล่านั้นเป็นพระสงฆ์ของเราหรือ ถ้านับ*สุดท้ายก็จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาของไทยต่อไป
    มหาสิทธะ คือผู้บรรลุในพุทธตันตระยาน ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะเป็นสงฆ์หรือไม่ ท่านเป็นโยคี เป็นฤษี ท่านเป็นชาวบ้านธรรมดา แต่เมื่อท่านได้ปฏิบัติดี ปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้น จนบรรลุรู้แจ้งเห็นจริงในพุทธธรรมตันตระ ท่านก็เป็นมหาสิทธะ มิใช่ผู้ที่ปฏิบัติใน 5 ม แล้วก็เป็นมหาสิทธะ
    มีเรื่องราวอีกมากมายใน พุทธตันตระยานที่เราสงสัยอยากรู้ ขอให้เราหาแหล่งที่ให้ความรู้อันถูกต้องต่อเรา ซึ่งก็คือ พระลามะและผู้ปฏิบัติจริง*นั่นเอง
     
  7. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +1,488
    ปัจจุบันพระพุทธศาสนา มีนิกายที่สำคัญอยู่สามนิกาย คือ เถรวาท มหายาน และวัชรยานหรือตันตรยาน ในส่วนของนิกายเถรวาท และมหายาน พุทธศาสนิกชนส่วนมากมักจะรับรู้และมีความเข้าใจกันพอสมควร แต่อีกนิกายหนึ่งอยู่กึ่งๆระหว่างเถรวาทและมหายาน แต่มีข้อปฏิบัติที่แยกออกไปอีกอย่างหนึ่ง ที่มีคนรู้จักมากที่สุดคือพระพุทธศาสนานิกายตันตรยาน แต่มักชอบเรียกตัวเองว่าวัชรยาน

    ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะหายไปจากอินเดียประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น เท่าที่ปรากฏในเอกสารต่างๆระบุตรงกันว่า เพราะพระพุทธศาสนาได้รับเอาการปฏิบัติแบบตันตระจากฮินดูเข้ามา จนเกิดความเสื่อมทางศีลธรรม จนกระทั่งกองทัพมุสลิมบุกเข้าเผาทำลายศาสนสถานของพระพุทธศาสนา ในขณะที่พระภิกษุผู้นิยมในลัทธิตันตระ พากันนั่งสาธยายมนต์ โดยไม่คิดจะต่อสู้กับมุสลิม ส่วนมากจึงถูกฆ่าตาย

    ในส่วนของศาสนิกชน ถ้าใครต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ก็ต้องเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม หรือไม่ก็ทำเฉยเสีย โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนา
    ถ้าวิเคราะห์ตามนี้ก็จะเห็นได้ว่า ทั้งฮินดูและพุทธถูกทำลายลงพร้อมกัน แต่ทำไมฮินดูจนยังคงมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียอยู่ในปัจจุบันควบคู่ไปกับมุสลิม แต่พระพุทธศาสนาที่เคยเจริญรุ่งเรืองกลับต้องมาเจริญในต่างแดน เช่น ไทย พม่า จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ในแต่ละประเทศก็ได้พัฒนาพุทธศาสนาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของตน จนกลายเป็นพระพุทธศาสนาในลักษณะที่มีต้นกำเนิดจากที่เดียวกัน แต่มีคำสอนและพิธีกรรมไม่เหมือนกัน

    [​IMG]


    พระพุทธศาสนาแบบตันตระยาน หรือวัชรยานหรือมันตรยาน เกิดขึ้นในอินเดียประมาณศตวรรษที่ 7 โดยได้ดัดแปลงเอาลัทธิฮินดูตันตระเพื่อเอาใจชาวฮินดู และได้นำเอาพิธีกรรมทางอาถรรพเวทเพื่อต่อสู้กับศาสนาฮินดู พุทธศาสนาแบบตันตระมีสาขาใหญ่ 2 สาขา เรียกว่าสาขามือขวา กับ มือซ้าย นิกายมือขวาเคารพบูชาเทพฝ่ายชาย ส่วนนิกายมือซ้ายนิยมเรียกว่าวัชรยาน ถือเอาศักติหรือชายาของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก และทุ่มเทความสนใจหนักไปที่นางตารา หรือพระนางผู้ช่วยให้พ้นทุกข์

    พิธีกรรมที่สำคัญของตันตรยาน คือ การสาธยายมนตร์ที่ลึกลับต่างๆ และมีการปฏิบัติโยคะท่าทางต่างๆ พร้อมด้วยการเจริญสมาธิ จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติเพื่อบรรลุความหลุดพ้น เชื่อกันว่าในทันทีที่มีความชำนาญได้บรรลุฌานชั้นที่ 1 แล้ว กฏความประพฤติด้านศีลธรรมปกติธรรมดาก็ไม่จำเป็นสำหรับผู้นั้นตลอดไป และเชื่อว่าการฝ่าฝืนโดยเจตนา ถ้าหากทำด้วยความเคารพแล้ว ก็จะทำให้เขาบรรลุธรรมขั้นสูงต่อไป
    ดังนั้นจึงมักผ่อนผันในเรื่องการเมาสุรา การรับประทานเนื้อสัตว์ และการสับสนในทางประเวณี (จำนงค์ ทองประเสริฐ 2540:197)

    เมื่อบรรลุฌานขั้นที่ 1 กฎแห่งความประพฤติก็ไม่จำเป็น นี่กระมังที่ทำให้ใครๆก็อ้างว่าตนเองบรรลุฌารนขั้นที่ 1 เพื่อที่ตนเองจะได้ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ นักบวชตันตระบางคนจึงเมาสุรา เสพเมถุนกันอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะได้บรรลุศักติ นั่นเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อทำความชั่ว โดยอ้างหลักการบนพื้นฐานของความดี คนที่ทำชั่วในคราบของนักบุญ นับเป็นคนบาปที่ไม่ควรให้อภัย

    พุทธศาสนานิกายตันตระ ถูกนำมารวมเข้าไว้ในการปฏิบัติพิธีรีตองที่เป็นความลับ ครูอาจารย์ในนิกายนี้ มักจะเขียนหนังสือที่มีปรัชญาลึกซึ้ง เพราะตันตรยานมีความลึกลับ และมีวิธีการที่พิสดารที่เอง จึงมีผู้ให้คำอธิบายไว้ว่า “ตันตรยาน บางครั้งเรียกว่าลัทธิคุยหยาน ซึ่งแปลว่าลัทธิลับ เป็นนิกายที่มีลักษณะแปลกประหลาดกว่านิกายพุทธศาสนาอื่น ๆ ที่รับเอาพิธีกรรมและอาถรรพเวทของพราหมณ์ เข้ามาสั่งสอนด้วย แต่แก้ไขให้เป็นของพุทธศาสนาเสีย เช่น แทนที่จะบูชาพระอิศวรก็บูชาพระพุทธเจ้าแทน เกิดขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 (เสถียร โพธินันทะ 2541:172)
    การปฏิบัติตันตระในพุทธตันตรยานในพุทธศตวรรษที่ 17 นั้นมีอธิบายไว้ว่า ถือว่าการพร่ำบ่นมนตร์ และลงเลขยันต์ ซึ่งเรียกว่าธารณีเป็นหนทางรอดพ้นสังสารทุกข์ได้เหมือนกัน การทำจิตให้เพ่งเล็งถึงสีสันวรรณะ หรือทำเครื่องหมายต่างๆด้วยนิ้วมือซึ่งเรียกว่ามุทรา จะให้ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้ลุทางรอดพ้นได้ ลัทธินี้เรียกว่า มนตรยานหรือสหัชญาณ, เกิดมีการนับถือฌานิพุทธและพระโพธิสัตว์อย่างยิ่งยวด มีการจัดลำดับพระพุทธเจ้าเป็นลำดับชั้น ในยุคนี้เกิดมีการนำเอาลัทธิศักติเข้ามาบูชาด้วย จนทำให้พระฌานิพุทธะและพระโพธิสัตว์มีพระชายาขนาบข้าง เหมือนพระอุมาเป็นศักติของพระศิวะ พระลักษมีเป็นศักติของพระวิษณุ ผู้เข้าสู่นิพพานคือเข้าอยู่ในองค์นิราตมเทวี ลัทธิอย่างนี้เรียกว่า วัชรยาน ผู้อยู่ในลัทธิเรียกว่าวัชราจาร มีการเซ่นพลีผีสาง โดยถือว่า ถ้าอ้อนวอนบูชาจะสำเร็จผลประพสบความสุขได้ และเติมลักษณะพระฌานิพุทธให้มีปางดุร้ายอย่างนางกาลี ซึ่งเป็นเหมือนพระนางอุมาที่ดุร้าย ลัทธินี้เรียกว่ากาลจักร” (เสถียรโกเศศ-นาคะประทีป 2537:166)

    คิดถึงสถานการณ์พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ซึ่งถือว่าเป็นนิกายเถรวาท แต่มีการพร่ำบ่นสาธยายมนตร์ ลงอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกพระเครื่อง คล้ายๆกับตันตระในยุคเริ่มต้น อิทธิพลของตันตรยานแผ่คลุมพุทธอาณาจักรแทบทุกนิกาย เพียงแต่ว่า ใครจะรับเอาไว้ได้มากน้อยเท่าใด และแปรสภาพไปสู่ยุคที่สองได้เร็วเท่าใด หากยังรักษาสถานภาพไว้แค่ขั้นที่หนึ่ง ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เมืองไทยน่าจะรักษาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทไว้ได้อีกนาน แต่ถ้าเริ่มเข้าสู่ยุคที่สองคือนับถือพระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็นเทพเจ้า นิพพานเป็นอาณาจักร เป็นแดนสุขาวดีที่มีพระสงฆ์บางรูปอ้างว่า สามารถนำภัตตาหารไปถวายพระพุทธเจ้าได้ นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วง

    [​IMG]
    นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาต่างกล่าวโทษพระพุทธศาสนาแบบตันตระ ว่าเป็นความเสื่อมของพระพุทธศาสนา แต่ที่ทิเบตพระพุทธศาสนาแบบตันตระกลับเป็นเอกลักษณ์พิเศษ เพราะตันตระจึงทำให้มีทิเบต และชาวตะวันตกรู้จักพระพุทธศาสนาแบบตันตระมากว่านิกายอื่น(ถ้าไม่นับเซน) ชาวทิเบตประเทศที่ไร้อิสรภาพ แต่ไม่ไร้ปัญญา พวกเขายังคงมีพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักที่สำคัญที่สุดในประเทศ และที่สำคัญพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้ที่ทิเบตก็เพราะตันตระยานนี่เอง

    ร่องรอยของพระพุทธศาสนาในอินเดีย อาจกล่าวได้ว่าตันตรยานคือนิกายสุดท้ายที่เหลืออยู่ในอินเดีย และสูญหายไปจากอินเดียประมาณศตวรรษที่ 17 แต่พระพุทธศาสนาไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศอื่น ทั้งมหายาน และเถรวาท

    ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานถือว่า พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาอันมหัศจรรย์สามครั้ง คือ ครั้งแรกแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกะปปวัตนสูตร โดยทรงสอนเรื่องอริยสัจจ์ 4 แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนกระทั่งอัญญาโกญฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม

    ครั้งที่ 2 แสดงปรัชญาปารมิตาสูตร บนยอดเขาคิชกูฏ นอกกรุงราชคฤห์ เป็นการขยายความของธรรมเทศนาครั้งแรกให้มีความลึกซึ้ง และชัดเจนยิ่งขึ้น

    ครั้งที่ 3 แสดงตถาคตครรภ์สูตร ซึ่งเป็นการสอนเทคนิค และวิธีการที่จะเข้าถึงปรมัตถธรรม ต่อมาท่านนาครชุน ได้นำมาอธิบายทัศนะว่าด้วยศูนยตา และต่อมาได้เกิดนิกายตันตระยานขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่จะเข้าถึงพุทธภาวะได้ง่ายกว่าวิธีอื่น


    [​IMG]

    http://cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=198:2010-07-13-08-21-23&catid=4:2009-12-17-14-42-44&Itemid=13
     
  8. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +1,488
    วัชรยานหรือตันตรยาน



    ปัจจุบันพระพุทธศาสนามีนิกายที่สำคัญอยู่สามนิกายคือเถรวาท มหายาน และวัชรยานหรือตันตรยาน ในส่วนของนิกายเถรวาทและมหายาน พุทธศาสนิกชนส่วนมากมักจะรับรู้และมีความเข้าใจกันพอสมควร ประเทศไทยก็ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยพระพุทธศาสนามาหลายครั้ง แต่อีกนิกายหนึ่งอยู่กึ่งๆระหว่างเถรวาทและมหายาน แต่มีข้อปฏิบัติที่แยกออกไปอีกอย่างหนึ่ง ที่มีคนรู้จักมากที่สุดคือพระพุทธศาสนานิกายตันตรยานแต่มักชอบเรียกตัวเองว่าวัชรยาน
    ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะหายไปจากอินเดียประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น เท่าที่ปรากฏในเอกสารต่างๆระบุตรงกันว่า เพราพระพุทธศาสนาได้รับเอาการปฏิบัติแบบตันตระจากฮินดูเข้ามา จนเกิดความเสื่อมทางศีลธรรม จนกระทั่งกองทัพมุสลิมบุกเข้าเผาทำลายศาสนสถานของพระพุทธศาสนา ในขณะที่พระภิกษุผู้นิยมในลัทธิตันตระ พากันนั่งสาธยายมนต์ โดยไม่คิดจะต่อสู้กับมุสลิม ส่วนมากจึงถูกฆ่าตาย ส่วนผู้ที่ได้ฌานสมาบัติจริงก็เหาะหนีไปยังประเทศอื่นเมืองอื่น
    ในส่วนของศาสนิกชนถ้าใครต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ก็ต้องเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามหรือไม่ก็ทำเฉยเสียโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนา ถ้าวิเคราะห์ตามนี้ก็จะเห็นได้ว่าทั้งฮินดูและพุทธถูกทำลายลงพร้อมกัน แต่ทำไมฮินดูจนยังคงมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียอยู่ในปัจจุบันควบคู่ไปกับมุสลิม แต่พระพุทธศาสนาที่เคยเจริญรุ่งเรืองกลับต้องมาเจริญในต่างแดนเช่นไทย พม่า จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ในแต่ละประเทศก็ได้พัฒนาพุทธศาสนาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของตน จนกลายเป็นพระพุทธศาสนาในลักษณะที่มีต้นกำเนิดจากที่เดียวกัน แต่มีคำสอนและพิธีกรรมไม่เหมือนกัน
    พระพุทธศาสนาแบบตันตระยานหรือวัชรยานหรือมันตรยาน เกิดขึ้นในอินเดียประมาณศตวรรษที่ 7 โดยได้ดัดแปลงเอาลัทธิฮินดูตันตระเพื่อเอาใจชาวฮินดู และได้นำเอาพิธีกรรมทางอาถรรพเวทเพื่อต่อสู้กับศาสนาฮินดู พุทธศาสนาแบบตันตระมีสาขาใหญ่ 2 สาขา เรียกว่าสาขามือขวากับ มือซ้าย นิกายมือขวาเคารพบูชาเทพฝ่ายชาย ส่วนนิกายมือซ้ายนิยมเรียกว่าวัชรยาน ถือเอาศักติหรือชายาของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก และทุ่มเทความสนใจหนักไปที่นางตารา หรือพระนางผู้ช่วยให้พ้นทุกข์
    พิธีกรรมที่สำคัญของตันตรยานคือการสาธยายมนตร์ที่ลึกลับต่างๆ และมีการปฏิบัติโยคะท่าทางต่าง ๆ พร้อมด้วยการเจริญสมาธิ จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติเพื่อบรรลุความหลุดพ้น เชื่อกันว่าในทันทีที่มีความชำนาญได้บรรลุฌานชั้นที่ 1แล้ว กฏความประพฤติด้านศีลธรรมปกติธรรมดาก็ไม่จำเป็นสำหรับผู้นั้นตลอดไป และเชื่อว่าการฝ่าฝืนโดยเจตนา ถ้าหากทำด้วยความเคารพแล้ว ก็จะทำให้เขาบรรลุธรรมขั้นสูงต่อไป ดังนั้นจึงมักผ่อนผันในเรื่องการเมาสุรา การรับประทานเนื้อสัตว์ และการสับสนในทางประเวณี (จำนงค์ ทองประเสริฐ 2540:197)
    เมื่อบรรลุฌานขั้นที่ 1 กฎแห่งความประพฤติก็ไม่จำเป็น นี่กระมังที่ทำให้ใครๆก็อ้างว่าตนเองบรรลุฌารนขั้นที่ 1 เพื่อที่ตนเองจะได้ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ นักบวชตันตระบางคนจึงเมาสุรา เสพเมถุนกันอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะได้บรรลุศักติ นั่นเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อทำความชั่ว โดยอ้างหลักการบนพื้นฐานของความดี คนที่ทำชั่วในคราบของนักบุญ นับเป็นคนบาปที่ไม่ควรให้อภัย
    พุทธศาสนานิกายตันตระ ถูกนำมารวมเข้าไว้ในการปฏิบัติพิธีรีตองที่เป็นความลับ ครูอาจารย์ในนิกายนี้มักจะเขียนหนังสือที่มีปรัชญาลึกซึ้ง เพราะตันตรยานมีความลึกลับ และมีวิธีการที่พิสดารที่เอง จึงมีผู้ให้คำอธิบายไว้ว่า “ตันตรยาน บางครั้งเรียกว่าลัทธิคุยหยาน ซึ่งแปลว่าลัทธิลับ เป็นนิกายที่มีลักษณะแปลกประหลาดกว่านิกายพุทธศาสนาอื่น ๆ ที่รับเอาพิธีกรรมและอาถรรพเวทของพราหมณ์ เข้ามาสั่งสอนด้วย แต่แก้ไขให้เป็นของพุทธศาสนาเสีย เช่น แทนที่จะบูชาพระอิศวรก็บูชาพระพุทธเจ้าแทน เกิดขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 (เสถียร โพธินันทะ 2541:172)
    เมื่อชาวพุทธรับเอาลัทธิตันตระจากฮินโมาปฏิบัติเพื่อต่อสู้กับฮินดู พระสงฆ์มักจะเน้นที่พิธีกรรมที่แปลกๆและพิสดาร ยิ่งมีความลึกลับเท่าไร ก็ยิ่งทำให้คนเลื่อมใสมากขึ้น และนั่นทำให้เกิดลาภสักการะ พระสงฆ์จึงละทิ้งการปฏิบัติทางจิต หันไปเน้นการประกอบพิธีกรรมที่ลึกลับ ผู้คนก็ชอบใจเพราะไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่เข้าร่วมพิธีก็สามารถเข้าถึงพุทธภาวะได้ ตันตระเจริญมากเท่าไร ศีลธรรมก็ยิ่งเสื่อมลงมากเท่านั้น “เพราะอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของลัทธิตันตริกหรือวัชรยานนี้ ประชาชนอินเดียในสมัยนั้นต่างหมดความเคารพในศีลธรรม แต่กลับนิยมชมชื่นในความวิปริตนานาชนิด” (กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย 2537:437)
    คัมภีร์ตันตระในลัทธิฮินดูสอนว่า “มนุษย์มีความไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นกฏพิธีจึงต้องกระทำต่าง ๆ กันตามสภาพของมนุษย์ มนุษย์มีลักษณะ 3 ประการ คือ ปศุ (สัตว์) วีระ (กล้าหาญ) และทิพยภาวะ ลักษณะ 3 ประการนี้ มักจะหมายถึงวัยของมนุษย์คือ ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย และสอนว่า ถ้าจะข่มราคะ โทสะ โมหะ ให้หมดไป ก็อาศัยราคะ โทสะ โมหะ นั้นเองเป็นเครื่องบำราบ (หนามยอกเอาหนามบ่ง) คือต้องกินอาหาร ต้องดื่มน้ำเมา ต้องเสพเมถุน เป็นต้นแต่ละอย่างให้เต็มที่ สิ่งเหล่านี้แหละจะเป็นเครื่องดับมันเอง” (เสถียรโกเศศ-นาคะประทีป 2537:109)
    พระพุทธศาสนาแบบตันตระเน้นในเรื่องเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรม การสาธยายมนตร์ และมีคำสอบที่เป็นรหัสนัยอันลึกลับ จนทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย ดังที่เสถียรโพธินันทะแสดงความเห็นไว้ว่า “ลัทธิมันตรยาน ถ้าจะเทียบด้วยเปอร์เซ็นต์แล้ว ก็มีความเป็นพระพุทธศาสนาเหลือสัก 10 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นรับเอาลัทธิฮินดูตันตระมาดัดแปลง ความประสงค์เดิมก็เพียงเพื่อเอาใจชาวฮินดู จึงได้นำลัทธิพิธีกรรมทางอาถรรพเวทมาไว้มาก และได้ผลเพียงชั่วแล่น แต่ผลเสียก็เป็นเงาตามทีเดียว คือถูกศาสนาพราหณ์กลืนโดยปริยายนั่นเอง (เสถียร โพธินันทะ2541:198)
    การปฏิบัติตันตระในพุทธตันตรยานในพุทธศตวรรษที่ 17 นั้นมีอธิบายไว้ว่า (1)ถือว่าการพร่ำบ่นมนตร์และลงเลขยันต์ซึ่งเรียกว่าธารณีเป็นหนทางรอดพ้นสังสารทุกข์ได้เหมือนกัน การทำจิตให้เพ่งเล็งถึงสีสันวรรณะหรือทำเครื่องหมายต่างๆด้วยนิ้วมือซึ่งเรียกว่ามุทรา จะให้ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้ลุทางรอดพ้นได้ ลัทธินี้เรียกสวว่า มนตรยานหรือสหัชญาณ, (2) เกิดมีการนับถือฌานิพุทธและพระโพธิสัตว์อย่างยิ่งยวด มีการจัดลำดับพระพุทธเจ้าเป็นลำดับชั้น ในยุคนี้เกิดมีการนำเอาลัทธิศักติเข้ามาบูชาด้วย จนทำให้พระฌานิพุทธะและพระโพธิสัตว์มีพระชายาขนาบข้าง เหมือนพระอุมาเป็นศักติของพระศิวะ พระลักษมีเป็นศักติของพระวิษณุ ผูเข้าสู่นิพพานคือเข้าอยู่ในองค์นิราตมเทวี ลัทธิอย่างนี้เรียกว่าวัชรยาน ผู้อยู่ในลัทธิเรียกว่าวัชราจาร (3) มีการเซ่นพลีผีสาง โดยถือว่าถ้าอ้อนวอนบูชาจะสำเร็จผลประพสบความสุขได้ และเติมลักษณะพระฌานิพุทธให้มีปางดุร้ายอย่างนางกาลี ซึ่งเป็นเหมือนพระนางอุมาที่ดุร้าย ลัทธินี้เรียกว่ากาลจักร” (เสถียรโกเศศ-นาคะประทีป 2537:166)
    ฟังคำอธิบายของนิกายตันตรยานแล้วก็น่าสงสารพระพุทธศาสนา ที่ถูกนักการศาสนากระทำปู้ยี่ปู้ยำ คิดถึงการที่พระสัมสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเหนื่อยอย่างแสนสาหัสกว่าที่จะทรงตั้งศาสนจักรขึ้นได้ แต่กลับอยู่ในดินแดนอันเป็นถิ่นกำเนิดได้ไม่ถึง 2,000 ปี
    คิดถึงสถานการณ์พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ซึ่งถือว่าเป็นนิกายเถรวาท แต่มีการพร่ำบ่นสาธยายมนตร์ ลงอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกพระเครื่อง คล้ายๆกับตันตระในยุคเริ่มต้น อิทธิพลของตันตรยานแผ่คลุมพุทธอาณาจักรแทบทุกนิกาย เพียงแต่ว่าใครจะรับเอาไว้ได้มากน้อยเท่าใด และแปรสภาพไปสู่ยุคที่สองได้เร็วเท่าใด หากยังรักษาสถานภาพไว้แค่ขั้นที่หนึ่งก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เมืองไทยน่าจะรักษาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทไว้ได้อีกนาน แต่ถ้าเริ่มเข้าสู่ยุคที่สองคือนับถือพระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็นเทพเจ้า นิพพานเป็นอาณาจักร เป็นแดนสุขาวดีที่มีพระสงฆ์บางรูปอ้างว่าสามารถนำภัตตาหารไปถวายพระพุทธเจ้าได้ นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วง
    นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาต่างกล่าวโทษพระพุทธศาสนาแบบตันตระ ว่าเป็นความเสื่อมของพระพุทธศาสนา แต่ที่ทิเบตพระพุทธศาสนาแบบตันตระกลับเป็นเอกลักษณ์พิเศษ เพราะตันตระจึงทำให้มีทิเบต และชาวตะวันตกรู้จักพระพุทธศาสนาแบบตันตระมากว่านิกายอื่น ชาวทิเบตประเทศที่ไร้อิสรภาพ แต่ไม่ไร้ปัญญา พวกเขายังคงมีพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักที่สำคัญที่สุดในประเทศ และที่สำคัญพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้ที่ทิเบตก็เพราะตันตระยานนี่เอง
    ร่องรอยของพระพุทธศาสนาในอินเดีย อาจกล่าวได้ว่าตันตรยานคือนิกายสุดท้ายที่เหลืออยู่ในอินเดียและสูญหายไปจากอินเดียประมาณศตวรรษที่ 17 แต่พระพุทธศาสนาไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศอื่น ทั้งมหายานและเถรวาท
    ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานถือว่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาอันมหัศจรรย์สามครั้งคือครั้งแรกแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกะปปวัตนสูตร โดยทรงสอนเรื่องอริยสัจจ์ 4 แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนกระทั่งอัญญาโกญฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ครั้งที่ 2แสดงปรัชญาปารมิตาสูตร บนยอดเขาคิชกูฏ นอกกรุงราชคฤห์ เป็นการขยายความของธรรมเทศนาครั้งแรกให้มีความลึกซึ้งและชัดเจนยิ่งขึ้น ครั้งที่ 3 แสดงตถาคตครรภ์สูตร ซึ่งเป็นการสอนเทคนิคและวิธีการที่จะเข้าถึงปรมัตถธรรม ต่อมาท่านนาครชุนได้นำมาอธิบายทัศนะว่าด้วยศูนยตา และต่อมาได้เกิดนิกายตันตระยานขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่จะเข้าถึงพุทธภาวะได้ง่ายกว่าวิธีอื่น
    คำว่า "ตันตระ" หมายถึงความสืบเนื่องของจิตหรือวิญญาณ ฝ่ายทิเบตมีความเห็นว่าตันตระเกิดขึ้นในครั้งที่พระพุทธองค์แสดงธรรมจักรครั้งที่ 2 พระองค์ได้ทรงประทานคำสอนตันตระเบื้องต้น ในคัมภีร์ฝ่ายทิเบต พวกลามะต่างยืนยันหนักแน่นว่า “การปฏิบัติตันตระเท่านั้นที่จะเข้าถึงพุทธภาวะได้ โดยรวมเอกภาพให้เกิดขึ้นระหว่างรูปกายและธรรมกาย โดยอ้างว่า “พระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่างว่า อุจจาระนั้นถ่ายอยู่ในเมืองเป็นของสกปรก แต่ถ้าอยู่ในท้องทุ่งนาก็กลายเป็นปุ๋ย พระโพธิสัตว์สามารถใช้กิเลสให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ฉันใดก็ฉันนั้น” (ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (ษัฏเสน)2538:102)
    ในการการปฏิบัติตามหลักตันตระนั้นมีลำดับขั้นที่แตกต่างกัน ตามความยากง่าย ซึ่งสามารถแบ่งตามลำดับได้ 4 ระดับคือ
    1. กิริยาตันตระ ว่าด้วยการกระทำ เป็นตันตระขั้นต้น ซึ่งให้ความสำคัญกับกิริยาท่าทาง ดังนั้นจึฝมีวิธีฝึกที่เรียกว่ามุทรา การที่จะเข้าถึงพุทธภาวะได้บางครั้งก็เพียงแต่ตรึกนึกเห็นภาพขององค์พุทธะจนเกิดเป็นแสงสว่าง การเข้าถึงทางวาจาก็เพียงแต่ได้ยินเสียงกระซิบมนต์เบาๆ หรือท่องสาธยายมนต์จนเกิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพุทธภาวะ อุปกรณ์ในการฝึกคือการเพ่งกสิณและฟังเสียงสาธยายมนต์
    2. จรรยาตันตระ ว่าด้วยความประพฤติ เน้นที่การฝึกฝนทางกายและการฝึกฝนภายในคือการฝึกจิต การฝึกก็ให้นึกเห็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งจนเกิดเป็นนิมิตรประจำตัว ที่นิยมมากที่สุดคือพระไวโรจนะพุทธเจ้า
    3. โยคะตันตระ ว่าด้วยโยควิธี เน้นการฝึกจิตภายในมากกว่าการฝึกกิริยาภายนอก มีวิธีการในการฝึกค่อนข้างจะพิเศษโดยการอธิบายถึงอาณาจักรแห่งวัชระและมรรควิธีในการชำระกายให้บริสุทธิ์
    4. อนุตตรโยคะ ว่าด้วยโยควิธีอย่างยิ่งยวด โดยการฝึกฝนภายในจิตอย่างเดียวโดยไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องกิริยาภายนอก ซึ่งเป็นตันตระขั้นสูงสุด การฝึกจิตในระดับนี้จะต้องอาศัยอาจารย์ผู้ชำนาญ ซึ่งจะคอยถ่ายทอดคำสอนสำคัญ โดยการแสดงรหัสยนัย ซึ่งเป็นคำสอนที่ลี้ลับอาจารย์จะถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ที่ผ่านการฝึกจิตจนถึงระดับแล้วเท่านั้น ลูกศิษย์จะต้องคอยตีความและนำเอามาฝึกจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ขึ้นในตน (Alex Waymann 1997:12)
    วิธีการที่พุทธศาสนาแบตันตระสอนในทิเบตนั้น คนภายนอกอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่เรียนหรือศึกษาไม่ยาก ใครต้องการเข้าถึงพุทธภาวะก็เพียงแต่เข้าหาอาจารย์และคอยตีความรหัสนัยที่อาจารย์แสดงเท่านั้นก็จะเข้าถึงอนุตตรโยคะได้แล้ว หากศึกษาตามขั้นตอนนี้ ตันตระก็ไม่ใช่นิกายที่ลึกลับอะไร แต่ที่มาของคำว่าตันตระเป็นเรื่องที่ควรศึกษา เพราะตันตระถูกนักปราชญ์หลายท่านให้คำอธิบายไว้อย่างน้ากลัว ชาวพุทธเถรวาทจึงเกรงกลัวพระพุทธศาสนาแบบตันตระยานไปด้วย
    ในกรณีของธรรมกาย หากนำเอาลัทธิมาอธิบายแล้ว การเพ่งลูกแก้วจนเกิดเป็นดวงใส ที่ชาวธรรมกายถือว่าได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น แท้ที่จริงมีอธิบายไว้ในกิริยาตันตระ ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติเบื้องต้นเท่านั้น ธรรมกายไม่ได้สอนผิด เพียงแต่สอนตามหลักของตันตระยานเท่านั้น ในขณะที่รอบๆข้างเป็นเถรวาท จึงถูกโจมตี จนทำให้การสอนเรื่องธรรมกายขาดความถูกต้อง ที่ผิดเพราะไม่ตรงกับเถรวาทเท่านั้น แต่ไปตรงกับตันตระ ถ้าเพียงแต่ธรรมกายบอกว่าพวกเขาสอนตามนิกายตันตระยานเท่านั้น ทุกอย่างก็จบ เพราะตันตระยานก็คือพุทธศาสนานิกายหนึ่งสังกัดมหายาน
    ทิเบตเจริญเพราะตันตระ เพราะในยุคแรกที่พระพุทธศาสนาเข้าไป ก็ด้วยการปราบผีของท่านปัทมะสัมภวะ เมื่อปราบผีราบคาบจนผียอมรับนับถือ จึงทำให้ผีเปลี่ยนศาสนา พระพุทธศาสนาในทิเบตจึงเป็นเหมือนการครอบลงไปบนความเชื่อเก่า เพียงแต่เปลี่ยนผีมาเป็นพุทธเพราะพุทธมีพลังมากกว่า สักวันหนึ่งเมื่อผีมีพลังมากขึ้นพุทธอาจจะกลายเป็นผีไปก็ได้
    การที่ตันตรยานเจริญในทิเบตได้นั้น นอกจากจะเป็นเพราะการผสมผสานระหว่างพุทธกับผีแล้ว ยังมีผู้ให้ความเห็นไว้อีกว่า “ตันตรยานนั้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเถรวาทด้วย และอาจารยวาทด้วย องค์ทะไลลามะทรงเป็นพระภิกษุ สมาทานสิกขาบทตามพระปาฏิโมกข์ ดุจดังสมณะในบ้านเรา การถือศีลนั้นไม่ใช่เพื่องดทำร้ายผู้อื่นและเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นเท่านั้น หากฝึกให้งดแลเห็นสภาพต่างๆตามที่ปรากฏ รวมทั้งยอมรับสมมุติสัจจ์ อันเป็นที่ยอมรับกับอย่างทั่วๆไปในสังคมอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเข้าถึงปรมัตถสัจจ์นั่นเอง” (ส ศิวรักษ์ 2542: 2)
    ตันตรยานจะเป็นส่วนหนึ่งของเถรวาทหรือไม่นั้น เป็นปัญหาที่ควรศึกษาค้นคว้าต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือการปฏิบัติตามแบบตันตรยานนั้นมีอยู่ในเถรวาท ใครจะได้รับอิทธิพลจากใครหรือไม่อย่างไรต้องหาคำตอบต่อไป ตันตระทำให้พุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย แต่ทำไมตันตระจึงทำให้พระพุทธศาสนาแบบทิเบตเจริญ
    พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
    14/07/53
    เอกสารอ้างอิง
    กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. ภารตวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยาม, 2516.
    จำนงค์ ทองประเสริฐ. บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์, 2540.
    ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (ษัฏเสน). พระพุทธศาสนาแบบทิเบต.กรุงเทพฯ: ส่องศยาม,2538.
    เสถียร โพธินันทะ. ปรัชญามหายาน. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541.
    เสถียรโกเศศ-นาคะประทีป. ลัทธิของเพื่อน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิราบ, 2537.
    สุลักษณ์ ศิวรักษ์. พุทธศาสนาตันตระหรือวัชรยาน. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย, 2542.
    วศิน อินทสระ. พุทธปรัชญามหายาน. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2530.
    Alex Waymann. Tantric Buddhism. Delhi: Motilan, 1997.
     
  9. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +1,488
    เกี่ยวกับฮินดูตันตระ
    ฮินดูตันตระ เป็นลัทธิหนึ่งของอินดู คำว่าตันตระเป็นชื่อลัทธิด้วย คัมภีร์ของลัทธินี้มีหลักการคล้ายลัทธิศักดิ มีพิธีสำหรับผู้เริ่มนับถือ 5 ประการเรียกว่า ปัญจัตตว คือ ธาตุ 5 หรือปัญจมการ แปลว่าอักษร ม 5 ตัว คือ
    1. มัทยะหรือมทิระ คือน้ำเมา
    2. มามสะหรือมัตสยะ เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลา
    3. มนตะ พร่ำมนต์ให้กำหนัด
    4. มุครา แสดงท่ายั่วยวน
    5. ไมถุนะ เสพเมถุน
    พิธีทั้ง 5 นี้ กระทำในเวลากลางคืน เรียก กาลจันทร เริ่มด้วยนั่งล้อมเป็นวง พอทำพิธีเสร็จตั้งแต่ข้อ 1-4 จบลงด้วยข้อที่ 5 บูชาเจ้าแม่กาลี เพื่อให้เพลิดเพลิน จะได้ไม่ไปทำร้ายใคร(ตามเทวาลัยมีนางเทพทาสี สำหรับร่วมพิธีนี้) การดื่มเป็นต้นบางคนกล่าวทำแต่พอควร แต่บางคนกล่าวว่าต้องทำให้มาก ให้หายอยาก ความยากถ้าทำให้มากแล้วจะหายออกไปเอง เป็นการแก้ความยากด้วยทำให้จนหายอยาก คือแก้ตัณหาด้วยตัณหา แล้วจิตจะพ้นจากตัณหา
    ในวรรณคดีสันสฤต เรียกคัมภีร์หมวดหนึ่งในลัทธิฮินดูว่าตันตระ อาคม และสังหิตา(บางท่านกล่าวว่า ตันตระเป็นของนิกายศักติ อาคมเป็นนิกายไศวะ สังหิตาเป็นของนิกายไวษณพ)ลักษณะอย่างของคัมภีร์นี้คือ ทิ้งหลักพิธีกรรมและอรรถแห่งพระเวทอันลึกซึ้งยากที่จะเข้าใจและทำอรรถให้รู้ง่าย โดยอ้างว่ามีเทพองค์หนึ่งบันดาลให้คัมภีร์นี้เกิดมี
    เนื้อความในคัมภีร์นี้ บางส่วนร้อยกรองเป็นรูปสนทนาระหว่างพระศิวะกับพระอุมา ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามลัทธิ ถ้าพระอุมาถามพระศิวะตอบ เรียกว่า อาคม ถ้าพระศิวะถามพระอุมาตอบเรียกว่านิคม บางทีเรียกว่าเป็นทามร เรียกอาคมเป็น ยามล( คู่ )
    คุณของมนุษย์มี 3 ข้อ คือ ปศุ ความเป็นสัตว์ วีระ ความกล้า ทิพภาวะ ภาวะที่เป็นทิพย์(คล้ายพระพุทธภาวะของมหายาย)หรือผู้ไม่มีตันตระ ผู้มีสามัญตันตระ ผู้มีวิเศษตันตระ หลักในการปฏิบัติเพื่อคุณทั้ง 3 นั้นมี 4 คือ ฌาน โยคะ จริยา กริยา (คล้ายของลัทธิศักดิ)ฌาน โยคะเป็นการปฏิบัติทางจิตใจ จริยา กริยาเป็นการปฏิบัติทางกาย วาจาหลักทั้ง 4 นี้เป็นหลักของตันตระ อาคม และสังหิตาด้วย อีกอย่างหนึ่ง ลัทธินี้(กับลัทธิศักดิ)มีความเห็นว่าลัทธิอินดูมีการแบ่งเป็นลำดับๆ คือนับถือพระเวท พระวิษณุ พระศิวะ ทักษณาจาร วาจาจาร สิทธานตาจาร และเกาลาจาร และเกาลาจาร 4 ลำดับแรก คือ พระเวท ถึงทักษิณาจาร อยู่ลับดับสูง มีประวฤตติ คือความรู้สึกตามธรรมชาติ หรือความรู้สึกรัก คือ มีราคะ เป็นต้น เป็นเหตุให้เคลื่อนไหว มนุษย์ต้องข่มประวฤตติให้สิ้น จึงจะบังเกิดเป็นนิวฤตติหมดประวฤติ วิธีข่มมี 2 คือ ทรมานตน (อัตตกิลมถานุโยค)กับใช้ราคะ โทสะ โมหะ ปราบบราคะ โทสะ โมหะ เช่น คนอยากอาหารก็กินให้อิ่ม ให้เบื่อ ให้หมดอยาก แล้วราคะเป็นต้น ก็จะดับไปเอง(กามสุขัลลิกานุโยค)วิธีนี้คือ วีธีที่ 5 เมื่อชำนาญแล้วก็เสื่อมไป ลำดับที่ 6 คือ สิทธานตาจาร ได้แก่ประวฤตติหรือราคะ เป็นต้นจะค่อยๆหมดไป จนไม่เหลือ แล้วก็เข้าลำดับที่ 7 คือ เกาลาจาร ย่อมพ้นชั้น พ้นลำดับ พ้นนิการทั้งหมด รู้แจ้งความเป็นพรหมถึงโมกษตายไปย่อมไปรวมกับปรมาตมัน
    [​IMG]

    [​IMG]
    ศิวะมหาเทพเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดู ทรงมีเทวะลักษณะแตกต่างจากเทพเจ้าองค์อื่นๆคือทรงมีสามพระเนตรและดวงเนตรที่ สามอยู่ตรงพระนลาฏนั้นเป็นพลังอำนาจสูงสุดของพระองค์ที่จะทำลายทุกสิ่งให้ เป็นพัทธุลีด้วยการลืมตาที่สามนี่เอง เรื่องราวของมหาเทพพระองค์นี้มีเทวปกรณัมที่มากมายเพราะความที่พระองค์เป็น ที่เคารพนับถือของมนุษย์หลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะ มีเรื่องราวที่แปลกแตกต่าง ในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายจะนับถือพระองค์เป็นเทพเจ้าสูงสุดที่เป็นองค์ ประธานคือพระผู้สร้าง ผู้ดำเนินไปและ ผู้ทำลายโดยหน้าที่ของการสร้างนั้นทรงมอบหมายให้พระพรหม ส่วนผู้รักษาโลกธาตุให้ดำเนินไปอย่างสันติทรงมอบให้พระนารายณ์เป็นเจ้า ส่วนพระองค์ทรงเป็นผู้ปิดยุคสมัยทั้งมวลด้วยการทำลายทุกสิ่งให้ดับสูญลงสู่ ธาตุธรรมดั้งเดิม

    หากเราพิจารณาสภาวะของพระเป็นเจ้าทั้งสามอย่างลึกซึ้งในแง่ธรรมะนั้น ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ตรีมูรติหรือเทพเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นมีอยู่อย่างแน่แท้ในลักษณะสภาวะพื้น ฐานของธรรมชาติที่เราพอเปรียบเทียบกับหลักธรรมในพุทธศาสนาได้อย่างไม่ขัด แย้ง นั่นคือองค์พระพรหมทรงเป็นบรมบิดาที่แทนสภาวะการเกิดขึ้น ส่วนพระนารายณ์นั้นทรงแทนสภาวะของการตั้งอยู่ ที่แสดงการแสวงหาดุลยภาพของสถานะขณะนั้นให้ทรงสภาพอยู่ได้ ส่วนองค์ มหาเทพศิวะ นั้นเป็นองค์แทนของ การดับไปที่เป็นการสื่อถึงการเปลี่ยนสถานะจากเดิมไปสู่สถานะใหม่ ภาวะของธรรมชาติทั้งสามนี้ปรากฏอยู่เป็นนิรันดร์ตลอดการดำรงอยู่ของโลกธรรม ทั้งปวง เรื่องราวของเทพแต่ละพระองค์ถูกเเต่งขึ้นเป็นอย่างวรรณคดีที่อาจเห็นเพียง คุณค่าแค่งานวรรณกรรมทางภาษาชิ้นเอกแต่แท้ที่จริงเป็นการบอกกล่าวเรื่องราว ของพลังอำนาจพื้นฐานในจักรวาลที่แสดงการแทนค่าแบบสมการ อย่างหนึ่งเท่านั้น

    มหาเทพศิวะนั้น แม้จะมีนัยแห่ง การทำลายล้าง เป็นลักษณะเฉพาะแต่ความหมายของศิวะ โดยรากศัพท์คือการุณยภาพ ปรากฏเรื่องราวคำสอนของ พระองค์ใน คัมภีร์ฮินดูที่เรียก ว่า ตันตระ ที่แสดงว่าศิวะมหาเทพคือลักษณะของธาตุแท้ในจักรวาลที่เป็นกลไกให้เกิดสรรพ สิ่งขึ้นเป็นสัจธรรมแท้มีแนวทางปฏิบัติที่เรียกว่าเป็นอนุศาสน์ของมหาเทพ องค์นี้เรียกว่า “วิชญานไภรวะตันตระ” ที่มีวิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่สัจธรรมถึง๑๑๒วิธีมีการอธิบายสภาวะพระเป็น เจ้าองค์นี้คือความรักความกรุณาที่เสียสละเเม้ตนเองซึ่งแตกต่างจากความรู้ โดยทั่วไปที่ให้เทพเจ้าพระองค์นี้เป็นสัญญลักษณ์ของการแตกดับ

    เมื่อพิจารณาโดยหลักการที่ปรากฏในแนวทางปฏิบัติสายศิวะกับพบว่าแท้ที่ จริงแนวทางของพระองค์คือความรักความเสียสละกับทุกสรรพสิ่งสลายความเห็นแก่ ตัวอันเป็นอัตตาตัวตน การแตกดับคือการสลายความเห็นแก่ตัวนั่นเองและหากทำได้ “ตาศิวะ”อันหมายถึงตาญาณที่เข้าถึงสัจธรรมย่อมเปิดออก โลกธรรมอันเป็นมายาย่อมสลายไปเหลือแต่สัจธรรมคือองค์ธรรมศิวะตั้งมั่นอยู่ อย่างเป็นอนันตภาพ ภาวะปรัชญาเรื่องมหาเทพศิวะถูกผู้ศรัทธาแต่งเทพปกรณัมต่างๆกันมากมายที่ อาจเห็นความขัดเเย้งไม่ลงตัวกันที่พอสรุปการกำเนิดของมหาเทพองค์นี้ตาม ปกรณัมหรือเรื่องเล่าที่สืบๆมาได้คือเทวะปกรณ์ของไทยเชื่อว่าทรงเกิดขึ้นเอง จากพระเวทพระธรรมทั้งหลายมาประชุมกันหลังจากไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลกเรียกว่า “พระสยมภูวญาณ” แต่บางแห่งโดยเฉพาะพระเวทยุคโบราณกลับกล่าวว่าเกิดจากพระพรหมบำเพ็ญตบะจน เหงื่อไหลเอาไม้ขูดพระขนงโลหิตไหลลงบนไฟเกิดเป็นเทพบุตร ขึ้นนัยว่าเป็นเด็กร้องไห้ขอชื่อจากพระพรหม ถึง๘ครั้งได้ชื่อเรียงลำดับดังนี้คือ ภพ สรรพ ปศุบดี อุครเทพ มหาเทพ รุทร อีศาน อะศะนิ ซึ่งเป็นชื่อขั้นต้นต่อมามีชื่อตามมาอีกนับพันชื่อซึ่งชื่อรุทระ ซึ่งตอน เกิดนั้นร้องไห้จนน้ำตาตกลงมาที่โลกมนุษย์เกิดไม้พันธ์หนึ่งที่เป็นพืช ตระกูล เดียวกับมะกอกบ้านเรา พวกฮินดูนิยมนำเมล็ดของพืชชนิดนี้มาทำประคำและนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า “รุทรากษ”หรือบางที่เรียก”น้ำตาพระรุทร” (พระศิวะ) เดิมทีนั้นว่าพระรุทรเป็นเทวดาที่ดุร้ายเมื่อต่อมายกย่องว่าเป็นพระเจ้าจึง เรียกว่าผู้ล้างบาปหรือทำลายสิ่งที่ไม่ดีจึงได้นามใหม่ว่า “ศิวะ” (ผู้ซึ่งสิ่งทั้งปวงรวมอยู่ ความงาม ความสบาย)และเมื่อล้างทำลายแล้วก็สร้างขึ้นใหม่จึงมีชื่อว่า “อิศวร” เรื่องชื่อและความหมายนั้นมีคติที่หลากหลายกันออกไปมากมายบางทีนำไปเกี่ยว โยงว่าศิวะและจูปิเตอร์เทพของกรีกเป็นองค์เดียวกันก็มี

    รูปโฉมของพระศิวะมักมีกายสีขาวหรือเทา(ทาด้วยขี้เถ้า) ในยัชชุรเวทว่ากายสีแดง อาถรรพเวทว่ากายสีดำ แต่มีลักษณะที่เด่นชัดคือมีตาที่สามอยู่ที่หน้าผาก เกศามุ่นเป็นมวยมีสังวาลเป็นงูนุ่งหนังสัตว์มักทำเป็นหนังเสือ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระองค์มากมายนับเป็นเทพเจ้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักของคนทั่วไปและมีหนังสือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์มากมาย

    ผู้ที่สนใจก็หาอ่านเพิ่มเติมได้เพราะมีหนังสือเรื่องเทพเจ้าเกือบทุก เล่มก็มักมีเรื่องของพระองค์สำหรับปางต่างๆที่มีการกำหนดขึ้นนั้นมากมาย ล้นเกล้ารัชกาลที่๖ทรงรวบรวมเฉพาะที่สำคัญได้เกือบยี่สิบปาง สำหรับรูปประกอบเรื่องที่คุณเอนก ทองรอดวาดมานั้นเป็นพระศิวะห้าหน้าที่เรียกว่า ปัญจะมุขีหรือ ปัญจานนะที่เชื่อกันว่าผู้ใดหากบูชาจะพ้นจากความเจ็บไข้ทั้งปวง อาจตีความนัยได้อีกประการว่าพ้นทุกข์นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2012
  10. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    sun dog เองก็เป็นลูกศิษย์วัชรยาน เซ็น ธรรมยุติ เถรวาท มหายาน เชน เต๋า พราหมณ์ ฮินดู ฯลฯ ได้สัมผัสหัวใจของปฐมอาจารย์มาบ้างแล้ว ท่านเปิดกว้างสง่างาม ถึงแม้การแสดงออกจะแตกต่างแต่ไม่พบความขัดแย้งใดๆระหว่างกันเลย คงไม่มีอาจารย์ท่านใดยินดีในการทะเลาะเบาะแว้งของลูกศิษย์ตน

    ข้อความที่ท่านเทพธรรมบาลและเทพอภิบาลนำมาโพสในกระทู้นี้ตนอ่านแล้วได้กุศล ไม่รู้สึกว่าใจความที่สัมผัสได้ขัดแย้งกับการปฏิบัติแบบหีนยานเลยจ้า
     
  11. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +1,488
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=neBLtw0EtYE&feature=related]iLLSLICK - MV The Man In The Mirror(ทหารไทย version) - YouTube[/ame]
     
  12. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +1,488
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Q5kteKBfQ0I"]Happiness is here and now - YouTube[/ame]
     
  13. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +1,488
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=knJeTiHWC2w&feature=related]illslick - อาทิตย์ละครั้ง ver. i can't breathe - YouTube[/ame]
     
  14. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    [​IMG]



    [​IMG]


    ท่านภิกษุณีเท็นซิน พัลโม ผู้บรรยาย

    การบำเพ็ญสมาธิทางพุทธศาสนาส่วนใหญ่ จะเพ่งจิตไปที่ลมหายใจ ไปที่ตังจิตเอง หรือบางครั้งก็ที่รูปทรงเรขาคณิตง่าย ๆ การทำสมาธิ ทางวัชรยานขึ้นอยู่กับคุณลักษณะที่เรียกว่า " จินตนาการสร้างสรรค์ " หรือ การจินตทัศน์ นี้เป็นสิ่งที่ทำให้วัชรยานแตกต่างจากพุทธปฏิบัติ แบบอื่น ๆ แม้จะไม่มีใครทราบว่าวัชรยานได้เข้าสู่กระแสของพุทธ ศาสนาครั้งแรกเมื่อใด แต่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่าศตวรรษ ต้น ๆ ของยุคสมัยปัจจุบัน อาจจะมีอยู่แล้วตั้งแต่เริ่มแรก ชาวธิเบต เชื่อว่ามันมีอยู่อย่างนั้นแล้วและได้มีการสอนโดยองค์สมเด็จพระสัม- มาสัมพุทธเจ้าเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบใดเมื่อมาถึงศตวรรษที่ ๔ หรือ ๕ นั้น ก็มีความตื่นตัวแพร่หลายถึงขีดสุดแล้ว แม้ว่ามันจะยังคงรูปแบบ การปฏิบัติที่เป็นความลับมาก



    ในเวลานั้นมีพระอารามใหญ่โตหลายแห่งในอินเดียที่เป็นมหาวิทยาลัย สงฆ์ด้วย ได้แก่ นาลันทา วิกรมศิลา และตักศิลา ที่เหล่านี้บรรจุนัก ปราชญ์ราชบัญฑิตของพระอารามนับเป็นพัน ๆ ที่ได้ศึกษาปรัชญาทาง พุทธศาสนาทุกแขนง ภายในมหาวิทยาลัยเหล่านี้ มีคุรุจำนวนมากที่ฝึก ฝนตามคำสอนวัชรยานอยู่ด้วย แต่ก็กระทำกันอย่างเงียบ ๆ กล่าวกันว่า จากภายนอกคุรุเหล่านี้จะดูเหมือนพระสงฆ์ แต่ด้านในนั้นท่าเป็นเหล่า โยคี พวกท่านจะไม่พูดถึงมันและการฝึกก็มิได้เผยและแพร่หลายด้วย แรงคะยั้นคะยอหรือใคร่รู้จากสาธารณะหรืออื่น ๆ แต่อย่างใด จนกระทั่ง มันได้กลายเป็นศาสนาประจำรัฐธิเบต ฉันคิดว่าวัชรยานไม่เคยมีความ มุ่งหวังให้เป็นศาสนาประจำรัฐแต่อย่างใด มันเป็นการปฏิบัติที่ตั้งใจเป็น การปฏิบัติเงียบ ๆ และเป็นความลับเพียงรู้กันในระหว่างครูกับศิษย์เท่า นั้นก่อนที่จะฝึกทางวัชยานได้ จำเป็นผู้ฝึกจะต้องได้รับการอภิเษกเสีย ก่อน ถ้าเธอพิจารณาหลักฐานบันทึกในยุคต้น ๆ ของอินเดียจะปรากฏ ให้เห็นว่าโดยปกติศิษย์จะได้รับการอภิเษกก็ต่อเมื่อผ่านการทดสอบปี แล้วปีเล่าจากคุรุเท่านั้น แล้วหลังจากนั้นก็จะเป็นการถ่ายทอดแบบคน ต่อคน จากจิตสู่จิต ในปัจจุบันสมเด็จทะไลลามะทรงประทานการ อภิเษกกาลจักรคราวละเป็นแสนคน


    อย่างที่ฉันได้กล่าวก่อนหน้านี้แล้วว่า การฝึกปฏิบัติทางวัชรยานนั้น พึ่งพาการใช้จิตทัศน์สร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ฉันจะยกตัวอย่างหนึ่ง สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้ทำอะไรแบบนี้มาก่อน สมมุติเรายกตัวอย่าง ท่านคุรุปัทมสัมภวะผู้ซึ่งเป็นชาวธิเบตเรียกว่าท่านคุรุ รินโปเช ท่าน คุรุปัทมสัมภวะเหมาะสมอย่างยิ่งต่อหัวข้อนี้เพราะว่าท่านเป็นคุรุมา จากประเทศอินเดียและสถาปนาพุทธศาสนานิกายตันตระขึ้นในธิเบต ในระหว่างศตวรรษที่ ๘ ท่านกลายเป็นจุดศูนย์รวมแห่งการอุทิศถวาย ที่ได้รับความนิยม สมมุติว่าเราจะกระทำการปฏิบัติที่จุดศูนย์กลาง อยู่ที่ท่านปัทมสัมภวะ ไม่ว่าเราจะทำอะไรสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะก้าว ไปด้วยเจตนาที่ถูกต้อง นั่นก็คือด้วยความปรารถนาที่จะแทงสู่สัจภาวะ ที่ไร้เงื่อนไขเหนือเหตุปัจจัยปรุงแต่งใด ๆ และการได้มีหนทางเข้าถึง เมตตาและปัญญาญาณที่แฝงอยู่ของเราที่จะยังประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีมูลเหตุจูงใจอื่นใดที่จะถูกต้อง ในลำดับแรกเลย เราขอไตรสรณ- คมน์ในพุทธศาสนา พระธรรมคำสอน และชุมชนแห่งนักปฏิบัติที่ได้ ถึงซึ่งความตระหนักรู้แจ้ง ลำดับต่อไปเราโน้มนำความปรารถนาไป ที่ความรู้แจ้งเพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ณ จุดนี้เอง เรา เริ่มการทำสมาธิ


    ถ้าเราทำการเจริญภาวนากับองค์พระปัทมสัมภวะ เราก็จะจินตทัศน์ ตัวเราเองกำลังนั่งอยู่ หลังจากนั้นกายของเราก็หลอมรวมไปสู่ที่ว่าง ในที่ว่างนั้น ที่กึ่งกลางหัวใจ อักขระตัวหนึ่งจะผุดขึ้น ในกรณีนี้ก็จะ เป็น พัม อักขระย่อสำหรับปัทมะ สิ่งนี้เรียกว่า พีชอักขระ และแล้ว อักขระ พัม นี้ก็จะเปล่งแสงออกไปทั่วทุกทิศ ชำระล้างจักรวาลโดย ทั่วทั้งสิ้น จักรวาลทั้งหมดและทุก ๆ สิ่งจักรวาลก็จะกลายเป็นภูมิแห่ง ความบริสุทธิ์อันหมดจดสมบูรณ์และสัตว์ทั้งหลายก็จะได้รับการชำระ ล้างจากเครื่องเศร้าหมองแปดเปื้อนทั้งหลายและกลายเป็นดั่งเทพ เทพยาดา จากนั้นแสงเจิดจรัสก็กลับคืนสู่อักขระ พัม และในชั่วพริบตา บุคคลนั้นก็จะปรากฏเป็นปางของปัทมสัมภวะ ผู้นั้นต้องเห็นตัวเอง เป็นองค์ปัทมสัมภวะ ผู้เป็นกายแห่งพระเมตตาและปัญญาญาณแห่ง องค์พระพุทธเจ้าทั้งปวง

    ในขณะนี้เราเห็นตัวเราเป็นองค์ปัทมะสัมภวะและมีความรู้สึกมั่นคงแรง กล้าแห่งการเป็นองค์ปัทมะสัมภวะ ณ จุดนี้ ถ้าธรรมชาติแห่งปัญญาญาณ เดิมแท้ของเราสามารถที่จะปรากฏเป็นรูปได้นั้น มันก็จะปรากฏเป็นรูป ขององค์ปัทมสัมภวะ นี่คือความเรืองรองแห่งธรรมชาติอันเป็นพุทธะ ของเรา มันเหมือนกับสายรุ้งสายหนึ่ง จินตทัศน์ไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปร่าง จับต้องได้ ปัทมสัมภวะไม่ได้มีตับไตไส้พุงและหัวใจ ท่านคือแสงแห่งรุ้ง ทุก ๆ ส่วนสัดนั้นมีความหมาย พระหัตถ์ทั้งสองนั้นคือพระปัญญาและ กรุณา ท่านคือผลผสมรวมของธาตุต่าง ๆ ทั้งหมดแห่งพุทธมรรคอันกลั่น ออกมาในรูปเดียว นั่คือสิ่งที่เราเป็นจริง ๆ นี่เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้ นี่ คืออะไรที่เราเป็นโดยแท้จริงไม่ใช่ตัวตนชั่วคราวที่เราโดยปกติคิดถึงใน ฐานะ " ตัวฉัน " แล้วเราก็เห็นตัวเราในฐานะคุรุ รินโปเช ( ปัทมสัมภวะ ) เพียรพยายามอย่างที่สุดที่จะจินตนาการให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุดที่จะมาก ได้ถึงรายละเอียดทั้งหมด สำรวจผ่านจินตทัศน์ต่าง ๆ ทุกส่วน ๆ รวบ รวมแวบต่าง ๆ ที่เห็นขององค์รวมนั้นไว้ด้วยกัน องค์ปัทมสัมภวะกำลัง ประทับนั่งอยู่นั้น เปล่งประกายแห่งรัศมี ที่ใจกลางแห่งหัวใจนั้นคือดอก บัวดอกหนึ่ง และบนนั้นคือพระจันทร์เสี้ยว บนพระจันทร์เสี้ยวคือพีช- อักขระ พัม รายรอบนั้นเป็นอักขระของมนตราชูเด่น แสงเจิดจรัสออกจาก มนต์แห่งองค์ปัทมสัมภวะ แสงที่เปล่งรัศมีเหล่านี้แผ่ซ่านออกและชำระ ล้างทั่วทั้งพิภพจักรวาล สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็จะได้รับการชำระล้างโดย ธรรมชาติเพราะว่าขณะนี้เราคือพระพุทธเจ้า



    นี่คือสิ่งที่ฉันอธิบายก่อหน้านี้ว่า " การถือเอามรรคผลเป็นเช่นมรรค " การเอามรรคผลเป็นเช่นมรรค หรือเป็นเช่นวิถี ตอนนี้เราคือพระพุทธ เจ้า และพระพุทธเจ้านั้นมีพลานุภาพที่จะชำระล้างสัตว์ทั้งหลาย ในจิต ของเรานั้เราประกอบกิจนี้ซึ่งองค์พระพุทธเจ้าจะทรงกระทำ นั่คือแผ่ รัศมีออกไปทั่วทุกทิศทาง ไปชำระล้างทุกสิ่งทุกอย่างและสัตว์ทั้งหลาย ทุก ๆ ที่อย่างหมดจด โดยคำ " สัตว์ทั้งหลาย " เรามิได้อ้างถึงเพียงพื้น ๆ แค่มนุษย์ สัตว์ทั้งหลายนั้นรวมสัตว์โลกต่าง ๆ แมลงทุกชนิด ปลานานา พันธุ์ วิญญาณทุกดวง และสัตว์ที่อยู่ในสวรรค์และนรกทุก ๆ ที่ สัตว์ทั้ง หลายทั้งปวงตลอดทั่วจักรวาลอันกว้างใหญ่พิศวงยิ่งนี้ได้รับการปลด ปล่อยหลุดพ้น กลับมีสำนึกรู้ตัวได้ถึงธรรมชาติแห่งปัญญาและกรุณา ของตัวเองและกลายเป็นองค์ปัทมสัมภวะ โลกทั้งโลกกลายมาเป็นแดน สุขาวดีอันบริสุทธิ์ จากนั้นแสงทั้งปวงกลับคืนและเปล่งประกายออกอีก ครั้ง น้อมถวายเครื่องพุทธบูชาต่อองค์พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ทั้งมวลในจักรวาลและต่อสัตว์โลกอันมีมโนสำนึกทั้งหลายทั้งปวงผู้ซึ่งใน ขณะนี้เป็นเป็นพระพุทธเจ้าเองด้วย ทั้งจักรวาลในเวลานี้คือพุทธเกษตร สุขาวดีอันบริสุทธิ์อันเต็มไปด้วยพระพุทธเจ้า ในขณะที่เราทำจินตทัศน์ นี้เราก็ท่องมนต์ แล้วในที่สุดจักวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ตอนนี้เปี่ยมไป ด้วยองค์พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ก็หลอมละลายกลายเป็นแสงเรือง รอง แสงนั้นก็หลอมลงสู่ตัวเรา เราหลอมละลายลงสู่จุดใจกลาง ดอกบัว และดวงจันทร์ก็หลอมละลายลงสู่มนต์ มนต์ก็หลอมละลายลงสู่พีชอักขระ พัม พีชอักขระก็หลอมรวมขึ้นสู่เบื้องบนสู่วงกลมเล็ก ๆ เรียกว่า นาทะ ซึ่งต่อมาก็หลอมละลายไปด้วย เราเพ่งดูสิ่งนี้อย่างไกล้ชิดแม่นยำอย่างยิ่ง ขณะที่มันหลอมลง ทุก ๆ ขั้นจนกระทั่งว่าไม่มีอะไรเหลือ แล้วจิตก็ดำรง อยู่ในสภาวะธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมัน มักพักอยู่นสภาวะนี้ซึ่งอยู่เหนือ ความคิดและแนวคิดนานที่สุดที่จะนานได้ เมื่อใดที่ความคิดเกิดขึ้น เราก็ จะปรากฏในภาคขององค์ปัทมสัมภวะอีกในทันใดและอุทิศกุศลกรรม อันบังเกิดจากการปฏิบัตินี้



    หลังจากนั้น ในขณะเรากำลังทำกิจวัตรโดยปกติในระหว่างวัน เราเห็น ตัวเองเป็นองค์ปัทมสัมภวะ เราเห็นสัตว์โลกทั้งหลายที่เราพบปะเป็นการ สำแดงออกแห่งองค์ปัทมสัมภวะ ทันทีที่เราพบใครสักคน เราก็จะรู้จัก จำได้ถึงธรรมชาติแห่งพุทธะทีเร้นอยู่ของเขา ทุกเสียงที่เราได้ยินคือเสียง แห่งมนตรา เสียงเสาะหู เสียงกระโชกโฮกฮาก ล้วนเป็นเพียงมนตรา ความคิดทุกความคิด ความคิดดี ความคิดเลว ความคิดฉลาด ความคิด โง่ เป็นเพียงการละเล่นแห่งจิตอันเป็นพระปัญญาขอคุรุปัทมสัมภวะ เรา พยายามจะรักษาสติรู้สึกตัวนี้ไว้ทั้งวันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดที่เราพบ เป็นเพียงแสร้งว่าตนนั้นสามัญ แต่แท้จริงแล้ว คือ คุรุรินโปเช ในรูปแปลง ทุกเสียงที่เราได้ยินเป็นเสียงสะท้อนอันวิเศษของ โอม อา หุม วัชระ คุรุ ปัทมา สิทธิ หุม ( มนต์แห่งองค์ปัทมสัมภวะ ) ความคิดทั้งหมดที่เรา มีเป็นเพียงธรรมชาติอันเป็นสาระของการละเล่นอันว่างเปล่าของปัญญา ญาณ ไม่มีอะไรที่ต้องวิตก ถ้าเราสามารถดำรงอยู่ในภาวะนั้นตลอดทั้ง วัน เราก็จะเรียนรู้ว่าการพัฒนาให้เกิดความเห็นชอบนั้นคืออะไร



    นี่คือวิถีแห่งความเป็นไปแห่งวัชรยาน ฉันได้ให้ภาพประกอบชนิดหนึ่ง ทำให้ง่ายอย่างยิ่ง แต่โดยหยาบ ๆ แล้วนั่นก็คือขั้นตอนกระบวนการของ มัน บางครั้งเวลาที่คนเข้ามาหาวัชรยาน จะรู้สึกเกรงกลัวกับภาพที่ดูสลับ ซับซ้อนไม่สิ้นสุด มีเทพเจ้ามากมายเหลือเกิน หลากหลายระดับ การ ปฏิบัติและวิธีการมากมายหลายแบบ แล้วจะไปเริ่มที่ไหนกัน มันอาจทำ ให้เราตื้อไปหมด แต่สาระสำคัญที่มุ่งเน้นสำหรับการปฏิบัติ โดยความ จริงแล้วมีความเรียบง่าย ปัญหาก็คือว่ามันเหมือนการปฏิบัติแบบอื่น ๆ คือเราจะต้องลงมือทำ มันไม่เพียงพอที่จะลงมือปฏิบัติเพียงแค่ ๑o นาที ต่อวัน เราจำเป็นจะต้องผนวกการปฏิบัติเข้ากับชีวิตประจำวัน ต้องทำ การแปรเปลี่ยนจิตของเรา มันไม่ได้เกี่ยวกับการเล่นกับความคิดที่สวยหรู แต่มันเป็นการแปรเปลี่ยนแก่นลึกที่สุดของความมีอยู่ของเรา มันจะไม่ได้ ผลเลยถ้าเราไม่รับการปฏิบัติเข้ามาสู่ตัวเราอย่างจริงจัง กัดกินมัน ย่อยมัน และใช้มันเพื่อบำรุงหล่อเลี้ยงตัวเราเอง ไม่ใช่จะเพียง แทะเล็มตรงนี้นิด ตรงนี้หน่อย บางคนลงมือปฏิบัตินิด ๆ หน่อย ๆ ทุกวันแล้วก็ลืมมันไป เลย แล้วก็มาสงสัยว่าทำไมไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พระคัมภีร์นั้นชัดเจนมาก ว่านี่ไม่ใช่อะไรที่เธอจะทำเฉพาะตอนที่กำลังนั่งอยู่บนอาสนะเท่านั้น จะ ต้องนำจินตทัศน์นี้ติดตัวเข้าสู่ชีวิตประจำวันปกติของเธอ นี่คือสิ่งที่คุรุ ในยุคแรก ๆ นั้นกระทำ พวกเขาแปรเปลี่ยนจินตาการของตัวไปเป็น สัมมาทิฏฐิเพราะพวกเขาใช้มันอยู่ตลอดเวลา ในการเผชิญหน้าทุก ๆ ครั้ง


    ยังมีอีกด้านหนึ่งของวัชรยานซึ่งสร้างบนพื้นฐานนี้ มันเกี่ยวกับการบังคับ พลังด้านในซึ่งจะทำได้เมื่อจินตทัศน์ของเราตั้งมั่นพอและเราได้ท่องสวด มตราตามที่กำหนดมากพอ มนต์ที่ว่านั้นถือว่าเป็นสาระของธรรมชาติของ เทพนั้น ๆ พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์มีมนต์พิเศษประจำ พระองค์ซึ่งเป็นหนทางที่จะได้เชื่อมโยงและประสบกับเทพเจ้านั้น ๆ เวลา เรากล่าวบทสวดมนต์ด้วยสมาธิและจินตทัศน์อย่างสมบูรณ์ เราตระหนัก ถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เทพเจ้านั้น ๆ เป็นตัวแทน มันถูกอัดไว้ในมนต์ซึ่งเป็น ดั่งรหัส เราถอดรหัสแล้วเข้าถึงพลังนั้นโดยทางสมาธิและการทำจินตทัศน์ ของเราและโดยการกล่าวบทสวดมนต์ ถ้าเราสวดดด้วยสมาธิจดจ่อแน่วแน่ อย่างแท้จริงกับจินตทัศน์และกลายเป็นหนึ่งเดียวกับการปฏิบัติ ผลก็จะมา อย่างรวดเร็วมาก ถ้าเราแบกความสงสัยเอาไว้ในใจเรา ก็จะไม่มีอะไรเกิด ขึ้นแท้จะปฏิบัตินับกัปกัลป์ พระคัมภีร์จะเฉพาะเจาะจงมากในการชี้ให้เห็น จุดนี้
    [​IMG]



    ฉันอาจพูดถึงอะไรต่ออะไรได้อีกมากเหลือเกิน แต่ก็รู้สึกรั้งรอที่จะกล่าว มากเกินไปเพราะว่าหลาย ๆ คนในพวกเธออาจไม่เคยได้รับพิธีอภิเษกทาง วัชรยานมาก่อนเลย อย่างไรก็ตามฉันจะกล่าวถึงในบางเรื่องที่ทำให้สับสน บ่อย ๆ ผู้ที่ไม่ใช่วัชรยานจะฉงนฉงายอยู่บ่อยเวลาเข้ามาวัดของวัชรยาน และพบตัวเองถูกห้องล้อมไปด้วยตัวแทนของสัตว์เหล่านี้ทั้งหลายทั้งปวง บนผนัง พวกเขามักถามว่า " อันนี้มันเกี่ยวกับศาสนาพุทธอย่างไรหรือ " ภาพหลายภาพนั้นเป็นรูปเปล่าเปลือย จำนวนไม่น้อยที่ดูเหนื่อยยาก ทุกข์ และแค้นเหมือนปีศาจ บางร่างก็มีแม้ให้เห็นในท่าร่วมสังวาส แต่ภาพพระ ฉายนี้ไม่ได้ประหลาดพันลึกหรือซับซ้อนแบบที่มันดูเป็นอย่างนั้นในครั้ง แรก ภาพของเทพต่าง ๆ นั้นเป็นตัวแทนแสดงถึงระดับพื้นฐาน ๓ ประการ ของอารมณ์ไม่อันใดก็อันหนึ่ง อารมณ์แรกก็คือสงบเย็น จะมีสัญลักษณ์ เป็นรูปอย่างเช่น พระอวโลกิเตศวรผู้เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา พระมัญชุศรี พระโพธิสัตว์แห่งปัญญาญาณ และพระนางตารา ผู้ช่วยให้ พ้นภัย ทั้งหมดแสดงให้เห็นในลักษณะที่งียบสงบและแย้มพระสรวลเล็ก น้อย คนปกติไม่มีปัญหาใด ๆ กับพระรูปเหล่านี้แม้บางครั้งอาจจะมีปัญหา กับเรื่องพระนางตาราเขียว บางรูปอื่น ๆ เหตุใดจึงเป็นสีน้ำเงิน แต่โดย พื้น ๆ แล้วก็ไม่มีปัญหาใด เพราะว่าเทพเจ้าเหล่านี้ดูงดงามและเป็นมิตร ประหนึ่งว่าพวกเขาอยู่ฝ่ายเดียวกับเรา


    [​IMG]


    ทีนี้ก็มีระดับที่ ๒ ซึ่งเรียกว่า ชิมาโทร ในภาษาธิเบต หมายความว่า " ไม่ใช่สงบเงียบหรือโกรธ " พวกนี้จะเป็นเทพยาดาที่ห้าวหาญ รู้จักกัน ในรูปเหรุกะ และฑาคินี พวกเขาเป็นตัวแทนของพลังที่มุ่งสู่การตรัสรู้ คุณสมบัติเฉพาะของพวกเขาคือมีความรู้สึกเร่าร้อน ทีนี้รูปแบบของ พุทธศาสนาในยุคแรก ๆ นั้นมองว่าตัณหาหรือความอยากเป็นอุปสรรค สำคัญต่อการหลุดพ้น แต่ในฝ่ายมหายานโดยเฉพาะในฝ่ายวัชรยานนั้น เป็นที่เข้าใจว่าอารมณ์เช่นความปรารถนาอย่างแรงกล้าและความโกรธนั้น เมื่อสาวไปถึงแหล่งกำเนิดของมันแล้ว จะพบว่าเป็นขุมของพลังมากมาย มหาศาล ณ จุดหนึ่งพลังนี้ได้บิดเบือนไปเป็นพลังเชิงลบ แต่อย่างไรก็ ตามพลังนี้โดยตัวของมันเองแล้วใสกระจ่างรอบรู้ยิ่ง หรือกล่าวอีกอย่าง หนึ่งว่าด้านที่สำหรับเราแล้วดูเหมือนจะเป็นพลังเชิงลบนั้น แท้จริงเป็น ปัญญาเดิมแท้ที่ซ่อนอยู่ นี่คือท่าทีที่มีต่ออารมณ์ด้านลบที่กลับตาลปัตร โดยสิ้นเชิง แทนที่จะถอนรากถอนโคนอารมณ์เช่นความโกรธ ความหยิ่ง ทะนง ความอิจฉา และความอยากอันเร่าร้อน เราอาจนำพลังนี้มาใช้เป็น เชื้อเพลิงสำหรับการรู้แจ้ง มันได้กลายมาเป็นผู้ช่วยสำคัญของเราบนวิถีนี้ นี่คือแรงบันดาลใจสำคัญอันอยู่เบื้องหลังวัชรยานทั้งหมด เมื่อใดที่เราเข้าใจ สิ่งนี้ เราก็จะเข้าใจสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เป็นรูปเคารพของวัชรยาน


    คัมภีร์ธิเบตบอกเราว่าอารมณ์เชิงลบยิ่งมากเท่าไร ปัญญาก็ยิ่งมากขึ้นเพียง นั้น ผลที่ตามมาก็คือถ้าปราศจากอารมณ์เชิงลบแล้ว ก็จะไม่มีปัญญาเกิด ขึ้น นี่หมายความว่าเราได้รับแรงสนับสนุนให้กระทำตามความโลภ ความ ทะยานอยาก และความเกลียดอย่างเต็มที่ในนามของการปฏิบัติทางจิต วิญญาณละหรือ บางคนคิดว่าใช่ แต่นี่คือการเข้าใจผิด คุณสมบัติด้านลบ ต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าปล่อยมันไว้ในภาวะไร้การบังคับและควบคุมแล้วก็คือ ตัวการแห่งสังสารวัฏอันแน่แท้ แต่ถ้าเราควบคุมและแปรสภาพมัน เรา ก็จะสามารถใช้มันเป็นเชื้อเพลิงที่จะผลักดันเราไปพ้นจากวัฏสงสาร ตัวอย่างที่ผุดขึ้นในใจของฉันเสมอก็คือเรื่องของจรวด เธอจำเป็นต้องมี เชื้อเพลิงปริมาณมากมายมหาศาลที่จะปล่อยจรวดให้พ้นแรงดึงดูดของ โลก แต่เมื่อไรที่มันออกไปสู่อวกาศได้แล้ว เธอก็ไม่จำเป็นต้องใช้พลัง งานมากอีกต่อไป มันกลายเป็นการขับเคลื่อนด้วยตัวมันเอง ฉะนั้นกับ วิถีทางจิตวิญญาณก็เช่นกัน แรงโน้มถ่วงของธรรมชาติโดยสามัญของเรา ของจิตสามัญที่ตั้งอยู่บนอัตตาอันเป็นอวิชชานั้นแรงอย่างยิ่ง มันยาก เหลือเกินที่จะสร้างพลังขับไปสู่สภาวะที่เหนือปัจจัยปรุงแต่ง เพราะจิต ที่ถูกปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัยของเรานั้นทรงพลังยิ่งเหลือเกิน แม้ว่าเราจะ ทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสงบรำงับและสมาธิเพื่อเห็นแจ้งตามปกติก็ตาม มันยากที่จะสร้างพลังขับให้ทะลุออกไปได้ เราจำเป็นต้องใช้ทุกอย่างที่ อาจรวมได้เพื่อแรงผลักเบื้องแรกนี้



    วัชรยานนำทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีขึ้นมา แม้แต่ขยะ และใช้ทั้งหมดนั้น เป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นพลังให้กับการแทงทะลุสู่ธรรมชาติเดิมแท้ของ จิตอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงอาจดูคุกคาม อย่างยิ่งและทำไมมันอาจเป็นอันตรายได้มากและทำไมเราจึงจำเป็นที่ จะต้องมีการชี้แนะจากครู พระคัมภีร์ทางวัชรยานนั้นเน้นถึงความจำ เป็นของการมีครูที่สมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นแล้วมันอาจเป็น หนทางที่อันตรายอย่างยิ่งได้ กล่าวกันว่าเราไม่อาจเจ็บตัวมากกับการ ขี่เกวียนไปตามท้องถนน แต่เมื่อไรที่เราอยู่หลังพวงมาลัยรถสปอร์ต แล้วละก็เราต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เธอต้องมีครูเก่ง ๆ ก่อนที่เธอ จะขับรถคันนั้น นี่เป็นเพราะว่าวัชรยานใช้พลังต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งพลังทางเพศ ซึ่งในทางพุทธศาสนายุคแรก ๆ นั้นถูกทำให้กลายเป็น เรื่องสูงส่งหรือแปรในทางที่นุม่นวลมากกว่า ในทางวัชรยาน พลังนั้น ถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือที่จะไปเปิดศูนย์รวมแห่งปัญญาด้านใน ทั้งหมดออก


    เป็นการเข้าใจผิดที่จะคิดว่าวัชรยานออกใบอนุญาติให้ประกอบกามกิจ ได้อย่างไร้ขอบเขต ให้มีโทสะมากได้เท่าที่เธอต้องการ ให้เมามายหรือ ใช้ประสาทรับรู้ไปใทางใดก็ได้ ตรงกันข้าม วัชรยานเป็นการปฏิบัติที่ เคร่งที่สุดและต้องมีวินัยมากำกับดูแลมากที่สุดในบรรดาการปฏิบัติที่มี อยู่ในพุทธศาสนา วัชรยานมีศีลหลายต่อหลายข้อที่เกี่ยวกับจิต ไม่ใช่ วิถีแห่งใบอนุณาต ( ที่เธอจะทำอะไรตามใจ ) แต่อย่างใดแต่เป็นวิถีที่ ใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามี วัชรยานต้องอาศัยการอุทิศตัวที่ยิ่งใหญ่และ การชี้แนะที่ชัดเจน


    [​IMG]



    เทพเจ้าระดับที่ ๓ ที่มาหลังชั้นของความกล้าหาญก็คือ โทร วา หมาย ความว่าดุดัน เธออาจบอกความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ของความกล้า หาญหรือสัญลักษณ์แห่งความดุดันได้โดยดูที่เปลวเพลิงโดยรอบเทพเจ้า เหล่านั้น เทพเจ้าในความสงบจะมีชั้รัศมีล้อมรอบ ในปางกล้าหาญจะมี ชั้นของเปลวไฟที่ประณีตมาก ในปางดุร้ายนั้นจะล้อมรอบไปด้วยเพลิงที่ พลุ่งพล่าน เทพเจ้าแห่งความกล้าหาญนั้นอยู่บนพื้นฐานของตัณหาราคะ ส่วนเทพแห่งความดุร้ายนั้นจะตั้งอยู่บนโทสะ เทพเจ้าเหล่านี้จัดการกับ อารมณ์ทั้งหลายที่เรามีอยู่ภายในตัว ตั้งแต่ความหงุดหงิดรำคาญเพียง เล็กน้อย ไปจนถึงการโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แม้ว่าท่านทั้งหลายจะดูเกรี้ยว กราดมาก แต่หัวใจของท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา ความกรุณา และปัญญา จริง ๆ แล้วพวกท่านมิได้กราดเกรี้ยวแต่อย่างใดเลย เพียง แต่ปรากฏออกมาในรูปนั้น มันคือโทสะที่ได้แปรเปลี่ยนแล้วและมีพลัง มหาศาลยิ่ง ฉันไม่รู้จักลามะคนไหนที่มีโทสะ แต่หลาย ๆ คนจะแสดง ลักษณะของเทพเจ้าที่เต็มไปด้วยความโกรธเกรี้ยวออกมาในการทำสมาธิ ของตน เทพเจ้าที่แสดงความเป็นเอกภาพกับคู่ครองของตนนั้นเป็น สัญลักษณ์แทนหลาย ๆ สิ่ง เราอยู่ในความเป็นคู่ตรงข้ามเหล่านี้ แต่คู่ ตรงข้ามเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นเอกภาพที่สูงขึ้นเสมอ คู่ตรงข้ามเหล่านี้ เป็นตัวแทนของเอกภาพแห่งปัญญาและกรุณา แห่งบรมสุขและความ ว่าง แต่ประเด็นก็คือว่าเราดึงเอาคุณสมบัติ ๒ อย่างของจิตซึ่งมารวม กันเป็นจิตหนึ่งเดียว เรื่องนี้แสดงออกมาเป็นภาพที่ชัดเจนมาก โดยอาศัย การรวมเป็นเอกภาพของชายและหญิง มันไม่ได้หมายความว่าเทพเจ้า กำลังชุมนุมเพศสัมพันธ์ไม่เลือกหน้าอย่างคึกคะนองในวัดตันตระ

    [​IMG]



    - จาก รูปเงา ขุนเขา ทะเลสาป -
    -โดย เทนซิน พัลโม-
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มีนาคม 2012
  15. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    บทสวด 8 ประการสำหรับการฝึกโพธิจิต
    By Kadampa Geshe Langritangpa

    1. ขอให้ข้าพเจ้ามีใจรักแก่สรรพสัตว์ทั้งมวล
    ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
    นี้เป็นความดีอันสูงสุดที่มีค่ามากกว่าความปรารถนาใดๆ

    2. เมื่อใดที่ข้าพเจ้าอยู่กับผู้อื่น
    ขอให้ข้าพเจ้ารู้จักถ่อมตนและเห็นตนเองต่ำต้อยกว่าผู้อื่น
    และจากก้นบึ้งของหัวใจนี้ ข้าพเจ้าเห็นคุณค่าของผู้อื่นเหนือตัวข้าพเจ้า

    3. ในการกระทำทุกอย่าง ขอให้ข้าพเจ้ามีสติรู้เท่าทันจิตตนเอง
    ทันทีที่อารมณ์ขุ่นมัวก่อตัวขึ้น ขอให้ข้าพเจ้าขจัดออกได้โดยพลัน
    เพราะจะก่อทุกข์ให้ทั้งตนเองและผู้อื่น

    4. คราใดที่ข้าพเจ้าพบคนที่จิตใจมีอกุศลและถูกพันธนาการด้วยความเจ็บปวด
    และการกระทำไม่ดี ขอให้ข้าพเจ้ารักเขาได้และเห็นว่าคนอย่างเขานั้น
    หาได้ยากมากเสมือนว่าข้าพเจ้าได้พบของล้ำค่า

    5. คราใดที่มีบุคคลมีจิตอิจฉากระทำความไม่ดีต่อข้าพเจ้า โดยการกล่าวร้ายอื่นๆ ขอให้ข้าพเจ้ายอมเป็นผู้แพ้และยกความเป็นผู้ชนะให้แก่เขา

    6. แม้ผู้ที่ข้าพเจ้าเคยให้การช่วยเหลือ และเป็นผู้ที่ข้าพเจ้าตั้งความหวังไว้ในตัวเขา
    แต่เขากลับมาทำผิดโดยการทำร้ายข้าพเจ้า
    ขอให้ข้าพเจ้าได้เห็นว่าเขาเป็นมิตรในทางธรรมที่ดีเลิศ

    7. ขอให้ข้าพเจ้าได้ช่วยเหลือเกื้อกูลมารดาทั้งมวลของข้าพเจ้าไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และขอรับเอาความทุกข์และความเจ็บปวดทั้งหมดของท่านในตัวข้าพเจ้า

    8. ขอให้ทั้งมวลที่ข้าพเจ้ากล่าวมาอย่าได้มัวหมองด้วยความทุกข์ทางโลกแปดประการ
    ขอให้ข้าพเจ้าเห็นทุกสิ่งเป็นของลวงตาและด้วยจิตที่ปล่อยวาง
    ขอให้ข้าพเจ้าเป็นอิสระหลุดพ้นจากพันธนาการทั้งมวล
     
  16. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    พระสูตรต่อไปนี้จักยาวนัก อย่างไรก็ตามพระสูตรต่อไปนี้เป็นราชาแห่งสูตรของมหายาน นั้นคือพระสูตรดอกบัว ข้าเทพอภิบาลเลื่อมใสพระสูตรนี้นัก และ พบว่าคำตอบของโลก และ วิกฤติการณ์ต่างๆๆได้อยู่ในพระสูตรนี้หมดแล้ว จงสดับเถิดมีหลายบทนักจ๊ะ

    บัดนี้คือประวัติ
    สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือเป็นพระสูตรชั้นเอกอุหนึ่งในเก้าพระสูตรสำคัญของมหายาน ในเนปาล ถึงในจีนและญี่ปุ่นก็ให้ความสำคัญแก่พระสูตรนี้ทัดเทียมกัน เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของนิกายเทียนไท้ทั้งในจีนและญี่ปุ่น และของนิกายนิชิเรนในญี่ปุ่น ต้นฉบับสันสกฤตที่เป็นต้นแบบใช้แปลเป็นภาษาไทยเล่นนี้ เกิดจากฉบับเก่าก่อน 3 ฉบับคือ
    ฉบับแรก ศาสตราจารย์ H.Kern และ B.Nanjo นำลงตีพิมพ์ในวารสาร Bibliotheca Buddhica เล่มที่ 10 จัดพิมพ์ที่เซนต์ปิเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ.2451-2455 ฉบับนี้เป็นอักษรเทวนาครี ประมวลและชำระจากต้นฉบับ 6 ฉบับ จากลอนดอน 2 ฉบับ จากเคมบริดจ์ ฉบับหนึ่ง Ekai Kawaguchi ค้นพบที่เนปาล และอีก 1 ฉบับ จาก Mr.Watters อดีตเจ้าหน้าที่กงสุลอังกฤษประจำไต้หวัน นอกจากนี้คณะบรรณาธิการยังสอบทานกับต้นฉบับที่ชำรุดเหลือเพียงบางส่วนที่เป็นสมบัติส่วนตัวของ Mr.NF Petrovskij อนึ่ง คณะบรรณาธิการยังเทียบเคียงกับฉบับพิมพ์ด้วยอักษรเทวนาครี ที่จัดพิมพ์โดย Faucaux ในชื่อ "Parabole de l'Enfant egare" ที่ปารีส เมื่อ พ.ศ.2397 ซึ่งฉบับนี้มีหลายตอนของพระสูตรที่ได้ค้นพบที่เมืองกาษการ์ ในเอเชียกลาง
    ฉบับที่สองเป็นอักษรโรมัน ตรวจสอบชำระโดย Prof. U. Wogihara และ C.Tsuchida จัดพิมพ์ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2477 บรรณาธิการทั้งสองท่านนี้เพียงแต่ชำระสอบทานฉบับแรกและอาศัยต้นฉบับเดิมที่ H.Kern และ B.Nanjo เคยใช้มาแล้ว
    ฉบับที่สามเป็นอักษรเทวนาครี Dr. Nalinaksa Dutt เป็นบรรณาธิการ จัดพิมพ์โดย Asiatic Society of Bengal ที่กรุงกัลกัตตา เมื่อ พ.ศ.2496 Dr. Nalinaksa Dutt ใช้สองฉบับแรกเป็นหลัก โดยชี้ประเด็นแตกต่างที่สำคัญไว้ในบางแห่ง และบางครั้งก็เทียบเคียงกับต้นฉบับ บางส่วนที่ค้นพบจากเอซียกลาง ในห้องสมุดของมหาวิทยาลักโอตานี ในญี่ปุ่น ตามที่ Mironv เคยเข้าไปศึกษา นอกจากนี้บรรณาธิการยังใช้บางส่วนจากต้นฉบับของ Gilgit แต่น่าเสียดายว่า Dr. Nalinaksa Dutt ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า มีอะไรแตกต่างจากต้นฉบับของ Gilgit
    ต้นฉบับสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเล่มนี้ เป็นการประมวลต้นฉบับเก่าก่อนทั้ง 3 ฉบับมาเป็นแบบสอบทานเป็นฉบับเดียวกัน โดยมี P.C. Vaidya เป็นบรรณาธิการ เป็นความจริงที่ว่าภาษาในภาคโศลกเป็นภาษาเก่ากว่าที่เป็นส่วนร้อยแก้ว และโศลกก็มักจะกล่าวย้ำซ้ำกับเนื้อความของภาคที่เป็นร้อยแก้ว ถึงกระนั้น ก็อาจไม่เป็นการถูกต้องเสียทีเดียวที่จะกล่าวว่า ส่วนที่เป็นโศลกมีอายุเก่ากว่าส่วนที่เป็นร้อยแก้ว
    ในส่วนของธิเบต สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ได้รับการแปลเป็นภาษาธิเบตโดยท่านสุเรนทรโพธิ และ นา นัม เยเศ โด ในจีนก็มีฉบับแปลถึง 6 ฉบับ โดย 3 ฉบับแรกแปลเมื่อประมาณ พ.ศ. 796 พศ. 813 และ พ.ศ. 929 ตามลำดับ ทั้ง 3 ฉบับนี้ ปัจจุบันต้นฉบับสูญหายแล้ว ส่วน 3 ฉบับหลังที่ยังหลงเหลืออยู่ เป็นฉบับเก่าแก่ที่สุดเมื่อ พ.ศ. 878 และฉบับล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 1144 ในจำนวน 3 ฉบับหลังนี้ ฉบับแปลของกุมารชีพ เป็นที่นิยมมากที่สุด และมีเนื้อหาใกล้เคียงกับฉบับแปลของธิเบตมากที่สุด ในฐานะที่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร เป็นพระสูตรสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของผู้นับถือนิกายเทียนไท้ทั้งในจีนและญี่ปุ่นและของนิกายนิชิเรนในญี่ปุ่น จึงมีคัมภีร์ประเภทอรรถกถาหรืออรรถาธิบายรวมทั้งฉบับย่อเกิดขึ้นอีกมากมาย รวมแล้วถึง 60 เรื่อง พิมพ์เผยแพร่อยู่ในประเทศเหล่านี้ในปัจจุบัน
    ต้นฉบับสัทธรรมปุณฑรีกสูตรคงจะได้มีการชำระสอบทานมาแล้ว 2 ครั้ง เดิมทีน่าจะเป็นฉบับย่อบรรจุเนื้อหาเพียงปริวรรตที่1-20 และ 27 ตามที่ปรากฏในเล่มนี้ และเล่มก่อนๆ ส่วนปริวรรตที่ 21-26 ค่อนข้างจะมีปัญหา เพราะประการแรก ฉบับแปลจีนปริวรรตที่ 27 (ซึ่งเป็นบทส่งท้ายของเรื่อง) กลับมาอยู่หลังปริวรรตที่ 20 และประการที่ 2 เนื้อหาของบทที่21-26 มุ่งเน้นไปที่ธารณีและพระโพธิสัตว์สำคัญบางองค์ เช่น พระไภษัชยราช (ปริวรรตที่ 22) พระคัทคททัสวร (ปริวรรตที่ 23) พระสมันตมุขอวโลกิเตศวร (ปริวรรตที่ 24 ) พระศุภวยูหราช (ปริวรรตที่ 25) และพระสมันตภัทร (ปริวรรตที่ 26)
    ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นแล้วว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรเคยมีการชำระต้นฉบับจัดพิมพ์มาแล้ว 2 ครั้ง ฉบับสั้นมีเพียงปริวรรตที่ 1-20 และ27 ฉบับยาวมีทุกปริวรรตตั้งแต่ 1-27 แต่แม้ว่าฉบับสั้นก็ยังมีส่วนที่เป็นภาคโศลกหรือร้อยกรอง ซึ่งพิจารณาจากภาษาศาสตร์จะเห็นว่ามีความเก่าแก่กว่า และเป็นที่ยอมรับกันว่า ส่วนที่เป็นภาษาร้อยแก้วดูเหมือนจะเป็นภาษาบรรยายธรรมดาตื้นกว่า อนึ่ง ในกรณีส่วนใหญ่ ส่วนที่เป็นโศลกก็มักจะกล่าวซ้ำเนื้อความในภาคร้อยแก้วซึ่งปรากฏความนำมาก่อนโดยไม่พรรณนารายละเอียดมากนัก และในปริวรรตที่ 21-26 แทบจะไม่มีโศลกเลย หรือมีแต่น้อยมาก ซึ่งก็ไม่ได้พรรณนาซ้ำข้อความร้อยแก้วที่เป็นความนำมาก่อน อย่างไรก็ดี ก็เป็นการยากที่จะโต้แย้งว่า ส่วนที่เป็นโศลกอายุเก่าแก่กว่า ส่วนที่เป็นร้อยแก้ว และส่วนที่เป็นร้อยแก้วนั้นแต่งเพิ่มเติมเต้ามาในภายหลัง เพราะโครงสร้างของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรไม่ได้ใช้กับโศลกและร้อยแก้วตามที่ปรากฏในปริวรรตที่1 เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปได้ และน่าจะถูกต้องที่จะลงความเห็นว่าเป็นธรรมเนียมนิยมที่ยุคสมัยนั้นจะแต่งเป็นร้อยแก้วก่อนแล้วจึงกล่าวซ้ำความเป็นโศลก เพื่อช่วยให้จดจำง่าย รูปแบบของภาษาที่ดูเก่าแก่กว่าในโศลกอาจเป็นเพียงลักษณะของคำประพันธ์ที่ต้องการจะใช้คำเก่าแก่เท่านั้น
    ความหมายของชื่อ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร Mr.Anesaki อธิบายไว้ว่า "ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และความสมบูรณ์ เพราะเจริญจากโคลนตม แต่ไม่แปดเปื้อนด้วยโคลนตมนั้น เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นในโลกนี้แต่ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่เหนือโลกนี้ (โลกุตตระ) และเพราะเมล็ดบัวนั้นจะแก่เต็มที่ได้ก็ต่อเมื่อดอกบัวบานแล้ว เช่นเดียวกับสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนจะในผลดีคือการตรัสรู้ทันที" อธิบายง่ายๆว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกับปุณฑรีกหรือดอกบัว พระสูตรนี้มีชื่อเช่นนี้ก็เพราะทรงไว้ซึ่งอรรถาธิบายแห่งคำสอนนั้น
    สัทธรรมปุณฑรีกสูตร แบ่งออกเป็น 27 บท ซึ่งเรียกว่า ปริวรรต โดยส่วนใหญ่แล้วจะแสดงพระสูตรในลักษณะที่ให้ผู้ศรัทธามีความเคารพยำเกรงในพระพุทธเจ้า และในตัวของพระสูตรเอง มีจ้อความพรรณนาโวหารถึงอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าทั้งในส่วนที่เป็นโศลกและเนื้อความร้อยแก้ว ถ้าผู้ศึกษาจะมองข้ามส่วนนี้เสียถือเอาแต่การวิเคราะห์เนื้อหาก็จะได้พบวัตถุประสงค์สำคัญของพระสูตรนี้ว่าต้องการจะกล่าวย้ำถึงคำสอนของเอกยานกล่าวคือพุทธยานซึ่งนอกเหนือไปจากตรียาน คือสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน อย่างไรก็ดี เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเผชิญกับความขัดแย้งของคำสอนของพระองค์ในที่อื่นๆ ก็จะทรงอธิบายว่า พระองค์ทรงสอนแต่เพียงเรื่องเอกยานเท่านั้น พระธรรมเทศนาที่ทรงเอ่ยอ้างถึงตรียานเป็นเพียงนำผู้ปฏิบัติที่หลงทางให้เข้าสู่เอกยาน ข้อนี้เป็นคุณลักษณะของอุปายโกศล หรือ "วิธีการที่ฉลาดแยบยล" เพื่อแสดงมรรคาที่ถูกต้องแก่สาวกของพระองค์ ผู้อ่านมักจะพบคำว่าอุปายโกศลน้อยมากในพระสูตรฝ่ายมหายาน เช่นดังที่ปรากฏในอาษฏาสาหัสริกาศาสตร์ ว่ามีข้ออุปมาเปรียบเทียบและนิทานสาธกที่วิเศษยิ่งเกี่ยวกับอุปายโกศลของพระพุทธเจ้า ในปริวรรตที่ 3,4 และ 5 ของพระสูตรเล่มนี้ และผู้อ่านคงจะเห็นพ้องกับ วินเตอร์นิตซ์ ที่ว่า อุปมาอุปไมยและนิทานสาธกเหล่านี้เป็นเรื่องที่คงความงดงาม ถ้าหากว่าจะไม่ทำให้เรื่องต้องยึดยาดเยิ่นเย้อออกไปจนกระทั่งว่าประเด็นสำคัญของข้ออุปมาอุปไมยต้องมีผลกระทบไปด้วย ความเยิ่นเย้อ เช่นนี้เป็นลักษณะของสัทธรรมปุรฑรีกสูตรนี้ ข้อความที่วกวนเช่นนี้อาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนงุงงงได้ และแนวคิดหลักจริงๆ ก็มักอยู่ในกระแสคำบรรยายดังว่านี้
    เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปในแน่นอนว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรมีการจารึกขึ้นเมื่อไร ต้นฉบับเนปาลที่ใช้เป็นต้นฉบับพิมพ์เล่มนี้ล้วนมีอายุเหลังพุทธกาล 1500ปี ทั้งสิ้น ฉบับแปลของธิเบตซึ่งปรากฏก่อนหน้านี้ ก็ตกอยู่ในประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 และฉบับแปลจีนของท่านกุมารชีพ ก็มีเนื้อความคล้ายคลึงกันกับฉบับของธิเบต เมื่อมีการสอบทานชำระอาจจะเกิดฉบับที่มีข้อความสั้นเพียงบทที่ 1-20 และ 27 ก่อนฉบับสมบูรณ์ 27 บทปัจจุบัน หากไม่พิจารณาถึงการสอบทานฉบับเก่าๆ หันมาพิจารณาเฉพาะฉบับแปลแรกๆของจีน จะมีอายุในช่วง พ.ศ.776-998 วินเตอร์นิตซ์ ให้ความเห็นว่า ท่านนาคารชุนได้ยกข้อความไปจากนี้ เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมคงจะมีขึ้นแล้วเมื่อประมาณ พ.ศ.693 เพราะฉะนั้น ไม่น่าจะผิดพลาดนักถ้าเราจะกำหนดว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรจารึกไว้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 6 ลักษณะของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแสดงให้เห็นพัฒนาการอันสุกงอมของพระพุทธศาสนามหายาน โดยเฉพาะในแง่ของการอุทิศตนเพื่อพระพุทธเจ้า ความเชื่อในการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูป และพัฒนาการก้าวหน้าแห่งพุทธศิลป์
    เฉพาะในประเทศจีน สัทธรรมปุณฑรีกสูตรมีการแปลถ่ายทอดเป็นภาษาจีนถึง 6 ครั้งด้วยกัน แต่ 3 ฉบับแปลแรกได้สูญหายไปแล้วเมื่อประมาณ พ.ศ. 1273 เมื่อมีการจัดทำบัญชีรายชื่อคัมภีร์พระพุทธศาสนาขึ้นโดยท่านจื้อเซิง อีก 3 สำนวนแปลหลังที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นของท่านธรรมรักษ์ พ.ศ.829 ท่านกุมารชีพ พ.ศ.934 และท่านชญานคุปตะร่วมกับท่านธรรมคุปตะ พ.ศ.1144 ฉบับแปลล่าสุดจะมีเนื้อความสอดคล้องกับต้นฉบับภาษาสันสกฤตมากที่สุด ฉบับแปลของท่านกุมารชีพ ทั้งที่มีในจีนและญี่ปุ่นมีขนาดยาว 8ผูก มีรวม 28 ปริวรรต โดยเพิ่ม "เทวทัตปริวรรต" คือบททีว่าด้วยพระเทวทัตเข้ามาอีกหนึ่งบท พระสูตรนี้เป็นที่เคารพนับถือมากในหมู่ผู้นับถือนิกายเทียนไท้ (เทนได) ทั้งในจีนและญี่ปุ่น โดยเฉพาะนิกายนิชิเรนถือเป็นพระสูตรสำคัญมากที่สุดพระสูตรหนึ่งของมหายาน ซึ่งมีหลักคำสอนว่า แม้แต่สาวกของยานอื่นๆก็สามารถบรรลุความตรัสรู้อันสมบูรณ์ได้ และสอนว่าความตรัสรู้อันสมบูรณ์นั้น พระพุทธเจ้าได้บรรลุมาเนิ่นนานหลายกัลปหลายกัลป์จนนับมิได้แล้ว
    ในส่วนของอรรถกถาพระสูตรนี้ ท่านวสุพันธุ ได้รจนาเป็นฉบับย่อในชื่อว่า "สัทธรรมปุณฑรีกสูตรอุปเทศ" ในจีนมีคัมภีร์ชั้นฎีกาเกิดขึ้นมากมาย เช่นของท่านเต้าเซิง, ฝ่าอวิ่น, จื้ออี, จี้จ้าง, และกุยจี เป็นต้น แม้แต่ท่านจื้ออี(มหาคุรุเทียนไท้) ผู้สถาปนานิกายเทียนไท้ ก็อาศัยมูลฐานจากพระสูตรนี้ ในญี่ปู่น เจ้าชายโชโตกุ ก็ทรงแต่งอรรถาธิบายพระสูตรฉบับสันสกฤตและฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ ก็มีปราชญ์ตะวันตกจัดพิมพ์เผยแพร่ดังกล่าวแล้วข้างต้น
    อนึ่ง มีข้อที่ควรทราบถึงความสำคัญของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ว่า ในกลุ่มประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนามหายาน เช่นจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน เวียตนาม และแม้แต่นิกายมหายานในประเทศไทย เมื่อมีพิธีเกี่ยวกับการบูชาพระอวโลกิเตศวร(กวนอิม)ก็จะนิยมสวดบท "สมันตมุขปริวรรต" โดยมิได้ขาด อันเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า พระสูตรนี้เป็นบ่อเกิดแห่งศิลปกรรมและพิธีกรรมต่างๆ มากมายนอกเหนือไปจากหลักธรรมและปรัชญาอันลึกซึ้ง
    ในการศึกษาวิเคราะห์ด้านเนื้อหาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนั้น บทที่ 2 คืออุปายโกศลปริวรรต มีอิทธิพลต่อแนวคิดของท่านจื้ออีหรือเทียนไท้มาก เพราะถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าก่อนหน้านี้เป็นเพียงอุบายเทศนาวิธี แต่สัทธรรมปุณฑรีกสูตรคือแก่นแท้ของพระสัทธรรม ซึ่งสรุปเป็นเอกพุทธยาน
    ในส่วนของท่านนิชิเรน ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบทที่ 15 ตถาคตายุษประมาณปริวรรต ท่านถือว่าพระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นเพียงนิรมานกายของพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ซึ่งตรัสรู้มาแล้วเนิ่นนานจนนับกาลไม่ได้แล้วและสุดท้ายท่านสรุปว่า ตัวท่านเองคือผู้สำแดงร่างของพระพุทธเจ้าองค์ล่าสุด ถึงกับตั้งสมญานามตนเองว่า ไดโชนิน"ซึ่งแปลว่า "พระมหามุนี" นอกจากนี้บทท้ายๆคือ บทที่26-27 ซึ่งท่านนิชิเรนนำแนวคิดซึ่งพระสูตรไปใช้เป็นบทสัมภาวนา "นามเมียวโฮเรงเงเกียว" [นโม สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสฺย]และสร้างมณฑลสัญลักษณ์ ซึ่งเรียกว่า "ไดโมกุ" เป็นวัตถุแห่งการบูชาผู้ศึกษาวิจัยควรอ่านประวัติของท่านจื้ออีผู้สถาปนานิกายเทียนไท้ของจีนและประวัติของท่านนิชิเรน ไดโชนิน จะได้ทราบแนวคิดที่ท่านทั้งสองได้ไปจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ และน่าจะเพียงพอแล้วสำหรับความเลิศล้ำของพระสูตรนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มีนาคม 2012
  17. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    โอม ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระตถาคต พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งปวง และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่มีในอดีตอนาคตและปัจจุบัน ข้าพเจ้าจักพรรณนา สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ซึ่งเป็นสูตรที่สมบูรณ์และสำคัญ เป็นสูตรที่แสดงการจุติ (อวตาร) เพื่อแนะนำประโยชน์สูงสุด และเป็นแนวทางอันยิ่งใหญ่แก่สัตว์ทั้งหลาย
    บทที่1 นิทานปริวรรต
    บทนำ

    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎ ในเมืองราชคฤห์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก คือพระภิกษุ 1200 รูป ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ หมดทุกข์ ปราศจากกิเลส มีจิตและปัญญาหลุดพ้นแล้ว เป็นบุรุษอาชาไนย ได้กระทำกิจอันความกระทำแล้ว เหมือนพญาช้างผู้มีภารกิจที่ได้ทำสำเร็จแล้ว เพราะความรู้ชอบในการควบคุมความคิดทั้งปวง ได้ฌานอภิญญา พระมหาสาวกเหล่านั้น อาทิ ท่านอัชญาตเกาณฑินยะ ท่านอัสวชิตะ ท่านวาษปะ ท่านมหานามะ ท่านภัทริกะ ท่านมหากาศยปะ ท่านอุรุวิลวกาศยปะ ท่านนทีกาศยปะ ท่านคยากาศยปะ ท่านศาริบุตร ท่านมหาเมาทคัลยายะ ท่านมหากาตยายนะ ท่านอนิรุทธะ ท่านเรวตะ ท่านกัปผินะ ท่านความปติ ท่านปิลินทวัตสะ ท่านพักกุละ ท่านมหาเกาษฐิละ ท่านภรทวาชะ ท่านมหานันทะ ท่านอุปนันทะ ท่านสุนทรนันทะ ท่านปูรณไมตรายณีปุตระ ท่านสุภูติ และท่านราหุล พร้อมทั้งมหาสาวกอื่นๆนอกจากที่กล่าวแล้ว อาทิ ท่านอานนท์ผู้เป็นเสขบุคคล พร้อมด้วยพระภิกษุอื่นอีก 2000 รูป บางรูปเป็นพระเสขะ บางรูปเป็นพระอเสขะ ภิกษุณี 6000 รูป มีพระนางมหาประชาบดีเป็นประมุข และท่านภิกษุณียโสธรา ผู้เป็นพระมารดาของพระราหุล รวมทั้งบริวารด้วย กับ พระโพธิสัตว์ 80000 องค์
    ทุกองค์เป็นผู้ไม่หวั่นไหว มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดเพียงชาติเดียว เป็นผู้ได้ธารณีในการตรัสรู้อันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้ดำรงอยู่ มีมหาปฎิภานยิ่ง ผู้ได้เข้าใกล้ พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ ที่ได้หมุนธรรมจักรให้เคลื่อนไป ผู้มีกุศลมูล ที่ได้ทำกับพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ ผู้ได้สดุดีพระพุทธเจ้านับแสนพระองค์มาแล้ว ผู้มีกายและจิตอันเปี่ยมด้วยเมตตา ผู้มีสายสกุลสืบต่อปัญญาของพระตถาคต มีปัญญามาก เข้าถึงคติแห่งปรัชญาปารมิตา เป็นที่รู้จักในหลายแสนโลกธาตุ และเป็นผู้ช่วยเหลือสัตว์จำนวนหลายหมื่นโกฎิ เหมือนอย่างพระโพธิสัตว์มหาสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะ พระอวโลกิเตศวร พระมหาสถามปราปตะ พระสรวารถนามัน พระนิตโยทยุกตะ พระอนิกษิปตธุระ พระรัตนปาณี พระไภษัชยราช พระไภษัชยสมุทคตะ พระวยูหราช พระประทานศูระ พระรัตนจันทระ พระรัตนประภานะ พระสตตสมิตาภิยุกตะ พระธรณีธระ พระอักษยมติ พระปัทมศรี พระนักษัตรราช พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมไตรยะ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์สิงหะ กับสัตบุรุษ16 คน ซึ่งมีภัทรปาละ เป็นผู้น้ำ คือภัทรปาละ รัตนากระ สุสารถวาหะ นรทัตตะ คุยหคุปตะ อรุณทัตตะ อินทรทัตตะ อุตตรมติ วิเศษมติ วรรธมานมติ อโมฆทรรศี สุสัมประสถิตะ สุวิกรานตวิกรามี อนุปมมติ สูรยครรภะ และธรณีนธระ พร้อมกับพระโพธิสัตว์ 80,000องค์
    ซึ่งท่านที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นผู้นำ พร้อมด้วยท้าวสักกะ จอมแห่งทวยเทพ ซึ่งมีเทพบุตร 20,000 องค์ เป็นบริวาร อาทิ จันทรเทพบุตร สูรยเทพบุตร สมันตคันธเทพบุตร รัตนประภาเทพบุตร อวภาสประภาเทพบุตร และเทพบุตร 20,000 องค์ ซึ่งมีเทพที่กล่าวมาแล้วเป็นผู้นำ และพร้อมทั้งมหาราชทั้ง 4 ซึ่งมีเทพบุตร 30,000 องค์ เป็นบริวาร คือมหาราชวิรูตกะ มหาราชวิรูปากษะ มหาราชธฤตราษฎระ และมหาราชไวศรวณะ และเทพบุตรอีศวร เทพบุตรมเหศวร ซึ่งทั้งสองมีเทพบุตร 30,000 องค์เป็นบริวาร และพร้อมทั้งสหามบดีพรหม ซึ่งมีเทพบุตรรูปพรหม 12,000 องค์เป็นบริวาร ได้แก่ ศิบิพรหม และชโยติษประภาพรหม เป็นต้น พร้อมด้วยเทพบุตรรูปพรหม 12,000 องค์ ซึ่งมีพรหมที่กล่าวนามมาแล้วเป็นผู้นำ พร้อมด้วยพญานาคราช ทั้งแปด ซึ่งมีพญานาคราชหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร ได้แก่ นาคราชนันทะ นาคราชอุปนันทะ นาคราชสาคระ นาคราชวาสุกี นาคราชตักษกะ นาคราชมนัสวิน นาคราชอนวตัปตะ และนาคราชอุตปลกะ พร้อมด้วยกินนรราชทั้งสี่ ซึ่งมีกินนรหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร ได้แก่กินนรราชทรุมะ กินนรมหาธรรมะ กินนรสุธรรมะ กินนรธรรมธระ และเทพบุตรคนธรรพ์ทั้งสี่ ซึ่งมีคนธรรพ์หลายแสนเป็นบริวาร คืนคนธรรพ์มโนชญ์ คนธรรพ์มโนชญ์สวระ คนธรรพ์มธุระ และคนธรรพ์มธุรสวระ จอมอสูรทั้งสี่ ซึ่งมีอสูรหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร คือจอมอสูรพลี จอมอสูรบรัสกันธะ จอมอสูรเวมจิตรี และจอมอสูรราหู กับจอมครุฑทั้งสี่ ซึ่งมีครุฑหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร คือจอมครุฑมหาเตชะ จอมครุฑมหากายะ จอมครุฑมหาปูรณะ จอมครุฑมหาฤทธิปราปตะ รวมทั้งพระเจ้าอชาตศัตรูราชาแห่งมคธนคร ผู้เป็นโอรสของพระนางเวเทหิด้วย

    นัยว่า สมัยนั้นพระผู้มีพระภาค ซึ่งมีบริษัทสี่ แวดล้อม ถวายความเคารพ นบนอบ ยกย่อง นับถือ สรรเสริญ บูชา และนอบน้อมแล้ว หลังจากได้ตรัสพระสูตรธรรมบรรยายที่ซึ่อว่า “มหานิรเทศ” อันเป็นคำสอนที่ไพบูลย์ยิ่ง เป็นคำสอนที่ทรงแสดงแก่พระโพธิสัตว์และเป็นคำสอนที่เกื้อหนุนต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วทรงประทับนั่งบนธรรมาสน์ใหญ่นั้น นั่นแล ทรงเข้าสมาธิที่เรียกว่า “อนันตนิรเทศประดิษฐาน” มีพระวรกายนิ่ง จิตสงบ ก็ในขณะที่พระผู้มีพระภาค ทรงเข้าสมาธินั้น สายฝน ดอกไม้ทิพย์จำนวนมาก คือดอกมณฑารพ ดอกมหามณฑารพ ดอกมัญชูษกะ และดอกมหามัญชูษกะ ได้โปรยลงเหมือนสายฝนตกต้องที่พระผู้มีพระภาค และบริษัททั้งสี่ ทำให้พุทธเกษตรทั้งปวง สั่นสะเทือนเป็นหกจังหวะคือ เคลื่อนไป-เคลื่อนมา ฟูขึ้น-ยุบลง โคลงไป-โคลงมา นัยว่า สมัยนั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในที่ประชุมนั้น ทั้งพระราชา พระจักรพรรดิผู้มีพลัง ที่ครองนครทั้งหลายและจักรพรรดิผู้ครองทวีปทั้งสี่ ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่นั้น ทั้งหมดพร้อมด้วยบริวาร ได้พากันมองมาที่พระผู้มีพระภาค และได้ถึงความประหลาดใจ อัศจรรย์ใจไปตามๆกัน
    ก็ในเวลานั้นแล รัศมีดวงหนึ่งได้ฉายออกมาจากกลุ่มพระอูรณะ (พระโลมารูปวงกลม) ระหว่างพระขนงของพระผู้มีพระภาค พระรัศมีนั้นแผ่คลุมไปทั่ว 18,000 พุทธเกษตร ในทิศบูรพา และพุทธเกษตรทั้งหมดนั้น ได้ปรากฏ สว่างไสวไปด้วยแสงรัศมีนั้น จนถึงอเวจีมหานรก และจรดจุดสูงสุดของขอบจักรวาล อนึ่งในพุทธเกษตรเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มีอยู่ในคติทั้งหก ก็เห็นกันโดยถ้วนทั่ว และในพุทธเกษตรเหล่านั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ที่ทรงประทับยืน นั่ง และดำเนินไปอยู่ ก็ได้เห็นกันทั่ว พระธรรมทั้งหมด ที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย แสดงก็ได้ยินกันอย่างทั่วถึง ในพุทธเกษตรเหล่านั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ฝึกโยคะ ผู้บรรลุ และยังไม่ได้บรรลุผลวิเศษทุกคนก็ได้เห็นกันถ้วนทั่ว ในพุทธเกษตรเหล่านั้น พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ทั้งหมด ที่ประพฤติข้อวัตร ปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ ด้วยความฉลาดในอุบาย อันมีการฟัง การยึดมั่นและการน้อมใจเชื่อเป็นเหตุต่างๆ มิใช่น้อย ก็ได้ปรากฏให้เห็นในพุทธเกษตรทั้งหลายเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวงที่ปรินิพพานแล้ว ก็มาปรากฏให้เห็นในพุทธเกษตรเหล่านั้น แม้พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายทั้งปวง ที่สร้างด้วยรัตนะต่างๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ดับขันธปรินิพพานนานแล้ว ก็ปรากฏให้เป็นเช่นกัน
    ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทรงมีดำริว่า พระตถาคตได้ทรงทำมหานิมิตปาฏิหาริย์นี้ จักมีเหตุอะไรหนอ อะไรเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาค ได้ทรงกระทำมหานิมิตปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ และพระผู้มีพระภาค ได้ทรงเข้าสมาธิแล้ว ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่และมหัศจรรย์เห็นปานนี้ จึงเป็นอจินไตย ได้ปรากฏให้เห็นแล้ว เราควรจะถามเนื้อความที่ควรจะถามนี้หรือหนอแล ณ ที่นี้ ใครหนอ พึงเป็นผู้สามารถที่จะทำให้เนื้อความนี้กระจ่างได้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะนั้น ได้ทรงมีดำริต่อไปว่า พระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะองค์นี้ผู้มีอธิการได้กระทำแล้วต่อพระชินเจ้าองค์ก่อนๆ มีกุศลมูลอันปลูกฝังไว้แล้ว (ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ)และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจำนวนแล้ว อนึ่ง นิมิตเช่นนี้ ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน จักเป็นสิ่งที่พระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะนี้ได้เคยเห็นมาแล้ว ก็แล การถามธรรมะอันยิ่งใหญ่ก็เคยมีมาแล้ว เราควรถามข้อความนี้กะท่านพระมัญชุศรีกุมารภูตะ ดีไหมหนอ? บริษัทสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ และอมนุษย์ ทั้งหลาย จำนวนมากเหล่านั้น เห็นปรากฏการณ์แห่งปาฏิหาริย์ ที่เป็นเช่นนี้ เป็นนิมิตหมายอันยิ่งใหญ่ของผู้มีพระภาค ก็ประหลาด มหัศจรรย์ใจ โกลาหล คิดกันว่า ทำไมหนอ พวกเราจึงไม่ถามปรากฏการณ์แห่งอิทธิปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่เห็นปานนี้ของพระผู้มีพระภาค
    ขณะนั้นแล พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของบริษัทสี่ด้วยจิตเช่นกันและตนเองก็สงสัยในธรรม จึงได้ถามพระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระมัญชุศรี ณ ที่นี้ อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์แห่งฤทธิ์ของพระผู้มีพระภาค ที่เป็นมหัศจรรย์ถึงเพียงนี้และพุทธเกษตร 18000 เหล่านี้ ที่มีพระตถาคตซึ่งปรินิพพานแล้ว และพระตถาคตที่กำลังสั่งสอนศาสนาธรรมอยู่ ปรากฏเห็นเป็นวิจิตรสวยงามน่าดูเป็นอย่างยิ่ง

    ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทรงกล่าวกับพระมัญชุศรีกุมารภูตะ ด้วยคาถาทั้งหลายว่า
    1 ข้าแต่พระมัญชุศรี เพราะเหตุใดเล่า พระผู้นำของนรชน (พระผู้มีพระภาค) จึงทรงเปล่งพระรัศมีออกมา และพระรัศมีซึ่งมีแสงประกายนี้ ได้ปรากฏจากกลุ่มพระอูรณะ ซึ่งอยู่ระหว่างพระขนง
    2 ทวยเทพทั้งหลาย มีความยินดีได้โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกมัญชูษกะผสมผงผงจันทน์ซึ่งเป็นทิพย์ มีกลิ่นหอมน่ารื่นรมย์ ลงมาเป็นห่าฝน
    3 ปฐพีทั้งปวงงามไปทั่วทุกสารทิศ บริษัททั้งสี่ก็ได้รับความปิติ และพุทธเกษตรทั้งปวง ก็สั่นสะเทือนถึงหกจังหวะอย่างน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง
    4 ก็แลรัศมีนั้น แผ่ไปทั่วทั้ง 18,000 พุทธเกษตรในทิศบูรพา และพุทธเกษตรทั้งหมด สว่างไสวปานสีทองพร้อมกัน
    5 สัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในภูมิทั้ง 6 ทั้งที่ตายและกำลังเกิดอยู่ในสถานที่ต่างๆ ตั้งต้นแต่ อเวจีมหานรกจนถึงพรหมโลก (เราก็เห็นสัตว์เหล่านั้นได้)
    6 กรรมชนิดต่างๆ ของสรรพสัตว์ที่มีสุขและมีทุกข์ ที่เลว ประณีต และปานกลาง ที่ปรากฏในคติทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่ที่นี่ก็สามารถมองเห็นกรรมทั้งหมดนั้นได้
    7 ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นจอมแห่งพระราชา ซึ่งกำลังประกาศและแสดงธรรม ยกอุทาหรณ์ให้ปรากฏแก่สรรพสัตว์จำนวนหลายโกฏิ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ
    8 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อประกาศพุทธธรรม ด้วยการแสดงเหตุผลหลายหมื่นโกฏิวิธี ย่อมทรงเปล่งพระสุรเสียงลึกซึ้งไพเราะ และอัศจรรย์ ในพุทธเกษตรของแต่ละพระองค์
    9 ก็แลสัตว์ที่โง่เขลาเบาปัญญา ถูกความทุกข์บีบคั้น มีจิตใจเดือดร้อน เพราะการเกิดและความแก่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ทรงประกาศวัตรปฏิบัติเพื่อความสงบสุขแก่สัตว์เหล่านั้น ด้วยพระดำรัสว่า โอ ภิกษุทั้งหลาย นี่คือที่สุดแห่งความทุกข์
    10 ส่วนชนที่มีพลังแข็งกล้า ถึงพร้อมด้วยบุญบารมี ประกอบด้วยทัศนะที่ดีต่อพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะทรงแสดงธรรมเครื่องนำทางแก่เขาก็ตรัสยานเฉพาะแก่เขา
    11 ส่วนชนเหล่าอื่น ที่เป็นบุตรพระสุคต ที่กำลังแสวงหาญาณอันวิเศษสุด ซึ่งได้ทำงานมาตลอดกาล พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตรัสสอนพรต เพื่อการตรัสรู้แก่เขา
    12 ข้าแต่ท่านมัญชุโฆษะ ข้าพเจ้ายืนอยู่ ณ ที่นี้ย่อมได้ยินและเห็นเรื่องเช่นนี้และเรื่องพิเศษอื่นๆ รวมเป็นจำนวนพันโกฏิเรื่อง จากเรื่องเหล่านั้น ข้าพเจ้าจะเล่าเพียงบางเรื่อง
    13 ในพุทธเกษตรจำนวนมากมายนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระโพธิสัตว์จำนวนมากหลายพันโกฏิ มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ที่ได้บรรลุโพธิญาณ ด้วยความเพียรต่างๆกัน
    14 พระโพธิสัตว์บางพวกในทาน คือ การบริจาคทรัพย์สมบัติ เงินทอง แก้วมุกดา แก้วมณี สังข์ ศิลา แก่ประพาฬ ทาสชาย ทาสหญิง รถ ม้า และแกะ เป็นต้น
    15 พระโพธิสัตว์บางพวกมีจิตเบิกบานทำตนให้เจริญอยู่ เพื่อการตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐในโลก ในทานด้วยการบริจาคควอ และเครื่องประดับที่เป็นรัตนะทั้งหลาย ด้วยคิดว่า เรา เมื่อน้อมใจไปอยู่ พึงได้ยานในพระโพธิญาณอันประเสริฐนี้
    16 พระโพธิสัตว์บางพวก ในทานเช่นนี้ ด้วยคิดว่า พุทธยาน ที่พระสุคตทั้งหลายได้แสดงแล้ว เป็นยานที่ประเสริฐและวิเศษสุด ในโลกธาตุทั้งสาม เราจงได้พุทธยานนั้นโดยพลันเถิด
    17 พระโพธิสัตว์บางพวก ให้ทาน เช่นรถเทียมม้า 4 ตัว ซึ่งมีที่นั่งประดับด้วยดอกไม้และธงชัยพร้อมทั้งธงเวชยันต์ และบางพวกบริจาควัตถุทั้งหลายที่ทำด้วยรัตนะ
    18 พระโพธิสัตว์บางพวก บริจาคบุตรชาย และบุตรหญิงทั้งหลาย บางพวกบริจาคเนื้อหนังอันเป็นที่รักของตน และบางพวกปรารถนาธรรมอันเลิศนี้ ได้บริจาคมือและเท้าทั้งหลาย ที่บุคคลอื่นขอ
    19 พระโพธิสัตว์บางพวก บริจาคศีรษะ บางพวกบริจาคนัยน์ตา บางพวกบริจาคร่างกายอันประเสริฐ ก็แล ครั้นบริจาคทานทั้งหลายแล้ว เป็นผู้มีจิตผ่องใส ย่อมปรารถนาการบรรลุญาณของพระตถาคตทั้งหลาย
    20 ข้าแต่พระมัญชุศรี ข้าพเจ้าเห็นว่า ในที่บางแห่ง กษัตริย์ทั้งหลาย สละราชสมบัติจำนวนมาก สละถิ่นที่ประทับ ทวีป อำมาตย์ และพระญาติทั้งปวง สละทุกสิ่งทุกอย่าง
    21 กษัตริย์เหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้นำของชาวโลกทั้งหลาย (พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย) เพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วถามข้อธรรมอันประเสริฐ ทรงตัดพระเกศา พระมัสสุ แล้งครองผ้ากาสาวพัสตร์
    22 และข้าพเจ้าได้พบเห็นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายบางพวก ที่เป็นเช่นภิกษุผู้อยู่ในป่าใหญ่ บางพวกอาศัยป่าที่ว่างเปล่า และยินดีในการศึกษาค้นคว้า (พระธรรม)
    23 อนึ่งข้าพเจ้าได้พบเห็นพระโพธิสัตว์ของท่านซึ่งมีปัญญา เข้าไปสู่ถ้ำที่ภูเขาเจริญวิปัสสนา ใคร่ครวญพุทธญาณ พิจารณาตนเองอยู่
    24 บุตรทั้งหลายเหล่าอื่นของพระสุคต ละกามโดยไม่เหลือ อบรมตนจนมีอารมณ์บริสุทธิ์ ได้บรรลุอภิญญา5 อาศัยอยู่ในป่า
    25 บางพวกที่ปราชญ์ ยืนชิดเท้าประคองอัญชลีต่อหน้าพระผู้นำทั้งหลาย (พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย) กล่าวสดุดีพระชิเนนทรราช ที่ก่อให้เกิดความหรรษาด้วยคาถาหลายพัน
    26 บางพวกมีสติ ฝึกอินทรีย์ได้แล้ว เป็นผู้คงแก่เรียนและรู้ศิลปะทั้งปวง ถามซึ่งธรรมของพระสุคตผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ และครั้นได้ฟังแล้วก็จดจำธรรมนั้นไว้
    27 ข้าพเจ้าได้เห็นพระชิเนนทรบุตรบางพวก ซึ่งได้อบรมตนแล้ว ณ ที่นั้นๆ แสดงธรรมแก่มนุษย์ จำนวนหลายโกฏิ ด้วยการแสดงเหตุผลหลายหมื่นอย่าง
    28 พระชิเนนทรบุตรเหล่านั้น เกิดความปราโมทย์ ชักชวนพระโพธิสัตว์จำนวนมากให้เผยแผ่ธรรมอยู่ ท่านเหล่านั้นได้ทำลายมารผู้มีกำลัง พร้อมทั้งเสนามารได้แล้ว จึงลั่นกลองธรรม
    29 ข้าพเจ้าได้เห็นบุตรตถาคต บางพวกผู้ไม่เย่อหยิ่ง ถ่อมตน มีจริยวัตรสงบเสงี่ยมในศาสนาของพระตถาคต เป็นที่บูชาของมนุษย์ เทพ ยักษ์ และรากษสทั้งหลาย
    30 บางพวกอาศัยอยู่ในป่าทึบ เปล่งรัศมีจากกาย ยกสัตว์ทั้งหลายขึ้นจากนรกให้เตรียมพร้อมเพื่อพระโพธิญาณ
    31 พระชินบุตรบางพวกเหล่าอื่น ตั้งอยู่ในความเพียร ละความเกียจคร้านได้โดยสิ้นเชิง ประกอบการเดินจงกรม ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความเพียร ท่านเหล่านั้น ย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้
    32 และพระชินบุตรบางพวก รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ด่างพร้อยทุกเมื่อ เช่นเดียวกับแก้วมณีและรัตนะทั้งหลาย และมีความประพฤติอันสมบูรณ์แบบ ท่านเหล่านั้นสามารถบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐได้ด้วยศีลนั้น ณ ที่นั้น
    33 พระชินบุตรทั้งหลาย บางพวก มีความอดทนเป็นพลัง ย่อมอดทนต่อภิกษุทั้งหลายที่มีความเย่อหยิ่ง ด่าบริภาษและติเตียน พระชินบุตรเหล่านั้น สามารถบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐได้ ด้วยความอดทนนั้น
    34 ข้าพเจ้าได้พบเห็นพระโพธิสัตว์ บางพวก ละความยินดีในโลกิยสุขทั้งปวง ละทิ้งสหายผู้เป็นพาลทั้งหลายแล้ว ยินดีการสังสรรค์ ดำรงอยู่กับหมู่ชนผู้เป็นอริยะทั้งหลาย
    35 พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ละความคิดที่ฟุ้งซ่าน เข้าสมาธิทำจิตให้เป็นอารมณ์เดียวในป่าและถ้ำเป็นเวลาหลายพันโกฏิปี ท่านเหล่านั้น สามารถบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐได้ด้วยสมาธินั้น
    36 พระชินบุตรบางพวก บริจาคสิ่งของที่เป็นขาทนียะ โภชนียะควรเคี้ยว ข้าว น้ำ ยารักษาโรค จำนวนมาก ให้เป็นทาน ณ เบื้องพระพักตร์ ของพระชินเจ้าพร้อมทั้งหมู่ศิษย์
    37 พระชินบุตรบางพวก ทำการบริจาคผ้าจำนวนร้อยโกฏิ ซึ่งมีมูลค่าหลายร้อยพันโกฏิ และบางพวกบริจาคผ้าทั้งหลายที่มีค่านับไม่ได้ ณ เบื้องพระพักตร์ พระชินเจ้าพร้อมทั้งหมู่ศิษย์
    38 พระชินบุตรบางพวก ให้สร้างวิหารตั้งร้อยโกฏิ ประดับประดาด้วยรัตนะ และไม้จันทน์ ที่นอนที่นั่งมากมาย ให้เป็นทาน ณ เบื้องพระพักตร์ของพระสุคตเจ้าทั้งหลาย
    39 พระชินบุตรบางพวก ถวายสวนอันสะอาดและน่ารื่นรมย์ ซึ่งมีผลไม้และดอกไม้หลากสี แด่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย พร้อมด้วยสาวกเพื่อพักผ่อน ในเวลากลางวัน
    40 ท่านทั้งหลายเหล่านั้นมีความยินดีปรีดา บริจาคทานหลายอย่างที่วิจิตร ก็แล ครั้นบริจาคแล้ว ได้ทำความเพียรให้เกิดขึ้นเพื่อพระโพธิญาณ ท่านเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้ด้วยทานนั้น
    41 พระชินบุตรบางพวก อธิบายธรรมอันเกี่ยวกับความสงบด้วยการแสดงเหตุผลเป็นจำนวนไม่น้อย นับได้หลายหมื่นอย่าง และแสดงธรรมนั้นแก่ประชาชนจำนวนหลายพันโกฏิ ท่านเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้ด้วยญาณนั้น
    42 บุตรพระตถาคตเจ้าบางพวก รู้อยู่ ไม่ปรารถนา ไม่ยึดติดสิ่งใด เหมือนความเสมอภาคของพระอาทิตย์ แล้วประพฤติธรรมเป็นทวีคูณ ท่านเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้ ด้วยปัญญา
    43 ข้าแต่ท่านมัญชุโฆษะ ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้ายังได้เห็นพระโพธิสัตว์จำนวนมาก ผู้มั่นคงในพระศาสนาของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ที่ปรินิพพานแล้ว ยังทำการสักการะพระธาตุของพระชินเจ้าทั้งหลาย

    44 ข้าพเจ้าเห็นพระสถูปมากมายหลายพันโกฏิ เท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ที่พระชินบุตรทั้งหลาย ให้สร้างขึ้นประดับแผ่นดินเป็นจำนวนหลายโกฏิ
    45 พระสถูปอันประเสริฐทั้งหลาย สร้างด้วยวัตถุมีค่า 7 ประการ สูง 5,000 โยชน์ และวัดโดยรอบที่ฐาน 2,000 โยชน์ ที่พระสถูปนั้นมีทั้งฉัตรและธงหลายพันโกฏิ
    46 ตลอดเวลา พระสถูปประดับด้วยธงและมีเสียงกลุ่มระฆังดังอยู่เป็นนิจ และงดงามยิ่งนัก มนุษย์ เทวดา ยักษ์ รากษส บูชาพระสถูปนั้นด้วยดอกไม้ ของหอมและดนตรี
    47 บุตรทั้งหลายของพระสุคต ให้การะทำการบูชา พระบรมสารีริกธาตุ ของพระชินเจ้าทั้งหลายเช่นนี้อยู่ ประหนึ่งว่าทิศทั้งสิบ สวยงามด้วยต้นปาริชาตทั้งหลาย ที่ออกดอกสะพรั่ง
    48 ข้าพเจ้าและสัตว์โลกจำนวนหลายโกฏิเหล่านี้ ซึ่งยืนอยู่ ณ ที่นี่ ได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง แม้พระรัศมีหนึ่งเดียวนี้ ที่พระชินเจ้าเปล่งออกสู่โลกนี้ ซึ่งมีดอกไม้เบ่งบาน รวมทั้งเทวโลก
    49 โอ อำนาจของพระผู้มีพระภาค โอ พระโพธิญาณของพระองค์บริสุทธิ์ไพบูลย์ยิ่งนั้น พระรัศมีนิดหนึ่งของพระองค์ได้แผ่ไปทั่วโลก ย่อมส่องให้เห็นพุทธเกษตร มากมายหลายพันแห่ง
    50 พวกข้าพเจ้าได้เห็นนิมิตนี้ที่ปรากฏ ไม่มีสิ่งใดจะเปรียบได้เช่นนี้แล้ว ได้เกิดความมหัศจรรย์ใจยิ่งนั้น ข้าแต่ท่านพุทธบุตรมัญชุสวระ ขอท่านได้โปรดอธิบาย ข้อความนี้ ของท่านจงกำจัดความสงสัยของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด
    51 ข้าแต่ท่านผู้กล้าหาญ บริษัทที่เหล่านี้ มีจิตผ่องใส กำลังเฝ้ามองดูท่านและข้าพเจ้าอยู่ ณ ที่นี้ ข้าแต่ท่านสุคตบุตร ขอท่านจงทำความรื่นเริงให้เกิดขึ้นขจัดความสงสัย (ของเขาเหล่านั้น)และจงชี้แจงให้ประจักษ์เถิด
    52 เหตุใดวันนี้ พระสุคตเจ้าจึงทรงเปล่งพระรัศมีเช่นนี้ โอ อำนาจพระสุคต โอ พระโพธิญาณของพระองค์ บริสุทธิ์ไพบูลย์ยิ่งนัก
    53 พระรัศมีนิดหนึ่งของพระองค์แผ่ไปทั่วโลก ส่องให้เห็นไปถึงหลายพันพุทธเกษตร การที่พระองค์ทรงเปล่งรัศมีอันไพบูลย์เช่นนี้ คงจะมีประโยชน์แน่
    54 พระสุคตเจ้า ผู้เป็นยอดบุรุษ เป็นนาถะแห่งโลก มีพระประสงค์จะแสดงธรรมอันเลิศที่พระองค์ได้สัมผัส (ตรัสรู้) แล้ว ณ โพธิมณฑลนั้น หรือว่าพระองค์จะทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    55 การที่พุทธเกษตรจำนวนหลายพัน ปรากฏสวยงามด้วยสิ่งวิจิตร ทั้งโศภิต แพรวพราวด้วยรัตนะและพระพุทธเจ้าจำนวนมาก ที่ปรากฏแก่จักษุโดยไม่มีที่สุด เหตุการณ์นี้น่ากลัวมิใช่น้อย
    56 ขณะที่ท่านไมเตรยะ กำลังถามพระชินบุตรอยู่นั้น มนุษย์ เทวดา ยักษ์ รากษส และบริษัทสี่ในธรรมสภานั้น กำลังตั้งตารอคอยอยู่ว่า พระมัญชุสวระจะพยากรณ์อย่างไร

    นัยว่า ครั้งนั้น พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ได้ตรัสกับพระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ และหมู่พระโพธิสัตว์ทั้งปวงว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย วันนี้ พระตถาคตทรงมีพระประสงค์ทำให้ฝน คือหลักธรรมตกลงมา ทำการตีกลองหลักธรรม ทำการชักธงหลักธรรม ทำการจุดประทีปหลักธรรมให้สว่างไสว ทำการเป่าสังข์หลักธรรม ทำการตีกลองเภรีหลักธรรม และทรงการแสดงหลักธรรม ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าเคยรู้และเคยเห็นมา ปุพพนิมิตอย่างนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ก่อนๆ ก็ได้เคยทรงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวอย่างนี้ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า พระตถาคตคงประสงค์จะทำการสนทนาถึงหลักธรรม ประสงค์ให้ได้ยินเสียงธรรม เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดงปุพพนิมิตเช่นนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร? พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสงค์ให้ธรรมบรรยายได้ยินไปถึงฝ่ายตรงกันข้ามในโลกทั้งปวง ฉะนั้นจึงทรงแสดงปุพพนิมิตเป็นมหาปาฏิหาริย์ จึงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวอย่างที่เห็นนี้
    ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ข้าพเจ้าจำได้ว่า สมัยอดีตกาล ที่ล่วงมาแล้วช้านาน หลายกัลป์จนนับไม่ได้ นานเกินกว่าที่จะนับ คำนวณก็ไม่ได้ คิดก็ไม่ได้ ประมาณก็ไม่ได้ กาลสมัยนั้น พระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ได้อุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นพระสุคต รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ประเสริฐ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น เป็นผู้มีโชค พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่านกลางและที่สุด ได้ทรงประกาศพรหมจรรย์มีเนื้อความงาม มีพยัญชนะงาม อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สะอาดหมดจดโดยสิ้นเชิง กล่าวคือพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมมีอริยสัจสี่ พร้อมกับปฏิจจสมุปบาท โดยลำดับ ตั้งแต่ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะโศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จบลงด้วยนิพพาน แก่พระสาวกทั้งหลาย สำหรับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่ง ซึ่งประกอบด้วยบารมีหก เริ่มจากสัมมาสัมโพธิ และจบลงด้วย พระสัพพัญญุตญาณ
    ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ก็แลหลังจากพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยประทีปพระองค์นั้นแล้ว ได้มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง ทรงอุบัติขึ้นในโลก มีพระนามว่า จันทรสูรยประทีปเช่นกัน ดูก่อนอชิตะ ในกาลลำดับต่อมานั้น ได้มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจำนวน 20,000องค์ ที่มีพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ซึ่งมีนามเรียกขานตระกูลและโคตรเป็นนามเดียวกัน เหมือนที่มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มีพระนามว่า ภรัทวาชะ ซึ่งตระกูลและโคตรเป็นนามเดียวกัน ดูก่อนอชิตะ บรรดาพระตถาคต 20,000 องค์เหล่านั้น เริ่มแต่พระองค์แรก จนถึงพระองค์สุดท้าย มีพระนามว่า จันทรสูรยประทีป เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นามว่า ภัทระ ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นพระสุคต เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ประเสริฐ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น เป็นผู้มีโชค พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ได้ประกาศพรหมจรรย์ มีเนื้อความงาม มีพยัญชนะงามอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ สะอาดหมดจดโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม มีอริยสัจสี่ พร้อมกับปฏิจจสมุปบาท โดยลำดับ ตั้งแต่ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะโศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จบลงด้วยนิพพาน แก่พระสาวกทั้งหลาย สำหรับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันซึ่งประกอบด้วย บารมีหก เริ่มจากสัมมาสัมโพธิ และจบลงด้วย พระสัพพัญญุตญาณ
    ดูก่อน อชิตะ ก็แล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ขณะที่ยังทรงเป็นราชกุมาร ยังมิได้ทรงสละราชสมบัติ ก่อนออกผนวช ได้ทรงมีพระโอรส 8 พระองค์ คือพระราชกุมารมติ พระราชกุมารสุมติ พระราชกุมารอนันตมติ พระราชกุมารรัตนมติ พระราชกุมารวิเศษมติ พระราชกุมารวิมติสมุทฆาฏี พระราชกุมารโฆษมติ และพระราชกุมารธรรมมติ ดูก่อนอชิตะ ก็นัยว่า พระราชกุมารผู้เป็นพระโอรสของตถาคตพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ทั้ง 8 พระองค์เหล่านั้น ทรงมีฤทธิ์มาก แต่ละพระองค์ได้ทรงปกครอง 5 มหาทวีป และทุกพระองค์ได้ทรงครองราชย์ด้วย พระราชกุมารทั้งหมด เหล่านั้น ครั้นทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาค (พระบิดา) ได้สละราชสมบัติ ทรงออกผนวชและทรงสดับว่าพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้สละราชสมบัติและการปกครองทั้งปวง ผนวชตามพระบิดาที่เป็นพระผู้มีพระภาคนั้น ทุกพระองค์ทรงสำเร็จพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณและประกาศธรรม พระราชกุมารเหล่านั้นทรงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์และได้ทรงสร้างบุญกุศลไว้ในพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ในอดีตกาลที่ผ่านมา
    ดูก่อนอชิตะ ก็นัยว่าสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยประทีปนั้น ได้ทรงแสดงพระสูตรอันเป็นธรรมบรรยายชื่อว่า “มหานิรเทศ” ซึ่งมีเนื้อความกว้างขวาง เป็นคำสอนที่เหมาะแก่พระโพธิสัตว์ และเป็นที่ยึดถือของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ในขณะเดียวกัน ณ ที่ประชุมบริษัทนั้น (พระองค์) ทรงขึ้นประทับบนธรรมมาสน์ ทรงเข้าอนัตตนิรเทศประดิษฐานสมาธิ ด้วยพระวรกายและจิตที่ตั้งมั่นสงบนิ่ง ก็แลในขณะที่พระผู้มีพระภาคทรงเข้าสมาธิอยู่นั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ ดอกมณฑารพ ดอกมหามณฑารพ ดอกมัญชูษกะและดอกมหามัญชูษกะ โปรยลงมา ฝนนั้นได้ถูกต้องพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งเหล่าบริษัทพุทธเกษตรทั้งปวง ก็สั่นสะเทือนเป็นหกจังหวะ คือ เคลื่อนไป-เคลื่อนมา ฟูขึ้น-ยุบลง โคลงไป-โคลงมา ดูก่อนอชิตะ ก็กาลสมัยนั้น ในที่ประชุมนั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ อมนุษย์ รวมทั้งพระราชา พระจักรพรรดิ ผู้มีพลัง ซึ่งครองนครโดยรอบและพระจักรพรรดิผู้ครองทวีปทั้งสี่ ที่นั่งประชุม รวมกันทั้งหมด พร้อมทั้งบริวาร พากันจ้องมองพระผู้มีพระภาค ต่างประหลาดอัศจรรย์ใจไปตามๆกัน ก็แล ในเวลานั้น พระรัศมีดวงหนึ่งได้ฉายออกจากกลุ่มพระจูรณะ ระหว่างพระขนงของพระผู้มีพระภาคตถาคตจันทรสูรยประทีปนั้น พระรัศมีนั้น แผ่คลุมไปทั่ว 18000 พุทธเกษตร ในทิศบูรพา พุทธเกษตรทั้งหมดนั้น ได้ปรากฏสว่างไสวไปด้วยแสงพระรัศมีนั้น ดูก่อนอชิตะปรากฏการณ์นั้นก็เป็นเช่นเดียวกับพุทธเกษตรทั้งหลาย ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้
    ดูก่อนอชิตะ ก็โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์จำนวน 20 โกฏิ ได้ติดตามพระผู้มีพระภาคนั้น ท่านเหล่านั้น ซึ่งฟังธรรมอยู่ในที่ประชุมนั้น ครั้นได้เห็นโลก สว่างไสวด้วยแสงของพระรัศมีนั้น ก็เกิดความประหลาด อัศจรรย์ใจไปตามๆกัน
    ดูก่อนอชิตะ โดยสมัยนั้น ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น (จันทรสูรยประทีป) ได้มีพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งมีนามว่า “วรประภา” ซึ่งมีศิษยานุศิษย์ 800 องค์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงออกจากสมาธิแล้ว ทรงปรารภถึง วรประภาโพธิสัตว์นั้นจึงทรงแสดงธรรมบรรยายที่ชื่อว่า “สัทธรรมปุณฑรีกสูตร” พระองค์ทรงประทับนั่ง ณ ที่ประทับ แห่งเดียว โดยมีพระวรกายไม่ไหวติง และทรงมีพระหทัยจิตตั้งมั่น แสดงธรรมนั้นอยู่เป็นเวลา 60 กัลป์บริบูรณ์ บริษัททั้งหมดที่นั่งอยู่ ณ อาสนะเดียวนั้น ได้ฟังธรรมอยู่ใกล้ๆ พระองค์ตลอด 60 กัลป์ ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากายและใจ จะได้มีแก่ใครสักคนหนึ่ง ในที่ประชุมนั้น ก็หาไม่
    ต่อมา พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยประทีปนั้น ครั้น ทรงแสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันเป็นสูตรที่มีเนื้อความกว้างขวาง เป็นคำสอน ที่เหมาะแก่พระโพธิสัตว์ และเป็นที่ยึดถือของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นเวลาถึง 60 กัลป์แล้ว ในชั่วขณะนั้น ก็ได้ทรงประกาศพระนิพพานเบื้องหน้าประชาชน พร้อมทั้งเทพ มาร พรหม และสมณะพราหมณ์พร้อมด้วยเทวดา มนุษย์และอสูรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมัชฌิมยาม คืนนี้แล ตถาคตจะดับขันธปรินิพพาน โดยอนุปาทิเสสนิพพานแล
    ดูก่อนอชิตะ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจันทรสูรยประทีปนั้น ได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า “ศรีครรภ” ไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วได้ตรัสกับบริษัททั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ศรีครรภ นี้ จักบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณต่อจากเรา เป็นพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า “วิมลเนตร” ดังนี้
    ดูก่อนอชิตะ นัยว่าครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านามว่า จันทรสูรยประทีป ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยอนุปาทิเสสนิพพานในมัชฌิมยาม คืนนั้นแล และพระโพธิสัตว์มหาสัตว์วรประภานั้น ได้ทรงจำธรรมบรรยายที่ชื่อว่า “สัทธรรมปุณฑรีกสูตร” นั้นไว้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์วรประภานั้น ได้ทรงจำ และได้ประกาศคำสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นเวลา 80 กัลป์ ในขณะนั้น พระโอรสทั้ง 8 พระองค์ของพระผู้มีพระภาคนั้น ซึ่งมีพระราชกุมารมติเป็นประมุข ก็ได้เป็นอันเตวาสิกของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ วรประภานั่นเอง ท่านเหล่านั้นได้สั่งสมบารมีเพื่อตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และหลังจากนั้นท่านเหล่านั้นได้ทรงเห็นและทรงสักการะพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิ ก็แลท่านเหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์สุดท้าย คือพระทีปังกรพุทธเจ้า
    บรรดาอันเตวาสิกทั้ง 8 องค์นั้น พระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง เป็นผู้หนักในลาภสักการะ สรรเสริญ และยศ มากยิ่งเหลือประมาณ บทและพยัญชนะทั้งหลาย ที่แสดงแล้วแสดงอีกแก่ท่าน ท่านก็ทำให้ลบเลือนหายไป ท่านมิได้ทรงจำบทและพยัญชนะเหล่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงถูกขนานนามว่า “ยศัสกาม” ด้วยกุศลมูลที่ท่านได้เลื่อมใสพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิพระองค์ และเมื่อเลื่อมใสแล้วท่านได้สักการะ เคารพ นบนอบ บูชา นับถือและยกย่องพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิยุตเหล่านั้น ดูก่อนอชิตะ ท่านคงสงสัย คลางแคลง ลังเลใจว่า โดยกาลสมัยนั้น ยังจะมีพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้แสดงธรรม นามว่า วรประภา องค์อื่นอีกหรือ ? ก็แล ท่านไม่ควรคิดเห็นเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะโดยกาลสมัยนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้สอนธรรม นามว่า วรประภา นั้นคือ ข้าพเจ้าเอง ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้เกียจคร้านนามว่า ยศัสกาม นั้นก็คือตัวท่านนั่นเอง
    ดูก่อนอชิตะ ด้วยการบรรยายนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นปุพพนิมิตนั้น ของพระผู้มีพระภาคเหมือนกับรัศมีที่แผ่ซ่านไปอย่างนี้ จึงอนุมานว่า พระผู้มีพระภาคทรงปรารถนาจะตรัสพระสูตร ธรรมบรรยายชื่อว่า สัทธรรมปุณฑรีกะ นั้น ซึ่งเป็นสูตรที่ไพบูลย์ยิ่ง เหมาะแก่การศึกษาของพระโพธิสัตว์ และเป็นที่ยอมรับของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ดังนั้นแล พระมัญชุศรีกุมารภูตะ เมื่อจะชี้ให้เห็นข้อความเดียวนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้น ว่า
    57 ข้าพเจ้าได้ระลึกถึงอดีตกาลในกัลป์ ที่ใครคิดไม่ได้ และนับไม่ได้ ครั้งนั้น พระชินเจ้านามว่า จันทรสูรยประทีป เป็นผู้สูงสุดแห่งชนทั้งหลาย
    58 พระองค์เป็นผู้นำของชนทั้งหลาย ทรงแสดงพระสัทธรรม ทรงแนะนำสัตว์ทั้งหลายมากมายนับไม่ได้ว่ากี่โกฏิ ทรงให้พระโพธิสัตว์จำนวนมาก ตั้งมั่นอยู่นพระพุทธญาณ อันสูงสุดและเป็นอจินไตย
    59 พระโอรสทั้ง 8 พระองค์ ของพระกุมารภูตะ (จันทรสูรยประทีป) ซึ่งเป็นผู้นำที่วิเศษ เห็นพระมหามุนีนั้น (พระบิดา) ที่ผนวชแล้ว จึงพากันละกามเสีย แล้วทั้งหมดก็พากันผนวชโดยพลัน
    60 ก็พระองค์ (จันทรสูรยประทีป) ผู้เป็นโลกนาถนั้น เมื่อประกาศธรรมแก่สรรพสัตว์หลายแสนโกฏิ ทรงแสดงพระสูตร มีชื่อว่า “อนันตนิรเทศวรสูตร” ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ไวปุลยสูตร
    61 ทันทีที่แสดงจบลง พระมุนีผู้ประเสริฐ ผู้เป็นที่พึ่งของชาวโลก พระองค์นั้น ทรงนั่งขัดสมาธิ บนธรรมมาสน์ เข้าอนันตนิรเทศวรสมาธิ
    62 ได้มีสายฝนดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ตกลงมา และกลองทั้งหมดได้ดังขึ้นโดยไม่มีคนตี เทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในอากาศ และพวกยักษ์ได้ทำการบูชาพระมุนีผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์นั้น
    63 ในขณะนั้น พุทธเกษตรทั้งปวงก็สั่นสะเทือน ได้ปรากฏความอัศจรรย์ยิ่งใหญ่ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ได้ทรงเปล่งพระรัศมีที่งดงามยิ่งดวงหนึ่งออกจากท่ามกลางพระขนงของพระองค์
    64 ก็แล พระรัศมีนั้นพุ่งไปสู่ทิศบูรพา แผ่ไปทั่ว 18000 พุทธเกษตรสว่างจ้า ทำให้โลกสว่างไสวไปทั่ว การจุติและการเกิดได้ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย
    65 เพราะรัศมีของพระผู้ทรงเป็นผู้นำนั้น ทำให้พุทธเกษตรบางแห่งปรากฏเหมือนประดับด้วยเพชรนิลจินดา บางแห่งมองเห็นเหมือนแสงแก้วไพทูรย์
    66 ในโลกธาตุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ นางอัปสร กินนร และผู้ใฝ่ใจในการบูชาพระสุคต ย่อมปรากฏเห็นได้อย่างชัดเจน แล้วทำการบูชา (พระตถาคต)
    67 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นพระสยัมภู ปรากฏพระรูปสวยงามเหมือนทองคำ แสดงธรรมอยู่ ท่ามกลางบริษัท (ปรากฏเหมือน) พระประติมาทองคำ ในท่ามกลางแก้วไพทูรย์
    68 ไม่มีการนับจำนวนพระสาวก เพราะพระสาวกของพระสุคต มีจำนวนมากจนประมาณไม่ได้ แม้กกระนั้นแสงพระรัศมีของพระผู้มีพระภาค ก็ส่องสว่างให้เห็นกันได้ทั่วไปในแต่ละพุทธเกษตร
    69 บุตรแห่งพระตถาคต (ผู้นำแห่งนรชน) ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีศีลไม่ด่างพร้อย บริสุทธิ์ผ่องใสเหมือนมณีรัตนะ ได้อาศัยอยู่ที่ถ้ำตามภูเขา
    70 พระโพธิสัตว์จำนวนมากดุจเม็ดทราย ในแม่น้ำคงคา แม้ทั้งหมดเป็นปราชญ์ที่กำลังบริจาคทานทุกชนิด มีขันติเป็นพลัง ยินดีในสมาธิ ปรากฏให้เห็นได้ ด้วยพระรัศมีนั้น
    71 บุตรทั้งหลายที่เป็นโอรสแท้ๆ ของพระสุคตนั้น มีจิตมั่นคง ไม่เอนเอียงไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นในขันติ ยินดีในสมาธิ เป็นที่ปรากฏ ท่านเหล่านั้นได้บรรลุพระโพธิญาณ อันประเสริฐด้วยสมาธินั้น
    72 (พุทธบุตรทั้งหลาย) ย่อมมีความรู้ ประกาศสัจบท อันสงบ และไม่มีอาสวะ แสดงธรรมในโลกธาตุจำนวนมาก การกระทำเช่นนี้ เป็นอานุภาพของพระสุคต
    73 บริษัทสี่เหล่านั้น เห็นปรากฏการณ์นี้ของพระสุคตจันทรสูรยประทีป ผู้เป็นเช่นนั้น แล้วมีความปลื้มปิติ ต่างก็ถามกันและกัน ขณะนั้นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเป็นอย่างไร
    74 ไม่นานนัก พระสุคตจันทรสูรยประทีปพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้นำของชาวโลกที่มนุษย์ เทวดาและยักษ์บูชาแล้ว ได้ทรงออกจากสมาธิแล้ว ตรัสกับพระโอรสวรประภา ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่ฉลาด และเป็นผู้ประกาศธรรมว่า
    75 ท่านเป็นจักษุและเป็นคติ (ที่พึ่งที่อาศัย) ของชาวโลก ท่านเป็นผู้มีความรู้ควรแก่การไว้วางใจ และเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมของเรา ก็ ณ ที่นี้ ท่านจะเป็นพยานในหลักธรรม (ธรรมโกศ) ที่เราจักแสดง เพื่อประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย
    76 พระชินเจ้าพระองค์นั้น ทรงให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ตั้งมั่นหรรษาสังวรรณนา และสรรเสริญแล้ว ทรงประกาศธรรมอันเลิศทั้งหลาย ตลอด 60 กัลป์บริบูรณ์
    77 พระโลกนาถ พระองค์นั้น ซึ่งประทับบนอาสนะเดียว ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐใดไว้ พระชินบุตร วรประภา ผู้ประกาศธรรม ได้ทรงจำธรรมนั้นไว้ได้ทั้งหมด
    78 พระชินเจ้าที่เป็นผู้นำพระองค์นั้น ทรงตรัสธรรมอันเลิศ ให้หมู่ชนจำนวนมาก รื่นเริงหรรษา ในวันนั้น ทรงตรัสธรรมต่อหน้าชาวโลก พร้อมทั้งเทวดาว่า
    79 “เรา (ตถาคต) ได้ประกาศผู้นำแห่งธรรมแล้ว สภาวะแห่งธรรมเป็นเช่นใด เราก็ได้กล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คืนวันนี้ ในมัชฌิมยาม กาลเป็นที่ดับขันธปรินิพพานของเรา (ได้มาถึงแล้ว)”
    80 “ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาท จงตั้งมั่นเพื่อความหลุดพ้น เอาใจใส่ในธรรมคำสอนของเรา พระชินเจ้ามหามุนีทั้งหลาย เป็นผู้ที่หายาก ต้องใช้เวลาหลายหมื่นโกฏิกัลป์กว่าจะอุบัติขึ้น
    81 พุทธบุตรจำนวนมาก เกิดความไม่สบายใจและทุกข์ใจยิ่งนัก เมื่อได้ยินคำว่าพระตถาคตจะเสด็จดับขันธปรินิพพานในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นพระสุรเสียงของพระตถาคต (ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์
    82 พระตถาคต ผู้เป็นนเรนทรราช ได้ทรงปลอบโยนสรรพสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากหลายโกฏิ ที่คิดคำนวณไม่ได้เหล่านั้นว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ากลัวไปเลย เมื่อเรานิพพานแล้ว ต่อจากเราไปจะมีพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง(อุบัติขึ้น)”
    83 พระศรีครรภโพธิสัตว์ผู้นี้ มีความรู้ บรรลุคติโนฌานอันปราศจากอาสวะแล้ว จักบรรลุพระโพธิญาณ อันประเสริฐสูงสุด และจักเป็นพระชินเจ้ามีพระนามว่า “วิมลาครเนตร”
    84 ในมัชฌิมยามของคืนนั้น พระตถาคตเจ้าก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดุจดวงประทีปที่ดับลงแล้ว เพราะสิ้นเหตุปัจจัยฉะนั้น พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ได้รับการแบ่งปันกันไป และพระสถูปสำหรับพระบรมสารีริกธาตุมีอยู่ทั่วไปหลายหมื่นโกฏิ
    85 ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายจำนวนไม่น้อย ณ ที่นั้น เท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ได้ปฏิบัติตนอยู่ในธรรมคำสอนของพระสุคตพระองค์นั้น จนได้ถึงพระโพธิญาณอันประเสริฐและสูงสุด
    86 ภิกษุนามว่า วรประภา ผู้ประกาศธรรมและทรงจำธรรมไว้ ได้แสดงธรรมอันประเสริฐตามคำสอนของพระตถาคตนั้น เป็นเวลานานถึง 80 กัลป์บริบูรณ์
    87 ท่าน(วรประภา) มีศิษย์ 800 คน ซึ่งทุกคนท่านได้อบรมดีแล้ว ศิษย์ทั้งหมดนั้นได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจำนวนมากหลายโกฏิและได้ทำการสักการะพระมหามุนีพุทธเจ้าเหล่านั้น
    88 ศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ประพฤติธรรมตามลำดับ จนได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในหลายโลกธาตุ และท่านเหล่านั้นได้สอนธรรมเพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐแก่องค์อื่นๆต่อเนื่องกันตามลำดับ
    89 ก็โดยลำดับของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น พระทีปังกรพุทธเจ้า ได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้าย พระองค์ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ทรงเป็นผู้ที่หมู่ฤษียกย่องบูชา ได้ทรงแนะนำพร่ำสอนสรรพสัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ
    90 พระสุคตบุตร วรประภา ผู้สอนธรรมพระองค์นั้น ได้มีศิษย์คนหนึ่งซึ่งขี้เกียจโลเล และชอบแสวงหาลาภ พร้อมทั้งชื่อเสียงเกียรติยศ
    91 (ศิษย์คนนั้น) เป็นผู้ทะเยอทะยานในชื่อเสียงเกียรติยศ ถือตัว จะต้องเกิดอีกหลายชาติ คำสอนที่ได้ฟังและเรียนทั้งหมด ย่อมไม่ติดอยู่ในสมองเขาเลย (ไม่มีเพื่อกล่าว) ในขณะนั้น
    92 ศิษย์คนนั้นปรากฏชื่อทั่วไปในทุกทิศว่า “ยศัสกาม” เขาจึงได้มีชื่ออย่างนี้ เขาได้กระทำทั้งกรรมที่เป็นกุศลและอกุศลปะปนกันไป
    93 เขา (ยศัสกาม) เลื่อมใสพระพุทธเจ้าหลายพันโกฏิพระองค์ และได้ทำการสักการะบูชาอย่างกว้างขวางต่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้รอบรู้ มีความประพฤติคล้อยตามผู้ประเสริฐ และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าศากยสิงหะนี้ด้วย
    94 เขา (ยศัสกาม) ผู้เกิดในไมเตรยะโคตรจะเป็นคนสุดท้าย ที่จะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า สั่งสอนสรรสัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ
    95 เขา (ยศัสกาม) ผู้เป็นเช่นนี้ที่ถึงเกียจคร้านในคำสอนของพระสุคต ซึ่งเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว (ในกาลครั้งนั้น) คือท่าน (พระไมเตรยะ) ส่วนในขณะนี้ และพระวรประภา ผู้ประกาศธรรม (ในขณะนั้น คือข้าพเจ้า (พระมัญชุศรี)
    96 เพราะเหตุการณ์นี้ ข้าพเจ้าได้เห็นนิมิตอย่างนี้ ที่พระองค์ ผู้ทรงญาณแสดง จึงได้กล่าวถึงนิมิต ที่ข้าพเจ้าได้เห็นในครั้งแรก ณ ที่นั้นว่า
    97 แน่นอน พระตถาคตผู้เป็นจอมแห่งชินะ ผู้เป็นอธิราชแห่งศากยะ ผู้ทรงมีพระจักษุโดยรอบ (สมันตจักษุ) ผู้ทรงเห็นประโยชน์สูงสุด ปรารถนาจะแสดงธรรมบรรยายอันประเสริฐ ที่ข้าพเจ้าเคยฟังมาแล้ว
    98 วันนี้พระศากสิงหะกระทำนิมิตที่บริบูรณ์นี้นั่นแล ให้เป็นข้อกำหนดความฉลาดในอุบาย (อุปายโกศล) ของพระผู้นำแห่งโลกทั้งหลาย (ว่า) พระองค์จะประกาศสภาวธรรมที่สำคัญ
    99 ท่านทั้งหลายจงทำจิตให้สงบ ประคองอัญชลีไว้ พระองค์ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์ต่อชาวโลก จักแสดงธรรมดุจสายฝนตกลงอย่างไม่ขาดสาย สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ดำรงอยู่เพื่อเหตุแห่งการตรัสรู้ จักได้เอิบอิ่ม
    100 บุตรตถาคตและพระโพธิสัตว์ที่ตั้งอยู่ในโพธิผู้ใด มีความสงสัย ข้องใจ ลังเลใจ ในเรื่องนี้ พระตถาคตผู้ทรงปัญญา ก็จะขจัดความสงสัยข้องใจ และความลังเลใจของผู้นั้นให้หมดไปได้


    บทที่1 นิทานปริวรรต ว่าด้วยบทนำ
    ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
    มีเพียงเท่านี้
     
  18. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    บทที่ 2
    อุปายโกศลปริวรรต
    ว่าด้วยความฉลาดในอุบาย


    ครั้งนั้น หลังจากที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงมีพระสติและปัญญา ทรงออกจากสมาธิครั้นออกแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระศาริบุตรว่า ดูก่อน ศาริบุตร พุทธญาณ เป็นสิ่งซึ่งลึกซึ้งเข้าใจยากและรู้ยาก เป็นสิ่งที่พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงก็เข้าใจยาก แต่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้รู้แล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร? ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้บูชาสักการะพระพุทธเจ้าจำนวนมาก หลายหมื่นแสนโกฏิมาแล้ว ได้ประพฤติธรรมมากับพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิในถึงพร้อมในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ทำความเพียร จนบรรลุธรรมอันน่าอัศจรรย์และเป็นจริง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่รู้ได้ยากและเข้าใจธรรมที่เข้าใจได้ยาก
    ดูก่อนศาริบุตร การแสดงธรรมของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยาก เพราะเหตุไร ? เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประกาศธรรมทั้งหลายที่เป็นเฉพาะพระองค์ เพื่อให้สัตว์ผู้ข้องอยู่ในสิ่งต่างๆ หลุดพ้นไปด้วยกุศโลบายต่าง ๆ คือ ด้วยญาณทัศนะ การแสดงเหตุผล อารมณ์ นิรุกติ และการทำให้เข้าใจ ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ฉลาดในอุบายอันยิ่งใหญ่ ญาณทัศนะและพระบารมีจึงสูงยิ่ง เพราะ(พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย) ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความไม่ข้อง (ในสิ่งต่างๆ) ด้วยความรู้ที่ไม่มีผู้ใดขัดข้องได้ด้วยทัศนะ ด้วยพลัง ด้วยความแกล้วกล้า ด้วยธรรมอันวิเศษ อินทรีย์พละ โพชฌงค์ ฌาน วิมุตติ สมาธิ สมาบัติ และธรรมอื่นๆ ทรางเป็นผู้ประกาศธรรมนานัปการ ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ถึงความมหัศจรรย์ ดูก่อนศาริบุตร เป็นการสมควรที่จะกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ถึงซึ่งความมหัศจรรย์ยิ่ง ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตนั้นแล พึง แสดงธรรมที่พระองค์ทรงรู้แล้ว แก่พระตถาคต ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตนั้น ทรงแสดงธรรมแม้ทั้งปวง พระตถาคตนั้นแลทรงรู้ธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอะไรเป็นอย่างไร เป็นเช่นไร มีลักษณะอย่างไร มีสภาพอย่างไร พระตถาคตนั่นแล ทรงเป็นผู้รู้ประจักษ์ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
    ก็แล ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น จึงตรัสคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า
    1 สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่อาจจะรู้ได้ว่า ในโลกที่มีเทวดาและมนุษย์ มีพระตถาคตที่กล้าหาญยิ่งอยู่มาก ซึ่งไม่อาจประมาณจำนวนได้
    2 ใครๆ ไม่อาจรู้ได้ว่า พระตถาคตทั้งหลายมีพลัง และเป็นผู้หลุดพ้น มีความฉลาด เช่นใด มีพุทธธรรมเป็นเช่นไร
    3 ในอดีตกาล พระตถาคต ได้ทรงประพฤติธรรมอยู่ใกล้ๆพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์ ธรรมนั้นลึกซึ้งละเอียดสุขุม ใครๆ รู้ได้ยาก และเห็นได้ยาก
    4 ในขณะที่ทรงประพฤติธรรมอยู่หลายโกฏิกัลป์จนจำไม่ได้ ก็บัดนี้ เรา(ตถาคต) ได้เห็นผล ที่มณฑปอันเป็นที่ตรัสรู้
    5 เรา ผู้นำแห่งโลกคนอื่นๆ ย่อมรู้ธรรมนั้นว่า เป็นประการใด เป็นอะไร เป็นเช่นไร และมีลักษณะอย่างไร
    6 ไม่มีใครสามารถแสดงธรรมนั้นได้ จึงไม่มีโวหารแห่งธรรมนั้นบุคคลใดๆ ที่เป็นเช่นนั้น (คือสามารถกล่าวธรรมนั้นได้) ก็ไม่มีในโลก
    7 เว้นจากพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเสียแล้ว ใครจะแสดงธรรมนั้นแก่ผู้ใด ใครจะรู้ธรรมที่แสดงแล้ว และชนเหล่าใดจะเป็นผู้ที่ตั้งมั่นในอธิโมกข์ได้
    8 วิสัยในญาณของพระชินเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่มีในชนทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ผู้ปฏิบัติกิจแล้ว ผู้ที่พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว ผู้สิ้นอาสวะแล้วและผู้ดำรงชีวิตเป็นชาติสุดท้าย
    9 ถ้าว่าโลกธาตุทั้งปวงพึงเต็มไปด้วยชนทั้งหลาย เช่นกับพระศาริบุตร และชนเหล่านั้นมาร่วมกันคิด เขาเหล่านั้นก็ไม่สามารถรู้ญาณของพระสุคตได้
    10 ถ้าว่าทิศทั้งสิบพึงเต็มไปด้วยบัณฑิตทั้งหลายอย่างท่าน โลกก็จะเต็มไปด้วยบัณฑิตผู้เป็นสาวกของเรา (ตถาคต) นั่นเอง
    11 และเขาเหล่านั้นทั้งหมดพึงมาประชุมกัน พิจารณาญาณของพระสุคต เขาเหล่านั้นทั้งหมด แม้จะประชุมกันแล้ว ก็ไม่อาจรู้พุทธญาณ ที่ประมาณไม่ได้ของเรา(ตถาคต)
    12 ทิศทั้งสิบพึงเต็มไปด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สิ้นอาสวะ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีร่างกายอยู่ในภพสุดท้ายแล้ว ดุจต้นอ้อหรือต้นไผ่ในป่า
    13 ก็แลพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด พึงมาประชุมกันพิจารณาธรรมอันประเสริฐของเรา (ตถาคต) เพียงส่วนเดียวตลอดหลายหมื่นโกฏิกัลป์ติดต่อกันไป ท่านเหล่านั้นก็ไม่เข้าใจอรรถอันแท้จริงของธรรมอันประเสริฐนั้นได้
    14 พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้อยู่บนยานใหม่ มีกิจอันได้กระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์ ผู้กล่าวอรรถที่พิจารณาดีแล้ว และกล่าวธรรมจำนวนมาก ทิศทั้งสิบควรเต็มไปด้วยพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
    15 หากโลกทั้งปวงพึงเต็มไปด้วยพระโพธิสัตว์ จนไม่มีที่ว่างเหมือนไม้อ้อและต้นไผ่(ในป่า) พระโพธิสัตว์เหล่านั้น มาประชุมกันพิจารณาธรรมที่พระสุคตเจ้าทรงเห็นแล้วเป็นนิจกาล
    16 พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีจิตแน่วแน่ไม่คิตเป็นอื่นด้วยปัญญาอันสุขุม คิดพิจารณาอยู่หลายโกฏิกัลป์จนนับไม่ได้ เหมือนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา แค่คติวิสัยในญาณ ของพระสุคต ย่อมไม่มีแก่พระโพธิสัตว์เหล่านั้น
    17 พระโพธิสัตว์จำนวนไม่น้อยดุจเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ผู้ไม่ถอยกลับ และมีจิตแน่แน่ว ไม่คิดเป็นอย่างอื่น พึงคิดพิจารณาญาณ (ของพระสุคต) แต่คติวิสัยในญาณ (ของพระสุคต) ย่อมไม่มีแม้แก่พระโพธิสัตว์เหล่านั้น
    18 ธรรมที่ลึกซึ้งสุขุมอย่างไร เช่นไร พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ผู้บริสุทธิ์ ปราศจากอาสวะ และเรา (ตถาคต)หรือพระชินเจ้าทั้งหลาย ในทิศทั้งสิบ ในโลก ก็ย่อมรู้ได้
    19 ดูก่อนศาริบุตร พระสุคตตรัสธรรมใดท่านจงเชื่อในธรรมนั้น พระชินเจ้ามหามุนีผู้มีปกติไม่ตรัสเป็นอย่างอื่น ได้ตรัสเนื้อความประเสริฐสุด มาช้านานแล้ว
    20 เรา (ตถาคต) ได้เรียกพระสาวกทั้งหมด ที่ปรารถนาจะบรรลุปัจเจกโพธิมา ซึ่งเป็นผู้ที่เราช่วยให้ตั้งอยู่ในนิรวารณธรรม และเป็นผู้ที่เราช่วยให้พ้นแล้วจากความทุกข์ตลอดไป
    21 เรา (ตถาคต) ใช้อุบายโกศล อันประเสริฐของเรา กล่าวธรรมหลากหลายวิธีในโลกจนปลดเปลื้องผู้ข้องในพันธะทั้งปวง แล้วแสดงยานทั้งสามให้ปรากฏ
    ครั้งนั้นแล ในบริษัทที่ประชุมบริษัทนั้น ได้มีพระอรหันตขีณาสพ มหาสาวกจำนวน 1200
    องค์ ซึ่งมีพระอาชญาตเกานฑินยะ (พระอัญญาโกณฑัญญะ) เป็นประมุข ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติในสาวกยาน และ(ชนอื่นๆ) ผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกพุทธยาน ทั้งหมดนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นเหตุ ที่ทำให้พระผู้มีพระภาค ตรัสสรรเสริญ อุบายโกศลของพระตถาคตทั้งหลาย เป็นอย่างยิ่ง ตรัสว่า ธรรมอันลึกซึ้งนี้อันเรา (ตถาคต) ได้ตรัสรู้แล้ว และตรัสว่า อันพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง พึงทราบได้โดยยาก เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสความหลุดพ้นอย่างเดียวเท่านั้น แม้เราทั้งหลายได้รับพุทธธรรม ก็จักบรรลุพระนิพพาน เราทั้งหลายไม่เข้าใจความหมายพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสครั้งนี้
    ครั้งนั้นแล พระศาริบุตรผู้มีอายุ ทราบความลังเลใจ ความสงสัยของบริษัทสี่เหล่านั้น และเข้าใจความปริวิตกที่เกิดขึ้นในจิตของบริษัทเหล่านั้น ด้วยจิต แม้ตนเองก็มีความสงสัยในธรรม จึงทูลกับพระผู้มีพระภาค ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พระผู้มีพระภาค ทรงสรรเสริญอุบายโกศลญาณทัศนะ และการแสดงธรรมของพระตถาคตทั้งหลายบ่อยๆนัก และพระผู้มีพระภาค ย่อมตรัสเสมอว่า เราได้ตรัสรู้ธรรมอันลึกซึ้ง และธรรมของพระตถาคต เป็นสิ่งที่เข้าใจยากยิ่ง ก็ข้าพระองค์ ไม่เคยฟังธรรมบรรยายเช่นนี้ ในที่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมาก่อนเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ก็แลบริษัทสี่เหล่านี้มีความลังเลใจ และสงสัยยิ่งนัก ดังข้าพระองค์จะขอโอกาสพระตถาคต พระตถาคตทรงประสงค์สิ่งใดจึงตรัสสรรเสริญธรรมของพระตถาคตซึ่งลึกซึ้งบ่อยๆ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงชี้แจงสิ่งนั้นด้วยเถิด
    ก็แล ในเวลานั้นท่านศาริบุตร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ว่า
    22 พระสุคตผู้ประเสริฐ แห่งนรชนทั้งหลาย ย่อมตรัสพระดำรัสเช่นนี้ ในวันนี้ เป็นเวลาช้านานว่า เราได้บรรลุพละ วิโมกษะ และญาณ อันหาประมาณมิได้แล้ว
    23 พระองค์ตรัสสภาวะแห่งความรู้แจ้ง โดยไม่มีผู้ใดทูลถาม และพระองค์ตรัสพระธรรม โดยปราศจากผู้ทูลถามพระองค์
    24 พระองค์ทรงตรัสและพรรณนาจริยาของพระองค์โดยไม่มีผู้ทูลถาม และพระองค์ตรัสอย่างชัดเจนถึงการตรัสรู้ญาณและพระธรรมอันลึกซึ้ง
    25 วันนี้ ชนเหล่านี้ ผู้สำรวมตนแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้จะเข้าถึงพระนิพพานแล้ว มีความสงสัยว่า เพราะเหตุไร พระชินเจ้าจึงตรัสความข้อนี้
    26 ภิกษุ ภิกษุณี เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์และพญานาคทั้งหลาย ผู้ปรารถนาปัจเจกโพธิ
    27 กำลังสนทนากะกันและกันอยู่ กำลังเฝ้ามองพระองค์ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ เขาเหล่านั้น เป็นผู้มีความคลางแคลงใจ คิดอยู่ว่า ขอพระองค์ผู้เป็นพระมหามุนีได้โปรดพยากรณ์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
    28 พระสาวกทั้งปวงของพระสุคต มีจำนวนเท่าใด ข้าพระองค์ คือผู้ที่พระมุนี ผู้ประเสริฐได้พยากรณ์ไว้แล้ว จึงได้สะสมบารมีไว้ในโลกนี้
    29 ข้าแต่ผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชน ณ ที่นี้ แม้ข้าพระองค์ยังมีความสงสัยในสถานะของตนว่า ข้อปฏิบัติที่แสดงแล้วแก่ข้าพระองค์นั้น ข้าพระองค์จะตั้งอยู่ในพระนิพพานหรือ
    30 ข้อพระองค์ทรงเปล่งพระสุรเสียงว่า นี้คือธรรม ให้กึกก้องดุจเสียงกลองอันประเสริฐ พุทธบุตรเหล่านี้ของพระชินเจ้า ได้ยืนประคองอัญชลีเฝ้าพระชินเจ้าอยู่แล้ว
    31 เทวดา นาค ยักษ์ และรากษสทั้งหลาย มีจำนวนหลายพันโกฏิ เสมอเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา แม้ผู้ที่ปรารถนาพระโพธิญาณ ซึ่งมีจำนวน 80,000 คน ก็ยืนพร้อมกันอยู่ที่นี่
    32 ราชามหาบดี และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย ผู้เสด็จมาแล้วจากหลายพันโกฏิ (พุทธ) เกษตร ทุกท่านมีความเคารพ (ในพระองค์) ได้ยืนประคองอัญชลี ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจะประพฤติให้บริบูรณ์ได้อย่างไรหนอ

    ครั้นเมื่อ พระศาริบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระศาริบุตรว่า
    พอละ ศาริบุตร ประโยชน์อะไรด้วยการกล่าวอรรถนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่า เมื่อเรา(ตถาคต) กล่าวอธิบายอรรถนี้อยู่ ชาวโลกและเทวดาจะตกใจกลัว
    พระศาริบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค แม้เป็นคำรบสองว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงตรัสอรรถนี้นั่นแล ของพระสุคตจงตรัสอรรถนั่นแล ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร ข้อแต่พระผู้มีพระภาค เพราะในบริษัท (ที่ประชุม) นั้น มีสรรพสัตว์จำนวนมาก นับเป็นร้อย พัน แสน และหลายหมื่นแสนโกฏิ ที่เคยเฝ้าพระพุทธเจ้ามาแล้ว เป็นผู้มีปัญญา จักมีศรัทธาเชื่อถือและรับเอาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้
    ครั้งนั้นแล ท่านศาริบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถานี้ ว่า
    33 ข้าแต่พระชินเจ้าผู้ประเสริฐสุด ขอพระองค์จงตรัสให้ชัดเจนเถิด บรรดาสรรพสัตว์จำนวนพันในบริษัทนี้ มีความศรัทธา เลื่อมใส เคารพ ในพระสุคต จักเข้าใจธรรมที่พระองค์ตรัสแล้วนั้น
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะพระศาริบุตรผู้มีอายุ เป็นคำรบสองว่า ดูก่อน ศาริบุตร พอละ ไม่มีประโยชน์ ที่จะอธิบายอรรถนี้ ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่าเมื่อเรา (ตถาคต ) กล่าวอธิบายอรรถนี้อยู่ ชาวโลกรวมทั้งเทวโลก จะพากันตกใจกลัว และภิกษุทั้งหลายที่มีอภิมานะ (เย่อหยิ่ง) จักต้องอาบัติหนัก
    ครั้งนั้น ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
    34 อย่าให้เราประกาศธรรม ณ ที่นี้เลย ธรรมนี้สุขุมลุมลึก เข้าใจยาก คนโง่ที่เย่อหยิ่ง มีจำนวนมาก พวกเขาไม่รู้ก็จะใส่ร้ายธรรมที่เราประกาศแล้วนั้น
    ท่านศาริบุตร ได้ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคอีก เป็นคำรบสามว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงตรัส ของพระสุคตจงตรัสเนื้อความนี้ นั่นแล ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในบริษัทนี้ บรรดาสรรพสัตว์ผู้เหมือนอย่างข้าพระองค์มีจำนวนหลายร้อย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค และมีสรรพสัตว์จำนวนมากมายนับเป็นร้อย พัน แสน และหลายหมื่นแสนโกฏิ ที่พระผู้มีพระภาคได้อบรมแล้ว ในชาติปางก่อน เขาเหล่านั้น จะมีศรัทธาเชื่อถือและรับเอาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้ พระดำรัสนั้นก็จะเป็นเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่เขาทั้งหลายตลอดกาลนาน
    ครั้งนั้น ท่านพระศาริบุตรก็ได้กล่าวคาถาอีกหลายคาถาในเวลานั้นว่า
    35 ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ ข้าพระองค์เป็นบุตรคนโตได้ทูลขอร้องพระองค์ว่า ขอพระองค์จงแสดงธรรมเถิด ณ ที่นี้ มีสรรพสัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ ซึ่งจะศรัทธาเชื่อถือธรรมของพระองค์เช่นกัน
    36 และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่พระองค์ได้อบรมแล้ว เป็นนิตย์ตลอดกาลช้านานในชาติปางก่อน บัดนี้ ก็ได้ยืนประคองอัญชลีอยู่แล้ว ณ ที่นี้ สรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จะศรัทธาเชื่อถือธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
    37 มีชนอีก 1200 คนที่เป็นเช่นกับข้าพระองค์ คือปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐ ขอพระสุคตจงทอดพระเนตรเขาเหล่านั้น ทรงตรัสธรรมยังความหรรษาสูงสุดให้เกิดขึ้น แก่เขาทั้งหลาย
    ครั้งนั้นแล ครั้นทรงทราบคำทูลของร้องของท่านพระศาริบุตรตลอดทั้งสามวาระแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท่านพระศาริบุตรว่า ดูก่อนศาริบุตร ณ บัดนี้ เนื่องจากเธอขอร้องเราถึงสามครั้ง ดูก่อนศาริบุตร เราจะกล่าวอะไรกะเธอ ผู้ขอร้องอยู่ ดูก่อนศาริบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงตั้งใจให้ดี จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวแก่เธอ
    เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสถ้อยคำนี้จบลง ลำดับนั้นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ที่มีอภิมานะประมาณ 5,000 ในที่ประชุมนั้น ได้ลุกจากที่นั่งของตนๆ ก้มลงกราบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาค แล้วหลีกออกไปจากที่ประชุมนั้น เพราะเกิดมีอภิมานะและท่านเหล่านั้นคิดว่าตนจะต้องทุกข์ทรมาน จึงออกไปเสียจากที่ประชุมนั้น และพระผู้มีพระภาคก็ทรงยอมรับโดยดุษณีภาพ
    ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระศาริบุตรว่า ที่ประชุมของเราได้ว่างจากสิ่งที่ไร้ค่า พ้นจากสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ตั้งมั่นอยู่แล้วในศรัทธาสาระ ดูก่อนศาริบุตร ดีละ ผู้มีอภิมานะเหล่านี้ ได้หนีไปแล้ว ดูก่อนศาริบุตร ถ้าอย่างนั้น เราจะกล่าวข้อความนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ดีละ พระศาริบุตรได้ฟังจากพระผู้มีพระภาค เป็นนิจ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนศาริบุตร บางครั้งเท่านั้น ที่ตถาคตแสดงพระธรรมเทศนา อย่างนี้ ดูก่อนศาริบุตร ดอกมะเดื่อย่อมปรากฏเป็นบางครั้ง ฉันใด ดูก่อนศาริบุตร ตถาคต ย่อมแสดงธรรมอย่างนี้ เป็นบางครั้ง ฉันนั้น ดูก่อนศาริบุตร เธอจงเชื่อเรา เราย่อมกล่าวคำสัตย์ พูดแต่ความจริง เราไม่กล่าวสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดูก่อนศาริบุตร วาจาของพระตถาคตนั้น เข้าได้ยาก ข้อนั้น เป็นเพราะอะไร? ดูก่อนศาริบุตร เราได้ประกาศธรรม ด้วยกุศโลบายร้อยพันอย่าง ที่มีการชี้แจง อธิบาย และยกตัวอย่างด้วยศัพท์ต่างๆ ดูก่อนศาริบุตร พระสัทธรรมนั้น เป็นตถาคตญาณ ไม่เป็นไปด้วยเหตุและผลของตรรกะ ข้อนั้น เป็นเพราะอะไร? ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นมาในโลก ด้วยกรณียกิจที่พึงกระทำอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่มาก ดูก่อนศาริบุตร กรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ของพระตถาคตเป็นอย่างไรหนอ ? พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลก ด้วยกิจที่พึงกระทำอย่างหนึ่งคือ แสดงนิมิตที่เป็นเหตุให้สัตว์ได้เข้าถึงตถาคตญาณทัศนะ นิมิตเป็นเหตุให้เห็นตถาคตญาณทัศนะ นิมิตที่เป็นเหตุให้สัตว์ก้าวลงสู่ตถาคตญาณทัศนะ นิมิตที่เป็นเหตุให้สัตว์ บรรลุตถาคตญาณทัศนะ นิมิตที่เป็นเหตุสัตว์ก้าวลงสู่ตถาคตญาณทัศนะ ดูก่อนศาริบุตร นี้คือกรณียกิจที่ควรกระทำอย่างหนึ่ง เป็นมหากรณียกิจที่มีประโยชน์ฝ่ายเดียวซึ่งเกิดขึ้นยากในโลก ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตได้กระทำกรณียกิจอย่างหนึ่ง ที่เป็นมหากรณียกิจอย่างนี้แล ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนศาริบุตร เราเองได้บรรลุตถาคตญาณทัศนะ ได้แสดงตถาคตญาณทัศนะ ได้ก้าวลงสู่ตถาคตญาณทัศนะ ได้รู้แจ้งตถาคตญาณทัศนะ และได้ก้าวลงสู่แนวทางของตถาคตญาณทัศนะ
    ดูก่อนศาริบุตร เราอาศัยยานเดียวเท่านั้น แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ยานนี้ก็คือพุทธยาน ดูก่อนศาริบุตร ยานที่สองหรือที่สามใดๆนั้นไม่มี ดูก่อนศาริบุตร นี้เป็นธรรมดาทุกที่ในโลกทั้งสิบทิศ ข้อนั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีแล้วในอดีตกาล ในโลกธาตุทั้งหลาย ที่นับไม่ได้กำหนดไม่ได้ในสิบทิศ เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแห่งชนจำนวนมาก เพื่อการอนุเคราะห์ชาวโลกและเพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนส่วนใหญ่ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทั้งหลายเหล่าใด ทรงทราบอารมณ์ต่างๆ (กายและจิต) ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความสนใจมีอารมณ์ต่างๆกัน ได้ทรงแสดงธรรมด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหารต่างๆ การชี้แจงแสดงเหตุผลต่างๆ และด้วยการอธิบายที่มาของคำ ดูก่อนศาริบุตร พระผู้มีพระภาคทั้งปวงแม้เหล่านั้น ได้อาศัยยานเดียวเท่านั้น ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย นั่นก็คือพุทธยาน อันมีการรู้สิ่งทั้งปวงเป็นที่สุด และนั่นก็คือพระผู้มีพระภาคทั้งปวง ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเหตุให้ได้รับญาณทัศนะแห่งตถาคต เป็นเครื่องสอนญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องเปิดเผยญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเหตุให้เข้าใจญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องชี้ทางแห่งญาณทัศนะแห่งตถาคต ดูก่อนศาริบุตร สัตว์แม้เหล่าใด ได้ฟังพระสัทธรรมจากที่ใกล้แห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็จักถึงการตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ดูก่อนศาริบุตร ในอนาคตกาล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จักมีในโลกธาตุทั้งหลาย ซึ่งมีจำนวนที่นับไม่ได้ ที่กำหนดไม่ได้ในสิบทิศ เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแห่งชนจำนวนมาก เพื่อการอนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนจำนวนมากและเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ทรงทราบอารมณ์ต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความสนใจมีอารมณ์ต่างๆ กัน จักทรงแสดงธรรมด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหารต่างๆ การชี้แจงแสดงเหตุผลต่างๆ และด้วยการอธิบายที่มาของคำ ดูก่อนศาริบุตร พระผู้มีพระภาคทั้งปวงแม้เหล่านั้น ได้อาศัยยาน เดียวเท่านั้น ทรงแสดงธรรม นั่นก็คือ พุทธยานมีการรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นที่สุด และนั่นก็คือพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งปวง จักทรงแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องสอนญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องเปิดเผยญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเหตุให้เข้าใจญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องชี้ทางแห่งญาณทัศนะแห่งตถาคต แก่สัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร ลัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจักฟังธรรมนั้นจากที่ใกล้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็จักถึงการตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ดูก่อนศาริบุตร ในปัจจุบันนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย สถิตดำรง ทรงอยู่ ทรงแสดงธรรมอยู่ในโลกธาตุ มีจำนวนที่นับไม่ได้ในสิบทิศ เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นจำนวนมาก เพื่อความสุขแห่งชนจำนวนมาก เพื่อการอนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนส่วนมาก และเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงทราบอารมณ์ต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความสนใจมีอารมณ์ต่างๆกัน ย่อมทรงแสดงธรรมด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหาร การชี้แจง แสดงเหตุผลต่างๆ การอธิบายที่มาของคำ ดูก่อนศาริบุตร พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น ได้ทรงอาศัยเพียงยานเดียวเท่านั้น ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย นั่นคือพุทธยาน ที่มีการรู้สิ่งทั้งปวงเป็นที่สุด กล่าวคือพระผู้มีพระภาคพุทธทั้งปวง ย่อมทรงแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องเปิดเผยญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเหตุให้เข้าใจญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องชี้ทางแห่งญาณทัศนะของตถาคต แก่สัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ได้ฟังธรรมอยู่ ณ ที่ใกล้ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบัน สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจักได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ดูก่อนศาริบุตร ณ บัดนี้ แม้เรา ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้อารมณ์ต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความสนใจ มีอารมณ์ต่างๆกัน แสดงธรรมอยู่ ด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหารต่างๆ การชี้แจง แสดงเหตุผลต่างๆ และด้วยการอธิบายที่มาของคำ เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์แก่หมู่ชน ส่วนมาก และเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร แม้เราก็อาศัยเพียงยานเดียว แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย นั่นคือพุทธยาน ที่มีการรู้สิ่งทั้งปวงเป็นที่สุดกล่าวคือ เราตถาคตแสดงอยู่ซึ่งธรรม ที่เป็นเหตุให้รับญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องสอนญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องเปิดเผยญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเหตุให้เข้าใจญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องชี้ทางแห่งญาณทัศนะของตถาคต แก่สัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ได้ฟังธรรมนี้ของเรา ณ บัดนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จักได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนศาริบุตร เพราะฉะนั้น พึงทราบตามคำบรรยายนี้อย่างนี้ คือไม่มีการประกาศยานที่สองในโลกทั้งสิบทิศ ไม่ว่าที่ใด ดังนั้น จะมีการประกาศยานทั้งสาม ณ ที่ใดเล่า
    ดูก่อนศาริบุตร แม้เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อุบัติขึ้นในกัลป์ที่หม่นหมอง หรือสรรพสัตว์หม่นหมอง หรือว่าในสมัยที่มี ความหม่นหมองเพรากิเลส หม่นหมองเพราะทิฏฐิ หม่นหมองเพราะอายุ ดูก่อนศาริบุตร เมื่อสัตว์ทั้งหลายจำนวนมาผู้มีกุศลมูลเพียงเล็กน้อย เดือดร้อนใจและหม่นหมองในกัลป์ ถึงปานนี้ ดูก่อนศาริบุตร เมื่อนั้นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมแสดงพุทธยานเพียงหนึ่งเดียว โดยแยกแสดงเป็น 3 ยาน ด้วยอุบายที่ฉลาด ดูก่อนศาริบุตร ณ ที่นั้น ชนเหล่าใด ซึ่งเป็นสาวกอรหันต์หรือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ได้ฟัง ไม่ไตร่ตรอง ไม่เข้าใจกิริยานี้ ที่เป็นเหตุให้ถึงพุทธยานของตถาคต ดูก่อนศาริบุตร ทุกคนควรทราบเถิดว่า ชนเหล่านั้น ไม่ใช่สาวกของตถาคต ไม่ใช่พระอรหันต์ ไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้า
    ดูก่อนศาริบุตร ถ้าหากภิกษุหรือภิกษุณีผู้ใดผู้หนึ่ง พึงปฏิญาณความเป็นอรหันต์พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เป็นผู้ตัดขาดแล้วจากพุทธยาน (และ) พึงกล่าว ถึงพระนิพพานว่า เป็นชาติสุดท้ายของเราเช่นนี้ ดูก่อนศาริบุตร พึงรู้เถิดว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีอภิมานะ ข้อนั้น เพราะอะไร ดูก่อนศาริบุตร เพราะไม่ใช่ฐานะและเป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุหรือพระอรหันต์ ที่สิ้นอาสวะแล้ว ฟังธรรมนี้จากพระตถาคต ผู้อยู่เบื้องหน้าแล้ว ไม่มีศรัทธาเชื่อถือ นอกจากพระตถาคตปรินิพพานไปแล้วเท่านั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่า เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ในกาลสมัยนั้น สาวกทั้งหลายก็จะไม่อาจทรงจำ หรือแสดงพระสูตรทั้งหลายเห็นปานนี้ได้ ดูก่อนศาริบุตร เขาเหล่านั้นจะหมดความสงสัย ก็ต่อเมื่อมีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าอื่น (อุบัติขึ้นมา) ดูก่อนศาริบุตร ท่านจงเชื่อในพุทธธรรมทั้งหลายเหล่านี้ของเรา จงทำความคุ้นเคยและเข้าใจพุทธธรรมเหล่านี้เถิด ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่า ตถาคตไม่ได้พูดโกหก ดูก่อนศาริบุตร มียานอยู่ชนิดเดียวเท่านั้น คือพุทธยาน
    ขณะนั้นแล พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงชี้แจงเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นจึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
    38 ก็ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีอภิมานะ(ถือตัว) ปราศจากศรัทธา มีจำนวนไม่ น้อยกว่า 5000 คน
    39 (เขาเหล่านั้น) เมื่อไม่เห็นโทษอย่างนี้ มีการศึกษาอบรมมาอย่างผิดๆ ทั้งยังรักษาสิ่งที่ผิดไว้ มีความรู้ผิด ได้หลีกออกไปแล้ว
    40 พระโลกนาถ ทรงทราบความเศร้าหมองของบริษัท จึงได้ตรัสว่า เขาเหล่านั้น ไม่มี บุญกุศลที่จะฟังธรรมนี้
    41 บริษัทของเราบริสุทธิ์แล้ว ปราศจากเครื่องเศร้าหมองแล้ว ปราศจากสิ่งไร้คุณค่าดำรงอยู่ดีแล้ว และบัดนี้สิ่งที่เป็นสาระแก่นสารทั้งหมดได้ตั้งมั่นแล้ว
    42 ดูก่อนศาริบุตร เธอจงฟังเราเถิดว่า ธรรมนี้ เป็นธรรมที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เลิศแห่งมนุษย์ ได้ตรัสรู้แล้วอย่างไร และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้นำ ย่อมตรัสด้วยอุบายอันฉลาดหลายร้อยวิธีอย่างไร
    43 เรา (ตถาคต) รู้อัธยาศัยจริตและความน้อมนึกแห่งจิตต่างๆ กันของสัตว์จำนวนหลายโกฏิ ณ ที่นี้ ทั้งรู้การกระทำต่างๆ และกุศลกรรมที่สัตว์เหล่านั้นได้กระทำแล้ว ในชาติปางก่อน
    44 เราจึงแสดงธรรม แก่สัตว์เหล่านั้น ด้วยการอธิบายเหตุผลต่างๆ การยกอุทาหรณ์หลายร้อยอย่างให้เห็น และสรรพสัตว์ก็ยินดี กับวิธีการนั้น
    45 เรา (ตถาคต) จะตรัสพระสูตร คาถา อติวฤตตกะ ชาตกะ อัทภูตะ เคยะ อุปเทศะ พร้อมด้วยนิทานและอุปมาหลายร้อยอย่างต่างๆ กัน
    46 เราจะแสงดทางพระนิพพาน แก่ชนทั้งหลาย ผู้ไม่มีความรู้ ยินดีในความเสื่อมข้องติดอยู่ในสังสารวัฏ มีความทุกข์ และไม่ประพฤติธรรมในพระพุทธเจ้าที่มีมากหลายโกฏิ
    47 พระสวยัมภู ทรงใช้อุบายนี้เพื่อทำให้สัตว์เข้าใจประโยชน์ของการรู้พุทธญาณ แต่พระองค์ก็มิได้ตรัสกะชนทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย จงอย่ากังวล ท่านทั้งหลายจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกนี้ ณ สมัยใดสมัยหนึ่ง
    48 เหตุใด พระสวยัมภูตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพิจารณากาลเวลาแล้ว และทรงพบโอกาสแล้ว จึงตรัสในภายหลังว่า ได้เวลานี้แล้ว เราจะกล่าข้อความตามที่เป็นจริง ณ ที่นี้
    49 เรา (ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า) ได้ประกาศนวังคศาสน์แล้ว ตามกำลังน้อยใหญ่ของสัตว์ทั้งหลาย เราผู้ให้สิ่งประเสริฐ ได้แสดงอุบายนี้ ก็เพื่อประโยชน์ของสัตว์ที่จะเข้าถึงพุทธญาณ
    50 ณ ที่นี้ ชนเหล่าใด เป็นผู้บริสุทธิ์ ฉลาด สะอาด มีใจกรุณา เป็นพุทธบุตร และได้สร้างอธิการไว้ ในพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์มีอยู่ เราก็จะแสดงพระสูตรที่กว้างขวางยิ่งขึ้น แก่ชนเหล่านั้น
    51 เพราะเหตุนั้น เรา (ตถาคต) จึงกล่าวถึงชนเหล่านั้น ผู้มีกายบริสุทธิ์ มีใจเบิกบานว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์ (ต่อสรรพสัตว์)
    52 เมื่อชนทั้งหมดเหล่านั้น ได้ฟังแล้ว เกิดความยินดีว่า พวกเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นประธานของชาวโลก เราเมื่อรู้ความประพฤติของพวกขาเหล่านั้น จึงประกาศพระสูครให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
    53 พวกเขาเหล่านั้น ซึ่งเป็นสาวกของพระตถาคต ได้เคยฟังคำสอนอันประเสริฐนี้ แม้ได้ฟัง หรือจดจำเพียงคาถาเดียว ก็ไม่น่าจะมีปัญหา (ความสงสัย) ในการตรัสรู้ธรรมทั้งปวง
    54 จริงอยู่ ในกาลไหนๆ ก็มีเพียงยานเดียว ยานที่สองไม่มี ยานที่สามก็ไม่มี นอกจากว่า พระผู้มีพระภาค ใช้อุบายจึงแสดงว่า มียานต่างๆ
    55 พระโลกนาถ ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นในโลก ด้วยการประกาศพุทธธรรม ภารกิจมีเพียงอย่างเดียว ภารกิจที่สองไม่มี เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่นำสัตว์ไปด้วยหีนยาน
    56 พระสวยัมภู (ตถาคต) เองดำรงมั่นแล้ว ในธรรมเช่นใด ที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว พระองค์ยังสัตว์เหล่านั้น ที่มีพลังและอินทรีย์หลุดพ้นแล้วด้วยสมาธิ ให้ตั้งมั่นในธรรมเล่านั้นด้วย
    57 ก็แล โทษที่เกิดจากความริษยาจะพึงมีแก่เรา (ตถาคต) ผู้บรรลุโพธิญาณอันปราศจากโทษและประเสริฐสุดแล้ว ถ้าให้สัตว์แม้ผู้หนึ่งดำรงอยู่ในหีนยาน การกระทำอย่างนี้ไม่สมควรแก่เรา
    58 ความเลวร้าย ความริษยา ฉันทะ และราคะ ไม่มีแก่เรา ธรรมทั้งปวงของเราก็เป็นธรรมที่ไร้บาป ฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า เพราะให้ชาวโลกตรัสรู้ตาม (ด้วย)
    59 เมื่อสรรพสัตว์มิใช่น้อย ได้นับถือเครื่องหมายของสภาวธรรม เป็นเครื่องชี้นำ เราจึงทำโลกนี้ให้สว่างไสว ด้วยลักษณะต่างๆของเรา
    60 ดูก่อนศาริบุตร ดังนั้น เรา (ตถาคต) จึงคิดว่า สรรพสัตว์ในโลกนี้ พึงเป็นผู้มีมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ จะเป็นพระสวยัมประภา พระโลกวิทู และพรสวยัมภู ได้อย่างไรหนอ?
    61 เรา (ตถาคต) เห็นอย่างไร คิดอย่างไร และความหวังในกาลก่อนของเรามีอย่างไร ประณิธานนั้นของเราบริบูรณ์แล้วทั้งความเป็นพุทธะ และเราจะประกาศพุทธธรรม ต่อไป
    62 ดูก่อนศาริบุตร ถ้าเราพึงกล่าวกะสัตว์ทั้งหลายว่า ขอให้พวกเธอจงยังความพอใจ ให้เกิดขึ้น เพื่อการตรัสรู้ พวกเขาทั้งหมดผู้เขลาก็จะไม่เข้าใจคำสอนของเรา พึงเที่ยวไป ณ ที่นี้
    63 เราทราบเรื่องราวของเขาเหล่านั้นว่าในชาติปางก่อน พวกเขาไม่ได้ประพฤติธรรม หมกมุ่น ยึดติดในกามคุณทั้งหลาย ถูกกิเลสตัณหาครอบงำ จนมีโมหจิต
    64 เพราะกามคุณเป็นเหตุ พวกเขาจึงตกไปสู่ทุคติ ถูกทรมานในภูมิทั้งหก เวียนเกิดอยู่เรื่อยไป พวกเขาเป็นผู้มีบุญน้อย ถูกความทุกข์เบียดเบียนอยู่ร่ำไป
    65 พวกเขาจมอยู่กับการยึดทฤษฎีที่ว่า เที่ยง ไม่เที่ยง มี ไม่มี อาศัยทิฏฐิ 62 ดำรงอยู่ด้วยการยึดมั่นในอสันตภาวะ
    66 เขาเหล่านั้น เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ เย่อหยิ่ง หัวดื้อ คดโกง หยาบช้า และโง่เขลา พลา จะไม่ได้ยินเสียงของพระพุทธเจ้าแน่นอน แม้ในหลายโกฏิชาติ
    67 ดูก่อนศาริบุตร เรากล่าวอุบายแก่สัตว์เหล่านั้นว่า เธอทั้งหลายจงสร้างที่สุดแห่งทุกข์ (ขจัดทุกข์ให้หมดไป) เราเห็นสัตว์ที่ถูกความทุกข์เบียดเบียนแล้ว จึงแสดงพระนิพพาน ณ ที่นั้น (แก่พวกเขา)
    68 ก็แล เราแสดงธรรมเหล่านี้ ที่เป็นเครื่องดับทุกข์อยู่เป็นนิตย์ ที่ทำให้สงบในเบื้องต้น ส่วนพุทธบุตรยังวัตรปฏิบัติให้ถึงพร้อม ก็จักเป็นพระชินเจ้าได้ในอนาคต
    69 นี้เป็นอุบายที่ฉลาดของเรา ที่เราแสดงยานเป็นสาม ซึ่งที่แท้ยานมีเพียงหนึ่ง เท่านั้น นัยก็มีหนึ่ง และเทศนาของตถาคตทั้งหลายก็มีเพียงหนึ่ง
    70 ชนเหล่าใด มีความข้องใจสงสัยอยู่ เธอจงขจัดความข้องใจสงสัยของชนเหล่านั้นเสีย ตามปกติ พระโลกนาถทั้งหลาย ไม่ตรัสเป็นอย่างอื่น ยานมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ยานที่สองไม่มี
    71 ก็แล ในอดีตกาล พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยก่อน มีจำนวนหลายพันองค์ ไม่สามารถประมาณได้ ที่ได้ปรินิพพานไปแล้ว ในกัลป์อันนับไม่ถ้วน
    72 พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษสูงสุดเหล่านั้นทั้งหมด ได้ประกาศธรรมอันบริสุทธิ์หมดจดมากมาย ด้วยการยกตัวอย่าง ด้วยการแสดงเหตุผล และด้วยอุบายที่ฉลาดหลายร้อยวิธี
    73 พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ได้แสดงยานเดียว และให้สัตว์หลายพันโกฏิ นัยไม่ได้ เข้าถึงยานเดียว ทั้งอบรมสัตว์เหล่านั้นไว้ในยานเดียว
    74 พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศธรรมอันประเสริฐสุด ด้วยอุบายอื่นๆ อีกมากมายของพระชินเจ้า พระองค์ทรงทราบความเป็นไปและอุปนิสัยของสัตว์ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยอุบายเหล่านั้น



    75 สัตว์ทั้งหลายที่กำลังฟังธรรมอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ตาม เป็นผู้เคยฟังธรรมมาแล้ว (ในชาติปางก่อน) ก็ตามได้ให้ทานรักษาศีล และประพฤติดี ปฏิบัติชอบด้วยความอดทน
    76 สัตว์ทั้งหลายได้ทำความดีด้วยความเพียร และด้วยสมาธิ ได้ไตร่ตรองพิจารณาธรรมด้วยปัญญา และได้ทำบุญต่างๆ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด มีส่วนได้เพื่อการตรัสรู้
    77 สัตว์ทั้งหลายผู้อดทน มีคนฝึกแล้ว ตั้งมั่นในพระศาสนาของพระชินเจ้าทั้งหลายที่ปรินิพพานแล้ว สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
    78 สัตว์ทั้งหลาย ผู้ทำการบูชาพระธาตุทั้งหลายของพระชินเจ้า ที่ปรินิพพานไปแล้วและได้สร้างสถูปจำนวนหลายพัน ด้วยรัตนเจ้า ทอง แก้วผลึก
    79 พวกเขาได้สร้างสถูปที่สำเร็จด้วย มรกต การเกตน์ มุกดา ไพฑูรย์ นิล ที่มีคุณภาพดียิ่ง สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
    80 สัตว์ทั้งหลาย ที่สร้างสถูปด้วยศิลา แก่นไม้จันทน์และกฤษณา ไม่เทพทารุ (ไม้สนหรือไม้ฉำฉา) และด้วยไม้นานาชนิด
    81 สัตว์ทั้งหลาย ที่มีความยินดี สร้างสถูปด้วยอิฐ หรือก้อนดินเหนียวปั้น หรือให้ทำกองฝุ่นเป็นสถูป ในป่าและที่เปลี่ยว อุทิศพระชินเจ้าทั้งหลาย
    82 แม้เด็กๆ เล่นทำเนินทรายให้เป็นสถูป อุทิศ (เจาะจง) พระชินเจ้าทั้งหลาย เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อการตรัสรู้
    83 ชนบางพวกเจาะจงให้สร้างรูปพระชินเจ้าทั้งหลาย ที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะอาการ 32 จากรัตนะ (เพื่อเป็นที่ระลึก) แม้เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้เหมือนกัน
    84 ชนบางพวกให้สร้างรูปของพระสุคตทั้งหลาย ด้วยทองแดงบ้าง ด้วยทองเหลืองบ้าง ประดับด้วยรัตนะ 8 ประการบ้าง ไว้ ณ ที่นั้นๆ เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อการตรัสรู้
    85 ชนเหล่าใดใช้ตะกั่ว เหล็ก หรือดินเหนียว ทำรูปพระสุคตทั้งหลาย ให้เป็นต้นแบบที่งดงาม ชนเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
    86 ชนเหล่าใดกระทำภาพ (พระสุคต) ที่สมบูรณ์ด้วยปุณยลักษณะ 100 ประการบนฝาผนังที่สวยงาม เขาเขียน (ภาพ) เองก็ตาม ให้ผู้อื่นเขียนก็ตาม เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
    87 ผู้ใหญ่หรือเด็กก็ตาม ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ หรือเล่นอยู่ เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เขียนภาพ (ตถาคต) ด้วยเล็บหรือชิ้นไม้ไว้ที่ฝาผนัง
    88 เขาเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีความกรุณา ช่วยเหลือสัตว์เป็นจำนวนหลายพันโกฏิ สนับสนุนพระโพธิสัตว์จำนวนมากให้ข้ามพ้น (สังสารวัฏ) เขาเหล่านั้นทั้งหมดก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
    89 ชนเหล่าใดถวายดอกไม้และเครื่องหอมทั้งหลาย ไว้ที่พระธาตุทั้งหลาย หรือที่พระสถูปทั้งหลายของตถาคต ที่ปั้นด้วยดินเหนียว หรือรูปวาดของตถาคตที่ฝาผนัง หรือที่สถูปทราย
    90 ชนเหล่าใด ที่เป็นนักดนตรี ได้บรรเลง (ดนตรี) ตีกลอง เป่าสังข์ มีเสียงกึกก้องและตีกลองหน้าเดียวดังกึกก้อง เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐสุด
    91 เด็กหนุ่ม หรือกุมารเยาว์วัย เชื้อสายนักดนตรี ที่สมารถดีดพิณ ตีฉาบ เป่าแตร เป่าปี่ เป่าขลุ่ย ตีกลอง ที่ไพเราะจับใจ (เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า) เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
    92 ชนทั้งหลายที่ตีฉิ่ง เป่าปี่ หรือเป่าแตร ร้องเพลงอันไพเราะจับเพื่ออุทิศบูชาพระสุคตทั้งหลาย
    93 เขาเหล่านั้นทั้งหมด กระทำการบูชาพระบรมธาตุชนิดต่างๆในโลก ให้บรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นเล็กๆ เพียงชิ้นเดียว ร ที่ใกล้พระบรมธาตุของพระสุคต ก็ได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
    94 แม้ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน บูชาพระตถาคต ด้วยดอกไม้เพียงดอกเดียว และให้เขียนภาพพระตถาคตบนผนัง แล้วบูชา ก็ได้ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์ตามกาลอันควร
    95 บางพวกเพียงประนมมือไหว้ บางพวกทำความเคารพอย่างสมบูรณ์แบบ คือยกศีรษะชั่วครู่แล้วน้อมกายลงครั้งหนึ่ง ที่พระสถูปนั้นๆ
    96 ในเวลานั้น แม้พวกที่มีจิตฟุ้งซ่าน กล่าวครั้งหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า” ที่พระสถูปอันเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุทั้งหลาย เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็จักได้บรรลุโพธิญาณอันประเสริฐนี้
    97 สัตว์เหล่าใด แม้ได้ฟังชื่อพระธรรมของพระสุคตทั้งหลาย ผู้ปรินิพพานไปแล้วหรือทรงดำรงอยู่ในกาลนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
    98 พระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์ในอนาคต มีจำนวนที่กำหนดไม่ได้ ประมาณมิได้ พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้เป็นพระชินเจ้า เป็นที่พึ่งของชาวโลกที่ประเสริฐสุดจักประกาศอุบายเช่นนี้
    99 พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้แนะนำชาวโลก ก็จะมีความฉลาดในอุบายอันหาที่สุดมิได้ ด้วยความฉลาดในอุบาย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็จะแนะนำสัตว์จำนวนหลายโกฏิในพุทธภาวะ และญาณอันไม่มีอาสวะ
    100 ไม่มีสัตว์แม้ผู้เดียวที่ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ว่าเวลาใด จะไม่ได้เป็นพุทธะ พระตถาคตมีพระประณิธานอย่างนี้ว่า “เราประพฤติธรรมแล้วจะต้องให้ผู้อื่นประพฤติธรรม เพื่อตรัสรู้ด้วย”
    101 ในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักประกาศแนวทางแห่งการบรรลุธรรมมากมายหลายพันโกฏิ พระองค์เมื่อประกาศยานหนึ่งนี้ ก็จักแสดงธรรม (เพื่อบรรลุ) ความเป็นพระตถาคตด้วย
    102 พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ ทรงทราบว่า หัวข้อและกฎแห่งธรรมที่มั่นคงนี้ ย่อมส่องประกาย (รุ่งเรือง) อยู่เสมอ จึงได้ประกาศเอกยานของเรา
    103 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ประกาศความมั่นคงแห่งธรรม กฎแห่งธรรม ที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นในโลกเป็นนิจ และพระโพธิญาณบนพื้นดิน
    104 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีจำนวนเท่าเมล็ดทราย ในแม่น้ำคงคา ที่มนุษย์และเทวดาบูชาแล้วทั้งสิบทิศ ทุกๆ พระองค์ย่อมแสดงพระโพธิญาณอันประเสริฐนี้ เพื่อประโยชน์สุขของสัตว์ทั้งมวลในโลกนี้
    105 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงประกาศความฉลาดในอุบาย ทรงแสดงยานต่างๆ แต่จะประกาศยานหนึ่งเท่านั้นว่า เป็นพื้นฐานของความสงบสูงสุด
    106 พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นทรงทราบจริต และอุปนิสัยที่เคยปฏิบัติ กำลังและความเพียรของสัตว์ทั้งหลายแล้ว ย่อมแสดงธรรมเครื่องหลุดพ้น
    107 พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เป็นผู้นำ ย่อมชี้อุทาหรณ์เหตุแลผลมากมาย ด้วยกำลังแห่งพระญาณ พระองค์ทรงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายมีอุปนิสัยต่างๆกันแล้ว จึงแสดงอภินิหารต่างๆ
    108 แม้เราเอง เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของพระชินเจ้า ย่อมแสดงพุทธโพธิญาณนี้ ด้วยอภินิหารหลายพันโกฏิวิธี ก็เพื่อประโยชน์สุขของสัตว์ทั้งหลาย
    109 เราทราบพฤติกรรมและอุปนิสัยของสัตว์ทั้งหลายแล้ว จึงแสดงธรรมหลายประการ เราให้สัตว์แต่ละผู้แต่ละคนรื่นเริงหรรษาด้วยอุบายหลายอย่าง นี้คือ กำลังแห่งญาณของเรา
    110 เรามองเห็นสัตว์ผู้ยากไร้ ผู้เสื่อมจากปัญญาและบุญ ผู้ตกอยู่ในความทุกข์ลำบากในสังสารวัฏ ทั้งยังจมอยู่ในกองทุกข์อย่างต่อเนื่อง
    111 คนพาล ผู้หมกมุ่นอยู่ในตัณหาเหมือกับจามรี มืดมนตลอดเวลาเพราะกามเป็นเหตุ เขาเหล่านั้นไม่แสวงหาพุทธะและธรรมะ ที่มีอานุภาพมาก สามารถให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
    112 เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีจิตยินดีอยู่ในภูมิทั้งหก ตั้งมั่นในมิจฉาทิฏฐิอย่างเหนียวแน่นวิ่งหาทุกข์อยู่ร่ำไป เรามีความการุณต่อพวกเขาเหลือกำลัง
    113 เราหลังจากตรัสรู้แล้ว ประทับอยู่โพธิมณฑลสามสัปดาห์เต็ม เพ่งมองต้นไม้พิจารณาเรื่องนี้อยู่
    114 เราเพ่งมองต้นไม้นั้นและเดินจงกรมอยู่ภายใต้ต้นไม้นั้น พลางคิดว่านี้คือญาณที่อัศจรรย์และประเสริฐสุด สัตว์เหล่านี้ ช่างโง่เขลาและมืดบอดเหลือเกิน
    115 ในกาลนั้น พระพรหม ท้าวศักระ ท้าวโลกาบาลทั้งสี่ พระมเหศวร พระอิศวร และคณะมรุตเทพ จำนวนหลายพันโกฏิมาขอร้องเรา
    116 เทพเหล่านั้นทั้งหมด ยืนประคองอัญชลี แสดงความเคารพ เรา (ตถาคต) คิดถึงเรื่องนี้ว่า จะทำอย่างไรดี (ตัดสินใจว่า) เราจะแสดงธรรมอันประเสริฐแก่สัตว์ (ชนชั้น) ทั้งหลาย เพราะสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ถูกความทุกข์ครอบงำ
    117 ถ้าพวกเขาจะเพิกเฉยธรรมของเราที่กล่าวเพื่อคนพาล ครั้นพวกเขาเพิกเฉยก็จะเข้าถึงอบายภูมิ จึงเป็นการดีที่เราไม่แสดงธรรมแม้ในกาลไหนๆ ขอให้เราจงนิพพานด้วยความสงสัยเสียในวันนี้เถิด
    118 แต่ว่า เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน และอุบายอันฉลาดของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น (เราจึงคิดได้ว่า) เราควรแสดงพุทธโพธิญาณนี้ โดยแบ่งเป็นสามภาค
    119 ขณะที่เราคิดข้อธรรมอยู่อย่างนี้ พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ที่ประทับอยู่ในทิศทั้งสิบก็มาปรากฏพระกายต่อหน้าเรา และเปล่งพระสุรเสียงว่า “สาธุ” (แล้วกล่าว่า)
    120 ข้าแต่พระมุนี ผู้นำที่ประเสริฐของชาวโลก ดังข้าพเจ้าทั้งหลายจะขอโอกาสพระองค์เมื่อตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ พิจารณา ศึกษากุศโลบายของพระผู้นำแห่งโลกอยู่
    121 แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย หลังจากตรัสรู้แล้วในครั้งนั้น ได้แสดงธรรม (บท) แบ่งเป็นสามภาค เพราะว่า ชนทั้งหลายที่ไม่มีความรู้ และมีอุปนิสัยต่ำทราม จะไม่เชื่อ(คำพยากรณ์ที่ว่า) “พวกเธอจะได้เป็นพระพุทธเจ้า (ในอนาคต)
    122 แต่นั้น ด้วยความอนุเคราะห์เป็นเหตุ เราจึงใช้ความฉลาดในอุบาย กล่าวสนับสนุนเรื่องความปรารถนาในอริยผล กะพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    123 เราได้ฟังพระสุรเสียงอันไพเราะจับใจของพระตถาคตทั้งหลายแล้ว มีปิติปลาบปลื้มใจ เราจึงกล่าวว่า ท่านมหาฤษีทั้งหลาย (พระพุทธเจ้าทั้งหลาย) ผู้ประเสริฐ พระดำรัสของท่านผู้มั่นคง เป็นพระดำรัสที่ไม่มีโมหะ
    124 เราจะประพฤติเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้ เพราะว่า เราบังเกิดในท่ามกลางแห่งความเสื่อมของสัตว์ที่ปวดร้าวและทารุณนี้
    125 ดูก่อนศาริบุตร เราครั้นทราบอย่างนี้แล้ว ก็ได้ออกเดินทางไปยังเมืองพาราณสี ในเวลานั้น และได้ประกาศธรรมอันเป็นรากฐานแห่งความสงบ แก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ด้วยอุบายอันฉลาด
    126 แต่นั้น ธรรมจักรของเราตถาคตได้หมุนไป ศัพท์ว่า นิพพาน อรหันต์ ธรรมะ สังฆะ ก็ได้บังเกิดขึ้นในโลก
    127 เรากล่าวเรื่องนิพพานเป็นเวลาหลายปี และชี้ว่า พระนิพพานเป็นที่สุดแห่งความทุกข์ในสงสาร เรา (ตถาคต) กล่าวอย่างนี้เป็นนิจกาล
    128 ดูก่อนศาริบุตร ในเวลานั้น เราได้เห็นบุตรของชนชั้นสูง จำนวนมากมายหลายพันโกฏิ ที่เข้าใกล้พระโพธิญาณอันประเสริฐและสูงสุด
    129 ทุกคนเหล่านั้น เข้ามาสู่ที่ใกล้เรา (ตถาคต) ยืนประคองอัญชลีเคารพเรา เขาเหล่านั้นเคยฟังธรรมของพระชินเจ้าทั้งหลายมาแล้ว และได้ฟังกุศโลบาย ประการต่างๆมาแล้ว
    130 แต่นั้นเราได้มีความคิดครู่หนึ่งว่า นี้เป็นกาลสมัยแห่งเรา ที่จะประกาศธรรมอันประเสริฐ(เพราะว่า) เราอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ก็เพื่อประกาศพระโพธิญาณ อันประเสริฐนั้นและเป็นประโยชน์แก่ชาวโลก
    131 การเข้าใจนิมิตในวันนี้ เป็นสิ่งที่รับ (เชื่อ) ได้ยาก สำหรับผู้ที่มีความรู้น้อย ถึงพร้อมด้วยอธิมานะ งมงาน แต่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จะพากันฟังธรรม (ของเรา)
    132 เรามีความแกล้วกล้าผ่องใส ละความลังเลใจทั้งปวงเสียแล้ว จะกล่าวในท่ามกลางแห่งบุตรพระสุคตทั้งหลาย และเราจะนำเขาเหล่านั้นให้ตรัสรู้ตามด้วย
    133 ก็เราครั้นเห็นพุทธบุตรที่เช่นนี้แล้ว (จึงกล่าวว่า) ท่านทั้งหลายจงขจัดความสงสัยออกไป และสาวกอีก 1200รูปเหล่านี้ ก็จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะทั้งหมดจักเป็นพุทธะในโลกนี้
    134 ธรรมของมุนีในอดีตทั้งหลายเหล่านั้น และของพระชินเจ้าในอนาคต ย่อมเป็นเหมือนกับธรรมของเรา คือปราศจากมลทิน ซึ่งเราจะแสดงแก่ท่านทั้งหลายในวันนี้
    135 ไม่ว่าเวลาใด ที่ใด และอย่างไร พระตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติขึ้นในโลก ครั้นอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ทุกพระองค์ทรงมีจักษุเป็นทิพย์ ย่อมแสดงธรรมเช่นนี้ทุกครั้ง
    136 ธรรมอันประเสริฐเช่นนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง ตลอดเวลาหลายหมื่นโกฏิกัลป์ และสัตว์ทั้งหลายผู้เช่นนี้ ซึ่งฟังธรรมอันประเสริฐแล้ว เกิดความเลื่อมใส ก็หาได้ยากยิ่ง
    137 เหมือนดอกมะเดื่อเป็นสิ่งที่หาได้ยาก อย่างไรก็ตาม บุคคลย่อมพบเห็นในบางคราวและบางแห่ง มันก็ยังเป็นที่เจริญใจของบุคคล ทั้งยังเป็นที่อัศจรรย์แก่ชาวโลกและเทวดาด้วย
    138 ก็แล ธรรมที่เรากล่าวยิ่งอัศจรรย์ไปกว่านั้น บุคคลใดได้ฟังธรรมอันเป็นสุภาษิตนี้ แล้วอนุโมทนายินดีกล่าวถ้อยคำแม้เพียงคำเดียว (เกี่ยวกับธรรมนั้น) เขาเหล่านั้นชื่อว่าได้กระทำการบูชาพระพุทธเจ้าทั้งปวงแล้ว
    139 ขอให้เธอจงเลิกละความสงสัย คลางแคลงใจในเรื่องนี้เถิด เราผู้เป็นธรรมราชาขอบอกว่า เราจะให้เขาเข้าถึงโพธิญาณอันประเสริฐนี้ ณ ที่นี้ เรายังไม่มีสาวกเลย
    140 ดูก่อนศาริบุตร เธอจงทราบความลึกลับนี้ของเราไว้เถิด แม้สาวกทั้งปวงของเรามีพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นประธานเหล่านี้ ก็จงจำความลึกลับของเรา (ตถาคต)ไว้
    141 เพราะเหตุไร ในสมัยแห่งความเสื่อมทั้งห้าสัตว์ทั้งหลายผู้ชั่วช้าและต่ำทรามถูกครอบงำด้วยกามทั้งหลาย เป็นผู้โง่เขลาเบาปัญญาในกาลไหนๆ ย่อมมีความคิดเพื่อการตรัสรู้
    142 แลสัตว์ทั้งหลายได้ฟังเพียงยานเดียวของเรา ที่พระชินเจ้าประกาศแล้วท่องเที่ยวไปในอนาคตกาล สลัดพระสูตรทิ้งเสีย ก็จะพึงถึงนรก
    143 สัตว์ทั้งหลาย ผู้สงบเสงี่ยม สะอาดหมดจด พยายามเข้าถึงพระโพธิญาณอันประเสริฐสูงสุด เรากล้าจะพรรณนาลักษณะอันไม่สิ้นสุดของเอกยานนั้นแก่เขาทั้งหลาย
    144 เทศนาของผู้นำ (ตถาคต) ทั้งหลายเป็นเช่นนี้ นี้คือความฉลาดในอุบาย ที่ประเสริฐสุด เราได้กล่าวด้วยถ้อยคำอันลึกหลากหลาย ยากที่ผู้ไม่ได้รับการศึกษาจะเข้าใจได้
    145 เพราะฉะนั้น เธอควรเข้าใจถ้อยคำอันลึกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สั่งสอนโลกผู้มั่นคงเถิด จงขจัดความสงสัย จงละความคลางแคลงใจเสีย ก็จะเป็นพุทธะ ยังความหฤหรรษ์ให้เกิดขึ้น


    บทที่2 อุปายโกศลปริวรรต ว่าด้วยความฉลาดในอุบาย
    ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
    มีเพียงเท่านี้



     
  19. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    มึนล่ะ สิพวกเอ็ง งั้นเขาจักเรียกว่าพระสูตรที่ลึกซึ้งสูงส่งที่สุดในมหายานรึ
     
  20. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=YGuzwgz60tg"]?????????????????? (??) - YouTube[/ame]

    หากบุคคลใดตั้งจิตตั้งใจสวดท่อง­พระคาถานี้
    ดวงโพธิญาณจะบังเกิดชึ้น 3 ประการ

    1 ดวงจิตเดิมกายมนุษย์ (ธาตุเดิม ธรรมเดิม)
    2 ดวงจิตที่ผุดขึ้นมาหลังได้ธรรมะ­แล้ว (ธาตุล้วน ธรรมล้วน)
    3 ดวงจิตที่ยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณขอ­งพระพุทธเจ้า (ธาตุเป็น ธรรมเป็น)

    สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...