เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีมหัศจรรย์ ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย nonest, 13 มีนาคม 2005.

  1. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    [​IMG]
    เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ.2494

    หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 07 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 14 ฉบับที่ 5212

    หนังสือ 3 เล่ม ของ"ไอน์สไตน์"


    [​IMG]ปี 2548 นี้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ประกาศให้เป็น "ปีฟิสิกส์สากล" (International Year of Physics) เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีมหัศจรรย์ ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่สามารถคิดค้นทฤษฎีทางวิชาการให้แก่ชาวโลกถึง 5 ผลงาน

    โดยเฉพาะผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ไอน์สไตน์มากที่สุด คือ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ" (Special Theory of Relativity)

    ที่คนทั่วโลกรู้จักกันดีในรูปของสมการ E=mc2 และต่อมากลายเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตระเบิดปรมาณู

    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของยิว ช่วงที่เขาเสนอทฤษฎีก้องโลก เคยพูดติดตลกว่า

    "ถ้าทฤษฎีสัมพัทธภาพของผมได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง เยอรมันจะบอกว่าผมเป็นชาวเยอรมัน ส่วนฝรั่งเศสจะประกาศว่าผมเป็นประชากรของโลก

    "แต่ถ้ามันเป็นทฤษฎีที่ผิด ฝรั่งเศสจะบอกว่าผมเป็นชาวเยอรมัน ส่วนเยอรมันจะประกาศว่าผมเป็นยิว"

    ไอน์สไตน์เกิดที่เมืองโฮล์ม ทางใต้ของเยอรมัน เมื่อ 14 มี.ค.2422 ในวัยเด็กเป็นคนชอบเก็บตัว เงียบขรึม เรียนรู้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน

    จนพ่อของเขาคิดว่าลูกชายเป็นเด็กโง่ด้วยซ้ำ จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษที่บ้าน แม้จะช่วยให้ไอน์สไตน์พูดมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นเด็กเงียบขรึมอยู่ดี

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=2 cellPadding=4 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    อายุ 5 ขวบ เมื่อพ่อส่งเข้าโรงเรียนก็ยิ่งสร้างเบื่อหน่ายให้ไอน์สไตน์ เพราะเจ้าหนูไม่ชอบท่องจำ

    จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ไอน์สไตน์จะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิต ส่วนวิชาอื่นๆ จัดอยู่ในขั้นแย่มาก

    กล่าวกันว่าจุดที่ทำให้ไอน์สไตน์หันมาสนใจวิทยาศาสตร์ เกิดจากวันหนึ่ง พ่อได้นำเข็มทิศมาให้เขาเล่น ขณะไอน์สไตน์อยู่ในวัย 5 ขวบ นอนป่วยอยู่บนเตียง

    เข็มทิศทำให้หนูน้อยรู้สึกฉงนใจว่า เหตุใดมันจึงชี้เด่ไปเฉพาะทางทิศเหนือ

    แต่นั้นมาเขาก็เริ่มแสดงความเป็นอัจฉริยะ

    แล้วปี 2448 ชาวโลกก็ได้รู้จัก "ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ"

    แม้จะผ่านมาแล้ว 1 ศตวรรษ แต่มีคนเข้าใจทฤษฎีปฏิวัติโลกนี้น้อยมาก ไอน์สไตน์เองยังเคยกล่าวว่า มีคนที่มีชีวิตอยู่เพียง 12 คนเท่านั้นที่เข้าใจในทฤษฎีของเขา

    ครั้งหนึ่ง ไอน์สไตน์เคยอธิบายถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพแบบง่ายๆ

    ว่า "เมื่อท่านนั่งอยู่กับสาวสวยน่ารักๆ คนหนึ่ง และคุยกันอย่างสนุกสนานในเวลา 1 ช.ม. ท่านจะคิดว่าเวลาผ่านไปเพียง 1 วินาที

    "แต่ถ้าท่านนั่งลงบนเตาไฟร้อนๆ เพียง 1 นาที ท่านจะคิดว่าเป็น 1 ช.ม.

    "นี่แหละคือความสัมพัทธ์ของข้าพเจ้า"
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=2 cellPadding=4 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ จากสถาบันวิชาการของสวีเดน เมื่อปี 2464

    ตลอดระยะเวลา 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ประวัติชีวิตและผลงานของไอน์สไตน์ ได้รับการตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเผยแพร่มากมาย

    ในโอกาสครบ 100 ปีมหัศจรรย์ (Miraculous Year) ของไอน์สไตน์ในปี 2548 นี้ ที่ทั่วโลกกำลังเฉลิมฉลอง

    สำหรับผู้ใฝ่ในการผู้ศึกษา สำนักพิมพ์มติชน ได้จัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับไอน์สไตน์ในภาคภาษาไทยออกมา 3 เล่มด้วยกัน คือ

    1."ก้าวพ้นกรอบไอน์สไตน์" เล่มนี้ รอฮีม ปรามาท ที่เคยฝากฝีมือการแปลไว้กับ " ประวัติย่อของ"กาลเวลา" " แปลมาจาก "Beyond Einstein" หนังสือเฉพาะกิจของนิตยสารวิทยาศาสตร์ "ไซเอนทิฟิก อเมริกัน" ที่มีอายุกว่า 150 ปี ซึ่งเคยตีพิมพ์ผลงานสมัยแรกๆ ของไอน์สไตน์หลายชิ้น

    "ก้าวพ้นกรอบไอน์สไตน์" รวบรวมทฤษฎีต่างๆ ที่ไอน์สไตน์คิดค้นและกลายเป็นรากฐานสำคัญของเทคโนโลยีหลากหลายชนิดในโลกปัจจุบัน

    ตลอดจนทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทฤษฎีขัดแย้งกับทฤษฎีของไอน์สไตน์

    เป็นหนังสือที่ถือว่าก้าวหน้ามากกว่าทฤษฎีของไอน์สไตน์ และมีพัฒนาการต่อยอดจากอดีตถึงปัจจุบัน

    2."ความฝันของไอน์สไตน์" (Einstein"s Dreams) เป็นเรื่องราวของไอน์สไตน์ในรูปแบบนวนิยาย จับภาพในช่วงไอน์สไตน์กำลังหมกมุ่นอยู่กับการคิดค้นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา จนเกิดความฝันแปลกๆ ครั้งแล้ว ครั้งเล่า

    ผู้เขียนนวนิยายเล่มนี้ คือ อลัน ไลต์แมน เป็นอาจารย์ด้านฟิสิกส์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายที่ดีที่สุดเกี่ยวกับไอน์สไตน์

    ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ ผู้แปล กล่าวถึงนวนิยายเรื่องเยี่ยมเล่มนี้ ว่าเป็นจินตนาการที่ต่อยอดมาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ พาเราผ่านเข้าไปในโลกพิศวง เวลาในเรื่องไม่ได้เป็นอย่างที่เราคุ้นเคย ท่องไปในแดนสนธยาของโลกสามสิบแบบ โลกที่เวลาไม่ได้เดินไปตามแบบแผนที่ควรจะเป็น

    3."จินตนาการสำคัญกว่าความรู้"(Imagination is more important than knowledge) รวมวาทะของไอน์สไตน์ในหลากหลายแง่มุม อาทิ ศาสนา-ปรัชญา วิทยาศาสตร์ การศึกษา ความรัก และการเมือง

    เป็นหนังสือกึ่งไดอารี่ที่สามารถใช้จินตนาการไปด้วยอย่างไร้ขอบเขต พร้อมรูปหาดูยากของไอน์สไตน์

    แม้จะเป็นวาทะที่ท่องผ่านกาลเวลามานานร่วม 100 ปี ทว่า ยังคงเป็นอมตะถึงวันนี้เหมือนกับชื่อของเขา

    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
     
  2. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    <TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#ececff border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    ไอน์สไตน์ อัจฉริยะ + ปราชญ์ แห่งโลกวิทยาศาสตร์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=4 cellPadding=1 width="98%" align=center bgColor=#ffffff border=0><!--font face=Tahoma, MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra,Thonburi class=size2> <<< ส่งข่าวนี้ให้เพื่อน</font-->[font=Tahoma,]<CENTER>
    "ข้างหลังภาพ" ไอน์สไตน์แลบลิ้น

    ภาพถ่าย "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" แลบลิ้นหลอกกล้อง คงทำให้หลายคนคงตั้งคำถามในใจ

    เหตุใด "อัจฉริยะแห่งศตวรรษที่ 20" ถึงทำตัวไม่ต่างจากเด็กมัธยม เวลาถ่ายภาพลงหนังสือรุ่น!?

    แต่ปูมประวัติภาพๆ นี้มีที่มาน่าสนใจ บ่งบอกถึงตัวตนไอน์สไตน์ได้เป็นอย่างดี

    ภาพถ่าย "ไอน์สไตน์แลบลิ้น" บันทึกในวันคล้ายวันเกิดครบรอบอายุ 72 ปีของไอน์สไตน์


    </CENTER>​
    <TBODY></TBODY>
    </TABLE>
    14 มีนาคม พ.ศ.2494

    ในวันนั้นช่างภาพสำนักข่าว "ยูพีไอ" ร้องขอให้ไอน์สไตน์ช่วยยิ้มให้กล้องสักหน่อยเพื่อจะได้เก็บภาพงามๆ

    ด้วยความที่ไอน์สไตน์มีอุปนิสัยขี้เล่น สบายๆ ไม่ถือตัว เป็นมิตรกับทุกคน และเกิดรู้สึกเบื่อที่ต้องยิ้มให้คนถ่ายรูปทั้งวัน

    ไอน์สไตน์ก็เลยแลบลิ้นล้อเล่นใส่เลนส์กล้อง

    จากวันนั้นจนถึงปัจจุบัน ภาพไอน์สไตน์แลบลิ้นได้กลายเป็น 1 ในสัญลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมพ็อพตะวันตก

    และสะท้อนถึงตัวตนของไอน์สไตน์ที่แม้จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20

    รวมทั้งเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพอันลือลั่น

    แต่ก็มีอารมณ์ขันที่พร้อมจะแบ่งปันความเบิกบานให้ผู้อื่นโดยไม่หวาดกลัวว่าภาพลักษณ์ตัวเองจะเสื่อมเสีย

    [/font]​
     
  3. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    [​IMG]
    หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 07 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 14 ฉบับที่ 5212

    มันสมองอัจฉริยะ"ไอน์สไตน์"


    ปานบัว บุนปาน เรียบเรียง

    [​IMG]
    ...แค่คิดก็ไม่ธรรมดาแล้ว

    ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ใช้ชีวิตโลดแล่นในหลายประเทศ

    สร้างสรรค์ผลงานทางวิทยาศาสตร์แสนอัศจรรย์ และมีสีสันโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ

    แม้ไอน์สไตน์จะจากโลกนี้ไปนานนับครึ่งศตวรรษ แต่เรื่องราวชีวิต แนวคิด ผลงานของเขาก็ยังดำเนินไปอย่างไม่จบสิ้น และแปลกประหลาดเกินกว่าที่หลายคนจะคาดเดาได้

    ไอน์สไตน์เสียชีวิตในวันที่ 18 เมษายน 1955 ขณะมีอายุได้ 76 ปี

    ร่างของเขาถูกเผาตามพิธีการทางศาสนาโดยที่ไม่มีคนในครอบครัวตระหนักเลยว่า มันสมองอัจฉริยะได้สูญหายไป!

    โทมัส เอส ฮาร์วี แพทย์ผู้ทำการชันสูตรศพได้ลักลอบผ่าสมองของนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่เก็บไว้เพื่อการศึกษา


    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=2 cellPadding=4 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    หลังจากแยกสมองออกจากศพแล้ว หมอฮาร์วีได้ทำการแบ่งสมองของไอน์สไตน์ออกเป็น 240 ชิ้น ดองด้วยตัวยาพิเศษและเก็บรักษาไว้ในขวดแก้ว 2 ขวด บางชิ้นส่วนของสมองถูกส่งไปให้นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญตามสาขาต่างๆ แต่ส่วนใหญ่นั้นหมอฮาร์วีเก็บเอาไว้เอง

    สิ่งที่หมอฮาร์วีปฏิบัติต่อศพของไอน์สไตน์นั้นก่อให้เกิดการวิจารณ์กันอย่างอื้อฉาว จนทำให้หมอฮาร์วีต้องอพยพโยกย้ายไปตามที่ต่างๆ และหอบหิ้วมันสมองของไอน์สไตน์ติดตัวตามไปด้วย

    จนกระทั้งปี 1996 หมอฮาร์วีได้ย้ายกลับมาที่พรินสตันอีกครั้งหนึ่ง และตัดสินใจมอบชิ้นส่วนสมองที่เขารวบรวมไว้แก่ น.พ.เอเลียต คลอส หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา ที่โรงพยาบาลพรินสตัน

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=2 cellPadding=4 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    การวิจัยค้นคว้าศึกษาความเป็นอัจฉริยะของไอน์สไตน์จึงเกิดขึ้นอีกครั้ง!

    โดยนำชิ้นส่วนสมองทั้งหมดที่ถูกเก็บ ณ โรงพยาบาลพรินสตัน มาถ่ายภาพและประกอบขึ้นเป็นรูปสามมิติ จำลองรูปแบบเหมือนจริงดังกับว่ามันเพิ่งถูกผ่าแยกออกมาจากศพ

    สิ่งที่ค้นพบก็คือ สมองของไอน์สไตน์มีน้ำหนักเพียง 1,230 กรัมเท่านั้น

    น้อยกว่าน้ำหนักสมองของมนุษย์โดยเฉลี่ยที่หนักถึง 1,400 กรัม

    แต่สิ่งที่ไอน์สไตน์ต่างจากมนุษย์ทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ ก็คือ "ความหนาแน่นของเซลส์ประสาทในสมอง" ที่มีมากกว่าปกติหลายเท่า

    ยิ่งไปกว่านั้น "สมองของไอน์สไตน์มีเพียงเส้นแบ่งตื้นๆ ระหว่างสมองข้างซ้ายและข้างขวา" ในขณะที่คนธรรมดาจะมีรอยแยกชัดเจนระหว่างสมองทั้งสองข้าง เผยให้เห็นถึงการรวมกันอย่างกลมกลืนของสมองทั้งสองซีก

    นักวิจัยชี้ว่าลักษณะที่พิเศษของสมองแบบนี้อาจอธิบายได้ว่า ทำไมไอน์สไตน์ถึงคิดอย่างที่เขาคิด บางทีวิธีคิดของไอน์สไตน์อาจไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้คำบรรยาย แต่อาจผ่านจินตนาการต่างๆ ที่เขานึกถึง เสมือนว่ามองเห็นมันด้วยตาเปล่าก็ได้

    ทำให้นึกถึงคำพูดของไอน์สไตน์ เมื่อครั้งที่เขายังมีชีวิตอยู่ที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" และ "ความรู้มีขอบเขตจำกัด แต่จินตนาการไร้ขีดจำกัด" นั่นเอง

    ปัจจุบันนี้สมองของไอน์สไตน์ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีที่โรงพยาบาลพรินสตัน ที่เดียวกันกับที่มันถูกขโมยไปเมื่อห้าสิบปีก่อน

    [font=Tahoma,]หน้า 29[/font]

    </TD><!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits.gits.net.th/data/a0000314.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3;</SCRIPT>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE -->
     
  4. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    คัดลอกมาค่ะ

    มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1280

    อ่านลายมือ

    สีมา สมานมิตร seema@chaiyo.com

    ลายเซ็น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

    ปี 2548 ได้รับสถาปนาเป็นปี ฟิลิกส์โลก (World Year of Physics) เพื่อเป็นที่ระลึกถึง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ เจ้าของทฤษฎีสัมพัทธภาพ และทฤษฎีควอนตัม ผู้มีคุณูปการใหญ่หลวงแก่วงการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ อันมีสิ่งประดิษฐ์หลายต่อหลายชิ้นในชีวิตประจำวัน (กล้องดิจิตอล อุปกรณ์เลเซอร์ในเครื่องเล่นดีวิดี อุปกรณ์ระบบจีพีเอส ฯลฯ) ล้วนอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ของ ไอน์สไตน์ ทั้งสิ้น

    ปี 2448 (นับถึงวันนี้หนึ่งร้อยปีนั้น) เป็นปีที่ยิ่งใหญ่ เป็นปีที่ ไอน์สไตน์ นำเสนอทฤษฎีสำคัญเป็นรากฐานหลักของวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ถึง 4 เรื่องอย่างต่อเนื่อง โดยตีพิมพ์ในวารสารฟิสิกส์ ชั้นนำของเยอรมนี ชื่อ Annalen der Physik

    ไอน์สไตน์ เกิดที่เมืองอูล์ม ในเยอรมนี เมื่อปี 2422 จบการศึกษาที่วิทยาลัยซูริก โพลีเทคนิค สวิตเซอร์แลนด์ ปี 2443 และปริญญาเอกปี 2448 ได้รับรางวัลโนเบล ปี 2465 และเสียชีวิตเมื่อปี 2498

    ลายเซ็น ไอน์สไตน์ เคยตีพิมพ์ในคอลัมน์นี้มาแล้ว เมื่อปี ค.ศ.2000 ถือเป็น 10 ลายเซ็นแห่งศตวรรษเช่นเดียวกับ ฟรอยด์ คาสโตร, ทะไล ลามะ และ ปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น เนื่องจากท่านเป็นคนดัง ลายเซ็นของท่านจึงถูกสำเนาคัดลอกต่อๆ กันหลายชั้นหลายสำเนา จนเปลี่ยนไป อย่างไรก็ดี เชื่อว่าลายเซ็นนี้น่าจะใกล้ต้นแบบที่สุด และอ่านได้ทำนองนี้ครับ

    "เป็นคนโปร่งใส เปิดเผย ตรงไปตรงมา และฉับไวฉลาดเฉลียว ไม่มีนอกมีใน เป็นแฟมิลี่แมน รักใคร่ห่วงใยครอบครัว และชุบชูวงศ์ตระกูล

    สุขุมเป็นเหตุเป็นผล หากจะวิพากษ์วิจารณ์ก็เข้มข้นคมลึก เก็บซ่อนความดุไว้ดี ในทุกสถานการณ์ คงความหนักแน่นไว้ได้เสมอ สมาธิยอดเยี่ยม และมีดวงตาช่างสังเกต เห็นในจุดที่ใครไม่ใคร่เห็น ด้านหนึ่งเป็นคนแข็ง จริงจัง ยอมหักไม่ยอมงอ ระมัดระวังและละเอียดลออ ถี่ถ้วนเรื่องเวลานาที และเงินทองดีเยี่ยม ไม่มีผ่านเลยอย่างไร้ประโยชน์ และตกหล่นสูญหายไปแม้เหรียญเล็กๆ แถมมีอารมณ์ดี และประณีตกับการคบมิตร"
    ( คัดลอกมา )
     
  5. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    คัดลอกมาค่ะ

    มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1279

    แลไปข้างหน้า

    ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ siripong@kidtalentz.com

    ไอน์สไตน์กับลิซ่า กำเนิดและจุดจบของจักรวาล

    ปี2548 ถูกยกขึ้นเป็นปีไอน์สไตน์ ผู้ชายผมฟูหนวดหนาเคราดกที่คนทั้งโลกรู้จักไม่แพ้มิกกี้เม้าส์ เพราะเป็นวาระครบรอบ 100 ปีที่ไอน์สไตน์เสนอทฤษฎีสำคัญถึงสี่ทฤษฎีอันเป็นรากฐานสำคัญให้โลกเราเป็นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ จะเป็นทฤษฎีอะไรบ้างนั้น หารายละเอียดอ่านกันในที่อื่นๆ ก็แล้วกัน หรือไม่ก็ลองหาหนังสือ "ก้าวพ้นกรอบไอน์สไตน์" ของสำนักพิมพ์มติชนมาอ่านดู จะได้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของไอน์สไตน์ที่คืบหน้าที่สุดเท่าที่มีอยู่ในตอนนี้

    ให้ผมสาธยายเองคงไม่ไหว ก็ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางสายวิทย์นี่ครับ เป็นแค่นักเล่าเรื่องทางตัวหนังสือที่หยิบขี้ปากชาวบ้านเขามาอีกที อีกอย่างในหนังสือเขาเขียนไว้ก็อ่านง่ายเข้าใจง่ายดีแล้ว

    ในบ้านเรายังไม่ได้ยินข่าวคราวกิจกรรมเกี่ยวกับปีไอน์สไตน์ออกมาจากไหนเลย น่าเสียดายโอกาสนี้เหมือนกัน เพราะหลายประเทศในโลกนี้เขาเคลื่อนไหวกันคึกคัก จัดกิจกรรมมากมายหลายอย่าง โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือการกระตุ้นให้คนรู้จักและสนใจฟิสิกส์กันมากขึ้น ความจริงแล้วทฤษฎีของไอน์สไตน์นั้นแม้จะเข้าใจได้ยากมากๆ โดยเฉพาะทฤษฎีสัมพัทธภาพ เพราะมันขัดกับประสาทสัมผัส หรือสามัญสำนึกของเรา แต่มันกลับมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของเรามากจนนึกกันไม่ถึง

    ตัวอย่างเช่น เครื่องเล่นดีวีดี ที่เราใช้ดูหนังกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นต้น รากฐานมันมาจากที่ไอน์สไตน์บอกว่าแสงไม่ได้เป็นคลื่นเพียงอย่างเดียว แต่มันยังเป็นอนุภาคได้ด้วย และรายละเอียดในการอธิบายของเขากลายเป็นรากฐานนำไปสู่สิ่งประดิษฐ์ตามมาในยุคหลังๆ และยังจะมีออกมาอีกในอนาคต ใน "ก้าวพ้นกรอบไอน์สไตน์" อธิบายเรื่องนี้เอาไว้แล้วเช่นกัน

    หรือคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ระบบการติดต่อสื่อสาร กระทั่งการเดินทางโดยเครื่องบิน ถ้าไม่มีทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ที่นำไปสู่ระบบการกำหนดตำแหน่งด้วยดาวเทียมหรือ จีพีเอส มันก็ยากที่จะเป็นไปได้

    นอกจากความคิดอันปราชญ์เปรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่ผมว่าน่าสนใจมากกว่าของไอน์ไสตน์ก็คืออุดมคติของเขาที่มุ่งผดุงความยุติธรรมของโลกเอาไว้ ต่อต้านการใช้กำลังและความรุนแรง อย่างที่รู้กันว่าหลังจากโศกนาฏกรรมและความวินาศสันตะโรเกิดขึ้นที่ฮิโรชิม่ากับนางาซากิ ด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งอาศัยรากฐานการสร้างขึ้นมาจากสมการ E=MC ของเขา ไอน์สไตน์บอกว่า "ถ้ารู้อย่างนี้ ไปเป็นช่างทำรองเท้าดีกว่า"

    ถ้าจะยกไอน์สไตน์ขึ้นเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นใหม่เจริญรอยตาม ต้องชูความดีของเขาให้เท่าๆ กับความเก่งด้วย

    ไม่รู้ว่าฝันไปหรือเปล่า ที่จริงหากใช้โอกาสอย่างนี้เคลื่อนไหวสร้างกิจกรรมก็คงเป็นที่น่าสนใจใฝ่รู้ของเยาวชนอนาคตของชาติอยู่เหมือนกัน ขนาดลูกชายวัยรุ่นที่บ้านผมซึ่งตอนนี้ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาคณะจิตรกรรมของศิลปากรไปแล้ว ยังรบเร้าจะให้หาหนังสือที่เกี่ยวกับประวัติไอน์สไตน์มาให้อ่าน แถมยังซักไซ้ไล่เลียงถึงทฤษฎีของไอน์สไตน์อีกด้วย

    ถ้าเด็กเล็กกว่านี้ก็จะยิ่งมีความสนใจใคร่รู้มากขึ้นไปอีกหลายเท่า

    ขอกลับมาว่าถึงเรื่องที่อยากเอามาเล่าให้ฟังดีกว่า เป็นเรื่องของการแลไปข้างหน้าโดยแท้ จนถึงวันนี้ซึ่งเวลาผ่านไปถึงร้อยปีแล้ว ทฤษฎีบางอย่างของไอน์สไตน์ก็ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ทั้งหมด ยังมีปริศนาที่รอการไขอีกหลายต่อหลายอย่าง ส่วนหนึ่งเพราะตอนที่ไอน์สไตน์คิดนั้น เครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะไปตรวจสอบพิสูจน์อะไรได้ แม้กระทั่งปัจจุบันนี้เทคโนโลยีก็ยังไปไม่ถึงขั้นที่จะพิสูจน์อีกหลายอย่าง และหลายอย่างก็ต้องการการสานต่อ



    ในปีอีกประมาณ 6 ปีข้างหน้า หรือในปี 2554 คุณลิซ่า (Laser Interferometry Space Antenna) จะถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะห่างเท่ากันกับที่โลกห่างจากดวงอาทิตย์ แต่จะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 30 ล้านไมล์ มันประกอบด้วยดาวเทียมสามดวงที่เชื่อมโยงกันด้วยลำแสงเลเซอร์ทำมุมกันเป็นรูปสามเหลี่ยมแต่ละด้านมีความยาวสามล้านไมล์

    ลิซ่าสามารถตรวจวัดความบิดเบือนของแสงหากมีคลื่นแรงโน้มถ่วงจากอวกาศเข้ามากระทบสามเหลี่ยมแสงเลเซอร์ ซึ่งนั่นหมายถึงการตรวจวัดการระเบิดของจักรวาลเก้าพันล้านปีแสงจากโลก การเกิดหลุมดำ หรือแม้กระทั่งช็อคเวฟที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อเกิดบิ๊กแบงก์

    พูดแบบง่ายๆ และคงจะตื้นๆ ด้วยก็คือ ลิซ่าจะไขปริศนาของจักรวาล ทั้งกำเนิดและจุดจบของมัน



    หน้า 39
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits.gits.net.th/data/a0000314.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3;</SCRIPT>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE -->
     
  6. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    คัดลอกมาค่ะ

    มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1282

    เชิงอรรถ

    ส.สีมา

    สตรีของไอน์สไตน์

    ไอน์สไตน์ หรือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้เป็นนักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ยี่สิบ เขาเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ เป็นเจ้าของสมการ e=mc เมื่อปี 2448 ถึงปีนี้ครบ 100 ปีพอดี จึงได้รับการสถาปนาเป็นปีฟิสิกส์โลก (World Year of Physics) เพื่อระลึกถึงนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คนนั้น

    กล่าวสำหรับความรัก ไอน์สไตน์ เป็นนักเรียนที่มีฝีมือแก่กล้าไม่น้อยหน้าบุรุษนักรักคนอื่นๆ ด้วยมีสตรีที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตไม่น้อยกว่า 3 คน คนแรกเป็นเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน คนถัดมาเป็นญาติสนิท และสตรีคนที่สามเป็นดาราสาวสวยระดับโลก ระบุนามเมื่อไรทุกคนถึงบางอ้อทันที และแถมด้วยความประหลาดใจ ตั้งข้อสงสัยอีกต่างหาก

    สตรีคนแรกชื่อ มิเลวา มาริก นั้นเป็นชาวเซอร์เบียและเป็นนักศึกษาฟิสิกส์-คณิตศาสตร์ ร่วมชั้นเรียนที่ ซูริก โปลีเทคนิค สวิตเซอร์แลนด์ เธอมีขาพิการและอายุมากกว่า 3 ปีด้วย แต่เขาชื่นชมนิยมความเก่งกาจในวิชาฟิสิกส์และดนตรีของเธอมาก และเรียกขานเธอว่า แม่ตุ๊กตาแสนสวย หรือ ดอลลี่ ทำนองนั้น

    ไอน์สไตน์ ตัดสินใจแต่งงานกับเธอทั้งๆ ที่แม่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ขณะนั้นเขาอายุเพียง 24 ปี แถมทำหน้าที่เป็นพ่อให้แก่ลูกนอกกฎหมายของเธออีกคนหนึ่งด้วย

    ชีวิตรักของเขาและเธอไม่เป็นสุขนัก มาริกค่อนข้างขี้หึงและน่าเกลียดอย่างไม่ธรรมดา (uncoomon ugliness เป็นคำของไอน์สไตน์เอง) หลังจากมีลูกชายด้วยกันสองคนแล้วได้ย้ายไปอยู่เบอร์ลิน แต่ในที่สุดก็กลับมาปักหลักอยู่ในซูริกอีก และไม่นานนักก็หย่าร้างกันเมื่อปี 2462 ไอน์สไตน์สัญญากับเธอว่าจะยกเงินรางวัลโนเบลให้เธอส่วนหนึ่งด้วย ไอน์สไตน์มั่นใจอย่างมากว่าจะได้รางวัลนี้ และได้จริงเมื่อปี 2464

    (บุตรชายคนโตชื่อ ฮันส์ อัลเบิร์ต เป็นศาสตราจารย์ด้านไฮดรอริกส์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กลีย์ ส่วนคนเล็ก เอดูอาร์ด มีพรสวรรค์ด้านดนตรีและวรรณคดี แต่เจ็บป่วยด้วยโรจจิตเภท เสียชีวิตในโรงพยาบาลจิตเวชในสวิตเซอร์แลนด์)

    มิเลวา มาริก ยังคงประกอบอาชีพเป็นติวเตอร์วิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ในซูริกและเสียชีวิตเมื่อปี 2491 (ก่อนไอน์สไตน์ 7 ปี)

    สตรีคนที่สองของไอน์สไตน์ชื่อ เอลซ่า โลเวนธาน ลูกพี่ลูกน้องของเขาเอง ทั้งคู่แต่งงานกันในเบอร์ลินเมื่อปี 2462 ปีเดียวกับที่หย่าอย่างเป็นทางการกับมิเลวา เอลซ่านั้นเคยผ่านชีวิตการแต่งงานมาแล้ว

    เอลซ่าต่างจากมิเลวา ตรงที่ไม่ยุ่มย่ามกับการงานของเขาเลย ทำหน้าที่เป็นแม่ศรีเรือน หุงหาอาหารและดูแลความเรียบร้อยในบ้านเป็นด้านหลัก แม้จะได้ทราบข่าวอยู่เนืองๆ ว่าไอน์สไตน์มีหมู่สตรีมารุมล้อม ระยะนี้กำลังมีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ขุ่นมัวไปบ้างแต่ก็มิได้โวยวายเหมือนมิเลวา

    เธอมิได้มีลูกกับไอน์สไตน์ ได้มาใช้ชีวิตในอเมริกาด้วยกันและตายจากไปเมื่อปี 2479 ด้วยโรคหัวใจ (ก่อนมิเลวา 12 ปี)



    สตรีของไอน์สไตน์คนที่สามคือ ดาราสาวสวย มาริลีน มอนโรว์ เมื่อไอน์สไตน์ลี้ภัยมาอเมริกา ขณะนั้นอายุ 56 ปี และมีชื่อเสียงอย่างมากแล้ว ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไม่ค่อยมีใครรู้และไม่ชัดเจนจนกระทั่งมาริลีนเสียชีวิตแล้วเมื่อปี 2505 (หลังไอน์สไตน์ 7 ปี ไอน์สไตน์เสียชีวิตปี 2498) ความสัมพันธ์ถูกเปิดเผยโดยดาราสาวเพื่อนซี้มาริลีนคนหนึ่งชื่อ เชลลี่ย์ วินเตอร์ส

    เชลลี่ย์ เล่าว่า เธอเองเคยหัวเราะเยาะมาริลีน เมื่อมาริลีนเล่าถึงความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับจอมอัจฉริยะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผู้โด่งดังแห่งศตวรรษอันน่าจะมีความหมายว่าเกินจริง และบางทีเสียงหัวเราะเยาะของเชลลี่ย์ อาจทำให้มาริลีนไม่กล้าขยายรายละเอียดเพิ่มเติม เพียงแต่พูดเป็นนัยๆ ว่าเขาหนุ่มกว่าอายุ

    มาริลีนเองขณะนั้นเธออยู่ในช่วงขาลง แม้นว่าพูดมากไปก็มีแต่ถูกหัวเราะเยาะและไม่มีใครเชื่อ จึงไม่พูด จนเมื่อเธอจากไปอย่างเป็นปริศนาแล้วนั่นแหละ ทรัพย์สินในบ้านของเธอที่นำมากองรวมกันไว้พบภาพไอน์สไตน์ขนาดใหญ่ใส่กรอบเรียบร้อยภาพหนึ่ง เขียนไว้หลังภาพด้วยลายมือนักรักอัจฉริยะ-ให้มาริลีนด้วยรักและขอบคุณหลาย (To Marilyn, with love and tanks. - Albert Einstein)

    ทั้งหมดคือเรื่องราวสตรีของไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ



    หน้า 68
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits.gits.net.th/data/a0000314.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3;</SCRIPT>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE -->
     
  7. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    อีกนิดหน่อยค่ะ... อิ อิ !

    หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9838

    100 ปี"ไอน์สไตน์" 100 ปีแห่งการพลิกโฉมหน้าโลก


    *ปานบัว บุนปาน * เรียบเรียงจาก A century of Einstein ของ Rowan Hooper

    "แรงโน้มถ่วงไม่ได้ดึงให้ผู้คนตกหลุมรัก"

    Gravity is not responsible for people falling in love

    หลายคนอาจไม่รู้ ว่านี่คือคารมคมกริบจากบุรุษผู้เป็นสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ของวงการฟิสิกส์โลก

    "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์"

    เป็นมุมมองความรัก ที่ไม่ยอมหลุดจากหลักการทางฟิสิกส์

    ใครจะนำไปใช้เป่ามนต์สาวๆ วาเลนไทน์นี้ก็ไม่ห้ามกัน

    "ไอน์สไตน์" ถือเป็นไอดอล(idol) แห่งวงการฟิสิกส์ที่ยืนอยู่ในหัวใจคนทั่วโลก

    รูปลักษณ์โดดเด่นเป็นตัวของตัวเอง ด้วยทรงผมยุ่งเหยิง มีแผ่นหนวดหนาทึบเหนือริมฝีปาก และแววตาชาญฉลาด

    แทบไม่น่าเชื่อว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยให้คำจำกัดความกับตนเองว่า

    "ทาสแรงงานจดทะเบียนสิทธิบัตร"

    และบุรุษคนเดียวกันนี้เอง ที่เขียนรายงานเขย่าโลก 5 ฉบับ เกี่ยวกับสสาร พลังงาน และเวลา ที่เปลี่ยนความเชื่อที่มีมาแต่อดีตไปอย่างสิ้นเชิง

    เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ" หักล้างแนวคิดเกี่ยวกับความสัมบูรณ์เดิมของ "นิวตั้น"

    คิดค้น "ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตั้ม" "ทฤษฎีโมเลกุล" รวมถึงแนวคิดอื่นๆ ที่เป็นรากฐานการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์

    เจ้าของสมการระบือโลก E=mc(ยกกำลังสอง) หัวใจหลักในการสร้างระเบิดปรมาณู

    น่าทึ่งที่สุด! ตรงที่ ไอน์สไตน์ได้นำเสนอองค์ความรู้เหล่านั้นทั้งหมดพร้อมๆ กันภายในปี พ.ศ.2448

    จนถึงวันนี้ นับเป็นเวลา 100 ปี พอดี สำหรับการปฏิวัติฟิสิกส์สมัยใหม่ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

    *ประชาคมฟิสิกส์นานาชาติ จึงพร้อมใจกันสถาปนาให้ปี พ.ศ.2548 เป็นปีแห่งฟิสิกส์โลก เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งการค้นพบอันยิ่งใหญ่ให้แก่เขา*

    ทำให้เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ทฤษฎีและปริศนาต่างๆ ที่เกิดจากการบุกเบิกต้นคิดของไอน์สไตน์ จะยังคงเป็นพื้นฐานสำหรับการแสวงหาวิทยาการสมัยใหม่ต่อไป

    --

    ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 1905 *อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์* เสมียนหนุ่มผู้รับผิดชอบการจดสิทธิบัตรประจำกรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ส่งรายงานการค้นคว้าทางฟิสิกส์ที่เขาเพิ่งเขียนเสร็จให้เพื่อนสนิทอ่าน

    ไม่มีใครคาดคิดเลยว่ารายงานหลายฉบับเหล่านั้นจะเป็นจุดกำเนิดของหลักการฟิสิกส์สมัยใหม่ที่เปลี่ยนมุมมองของมนุษย์ต่อโลกใบนี้ตลอดกาล

    รายงานฉบับแรก ไอน์สไตน์ยืนยันถึงการดำรงอยู่ของอะตอม ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในที่นี้เขาศึกษาผ่านกฎการเคลื่อนที่บราวเนี่ยน

    ฉบับที่สอง ซึ่งกลายเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขาที่มหาวิทยาลัยซูริกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหาค่าขนาดของโมเลกุล

    อีกฉบับหนึ่ง ไอน์สไตน์เชื่อว่ามันอาจเป็น "การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แห่งโลกฟิสิกส์" เขาแสดงให้เห็นว่าแสงประกอบด้วยอนุภาคมากกว่าที่จะเป็นเพียงคลื่นอย่างที่นักฟิสิกส์ส่วนมากคิด รายงานฉบับนี้เองที่ทำให้เขาได้รับ *รางวัลโนเบล* ในปี 1921 และเป็นรากฐานของ "ทฤษฎีควอนตั้ม" ในเวลาต่อมา

    แต่ยังไม่หมดแค่นั้นในรายงานฉบับที่สี่ซึ่งยังเป็นแค่ฉบับร่าง ไอน์สไตน์เขียนเล่าให้เพื่อนของเขาฟังว่ามันจะเปลี่ยนความเข้าใจที่เคยมีมาเกี่ยวกับเวลาและอวกาศ

    รายงานชิ้นนี้เองคือต้นกำเนิดของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ลบล้างความเชื่อในเรื่องความสัมบูรณ์ของอวกาศและเวลา

    ที่สำคัญกว่านั้นมันเป็นที่มาของรายงานฉบับที่ห้า ซึ่งนับเป็นฉบับสุดท้ายของปีทองแห่งการค้นพบของไอน์สไตน์ ในฉบับสุดท้ายเขาอธิบายสัมพัทธภาพพิเศษเพิ่มเติม โดยระบุว่า "มวลของวัตถุเป็นเกณฑ์วัดระดับพลังงานของวัตถุนั้นๆ"

    ต่อมาแนวคิดนี้ได้ถูกเขียนในรูปสมการและปรากฏว่าเป็นสมการที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก คือ E=mc2

    ในความเป็นจริงรายงานเพียงแค่ฉบับใดฉบับหนึ่งก็สามารถทำให้ไอน์สไตน์มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักได้ในฐานะนักฟิสิกส์ชั้นนำ แต่เมื่อมีทั้งสิ้นถึงห้าฉบับภายในเวลาปีเดียวไอน์สไตน์จึงนับเป็นอัจฉริยะคนสำคัญของโลก

    และปี 1905 ถือเป็นศักราชแห่งปรากฏการณ์การค้นพบทางฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 เพราะมีการค้นคว้าตั้งแต่เรื่องที่เล็กที่สุดคืออะตอม ไปจนถึงเรื่องที่ใหญ่ที่สุดคือกาลอวกาศ

    100 ปีไอน์สไตน์มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองมากมาย ซึ่งได้เริ่มโหมโรงไปบ้างแล้วตั้งแต่ปี 2002 เมื่อมีการเดินสายจัดนิทรรศการในรูปแบบพิพิธภัณฑ์สัญจรขึ้นตามที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยแห่งเยรูซาเลม, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา, และศูนย์วัฒนธรรมสเกอร์บอลในลอสเองเจลิส

    อย่างไรก็ตาม การเฉลิมฉลองไอน์สไตน์ทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในปีนี้เมื่อนายกรัฐมนตรีเกอร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ แห่งเยอรมนี ประกาศที่กรุงเบอร์ลินในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ให้ปี 2005 เป็น *ปีแห่งไอน์สไตน์*

    ภายในเดือนเดียวกันนั้นเอง องค์การยูเนสโกซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีสได้จัดการประชุมสัมมนาเรื่อง "ฟิสิกส์สำหรับวันพรุ่งนี้"

    ในส่วนของกรุงลอนดอนมีการแสดงจักรยานผาดโผนที่ใช้ชื่อชุดว่า "ไอน์สไตน์ ฟลิป"(Einstein Flip) รวมถึงการเปิดตัวละครบัลเล่ต์เรื่องพิเศษซึ่งอ้างว่าได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดสัมพัทธภาพ ของไอน์สไตน์

    การแสดงชุดนี้มีกำหนดจะแสดงรอบแรกในวันที่ 24 มิถุนายน 2548 เป็นต้นไป

    นอกจากกิจกรรมเหล่านี้แล้วยังมีการจัดสัมมนาย่อย ออกหนังสือใหม่ แข่งขันทำเว็บไซต์ ประกวดเรียงความ และสร้างเกมส์คอมพิวเตอร์ แน่นอนว่ากิจกรรมรำลึกถึงไอน์สไตน์จะมีไปอย่างต่อเนื่องในอีกหลายเมืองหรืออีกหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย

    วัตถุประสงค์ของการจัดงานกิจกรรมต่างๆ นี้เป็นไปเพื่อเผยแพร่ให้เด็กรุ่นใหม่หันมาให้ความสำคัญกับฟิสิกส์หลังจากจำนวนนักเรียนด้านฟิสิกส์ทั่วโลกลดลงเป็นอันมาก ทั้งๆ ที่ฟิสิกส์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงผลกระทบที่จะมีต่อมนุษย์และสังคมด้วย

    *ด้วยความสำคัญของฟิสิกส์ ด้วยความเป็นอัจฉริยภาพของไอน์สไตน์ เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี 1955 ไอน์สไตน์จึงได้เปลี่ยนภาพลักษณ์จากนักวิทยาศาสตร์มาสู่ภาพลักษณ์แห่งมวลมนุษยชาติ*

    หน้า 33


    </TD><!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits.gits.net.th/data/a0000314.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3;</SCRIPT>[​IMG]

    (b-glass) ..โอย ! อ่านซะลูกกะตาห้อยเลย<!-- END WEBSTAT CODE -->
     
  8. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    เทคโนโยลีน่าทึ่ง ! มรดกจากมันสมองไอน์สไตน์

    หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9844

    เทคโนโลยีน่าทึ่ง! มรดกจากมันสมองของไอน์สไตน์


    *กมลทิพย์ ธนะกิจรุ่งเรือง*

    [​IMG]
    "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" บุรุษอมตะเหนือกาลเวลา

    แม้จะจากโลกนี้ไปนับ 100 ปีแล้ว แต่ชื่อของเขายังคงปรากฏอยู่ในตำราวารสารวิทยาศาสตร์แทบจะทุกเล่ม

    ทฤษฎีของเขายังคงถูกนำมาใช้อ้างอิงและถกกันในแวดวงวิทยาศาสตร์

    โลกทั้งโลกยังคงกล่าวขวัญถึงสมการสะท้านโลก E=mc? สูตรสำคัญในการสร้างระเบิดปรมาณู

    ไม่มีใครลืมความหาญกล้าของเขาในการหักล้างแนวคิดเกี่ยวกับความสัมบูรณ์ของอวกาศและเวลาของ "ไอแซก นิวตัน" ด้วยวัยเพียงยี่สิบปีเศษ!

    แม้เขาจะเคยออกตัวแบบข่มตนนิดๆ ไว้ว่า

    "โปรดให้อภัยข้าด้วยท่านนิวตัน ในยุคของท่าน ท่านค้นพบแนวทางที่ทำให้มนุษย์ก้าวขึ้นสู่ระดับปัญญา และพลังแห่งการสร้างสรรค์สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทุกวันนี้แนวคิดของท่านยังคงเป็นประทีปส่องนำการศึกษาในวงการฟิสิกส์ แม้ว่าขณะนี้เราได้ประจักษ์แล้วว่า แนวคิดคิดนี้จะต้องถูกแทนที่ด้วยแนวคิดที่ก้าวไปไกลเกินกว่าขอบเขตของประสบการณ์การรับรู้โดยตรง"

    ส่งผลให้ ไอน์สไตน์กลายเป็นสัญลักษณ์ฟิสิกส์แนวใหม่แห่งศตวรรษที่ 20 ในทันที

    แม้เวลาผ่านมานับศตวรรษ ผลงานและแนวคิดของเขาก็ยังคงเป็นพื้นฐานในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์แทบทุกแขนงอยู่

    ไม่ว่าจะเป็น "การอธิบายปรากฏการณ์โฟโต้อิเล็กทริก" แนวคิดเกี่ยวกับ "การกระตุ้นการแผ่รังสี" หรือการทุ่มเทค้นคว้า "ทฤษฎีสรรพสิ่ง"

    แม้ไอน์สไตน์จะไม่ได้ยืนอยู่บนโลกใบนี้แล้วก็ตาม แต่ทฤษฏีบทต่างๆ ของเขาถูกนำมาพัฒนาต่อยอดผ่านเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างไม่หยุดยั้ง

    นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังยังคงเดินหน้าท้าทาย พิสูจน์ ประยุกต์ผลงานที่หลั่งไหลมาจากสมองไอน์สไตน์แบบไม่หยุดนิ่ง

    การพัฒนาได้ขยายขอบเขตข้ามไปสู่เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

    "หลักการโฟโต้อิเล็กทริก" ของไอน์สไตน์ถูกนำไปประยุกต์สร้างกลไกการทำงานของอุปกรณ์ใช้งานต่างๆ และเป็นหลักการพื้นฐานการทำงานของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจจับแสงแบบต่างๆ เป็นการแปลงพลังงานแสงให้เป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งถูกนำไปใช้ในการผลิตเครื่องคิดเลข นาฬิกา ดาวเทียม ไปจนถึงยานสำรวจดาวอังคารเลยทีเดียว

    ยามที่คุณท่องอยู่บนถนนสายต่างๆ ในยามค่ำคืน คุณเองก็ต้องพึ่งพาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นผลพวงจากแนวคิดของไอน์สไตน์เช่นกัน นั่นคือดวงไฟส่องสว่างที่ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อหมดแสงอาทิตย์

    แม้แต่เครื่องตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจและในเลือดก็อาศัยอุปกรณ์โฟโตอิเล็กทริกของไอน์สไตน์ในการทำงานเช่นกัน

    ไอน์สไตน์เองก็ได้อธิบายลักษณะอันน่าพิศวงของปรากฏการณ์โฟโต้อิเล็กทริกไว้ว่า

    "จำนวนอิเล็กตรอนหลุดออกมาจากโลหะจะขึ้นอยู่กับระดับความเข้มของแสงที่ตกกระทบ แต่ความเร็วในการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่หลุดออกมายังคงเท่าเดิม ไม่ว่าแสงจะสว่างมากหรือสว่างน้อยก็ตาม"

    คำอธิบายเดียวกันนี้เอง ที่ทำให้เขาคว้ารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2464

    ถึงทุกวันนี้ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ของไอน์สไตน์ยังคงถูกพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ

    สะท้อนให้เห็นได้จากอุปกรณ์เครื่องใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันที่เราคุ้นเคย เช่น เครื่องเล่นดีวีดี กล้องดิจิตอล อุปกรณ์เลเซอร์ อุปกรณ์จีพีเอส อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์

    ในวงการวิศวกรก็ได้นำหลักการของไอน์สไตน์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต ไม่ว่าจะเป็นวงการคอมพิวเตอร์ วงการแพทย์ หรือวงการอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป

    "แสงเลเซอร์" ที่ใช้ในเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น เครื่องมือผ่าตัด อุปกรณ์ตัดเจาะ เครื่องชี้ เครื่องวัดระดับ การส่งสัญญาณสื่อสารผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสง ก็ถูกคิดค้นและผลิตขึ้นตามหลักการของไอน์สไตน์ที่อธิบายเกี่ยวกับแสงและอนุภาคที่ว่า

    "อะตอมจะมีระดับพลังงานเพิ่มขึ้นเมื่อดูดซับแสงเข้าไป และมันสามารถปล่อยแสงกลับออกมาได้เอง เพื่อลดพลังงานให้อยู่ในระดับเดิม"

    วิธีการสร้างลำแสงกำลังสูงคือการทำให้ลำแสงสะท้อนกลับไปกลับมาหลายทอดภายในอุปกรณ์ยิงแสงเลเซอร์

    "จีพีเอส" อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลกโดยการอ้างอิงจากระบบดาวเทียม GPS ทั้ง 24 ดวงที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศ และส่งสัญญาณกลับมายังตัวเครื่อง ก็ใช้หลักทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์มาช่วยสร้างความถูกต้องแม่นยำ

    เพราะนาฬิกาบนดาวเทียม GPS จะเดินเร็วกว่านาฬิกาบนพื้นโลก

    หากไม่คำนึงถึงหลักสัมพัทธภาพและแรงโน้มถ่วง จะทำให้การคำนวณผิดพลาดไปจากความเป็นจริง เพราะวงโคจรของดาวเทียมไม่มีความสม่ำเสมอหรือนิ่งอยู่กับที่ บางครั้งดาวเทียมก็โคจรเข้ามาใกล้โลก บางคราวก็เคลื่อนห่างออกไป

    หากเป็นระบบจีพีเอสที่ออกแบบมาเพื่อบอกตำแหน่งในโหมดละเอียดมากๆ จะใช้งานเฉพาะในทางการทหารหรืองานที่ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษจารกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

    ปัจจุบันระบบจีพีเอสถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง และสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่มากขึ้น

    ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องจีพีเอสในการบอกตำแหน่งในหมู่นักเดินป่ารุ่นใหม่ไฟแรงประเภทกระเป๋าหนัก

    หรือจะเป็นการติดตั้งระบบจีพีเอสในรถยนต์คันหรู เพื่อบอกรายละเอียดว่ารถยนต์ของท่านกำลังวิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่ อยู่ในทิศทางใด

    แม้แต่โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ก็พยายามนำระบบจีพีเอสมาใช้งานด้วยเช่นกัน

    ในอนาคตเชื่อว่าจะยังคงมีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่รังสรรค์ขึ้นจากหลักการและแนวคิดของไอน์สไตน์หลั่งไหลออกมาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น

    เป็นเครื่องยืนยันถึงความยิ่งใหญ่ท้าทายกาลเวลา ของบุรุษผู้ยืนอย่างโดดเดี่ยวในวงการวิทยาศาสตร์ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" (ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจากหนังสือ ก้าวพ้นกรอบไอน์สไตน์)

    หน้า 32


    </TD><!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits.gits.net.th/data/a0000314.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3;</SCRIPT>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE -->
     
  9. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    ความฝันของไอน์สไตน์

    หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9844

    ความฝันของไอน์สไตน์


    โดย ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ siripong@kidtalentz.com

    ในช่วงเดือนสองเดือนมานี้ชะตากรรมผลักไสผมไปทำในสิ่งที่ไม่อยากทำมาก่อนในชีวิต นั่นก็คือ ต้องขึ้นไปให้ดีเจสัมภาษณ์ให้คนฟังในที่สาธารณะ สัมภาษณ์แบบเห็นตัวกันซะด้วย นับเป็นงานหนักหนาสาหัสสากรรจ์สำหรับผม แต่เป็นสิ่งที่ปฏิเสธกันได้ยาก ครั้งแรกนั้นจอดไม่ต้องแจว ไอ้ผมมันพวกถามคำตอบครึ่งคำอยู่แล้ว ดีเจเขาก็เลยถามไม่ออก แต่ครั้งที่สองดีขึ้นหน่อย เพราะดีเจไม่หยุดถาม ผมก็ต้องพยายามตอบไปเรื่อยๆ

    เรื่องที่เขาลากผมขึ้นไปคุยนั้นตั้งหัวข้อเอาไว้ซะเก๋ คือ รู้ลึกเรื่องไอน์สไตน์ ซึ่งมีเหตุมาจากในโอกาสปีไอน์สไตน์ หรือปีฟิสิกส์โลก แล้วแต่จะถนัดเรียก สำนักพิมพ์มติชนพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับไอน์สไตน์ออกมาสามเล่ม เป็นเรื่องราวเกี่ยวทฤษฎีของไอน์สไตน์และความคืบหน้าจนมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งผลสะเทือนต่างๆ จากไอน์สไตน์ในชื่อว่า "ก้าวพ้นกรอบไอน์สไตน์"

    อีกเล่มหนึ่ง หนังสือกึ่งสมุดบันทึก "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" รวบรวมวาทะของไอน์สไตน์ที่ลึกซึ้งและเฉียบคมเอามาไว้ให้อ่าน พร้อมทั้งเหลือพื้นที่หน้าว่างๆไว้ให้เจ้าของบันทึกอะไรของตัวเองลงไปด้วย

    ส่วนเล่มที่สามคือ "ความฝันของไอน์สไตน์" ซึ่งน่าจะเป็นจุดหลักของการสนทนา เล่มนี้แตกต่างออกไปเพราะเป็นนิยายที่แต่งขึ้นโดย อลัน ไลต์แมน นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงทางด้านการเขียนมากกว่างานด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ความฝันของไอน์สไตน์" นั้นถือเป็นงานชิ้นเอกของเขาเลยทีเดียว แต่นิยายที่อลัน ไลต์แมน เขียน อีกสามเล่มที่ตามมาก็ได้รับความชื่นชมไม่แพ้กัน โดยเฉพาะความโดดเด่นในการสร้างจินตนาการ สร้างความใหม่ให้กับแวดวงนิยายที่เขียนๆ กัน

    ปัญหาอยู่ตรงที่ชื่อ "ความฝันของไอน์สไตน์" เมื่อเข้าไปในจุฬาบุ๊ค.คอม มันถูกจัดหมวดเข้ากับพวกหนังสือวิทยาศาสตร์ไปเสียนี่(ฮา)

    ขึ้นชื่อว่านิยายก็เป็นเรื่องแต่งละครับ เพียงแต่ในความฝันของไอน์สไตน์นั้น ตัวเอกคือ ไอน์สไตน์ ส่วนเรื่องเนื้อเรื่องใหญ่ๆ คือ ความฝันของไอน์สไตน์ ซึ่งอยู่ในช่วงราวเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2448 ซึ่งรู้กันว่าเป็นช่วงที่ไอน์สไตน์คร่ำเคร่งอยู่กับทฤษฎีเวลาหรือทฤษฎีสัมพัทธภาพอันโด่งดัง

    เกือบทุกวันที่ไอน์สไตน์ในนิยายเรื่องนี้นอนหลับและฝันถึงโลกที่เวลาเดินไปในแบบต่างๆ ไม่เหมือนกันเลย เช่น เวลาเดินหมุนวนกลับเป็นวงกลมไม่รู้จบ, เวลาเดินช้า,เดินเร็ว, เวลาเหลื่อมซ้อนกัน ไปจนถึงโลกที่เวลามีเพียงวันเดียว, โลกที่คนมองเห็นอนาคต หรือโลกที่มีเพียงสองมิติ ฯลฯ

    ในแต่ละโลกของเวลาแบบต่างๆ นั้น อลัน ไลต์แมน บรรยายถึงชีวิตของผู้คนในเวลาแบบนั้นๆ เพราะฉะนั้น ความฝันของไอน์สไตน์ในแต่ละตอนเหล่านี้จึงไม่ได้เป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องกันแบบนิยายโดยทั่วๆ ไป คาดหวังการเดินเรื่องหรือพล็อตเรื่องแบบนิยายปกติไม่ได้ เนื่องจากมันเป็นนิยายคนละแบบ ทว่าความฝันในแต่ละแบบนั้นเมื่ออ่านแล้วจะรู้สึกได้ถึงการล้อเลียนเสียดสีชีวิตในโลกใบนี้ของเรานี่แหละ เพียงแต่ว่าผู้เขียนไม่ได้พูดออกมาตรงๆ เท่านั้นเอง

    มีอยู่ความฝันหนึ่ง อ่านทีไรอดนึกขันไปด้วยไม่ได้ทุกครั้งก็คือ ความฝันถึงโลกซึ่งหลังจากคนรู้ว่ายิ่งห่างจากจุดศูนย์กลางของโลกเท่าไร เวลาก็ยิ่งเดินช้าลง คนก็เลยแห่กันอพยพไปอยู่บนภูเขา แถมยังสร้างบ้านขึ้นบนยอดเสาที่อยู่ยอดภูเขาไปโน่น เพื่อรักษาความเยาว์วัยแห่งชีวิตไว้ให้เนิ่นนานที่สุด

    พูดง่ายๆ อยากตายช้านั่นแหละครับ

    หลับตานึกภาพภูเขาที่มีเสาสูงเสียดฟ้าเต็มไปหมดแล้วบนยอดเสามีบ้านคนดูเอาก็แล้วกัน คนข้างบนมองคนที่อยู่ต่ำกว่าอย่างดูหมิ่นถิ่นแคลน คนต่ำกว่าก็อิจฉาคนอยู่สูง

    นึกถึงความบ้าชาเขียวในบ้านเราปัจจุบันก็ไม่น่าต่างกันเท่าไรนัก

    ผมถูกถามซ้ำสองครั้งว่าคนที่จะอ่านนิยายเรื่องนี้รู้เรื่องจำเป็นต้องรู้ทฤษฎีของไอน์สไตน์หรือไม่ คำตอบถ้าถึงขนาดต้องรู้ทฤษฎีของไอน์สไตน์แล้วอ่านนิยายรู้เรื่องนี่ โลกนี้จะเหลือคนไม่กี่คนหรอกที่อ่านมันรู้เรื่อง อีตอนถูกถามบนเวทีผมคิดคำตอบไม่ค่อยออก ได้แต่ตอบไปตรงๆ ว่าไม่ต้องรู้

    อันที่จริงอาจยกตัวอย่างการดูหนังเรื่อง แบ๊ค ทู เดอะ ฟิวเจอร์ ก็ได้ เรื่องนี้ก็อาศัยทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เช่นกันในการเดินทางย้อนเวลา

    เห็นดูกันได้ดูกันดีทั้งลูกเล็กเด็กแดงไม่มีใครต้องไปรู้อะไรเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพแม้แต่น้อย

    หน้า 6<
     
  10. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,227
    ค่าพลัง:
    +10,593
    ข้อมูลปึ๊ก และ เยอะมากเลยฮะ สรุปว่าสมองไอน์สไตน์ไม่เหมือนคนปกติสิเนี่ย
     
  11. nonest

    nonest สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +18
    (f) สวัสดีค่ะคุณ Zipper ข้อมูลเกี่ยวกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ส่วนใหญ่ ค้นคว้าหานอ่านจากห้องสมุดที่ทำงานบ้าง , ซื้อหนังสือใหม่ ๆ ที่ตีพิมพ์ ของสำนักพิมพ์.., และที่สำคัญคือ จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด ในเครือมติชนค่ะ อ่านและติดตาม มาประมาณ 1 เดือนแล้วค่ะ ตั้งใจมาโพสท์ เพื่อให้ทุกท่านได้เพิ่มพูนความรู้และจินตนาการ (สำนวนนี้คุ้น ๆ ...อิ อิ...! ):555:


    > ยังมีหนังสืออีก 3 - เล่ม เกี่ยวกับ ไอน์สไตน์ ที่กำลังอ่าน ๆ อยู่ค่ะ ...สายตา ไม่ค่อยไหวค่ะ...=*_*= ....(*)
     
  12. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,227
    ค่าพลัง:
    +10,593
    เคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับทฤษฏีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์เหมือนกันนานมาแล้ว รู้สึกว่าเค้าใช้จินตนาการในการคิดทฤษฏีเค้าเยอะเหมือนกัน
     
  13. ธุลีดิน

    ธุลีดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2004
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +156
    สรุปแล้ว สนใจน่าอ่านแต่ว่ายาวมากๆ...
    เอาไว้จะมาอ่านต่อวันหลังครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...