นั่งสมาธิแล้วเกิดปัญญาขึ้นได้จริงหรือ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย dreamlnw002, 24 มีนาคม 2012.

  1. dreamlnw002

    dreamlnw002 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +11
    <a href="http://www.mypicza.com/view.php?image=8f2de3cc6c3d1d6f4ddea723cc673ab2.jpg"><img src="http://www.mypicza.com/thumbs/8f2de3cc6c3d1d6f4ddea723cc673ab2.jpg" alt="ฝากรูป" ></a><BR><a title= href="http://game.happymass.com/cooking/"><font size="1"></font></a> <a href="http://game.happymass.com/action/"font size="1"/font></a> <a href="http://game.happymass.com/vegetable/"font size="1"/font></a><BR>


    เป็นปัญหาที่เป็นที่สงสัยกันเป็นอย่างยิ่งว่า การปฏิบัติสมาธิต่างๆเช่นการปฏิบัติสมาธิอย่างมีรูปแบบแผน เช่น การนั่งสมาธิดังที่นิยมปฏิบัติกันโดยทั่วไปนั้น ทำให้เกิดปัญญาขึ้นจริงหรือเปล่า จะว่าจริงก็ถูก จะว่าไม่จริงก็ถูก เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น จึงต้องจำแนกแตกธรรมกันให้ถูกต้อง
    นักปฏิบัติโดยทั่วไป มักเชื่อถือกันโดยอธิโมกข์ว่า เมื่อปฏิบัติสมถสมาธิเช่นการนั่งสมาธิได้ดีงามแล้วจะทำให้เกิดปัญญาผุดขึ้นได้นั้น ยังเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไม่ถูกตรงตามความเป็นจริงอย่างแท้จริง ยังเป็นความเชื่ออย่างผิดๆ สามารถกล่าวได้ว่าสมาธิมิได้ทำให้เกิดปัญญาโดยตรงๆ ดังจะเห็นว่า สมาธินั้นก็มีการปฏิบัติกันในหมู่อัญญเดียรถีร์กันอย่างแพร่หลายมาช้านานก่อนพุทธกาลเสียอีก แถมบางศาสนานั้นทั้งฝึกฝนทั้งแกร่งกล้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งต่างล้วนมีหลักสำคัญเหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้น กล่าวคือ การปฏิบัติที่มีจุดประสงค์อยู่ที่ การทำให้จิตแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันเป็นอารมณ์อย่างใดก็ได้ เพราะเป็นเพียงอุบายคือวิธีให้จิตรวมแน่วแน่เป็นหนึ่ง อารมณ์นั้นพึงแตกต่างกันไปตามจริต ความเชื่อ ความเข้าใจ คำสั่งสอน ฯลฯ เท่านั้น ดังเช่น ในพุทธศาสนิกชน ก็มักใช้ พุทโธบ้าง สัมมาอรหังบ้าง ยุบหนอพองหนอบ้าง ลมหายใจบ้าง การเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ฯลฯ. ส่วนในศาสนาอื่นๆก็อาจใช้พระนามของพระเจ้าของตนเป็นอารมณ์ ฯลฯ. เมื่อปฏิบัติได้ดีแล้ว กล่าวคือแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ที่กำหนดได้อย่างดีงามแล้ว ใจย่อมไม่ซัดส่ายสอดแส่ ก็ย่อมล้วนยังให้เกิดสมาธิกันถ้วนหน้า ที่ย่อมอาจเกิดฌานตามมาได้อีกเช่นกัน ผลของสมาธิที่เกิดขึ้นโดยตรงคือ ความสงบ จึงเกิดความสุข ความสบายต่างๆเป็นผลตามมา แม้แต่องค์ฌานทั้งหลายอีกด้วยในที่สุด ดังนั้นผลโดยตรงของการปฏิบัติสมาธิจริงๆแล้ว ก็คือความสงบ ความสุข ความสบาย ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ก็มีข้อเสียที่แอบนอนซ่อนเงื่อนอยู่อีกด้วย โดยไม่ค่อยรู้หรือกล่าวถึงกัน กล่าวคือ เมื่อไม่ได้นำไปเจริญวิปัสสนาคือการนำความสงบไม่ซัดส่ายนั้นไปพิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ก็จะเกิดการติดสุข ในฌานสมาธิขึ้น อันเป็นผลเสียอย่างรุนแรงในภายหน้า

    แต่ถึงแม้สมาธิมิได้ยังให้เกิดปัญญาขึ้นโดยตรงดังกล่าวเบื้องต้น เพียงแต่ยังให้เกิดความสงบ ความสุข ความสบาย แต่สมาธินั้นนั่นเองสามารถเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญาขึ้น กล่าวคือ เมื่อนำไปเป็นเครื่องอุดหนุนคือเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาขึ้น คือนำสมาธิที่ยังให้เกิดความสงบสุขสบาย ที่ย่อมไม่ซัดส่ายออกไปฟุ้งซ่าน คือระงับความดำริพล่านลงไปเสียได้นั้น ไปในการใช้ความคิดพิจารณาในธรรมต่างๆ ให้เห็นความจริงต่างๆอย่างแจ่มแจ้งคืออย่างปรมัตถ์ ดังเช่น ปฏิจจสมุปบาท, ขันธ์ ๕, อริสัจ๔, พระไตรลักษณ์, สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ. อันพึงพิจารณาเลือกได้ตามจริต สติ สมาธิ ปัญญาแห่งตน ในกรณีเยี่ยงนี้ ก็ถือว่า สมาธิยังให้เกิดปัญญา อันเป็นไปดังคำกล่าวที่ว่า

    สมาธิปริภาวิตา ปญฺญามหปฺผลา โหติ มหานิสํสา"

    สมาธิเป็นเครื่องหนุนปัญญา

    ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า นั่งสมาธิแล้วเกิดปัญญาขึ้นได้ ที่ถูกต้องอย่างแท้จริงหรือปรมัตถ์แล้วจึงควรเป็น การนั่งสมาธิหรือการปฏิบัติสมถสมาธิเป็นเครื่องหนุนให้เกิดปัญญา เมื่อนำไปใช้ในการพิจารณาธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2012
  2. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผลแห่งสมาธิ จะทำให้ทนอยู่ในสิ่งที่ยากจะทนอยู่ได้ จึงเป็นรากฐานที่จะทำให้เกิดปัญญา

    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  3. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    นั่งสมาธิแล้วเกิดปัญญาขึ้นได้จริงหรือ?<!-- google_ad_section_end -->


    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    ไม่จริงเสมอไปครับ สมาธิเป็นเพียงเกื้อกูลเท่านั้นคือไม่ได้เจาะจง
    ต้องมีเจตสิกอื่นๆ อีกมากที่มาเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ปัญญาเกิด
    เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัป อโลภ อโทส เป็นต้น
    ถ้าขาดสิ่งที่เป็นปัจจัยเหล่านี้เสียแล้วปัญญาก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
    เหมือนว่า รถคันหรูถ้าขาดสะกรูตัวเล็กๆ รถคันนั้นจะหรูไปไม่ได้เลย
    ก็คือกองเศษเหล็กไปเป็นธรรมดา
    และสมาธิก็ไม่ได้เกิดจากท่านั่งอย่างเดียว
    สมาธิเกิดขึ้นได้ทุกกิริยาบท ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2012
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา

    ไม่ยำเกรงในสมาธิ เป็นหนึ่งที่ทำให้พระสัทธรรมเลือนหาย
     
  5. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +4,062
    โอ้โฮ..พี่ปราบผมหล่ออีกแล้ววันนนี้..ผมนึกว่าท่านขันธ์ ทำให้สมาธิเสื่อมเสียอีก..!:cool:
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



    ๕. สมาธิสูตร
    ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา

    [๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
    *เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ
    . ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็น
    จริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความ
    เกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่ง
    วิญญาณ.

    [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่ง
    เวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
    วิญญาณ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่.
    ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร. ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
    ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป
    นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความ
    เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ
    ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
    ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น
    ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
    โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็น
    ความเกิดแห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.

    [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา
    อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่.
    ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร. ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อม
    ไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความ
    ยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
    ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุย่อมไม่
    เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
    ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
    ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความ
    ยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
    ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับ
    แห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
    จบ สูตรที่ ๕.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๙๓ - ๓๓๑. หน้าที่ ๑๓ - ๑๔.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=293&Z=331&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2012
  7. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +1,009
    สมาธิเป็นเครื่องหนุนให้เกิดปัญญา ล่ะถึงถูก แต่สมาธิทำให้เกิดปัญญาอ่ะผิด ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ การใช้ตรรกะในการเทียบเคียงกับความรู้เดิม เพื่อตรวจสอบความรู้ที่ได้รับมาใหม่
    เมื่อมีการแน่วแน่หรือต้องวิเคราะห์พิจารณาสิ่งใด การทำให้มีสมาธิจะทำให้มีความตั้งใจความแน่วแน่ในการเปรียบเทียบกับความรู้ที่มีอยู่แล้วกับความรู้ใหม่ หรือปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ เพื่อค้นหาแนวทางในการแก้ไข
     
  8. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    พระอาจารย์ลี ธัมมธโร ท่านกล่าวไว้ว่า หากปฏิบัติได้ถึงฌาณ 4
    อยากรู้อะไร เพียงแต่คิดอยากรู้ ก็รู้ขึ้นมาเอง ...............

    ถ้าไม่จริง พระท่านคงไม่กล้าพูดหรอก คงต้องพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง
    เรายังไม่ถึง พูดไปก็ไม่เชื่อ อย่างบอกว่า ผีมีจริง เราก็ไม่เคยเห็น

    แต่คนที่เห็นเขาเชื่อ .........มันก็ประเภท ปลากับเต่า นั่นแหละครับ.
     

แชร์หน้านี้

Loading...