สุดยอดวัตถุมงคลที่ปลุกเสกหมู่มีอะไรบ้างครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย windman, 23 มีนาคม 2012.

  1. ghostlinux

    ghostlinux เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,496
    มวลสารสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตลดา / สมเด็จนางพญา สก. 2519

    1. ผงดอกไม้พระราชทานเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2517
    2. ผงธูปพระราชทาน
    3. ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้า ฯ ทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในเทศกาลเข้าพรรษา 2517
    4. ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้า ฯ ทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศ
    5. ผงธูปและดอกไม้หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
    6. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร
    7. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
    8. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์แปลง วัดป่าอุดมสมพร
    9. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์อุทัย วัดป่าขอนแก่น
    10. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก
    11. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์แว่น วัดสุทธาวาส
    12. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์สุวัจ วัดถ้ำศรีแก้ว
    13. ผงธูปและดอกไม้ พระอาจารย์อุ่น วัดป่าบ้านโคก
    14. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดราชบพิธ
    15. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ
    16. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระพระญาณสังวร
    17. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    18. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระสังฆราช (วาส วาสโน)
    19. ผงธูปและดอกไม้ จากห้องปฏิบัติกรรมฐาน ณ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
    20. ผงดอกไม้ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    21. ผงดอกไม้ จากพระอุโสถ วัดเทพศิรินทราวาส
    22. ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน และวัดอัมพวา
    23. ผงดอกไม้ ผงธูปบูชาในพระบรมเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย
    24. ผงนพปดลมงคลเศวตฉัตร พระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศ
    25. ผงพระสมเด็จโต วัดระฆัง
    26. ผงพระ พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม
    27. ผงพระ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    28. ผงปูนกระเทาะจากองค์พระธาตุพนม
    29. ผงปูนกระเทาะจากองค์พระทอง วัดไตรมิตร
    30. ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม
    31. ผงพระวัดสามปลื้ม
    32. ผงพระหลวงปู่โต๊ะ
    33. ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    34. ผงธูป ทองเปลว ศาลกรมหลวงชุมพร ฯ จ.ชุมพร
    35. ผงธูป ทองเปลว พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
    36. ผงกระเบื้องหลังคาวิหาร วัดพระบรมธาตุไชยา
    37. ผงพระสมัยศรีวิชัย
    38. ผงพระสมัยทวารวดี พบที่ใต้ฐานอุโบสถ วัดเกาะ นครศรีธรรมราช
    39. ผงดอกไม้ 99 ชนิด วัดดอนรัก สงขลา
    40. ผงว่าน 99 ชนิด วัดดอนรัก สงขลา
    41. ผงวิเศษ จากถ้ำเสือ กระบี่
    42. ผงกระเบื้อง พระธาตุลำปางหลวง
    43. ผงธูป พระธาตุลำปางหลวง
    44. ผงอิฐพระธาตุลำปางหลวง
    45. ผงอิฐโบราณ พระปรางค์ลพบุรี
    46. ผงพระเครื่องเกจิอาจารย์ จาก 16 วัด
    47. ผงพุทธคุณ อธิษฐานโดย ท่านเจ้าคุณนร ฯ พิธีเสาร์ 5 ปี 2513
    48. ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร
    49. ผงพระ 25 พุทธศตวรรษ
    50. ผงธูปดอกไม้ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
    51. ผงกระเทาะ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
    52. ผงตะไคร่ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
    53. ผงว่าน 108 ชนิด จากนครศรีธรรมราช
    54. ผงเกจิอาจารย์ จากวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
    55. ผงกระเทาะองค์พระ ในพระฐานบริเวณพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
    56. ผงธูปจากพระพุทธบาท สระบุรี
    57. ผงธูป จาก พระพุทธฉาย
    58. ผงธูปจากที่บูชาพระพวย วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
    59. ผงธูปจากที่บูชาพระปัญญา วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
    60. ผงธูปจากที่บูชาพระศรีอาริย์ วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
    61. ผงทอง จาก พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
    62. ผงทองจากพระพุทธบาท สระบุรี
    63. ผงทองจากพระนอนองค์ใหญ่ วัดพระเชตุพน
    64. ผงทองจากพระพุทธฉายสระบุรี
    65. ผงกระเทาะจาก พระนลาฏ หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
    66. ผงกระเบื้องจากองค์พระปฐมเจดีย์
    67. ผงอิฐ ปูน รัก ทอง จากพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศ
    68. ผงเม็ดพระศก หลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ
    69. ผงพระสมเด็จ ธมฺมวิตกฺโก
    70. ผงผ่านพิธีพุทธาภิเษกสำคัญ ต่าง ๆ ได้แก่
    1. พิธีพุทธาภิเษก วัดราชบพิธ ปี 2512 , 2513 , 2514
    2. พิธีพุทธาภิเษก วัดหัวลำโพง ปี 2513
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ปี 2512 , 2513
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดธาตุทอง ปี 2513
    5. พิธีพุทธาภิเษก วัดชิโนรส ปี 2512 , 2513
    6. พิธีพุทธาภิเษก วัดอัมพวา ปี 2512 , 2513
    7. พิธีพุทธาภิเษก วัดพิกุลทอง ปี 2513
    71. ผงสตตัปดลมงคลเศวตฉัตรพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ
    72. ผงกระจก , รัก จากฐานพระหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ
    73. ผงทองจากองค์หลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ
    74. ผงบัวหัวเสา พระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ
    75. ผงลายรวงผึ้ง หน้าพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ
    76. ผงกระเบื้องหลังคา พระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ
    77. ผงกระเบื้องหลังคา พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวนนิเวศ
    78. ผงดิน ทราย พระพุทธชินสีห์ ซึ่งในหลวงทรงเททอง ณ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
    79. ผงปูน รัก ทอง กระจก จากเสา พระอุโบสถ วัดบวนนิเวศ
    80. ผงกระจกหน้าบัน หน้าพระอุโบสถ วัดราชบพิตร
    81. ผงธูปหน้าพระไสยาสน์ วัดพระเชตุพน
    82. ผงธูป ศาลลูกศร ลพบุรี
    83. ผงใบลานชาญวิชา 108 คัมภีร์ วัดบวรนิเวศน์
    84. ผงอิฐ ฝาผนัง พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศน์
    85. ผงเกจิอาจารย์ วัดราชธิวาส
    86. ผงทรายแก้ว เกาะหมู จ.ตรัง
    87. ผงไม้กลายเป็นหิน จ.สุรินทร์
    88. ผงตะกั่วในพิธี 100 ปี วชิรญาณานุสรณ์วัดบวรนิเวศน์ ปี 2515
    89. ผงดินใจกลางเมืองหงสาวดี
    90. ผงอิฐจากฐานพระพุทธบาท วัดบวรนิเวศน์
    91. ผงหินทราย ในพัทธสีมาพระอุโสถ คณะบวรรังสี วัดบวรนิเศน์
    92. ผงปูน ทราย เสาพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน
    93. ผงจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ในอินเดีย (ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน)
    94. ผงทองของท่านเจ้าคุณนร ฯ วัดเทพศิรินทร์ ซึ่งท่านอธิษฐานจิตให้ เมื่อ ปี 2513
    95. ผงธูป หลวงพ่ออี๋ วัดสัตXXบ
    96. ผงธูปจาก ศาลพระกาฬ ลพบุรี
    97. ผงหินทรายจากขอนแก่น มีธาตุยูเรเนียม
    98. ผงหินดานที่ความลึก 2220 ฟุต เชียงใหม่
    99. ผงนิลกาฬ จ. กาญจนบุรี
    100. ผงตะกั่ว ในพิธี 50 ปี (พระมหาสมณานุสรณ์ ปี 2513 วัดบวรนิเวศ)
    101. ผงหอย 75 ล้านปี จ.กระบี่
    102. ผงทองพระมงคลนิมิต ซึ่งในหลวงเททอง ปี 2515 ณ วัดบวรนิเวศ
    103. ผงสะเก็ดระเบิดภูเขาไฟลาวา ฟิลิปปินส์
    104. ผงกะเทาะจากองค์พระเจดีย์ วัดราชผาติการาม
    105. ผงทอง พระขาว ปากพนัง นครศรีธรรมราช
    106. ผงเขี้ยวหนุมาน นครศรีธรรมราช
    107. ผงโมกุล ลำนารายณ์ ลพบุรี และผงโป่งขาม
    108. ผงพระสมด็จแสน วัดพระเชตุพน
    109. ผงดอกไม้ 108 จาก วัดโพธิ์แมน
    110. ผงหิน พระบรมเจดีย์ บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย
    111. ผงพระวัดพลับ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

    112. ผงพระสมเด็จโต และผงพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้สะสมไว้ ตั้งแต่ 2503 - 2517
    113. ผงเมล็ดพระศรีมหาโพธิ์ 100 ปี วัดบวรนิเวศ
    114. ผงขี้เถ้า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 100 ปี วัดบวรนิเวศ
    115. ผงทอง พระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์
    116. ผงธูป ดอกไม้ที่บูชาพระของ หลวงปู่เทศ เทศก์รังสี
    117. ผงทอง ผงธูป พระพุทธชินราช พิษณุโลก
    118. ผงธูปจากพระอุโบสถ วัดราชาวาส
    119. ผงแร่อาร์ซีโนไรท์ เชียงราย
    120. ผงแร่ไบโอไรท์ อุทัยธานี
    121. ผงแร่โบรไม
    122. ผงแร่เฟลด์สปาร์ ตาก
    123. ตะกั่ว กาญจนบุรี
    124. ยิปซั่ม พิจิตร
    125. ผงแร่หล็ก จากท่าลาน นครศรีธรรมราช
    126. ลิกไนท์ ลำปาง
    127. ผงแร่มัสโคไวท์ อุทัยธานี
    128. หินดำดานน้ำมัน ตาก
    129. ผงแร่ไพไรท์ เพชรบูรณ์
    130. ผงแร่ไดไรฟิลไลท์ เชียงราย
    131. ผงแร่สติปไนท์ ระยอง
    132. ผงแร่เวฟเวลไลท์ เลย
    133. สังกะสี ตาก
    134. ผงแม่เหล็ก ลพบุรี
    135. แร่ดินเผา ลำปาง
    136. ฮโทบาไซท์ ลพบุรี
    137. เพทาย จันทบุรี
    138. ข้าวตอกพระร่วง สุโขทัย
    139. ผงแร่แบไรท์ เลย
    140. ผงแร่ดีบุก ลำปาง
    141. ผงแร่ทองแดง พิษณุโลก
    142. ผงแร่ฟลูออไรท์ กาญจนบุรี
    143. ผงแร่แกรไพท์ ( ตะกั่วดำ) นครศรีธรรมราช
    144. ผงแร่ฮีมาไดท์ สุโขทัย
    145. ผงแร่เคโอลิไนท์ ชลบุรี
    146. ผงแร่ลิปิโดไลท์ ชุมพร
    147. ผงหินออบซิเดียม สุโขทัย
    148. ผงแร่โปลิอาไนท์ เลย
    149. ผงแร่ควอร์เทซ์ จันทบุรี
    150. ผงแร่เทคไตท์ ภาคอีสาน
    151. ผงแร่วุลแฟลม ประจวบคีรีขันธ์
    152. ผงแร่พลวง กาญจนบุรี
    153. ผงแร่แคลไซท์ สระบุรี
    154. ผงแร่ใยหิน อุตรดิตถ์
    155. ทับทิม ตราด
    156. พลอยดำ จันทบุรี
    157. ผงแร่ไพโรลูไรท์ กาญจนบุรี
    158. ผงธูป 108 ผงว่าน 108 จากภาคอีสาน
    159. ผงปลุกเสกโดย
    - หลวงปู่แหวน สุจิณโณ 3 เดือน
    - หลวงปู่ขาว อนาลโย 3 เดือน
    - หลวงปู่บุญ ชินวังโส 3 เดือน
    - หลวงปู่ฝั้น อาจาโร 3 เดือน
    - พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ 3 เดือน
    160. ผงธูป ผงทอง หลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา
    161. ผงใบพระศรีมหาโพธิ์ อินเดีย
    162. ผงหินทรายลึก 600 ฟุต จากวังน้อย อยุธยา
    163. ผงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    164. ผงของหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
    165. ผงหินน้ำมันใต้ทะเลลึก 1000 ฟุต
    166. ผงดิน - หิน บนยอดดอยอินทนนท์ เชียงราย
    167. ไมกา และข้าตอกฤาษี ที่ดอยอ่างขาง
    168. ผงธูปและทราย พระธาตุดอยตุง
    169. ผงอิฐใต้ฐานพพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังสี วัดบวนนิเวศ
    170. ผงดอกไม้ปลุกเสกโดยหลวงปู่ขาว อนาลโย
    171. ผงธนบัตร 2000 ล้านบาท
    172. ผงอิฐยอดเจดีย์ยักษ์ นครศรีธรรมราช
    173. เส้นพระเกศาสมเด็จพระสังฆราชหลายพระองค์
    174. เส้นเกศาพระอริยสงฆ์
    - สมเด็จพระญาณสังวร
    - เส้นเกศาสมเด็จพระวันรัต
    - เส้นเกศาพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
    - เส้นเกศาหลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    - เส้นเกศาพระอาจารย์ชอบ ฐานสโม
    - เส้นเกศาพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    - เส้นเกศาพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปัณโณ
    - เส้นเกศาหลวงปู่ขาว อนาลโย
    175. ผงอิฐและกระเบื้อง พระอุโบสถ วัดราชาวาส
    176. ผงอิทธิเจ หลวงปู่โต๊ะ
    177. ผงเข้าพิธีเสด็จพระราชดำเนินพุทธาภิเษก สมเด็จพระนเรศวร ณ อุโบสถ วัดบวรนิเวศ 8 พ.ย. 2518
    178. ผงอิฐรากฐานพระธาตุพนม
    179. ผงตะไคร่ 108 เจดีย์
    180. ผงดอกไม้มงคล 100 ชนิด
    181. ผงว่านต่าง ๆ 100 ชนิด
    182. ผงธูปในพระอุโบสถ 108 วัด
    183. ผงอิฐเจดีย์พระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
    184. กระเบื้องพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    185. ปูนหน้าบัน พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส
    186. ผงประหลาดโบราณในถ้ำ อ.ปากท่อ ราชบุรี
    187. ฉัตรพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่
    188. ผงดอกไม้หน้าที่บูชาสมเด็จ ฯ และท่านเจ้าคุณนร ฯ วัดเทพศิรินทราวาส
    189. ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ วัดพระศรีศาสดาราม
    190. ผงเข้าพิธีพุทธาภิเษก 2513 , 2514 , 2515
    191. ผงเข้าพิธีพุทธาภิเษก วัดราชผาติการาม 28 ก.ย. 2517
    192. ผงเข้าพิธีพุทธาภิเษก วัดสัมพันธวงศ์ 29 ธ.ค. 2517
    193. ผงเข้าพิธีพุทธาภิเษก วัดป่าอุดมสมพร 2514
    194. ผงหิน ทราย วัดโบราณ เกาะบาหลี อินโดนีเซีย
    195. ผงธูปไม้จันทร์ พุทธวิหาร กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
    196. ผงธูป ณ อริยทีปอาราม กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
    197. ผงธูป ปูชนียวัตถุ มหาธรรมโลกวิหารสมารัง อินโดนีเซีย
    198. ผงสะเก็ดระเบิดภูเขาไฟ อินโดนีเซีย
    199. ผงธูปในอุโบสถ วัดอามันทเมตยาราม สิงคโปร์


    ผงทั้งหมดนี้ ก่อนที่จะนำไปผสมสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก. ได้ประกอบพิธีปลุกเสกผงด้วยคาถาชินบัญชร 108 คาบ และ อิติปิโส 108 คาบ ณ พระอุโบสถ วัดมกุฏกษัตริยาราม สำหรับพระผงสมเด็จพระอุณาโลม ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างตามแบบพระผง ”จิตรลดา” ขนาดเท่าของจริงทุกประการ และได้ใช้ผงชนิดเดียวกับพระสมเด็จนางพญาส.ก.
     
  2. ghostlinux

    ghostlinux เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,496
    พิธีพุทธาภิเษก

    เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก 7 วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯ เมื่อวันที่ 5-11 ก.ค. 2519

    รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสกและเจริญพุทธมนต์พระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตลดา - นางพญา สก. 2519

    1. วันจันทร์ 5 ก.ค. 2519 เวลา 17.00 น.
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    2. พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    4. หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา
    5. พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
    6. พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย
    7. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป
    1. สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม
    2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
    3. สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ
    4. พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ
    5. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม
    6. พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
    7. พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
    8. พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม
    9. พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์
    10. พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม

    2. วันอังคาร 6 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    2. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    3. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    5. หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด
    6. พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
    7. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

    3. วันพุธ 7 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    2. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    3. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    5. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
    6. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    7. หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ
    8. หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี
    9. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    10. หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด

    4. วันพฤหัสบดี 8 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    3. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    4. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    5. พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    6. หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
    7. หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช
    8. หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย
    9. พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย

    5. วันศุกร์ 9 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    3. หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    4. หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
    5. หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ
    6. พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
    7. หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี

    6. วันเสาร์ 10 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    2. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    3. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    4. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    5. หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    6. หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    7. หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

    7. วันอาทิตย์ 11 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    ตอนกลางวัน (เวลา 13.00 - 1600 น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม. นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว 4 ชั่วโมงเต็ม
    ตอนค่ำ 1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    2. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    3. หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    4. พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.
    5. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี
    6. หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.
    7. พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กท

    ใน วันที่ 12 ก.ค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมและสุหร่าย สมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรฯ
    รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป
    1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม
    2. พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
    3. พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ
    4. พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ
    5. พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์
    6. พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ
    7. พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม
    8. พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
    9. พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส
    10 พระเทพกวี วัดบวรฯ
     
  3. ghostlinux

    ghostlinux เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,496
    ส่งท้าย

    พระสมเด็จทรงจิตรลดา และ พระนางพญา ส.ก. นั้น เป็นพระที่มีเนื้อหามวลสารดีเยี่ยมที่สุดเท่าที่คณะบุคคลจะพึงทำได้ โดยมีมวลสารหลักคือกระเบื้องพระอุโบสถของทั้งสองหลังและยังแสวงหาผงพุทธคุณ ต่าง ๆ จากพระเถราจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งพระสายกรรมฐานและพระสายวิชา ว่าน-ยา ที่รวมแล้วมีกว่าพันชนิดมิใช่ 108 ดังที่นิยมทั่วไป แร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศจากสถานที่ต่าง ๆ ทุกมุมเมืองเกือบสองร้อยรายการ เส้นเกศาของพระสุปฏิปันโนซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของพุทธศาสนิกชน องค์หลักก็คือ เส้นพระเกศาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ย้อนยุคขึ้นไปหลายพระองค์ เส้นเกศาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ เป็นต้น

    แม้ ผงอิทธิเจอันลือลั่นว่าขลังนักของพระเดชพระคุณพระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินทวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี บางกอกใหญ่ ธนบุรี ท่านก็เมตตามอบให้มาผสมเนื้อตั้งชามใหญ่ และยังมีผงวิเศษต่าง ๆ ที่ไม่สามารถกล่าวได้หมด แต่เป็นมวลสารที่ไม่อาจหาได้ในพิธีกรรมไหน ๆ อีกแล้วโดยง่าย เช่น ผงฉัตรจากพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ ผงหินน้ำมันจากใต้ทะเลลึก 10,000 ฟุต ผงแร่ไมก้าและข้าวตอกฤาษีที่อ่างกา ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ผงธนบัตรมูลค่า 2,000 ล้านบาท ผงดินใจกลางเมืองหงสาวดี ผงหินจากบรมเจดีย์บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย ผงพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แท้ ๆ ผงจากสัตตัปปดลมหามงคลเศวตฉัตร ซึ่งลอยอยู่เหนือองค์พระพุทธชินสีห์ ที่สำคัญคือ ผงพระราชทานหลากชนิดจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีผงจิตรลดาอันลือลั่น

    ผงที่กล่าวมาก็เป็นแค่ 1 ใน 100 ของผงทั้งหมด ไม่สามารถหยิบยกมาเล่าให้ฟังได้หมด เพราะเนื้อที่จำกัดจริง ๆ จำได้ว่าคุณเนาว์ นรญาณ เคยนำประวัติพระทั้งสองพิมพ์นี้เขียนลงในศักดิ์สิทธิ์เมื่อนานมาแล้ว ซึ่งผู้เขียนอยากได้พระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะ แต่ปัจจัยน้อย ต้องรุ่นนี้เลย เสกพิธีแรก 7 วัน 7 คืน หลวงปู่โต๊ะมาทุกวันเสกเต็มที่ทุกวัน เห็นว่าท่านเมตตานั่งปรกให้วันละประมาณ 4 ชั่วโมง 4 ชม. ดังว่านั้นท่านนั่งรวดเดียว

    ใครเคารพครูบาอาจารย์รูปใดองค์ใด โดยเฉพาะสายกัมมัฏฐาน รุ่นนี้เก็บพลังจากท่านไว้มากโขทีเดียว ทั้งพระป่าพระเมือง พระวิปัสสนาและพระวิชา ร่วมกันอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องสองพิมพ์นี้ไว้อย่างเต็มเหนี่ยว

    พระ 25 ศตวรรษ ก็ดีเลิศ แต่ถ้าดูประวัติให้ดีจะมีพระที่อัฐิเป็นพระธาตุมาร่วมพิธีน้อยมาก เป็นพระวิชาเสียเยอะ ใครชื่นชอบพระสงฆ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ เดินตามรอยบาทพระพุทธเจ้าโดยแท้จริง ควรหาพระเครื่องรุ่นนี้มาบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล

    ด้วยรายละเอียดดัง กล่าวมานี้ จึงเชื่อได้แน่ว่า "พระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตรลดา" และ "พระสมเด็จนางพญา สก."อันเป็นที่พระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ, พระราชปรารภ, พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง, ทรงพระสุหร่าย, ทรงจุณเจิมด้วยพระองค์เองโดยตรง ตั้งแต่เบื้องต้นจนจบตลอดสายดุจนี้ จะเป็น "พระเครื่องแห่งกษัตริย์" ที่ทรงไว้ซึ่ง "พระราชบารมี" และ "พระบรมเดชานุภาพ" แห่งพระบรมมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสุดอย่างล้นพ้น แท้จริง และ "ของจริง" อย่างหาที่สุดมิได้

    และยิ่งการสร้างพระ สมเด็จพระอุณาโลมฯและพระสมเด็จนางพญาสก.ในครั้งนี้ อยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร สมัยที่ยังเป็นที่สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็น "พระอริยสงฆ์กลางกรุง" ที่แม้แต่พระอรหันตเจ้าอย่าง "หลวงปู่ชอบ ฐานสโม" วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย ยังชื่นชมอย่างยิ่งว่า "สังฆราชองค์นี้ดีที่สุด" ในทุกขั้นตอน จึงเป็นอันมั่นใจในความ "บริสุทธิ์" และ"พุทธคุณ" อันยอดยิ่งในพระ"ทุกๆองค์"ได้อย่างสิ้นสงสัย

    ขอบคุณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และเว็ป udon108.com ด้วยครับ
     
  4. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,019
    พระปลุกเสกชุด แพโบสถ์น้ำ หลวงปู่บุญศรี อินทวัณโณ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    หลวงปู่บุญศรี อินทวัณโณ พระอริยเจ้า ๕ แผ่นดิน ท่านบอกว่าในสมัยพุทธกาล นั้น โบสถ์น้ำที่ถูกต้องตามหลักพุทธกาลต้องมีน้ำไหลผ่านใต้โบสถ์ ตลอดเวลา ปลุกเสกอะไร ก็ขลัง พี เสาวภา และพวกข้าพเจ้า ก็เลยร่วมกันสร้างแพโบสถ์น้ำนี้ขึ้นมาถวายท่านเมื่อปี ๒๕๔๐ อยู่ที่ อ.น้ำทรง ฝั่งตรงกันข้ามกับ อ.พยุหะคีรี หลังจากสรางเสร็จก็ได้มีพิธีปลุกเสก พระที่แพโบสถ์น้ำดังกล่าว มีพระประธานของโบสถ์ ขนาด ๓๖ น้ิว ขนาด ๙ นิ้ว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และอื่น ๆ อีกหลายรายการ ซึ่งการปลุกเสกนั้น มีพระร่วมพิธีประมาณ ๓๐ รูป ซึ่งแพโบสถ์น้ำกนี้ สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ ๓๐๐ คน เป็นการปลุกเสก ครั้งเดียว และครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นต่อมา ไม่มีพิธีใหญ่ เช่นนี้อีกเลย หลังจากหลวงปู่บุึญศรี ละสังขารปี ๒๕๔๔ ก็ไม่มีเจ้าอาวาส และเป็นวัดร้าง ปัจจุบันโบสถ์ดังกล่าวได้ถูกรื้อทำลาย โดยพระที่ไม่รู้เท่าถึงกาล เมื่อปี ๒๕๕๒ จากการตรวจสอบในรอบหลายร้อยปีที่ผ่านมายังไม่เคยพบพิธีปลุกเสกพระเครื่องในแพโบสถ์น้ำ ที่มีน้ำไหลผ่านใต้โบสถ์ ที่ถูกต้องตามหลักพุทธกาล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2012
  5. windman

    windman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    994
    ค่าพลัง:
    +741
    พูดถึงผงและวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่นำมาผสมและทำพระมาก ๆ อยากทราบเหมือนกันครับว่า ผงและวัตถุมงคลทั้งหมดปะปนไปอยู่ในองค์พระทุกองค์หรือเปล่า

    อย่างเช่นผงพรายกุมาร ลป.ทิม เห็นว่าผสมทำหัวเชื้อแค่ช้อนสองช้อนผสมอย่างอื่นเป็นกาละมังแล้วก็ปั๊มพระออกมาเป็นร้อย ๆ พัน ๆ อย่างนี้ผงพรายกุมารจะปะปนอยู่ทุกองค์หรือเปล่า (รวมทั้งวัตถุอื่น ๆ ด้วยทั้งหมด) หรือว่าองค์ไหนโชคดีได้เยอะ องค์ไหนโชคร้ายไม่ได้หรือได้น้อยหรือได้ไม่ครบน่ะครับ

    อยากทราบเหมือนกันครับ
     
  6. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,019
    [​IMG] [​IMG]

    หลวงปู่สี ฉันทสิริ พระอริยะเจ้า ๗ แผ่นดิน หลวงปู่บุญศรี อินทวัณโณ พระอริยะเจ้า ๕ แผ่นดิน หลวงปู่บุญศรี อินทวัณโณ ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยท่านเดินธุดงค์ไปประเทศพม่านั้น อังกฤษยังปกครองพม่าอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2012
  7. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,019
    [​IMG] หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค[​IMG] หลวงปู่บุญศรี อินทวัณโณ

    หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค และหลวงปู่บุญศรี อินทวัณโณ ท่านละสังขารแต่สังขารของพระองค์ท่าน ๒ รูป ไม่เน่า ไม่เปลื่อย ยังคงเก็บรักษาเอาไว้ในโลงแก้ว ให้สานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือ ไปกราบไหว้ขอพร ประการสำคัญ หลวงปู่สี เล็บท่านก็ยังงอกออกมา ส่วนหลวงปู่บุญศรี เกศาของท่านยังคงงอก ดกดำ เป็นเงางาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2012
  8. santaja

    santaja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +107
    :cool:
    สุดยอดครับ มาตามหาความรู้ด้วย
    แต่ผมมี 25 ศตวรรษองค์เดียวเองง่า

    วัดเทพากร นี่อะไรครับ
     
  9. santaja

    santaja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +107
    สมเด็จมงคลมหาลาภ
    ชื่อมงคลมาก มาก ครับ:cool:
     
  10. JLB

    JLB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,180
    ค่าพลัง:
    +8,079
    พิธีนี้ผมชอบมาก สุดยอดจริงๆ
     
  11. ratsung

    ratsung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2007
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +1,354
    ผู้ใช้ usernameว่า mm ให้ข้อมูลว่า

    ส่งท้ายหลุดไปนิดหนึ่งครับ เพิ่มข้อมูลต่อ

    อนึ่ง ทราบมาว่า หลวงพ่อเปลื้อง ปัญญวันโต วัดบางแก้วผดุงธรรม พัทลุง พระอริยสงฆ์ผู้ถือ "เนสัชชิกธุดงค์" (ไม่นอน) ตลอดชีวิตเคยกล่าวสรรเสริญพระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตรลดาและพระสมเด็จนางพญา สก.ชุดนี้ไว้เป็นอย่างยิ่งว่า
    "เป็นพระเครื่องที่ดีมากๆ เพราะมีพระอรหันต์มาร่วมเสกตั้งแต่ 4 องค์ (ครบองค์สงฆ์) ขึ้นไป"

    http://www.udon108.com/board/index.php?topic=16009.0
     
  12. รักษ์สยาม

    รักษ์สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,129
    พระชัยหลังช้าง พิธีหลวงวัดพระแก้ว:cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • cats16.jpg
      cats16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      133.5 KB
      เปิดดู:
      1,173
  13. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,800
    ด้วยความเคารพครับ ตามความเห็นส่วนตัวของผม

    ผงนั้นจะคลุกเคล้าทั่วหรือไม่นั้นก็คงต้องขึ้นอยู่กับปริมาณด้วยครับ ถ้ามวลสารรวมแล้วได้กะละมังใหญ่ๆ แต่มีผงพรายกุมารนิดเดียว คงไม่มีมากไปกว่าช้อนโต๊ะ ผมเข้าใจว่าอย่างนั้น น่าคิดเหมือนกันครับ ขนาดพระเนื้อโลหะบางองค์ที่หลอมเนื้อยังออกมาไม่เท่ากันเลยครับ ที่บางองค์แก่เงิน แก่ทองประมาณนั้น แต่เรื่องผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม นี่สิ ยังไม่หมดอีกรึไงก็ไม่รู้ครับ เห็นพิธีไหนๆก็มีใส่ แต่ความศักดิ์สิทธิ์ก็คงอยู่ที่พิธีและเจตนาของผู้สร้างด้วยครับ

    สมมุตว่าผงพรายของหลวงปู่ทิมที่สร้างมาตอนครั้งแรกสมัยหลวงปู่ท่านสร้าง ผมไม่ทราบจำนวน สมมุติเป็น 500 ลูกละกันครับ แล้วก็มีการนำ 1ใน 500 ไปผสมสร้างวัตถุมงคลอื่นๆอีก 500 ลูกหรือองค์ แล้วก็เอา 1 ใน 500 นี้ไปต่ออีกลองคิดดูครับว่าความเข้มข้นของมวสสารจะเป็นยังไง หรือใช้กันไม่รู้จบก็ไม่รู้ครับ เท่าที่สังเกตุพระเนื้อผงปัจจุบันนี้ ร้อยละ 60-70 จะมีมวลสารผงพรายกุมารด้วย

    ----- ด้วยความเคารพครับ-----
     
  14. windman

    windman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    994
    ค่าพลัง:
    +741
    ขออภัยครับ "วัดเทพากร" ผมพูดสั้นไปเพราะผมเคยโม้ไว้หลายที่เลยลืม คือเป็นพระประจำวันเกิดหลังเก้าขุนพลน่ะครับ ออกปี 14-15 มีเกจิหลายท่านไปร่วมปลุกเสก หนึ่งในนั้นที่เด่นก็คือ ลพ.กวย ครับ

    * * *

    เรื่องผงพรายก็มีคนสงสัยกันเยอะครับ ไม่ได้ดูหมิ่นนะครับแค่สงสัย ต่อให้ ลป.ทิม ทำไว้สักสามสี่โอ่งเต็ม ๆ ป่านนี้ก็น่าจะหมดไปแล้ว เราไม่ได้พูดถึงพิธีดีแค่ไหนนะครับ เรากำลังสงสัยกันถึงปริมาณของผงพรายกุมาร "ของ ลป.ทิม" ที่ทำเอาไว้ตั้งแต่ท่านยังไม่มรณภาพ ก็เห็นว่าทำแสนยากมีแต่ท่านเท่านั้นที่ทำได้

    จะว่าเอาไปทำหัวเชื้อ แต่ผมก็เห็นทำหัวเชื้อไม่รู้กี่สิบพิธีแล้ว แต่ละพิธีก็ไม่ใช่องค์สององค์อ่ะ

    อย่างที่สงสัยไป ไม่แค่ผงพรายกุมาร กรณีผงพรายกุมารเป็นแค่ตัวอย่างที่ยกมาเท่านั้น ผมหมายรวมไปถึง "วัตถุมงคล" หรือ "วัสดุอื่นๆ" ไม่ว่าจะสำคัญหรือไม่สำคัญ ถ้าลองโฆษณาว่ามีร่วมด้วยก็แสดงว่าทุกองค์ที่ทำออกมาในพิธีนั้น ๆ ก็ควรจะมีครบไม่ใช่เหรอครับ เช่น มีวัสดุ 25 อย่าง นำมาผสมกัน จะผสมกันอย่างไรให้ทั่ว จะใช้เครื่องปั่นแบบโรงงานทำเครื่องปั้นดินเผาได้ไหมให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันแล้วค่อยพิมพ์ออกมา

    ถ้าใช้แรงคนกวนหรือผสมให้เข้ากันได้จะได้เข้ากันทุกองค์ไหม สมมติพิธีนี้ทำพระออกมา 1000 องค์ ถ้าลองสุ่มหยิบองค์ที่ 778 ออกมาเทสต์ดูจะได้วัสดุครบทั้ง 25 อย่างหรือไม่ (ตามที่ตัวอย่างที่สมมติขึ้นข้างต้น) ถ้าไม่ครบก็แสดงว่าไม่ครบตามที่โฆษณาเอาไว้

    อันนี้อย่าว่าผมลบหลู่เลยนะครับแค่สงสัย
     
  15. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,759
    ค่าพลัง:
    +8,253
    พระดีพิธีใหญ่...ตอนที่ 1

    คำคมคารมเซียน
    kumkom99@gmail.com


    เขียนถึงพระหลายประเภทตามที่เซียนเขาจัดเกรดแยกไว้

    ทั้ง "พระเก่าไม่รู้ที่-ดีไม่รู้วัด" "พระกฐิน-ผ้าป่า" และ "พระน้ำจิ้ม"

    ให้นึกถึงพระอีกแนวที่ต้องไม่เลยข้าม...ควรศึกษา

    แล้วคุณจะรู้ว่าพระเครื่อง ในเมืองไทยมีให้เลือกบูชาจนตาลาย

    พระดีพิธีใหญ่ : พระเครื่อง ที่มีพิธีสร้างอย่างซับซ้อนและยิ่งใหญ่ มักมีพระคณาจารย์มาร่วมปลุกเสกมากมาย

    ต้องเท้าความกันก่อนว่าพระเก่าที่สร้างฝังกรุไว้แต่ยุคโบราณกาลนั้นก็คือ "พระดีพิธีใหญ่" แทบทั้งสิ้น

    พิธีกรรม-การสร้างล้วนพิถีพิถัน ศักดิ์สิทธิ์และเคร่งครัด

    โดยมีฤาษีเป็นเจ้าพิธี มีกษัตริย์หรือชนชั้นเจ้านายผู้สูงศักดิ์เป็นผู้ดำริสร้าง

    วัตถุประสงค์ก็เพื่อสืบทอดพระศาสนา ไม่มีใครกล้านำไปใช้บูชาส่วนตัว

    แต่กาลเวลาผ่านไปคนเริ่มไม่กลัว นำ พระกรุไปขึ้นคอ ก่อเกิดประสบการณ์ปาฏิหาริย์มากมาย

    กลายเป็นกระแสความนิยมชมชอบต่อๆ กันมา ไม่ว่าชายหรือหญิง

    ทีนี้พอใครอยากได้ก็ต้องไปพึ่งพิง ขอกับพระคุณเจ้าที่วัด

    พอนานวันเข้า พระกรุเริ่มร่อยหรอ แต่ก็ยังมาขอกันต่อเนื่อง

    ร้อนถึงพระเกจิอาจารย์ในยุคหลังๆ ต้องสร้างพระเครื่อง ขึ้นมาใหม่ไว้แจกญาติโยม

    ท่านก็ค้นหา-สร้างผงพุทธคุณวิเศษ หรือไม่ก็เล่นแร่แปรธาตุจนได้เป็นโลหวัตถุทนสิทธิ์พิสดาร

    อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวเพียงรูปเดียว ไม่ค่อยได้ยุ่งเกี่ยวกับใคร

    ทำแจกไปตามมีตามเกิด...ไม่มีพิธี รีตองใหญ่โต

    แต่ในบางช่วงเวลาที่ต้องการระดมทุน เพื่อนำไปอุดหนุนบำรุงชาติ-พระศาสนา บูรณะ-ซ่อม-สร้างถาวรวัตถุ หรืองานมงคลมหากุศลสำคัญต่างๆ

    ก็จะเกิดธรรมเนียมต้องมีของสมนาคุณแลกเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ที่ระลึกในการทำบุญ

    การให้วัตถุมงคลก็แลจะเหมาะสมดี

    เมื่อต้องการปัจจัยมาก ก็ต้องชวนคนมาร่วมกันทำบุญมากๆ จึงต้องสร้างพระมากๆ

    เมื่อต้องสร้างพระมาก งบประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหลายก็ต้องมากมายตามไปเป็นเงาตามตัว

    เข้าทำนอง...เล็กๆ...ไม่ แต่ใหญ่ๆ...ทำ

    พระที่เกิดจากเจตนา "ดี" จึงต้อง "พิธีใหญ่" ...ในที่สุด

    พิธีกรรมก็ละเอียดยุ่งยาก ต้องถูกต้องตาม อย่างจารีตประเพณีโบราณ

    ต้องนิมนต์เหล่าพระคณาจารย์ ผู้เคร่งขลัง ชื่อดังประจำยุคมานั่งปรก-ปลุกเสก-สวดกันแน่นวัด

    บางครั้งก็จัดมามากถึง...108 รูป!

    ประธานในพิธี บางทีก็มีทั้งฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายพราหมณ์

    ฝ่ายฆราวาสก็มีตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ลงไปถึงคหบดี ขึ้นอยู่กับพิธีระดับไหน

    ถ้าจะถามว่า "พระดีพิธีใหญ่" มีเท่าไหร่รุ่นแล้วในยุครัตนโกสินทร์ คงต้องกินเวลานานกว่าจะตอบหมด

    จึงลองไล่เรียงตามลำดับปีพ.ศ. เอาเท่าที่พอจะจดจำได้นะครับ

    ยุค ก่อนกึ่งพุทธกาล ได้แก่ เหรียญสมโภชพระพุทธนรสีห์ ร.ศ.118 (2442) พระชัยฯ สามเหลี่ยมวัดราชบพิตร 2466 เหรียญพระแก้วมรกต 2475 เหรียญกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ 2481...

    พระกริ่ง-พระชัยฯ วัดชนะสงคราม 2484 พระพุทธชินราชอินโดจีน 2485 สมเด็จเผ่า 2495 พระไพรีพินาศ 2495 พระรอดวัดพระสิงห์ 2496 หลวงพ่อโสธร 2497...

    ยุค หลังกึ่งพุทธกาล ยิ่งมากเช่น พระ 25 พุทธศตวรรษ 2500 พระวัดประสาท 2506 สมเด็จบางขุนพรหม 2509 พระกริ่ง-พระชัยฯ นวลจันทร์ 2512 พระ 100 ปีพระอาจารย์มั่น 2514...

    สมเด็จวัดระฆัง 100 ปี 2515 หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน 2515 พระพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก 2515 พระกริ่ง-พระชัยฯ 84 ปีศิริราช 2517 พระพิธีจตุรพิธพรชัย 2518 พระกริ่งปัญจาคีรี 2519 พระกริ่ง-พระชัยฯ ปวเรศ 2530 เป็นต้น

    นี่แค่บางส่วนของ "พระดีพิธีใหญ่" เลือกกันไม่ถูกอย่างที่บอกเลยใช่มั้ย

    คงให้รายชื่อบอกเล่าปูทางเท่านี้ก่อน ไม่ต้องเดือดร้อนหามาครอบครองทั้งหมดนะครับ...จนแย่

    ไว้ตอนหน้าผมจะหามาเพิ่มและจะเติมรายละเอียดในบางรุ่น

    คัดแต่เฉพาะที่คุณคงชอบ-สนใจ แบบว่า...

    พระดีพิธีใหญ่ แต่...ไม่แพง! ชอบมั้ย





    Share5


    <table width="295" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td height="21" width="21">[​IMG]</td><td background="http://palungjit.org/images/line_top.gif">
    </td><td height="21" width="21">[​IMG]</td></tr><tr><td background="http://palungjit.org/images/line_left.gif">
    </td><td width="100%"> <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"><tbody><tr><td valign="top" align="left">
    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table> </td><td background="http://palungjit.org/images/line_right.gif">
    </td></tr><tr><td height="21" width="21">[​IMG]</td><td background="http://palungjit.org/images/line_bottom.gif">
    </td></tr></tbody></table>ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ ของ นสพ.ข่าวสด
    http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1EUTFOalUxTlE9PQ==&sectionid
     
  16. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,759
    ค่าพลัง:
    +8,253
    พระดีพิธีใหญ่...ตอนที่ 2

    คอลัมน์ คำคมคารมเซียน


    ไหนๆ ก็เคยให้รายชื่อและข้อมูลคร่าวๆ ของ ?พระเก่าราคาเบา? ไปบ้างแล้ว

    ถ้าจะไม่พูดถึง ?พระดีพิธีใหญ่? แนวประหยัดที่รับปากไว้...ต้องถือว่าไม่ครบถ้วน

    อย่างที่เคยบอก...คอลัมน์นี้สงวนไว้สำหรับผู้ที่เริ่มต้นสะสมศึกษาพระเครื่องฯ

    โดยเฉพาะคนรักพระที่ไม่พร้อมจะสิ้นเปลืองเงินทองในกระเป๋า

    ส่วนคุณพี่ขาเก่า-เซียนใหญ่เก๋าๆ ทั้งหลาย ก็ขอให้ผ่านไปได้เลยคร้าบ

    ขนมะพร้าวห้าวมาเพียบ...อย่าว่ากัน!



    คงทราบที่มาของ ?พระดีพิธีใหญ่? ไปเรียบร้อยจากตอนก่อน

    ในตอนนี้จะเริ่มทยอยนำเสนอ พร้อมเพิ่มรายชื่อ-เติมรายละเอียดสำคัญในส่วนของรุ่นที่ยังไม่แพง

    เผื่อ-เพื่อเป็น ?พระทางเลือก? ให้คุณไปค้นคว้าอีกทีนึง

    แต่ตกลงกันก่อนนะว่า...?ไม่แพง? ในที่นี้ ไม่ได้หมายความตรงจำนวนน้อยๆ ของเลขศูนย์ที่พ่วงท้ายในป้ายราคา

    ผมตีความตามคุณค่าบวกระยะเวลาที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับราคาที่ควรจะเป็น แล้วยังเห็นว่า...ถูก

    หมายความว่า...พระราคาเป็นหมื่นอาจจะถือว่าไม่แพง ถ้าพระนั้นๆ ควรจะเป็นแสน

    แต่ยังไงเราก็จะไม่ไปถึงพระราคา ?หกหลัก? ละกัน...โอเค้

    อีกอย่าง...ทั้งหมดนี้ไม่ใช่การชี้ชวนเพื่อการลงทุน แต่เน้นให้คุณพิจารณาเพื่อนำไปบูชาล้วนๆ

    ควรมิควรแล้วแต่คุณจะใช้ดุลพินิจกันเอาเอง ผมไม่ได้มีส่วนได้-เสียอะไร

    เหมือนเดิม จะไล่เรียงไปตามปีพ.ศ.ที่สร้างนะครับ

    1. ?เหรียญพระแก้วมรกต? 2475

    เป็นเหรียญที่ระลึกฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี

    คือ 1 ใน 3 ของสุดยอดเหรียญพระพุทธที่ทรงคุณค่า

    พิธีนั้นยิ่งใหญ่ มีคณาจารย์ที่เข้มขลังชื่อดังแห่งยุคมาร่วมปลุกเสกมากมาย

    สร้างโดยฝีมือช่างจากหลายสำนัก...ทั้งในและนอกประเทศ

    บางเหรียญมีราคาแพงเป็นแสนเป็นล้าน โดยเฉพาะบล็อกนิยมและเนื้อพิเศษอย่างทองคำ

    ที่ราคาถูกเหลือเชื่อ แค่หลักร้อยหลักพันก็มี

    แต่ไม่ใช่บล็อกฮิตที่คนแห่ตามหา และก็เป็นแค่เนื้อทองแดงหรืออัลปาก้า

    ถ้าไม่ถือสา...ลองหาดู!

    2. ?พระพุทธชินราชอินโดจีน? 2485

    พระดังที่มากประสบการณ์ น่าบูชาสุดๆ อีกรุ่นหนึ่ง

    มีหลากรูปแบบหลายพิมพ์ ทั้งที่เป็นรูปหล่อลอยองค์-เป็นเหรียญและแหนบติดเสื้อ

    นิยมมากน้อยต่างกันไป และมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเพียบ

    เซียนเก่าเค้ายืนยันว่าพุทธคุณเทียบเท่าพระกรุเก่า ?ท่ากระดาน?

    ข่าวว่าเหนียวสุดๆ มหาอุดหยุดปืน...ขนาดนั้น

    จัดเป็นพระอนาคตไกลในเชิงพุทธพาณิชย์

    ค่านิยมปรี๊ดขึ้นไปจนถึงแสนก็มีให้เห็น แต่เฉพาะที่เป็นพิมพ์นิยมและสภาพเยี่ยม

    ราคาหลักพันถึงหมื่นกว่าต้องถือว่าถูก...ยังพอหาได้

    แต่ต้องทำใจถ้าไม่สวยและพิมพ์บ๊วยๆ หน่อย

    ถ้าเบี้ยน้อยอยากห้อยพระเหนียวก็ว่าเลย

    3. ?สมเด็จเผ่า? 2495

    ไม่บ่อยครั้งนักที่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ จะออกจากวัดไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่ไหน

    หนึ่งในสองครั้งนั้นก็คือพิธีสร้างพระสมเด็จครั้งนี้

    มวลสารจากหลากคณาจารย์ที่รวบรวมมาประกอบเป็นองค์พระก็ถือว่าสุดๆ

    โดยเฉพาะผงมวลสารสมเด็จของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ซึ่งมอบให้หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร เก็บรักษาไว้

    เมื่อปลายปี 2554 ไปถามหาพิมพ์อกร่องหูบายศรี

    ยังอยู่ที่ไม่กี่พันเท่านั้นเอง...แพงมั้ยครับ

    4. ?พระรอดวัดพระสิงห์? 2496

    อีกพิธีที่หลวงพ่อสดมาร่วมเป็นหนึ่งในคณาจารย์ที่ปลุกเสก-สร้าง ก็คือรุ่นนี้

    คือวัตถุมหามงคลที่ใช้บูชาทดแทนพระรอดกรุเก่าได้อย่างเทียบเท่า

    คล้องเข้าคู่กับสมเด็จบางขุนพรหม 09 ที่แพงยับได้อย่างเหมาะสม

    เข้าข่าย ?ค่านิยมหลักพัน พุทธคุณหลักล้าน?

    ลองถามราคาดูแล้วคุณจะแปลกใจ

    ยัง มี ?พระดีพิธีใหญ่...ไม่แพง? อีกมากที่อยากแนะนำ แต่คงต้องต่อกันตอนหน้าก่อนลามีข้อตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า ?ไม่แพง? อีกอย่างคือ...

    ต้องไม่เก๊ด้วยนะ...อย่าเผลอ!
    ......................................
    ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก นสพ.ข่าวสด
    http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hOekEzTURNMU5RPT0
     
  17. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,759
    ค่าพลัง:
    +8,253
    [FONT=Tahoma,]พระดีพิธีใหญ่...ตอนที่ 3

    คอลัมน์ คำคมคารมเซียน


    <table width="360" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" align="left"><tbody><tr><td valign="top" bgcolor="#E0E0E0" align="center">[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>แนะนำ "พระดีพิธีใหญ่" ที่ค่านิยมยังย่อมเยาไปแล้ว 4...คราวนี้คัดมาอีก 3

    เป็นพระชั้นดีที่ไม่ควรมองข้าม ระดับ..."ซุป-ตาร์"

    เผื่อไว้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาเพื่อเลือกเป็นพระบูชา...ประจำคอ

    มาต่อกันเลยนะครับ



    5."หลวงพ่อโสธร พิมพ์สามเหลี่ยมสองหน้า" 2497
    "ไม่ มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักหลวงพ่อโสธร" ประโยคนี้คงไม่เป็นการกล่าวอ้างเกินจริง ยืนยันได้จากการที่พระพิมพ์ของหลวงพ่อมีให้บูชามากมายหลายรุ่นหลายวัด ไม่จำกัดเฉพาะที่วัดโสธร แต่หากอยากได้องค์ต้นตำรับ ต้องเป็นรุ่นนี้ที่สร้างในพิธีใหญ่ดั้งเดิม...2497
    แยกย่อยอย่างเยอะเป็นหลายพิมพ์ ความนิยมก็หลายระดับ
    เรียกชื่อให้งงเล่น เป็นตัวเลขนับจำนวนตามเม็ดพระศกของหลวงพ่อ
    ฮิตสุดต้องพิมพ์ "57-57" แบบที่มีตำหนิพิเศษบนองค์ท่าน เป็นรูป...วงแหวน
    ประมาณแสนสองแสนแค่นั้นเอง...เอื๊อก!
    ส่วนพิมพ์ "67-67" จัดว่าธรรมดา หมื่นกว่า...ยังหาได้
    ปลุกเสกในพิธีใหญ่เดียวกัน รูปแบบแทบไม่ต่าง...แต่ราคาห่างมาก
    อาจไม่ถูกนัก แต่ไม่แพงเลย
    คุณล่ะ...เลือกแบบไหน

    6."พระ 25 พุทธศตวรรษ" 2500
    พระเครื่องที่สร้างในวาระครบรอบ...กึ่งพุทธกาล
    มีคณาจารย์เก่งๆ ร่วมอธิษฐานจิต-ปลุกเสกเกือบหมดประเทศ
    พิธีพุทธาภิเษกนั้นครองแชมป์ความยิ่งใหญ่ หาครั้งไหนใหญ่เท่า...ไม่มีแล้ว
    แถมมีประสบการณ์เป็นข่าวดังเมื่อ 8 สิงหาคม 2518
    ปืนเอ็ม - 16 กระหน่ำยิง 30 นัด ไม่ระคายผิว !
    แม้จะมีคุณสมบัติพร้อมเป็นพระหลักราคาแพง
    แต่เพราะสร้างไว้ในปริมาณมหาศาล ค่านิยมโดยรวมจึงยังไม่ไปไหน
    เป็นโชคดีของท่านที่มีทุนทรัพย์น้อย จะได้ห้อยสุดยอดพระดีพิธีใหญ่โดยไม่ต้องจ่ายแยะ
    ผมไม่ได้หมายถึงองค์ที่เป็นเนื้อพิเศษประเภทเงินหรือทองคำนะครับ
    นั่นน่ะ...ราคาหลายแสนแว้ว
    ควรเลี่ยงไปเลือกในแบบที่สร้างด้วยเนื้อตะกั่วหรือดินเผา
    เพราะพุทธคุณเท่าเทียมไม่แตกต่าง แต่ราคาอย่างกะเด็กน้อย
    แค่...หลักร้อยถึงไม่กี่พันบาท
    ขึ้นอยู่กับสภาพว่าสวย-ไม่สวย พิมพ์นิยม-ไม่นิยม
    จะสะสมไว้เชยชมหรือบูชาก็ได้...ตามสบายจร้า

    7."พระวัดประสาท" 2506
    อีกหนึ่งสุดยอดวัตถุมงคลจากพิธีมหาพุทธา ภิเษกที่ยิ่งใหญ่แบบ... ไม่อายใคร
    คณาจารย์ที่ร่วมใจอธิษฐานจิต-ปลุกเสกก็มากมาย-หายห่วง เอ่ยชื่อแล้วรับรองตาโต-หูผึ่ง
    หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญคือ..."หลวงปู่ทิม วัดช้างให้"
    เป็นพระอาจารย์ผู้สร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด องค์ต้นแบบจากปัตตานีที่โด่งดังเป็นอมตะ... ทุกรุ่น!
    ท่านพระคุณเจ้ายังได้เมตตานำมวลสารเดียวกันกับที่เคยใช้ในครั้งก่อนนั้น มาร่วมด้วยช่วยกันในครั้งนี้
    ผสมผสานคละเคล้าไปกับมวลสารศักดิ์สิทธิ์-ผงวิเศษอื่นๆ ที่ระดมมาจากทั่วประเทศ
    จากหลายๆ หลวงปู่หลวงพ่อที่เข้มขลัง รวมทั้งที่ถวายจากภาคประชาชน
    ล้วนสุดยอด...มากเป็นประวัติการณ์
    โดยเฉพาะ...ผงสมเด็จแตกหักจากกรุวัดใหม่บางขุนพรหม !
    ก่อเกิดเป็นพระพิมพ์ต่างๆ จำนวนมาก เช่น พิมพ์หลวงปู่ทวด พิมพ์พระสมเด็จ พิมพ์พระสังกัจจายน์ พระกริ่ง เป็นต้น
    เมื่อได้เห็นข้อมูลทั้งหมด และพบว่าราคายังไม่โหดนัก
    "พระวัดประสาท" นี้ จึงถือว่าควรค่าแก่การบูชา น่าหาเก็บไว้บ้าง

    ตัวอย่างพระน้ำจิ้มที่จิ้มไม่ลงแล้วในวันนี้ก็มีให้เห็นในคำคมฯ ตอนก่อนๆ
    แต่ก็ไม่ต้องรีบร้อน ยังมีพระชั้นดีที่หลงตาเซียนรอให้คุณไว้ขึ้นคอก่อนแพงอีกเพียบ
    ค่อยๆ ศึกษาหาข้อมูลแบบใจร่มๆ ชิลชิล ไม่ต้องแข่ง-แก่งแย่งกับใคร
    เตรียมตัวได้...เพราะตอนต่อไปจะมีรุ่นที่คุณๆ อาจไม่คุ้นมาฝากให้ตัดสินใจ
    ห่วงแต่ว่าจะเลือกพี่เสียดายน้องจนต้องเหมาหมดทุกหลวงพ่อ

    บริหารคอให้แข็งแรงรอไว้ด้วยล่ะกัน...สู้ๆ
    [/FONT]
    .............................................................
    ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก นสพ.ข่าวสด
    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdNeTB4TkE9PQ
     
  18. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,759
    ค่าพลัง:
    +8,253
    [FONT=Tahoma,]พระดีพิธีใหญ่ ตอนที่4

    คอลัมน์ คำคมคารมเซียน
    kumkom99@gmail.com


    <table width="360" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" align="left"><tbody><tr><td valign="top" bgcolor="#E0E0E0" align="center">[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>พระดีพิธีใหญ่ใช่จะมีแต่เฉพาะในกทม.

    ตาม ตจว.ต่างจังหวัดจัดใหญ่ก็หลายหน

    อย่าง 2 ใน 4 รุ่นที่จัดมาของตอนนี้...บางคนอาจเอ๊ะ? พระอะไรไม่เคยได้ยิน

    แต่ยืนยันว่าทรงคุณค่า แถมราคายังไม่ปรี๊ด

    สแลงวัยรุ่นสุดซี้ดเรียก...สวดยวด (สุดยอด)

    ถ้าชอบพระดีภูธรก่อนแพง เชิญชมได้ ณ บัด NOW

    8. "พระว่านยาสมเด็จสองพี่น้อง หลวงพ่อดำ หลวงพ่อขาว" 2506

    พระผงทรงสี่เหลี่ยมที่หลงตาเซียนจาก "วัดเสนหา"...นครปฐม

    จังหวัดที่มีเกจิฯ เจ๋งๆ ยอดนิยมมากอันดับต้นๆ

    จัดสร้างเป็นคู่ คือองค์สีขาวกับสีดำ...ตามชื่อ

    ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เพราะมัวจ่ายหนักกับพระหลักราคาหลายแสน

    ที่นำมาเสนอเพราะเห็นว่าพิถีพิถันและเคร่งครัดในการจัดหามวลสารศักดิ์สิทธิ์มาประกอบเป็นองค์พระ

    อาทิ ว่าน 108 ชนิด-ดอกไม้ 108 อย่าง-น้ำท่า 108 บาง...ไม่ซ้ำกัน

    ดอกไม้ที่บูชาพระประธานในคืนวันสำคัญเข้าพรรษา-มาฆบูชาจาก 108 วัด

    น้ำมนต์จากหลากพิธีศักดิ์สิทธิ์ ผงวิเศษมากชนิดจากหลายคณาจารย์ โดยเฉพาะของ "หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์"

    พระคุณเจ้าชื่อดังที่มานั่งปรกปลุกเสกก็มากมาย

    ที่เด่นๆ ก็เช่น พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน-หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา-หลวงปู่เฮี้ยง วัดอรัญญิกาวาส-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฯลฯ

    เล่าไปเดี๋ยวยาว รบกวนหาอ่านเอาตามเว็บ

    ถ้าอยากหาเก็บ-บูชา ราคาไม่กี่ร้อยครับ...อย่าเหนียว!

    9. "พระ 100 ปีพระอาจารย์มั่น" 2514

    ข้ามฟากไปอีสาน เป็นงานใหญ่ที่สุดของสายพระป่าธุดงค์กรรมฐาน

    พิธีจัดสร้างวัตถุมงคลในวาระครบรอบ 100 ปีแม่ทัพธรรมแห่งที่ราบสูง..."พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต"

    พระปฏิบัติเคร่งสุดๆ สายพระอาจารย์มั่นอันเป็นเสาหลักในยุคนั้น มาร่วมกันอธิษฐานจิตอย่างพร้อมเพรียง

    เช่น หลวงปู่ดูลย์-หลวงปู่ขาว-หลวงปู่ตื้อ-หลวงปู่อ่อน-อาจารย์ฝั้น-หลวงปู่หลุย- หลวงปู่ชอบ-หลวงปู่สิม-อาจารย์วัน-อาจารย์จวน-หลวงปู่แว่น เป็นต้น

    ศักดิ์สิทธิ์แค่ไหน ลองศึกษาประวัติหลวงปู่ทุกรูปที่กล่าวมา คุณจะรู้ว่า...แขวนองค์เดียวอยู่!

    ลองดู...ราคาไม่ไกลเกินศรัทธาครับ

    10. "สมเด็จวัดระฆัง 100 ปี" 2515

    เอ่ยถึง 100 ปีพระอาจารย์มั่น ต้องห้ามผ่านพระสมเด็จรุ่นนี้

    สร้างเป็นอนุสรณ์ครบ 100 ปีแห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

    โดยในหลวงทรงพระกรุณาเสด็จฯ มาร่วมประกอบพิธีถึง 2 ครั้ง

    แค่นี้คุณต้องรู้แล้วว่าพิธีกรรมการสร้างครั้งนี้...ระดับไหน

    ข้อมูลหาไม่ยาก จึงอยากแนะนำแค่สั้นๆ

    รู้กันไว้ว่าไม่ควรพลาด...ยังไม่แพง!

    11. "เหรียญวิเศษเรืองปัญญา" 2516

    เหรียญสวยที่ถูกลืมของวัดดอน ยานนาวา

    พิธีกรรมการสร้างจัดว่าขั้นเทพ แบบฉบับเดียวกับคราวสร้าง "เหรียญจักรเพชร" ที่โด่งดังของวัดนี้

    ใช้ฤกษ์ดี เสาร์ 5 ที่วนเวียนมาไม่บ่อย หลายปีจะมีครั้ง

    ฟังรายนามพระเกจิที่อาราธนามาเชื่อว่าคุ้นหูคุณๆ คนรุ่นใหม่

    อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม-หลวงพ่อสุด วัดกาหลง-หลวงพ่อโอด วัดจันเสน-หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี-อาจารย์นำ วัดดอนศาลา-หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ ฯลฯ

    ไม่ธรรมดาใช่ปะล่ะ แต่ราคาธรรมดาเกิ้น

    เผลอๆ พระใหม่ๆ วันนี้ยังมีราคาแพงกว่า ตามต้นทุนค่าโสหุ้ยที่เปลี่ยนไป

    ขณะที่พระอาจารย์เก่งๆ เคร่งครัดปฏิบัติดีวันนี้ก็มีน้อย

    คิดจะสร้างปูชนียวัตถุในพิธียิ่งใหญ่จริงๆ จึงไม่ง่ายแล้ว

    ยังไงก็ตาม...พระดีพิธีใหญ่ราคาเบาอาจถูกเหมาว่าไม่ขลัง

    เพราะบางครั้งบางคนใช้ความ "แพง" เป็นเกณฑ์วัดเรื่องคุณภาพ

    แต่ใช้ไม่ได้กับเรื่อง...พุทธคุณ

    อย่าลืมว่าพระทุกองค์ก็เคยไม่แพงมาแล้วทั้งนั้น

    ต้องให้แขวนกระเป๋าหลุยส์ปลุกเสกล่ะ มั้ง...ขลังชัวร์!
    .......................................................................
    [/FONT]ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก นสพ.ข่าวสด
    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdNeTB5TVE9PQ
     
  19. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,759
    ค่าพลัง:
    +8,253
    [FONT=Tahoma,]พระดีพิธีใหญ่...ตอนจบ

    คอลัมน์ คำคมคารมเซียน
    วิเชียร ฤกษ์ไพศาล kumkom99@gmail.com


    <table width="360" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" align="left"><tbody><tr><td valign="top" bgcolor="#E0E0E0" align="center">[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>ลาก มายาวแบบย่อๆ ถึง 5 ตอนเพราะเรื่องราวอย่างเยอะ...จึงจบยาก แค่อยาก แบ่งปันข้อมูลตั้งต้นให้ใช้เป็นแนวทางค้นหาพระถูกโฉลกอย่างฉลาดเลือก แต่ยังไงครั้งนี้ ก็คงหมดมุข-หมดเปลือกกับศัพท์เซียน... "พระดีพิธีใหญ่"

    ก็ขออนุญาตจบให้สวยๆ ด้วย 5 รุ่น ส่งท้าย ครบ 16 รุ่นเลขมงคลโสฬส...ไปกันโลด

    12. "พระผงญาณวิลาศ" 2513

    ว่ากันจริงๆ พระรุ่นนี้ไม่เข้าเกณฑ์ "พระดีพิธีใหญ่" เท่าใดนัก

    แต่เห็นจากประวัติแล้ว...ยอม ขอยกให้เป็นพิธีใหญ่แนว "ทำมือ...มาราธอน"

    เพราะความมุมานะของผู้สร้าง เพียรแสวง หา-สะสมผงพุทธคุณและวัสดุมงคลหลากหลาย ตั้งแต่ปี 2489 ถึง 2509

    ใช้เวลาทำการแบบชิลชิลแค่...20 ปี!

    แล้วยังนำไปแซม...ขอแจมกับพิธีพุทธา ภิเษกใหญ่ๆ ที่หลายวัดเค้าจัดกัน

    ปลุกเสกไปทั้งหมดแค่...250 วัด!

    ตั้งแต่คราวยังเป็นแค่มวลสาร จนสำเร็จเป็น "พระผงญาณวิลาศ" ก็ยังขยันนำไปเสก

    เป็นพระผงรุ่นเอกอุของ "หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ"

    กลัวไม่ขลัง...ท่านยังอธิษฐานจิตเดี่ยวซ้ำให้เป็นพิเศษอีกถึง...สามไตรมาส

    คับแก้วขนาดนี้อนาคตไม่แพงทนไหว?

    13. "พระกริ่ง-พระชัยฯ 84 ปีศิริราช" 2517

    เป็นวัตถุมงคลที่รูปแบบเป็นเอกลักษณ์-อลังการ

    สร้างในวาระครบรอบ 84 ปีโรงพยาบาลศิริราช

    ผลงานระดับคุณหมอๆ ที่ขอแรงมาร่วมใจช่วยกันทั้งประเทศ

    เป็นอีกรุ่นที่ในหลวงเสด็จฯ มาเททองหล่อด้วยพระองค์เอง

    มีพระอริยเจ้าเข้าร่วมพิธีและอธิษฐานจิต-ปลุกเสกเดี่ยวอีกมากมาย

    ตั้งแต่พระสังฆราช-คณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ไปจนถึงคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากมาย

    14. "เหรียญ 9 อาจารย์ พิธีจตุรพิธพรชัย" 2518

    มาถึงรุ่นที่แรงขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่เหนื่อยถ้าคิดจะเก็บ

    9 เหรียญ-9 เกจิดังจากพิธีขลังจัดใหญ่ในจังหวัดอยุธยา

    เป็นที่แสวงหาในหมู่นักสะสมรุ่นใหม่

    โดยเฉพาะสาย... "หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม" และ "หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค"

    2 ใน 9 พระอาจารย์ที่สนนราคาขยับนำโด่งเป็นเงาตามค่าความนิยม

    ลำดับถัดมาคือ หลวงพ่อแพ-หลวงพ่อพริ้ง-หลวงพ่อออด-หลวงพ่อถิร-หลวงพ่อนอ-หลวงพ่อหน่าย-หลวงพ่อโกย

    ใครฝักใฝ่เหรียญคณาจารย์ เก็บให้ครบชุดไปเลย

    15. "เหรียญคุ้มเกล้า" 2522

    หลายคนบ่นอยากได้เหรียญในหลวงมาบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล

    ไม่ต้องดิ้นรนค้นหาของแพง

    เหรียญชื่อดีนี้เลยครับ พิธีใหญ่ทุกขั้นตอน...ของจริง!

    เริ่มต้นที่พิธีลงอักขระแผ่นยันต์ ณ วัดราชบพิธ

    เททองหล่อในวาระวันครบรอบ 97 ปีของ "หลวงปู่แหวน สุจิณโณ" ณ วัดดอยแม่ปั๋ง

    ปิดงานด้วยพิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ 4 วัน 4 คืน ณ ท้องสนามหลวง โดยโยงสายสิญจน์จากวัดพระแก้ว

    ผ่านมาหลายสิบปีแล้ว ยังเช่าหาได้ในราคาไม่กี่ร้อย

    16. "พระพุทธชินสีห์ ทันโตเสฏโฐ" 2533

    ปิดท้ายด้วยพระผงรุ่นนี้ที่เคยมีรุ่นพี่แนะนำ ย้ำหนักๆ ว่า...เยี่ยม!

    แกให้ฉายาเสร็จสรรพว่า "ราชาแห่งราชันย์"

    เพราะด้านหน้าที่เป็นรูปองค์พระพุทธชินสีห์นั้น ที่ใต้ฐานมีพระปรมาภิไธยย่อ... "ภปร"

    ส่วนด้านหลังองค์พระก็เป็นลายพระหัตถ์พระนาม ย่อของสมเด็จพระสังฆราช... "ญสส"

    ประมุขแห่งอาณาจักรและพุทธจักรมาร่วมเป็นหลักชัยในองค์เดียวกัน

    จัดสร้างโดยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มวลสารสำคัญจึงเป็นพระทนต์ที่ในหลวงพระราชทานมาให้

    นำไปผ่านสารละลายแล้วคลุกเคล้ากับผงพุทธคุณ-มวลสารสำคัญอื่นๆ

    หนึ่งในนั้นคือ...ผงจิตรลดา!

    หาได้แบ่งผมองค์นะ อิอิ

    ถึงบรรทัดนี้สรุปได้ยังว่าปักใจองค์ไหน

    ไม่แน่ว่าที่นำเสนอไปทั้งหมดนี้ อาจขึ้นชั้นกลายเป็นพระหลักหรูหราราคาคนรวยในวันหน้า

    ดูกันยาวๆ เดี๋ยวจะหาว่าเค้าโม้

    สัญญาคำโตๆ ก่อนนะว่าจะไม่กระโตกกระตาก

    แอบเก็บกันเงียบๆ ล่ะ...เดี๋ยวแพง
    [/FONT]
    ..............................................
    ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก นสพ.ข่าวสด
    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdNeTB5T0E9PQ
     
  20. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    18,316
    ค่าพลัง:
    +53,091
     

แชร์หน้านี้

Loading...