"พระวิสุทธิเทพ" ที่บรรลุธรรมบนสวรรค์ ย่อมแสดงธรรมได้เช่นกัน?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย anakarik, 30 มีนาคม 2012.

  1. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์
    มีเทวดาบรรลุธรรมมากมาย แต่เนื่องจากเทพเทวดาเหล่านั้น
    "มีกิจเฉพาะอย่างอื่น" จึงไม่ได้ทำกิจ "แสดงธรรม แทนพระ
    พุทธเจ้า" แต่เมื่อมีบุคคลถาม ท่านก็สามารถตอบได้ตรงทาง
    นิพพานเหมือนกัน ส่วนผู้รับแม้ไม่ได้บรรลุธรรมทันที ที่ได้ฟัง
    เพราะต่างจากการฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ทว่า ก็มี
    แนวทางที่เป็น "เหตุใกล้" ปูพื้นฐานไว้ได้เช่นกัน


    สมัยโบราณ มนุษย์สามารถสื่อสารกับสัตว์ชนิดอื่นๆ และภพ
    ภูมิอื่นได้ ดังใน พุทธชาดก พระบรมโพธิสัตว์ก็สามารถพูดกับ
    สัตว์เดรัจฉานและเทพเทวดาได้ ซึ่งในความเป็นจริงนี้ "ความ
    สามารถนั้นยังคงซ่อนอยู่ในมนุษย์ทุกคนเช่นเดิม" เพียงแต่ไม่
    ได้รับการกระตุ้นให้ทำงานมาช้านาน จึงไม่ได้แสดงออกมา


    แม้ปัจจุบัน มนุษย์ก็ยังสื่อสารกับเทวดาได้ ด้วยภาษามคธหรือ
    "ภาษาจิต" โดยไม่ต้องผ่านตัวอักษรภาษา สมมุติบัญญัติใดๆ
     
  2. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    ฝึกใช้ "ภาษามคธแทนตัวอักษรภาษา" เพื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่แท้จริง


    ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ขณะ "พระมหากัจจายนะ" กำลังบริกรรมคาถา
    อยู่ ทำให้ท่านเผลอไปมองสิ่งอื่น และท่านจึงบริกรรมผิดไป ครั้งนั้น เป็นมูลเหตุจูงใจให้
    พระมหากัจจายนะได้รจนาคัมภีร์เล่มแรกของพระพุทธศาสนา (ก่อนไตรปิฏก) คือ คัมภีร์
    มูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นไวยกรณ์บาลีสันสกฤติ เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้และเข้าใจใน
    ตัวอักษรภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่ธรรมอยู่ในยุคนั้นๆ ทว่า แม้พระมหากัจจายนะจะรับกิจ
    ในเรื่อง "ไวยกรณ์อักษรภาษา" ทว่า สิ่งที่สำคัญกว่านั้น มิใช่ภาษาบาลีสันสกฤติ เพราะ
    แท้แล้วพระพุทธเจ้าทรงใช้ภษาดั้งเดิมของมนุษย์โบราณในการเผยแพร่ธรรม ส่วนภาษา
    ที่ใช้แสดงธรรมนั้น "ย่อมไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนได้ตามยุคสมัย" และไม่ใช่ "สิ่งที่จะทำให้
    คนบรรลุธรรมได้" เพราะ "ธรรมแท้พ้นแล้วซึ่งสมมุติบัญญัติ ไม่อาจอธิบายได้ด้วยอักษร
    ภาษาใดๆ" ยิ่งพยายามอธิบายด้วยอักษรภาษา ก็ยิ่งทำให้สงสัยและเข้าใจคลาดเคลื่อน
    ออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ แต่พระพุทธเจ้าก็ยังต้องมีชีวิตเหมือนมนุษย์ทั่วไป จะไม่แสดงธรรม
    เลยหรือ "ก็ไม่ได้" ท่านก็ต้องแสดงธรรมผ่านภาษาพูด ทว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าได้โปรด
    "พระมหากัสสปะ" นั้นท่านโปรดด้วย "จิตสู่จิต" หรือภาษามคธ ไม่มีอักษรภาษาใดๆ จาก
    พระโอษฐ์เลย นั่นคือ เครื่องแสดงให้เห็นว่า "จิตสู่จิต, ธรรมสู่ธรรม" ก็คือ "วิธีบรรลุธรรม"
    ไม่ใช่การพยายามอธิบายด้วยอักษรภาษาใดๆ แต่การแสดงธรรม, อธิบายธรรม นั้นจำเป็น
    "ต้องมีเป็นพื้นฐาน" เท่านั้นเอง (ปริยัติ-สุตตมยปัญญา) การ "ลุ่มหลงในตำราคัมภีร์" จึง
    เป็นการ "เพียรจม" ที่จมปลักไม่ไปไหน ทั้งที่ "ธรรมแท้แบบจิตสู่จิต" นั้น ยังมีอยู่มากมาย
     
  3. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    เมื่อท่านไม่อาจเอื้อมถึงพระจิตของพระพุทธเจ้า พระวิสุทธิเทพยังช่วยได้?


    "พระจิตของพระพุทธเจ้า" นั้นละเอียด อันบุคคลที่ปฏิบัติ ยังไม่ละเอียดถึงระดับนี้
    อาจไม่สามารถเอื้อมถึงธรรมของพระพุทธเจ้าได้ แม้พระพุทธเจ้าจะทรงช่วยเสมอ
    ส่องแสงธรรมแบบจิตสู่จิตมายังปวงสัตว์อยู่เสมอก็ตาม ทว่า ถ้าปวงสัตว์มีใจหยาบ
    ก็จะไม่อาจรับรู้ได้ เหมือนแสงบางชนิดที่ตามองไม่เห็น แต่แท้แล้วก็ส่องผ่านมนุษย์
    อยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ การรับธรรมเบื้องต้นจาก "พระวิสุทธิเทพ" ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะ
    สามารถ "เอื้อมถึงได้" เช่น เทพที่ไม่สูงเกินไป เทพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ชั้นที่สอง)
    เป็นต้น เพื่อนำมาพัฒนาตนเบื้องต้นเป็น "เหตุใกล้" ส่งไปจนถึงธรรมจาก พระพุทธ
    เจ้าโดยตรง "แบบจิตสู่จิต" ในที่สุด ซึ่งธรรมจากพระวิสุทธิเทพนั้นด้วยท่านเป็นเทพ
    จึงมีลักษณะแตกต่างจากธรรมของพระสาวกของพระพุทธเจ้า (ซึ่งเป็นพระสงฆ์) อยู่
    บ้างใน "รูปแบบเปลือกนอก" เท่านั้น แต่แท้แล้วก็มีเป้าหมายและแก่นแท้หนึ่งเดียวกัน


    ซึ่งท่านสามารถรับธรรมระดับอรหันต์จากพระวิสุทธิเทพได้ด้วยวิธี "จิตสู่จิต" ดังกล่าว
     
  4. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    การใช้พิษต้านพิษ ทำลายพิษธรรมะแต่เดิม ก่อนที่จะรับธรรมจากต้นธาตุต้นธรรม


    ก่อนที่จะ "รับธรรมจาก ต้นธาตุต้นธรรม" ได้นั้น จำต้อง "สลายพิษธรรมะ" ที่เดิม ได้มีอยู่
    ก่อน เพื่อให้ "ว่างพอรับธรรมแท้บริสุทธิ์" จากต้นธาตุต้นธรรมโดยตรง ดังเช่น หลวงปู่ มั่น
    ได้ถูกสลายพิษสัญญาวิปลาส ซึ่งเล่นงานทำให้ท่านมีสัญญาผิดไปจากธรรมชาติแล้วจึงได้
    รับธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรงในลำดับต่อมา ดังนั้นการเตรียมพร้อมอินทรีย์เพื่อรับธรรม
    จากต้นธาตุต้นธรรมโดยตรง ไม่ผ่านอักษรภาษา, บุคคลใดๆ จึงต้องเริ่มสองทาง คือ หนึ่ง
    พัฒนาอินทรีย์ห้าให้กล้าแกร่ง และสอง สลายพิษธรรมะเก่าออกก่อน สองอย่างนี้ ทำให้ได้
    อินทรีย์ห้าที่เหมาะสม พร้อมรับธรรมได้ ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่ง ก็ส่งผลต่อการรับธรรมให้
    ไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่ได้มรรคผลได้ อนึ่ง การพัฒนาอินทรีย์ห้านั้น ไม่ใช่เรื่องยาก แม้แต่
    ชาวนาชาวไร่ที่ทำงานกลางแจ้งทุกวัน ก็นับเป็นการพัฒนาอินทรีย์ห้าได้บางส่วนแล้ว เช่น
    พัฒนาวิริยะ, สติ, ปัญญา, สมาธิ เป็นต้น การพัฒนาอินทรีย์ห้าไม่จำเป็นต้องเกิดในวรรณ
    พราหมณ์ ไม่จำเป็นต้องบวชเป็นพระ ไม่จำเป็นต้องฝึกสมาธิ-สติในรูปแบบกรรมฐาน ก็ได้
    และยิ่งปฏิบัติ "ไม่ได้ผล" แต่มีการปฏิบัติอยู่เรื่อยๆ ไม่ยอมแพ้เสียก่อน ก็จะพัฒนาอินทรีย์
    ห้าได้ โดยไม่ถูกพิษธรรมะจากแหล่งธรรมะอื่นใด เช่น บางท่านไปฝึกสมาธิที่สำนักๆ หนึ่ง
    พอได้ "มรรคผลตามแนวทางของสำนักนั้นๆ" แล้ว ทำให้หลงตัวเองมากขึ้นและอาจจะก่อ
    กรรมโดยไม่เจตนาขึ้นมากสั่งสมขวางกั้นทางธรรมได้ เช่น ถ้าคิดว่าอรหันต์ บวกกับผู้คนก็
    แห่ห้อมล้อม ปั้นแต่งร่วมกันให้เชื่อตามๆ กันอย่างนั้น จนไม่รู้ตัวว่ายังไม่ได้จริง กลับไปทำ
    กรรมปลุกเสกเครื่องรางของขลัง เอาเงินเข้าวัดมาสร้างสิ่งต่างๆ มากมาย ก็อาจส่งผลให้มี
    "กรรมขวางทางธรรม" และไม่อาจรับธรรมโดยตรงจากต้นธาตุต้นธรรมได้อีกก็มีได้ เป็นได้


    การใช้ "พิษต้านพิษ" ทำลายพิษธรรมะ จึงช่วยให้ผู้ได้รับพิษธรรมะ "หยุดการก่อกรรม" ได้
    ไม่ให้หลงตัวเอง หลงธรรมะและทำกรรมต่อไปโดยไม่เจตนาจนอาจกลายเป็นกรรมหนักซึ่ง
    "กลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นการบรรลุธรรม" ในท้ายที่สุดได้ ดังนั้นจึงควรล้างพิษธรรมะเสีย
     
  5. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    "ธรรมะในตำรา" นั้นไม่ควรอ่านมาก เพียงหนึ่งพระสูตรปฏิบัติให้ได้ผลก่อนก็พอ?


    แนวทางของมหายานอย่างหนึ่งคือ "พระสูตรหนึ่งกำมือ" หรือการไม่โลภอยากได้ธรรมะใน
    ตำรามากเกินอินทรีย์ของตน แต่ "เจียมตนต่อธรรม" แล้วก็น้อมรับมาเพียง "หนึ่งพระสูตร"
    หนึ่งกำมือแล้ว "ปฏิบัติให้ได้มรรคผลจริง" ก่อนค่อยศึกษาให้มากขึ้น เพื่อป้องกันพิษธรรมะ
    ที่อาจเกิดขึ้นได้ "จากการศึกษาธรรมะเกินอินทรีย์จะรับได้" ของแต่ละบุคคล ดังนั้น "ทาง
    มหายาน" จึงไม่ส่งเสริมให้อ่านมากๆ หรืออ่านเยอะๆ แต่ส่งเสริมให้ "หนึ่งพระสูตร ปฏิบัติ
    ให้ได้ผลจริงก่อน" ซึ่งหลายท่านบรรลุได้ด้วยการใช้พระสูตรเพียงพระสูตรเดียวเป็นพื้นฐาน
    ก็มี ทว่า ก็ยังมี "บางท่านได้รับพิษธรรมะ" ทำให้มีปัญหาตามมา และต้องอาศัยวิธีพิษต้าน
    พิษรักษาพิษธรรมะที่ได้รับด้วย (ธรรมะไม่ได้ผิดอะไรเลยแต่บุคคลไม่รู้ความพอดีของตน
    อินทรีย์ของตน เหมาะสมกับธรรมะนั้นหรือไม่ จึงเกิดปัญหาขึ้นจากการใช้ธรรมะไม่เหมาะ
    ไม่ใช่เกิดจากตัวธรรมะ) การช่วยเหลือกันสลายพิษธรรมะ จึงเป็นวิธีหนึ่ง ในการเตรียมตัว
    เบื้องต้น ก่อนรับธรรมแท้จากพระพุทธเจ้า เช่น บางท่านฝึกธาตุน้ำมากไป อีกท่านฝึกธาตุ
    ไฟ มากเกินไป ทั้งคู่ สามารถจับคู่ใช้พิษต้านพิษสลายพิษธรรมะให้แก่กันเพื่อปรับธาตุให้
    แก่กันและกันได้เป็นเบื้องต้น ทว่า การใช้พิษต้านพิษสลายพิษธรรมะ จำต้องอาศัยท่านที่
    มีประสบการณ์ผ่านมาได้ ในการใช้พิษต้านพิษสลายพิษธรรมะด้วย จึงจะประสบผลสำเร็จ


    แนวทาง "ใช้พิษต้านพิษ" นั้น เป็นแนวทางที่นิกายวัชรยานชำนาญ ท่านสามารถเรียนรู้ได้
    เพื่อใช้เป็น "พื้นฐานเบื้องต้น ก่อนปูทางไปสู่พระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ก่อนมีนิกาย" ก็ได้
     
  6. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    "ธรรมวินัยแท้ไม่ได้อยู่ในตำรา" แต่ดำรงอยู่อย่างพ้นแล้วจากสมมุติใดๆ


    ถ้ามีบุคคลหนึ่งยึดอำนาจแล้วคว้าเอา "ตำราหรือไตรปิฏก" มาอ้างเพื่อใช้เสริม
    อำนาจให้แก่ตน ให้ตนสามารถควบคุมผู้คนได้ ท่านคิดว่าจะเป็นอย่างไร? การ
    มี "สมมุติบัญญัติ" ที่เป็นรูปธรรมตายตัว เช่น มีไตรปิฎก ตายตัวก็ทำให้ง่ายต่อ
    การยึดอำนาจและครอบงำผู้คนเหมือนกัน นี่คือ "ด้านมืดของสิ่งที่เป็นรูปธรรม"
    มากเกินไป (เหมือนมีคัมภีร์วิเศษเล่มหนึ่ง เมื่อใครชิงไปครองก็จะได้อำนาจไป)
    ดังนั้น "พระธรรมวินัย" ที่แท้จริงอยู่ที่ใด? เป็นอย่างไร? นั่นคือ สิ่งที่ควรเข้าใจ
    ให้ได้ก่อน ไม่ใช่ "พระธรรมวินัยที่เกิดจากการสร้างขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่ง" ซึ่งอาจ
    คลาดเคลื่อนไปจาก "พระธรรมวินัย" ที่แท้จริงได้ คำว่าพระธรรมวินัยที่แท้จริงนี้
    อยู่ที่ใด? มิใช่สิ่งที่เป็นตำราคัมภีร์ เพราะสิ่งนี้เป็นเพียง "สิ่งที่ปรุงแต่งสร้างขึ้นมา
    ภายหลัง" เท่านั้นเอง เหตุใดไม่ตรงต่อ "พระธรรมวินัยดั้งเดิมก่อนมีสังคายนา"?
    เพราะการสังคายนาก็มิใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้า กระทำ, สั่งให้ทำ, หรือแนวทางเดิม
    ก็หาไม่ แต่เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งและคิดค้นขึ้นเองใหม่ ที่ไม่เคยมีในพระพุทธศาสนา
    แท้แต่ดั้งเดิมเลย กล่าวคือ พระพุทธเจ้าไม่เคยทำสังคายนา มีแต่พระมหากัสสปะ
    เท่านั้นที่ "คิดริเริ่มทำเอง" ดังนั้น พระธรรมวินัยที่ได้จากสังคายนานี้ จะเป็นธรรม
    วินัยที่แท้แต่ดั้งเดิมได้อย่างไร? ในเมื่อทำจากพระมหากัสสปะ มิได้คงเดิมที่มีมา
    จาก "พระพุทธเจ้า, พระพุทธศาสนาแต่ดั้งเดิมแท้" แนวทางการปฏิบัติจึงได้ เกิด
    ความแตกต่างออกไปจากเดิม เช่น การแสวงหาตำราคัมภีร์ ที่คนรจนาขึ้น แทนที่
    จะ "มุ่งตรงไปสู่พระพุทธเจ้า" เหมือนดังเดิมเก่าก่อน ที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์
    อยู่ ทั้งๆ ที่เราสามารถ "ตั้งจิตศรัทธาตรงสู่พระพุทธเจ้า" ได้เช่นเดิม จนกว่าจะสิ้น
    อายุพุทธกาลห้าพันปี แถมง่ายกว่าเดิมด้วยเพราะไม่ต้องเดินทางไปหาท่านที่ไหน
    เพราะหลังจาก ดับขันธปรินิพพานแล้ว "ท่านจึงอยู่เหนือสังขาร" ปรากฏได้ ทุกที่
    ทุกเวลา และพร้อมๆ กันแม้สัตว์จะมีมากเท่าใด ก็โปรดพร้อมกันได้ทั้งหมด นี่ก็คือ
    พุทธปาฏิหาริย์ที่เหมาะสมแก่การโปรดสัตว์โดยแท้ ทว่า เรากลับไม่ยอมใช้โอกาส
    อันดีนี้ "ในการเข้าถึงธรรมแบบลัด, สั้น, ง่าย และตรงทาง" เพราะศรัทธาที่เรานั้น
    มีต่อพระพุทธเจ้า เปลี่ยนไป คิดว่าท่านสิ้นแล้ว ดับหายสูญ จิตเราจึงเขวไปทางอื่น
    เมื่อเขวไปทางอื่นแล้ว ภาคมาร, ภาคตรงข้าม ก็จะสามารถขวางกั้นเราได้ง่ายดาย
     
  7. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่ "พระธรรมกาย" ยังคงดำรงอยู่?


    พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพานแล้ว ก็จริง ถ้าท่าน "ยึดติดสังขาร ขันธ์ห้า
    ของพระพุทธเจ้า" ท่านก็จะคิดว่าท่านสิ้นแล้ว ดับหายสูญ หรือไม่มีที่จะ
    มาโปรดเราได้อีก ซึ่งเป็น "ความคิดที่ผิด" อย่างยิ่ง แม้พระพุทธเจ้า จะ
    ทรงดับขันธปรินิพพาน ไม่มีสังขารขันธ์ห้าแล้ว แต่ท่านก็ยังสามารถที่จะ
    โปรดสัตว์ได้อยู่จนครบอายุพุทธกาล 5,000 ปี เพราะพระธรรมกายของ
    ท่านยังมิได้นิพพานไปเสียหมด ท่านกระทำเพียงสอุปาทิเสสนิพพาน ไม่
    ยอมจำนนต่อพญามารที่หลอกลวงให้ท่านนิพพานไปเสีย แต่เพราะกรรม
    ตัดรอนทำให้ท่านต้อง "อยู่เหนือสังขารขันธ์ห้า" เพื่อโปรดสัตว์ในแบบนี้
    คือ "พระธรรมกาย" ที่เป็น "มโนธาตุ" ที่เหลือจากการดับขันธปรินิพพาน
    นั้น ยังสามารถโปรดสัตว์ได้ และสามารถโปรดสัตว์ได้ ดีกว่าเดิม ง่ายกว่า
    เดิม ทั้งมากกว่าเดิม สะดวกกว่าเดิมอีกด้วย เพราะไม่มีขันธ์ห้ามาเป็นภาระ
    อีกแล้ว ท่านจึง "ปรากฏได้ทุกที่, ทุกเวลา" ไม่จำกัดด้วยกาลและสถานที่
    ใดๆ อีก พระธรรมกายของท่านไม่มีขันธ์ห้า มีเพียงจิตประภัสสรบริสุทธิ์นั้น
    ที่ส่องแสงธรรมโดยตรงแบบ "จิตสู่จิต" สู่ปวงสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งปวงสัตว์ก็
    สามารถเห็นพระธรรมกายนั้น ดุจพระพุทธเจ้ายังมีรูปอยู่ได้ ด้วยรูปของเรา
    ที่เรายังไม่ได้ดับนั้นเอง ปรุงแต่งสร้างขึ้น เรายังได้ยินภาษาที่ท่านกล่าวมี
    ภาษาไทย, ภาษาบาลี-สันสกฤติ ก็สามารถมีได้ ด้วย "สัญญาขันธ์" ของ
    เราเองที่ปรุงแต่งสร้างขึ้น แท้แล้วพระธรรมกายของท่านบริสุทธิ์ประภัสสร
    ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยขันธ์ใดๆ พ้นแล้วจากรูปใดๆ อันบุคคลจะสำเร็จมรรคผล
    ได้จำต้องมี "จิตตรงต่อพระพุทธแท้" ให้ได้เสียก่อน เมื่อจิตไม่ตรงต่อพระ
    พุทธแท้แล้ว ย่อมไขว้เขวออกไป ไม่อาจจะถึงนิพพานเองได้ เพราะไม่ใช่
    พระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่จะตรัสรู้ได้เอง มนุษย์จำต้องอาศัย
    "พระพุทธเจ้า" นำทางสู่นิพพาน ไปเอง ไม่ได้, ตรัสรู้เอง ก็ไม่ได้ (ในผู้ที่
    บรรลุพุทธะตรัสรู้เอง มีได้เช่นกันด้วยการต่อสายตรงสู่พระพุทธเจ้าหากไม่
    ยอมละสักกายทิฐิเป็นสาวกตรงต่อพระพุทธเจ้าแล้วไม่อาจหยั่งถึงนิพพาน
    ได้เองเลย) ดังนั้น "จำเป็นมากที่จิตตั้งตรงต่อพระพุทธเจ้า" จึงจะตรงต่อ
    "นิพพาน" ในลำดับต่อไปด้วย (เพราะไม่มีใครเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง)
    สิ่งนี้สำคัญมาก แต่คนทั้งหลายล้วนหลงลืม เพราะมีตำราคัมภีร์แล้วนั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มีนาคม 2012
  8. คนสร้างทาง

    คนสร้างทาง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +6
    เทวดามาฟังธรรมจากข้าทุกวัน ไล่ไปสำนักวัชรธรก็ไม่ไป เหอๆ
     
  9. idontknowitwell

    idontknowitwell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +131
    การพัฒนาอินทรีย์ 5 ก็คือการใช้ชีวิตปกติ ที่ต้องใช้สมาธิ และสติ ในการทำการ หรือทำงานต่างๆนั่นเอง ทำงานไปเรื่อยๆให้สติและสมาธิ และหรือ ฯลฯ (บารมีอื่นๆในด้านต่างๆ) มันแน่นเป็นฐานนั่นเอง ก่อนที่จะรับธรรม เปรียบเหมือนว่าเราต้องมีฐานที่มั่นคงแข็งแรงก่อนนั่นเอง
     
  10. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746

    ครับ การพัฒนาอินทรีย์ห้า 4 ตัวนั้นไม่ยากเลย
    ทำงานอะไร ก็ต้องใช้สมาธิ, สติ, ปัญญา, วิริยะ
    อยู่แล้ว มีเพียงตัวเดียวที่ยากหน่อย คือ "ศรัทธา"


    ศรัทธาแท้ที่ตรงต่อพระรัตนตรัยแท้ ไม่อาจมาจาก
    การทำงานอะไรใดๆ ได้นะครับ แต่มาจากจิตใจเรา
    เป็นสำคัญ แม้เราไม่ได้ทำงานอะไรเลย นอนป่วย
    อยู่เฉยๆ อินทรีย์ 4 ตัวแรก บำเพ็ญไม่ได้เลย เว้น
    เพียง "ศรัทธา" เท่านั้นครับที่เราทำได้


    ตัวอย่าง พระสาวกรูปหนึ่งป่วยนอนซมอยู่ ไม่มีใคร
    เหลียวแลเลย จนพระพุทธเจ้าและพระอานท์มาช่วย
    ก่อนท่านจะตาย ก็ได้บรรลุอรหันตผลด้วยศรัทธามี
    กำลังมากเป็นสำคัญครับ


    ดังนั้น "ศรัทธาแท้ที่ตรงทาง" จึงสำคัญมากน่ะครับ
     
  11. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    ประวัติพระวักกลิเถระ

    เอตทัคคมหาสาวกผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา ฯ

    ควรจะได้ทราบว่าการที่พระวักกลิเถระได้รับการสถาปนาในตำแหน่งที่เป็นเลิศเช่นนั้น ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ มีเรื่องอันเป็นอัตถุปปัตติเหตุ คือเหตุเกิดเรื่อง ศรัทธาของคนอื่น ๆ มีแต่ต้องทำให้เพิ่มขึ้น ส่วนของพระเถระกลับต้องทำให้ลดลง และ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังเนื่องจากท่านได้ตั้งปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    ความปรารถนาในอดีต

    กระทำมหาทานแด่พระปทุมุตตระพุทธเจ้า


    พระเถระนี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ นับย้อนไปแสนกัป นับแต่ภัทรกัปนี้เมื่อครั้งสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ ท่านเกิดในครอบครัวผู้มีตระกูล ครั้นเติบใหญ่แล้ว วันหนึ่งท่านได้ไปฟังพระธรรมเทศนา ณ พระวิหาร ได้ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายหมู่พุทธบริษัทนั้น ท่านเห็นพระบรมศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้น้อมไปในศรัทธา ก็ปรารถนาจะได้ตำแหน่งเช่นนั้นบ้าง จึงถวายทานต่อพระบรมศาสดาและพระสาวกตลอดทั้ง ๗ วัน ครั้นแล้วได้ตั้งความปรารถนาของท่านไว้ต่อพระบรมศาสดา ขอให้ท่านได้เป็นเช่นเดียวกันกับภิกษุผู้ยิ่งด้วยศรัทธาธิมุตติที่พระองค์ทรงชมเชยว่าเป็นเลิศกว่าภิกษุอื่นในพระศาสนานี้เถิด พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นความปรารถนานั้นไม่มีอันตราย จึงได้ทรงพยากรณ์ในท่ามกลางบริษัทว่า

    มาณพผู้นี้ ในอนาคตกาล จักได้เป็นพระสาวกของพระโคดมผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายศรัทธาธิมุตติ เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม จักเป็นผู้เว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง รวบรวมโภคทรัพย์ทุกอย่าง มีความสุขท่องเที่ยวไป

    ในที่กัปที่แสนนับแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามว่า โคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก มาณพผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นสาวกของพระศาสดามีนามว่า วักกลิ

    แต่นั้นมา เพราะผลกรรมที่เหลือนั้น และเพราะตั้งเจตจำนงไว้ เมื่อท่านสิ้นชีวิตลง ก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ วนเวียนตายเกิดไปในเทวภูมิและมนุษยภูมิ

    กำเนิดในสมัยพระศากยโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ในภพสุดท้ายในบัดนี้ท่านมาเกิดในสกุลเศรษฐี อันมั่นคั่งสมบูรณ์มีทรัพย์มากมาย ในพระนครสาวัตถี มารดาบิดาได้ตั้งชื่อขาว่า วักกลิ เมื่อครั้งท่านยังเป็นทารก มารดาของท่านหวั่นเกรงภัยจากปิศาจจะมารุกรานทารกผู้เป็นบุตร จึงได้ถวายทารกนั้นแด่พระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงได้ทรงรับ วักกลิทารกไว้ในพระอุปถัมภ์

    ตั้งแต่นั้นมาเมื่อท่านอยู่ในความดูแลใต้เบื้องบาทของพระบรมศาสดา จึงเป็นผู้พ้นจากความป่วยไข้ทุกอย่าง อยู่โดยสุขสำราญ ท่านติดที่จะอยู่ใกล้พระบรมศาสดา เว้นจากพระสุคตเสียงเพียงครู่เดียวก็ร้องหา พอท่านอายุได้ ๗ ขวบก็ออกบวชเป็นบรรพชิต

    อรรถกถาวักกลิเถราปทาน กล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ท่านเกิดในสกุลพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อเจริญวัยแล้ว ได้เล่าเรียนไตรเพทจนจบในศิลปศาสตร์ของพวกพราหมณ์ทั้งหมด วันหนึ่งท่านเห็นพระศาสดาแวดล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกอยู่ในกรุงสาวัตถี ก็หลงในพระรูปของพระบรมศาสดา ท่านคิดว่าถ้าอยู่แต่ในบ้าน ก็จะไม่ได้เห็นพระศาสดาได้บ่อย ๆ เท่าที่ต้องการ เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงได้ออกบวชในสำนักของพระศาสดา และเมื่อบวชแล้ว ด้วยความที่ประสงค์จะเห็นพระรูปของพระบรมศาสดาอยู่ตลอดเวลา จึงยอมละหน้าที่และกิจวัตรทั้งหลาย มีการสาธยายและมนสิการในพระกัมมัฏฐานเป็นต้นเสีย ไปเฝ้าดูอยู่แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น เว้นเฉพาะเวลาขบฉัน และเวลากระทำสรีรกิจเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลือ ก็จะไปยืนอยู่ในที่ที่สามารถจะเห็นพระทศพลได้

    ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบว่าท่านยินดีในพระรูปของพระองค์ แต่มิได้ทรงตรัสอะไรด้วยทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของท่านอยู่ ต่อเมื่อทรงทราบว่าญาณของท่านถึงความแก่กล้าแล้ว จึงตรัสโอวาทว่า

    ดูก่อนวักกลิ

    จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอันเปื่อยเน่านี้

    วักกลิเอย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา

    ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม

    วักกลิ เห็นธรรมจึงจะชื่อว่าเห็นเรา

    พระวักกลินั้น แม้จะได้ฟังพระพุทธโอวาทจากพระศาสดาอย่างนั้น ก็ไม่สามารถที่จะละการดูพระศาสดาไปทำกิจอย่างอื่นได้เลย.

    พระบรมศาสดาทรงขับไล่พระวักกลิ

    ลำดับนั้น เมื่อใกล้กาลที่จะจำพรรษา พระศาสดาทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ความสังเวชจักไม่ตรัสรู้ ดังนี้ แล้ว จึงเสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ครั้นถึงวันเข้าพรรษา จึงขับไล่พระเถระด้วยตรัสว่า หลีกไป วักกลิ พระเถระถูกพระศาสดาทรงขับไล่ จึงไม่อาจจะอยู่ในที่พร้อมพระพักตร์ได้ จึงคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยความเป็นอยู่ของเรา ที่จะไม่เห็นพระศาสดา จะมีชีวิตอยู่ไปทำไม ดังนี้แล้ว จึงขึ้นสู่ภูเขาคิชฌกูฏ ไปยังเงื้อมหน้าผาสูง

    พระศาสดาทรงทราบความเป็นไปนั้นของเธอแล้ว ทรงดำริว่า ภิกษุนี้ถ้าไม่ได้รับการปลอบโยนจากเรา ก็จะทำให้อุปนิสัยแห่งมรรคและผลที่มีอยู่เต็มแล้วนี้พินาศไป ดังนี้แล้วทรงจึงทรงเปล่งรัศมีไปแสดงพระองค์ให้ปรากฏอยู่เบื้องล่างหน้าแห่งผาสูงนั้น แล้วตรัสพระคาถาว่า:-

    ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์

    เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จะพึงบรรลุบทอันสงบ

    อันเข้าไประงับสังขารเป็นสุขได้ ดังนี้.

    ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า

    “มาเถิด วักกลิ เธออย่ากลัว จงแลดูพระตถาคต

    เราจักยกเราขึ้น เหมือนบุคคลพยุงช้างตัวจมในเปือกตมขึ้นฉะนั้น

    มาเถิด วักกลิ เธออย่ากลัว จงแลดูพระตถาคต

    เราจักยกเธอขึ้น เหมือนบุคคลที่ช่วยพระจันทร์ที่ถูกราหูจับฉะนั้น.”

    พระเถระได้เห็นพระบรมศาสดาปรากฏพระองค์อยู่เบื้องล่างแห่งหน้าผานั้น ความปิติ โสมนัสใจอย่างท่วมท้นก็บังเกิดขึ้นด้วยความปรารถนาอย่างรุนแรงที่จะได้เฝ้าพระพุทธองค์ในทันที ไม่เห็นวิธีที่จะไปได้โดยรวดเร็ว จึงวิ่งลงมาทางหน้าผาที่สูงหลายร้อยชั่วคน ก็ลงมาอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์พระบรมศาสดาโดยสะดวก ด้วยพระพุทธานุภาพ

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ครั้นเมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านจึงได้บรรลุอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔

    ประวัติเมื่อตอนท่านจะบรรลุพระอรหัตในอีกทางหนึ่ง

    ในอรรถกถาวักกลิเถราปาน ได้เล่าถึงประวัติเมื่อตอนท่านจะบรรลุพระอรหัตไว้อีกทางหนึ่งดังนี้

    พระวักกลิพอได้รับพระโอวาทจากพระศาสดา โดยนัยเช่นที่กล่าวไว้เบื้องต้นแล้ว เป็นต้นว่า ดูก่อนวักกลิ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอันเปื่อยเน่านี้ ฯลฯ ดังนี้แล้ว ก็ขึ้นไปเจริญวิปัสสนาอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ แต่เพราะความที่ท่านมีศรัทธาหนักมากไป วิปัสสนาจึงไม่หยั่งลงสู่วิถี ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ได้ทรงประทานให้เธอชำระกัมมัฏฐานเสียใหม่ แต่พระวักกลินั้นก็ยังไม่สามารถที่จะทำวิปัสสนาให้ถึงที่สุดได้เลยทีเดียว.

    ต่อมาท่านก้เกิดอาพาธเนื่องด้วยลม เพราะความบกพร่องแห่งอาหาร (ท้องว่าง) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าท่านเกิดอาพาธเนื่องด้วยโรคลมเบียดเบียน จึงเสด็จไปในที่นั้น เมื่อจะตรัสถาม จึงตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปราศจากโคจร เป็นที่เศร้าหมอง ถูกโรคลมครอบงำจักทำอย่างไร

    พระเถระได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลด้วยคาถา ๔ คาถาว่า

    ข้าพระองค์จะทำปีติและความสุขอันไพบูลย์ให้แผ่ไปสู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอันเศร้าหมอง อยู่ในป่าใหญ่

    จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่

    เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ปรารถนาความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้าพระองค์จึงจักอยู่ในป่าใหญ่

    เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้มีพระองค์อันฝึกแล้ว มีพระหฤทัยตั้งมั่น จึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้านตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน อยู่ในป่าใหญ่ ดังนี้

    พระเถระพยายามเจริญวิปัสสนาอย่างนี้ จึงได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔

    ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธาธิมุติ

    ครั้งในกาลต่อมา พระศาสดาทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธาธิมุต ดังนี้แล.

    พระบรมศาสดาโปรดพระเถระเมื่อครั้งอาพาธหนัก

    ในพระไตรปิฎกฉบับที่ ๑๗ (พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค) ได้กล่าวถึงประวัติของท่านไว้ค่อนข้างจะแปลกออกไปจากที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ในครั้งนั้น พระวักกลิเถระเมื่อปวารณาออกพรรษาแล้ว ท่านได้ออกเดินทางมาเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะที่เดินทางมาถึงกลางพระนครราชคฤห์นั้น ท่านก็เกิดอาพาธหนัก เท้าทั้งสองข้างก้าวไม่ออก พวกชาวเมืองแถวนั้น นำท่านนอนไปในวอ หามท่านไปไว้ในโรงที่ทำงานของช่างหม้อเหล่านั้น แต่มิใช่เป็นโรงที่เขาพักอาศัยกัน

    ครั้งนั้น ท่านพระวักกลิ เรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้ว กล่าวขอให้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลวักกลิภิกษุอาพาธเป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา ขอทูลเชิญพระผู้มีพระภาคทรงอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาท่านวักกลิถึงที่อยู่เถิด ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านวักกลิแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ ท่านพระวักกลิ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วก็ลุกขึ้นจากเตียง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระวักกลิว่า อย่าเลย วักกลิเธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ ที่เขาปูลาดไว้มีอยู่ เราจะนั่งที่อาสนะนั้น

    พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระวักกลิว่า ดูกรวักกลิ เธอพอทนได้หรือ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่าทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ ท่านพระวักกลิกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แรงกล้า มีแต่กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย

    กาลนานมาแล้ว ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แต่ว่าในร่างกายของข้าพระองค์ ไม่มีกำลังพอที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้

    พระพุทธองค์ตรัสว่า “ อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม วักกลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? “

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า “

    พระพุทธองค์ “ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? “

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า “

    พระพุทธองค์ “ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา? “

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า “

    พระพุทธองค์ “ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง? “

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า “

    พระพุทธองค์ “ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? “

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า “

    พระพุทธองค์ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา? “

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า “

    พระพุทธองค์ “ เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี “

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระวักกลิด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จไปยังภูเขาคิชฌกูฏ.

    เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พระวักกลิได้เรียกภิกษุอุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้ว ขอให้หามท่านไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ด้วยท่านคิดว่า ท่านเป็นพระภิกษไม่สมควรจะสิ้นชีวิตในบ้านคน อันจะนำความลำบากมาให้แก่เจ้าบ้าน ภิกษุอุปัฏฐากเหล่านั้นจึงอุ้มท่านพระวักกลิขึ้นเตียง หามไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดา ๒ องค์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว เทวดาองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า วักกลิภิกษุ คิดเพื่อความหลุดพ้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า ก็วักกลิภิกษุนั้นหลุดพ้นดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่แท้ เทวดาเหล่านั้น ได้กราบทูลอย่างนี้แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว ก็หายไป ณ ที่นั้นเอง.

    ครั้นรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งให้นำข้อความที่เทวดา ๒ องค์ที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เมื่อกลางคืนเล่าถวายพระบรมศาสดาให้ท่านพระวักกลิฟัง แล้วรับสั่งให้บอกแก่พระวักกลิว่า พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านอย่างนี้ว่า อย่ากลัวเลย วักกลิ อย่ากลัวเลย วักกลิ จักมีความตายอันไม่ต่ำช้าแก่เธอ จักมีกาลกิริยาอันไม่เลวทรามแก่เธอ ภิกษุเหล่านั้น รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านวักกลิว่า อาวุโส วักกลิ ท่านจงฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค และคำของเทวดา ๒ องค์.

    เมื่อท่านพระวักกลิเรียกภิกษุอุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า มาเถิดอาวุโส ท่านจงช่วยกันอุ้มเราลงจากเตียง เพราะว่า ภิกษุผู้นั่งบนอาสนะสูงเช่นเราไม่บังควรฟังคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค ภิกษุเหล่านั้น รับคำของท่านพระวักกลิแล้ว ก็ช่วยกันอุ้มท่านพระวักกลิลงจากเตียงแล้วจึงเล่าพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค และคำของเทวดา ๒ องค์แก่พระวักกลิ

    พระวักกลิกล่าวว่า อาวุโส ถ้าเช่นนั้น ท่านจงช่วยทูลพระผู้มีพระภาคด้วยว่า

    วักกลิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนักได้รับทุกขเวทนา บัดนี้ไม่เคลือบแคลงแล้วว่า รูปไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด(ที่)ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ (สิ่งนั้น)มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ท่าน

    ท่านไม่เคลือบแคลงแล้วว่า เวทนา . สัญญา . สังขาร . วิญญาณไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใด(ที่)ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ (สิ่งนั้น)มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความพอใจก็ดี กำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ท่าน ดังนี้

    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระวักกลิแล้วกลับไป

    ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้น กลับไปไม่นาน ท่านพระวักกลิก็นำเอาศาตรามา.ได้ยินว่า พระเถระเป็นผู้มีมานะจัด มองไม่เห็นการกลับฟุ้งขึ้นมาอีก แห่งกิเลสทั้งหลาย (ที่ถูกข่มไว้ได้ด้วยสมาธิและวิปัสสนา) จึงสำคัญว่าท่านเป็นพระขีณาสพแล้ว และคิด ต่อไปอีกว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ เราจะอยู่ไปทำไม เราจักเอามีดมาฆ่าตัวตาย เมื่อคิดดังนั้นแล้วจึงได้เอามีดที่คมมาเฉือนก้านคอ.ทันใดนั้น ทุกขเวทนาก็เกิดขึ้นแก่ท่าน ขณะนั้นท่านจึงทราบว่าตนเองยังเป็นปุถุชนอยู่ เลยรีบคว้าเอากัมมัฏฐานข้อเดิมมาพิจารณาเนื่องจากว่าท่านยังไม่ได้ละทิ้งกัมมัฏฐาน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วมรณภาพในทันที.

    ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงถ้วยคำที่พระวักกลิฝากมากราบทูลพระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคเมื่อได้ฟังคำที่พระวักกลิฝากมากราบทูลแล้วจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า เราจะพากันไปยังที่อยู่ของพระวักกลิ แล้วจึงได้เสด็จไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อมด้วยภิกษุเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงที่นั้นแล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็น ร่างของท่านพระวักกลินอนอยู่บนเตียงแต่ไกลเทียว ในเวลานั้นก็ ปรากฏเป็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอกลอยไปมาทั่วทุกทิศ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไปมาทั่วทุกทิศหรือไม่? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าเห็น พระเจ้าข้า.

    พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละคือมารใจหยาบช้า ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตรด้วยคิดว่าวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งไหนหนอ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรมีวิญญาณไม่ได้ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้ว.

    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk-great-index-page.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...