รบกวนท่านผู้รู้แนะนำอาจารย์สอบอารมณ์กรรมฐานครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Mareo, 22 มีนาคม 2012.

  1. Mareo

    Mareo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +39
    วัดมาบจันทร์ อ.แกลง จ.ระยอง
    เคยไปแค่ทำบุญครับ
    ยังไม่เคยไปปฏิบ้ติธรรม
    ท่านใดมีข้อมูล รบกวนช่วยชี้แนะเพิ่มเติมครับ
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ขึ้นชื่อว่ากรรมฐาน ในคำสอนพระศาสนา

    ไม่ว่าจะเดินด้วยสมถะกรรมฐาน40เป็นพื้น

    หรือเดินด้วย วิปัสนากรรมฐานเป็นพื้น

    ทั้งสองอย่างเป็นแต่เพียง วิธีการ

    เมื่อเดินอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างมั่นคง แน่วแน่
    มันจะเดินทั้งสมถะและวิปัสนาด้วยตัวเองได้ ลงสติปัฏฐาน

    ขอเพียงอย่างเดียว ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้แน่วแน่มั่นคง

    1.เลือกกรรมฐานที่เราถนัด หรือ ชอบตรงใจ
    2.ศึกษาวิธีการในกรรมฐานนั้นให้เข้าใจ
    3.ลงมือทำตามอย่างยิ่งยวดในกรรมฐานนั้น
    4.วัดผลว่า คำว่าเราบอกให้ตัวเองทำ กับการที่ ต้องมีคนอื่นมาบอก

    อย่างไหนมีมากกว่ากัน

    หากยังต้องมีคนอื่นมาคอยบอกจ่ำจี้จ่ำไช นั่นคือยังใช้ไม่ได้
    หากเราทำด้วยตัวเองได้ ดูสถานที่ในความสมควรแล้วฝึกฝนได้ไม่อิงผู้อื่น
    นั่นเริ่มเรียกว่า เริ่มใช้ได้ในขั้นแรก

    ผมมีคำแนะนำ จากหลวงปู่พุธ ฐานิโยท่านเคยสอนไว้

    มีภิกษุ มาขอฝึกที่วัด ท่านบอกว่า ครูบาอาจารย์ท่านไม่สอน เลยต้องมาขอฝึกทางนี้

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย ท่านเลยแนะนำไปว่า คุณอย่ามาประกาศความโง่ของตัวเอง

    ครูบาอาจารย์ท่านสอนแล้ว
    1.มีข้อวัตร ทำวัดเช้า วัดเย็นให้มันได้
    ถ้าทำไม่ได้ ครูก็ไม่สอนต่อ อันนี้เป็นเบื้องแรก ลองไปพิจารณาดูครับ

    มีข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่ง
    ครูที่ท่านสอนขึ้นสมถะ อย่าไปนอกลู่นอกทางในคำสอนท่าน ว่าท่านไม่สอนวิปัสนา

    หากเรายังไม่ทำให้ถึงคำว่า สมถะที่ท่านสอน อันนี้ต้องบอกตัวเองเรื่อยๆว่า
    เราทำสมถะถึงคำที่ครูท่านสอนหรือเปล่า

    ตรงนี้เป็นตัววัด หากครูที่เราเคยไปขอกรรมฐานท่านให้กรรมฐานด้วยสมถะ
    เราจะต้องเดินตามคำสอนให้แน่วแน่ ไม่เขวไม่ส่าย หากทำตามนี้ได้
    ตรงนี้เป็นจุดวัดในความมั่นคงแน่วแน่ในการฝึกฝนเพื่อพ้นทุกข์อย่างจริงใจ

    เมื่อเราพร้อมถึงจุดหนึ่งที่พอจะรับคำสอนต่อไปได้ ท่านจะบอกเราเอง
    อันนี้เป็นขั้นแรกที่เราต้องฝ่าไปให้ได้ ขอให้โชคดีครับ
     
  3. topnank

    topnank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,899
    ค่าพลัง:
    +874
    วิธีสังเกตุ สายกรรมฐาน คือ 1 บิณบาตร ทุกวัน 2. ฉันวันละ 1 มื้อ 3. ไม่รับเงินจาก

    การถวาย 4. ไม่ฉันนมสดหลังเวลาเพล ไปแล้ว 5. ทำสมาธิทุกวัน
     
  4. NOMO

    NOMO สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +0
    อันนี้เขาเรียกสายธรรมยุทธ
     
  5. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +1,459
    อย่างพระกรรมฐานวัดป่าสายหลวงปู่มั่น
    นมสดท่านไม่ฉันเลยครับ
    เพราะส่วนมากฉันนมสดแล้วกามราคะกำเริบได้ง่ายครับ
     
  6. Mareo

    Mareo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +39
    ขอบพระคุณท่านปราบเทวดาครับ

    เรียนท่านปราบเทวดาครับ
    ผมเองก็ปฏิบ้ติอย่างแน่วแน่ครับ
    แต่ในบางครั้ง ด้วยการปฏิบ้ติเองอยู่ที่บ้านเจอปัญหาในการปฏิบ้ติ หรือบางที ก็พร่องกำลังใจในการปฏิบัติครับ เลยอยากหาอาจารย์ที่เป็นผู้ชี้ทางและคอยตักเตือนเมื่อวนเวียนอยู่ในหนทางที่ผิดครับ
     
  7. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +1,459
    ผมฟังมาจากพระกรรมฐานสายวัดป่า
    ท่านพูดให้ฟังว่า พระอาจารย์สุชาติท่านเป็นธรรมแล้ว

    ตรงนี้ขอให้เป็นวิจารณญาณส่วนบุคคลแล้วกันนะครับ
     
  8. สาวอุทัย

    สาวอุทัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    2,293
    ค่าพลัง:
    +6,620
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ท่าน Mareo ขึ้นกรรมฐานด้วยกองไหนครับ

    ฝึกแบบไหนเป็นพื้นเหรอครับ
    ที่ว่าฝึกเองที่บ้านแล้วมีปัญหาเล่าแลกเปลี่ยนได้นะ
    ถือว่า เล่าสู่กันฟังฉันพี่น้อง สะบายๆครับ

    คนที่ทำอะไรที่แน่วแน่ผมชอบคุย

    _/ _
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px; border-image: initial; orphans: 2; widows: 2" cellSpacing=1 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; FONT: 13px 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(47,47,47); BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial" height=30><TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; FONT: 13px 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(47,47,47); BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial"><TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial" height=21 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=r1 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; FONT: 13px 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(47,47,47); BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial">
    • เส้นทางสู่รสพระธรรม ตอนที่ 1
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; FONT: 13px 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(47,47,47); BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial"><TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; FONT: 13px 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(47,47,47); BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial" width="74%"><TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; FONT: 13px 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(47,47,47); BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial" height=20>เส้นทางสู่รสพระธรรมเป็นการบรรยายธรรมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูวิบูลภารกิตติ์ (หลวงพ่อภา) เนื่องในงานอบรมครู ณ วัดตาขัน ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ทาง Admin ได้เล็งเห็นว่ามีประโยชน์จึงได้นำมาลงไว้ ณ โอกาสนี้
    ขณะนี้ได้มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มแจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจ ซึ่งขณะนี้ได้ทำการแก้ไขหนังสืออันเนื่องมาจากความผิดพลาดทางการพิมพ์ จึงอาจจะได้ช่วงหลังปีใหม่เป็นต้นไป


    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; FONT: 13px 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(47,47,47); BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; border-image: initial" height=20>ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ที่ได้เข้ามารับการอบรมตามโครงการพัฒนาตนเอง ส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อให้อาชีพครูของเราสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วันนี้คณะผู้ดำเนินการมอบหมายให้อาตมภาพมาพูดธรรมะ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจแนวคำสอนของพระพุทธศาสนา อาตมาก็ยินดีที่จะถ่ายทอดเท่าที่สติปัญญาจะเป็นไปได้

    หัวข้อเรื่องที่จะพูดในคืนวันนี้ คือ เส้นทางสู่รสพระธรรม ชื่อเพราะไหม ถ้าเพราะ เวลาพระพูด เขาห้ามปรบมือ ถ้าพระพูดเพราะ เขาให้กล่าวคำว่า “สาธุ”
    การเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะให้ได้ผลสมบูรณ์ บุคลากรต้องมีคุณสมบัติ ๔ ประการ คือ

    ๑.โฆสัปปมาณิกา เสียงเพราะ
    ๒.รูปัปปมาณิกา รูปหล่อ
    ๓.ธัมมัปปมาณิกา ธรรมะดี
    ๔.ลูขัปปมาณิกา ห่มจีวรเรียบร้อย

    สิ่งเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา ท่านทั้งหลายลองมองมาที่อาตมา มีสักอย่างไหม เสียงก็สั่นเครือ รูปก็ไม่หล่อ ธรรมะก็ลูกทุ่ง ห่มจีวรก็พะรุงพะรัง ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจนะว่า

    เห็นแร้งเหม็นสาบคาบแก้วใส่กร
    จงรีบร้อนรับเอาอย่าแสยง
    ถึงเหม็นก็เหม็นแต่กายแร้ง
    แก้วมีแสงใสละเอียดเกลียดทำไม


    เอาส่วนที่ดีไป คนที่เขามองอาตมาเขาเข้าใจผิด อาจารย์ภานี่ขาเสีย ศีรษะก็ล้าน ฟันก็หัก คุณมองไม่เป็น มองเจ้าอาวาสวัดตาขัน ต้องมองที่ไฝ การมองการดูอะไร ต้องมองต้องดูให้เป็น แต่พระทุกวันนี้ต้องระวังตัวให้มาก รูปหล่อ เทศน์เก่ง และรวย อันตราย อาตมาไม่มีสักอย่าง รอดตัวไป ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า จะพูดธรรมะ จากต่ำสุดไปสูงสุด เหมือนเครื่องบิน พอติดเครื่องจะเชิดขึ้นทีละนิดๆ ถ้าติดเครื่องปั๊บ ขึ้นไปเลย อาจจะตกได้ คือต้องพูดจากต่ำสุดแล้วให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ตอนทีจะลงก็ค่อยๆ ลง แล้วเบรกจอดนิ่ง เส้นทางสู่รสพระธรรม คืออะไร เส้นทางคือการเดินทาง หลักในพระพุทธศาสนาเป็นการเดินทางอย่างหนึ่ง การเดินทางข้ามวัฏสงสาร หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดไปสู่มรรคผลนิพพาน การเดินทางมี ๓ วิธี คือ

    ๑.เดินเอง
    ๒.เดินตามผู้อื่น
    ๓.เดินตามแผนที่

    ทุกวันนี้ ครูบาอาจารย์และสำนักต่างๆ นั้น บางทีเดินเอง บางทีเดินตามผู้อื่น ไม่ได้ยึดถือแผนที่ในการเดินทาง การเดินเอง การเดินตามผู้อื่นอาจจะถูกก็ได้ ผิดก็ได้ แต่ถ้าเดินตามแผนที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์
    ในช่วงนี้เป็นฤดูกาลทอดกฐิน เขาทอดกฐินกันทำไม

    ๑.เพื่อให้พระสงฆ์ได้อานิสงส์กฐินครบ
    ๒.เจ้าภาพต้องการบุญ

    ท่านทั้งหลาย วันพระในเทศกาลเข้าพรรษา ไปทำบุญ พอรุ่งเช้า มีปิ่นโตใส่รถวิ่งไปตามถนน ลูกศิษย์ถามว่า อาจารย์จะไปไหน อาจารย์ตอบว่า จะไปทำบุญ ถ้าเด็กถามว่า บุญคืออะไร ท่านทั้งหลายจะตอบว่าอย่างไร บางคนตอบว่า บุญคือความสุข บุญคือความสบาย บุญคือความดี ส่วนมากจะตอบกันอย่างนี้ทั้งนั้น แล้วคนทำชั่วมีความสุขบ้างไหม คนทำชั่วมีความสุขบ้างก็มี เช่นคนอื่นเขาเข้าใจผิด เขาเข้าใจว่าเราด่าเขา เขามาด่าเราฉอดๆ เรานึกหมั่นไส้ เพราะเราไม่ได้ทำอย่างนั้น จึงตบสุดแรง สะใจไหม ลักษณะสะใจนี่ อารมณ์ดีหรือเปล่า แล้วมันได้บุญหรือได้บาป
    ฉะนั้นบุญคือความสบาย ความสุขต่างๆ ที่เขาตอบมานั้น อาตมาไม่ได้ว่าผิด แต่มันถูกครึ่งเดียว สมมติว่า นกมันบินมา ท่านทั้งหลายยิงด้วยปืน ถูกที่ตัว ขนหล่นพรู ตัวบินไปได้ ถามว่ายิงผิดหรือยิงถูก ตอบว่ายิงถูก แล้วได้ตัวมาหรือเปล่า ฉะนั้นบุญคืออะไร จะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบว่า บุญคือความสะอาดของจิต อะไรเป็นเหตุให้จิตสกปรก ต้องตอบว่ากิเลสนะ บางท่านตอบว่า บาปคือการกระทำ ทำชั่วก็การกระทำ ทำดีก็การกระทำ ต้องตอบว่า บาป คือการกระทำชั่ว กิเลส แปลว่า สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง จะทำอะไรก็ตาม ถ้าทำแล้วใจเศร้าหมอง นั่นแหละเป็นความชั่ว เรียกว่าบาป
    คำสอนทางพระพุทธศาสนาแบ่งกิเลสไว้ ๓ อย่าง ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ว่าไทย จีน อเมริกา กิเลสมีเท่านี้ไม่มีมากไปกว่านี้

    ๑.โลภะ คือ ความอยากได้ของผู้อื่นในทางทุจริต อย่าเข้าใจว่าอยากได้อะไรแล้ว จะเป็นกิเลสหมด ไม่ใช่นะ ในที่นี้ ท่านทั้งหลายคนไหนคิดว่า ปีหน้าอยากได้สองขั้น แล้วตั้งใจทำงานดี สอนดี พอได้สองขั้นอันมาจากผลงาน มันผิดตรงไหน เมื่อไม่ผิดศีลไม่ผิดธรรม ไม่เป็นความโลภ ต้องเข้าใจอย่างนี้ สิ่งที่จะเป็นความโลภก็คือ ได้มาในทางทุจริต แม้แต่สลึงเดียวก็เป็นความโลภ
    ๒.โทสะ คือ ร้ายกาจ เราโกรธใครแล้วหงุดหงิดอยู่ในใจบุคคลอื่นยังไม่เดือดร้อน ถ้าเอามือเท้าสะเอวแล้วด่าไฟแลบแสดงว่าร้ายกาจ
    ๓.โมหะ คือ ความหลง ไม่รู้สภาวะตามความเป็นจริงของสังขาร ว่าสังขารทั้งหลายมันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นธรรมดา อันนี้แหละ มันคืออวิชชา ถ้าเรารู้สภาวะตามความเป็นจริงของสังขารได้ดีแล้ว เราจะรู้ทันสิ่งที่ประสบนั้น เราจะอยู่ในสิ่งที่ประสบนั้นอย่างมีความสุข</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    นั่งสมาธิแล้วสุขไม่เห็นทุกข์ ไม่มีอาการกาย ไม่เห็นลมหายใจ ไม่มีคำภาวนา ก็ระลึกลมกลับมา ให้มีคำภาวนากลับมา ให้มีความรู้สึกที่กายกลับมา ดูเวทนาทุกข์ที่เกิดกับกาย ว่ามันเที่ยงไหม เอาอย่างนั้นเลย ให้รู้กันไปว่าทุกข์มันเที่ยงไหม

    เหมือนว่านั่งสมาธิมีแต่สุขเห็นว่าสุขนี้เที่ยง ไม่มีความเห็นว่าเป็นทุกข์แล้วจะดับทุกข์ทำไม
    เวลานั่งเอาลิ้นแตะเพดานปากไว้ด้วยนะครับ :cool:
     
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แตะเพดานปากใครครับ แล้วแตะทำไมครับ ^^
     
  14. Mareo

    Mareo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +39
    ขอบคุณท่านปราบเทวดาครับ ที่คอยแวะเวียนมาตอบกระทู้ให้ครับและพอให้ได้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติของผมด้วยครับ

    ผมเองปฏิบัติมาก็หลายแนวครับ ตั้งแต่พุทธ-โธ,สัมมาอรหัง,ยุบหนอ-พองหนอ,การใช้กสิณแสง(ดูแสงในหยดน้ำ จากการรดน้ำต้นไม้)
    แต่ที่รู้สึกเหมาะกับผมมากที่สุดคือการระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก โดยไม่ต้องนึกคำใดๆครับ (อานาปานสติ เป็นฐานครับ) พอนิ่งเข้าไปอีกนิด ก็จะรู้สึกถึงชีพจรการเต้นของหัวใจครับ จะควบคู่ไปกับการรู้สึกที่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นส่วนๆไปครับ
    พอนิ่งเข้าไปอีก จะรู้สึกทั่วทั้งร่างกายตามจังหวะของการเต้นชีพจรครับ
    พอนิ่งขึ้นไปอีก จะไม่รู้สึกถึงชีพจร แต่จะรู้สึกทั่วร่างกายเพียงอย่างเดียวครับแต่ต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกันครับ ผมจะนั่งสมาธิประมาณหนึ่งชั่วโมงครับเช้า-เย็น
    พอปลายชั่วโมงจะรู้สึกปวดบริเวณขา ข้อเท้า และเท้าครับ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้างขวา
    ในบางครับ ถ้าวางใจอุเบกขาได้ อาการปวดก็ค่อยๆ ลดลง และสามารถนั่งต่อได้ไปเรื่อยๆ แต่ในบางครั้ง ก็วางใจเป็นอุเบกขาไม่ได้ ความปวดทวีความรุนแรงจนต้องขยับแล้วออกจากสมาธิครับ

    ผมขออนุญาตลงแค่นี้ก่อนนะครับ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติยังมีอีกหลายอย่างครับ บางอย่างอาจไม่สมควรลงในกระทู้ครับ อาจจะส่งเป็นข้อความส่วนตัวไปครับ
    รบกวนท่านปราบเทวดาแนะนำเพิ่มเติมครับ
    ขอบพระคุณท่านปราบเทวดาครับ
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ดีครับดี หากถนัด รู้สึกชอบ ในอานาปานสติ

    งั้นแนะนำต่อ ทุกครั้งก่อนเจริญ อานาปานะสติในรูปแบบ
    ขอให้สวดมนต์ตามนี้ ทำตามนี้ทุกครั้งครับ

    อันนี้ข้อที่ 1


    http://palungjit.org/threads/เทคนิค-ที่ช่วยส่งเสริม-ในการตั้ง-สมถะ.263168/
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    หากทำได้ คัดลายมืองามๆ ซัก 5 รอบ ในเกร็ดธรรมนี้ครับ

    อันนี้แนะนำเป็นข้อ ที่ 2



    เกร็ดธรรม หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    (ถอดเทปโดย เพื่อนสมาชิก พลูโตจัง)

    ที่นี้ เกี่ยวกับเรื่องการบริกรรมภาวนา ซึ่งท่านได้กล่าวเสมอว่า
    บริกรรมภาวนาทุกชนิด หรือทุกอย่าง
    เฉพาะในหลัก อนุสติ 10 อนุสติ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อที่ 8
    ข้อ 1 ก็คือ...พุทธานุสติ
    ข้อ 2 ...ธัมมานุสติ
    ข้อ 3 ...สังฆานุสติ
    …และ เทวตานุสติ ..อุปสมานุสติ เป็นลำดับไป
    (พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณสติ กายคตาสติ
    อานาปานสติ อุปสมานุสติ)

    เรื่องของอนุสติ 8 ข้อนี้ เกี่ยวเนื่องด้วยบริกรรมภาวนา
    ขึ้นชื่อว่า การบริกรรมภาวนานี่ ใครจะบริกรรมภาวนาอย่างไรก็ตาม
    จะบริกรรมภาวนากันทั้งวัน ทั้งคืนก็ตาม
    จิตไม่สามารถจะสงบลงไปถึงขั้น..อัปปนาสมาธิ
    ขอให้พึงทำความเข้าใจกันอย่างนี้

    ยกตัวอย่าง เช่น พูดภาวนา..พุทโธ..พุทโธ..พุทโธ..พุทโธ
    ภาวนา..พุทโธ นี่จิตไม่ถึงขั้นสมถะ คือจิตไม่ถึง...อัปปนาสมาธิ
    ท่านทั้งหลายอย่าพึงเข้าใจผิด
    ว่าภาวนา..พุทโธ จิตได้แต่..สมถกรรมฐาน ไม่ถึง วิปัสสนากรรมฐาน
    แต่ แท้ที่จริงนั้น...ภาวนาพุทโธนี่ จิตถึงแค่อุปจารสมาธิ

    ท่านเคยสังเกตุมั๊ย ท่านบริกรรมภาวนาพุทโธ..พุทโธ..พุทโธ..พุทโธ..พุทโธ
    ถ้าจิตรู้สึกเคลิ้มๆ แล้วก็สว่าง จิตนิ่ง..นิ่ง.. แต่ยังรู้สึกว่ามีกายอยู่
    อารมณ์ภายนอก เช่น
    ลมพัดผ่านเข้ามา ก็ยังรู้สึกเย็น รู้สึกหนาว รู้สึกร้อนอยู่
    จิตยังไม่ปล่อยวางกายทั้งหมด แล้วคำว่าพุทโธหายไป

    เมื่อเป็นเช่นนั้น อุปจารสมาธิเนี่ย ไม่ใช่ขั้นสมถะ
    เป็นแต่เพียงความสงบจิตเพียงนิดหน่อยเท่านั้น
    คือจะให้จิตสงบเป็นอัปปนาสมาธิ ถึงขั้นสมถะนั้น
    ผู้ฉลาดในการภาวนาจะต้องกำหนดจิต
    ลมหายใจ เข้า-ออก...จะเป็นสื่อ
    ทำจิตให้ดำเนินเข้าไปสู่อัปปนาสมาธิ ถึงขั้นสมถะ

    หรือมิฉะนั้นก็กำหนด กายคตาสติ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
    พิจารณาแง่ใด สุดแท้แต่ท่านจะสะดวก แต่พิจารณาในแง่...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ..ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา..ก็ได้

    จะพิจารณาในแง่อสุภะกรรมฐาน ว่าพระพายเป็นของปฏิกูลเน่า..เศษโสโครกสกปรกก็ได้ แล้วถามปัญหา ถามตอบตัวเองไปเป็นข้อๆ
    เพื่อประคับประคองจิตให้นึกคิดพิจารณาอยู่ในเรื่องๆ เดียว
    หรือท่านอาจจะพิจารณาว่ากายนี้
    มีสภาพเศษดิน มิใช่สัตว์..บุคคล..ตัวตน..เราเขา
    เป็นแต่เพียง ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกัน
    แล้วก็มีจิตวิญญาณมายึดถือความเป็นเจ้าของ จึงเกิดความยึดมั่นถือมั่นว่า

    ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเราเป็นเขา...ของเราของเขา แต่เมื่อแยกออกไปโดยเป็นสัดส่วนแล้ว
    หาสัตว์..บุคคล..เรา..เขาไม่มี อันนี้คือผลลัพธ์พิจารณาธาตุกรรมฐาน
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    จริงๆ ในการฝึก เล่าลงมาในโพสนี่ก็ได้ครับ
    เล่าสู่กันฟัง ฝึกแบบไหนก็เล่าแบบนั้น

    อาการในการฝึกฝน มีหลากหลายมากมาย
    แล้วแต่ความพิศดารในอาการแต่ละคน แต่ละกลุ่ม
    อาจเหมือนกันบ้าง
    แตกต่างกันบ้าง
    ของผมเอง ที่พิศดารหน่อยๆ ก็เล่นจนคิ้วแตก
    งงไหม นั่งสมาธิจนคิ้วแตก หุหุ


    แต่เมื่อรวมลงมา จะเป็นอย่างเดียวกัน
    คือ มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคา อันนี้ก็เป็นจุดนัดพบในการเล่า

    เรื่องเวทนาที่เกิด เช่น ปวดแข้ง ปวดหัวเข่า ปวดข้อเท้า หลังเท้า หน้าแข้ง
    แต่ก่อนก็ สงสัยเหมือนกันนะ ว่า ได้ยินได้ฟัง คนทำสมาธิเล่าให้ฟังว่า พอเจอ ตัวสุข อาการปวดจะหายไป เป็นปลิดทิ้ง

    เราก็เลยลองมั่ง อยากรู้ว่าจะจริงไหม
    ก็ฝึกนั่งทน ดูความเจ็บปวด ลองนั่งยาว 7 ชั่วโมง โดยอยู่แต่ท่านั่ง
    ตอนที่มันปวดแบบว่ากายเหมือนจะแตก ประมาณว่า กูตายแน่ๆ
    ใจเราก็บอกว่า เอาวะ นั่งตายไปเลยจะเป็นไงก็เป็นกัน
    พอไปถึงจุดหนึ่ง อาการปวด หายไปโช๊ะ อาการรู้สึกสะบายกลับมาทันที

    มันก็ไม่เห็นปวดจนตายแหะ กลับรู้สึกสะบายปลอดโปร่ง

    ทีนี้ เมื่อ เราทำแบบนี้อีก มันกลับเห็นการปวด และสะบายสลับกัน
    เรียกว่า เห็น ความทุกข์ที่เกิดทางกาย หายไป แล้วก้เห็นความสุขสะบายของร่างกายเปลี่ยนมารู้สึกได้ที่ใจ

    แต่ว่า มันก้อยู่ได้ไม่นาน ปวดมากจนไปสุดอาการของมัน
    แล้วสุขสะบายก็ตามมา พอไปสุดอาการของมัน ปวดก็มาใหม่อีก

    ทีนี้พอเห็นแบบนี้ได้บ่อยขึ้น เราเลยเข้าใจว่า มันเป็นเรื่องของร่างกาย
    ที่เกิดขึ้นสลับกันไปมา ไม่ได้มีอย่างใดอย่างหนึ่งค้างเติ่งตลอด
    ต่างกันตรงที่ว่า การนั่งทนที่ทำได้บ่อยๆ
    มันกลับให้เรามีกำลังในการนั่งดูความปวด-ความสะบาย
    แบบว่า รู้นะว่าปวด-รู้นะว่าสะบาย
    แต่ใจกลับไปผูกพันกับความปวด-กับความสะบาย ได้น้อยลง

    ทำให้เราเห็นความพอดี ในทางดำเนินมากขึ้น
    และรู้จังหวะด้วยตัวเองได้ชำนาญขึ้น


    เดี๋ยว หาก ทำได้ ข้อ 1 และข้อ 2แล้ว

    เดี๋ยวจะแนะนำ ข้อ ที่ 3ครับ
    ยินดีในการฝึกปฏิบัติธรรมครับ _/ _
     
  18. Equal

    Equal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +195
    สาธุธรรมในการชี้ทางของคุณปราบเทวดาคะ _/\_

    ขอชื่นชมในความตั้งใจปฏิบัติ ของคุณ Mareo และขออนุญาติแชร์ประสบการณ์ ^^

    เท่าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลการปฏิบัติ คาดว่าน่าจะมาจากคุณสนใจการปฏิบัติมากแต่คนที่บ้านไม่มีใครปฏิบัติเช่นคุณ จึงทำให้เกิดปฏิฆะอยู่เนืองๆ จนบางทีคุณหลุดอารมณ์การปฏิบัติ และท้อแท้กับการปฏิบัติ ซึ่งเป็นธรรมดา ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ...

    การปฏิบัติตามแนวทางท่านอ.โกเอนก้า เมื่อฝึกไปจะรู้ลมร่วมกับการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนการปฏิบัติเช้าเย็น เป็นการเสริมฐานสมาธิให้แน่น เมื่อต้องเข้าสู่การเจริญวิปัสสนาระหว่างวัน

    การไปพบครูบาอาจารย์เพื่อปรึกษาและขอคำแนะนำ นั้นถ้าคุณเพียงแต่ทำตามโดยไม่เจริญปัญญาของตน ก็อาจจะได้รับประโยชน์น้อย

    แต่หากนำมาประกอบการปฏิบัติของตนได้ ก็สามารถพัฒนาจิตและปัญญาเพิ่มยิ่งขึ้น เหมือนครูบาอาจารย์แต่ละท่านก็จะมีความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน เมื่อเราถึงเวลาพัฒนาตัวเองต่อ มักจะเสาะหาครูบาอาจารย์

    ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ปฏิบัติตามแนวทางพุธโธ สัมมาอะระหัง มาก่อน จนมาได้ปฏิบัติกับท่าน อ.โกเอนก้า ทำให้ได้ฐานการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง ปฏิบัติมาได้ 5 ปี ก็มาเจอธรรมะของพระอาจารย์ปราโมทย์ ปราโมชฺโช ก็ยิ่งทำให้เข้าใจการปฏิบัติมากขึ้น เพราะเหมาะกับคนที่ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

    ข้อควรระวังของผู้ปฏิบัติเองนั้นคือ การสอบอารมณ์อยู่เสมอๆ กับครูบาอาจารย์ ซึ่งตัวดิฉันเองบางครั้งไม่ได้ไปหาครูบาอาจารย์โดยตรง แต่มักได้จากอินเตอเนต หนังสือ ซีดีธรรมะ กัลยาณมิตร และที่ขาดไม่ได้คือสอบอารมณ์กับอาจารย์กรรมฐานทุกปี ...

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นคะ ... _/\_
     
  19. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    การหาครูอาจารย์ไม่ควรติดกับชื่อเสียง สำนัก ชั้นยศ หรือเรื่องเงินหรือปัจจัยอะไรต่างๆที่กำหนดไว้ว่าต้องถวายเท่านั้นเท่านี้ ถ้าพระมีกฏเกณฑ์อย่างนี้พยากรณ์ตามตรงว่า ตายไปมีสิทธิ์ไปเกิดที่ทุคติ พระธรรมวินัยที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องการชำระกิเลส เอาสิ่งสกปรกในใจออกให้เบาบางหรือหมดสิ้น การตั้งชั้นยศนั้นก็เป็นธรรมอย่างโลกๆ บางครั้งท่านๆอาจจะเห็นพระชั้นผู้ใหญ่เดินทางมาร่วมงานอะไรสักอย่าง แต่ละรูปที่มาก็ไม่ต่างจากสมัยพุทธกาลที่ในตอนนั้นนักบวชเหล่านั้นมาด้วยการแบกยศฐาบรรดาศักดิ์มาอวดกัน กูชั้นนั้นชั้นนี้ วัดนั้นวัดนี้ บางสังคมเวลานั่งคุยกับพระก็นั่งระดับเสมอกัน ปัจจุบันหาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบยาก ถ้าเถียงก็นั่นแหละพระปุถุชน พระอริยะที่แท้จริงดูที่ปฏิปทาหรือความประพฤติ บางวัดตกกลางคืนมาก็เสพกาม กินเหล้า อนาคตชาติไม่เคยสำเหนียก นรกน่ะมีจริง บางท่านอาจจะคิดว่าเป็นพระไม่ตกนรก ไปถามท่านพระยายมพบาลดูสิ ผ้าเหลืองปลิวว่อนอวเจี เพราะท่านทำตัวเอง ไม่ศึกษาพระธรรมวินัยที่แท้จริง และไม่ปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ คือนิพพาน บางรูปก็อยากออกทีวี บางรูปก็โชว์อสุภะ บางรูปก็ตลก เป็นตัวตลก เป็นต้น ทีนี้แนะนำจากที่ถามมา การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ขึ้นกับกาลเวลาและสถานที่ สะดวกที่ใดเราก็ปฏิบัติได้ ให้ภาวนาว่านั่นนั้นไม่ใช่เรา เช่น เสียง เราก็ให้รู้ว่าไม่ใช่เรา เราไม่ยึดถือว่านั่นนี่เป็นเรา เป็นการปฏิบัติทางจิต ทำได้ด้วยการทำสมาธิ อย่างน้อยให้ได้อัปปนาสมาธิหรือปฐมฌาณ เวลาที่มีอารมณ์มากระทบก็อย่างที่กล่าว ไม่ใช่เรา ทำใจให้ว่างจากอาสวะกิเลส ด้วยอริยสัจจ์สี่ โดยเฉพาะมรรค 8 ทางนี้นิพพาน...
     
  20. Mareo

    Mareo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +39
    ขอบพระคุาณท่านปราบเทวดาครับ
    ผมขออนุญาติอ่านรายละเอียดอีกทีนะครับตามที่ท่านได้แนะนำมา
    แล้วจะลองนำไปปฏิบัตินะครับ

    ผมเองนั่งสมาธิจริงๆ จังๆ ตอนปี 2540 ครับ
    แต่สมาธิจะติดอยู่กับอารมณ์สุข กับเอกัคตารมณ์ครับ ทำให้ร่างกายไม่รู้สึกอะไรเลย เสียงก็ไม่ได้ยิน(หรืออาการหูดับครับ) จึงสามารถนั่งได้นานหลายๆ ชั่วโมง
    ก็ติดกับสุขๆ นิ่งๆ อย่างนั้น บางครั้งช่วงไหนที่ห่างไปจากการนั่งสมาธิ ก็ต้องเริ่มสะสมชั่วโมงการนั่งใหม่ และดำเนินชีวิตตามกระแสของกิเลสไปตามปกติโดยที่ไม่ได้ศึกษาธรรมะเพิ่มเติมนัก

    รู้จักเวปพลังจิตประมาณปี 2549 โหลดธรรมะของท่านหลวงปู่ฤาษีลิงดำมาฟังตอนนั่งสมาธิครับ ตอนนั้นจึงลองฝึกกสิณครับ โดยใช้กสิณแสง แต่สมาธิก็ไม่ได้คืบหน้าอะไร
    ตอนปี 2553 ได้โหลดคำสอนจากเวปฟังธรรมดอทคอมครับ จากพระอาจารย์หลายๆ ท่าน
    แต่ที่โหลดเพิ่มเติมและฟังบ่อยๆ คือของท่านหลวงพ่อปราโมทย์ สาเหตุที่เลือกเพราะจากการบันทึกเสียงที่ชัดเจน ทำให้ฟังธรรมได้ชัด ไม่สะดุดเวลาฟังธรรมครับ

    มีอยู่ครั้งนึงขณะขับรถ ก็ฟังคำสอนของท่านหลวงพ่อปราโมทย์
    ตอนนั้นขับรถอยู่ทางด่วน ด้วยความเร็วปกติที่ไม่ได้เร็วมากครับ
    กำหนดรู้สึกตัวทั่วพร้อม ตามคำสอนที่ได้ฟังขณะนั้น
    มีความรู้สึกว่าตัวควบคุมของเราเองในการขับรถ หรือจะเป็นจิต ก็ไม่แน่ใจครับ มันลอยสูงขึ้น ๆ เหมือนจะติดเพดานรถ
    และรู้สึกว่าขับรถไม่ถนัดเหมือนเดิม ทั้งๆ ที่เราก็เห็นแขนเห็นมือที่จับพวงมาลัยรถ เห็นขาที่เหยียบคันเร่งอยู่ เห็นร่างกายของตัวเองที่ขับรถอยู่ แต่เหมือนมองในมุมสูงครับ เห็นไมล์แสดงความเร็ว ความเร็วขณะนั้นอยู่ประมาณ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ครับ แต่กำลังลดลงเพราะจากความรู้สึกที่ไม่ถนัด ด้วยความกลัวจากความไม่ถนัด ก็ค่อยๆ ผ่อนอารมณ์ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมลง ตัวควบคุมของเรา หรือจิต ก็ค่อยๆ กลับมาอยู่ที่ระดับสายตาเหมือนเดิม ความรู้สึกถนัดก็กลับมาเป็นปกติอย่างเดิมครับ
    เป็นความรู้สึกครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในขณะลืมตาครับ
    แต่ไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือป่าว (ที่รูปขันธ์ กับ นามขันธ์ แยกจากกันอย่างนี้หรือป่าวครับ)

    รบกวนท่านช่วยแนะนำเพิ่มเติมครับ
    ขอบพระคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...