คลิปแฉ!! หลักฐานปล้นประเทศไทย เผยไทยมีก๊าชธรรมชาติอันดับ 24ของโลก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย surer, 30 มีนาคม 2012.

  1. Alissa28

    Alissa28 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +500

    555 อ่านแล้วขำจริงๆด้วย. ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ
     
  2. you@i

    you@i Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +54



    ถูกใจขอกดlikeด้วยคน
     
  3. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,667
    ค่าพลัง:
    +3,459
    น่าแปลกว่า ทำไมไม่มีใครพูดถึงก่อนหน้านี้
    จะโทษนักการเมืองอย่างเดียวคงไม่ถูกครับ
    เพราะช่วงเวลา 20 ปีมานี้ก็มีการพลิกขั้วหลายครั้ง
    ปฏิวัติก็สองหน
    ถ้าเกิดจากการเมืองคงเปิดโปงกันสะบั้นไปแล้ว

    ถ้าเป็นข้อมูลตามนี้จริง ต้องตามไปดูว่า ใครได้รับสัมปทาน
    มีอัตราค่าภาคหลวงเท่าไหร่ เปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆ
    มากหรือน้อยกว่า ถ้าได้น้อยกว่า เกิดจากเงื่อนไขอะไร
    ใครมีส่วนได้ส่วนเสีย น้ำมันที่ผลิตได้ ทำไมไม่นำมาใช้ในประเทศให้พอ
    แต่กลับส่งออกไปนอกประเทศ แล้วไปซื้อน้ำมันข้างนอกที่แพงๆ โดยอ้างอิงราคาที่สิงคโปร์ ยิ่งคิดยิ่งงงแฮะ
     
  4. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +2,752
    อ่านแล้ว .. ไม่เห็นตรงใหน ที่บอกว่า คุณยิ่งคิดยิ่งงง...555
     
  5. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,667
    ค่าพลัง:
    +3,459
    งงตรงนี้ครับ ถ้าคุณรู้ตอบมาครับ

    น้ำมันที่ผลิตได้ ทำไมไม่นำมาใช้ในประเทศให้พอ
    แต่กลับส่งออกไปนอกประเทศ แล้วไปซื้อน้ำมันข้างนอกที่แพงๆ โดยอ้างอิงราคาที่สิงคโปร์
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เราสงสัยตรงที่ว่า ไทยส่งออกน้ำมันและก๊๊าซเป็นมูลค่ามากกว่าข้าวและยางพารา
    แต่สื่อหลัก อย่าง ทีวีและหนังสือพิมพ์ ไม่ออกข่าวซักแอะหรือว่าเขาปิดข่าว
    ปิดหูปิดตา คนไทย ? :'(

    ต่างชาติรับจ้างขุด ปตท.รับจ้างขายตั้งราคาขายเท่ากับราคาตลาดโลก+โสหุ้ย
    คนไทยเป็นคนซื้อราคาตลาดโลก เงินที่ได้จากทรัพยากรของคนไทย ใครได้เนื้อๆ
    ต่างชาติที่ได้สัมปทาน+รัฐบาล+นายทุนในตลาดหุ้น ได้เงินจากประชาชนไทย
    นักการเมืองเอาเงินภาษีที่ได้เข้าคลังมาหมุนเข้ากระเป๋าตัวเองและพวกพ้อง
    และแจกในรูปแบบประชานิยม เพื่อจะได้เรียกคะแนนนิยมจากคนไม่รู้เพื่อได้คะแนนเสียงกลับมาบริหารต่อ?
    แถมประชาชนส่วนใหญ่ยังรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณนักการเมืองอีกนะเนี่ย หุหุ บุญคุณต้องทดแทนด้วยการ ลงคะแนนให้เขา

    ไทยมีปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ เป็นอันดับ ที่ 33 ของโลก!!!

    อ้างอิงจากเว็บไซด์ CIA The World Factbook

    https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2173rank.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2012
  7. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +2,752
    ตอบ

    ..ที่จริง.. ผมก็ติดตามเรื่องราคาน้ำมันมาระยะหนึ่ง...และ สงสัยแบบเดียวกับคุณ แต่ ไม่งง ครับ เพราะ งง แล้ว จะ คิดอะไร ไม่ออก และ ที่ตอบนี้ ก็ ไม่ใช่ ว่า รู้ว่า สาเหตุที่แท้จริงคือ อะไร.. เพราะ ประชาชนทั่วไป ก็ รู้ข้อมูลในวงจำกัด เคยฟังคำชี้แจงของ ปตท และ หน่วยงาน ของรัฐที่ตอบข้อสงสัย ของนักข่าว มาบ้าง ก็ สรุปสั้นๆ ได้ว่า ยัง ไม่เข้าใจ น่าจะ เป็นเพราะ ความรู้ ของผู้ฟัง ไม่มากเพียงพอ ต้อง ปล่อยเลยตามเลย แต่ ยังคงให้ความสนใจ ในเรื่องนี้อยู่ เพราะ อยากให้ ราคาน้ำมันถูกลงอยู่เหมือนกัน ส่วนจะ ทำได้ แค่ใหน อย่างไร ก็ ต้องขึ้นอยู่กับ รัฐบาลและ รัฐสภา คิดว่า อย่างนั้น...

    ..ผมว่า ..เรื่องนี้..ไม่ควรจำกัด คำตอบไปที่ ถ้าคุณรู้ตอบมาเพียงอย่างเดียว น่าจะ ปล่อย ให้ แสดงความคิดเห็น โดยอิสระ คนไม่รู้แบบผม จะได้ มีเวที ระบายความในใจออกมาบ้าง ม่ายงั๊น ก็ ไม่ต้องตอบอย่างเดียว เพราะ ไม่รู้ นี่แหล่ะ...จริงใหม...
     
  8. สมโภช_W

    สมโภช_W Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +45


    น้ำมันสิงคโปร์ เขาใช้อ้างอิงราคาขายในประเทศ ทั้งที่นำเข้าไม่มาก กำไรดี
     
  9. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,667
    ค่าพลัง:
    +3,459
    ที่บอกว่างง คือผมไม่คิดต่อ เพราะคำตอบมันยังไม่ออกครับ ต้องรอเวลา
    ดังนั้น ถ้าคุณจะโชว์เริ่องตีความ เล่นคำ ทำเท่ ก็ทำไป เพราะ ไม่ว่าคุณจะงงหรือไม่งง คุณก็ตอบผมไม่ได้่อยู่ดี
     
  10. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,667
    ค่าพลัง:
    +3,459
    ผมมีหลักฐานบางอย่างมาให้ดู อาจไม่ใช่เรื่องก๊าซธรรมชาติโดยตรง
    แต่เป็นข้อมูลการส่งออกน้ำมันที่ว่าไทยอยู่ในลำดับต้นๆของโลก 555
    นั่นคือลำดับที่ 22 ดูให้ละเอียดจะพบว่า แม้ลำดับมันดูสูง เหมือนกับว่า เราส่งออกเยอะ
    แต่เปอร์เซนต์มันแค่ 0.25 % ของทั้งหมด โดยที่ 99 กว่า % มันไปกระจุกอยู่ประเทศเหนืือเรา
    ดังนั้น น้ำมันที่เราส่งออก มันแค่ขี้เล็บเท่านั้นเอง
    ผมพอจะมองออกแล้วข่าวนี้ เกิดขึ้นจากใคร และมีวัตถุประสงค์อย่างไร
    ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,667
    ค่าพลัง:
    +3,459
    พูดถึงก๊าซธรรมชาติมั่งครับ
    ปัจจุบันประเทศไทยผลิตก๊าซ เป็นอันดับ 26 ของโลก


    <table border="0"><tbody><tr><td align="right">26</td><td>Thailand</td><td align="right">28,760,000,512</td><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table>ดูภาพประกอบนะครับ
    ข้อมูลเอามาจาก
    Natural gas - production - Country Comparison

    แต่ไม่มีส่งออกเพราะไม่พอใช้ในประเทศครับ
    Natural gas - exports - Country Comparison
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pitro01.jpg
      pitro01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.5 KB
      เปิดดู:
      45
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2012
  12. iamnunna

    iamnunna เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +147
    ตรงกับคำทำนายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ทำนายเลย
     
  13. iamnunna

    iamnunna เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +147
    คำทำนายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาให้อ่านอีกครั้ง


    ทรัพยากรน้ำมันในประเทศไทย

    อย่างน้ำมัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นและมีค่าที่สุดของคนทั้งโลกนั้น ในเมืองไทยเรามีมากมาย น้ำมันที่ใช้อยู่ในโลกขณะนี้มีไม่ถึงหนึ่ง ในสาม ที่มีในเมืองไทยเรา

    ที่อาตมาพูดเช่นนี้มิได้กล่าวเกินความจริง แต่เป็นการกล่าวที่เกิดจากประสบการณ์ที่พอเชื่อถือได้ กล่าวคือ

    เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๑๗ อาตมาพร้อมด้วย พล.อ.ต.มรว. เสริม สุขสวัสดิ์ เจ้ากรมการสื่อสารทหารอากาศ ได้เดินทางไปยัง จังหวัดชุมพร พักอยู่ ณ บ้านพักหลังหนึ่ง หลังจากคุยกันประมาณห้าทุ่มเศษก็เข้านอน

    พอไฟดับลงเท่านั้น ก็มองเห็นภาพคนดำใหญ่เดินเข้ามาในห้องโดยไม่เปิดประตู เขาเดินเข้าเดินออกโดยไม่ต้องเปิดประตู จึง ถามเขาไปว่า อยู่ที่ไหน เขาบอกว่า อยู่ในห้องนี้แหละ แล้วก็คุยกันด้วยเรื่องต่างๆ เจ้าเทวดาดำใหญ่ได้เล่าให้ฟังว่า

    "เมืองไทยเรานี้มีน้ำมันมากมายมหาศาลเป็นลำธารกว้างขนาด ๑ กิโลเมตร และยาวหลายร้อยกิโลเมตร ไหลผ่านประเทศไทย ไปลงทะเล

    เมื่อใดที่ผู้บริหารดีทรัพยากรจะปรากฏขึ้น

    เขาบอกว่า น้ำมันนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะขุดนำมาใช้เพราะฝ่ายบริหารยังไม่ดีพอ หากปรากฏขึ้นในขณะนี้ พวกทุจริต ก็จะงุบงิบ เอาไป เป็นผลประโยชน์ส่วนตนหมด

    เมื่อใดผู้บริหารประเทศมีมือสะอาดซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ขุมทรัพย์มหาศาลในเมืองไทย เช่น บ่อ น้ำมัน ก็จะค่อยผุดขึ้นมาให้เห็นเรื่อยๆ ไป ซึ่งจะนำผลรายได้อันมหาศาลมาให้เมืองไทย ทำให้เมืองไทย กลายเป็นเศรษฐี มีชื่อ เสียงระบือไปทั่วโลก และจะได้เป็นมหาอำนาจประเทศหนึ่งในเอเชีย"

    ไปพิสูจน์สถานที่มีน้ำมันอยู่

    เจ้าเทวดาดำใหญ่ให้หลักฐานยืนยันคำพูดของตนว่า หากอยากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำมัน ให้ไป ดูบ่อน้ำมันที่เมืองมะริด ในเขต พม่า ซึ่งเป็นบ่อน้ำมันสายเดียวกันอยู่ห่างจากผืนแผ่นดินไทยประมาณ ๓๐ กิโลเมตร

    ณ. ที่นั้นจะมีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่ง มีน้ำมันลอยฟ่องเต็มไปหมด ถ้าอยากเห็นให้ไปดูด้วยตนเอง

    อาตมาอยากพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงได้เดินทางไปดูสถานที่แห่งนั้น เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๘ นี้เอง ปรากฏว่า เป็นความจริงทุกอย่าง

    บริเวณนั้นมีหนองน้ำซึ่งมีน้ำมันลอยเต็มไปหมด ชาวบ้านนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี จึงมั่นใจได้ว่า เทวดาดำองค์นั้น ไม่โกหก เมืองไทยเรามีน้ำมันแน่ๆ

    ต่อเมื่อใดผู้บริหารใจซื่อมือสะอาดมาบริหารชาติบ้านเมือง ทรัพยากรเหล่านี้ก็จะปรากฏให้เห็น และนำมาใช้ ให้บ้านเมือง เรา มีความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2012
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มูลค่าส่งออก 0.25% = 1363,575,581 ดอลล่าร์ = 1363575581*30 = 40,907,267,430 ล้านบาท
    ถึงเปอร์เซนต์จะน้อย แต่ตัวเลขที่เป็นตัวเงิน มันไม่น้อย
    สมควรที่คนไทย จะใส่ใจผลประโยขน์ของตัวเอง อย่าให้ใครมาปกปิดหลอกลวงเรา

    ไม่รู้เป็นข้อมูลทั้งปี 2554 หรือแค่ไตรมาส หรือแค่เดือนเดียว แต่มันก็ยืนยันได้
    ว่าประเทศไทยส่งออกน้ำมัน !!!
    และคนไทยใช้น้ำมันในราคาตลาดโลก(สิงคโปร์)+ค่าโสหุ้ย มาตลอด
    คนไทยแทบไม่ได้ประโยชน์จากน้ำมันที่ขุดได้ในผืนแผ่นเลย จ่ายค่าน้ำมัน = ราคาตลาดโลก + ภาษีอานอีกด้วย
    เพราะเราถูกเป่าหูว่า เรานำเข้าน้ำมันมาตลอด ตลาดโลกขึ้นราคา น้ำมันไทยก็ขึ้นทันที
    แต่ตอนตลาดโลกลดราคาก็ไม่ได้ลงให้ทันที แถมรัฐบาลยังต้องจ่ายชดเชยให้บริษัทขายน้ำมันอีก
    ในกรณีที่ไปตรึงราคาไว้อีก

    มาดูที่เว็บหอการค้าไทยบ้าง เราส่งออกน้ำมันมากกว่าข้าว
    ข้อมูลส่งออกทั้งปี 2554
    มูลค่า : ล้านบาท
    VALUE : MILLION BAHT <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=1><TBODY><TR class=d5 bgColor=#4a68ae><TD colSpan=2 height=25>
    รายการ​
    </TD><TD>
    2554/2011​
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    1
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    513,709.4
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    2
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    511,483.7
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    3
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    397,079.8
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    4
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    371,239.3
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    5
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    303,794.7
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    6
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    265,312.7
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    7
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    252,969.8
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    8
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    250,046.8
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    9
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    238,173.4
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    10
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    196,117.0
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ข้อมูลส่งออก มค.-กพ. 2555
    มูลค่า : ล้านบาท
    VALUE : MILLION BAHT ​
    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=1><TBODY><TR class=d5 bgColor=#4a68ae><TD colSpan=2 height=25>
    รายการ​
    </TD><TD>
    2555/2012​
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    1
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    94,243.7
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    2
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    83,595.6
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    3
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    75,277.0
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    4
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    65,544.2
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    5
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    54,120.7
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    6
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    42,777.8
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    7
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    40,460.3
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    8
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    39,558.3
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    9
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    30,042.4
    </TD></TR><TR class=d2><TD>
    10
    </TD><TD height=22></TD><TD>
    25,024.3
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    Thailand Trading Report
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2012
  15. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,667
    ค่าพลัง:
    +3,459
    ต่อไปดูข้อมูลน้ำมันต่อครับ
    ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกน้ำมันเป็นอันดับ 44 จำนวน 269,100 bbl/day
    ของโลก
    <table border="0"><tbody><tr><td align="right">44</td><td>Thailand</td><td align="right">269,100</td><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table>ที่มา Oil - exports - Country Comparison
    แต่นำเข้าน้ำมันถึง 1,695,000 bbl/day
    <table border="0"><tbody><tr><td align="right">11</td><td>Thailand</td><td align="right">1,695,000</td><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>ที่มา Oil - imports - Country Comparison


    สรุปว่าผลิตไม่พอใช้ครับ

    ตัวเลขที่ต่างกัน ผมก็ไม่ทราบที่ใครถูกใครผิด ใครเก่งๆ ก็ช่วยหาที่ไปที่มาทีเถอะครับ เดี๋ยวไปเคลียร์งานก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2012
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(32,64,128); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" height=36 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="80%"><B><BIG><BIG>ปริมาณการผลิตน้ำมันของไทย ในปัจจุบัน ?</BIG></BIG></B></TD><TD vAlign=top noWrap align=right width="20%">[​IMG] [​IMG] [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ไทยนำเข้าน้ำมันทุบสถิติมูลค่าแตะ1.03ล้านลบ.

    ASTVผู้จัดการรายวัน - ไทยสูญเงินนำเข้าน้ำมันปี 2554 ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทะลุ 1.03 ล้านล้านบาท ทั้งที่นำเข้าลดลง 4% เหตุราคาน้ำมันปีนี้แพงกว่าปีก่อนถึง 30 เหรียญฯต่อบาร์เรล แนวโน้มปี'55 การใช้ยังคงขยายตัว 2-3%

    ขณะที่กองทุนน้ำมันฯควักชดเชยนำเข้าแอลพีจีรวม 4 ปีที่ 6.2 หมื่นล้านบาท

    นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.)เปิดเผยว่า การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในปี 2554 มีปริมาณรวม837,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2553 จำนวน 4% แต่มูลค่านำเข้าอยู่ที่ 1,030,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30%

    ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่านำเข้าทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งหลังจาก ที่ปี 2551 เคยนำเข้าสูงถึง 1,024,423 ล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับสูงขึ้นเกือบ 30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

    ขณะที่แนวโน้มการนำเข้าน้ำมันในปี 2555 จะยังคงขยายตัวตามการใช้ที่คาดว่าจะโต 2-3% ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัว 4.5-5.5%

    สำหรับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 2554 พบว่า ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2553 มากนักเนื่องจากภาวะน้ำท่วมโดย
    กลุ่มเบนซินอยู่ที่ 20 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงจากปี 53 ที่ 2% โดยเบนซินส่วนของแก๊สโซฮอล์ลดลง 4% จาก 12 ล้านลิตรต่อวันเหลือ 11.5 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่การใช้เบนซิน 91, 95 เพิ่มขึ้น2% จาก 8.3 ล้านลิตรต่อวันเป็น 8.5 ล้านลิตรต่อวันเพราะผลจากการลดเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนของ เบนซิน91,95 ส่วนแนวโน้มการใช้ปี 2555 คาดว่ากลุ่มเบนซินจะโต1-2%
    ส่วนการใช้ดีเซลอยู่ที่ 51.1 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 3%จากการที่รัฐตรึงราคาไว้ที่ 29.99 บาทต่อลิตรตั้งแต่ปลายปี 2553 และยังมีการลดการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ 2.80 บาทต่อลิตรประกอบกับช่วงน้ำท่วมมีการใช้ดีเซลเพื่อการสูบน้ำจำนวนมากคาดว่า การใช้ปี 2555 จะขยายตัว 3-4%

    การใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)
    อยู่ที่ 6.4 ล้านกิโลกรัมต่อวัน เพิ่มขึ้น 27%
    และก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) อยู่ที่5.43 แสนตันต่อเดือน เพิ่มขึ้น 19%

    โดยการใช้ภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น 41% อยู่ที่ 1.86 แสนตันต่อเดือน ขนส่งเพิ่มขึ้น 35%ภาคขนส่งอยู่ที่ 7.6 หมื่นตันต่อเดือน ครัวเรือนเพิ่ม 9%ครัวเรือนเพิ่ม 9% อยู่ที่ 2.2 แสนตันต่อเดือน

    เนื่องจากรัฐยังคงตรึงราคาแอลพีจีขนส่งและครัวเรือน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมลดลง 8% เหลือ 6 หมื่นตันต่อเดือน โดยแนวโน้มการใช้ NGV และ LPG จะทรงตัวและอาจลดลงหากรัฐบาลดำเนินการปรับราคาตามกรอบที่วางไว้ ควักชดเชยนำเข้าแอลพีจีรวม 6.2 หมื่นล้านบาท

    ขณะที่การนำเข้าแอลพีจีปี 2554 อยู่ที่ 4.2 ล้านตัน กองทุนน้ำมันฯต้องเข้าชดเชยส่วนต่างราคาเฉลี่ย 17.94 บาทต่อกก.หรือคิดเป็นเงินชดเชยที่ 2.5 หมื่นล้านบาท

    โดยราคาแอลพีจีตลาดโลกเฉลี่ยปี 2554 ที่ 854 เหรียญสหรัฐต่อตันเมื่อรวมการนำเข้าตั้งแต่ปี 2551-2555 มีการนำเข้าทั้งสิ้น 4.2 แสนล้านตันเฉลี่ยกองทุนน้ำมันฯชดเชยส่วนต่างที่ 14.88 บาทต่อกก. คิดเป็นมูลค่าที่กองทุนน้ำมันฯชดเชยรวม 6.25 หมื่นล้านบาท--จบ--

    ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน


    <CENTER style="WORD-SPACING: 0px; FONT: medium 'Times New Roman'; TEXT-TRANSFORM: none; COLOR: rgb(224,224,224); TEXT-INDENT: 0px; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(32,64,128); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    http://www.pantip.com/cafe/silom/topic/B11847446/B11847446.html
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    “พลังงาน” เผยยอดใช้น้ำมันเดือน ม.ค.ลดลง หลังเบนซินขยับ 5 บ.ดีเซลทะลุ 30 บ.
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กุมภาพันธ์ 2555 14:01 น.

    “พลังงาน” เผย ยอดใช้น้ำมันเดือน ม.ค.ลดลง หลังราคาเบนซินสูงขึ้น 4-5 บาท และดีเซลทะลุ 30 บาท ขณะที่ยอดใช้ LPG-NGV เพิ่มสูงขึ้น

    นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยภาพรวมพลังงานในประเทศเดือนมกราคม 2555 พบว่า มีปริมาณการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ 960,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 23% จากเดือนธันวาคม 2554 คิดเป็นมูลค่า 105,179 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% แบ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบ จำนวน 915,000 บาร์เรลต่อวัน น้ำมันสำเร็จรูปจำนวน 45,000 บาร์เรลต่อวัน

    โดยปริมาณการนำเข้าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นในประเทศหลายแห่งได้ปิดซ่อมบำรุงในช่วงปลายปี ประกอบกับความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังวิกฤตอุทกภัยและอยู่ในช่วงเทศกาลทำให้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ด้านปริมาณการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 189,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลง 8% โดยมีมูลค่า 22,166 ล้านบาท ลดลง 3%

    สำหรับปริมาณการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเดือนมการคม 2555 อยู่ที่ 20.4 ล้านลิตรต่อวัน ลดลง 4% จากเดือนธันวาคม 2554 หรือคิดเป็นประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน โดยเป็นการปรับลดลงของน้ำมันทุกชนิด ยกเว้นแก๊สโซฮอล์ อี20 และแก๊สโซฮอล์ อี85 โดยมีสาเหตุมาจากราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซินได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ประกอบกับรัฐบาลได้เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น 1 บาทต่อลิตรในวันที่ 16 มกราคม 2555 ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซินปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ประมาณ 4-5 บาทต่อลิตร

    ส่วนปริมาณการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน ตั้งแต่วันที่ 1-18 กุมภาพันธ์ 2555 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 21.3 ล้านลิตรต่อวัน แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มอีก 1 บาทต่อลิตร ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555

    ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ 54.6 ล้านลิตรต่อวัน ปรับลดลง 5% จากเดือนธันวาคม 2554 หรือคิดเป็นประมาณ 3 ล้านลิตรต่อวัน เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก และจากการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ 60 สตางค์ต่อลิตร ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นถึง 31.13 บาทต่อลิตร ส่วนการใช้น้ำมันตั้งแต่วันที่ 1-18 กุมภาพันธ์ 2555 ก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2555 ประมาณ 3% หรือมีการใช้อยู่ที่ประมาณ 57.9 ล้านลิตรต่อวัน

    ส่วนปริมาณการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ในเดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ 590,000 ตันต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ประมาณ 6% โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของภาคปิโตรเคมี 18% เนื่องจากบริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCG ในส่วนของปิโตรเคมี ได้กลับมาดำเนินการตามปกติ ภายหลังจากหยุดซ่อมฉุกเฉินในเดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา

    ส่วนในภาคขนส่งปรับเพิ่มขึ้น 6% เนื่องจากราคาแอลพีจียังมีราคาถูกกว่าราคาน้ำมัน ขณะที่การใช้ในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยภาคอุตสาหกรรมยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีการใช้อยู่ที่ประมาณ 50,000 ตันต่อเดือน เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับเพิ่มราคาแอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมไตรมาสละ 3 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่เดือนกกกฎาคม 2554

    สำหรับการนำแอลพีจีในเดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ 113,000 ตันต่อดือน และต้องมีภาระการจ่ายชดเชยเพิ่มขึ้นเป็น 2,223 ล้านบาท ส่วนการนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์ 2555 คาดว่า จะมีการนำเข้าประมาณ 160,000 ตันต่อเดือน และคาดว่าจะต้องจ่ายเงินชดเชยประมาณ 4,000 ล้านบาท เนื่องจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงที่ 6 มีการหยุดซ่อมบำรุงในช่วงวันที่ 4-29 กุมภาพันธ์ 2555 ส่วนเดือนมีนาคม 2555 คาดว่า จะมีการนำเข้าประมาณ 180,000 ตันต่อเดือน

    ด้านการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ เอ็นจีวี ในเดือนมกราคม 2555 มีการใช้อยู่ที่ 7.4 ล้านกิโลกรัมต่อวัน เพิ่มขึ้น 10% จากเดือนธันวาคม 2554 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะเพิ่มขึ้น 29% เนื่องจากมีราคาถูกกว่าราคาน้ำมัน

    นายวีระพล ยังกล่าวคาดการณ์ว่า ราคาน้ำดิบในตลาดโลกปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในประทศอิหร่าน ความตึงเตรียดในตะวันออกกลาง รวมถึงเศรษฐกิจในประทศยุโรปและอเมริกา ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันดิบยังคงมีความผันผวน ขณะอีไอเอ คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส ในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วประมาณ 6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    Business - Manager Online -
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    หาข้อมูลใหม่ไม่ได้ มีแต่ข้อมูลเก่า ปี 2543 แต่เอามาใช้เปรียบเทียบกับ ปี 2554 ได้เพราะมูลค่าการส่งออกน้ำมันและก๊าซสูงขึ้นทุกปี ด้วยแนวโน้มที่เหมือนกัน
    ปริมาณพลังงานสำรอง (Reserves)
    · น้ำมันดิบ ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserves) ของน้ำมันดิบในประเทศไทย ณ 31 ธันวาคม 2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 156.2 ล้านบาร์เรล การผลิตในปี 2543 อยู่ในระดับ 20.4 ล้านบาร์เรล (55 พันบาร์เรล/วัน) ดังนั้น ถ้าผลิตในระดับนี้ จะสามารถใช้ได้เป็นเวลา 7.7 ปี อย่างไรก็ตามในขณะนี้บริษัท Unocal ได้ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบแห่งใหม่ในอ่าวไทย อยู่ทางบริเวณตอนเหนือของแหล่งเอราวัณ บริษัทฯคาดว่าจะสามารถผลิตได้ 15 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งจะทำให้ปริมาณสำรองและปริมาณ การผลิตของไทยเพิ่มมากขึ้น
    · คอนเดนเสท ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย ณ 31 ธันวาคม 2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 212.7 ล้านบาร์เรล ในปี 2543 ปริมาณการผลิตอยู่ที่ระดับ 19.3 ล้านบาร์เรล (53 พันบาร์เรล/วัน) การผลิตระดับนี้จะทำให้เราสามารถใช้ได้เป็นเวลา 11.0 ปี
    ก๊าซธรรมชาติ ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย ณ 31 ธันวาคม 2542 อยู่ที่ระดับ 12,168 พันล้านลูกบาศก์ฟุต โดยอยู่ในทะเลจำนวน 11,308.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต (รวม JDA เฉพาะที่เป็นของไทย จำนวน 3,001.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต) ปริมาณการผลิตในปี 2543 อยู่ที่ระดับ 1,988 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่ง ณ ระดับการผลิตนี้จะสามารถใช้ได้เป็นเวลา 16.8 ปี
    · ถ่านหิน/ลิกไนต์ ปริมาณสำรองถ่านหินของไทย ณ 31 ธันวาคม 2542 อยู่ที่ระดับ 1,390 ล้านตัน แหล่งสำคัญเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คือแหล่งแม่เมาะมีจำนวน 1,240 ล้านตัน การผลิตในปี 2543 คาดว่าจะอยู่ในระดับ 18 ล้านตัน ซึ่งการผลิตในระดับนี้จะสามารถ คงอยู่ได้เป็นเวลา 77.2 ปี อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา กรมทรัพยากรธรณีได้มีการสำรวจแหล่งถ่านหินใหม่ๆ จำนวน 70 แหล่ง และได้พบแหล่งถ่านหินจำนวน 20 แหล่ง มีปริมาณสำรอง (Measured Reserves) จำนวน 738 ล้านตัน ถ้าแหล่งถ่านหินเหล่านี้ถูกพัฒนาเป็นเหมืองถ่านหินจะทำให้ปริมาณสำรองเพิ่มเป็น 2,128 ล้านตัน และถ้าการผลิตยังอยู่ในระดับ 18 ล้านตัน/ปี จะสามารถใช้ได้นาน 118.2 ปี
    · ไฟฟ้าพลังน้ำ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 กฟผ. มีกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าพลังน้ำจำนวน 2,880 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้นของ กฟผ. แต่เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจะใช้ในช่วงความต้องการสูงสุด ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำอยู่ในระดับร้อยละ 6.2 ของปริมาณการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
    ปริมาณสำรองพลังงานไทย (Proved Reserves)
    ณ 31 ธันวาคม 2542

    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; FONT: 13px/19px Arial, Helvetica, sans-serif; TEXT-TRANSFORM: none; COLOR: rgb(101,102,105); TEXT-INDENT: 0px; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-ALIGN: left; orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=124>

    แหล่ง
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=117>
    น้ำมันดิบ
    (ล้านบาร์เรล)
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=114>
    คอนเดนเสท
    (ล้านบาร์เรล)
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=158>
    ก๊าซธรรมชาติ
    (พันล้านลูกบาศก์ฟุต)
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=120>
    ลิกไนต์/ถ่านหิน
    (ล้านตัน)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=124>ในอ่าวไทย
    บนบก
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=117>
    73.8
    82.4​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=114>
    212.7
    -​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=158>
    11,308.2
    859.8​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=120>
    1,390
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=124>
    รวม​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=117>
    156.2​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=114>
    212.7​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=158>
    12,168.0​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=120>
    1,390​
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=124>การผลิตปี 2543
    ใช้ได้เป็นเวลา (ปี)
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=117>
    20.4
    7.7​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=114>
    19.3
    11.0​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=158>
    725.6
    16.8​
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 1px; MARGIN: 0px; PADDING-TOP: 1px" vAlign=top width=120>
    18
    77.2​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    1.2 สถานการณ์ภาพรวมพลังงาน

    · ความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดย

    - การใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เนื่องจากมีการใช้ในโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
    (IPP) , โรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้น

    - ไฟฟ้าพลังน้ำและนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 64.6 เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีมาก และมีการนำเข้าจาก สปป.ลาว เพิ่มมากขึ้น
    - การใช้น้ำมันลดลงร้อยละ 3.6
    - การใช้ลิกไนต์และถ่านหินลดลงร้อยละ 4.6

    · การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับ 8 เดือนแรกของปีก่อน

    - น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 86.1 จากระดับ 34 พันบาร์เรล/วัน ในปี 2542 เป็น 56
    พันบาร์เรล/วัน เนื่องจากแหล่งเบญจมาส ซึ่งเริ่มการผลิตเมื่อกลางปี 2542 สามารถ ผลิตได้เต็มที่ในปีนี้ที่ระดับ 21 พันบาร์เรล/วัน

    - การผลิตก๊าซธรรมชาติ (ไม่รวมการนำเข้าจากสหภาพพม่า) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 โดย อยู่ที่ระดับ 1,989 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
    - การผลิตคอนเดนเสทขยายตัวเพิ่มขึ้นตามก๊าซธรรมชาติ ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6
    - การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.2
    - การผลิตลิกไนต์ลดลงร้อยละ 11.5 โดยเป็นไปตามแผนการใช้ลิกไนต์ในการผลิต ไฟฟ้าของ กฟผ. ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

    · การนำเข้า ปริมาณการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ (สุทธิ) ใน 8 เดือนแรกของปีนี้ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เป็นผลมาจากการนำเข้าไฟฟ้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 การนำเข้าถ่านหินเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่ามาใช้ในโรง ไฟฟ้าราชบุรีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้การนำเข้าเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนนี้อยู่ที่ระดับ 120 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ขณะที่การนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 5.0

    1.3 สถานการณ์พลังงานแต่ละชนิด
    · ก๊าซธรรมชาติ ปริมาณการผลิตและการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้ก๊าซธรรมชาติก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อย รัฐบาลจึงสนับสนุนให้ กฟผ. ใช้ ทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า ประกอบกับในช่วงปีนี้ราคาน้ำมันสูงมาก จึงทำให้อุตสาหกรรมที่ใช้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) หรือน้ำมันเตาเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติแทน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน การจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 อยู่ที่ระดับ 2,109 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน แยกเป็น การผลิต 1,989 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และการนำเข้า 120 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
    แหล่งผลิตที่สำคัญคือ บงกช ผลิตได้เฉลี่ย 577 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน นอกจากนั้นยังมีแหล่งผลิตใหม่ที่เริ่มทำการผลิตในช่วงไตรมาส 3 ของปีก่อน และสามารถผลิตได้เต็มที่ในปีนี้ ได้แก่ แหล่ง เบญจมาส ของบริษัทไทยโป แหล่งไพลินและแหล่งตราด ของบริษัทยูโนแคล การนำเข้าจากพม่าจากแหล่งยานาดาและโดยเฉพาะจากแหล่งเยตากุน ซึ่งเริ่มมีในเดือนพฤษภาคมปีนี้
    · น้ำมันดิบ ปริมาณการผลิตในช่วง 8 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 56.1 พันบาร์เรล/วัน มีแหล่งผลิตสำคัญได้แก่ สิริกิติ์ผลิตได้ 23.5 พันบาร์เรล/วัน และแหล่งเบญจมาสผลิตได้ 21.3 พันบาร์เรล/วัน โดยปริมาณการผลิตคิดเป็นร้อยละ 7.7 ของความต้องการน้ำมันดิบในการกลั่น (Crude Intake) จึงมีการ นำเข้าจากต่างประเทศจำนวน 662.5 พันบาร์เรล/วัน เป็นมูลค่า 170,746 ล้านบาท
    · ลิกไนต์/ถ่านหิน การผลิตลิกไนต์ในช่วง 8 เดือนแรกลดลงร้อยละ 5.0 อยู่ที่ระดับ 12.0 ล้านตัน และใช้ในโรงไฟฟ้าแม่เมาะจำนวน 9.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8
    การใช้ลิกไนต์ของภาคเอกชนลดลงร้อยละ 34.4 ขณะที่ถ่านหินนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 เนื่องจากราคาถ่านหินนำเข้าที่มีคุณภาพสูงมีราคาถูกลงทำให้เอกชนเพิ่มการนำเข้า ประกอบกับมีเชื้อเพลิงชนิดอื่นได้แก่ปิโตรเลียมโค๊ก (Petroleum Coke) เข้ามาทดแทนถ่านหินและลิกไนต์ในอุตสาหกรรมผลิต ปูนซีเมนต์ จึงทำให้ภาพรวมการใช้ลิกไนต์/ถ่านหิน ลดลงร้อยละ 4.6
    · น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณการใช้ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2543 อยู่ที่ระดับ 621.4 พันบาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 3.0 โรงกลั่นส่วนใหญ่ลดการกลั่นลงโดยปริมาณการใช้น้ำมันดิบเพื่อกลั่น (Crude Intake) อยู่ที่ระดับ 732 พันบาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 86.9 ของกำลังการกลั่นของประเทศซึ่งอยู่ที่ระดับ 842.5 พันบาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตยังคงมากกว่าความต้องการภายในประเทศ จึงทำให้มีการส่งออก(สุทธิ) จำนวน 43.5 พันบาร์เรล/วัน โดยมีการส่งออกสุทธิน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดยกเว้นน้ำมันเตา มีรายละเอียดดังนี้
    D น้ำมันเบนซิน ปริมาณการใช้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้อยู่ในระดับ 119.0 พันบาร์เรล/วันลดลงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการใช้ในรถยนต์ยังคงชะลอตัวอยู่เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินสูงขึ้นมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังไม่ดีนักประชาชนโดยทั่วไปประหยัดมากขึ้นโดยลดการใช้รถยนต์ลง การใช้น้ำมันเบนซินพิเศษลดลงร้อยละ 23.2 ในขณะที่ การใช้น้ำมันเบนซินธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.0 ทั้งนี้ เป็นผลจาการรณรงค์ให้มีการใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทน ให้เหมาะสมกับประเภทรถ และมาตรการดังกล่าวได้รับการตอบรับจากประชาชนด้วยดี ทำให้มีการใช้น้ำมันเบนซินธรรมดา (ออกเทน 87 และ 91) เพิ่มขึ้น การผลิตน้ำมันเบนซินมีจำนวน 139.3 พันบาร์เรล/วัน ยังคงมากกว่าความต้องการใช้ จึงมีการส่งออกสุทธิ 15.0 พันบาร์เรล/วัน
    D น้ำมันดีเซล ปริมาณการใช้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ในระดับ 266.4 พันบาร์เรล/วันต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ประชาชนลดการใช้ลง ขณะที่การผลิตเฉลี่ยอยู่ในระดับ 276.1 พันบาร์เรล/วัน น้ำมันดีเซลมีทั้งการนำเข้าและส่งออกโดยมีการส่งออกน้ำมันดีเซล (สุทธิ) เป็นจำนวน 3.8 พันบาร์เรล/วัน
    D น้ำมันเตา ปริมาณการใช้อยู่ในระดับ 119.4 พันบาร์เรล/วัน ลดลงถึงร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับ 8 เดือนแรกของปีที่แล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้น้ำมันเตาในภาคการผลิตกระแสไฟฟ้าของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลดลงร้อยละ 28.2 ส่วนการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.2 เนื่องจากราคาน้ำมันเตาอยู่ในระดับที่สูงอุตสาหกรรมบางแห่งจึงหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติแทนการผลิตน้ำมันเตาอยู่ในระดับ 120.5 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงกว่าความต้องการใช้เล็กน้อยอย่างไรก็ตามมีการนำเข้าน้ำมันเตา (สุทธิ) 7.6 พันบาร์เรล/วัน
    D น้ำมันเครื่องบิน ปริมาณการใช้อยู่ในระดับ 59.6 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ผลิตได้ 68.1 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงกว่าความต้องการใช้เป็นผลให้มีการส่งออกสุทธิ จำนวน 7.9 พันบาร์เรล/วัน
    D ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ปริมาณการใช้เพื่อเป็นพลังงาน (ใช้ในครัวเรือน อุตสาหกรรม และรถยนต์) อยู่ในระดับ 56.2 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการใช้ LPG ในรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 61.7 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการนำไปใช้ในรถแท๊กซี่ ปัจจุบัน รถแท๊กซี่เปลี่ยนมาใช้ LPG ประมาณร้อยละ 70 ของรถทั้งหมด ปริมาณการผลิตเกินความต้องการภายในประเทศจึงมีการส่งออกจำนวน 21.3 พันบาร์เรล/วัน
    · ไฟฟ้า ปริมาณการผลิตไฟฟ้าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ระดับ 65,859 ล้านหน่วย(GWh) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) ของปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับ 14,918 MW เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8

    ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของ 8 เดือนของปีนี้เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2542 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.0 โดยภาคอุตสาหกรรมมีอัตราเพิ่มสูงสุดอยู่ในระดับร้อยละ 9.0 ภาคธุรกิจและที่อยู่อาศัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และ 5.5 ตามลำดับ ทั้งนี้ในเขตนครหลวงมีอัตราเพิ่มร้อยละ 7.6 และภูมิภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4

    2. ความต้องการพลังงานปี 2544 และในระยะยาว

    · สำหรับในปี 2544 คาดว่าความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปี 2543 ภายใต้สมมุติฐานว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.3 โดยมีรายละเอียดดังนี้

    - ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติยังคงเพิ่มขึ้นในระดับสูงถึงร้อยละ 12.0 เนื่องจากความ ต้องการยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาคการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะการเพิ่มการใช้
    ของ IPP และการเพิ่มขึ้นของการใช้ในภาคอุตสาหกรรม


    - ลิกไนต์/ถ่านหิน มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในระดับร้อยละ 1.3 เนื่องจาก กฟผ. มี
    แผนการใช้ลิกไนต์ในการผลิตไฟฟ้าที่แม่เมาะในระดับ 13 – 14 ล้านตัน ซึ่งใกล้เคียง

    กับปี 2543

    - ความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย คือลดลงร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ประมาณการว่าน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดมีความต้องการเพิ่มขึ้น ยกเว้นน้ำมันเตาซึ่ง การใช้ลดลงค่อนข้างมากโดยเฉพาะการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.
    จากระดับประมาณ 3,000 ล้านลิตร ในปี 2543 เหลือ 1,500 ล้านลิตร ในปี 2544 จึง
    ส่งผลให้ภาพรวมการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปลดลงดังกล่าว


    - การใช้ไฟฟ้าพลังน้ำ/นำเข้าลดลง

    · ความต้องการพลังงานในระยะยาว ในช่วงปี 2545 – 2554 ซึ่งอยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 และ 10 นั้น มีสมมติฐานว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะอยู่ในระดับร้อยละ 4.5 ต่อปี ส่งผลให้ความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ในช่วงแผนฯ 9 (2545 – 2549) มีอัตราการเพิ่มโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.9 ต่อปีและในช่วงแผนฯ 10 (2550 – 2554) มีอัตราการเพิ่มโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ต่อปี โดยยังมีน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงหลัก รองลงไปได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์/ถ่านหิน ไฟฟ้าพลังน้ำ/ไฟฟ้านำเข้า โดยในปี 2554 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนฯ 10 สัดส่วนการใช้จะอยู่ในระดับร้อยละ 48.0, 33.4, 15.8 และ 2.8 ตามลำดับ

    การพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศจะอยู่ในระดับที่สูง เนื่องจากการผลิตภายในประเทศและปริมาณสำรองของพลังงานมีน้อย โดยเมื่อสิ้นสุดแผนฯ 9 จะมีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศในระดับร้อยละ 70.5 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ และเมื่อสิ้นแผนฯ 10 สัดส่วนการนำเข้าพลังงานจะสูงถึงระดับร้อยละ 79.5 มีรายละเอียดความต้องการและการจัดหาพลังงานมีดังนี้

    - น้ำมันปิโตรเลียม ความต้องการในปี 2549 อยู่ในระดับ 748.9 พันบาร์เรลน้ำมันดิบ/
    วัน และในปี 2554 เพิ่มเป็น 932.1 พันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน โดยมีอัตราการเพิ่มโดย เฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี ทั้งช่วงแผนฯ 9 และแผนฯ 10


    - ก๊าซธรรมชาติ ความต้องการจะเพิ่มจากระดับ 2,090 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี
    2543 เป็น 2,705 ลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2549 โดยมีการนำเข้าจากสหภาพพม่า 525
    ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน คิดเป็นร้อยละ 19.4 และความต้องการจะเพิ่มเป็น 3,612
    ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปี 2554 มีการนำเข้าจากพม่าและแหล่งอื่นๆ จำนวน 1,925
    ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน หรือร้อยละ 53.3


    - ลิกไนต์/ถ่านหิน ปริมาณการใช้ลิกไนต์จะเพิ่มจากระดับ 22.2 ล้านตันในปี 2543
    เป็น 33.8 ล้านตันในปี 2549 และ 35.7 ล้านตันในปี 2554 โดย กฟผ. ใช้ลิกไนต์
    เป็น เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าจำนวน 14 – 18 ล้านตัน ในช่วงแผนฯ 9 และแผนฯ
    10 การใช้ถ่านหินนำเข้าในการผลิตไฟฟ้าของ IPP จะเริ่มในปี 2547 ในระดับ 4.4
    ล้านตัน และเพิ่มเป็น 8.8 ล้านตันในปี 2554


    · ไฟฟ้า ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) ในช่วงแผนฯ 9 จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 1,190 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ต่อปี ในช่วงแผนฯ 10 จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 1,684
    เมกะวัตต์หรือร้อยละ 6.7 ต่อปี โดยในปี 2554 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนฯ 10 ความต้องการไฟฟ้า
    สูงสุดจะอยู่ที่ระดับ 30,587 เมกะวัตต์


    สำหรับความต้องการพลังงานไฟฟ้านั้น ในปีสุดท้ายของแผนฯ 9 ความต้องการไฟฟ้าอยู่ที่ระดับ 141,892 GWh เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.4 ต่อปี และเมื่อสิ้นสุดแผนฯ 10 ความต้องการ
    พลังงานไฟฟ้าจะเพิ่มเป็น 196,668 GWh เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปี


    · การใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในการผลิตไฟฟ้า ในปี 2543 ไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติมี สัดส่วนร้อยละ 60.4 รองลงไปได้แก่ไฟฟ้าที่ผลิตจากลิกไนต์/ถ่านหินร้อยละ 19.7 จากน้ำมันเตาร้อยละ 13.2 จากพลังน้ำร้อยละ 3.9 และจากการนำเข้าร้อยละ 2.8 โดยแนวโน้มการใช้เชื้อเพลิงในการผลิต
    ไฟฟ้าในช่วงแผนฯ 9 และ 10 จะเป็นดังนี้

    - ก๊าซธรรมชาติยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าตลอดช่วงแผนฯ 9 และแผนฯ 10
    ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ จะมีสัดส่วนในระดับร้อยละ 57.5-73.5 โดยสัดส่วน สูงสุดจะอยู่ในปี 2546 หรือ 3 ปีข้างหน้านี้


    - การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและลิกไนต์จะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นโดยมีสัดส่วนอยู่ในช่วง ร้อยละ 16.8-28.4 ทั้งนี้สัดส่วนของลิกไนต์จะลดความสำคัญลงขณะที่ถ่านหินนำเข้าจะมี ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น การใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าของ IPP คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2547 เป็นต้นไป

    - การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตาจะมีแนวโน้มลดลงตลอดช่วงแผนฯ 9 และแผนฯ 10 โดย
    เป็นไปตามแผนการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันเตาของ กฟผ. ดังนั้นสัดส่วนการผลิต
    ไฟฟ้าจากน้ำมันเตาจะลดจากร้อยละ 13.2 ในปี 2543 เหลือเพียงร้อยละ 0.8 ในปี
    2554 เมื่อสิ้นแผนฯ 10


    · การนำเข้าพลังงานไฟฟ้า จะเพิ่มความสำคัญมากขึ้น ทั้งนี้สัดส่วนไฟฟ้านำเข้าจะเพิ่มจากร้อยละ
    2.2 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 9.2 ในปี 2554


    โดยสรุปแล้วในปี 2554 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติยังคงสูงสุดอยู่ในระดับร้อยละ 64.4 รองลงไปได้แก่ ลิกไนต์/ถ่านหินร้อยละ 22.8 ไฟฟ้านำเข้าร้อยละ 9.2 ไฟฟ้าพลังน้ำร้อยละ 2.8 และจากน้ำมันเตาร้อยละ 0.8

    คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี - บทเรียนที่ 5 สถานการณ์
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ที่หาข้อมูลมาไม่ได้จะดิสเครดิตใคร
    แค่สงสัยเฉยๆ ทำไมคนไทยถึงต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่าคนในประเทศอื่นๆ
    คนไทย รวย จ่ายค่าน้ำมันแพงเกินจริงได้ ไม่จำเป็นต้องบ่น ไม่จำเป็นต้องตำหนิใคร
    ทุกอย่างในประเทศไทย สมเหตุสมผลของมันถูกต้องสมควรแล้ว
    คือ คนไทย สมควรจ่ายค่าน้ำมันและแก๊สในราคาที่แพงกว่าคนประเทศอื่นๆ
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    Petrol prices around the world

    [​IMG]

    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#dddddd border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#222244><TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD style="min-width: 500px">
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ดูเอาเป็นความรู้ก็แล้วกันครับ

    มีทั้งราคารถแท๊กซี่ ราคาอาหาร เปรียบเทียบให้นักท่องเที่ยวไว้ดูครับ
    http://www.mytravelcost.com/petrol-prices/

    จากคุณ : มีปัญญาคืออาวุธ



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...