พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    กลัวจะเห็นภาพไม่ชัด และไม่เข้าใจที่ผมพยายามสื่อ เลยนำภาพเปรียบเทียบมาให้ชมกัน

    ซ้ายมือคือตำราแพทย์แผนไทย และเอกสารที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในขอบเขตของการออกข้อสอบเวชกรรมไทยครั้งนี้เพียงบางส่วนเปรียบเหมือนป่าห้วยขาแข้ง องค์แพทย์ที่นำมากองๆนี้ ยังไม่ได้นำ"คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" อีก ๓ เล่มหนากว่าเยลโลเพจเจส ๓ เล่มมาวางกองเลยครับ

    ขวามือ คือ short note ที่ผมร่างขึ้น และสามารถจดจำได้ทั้งหมดเพื่อใช้อ่านสรุปในวันสอบเพียงแผ่นเดียว มากกว่านั้น ต้องเปิดตำราแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P4070984.JPG
      P4070984.JPG
      ขนาดไฟล์:
      111.6 KB
      เปิดดู:
      189
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มูลเหตุของการได้ไปดูหลักฐานพระลือ พระร่วง ตามตำนานที่พิพิธภัณฑ์รามคำแหง ที่จ.สุโขทัย และได้กราบพระร่วงเจ้าเป็นองค์อาจารย์หลักๆ จนได้รับพระร่วงหลังรางปืนเนื้อตะกั่วสนิมแดงองค์แรก และเป็นองค์ที่ผมอาราธนาขึ้นคอ แม้ว่าจะพบเจอ ได้รับองค์ที่งามกว่า อิทธิคุณมากกว่า(พระร่วง ๒ หน้า) ก็ยังคงอาราธนาองค์แรกขึ้นคออยู่ดี ก็มาจากการ"บังเอิญ"ไปอ่านหนังสือ"พลอยแกมเพชร" ที่จัดวางไว้บนโต๊ะเล็กๆในร้านขายไอศครีมข้างถนนเอกมัย-รามอินทรา(ทั้งๆที่ไม่เคยคิดอยากจะแวะทานไอศครีมข้างทางเลย) ที่คนก่อนหน้าดูแล้ววางทิ้งไว้ และเป็นการเปิดเพียงครั้งเดียวเหมือนการตัดไพ่ยังไงยังงั้น ก็พบสิ่งที่ตามหามาทั้งชีวิต ผมเพียรตามหาหนังสือ "พลอยแกมเพชร" เล่มนี้มานานร่วม ๕ ปีเศษ ก็ยังไม่เคยได้พบเลย โอกาสบางอย่างมาแล้วหลุดหายไป ไม่มีโอกาสได้ทำซ้ำอีก ได้พบอีก หากได้พบบ่อยๆจะเรียกว่า โอกาสได้ยังไงครับ หุ..หุ...
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    ลุงหนุ่มได้ท้วงผมเรื่องคำว่า "ยุคแรก" โดยเข้าใจไปว่า "รุ่นแรก" ผมได้แจ้งลุงหนุ่มน้อยไปว่า "ยุคแรก" ไม่ใช่ "รุ่นแรก" ซึ่งลุงหนุ่มเองก็ไม่อยากให้ใช้ หากใช้ขอให้ใช้คำว่า "ช่วงแรก"

    ขอแก้ไขเป็น "พระปิดตาหลังแบบช่วงแรก" แทน "พระปิดตาหลังแบบยุคแรก"

    เนื่อง จากผู้เขียนเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รุ้จริง ยังไม่แตกฉานในพระพิมพ์ต่างๆ ฉนั้นการที่ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดต่างๆที่อยู่ในกระทู้"พระวังหน้า.."นี้ ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ควรนำไปอ้างอิง (จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ความเข้าใจ และความคิดเห็น ในความรู้พระวังหน้า วังหลวง ของผู้เขียนในอนาคต อาจจะสอดคล้อง หรือไม่สอดคล้องกับข้อความที่ปรากฎในกระทู้ "พระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก.." นี้ก็เป็นได้

    ผู้ เขียนหวังว่า สักวันผู้เขียนจะพบครูบาอาจารย์ที่แตกฉานในพระวังหน้าสามารถตรวจสอบทั้งทาง รูป และนามได้จริง กรุณามาแนะนำสั่งสอนผู้เขียนให้พ้นจากความไม่รู้

    ผู้เขียนคงหลุดไม่พ้นโลกธรรม ๘ แต่ผู้เขียนไตรตรองดูแล้ว คุณมากกว่าโทษ ถ้ามีโทษก็เป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
    ::::เพชร::
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    โมทนาครับ

    โดยส่วนตัว เรื่องของผู้เชี่ยวชาญ หรือ ครูบาอาจารย์ที่แตกฉานในเรื่องขององค์ความรู้ที่เกี่ยวกับพระวังหน้า ผมได้พบแล้ว และยังเชื่ออีกว่า ยังไม่มีผู้ที่รู้จริงทั้งเรื่องรูป "เนื้อหาทรงพิมพ์" และ เรื่องนาม "พลังอิทธิคุณขององค์ผู้อธิษฐานจิต" นั่นก็คือ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร

    ในความเห็นผม ยังไม่มีใครที่รู้จริง และ รู้มากเท่าท่านอีกแล้ว

    sithiphong
    7/4/2555
    .
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    ลุง หนุ่มเต็มร้อยทุกเรื่อง อันนี้เป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มครับ แต่ผมอยากให้เผื่อความผิดพลาดเอาไว้บ้าง ซัก ๐.๐๐๐๑% ก็ยังดี เป็น ๙๙.๙๙๙๙ ซึ่ง %ขนาดนี้ก็ไม่มีนัยสำคัญอะไรที่จะเบี่ยงเบนให้ผิดไปจากนี้ไปได้มากมาย แต่หากเกิดไม่เต็มร้อย% จริงๆอันนี้ถือเป็นความผิดพลาดครับ อาจารย์ปู่ประถมไม่เคยอวดอ้างตนว่าเป็นผู้ที่รู้จริงทั้งเรื่องรูป "เนื้อหาทรงพิมพ์" และ เรื่องนาม "พลังอิทธิคุณขององค์ผู้อธิษฐานจิต" เพียงแต่ลูกศิษย์ลูกหาที่มีสายใยเชื่อมโยงถึงกัน ที่มีความเคารพท่าน ซึ่งก็รวมทั้งผม ต่างก็ให้การยอมรับ และเคารพนับถืออาจารย์ปู่ประถมท่านเช่นกัน การชมตนเองว่าเก่ง ว่าแน่ ไม่ต่างอะไรจากความหลง หากแต่การชื่นชมเกิดจากบุคคลที่ ๓ กล่าวชื่นชม จึงจะถือว่าบุคคลนั้นแน่ และเก่งจริงครับ อาจารย์ปู่ประถมก็ถือเป็นปูชนียบุคคลของกลุ่มที่ได้รับการชื่นชมนี้ครับ

    แต่...อยากให้ลุงหนุ่มน้อยเปิดใจให้กว้างไว้ครับ ยังมีสรรพความรู้อีกมากที่เราทุกคนยังไม่รู้ และรู้ไม่หมด "ใบไม้กำมือเดียว" เทียบกับต้นไม้ทั้งป่า และอีกหลายๆป่าในประเทศ...ในโลก...ที่เรายังไม่เคยมีโอกาสเข้าไปชม การเผื่อใจเอาไว้บ้าง จะไม่ผิดหวัง จากที่ไม่ค่อยจะผิดหวังอยู่แล้ว น้ำที่เต็มแก้ว จะเติมน้ำอีกเพียงหยดหนึ่งเข้าไปยังยากเลยครับ อาจารย์ปู่ประถมยังยอมรับไม่ใช่หรือครับว่า ยังมีพระพิมพ์ที่ยังไม่เคยเห็นในชีวิตอีกมาก เพิ่งจะมาพบเอาในช่วง(อายุปูน)นี้ ซึ่งลุงหนุ่มน้อยก็เป็นผู้นิมนต์ไปให้อาจารย์ปู่ได้ชื่นชมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ขออนุโมทนา อีกทั้งอาจารย์ปู่เองก็ไม่เคยพูดว่า เห็นมาหมดแล้ว เท่าที่ผมได้มีโอกาสได้ไปกราบ และพูดคุยเรื่องต่างๆกับท่าน ก็ไม่เคยได้ยินว่า"ปู่เห็นมาหมดแล้ว" ปู่ยังเคยพูดถึง "ใบไม้กำมือเดียว" ด้วยซ้ำไป นั่นคือ ปู่ยังยอมรับว่า ยังไม่เคยเห็น แต่เพิ่งจะมาเห็น

    ลุงหนุ่มน้อยเกิดความผิดหวังหลายๆครั้ง หลายๆเรื่อง ไม่ใช่เพราะเต็มร้อยในทุกเรื่องหรือครับ เผื่อใจเอาไว้บ้าง ก็ไม่ทำให้ศรัทธา ความตั้งใจของลุงหนุ่มน้อยเคลื่อนคล้อยหายไปไม่ใช่หรือ? ผมเพียงปรารถนาให้ลุงมีความสุขกับความผิดพลาดที่ยอมรับได้บ้าง เผื่อใจเอาไว้บ้าง การทำกิจอันใดที่เต็มร้อยของลุงหนุ่มด้วยสัมมาทิฏฐิ ผมขออนุโมทนาครับ แต่กิจใดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิของลุงหนุ่มน้อย และของทุกผู้คน ขอไม่รับรู้ ไม่รับทราบ รวมทั้งไม่ขออนุโมทนาด้วยครับ...
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    อ้า... ลุงๆฮับ ความรู้ที่เรามี เทียบกับที่เราไม่รู้ มันเทียบกันไม่ได้เลยครับ สิ่งที่เราไม่รู้มันเยอะมาก จริงๆครับ ผมเคยแจ้งหลายครั้งมากแล้ว อย่าแน่ใจกับสิ่งที่เราเชื่อว่า ใช่แน่ๆแล้วถูกต้องชัวร์ ไม่มีสิ่งใดที่ แน่นอนจริงๆ ความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน ผมพยายามบอกหลายครั้งทั้งจากการคุย กันหรือโพส ลงมา เรื่องรูปเราคงไม่มีใครขัดแย้งเพราะมันอธิบายได้โดยเนื้อหาตัวมันเอง แต่เรื่องนาม ผมว่ามีผู้ที่เข้าใจและยอมรับ โดยไม่ขัดแย้งคงไม่เกิน 2% ดังนั้น เราคงแค่แจ้งให้ทราบเท่านั้น การนำเรื่องนามมาเป็นเรื่องหลัก ลองนึกถึงการที่ 2คน ต้องอธิบายให้คน 98คนเข้าใจนะครับ ว่ามัน จะง่ายหรือยากขนาดไหน เราต้องเผื่อใจสำหรับ ความผิดหวัง และความไม่รู้บ้างนะครับ หุ หุ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    ถ้า เมื่อคืนใครบังเอิญได้ อ่าน ระหว่าง ลุงข้างบ้านผมมาคุยเองกับ ลุง อ.เพชร จะทราบว่า นั่นเป็นประสบการณ์ในการค้นคว้าเกี่ยว กับเนื้อดิน สภาพของโบราณวัตถุ ที่ขึ้นในแต่ละที่ ซึ่งแตกต่างกันมาก เหตุและผล ซึ่งค้นคว้ากันมากว่า 10ปีขึ้นไป แต่ข้อสรุปของสรุป เราก็ยังต้องค้นคว้ากันต่อไปครับ ไม่มีที่สี้นสุด ผมยกตัวอย่างเช่น มีใครทราบบ้างว่าแหล่งความรู้แหล่งหนึ่งที่ดีเชียว คือ นิตยสารขวัญเรือนครับ หุ หุ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    กลัวจะเห็นภาพไม่ชัด และไม่เข้าใจที่ผมพยายามสื่อ เลยนำภาพเปรียบเทียบมาให้ชมกัน

    ซ้ายมือคือตำราแพทย์แผนไทย และเอกสารที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในขอบเขตของการออกข้อสอบเวชกรรมไทยครั้งนี้ เพียงบางส่วนเปรียบเหมือนป่าห้วยขาแข้ง องค์แพทย์ที่นำมากองๆนี้ ยังไม่ได้นำ"คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" อีก ๓ เล่มหนากว่าเยลโลเพจเจส ๓ เล่มมาวางกองเลยครับ

    ขวามือ คือ short note ที่ผมร่างขึ้น และสามารถจดจำได้ทั้งหมดเพื่อใช้อ่านสรุปในวันสอบเพียงแผ่นเดียว มากกว่านั้น ต้องเปิดตำราแล้วครับ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    มูล เหตุของการได้ไปดูหลักฐานพระลือ พระร่วง ตามตำนานที่พิพิธภัณฑ์รามคำแหง ที่จ.สุโขทัย และได้กราบพระร่วงเจ้าเป็นองค์อาจารย์หลักๆ จนได้รับพระร่วงหลังรางปืนเนื้อตะกั่วสนิมแดงองค์แรก และเป็นองค์ที่ผมอาราธนาขึ้นคอ แม้ว่าจะพบเจอ ได้รับองค์ที่งามกว่า อิทธิคุณมากกว่า(พระร่วง ๒ หน้า) ก็ยังคงอาราธนาองค์แรกขึ้นคออยู่ดี ก็มาจากการ"บังเอิญ"ไปอ่านหนังสือ"พลอยแกมเพชร" ที่จัดวางไว้บนโต๊ะเล็กๆในร้านขายไอศครีมข้างถนนเอกมัย-รามอินทรา(ทั้งๆที่ ไม่เคยคิดอยากจะแวะทานไอศครีมข้างทางเลย) ที่คนก่อนหน้าดูแล้ววางทิ้งไว้ และเป็นการเปิดเพียงครั้งเดียวเหมือนการตัดไพ่ยังไงยังงั้น ก็พบสิ่งที่ตามหามาทั้งชีวิต ผมเพียรตามหาหนังสือ "พลอยแกมเพชร" เล่มนี้มานานร่วม ๕ ปีเศษ ก็ยังไม่เคยได้พบเลย โอกาสบางอย่างมาแล้วหลุดหายไป ไม่มีโอกาสได้ทำซ้ำอีก ได้พบอีก หากได้พบบ่อยๆจะเรียกว่า โอกาสได้ยังไงครับ หุ..หุ...
    </td> </tr> </tbody></table>

    โมทนาครับ

    .
     
  4. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    นี่ก็อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ทั้งๆที่เป็นพระเก่า สวยงามทั้งด้านหน้า ด้านหลัง มีพลังเหลือล้น แต่คนขายพระกิน ไม่นิยม(เพราะว่าไม่มีในครอบครอง)ไม่ต้องให้ใครมารับรอง มาเช็คพลัง คุณค่าที่มีอยู่ในองค์ท่านนั้นเป็นสิ่งที่รับรององค์ท่านเอง นี่ก็เป็นเรื่องของต่างมองต่างมุม ความไม่รู้ ความเชื่อ(ที่ได้ฟังต่อๆๆมา)ปัญญาที่ไม่ได้เกิดจากการรู้จริง เห็นจริง ห รือเกิดจากการวิเคราะห์ ด้วยเหตุ ผล จืงต้องนำมาลงให้ดูกันอีกครั้ง(ตามคำขู่) เนื่องจากผู้เขียนเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รู้จริงยังไม่แตกฉานในพระพิมพ์ต่างๆฉนั้นการที่ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดต่างๆที่อยู่ในกระทู้"พระวังหน้า.."นี้ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ควรนำไปอ้างอิง (จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ความเข้าใจและความคิดเห็น ในความรู้พระวังหน้า วังหลวง ของผู้เขียนในอนาคต อาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับข้อความที่ปรากฎในกระทู้ "พระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก.." นี้ก็เป็นได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 เมษายน 2012
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เรื่องของรูป และนาม ผมจะไม่พยายามพูดบ่อยจนกลายเป็นเฝือ และที่สำคัญเป็นการกล่าวอ้างอิงบุคคลผู้อื่นขึ้นมา อันนี้ผมจะไม่แตะต้อง เพราะเป็นความเชื่อ ความศรัทธาของบุคคล เป็นอจินไตยของผู้คนที่ศรัทธายึดมั่นในองค์ครู องค์อาจารย์กัน ไม่เช่นนั้นจะหาความสงบไม่ได้ และจะเป็นเหตุให้ต้องกล่าวละเมิดความเชื่อส่วนบุคคลกันในเรื่องของบุคคลที่ตนเคารพนับถือ เป็นชนวนความขัดแย้ง หากเรา"รู้เท่าทันถึงเหตุ" เราสู้ระงับเหตุไม่ดีกว่าหรือครับ...

    การกล่าวอ้างอิง แต่ตนเองยังไม่สามารถทำฌานได้ และมีญาณหยั่งรู้ด้วยอตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ โดยเฉพาะปัจจุปปันญาณ เราก็จะได้ชื่อว่า ฟังเขาเล่ามาอีกที ไม่ต่างจากการทำหน้าที่ของบุรุษไปรษณีย์ หรือ พนักงานรับส่งเอกสารตามสำนักงาน หรือวินมอเตอร์ไซด์รับส่งผู้โดยสารตามซอยลึกต่างๆ และตัวเองก็ไม่สามารถเปิดอ่านจดหมาย หรือข้อความนั้นได้ นั่นคือ ไม่สามารถต่อเข้าไปให้ถึงญาณ และฌานนั้นได้เฉกเช่นกัน

    ผมเคย post เอาไว้นานมากแล้วว่า มีหลายเรื่องที่เราสงสัย และอยากทราบ แต่เมื่อค้นคว้าลึกเข้าไปๆ กลับเกิดความรู้สึกว่า ไม่อยากเผยแพร่ความรู้นั้น ทางหนึ่งเพื่อให้ผู้สนใจปมปัญหานี้ได้ลองค้นคว้าเองบ้าง เพื่อให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของเรื่องราวนั้นๆได้เอง เพื่อความเข้าใจแบบ"ปัญญาญาณ" ที่ไม่ใช่ลักษณะของการจดจำ ท่องจำ หรือฟังมาบอกต่ออีกต่อไป ผมไม่นิยมการตลาดแบบเครือข่ายที่เน้นยอดเน้นเป้าครับ ของดีต้องว่า ดี ของแย่จะบอกว่า ดี เป็นไปไม่ได้ เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง ไอ้ความอยากรู้ อยากถ่ายทอด อยากบอกต่อในเรื่องราวนั้นๆ มันไม่มีแล้วครับ ปล่อยให้เป็นเรื่องของวาสนา ความพยายาม บำเพ็ญวิริยบารมี ความใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษานำพาไปดีกว่าครับ หากหยิบยื่นให้กันง่ายๆ แบบserve ถึงข้างเตียง เขาจะสามารถบำเพ็ญวิริยะบารมีได้อย่างไร การให้ก็ต้องให้เพื่อให้เขาออกไปจับปลาเองได้ จะจับผิด จับถูก จับไม่ได้มากบ้างในครั้งแรกๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา เป็นธรรมชาติของการบำเพ็ญวิริยบารมี ผมไม่เห็นว่า มันจะเป็นเรื่องที่ไม่จริงใจต่อกันตรงไหน

    ดังนั้นเรื่องของการตรวจทาง "นาม" จะต้องทำได้ด้วยตนเอง เฉกเช่นเดียวกับการตรวจทาง "รูป" แต่เมื่อผ่านสภาวธรรมที่เหมาะกับตนเองแล้ว จะไม่เห็นทั้ง "รูป และนาม" เพราะแต่เดิมทีจิตดั้งเดิม ไม่มีรูป ไม่มีนามแต่แรกแล้วนั่นเอง แต่ที่มัน"มี" เพราะเราไปยึดว่า มันมี...

    เนื่องจากผู้เขียนเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รู้จริงยังไม่แตกฉานในพระพิมพ์ต่างๆฉนั้นการที่ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดต่างๆที่อยู่ในกระทู้"พระวังหน้า.."นี้ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ควรนำไปอ้างอิง (จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ความเข้าใจและความคิดเห็น ในความรู้พระวังหน้า วังหลวง ของผู้เขียนในอนาคต อาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับข้อความที่ปรากฎในกระทู้ "พระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก.." นี้ก็เป็นได้

    ::::เพชร::
     
  6. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    นี่เป็นด้านหลังของรูปที่แล้วไม่ต้องกลัวว่าจะโหลดไปปลอมเพราะปลอมมาแล้ว ไม่เหมือน เรื่องปลอมพระวังหน้านี้มีมานานแล้วทั้งๆรู้ว่าปลอมก็ยังไปเช่ามา การปลอมเค้ารู้ว่าจับพลังกัน เค้าก็ให้แบบเต็มๆๆโดยการจัดใหญ่จัดให้จัดหนัก เมื่อคนที่ไม่ศึกษาเรื่องเนื้อว่าเก่าจริงหรือไม่ ไม่มีความรู้ ไม่มีตัวอย่าง ไม่มีความคิดที่เป็นจริง มันก็เข้าทางคนปลอมพระขาย แหล่งใหญ่ที่ขายก็รู้ แต่ก็ยังเดินไปหาเค้าเอง แล้วโทษใคร อีกหน่อยก็คงโทษครูอาจารย์ที่ไม่บอก ไม่ได้มองที่ตัวเอง ไม่ได้คิด ไม่มีแนวทางที่เป็นไปได้ เมื่อไม่มีครูอาจารย์แล้ว จะทำอะไรเป็นไหม? อะไรถูกหรือผิด จะถามใคร ใบ้กิน พระเครื่องนี่ก็เป็นวิทยาศาสตร์ ต้องพิสูตร์ได้ ไม่ต้องมาสาบานแบบเด็กๆๆว่าจริงหรือไม่ ใช่หรือไม่ ที่สำคัญ ว่าเคยเห็นของแท้บ้างไหม? เห็นแต่ของปลอมมาตลอดก็เลยไม่รู้ว่ามีหรือไม่เนื่องจากผู้เขียนเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รู้จริงยังไม่แตกฉานในพระพิมพ์ต่างๆฉนั้นการที่ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดต่างๆที่อยู่ในกระทู้"พระวังหน้า.."นี้ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ควรนำไปอ้างอิง (จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ความเข้าใจและความคิดเห็น ในความรู้พระวังหน้า วังหลวง ของผู้เขียนในอนาคต อาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับข้อความที่ปรากฎในกระทู้ "พระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก.." นี้ก็เป็นได้
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 เมษายน 2012
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หุ...หุ..ลุงๆ ที่เห็นจะๆเลยคือ "คำพูดของผม" กำลังโดนปลอม โดน copy มาทั้งแท่ง ท่านใดแยกออกว่า คำพูดผม หรือ คำพูดลุงไฟดูดเป็นของจริง...:'(<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    ก็ไม่ได้""สงวนสิทธิ์""ไว้นี่ ต้องโดนปลอม กลัวปลอมหรือไม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 เมษายน 2012
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พิมพ์ปิดตาวังหน้า หรือพิมพ์อธิษฐานฤทธิ์ ลองพิจารณากันครับ ลักษณะของพระกร และฝ่าพระหัตถ์ที่ยกขึ้นหากเป็นปิดตา ออกจากผิดสัดส่วนธรรมชาติการยกพระกร พระหัตถ์ขึ้นในระดับนั้นไปบ้าง หากเป็นอธิษฐานฤทธิ์ก็สมสัดส่วนมากกว่า รอบๆเป็นอักขระเลขยันต์ ไม่ใช่ปรกโพอย่างแน่นอน ลุงหนุ่มน้อย ลุงไฟดูด ลุงอ.กูรูน้องนู๋มาช่วยกันพิจารณาดูหน่อย พิมพ์นี้ผมไปพบแถบท่าน้ำนนท์ ๒ องค์ สีแดง และสีดำวางคู่กัน องค์ละร้อย คนขายไม่ทราบสำนัก

    เนื่องจากผู้เขียนเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รู้จริงยังไม่แตกฉานในพระพิมพ์ต่างๆฉนั้นการที่ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดต่างๆที่อยู่ในกระทู้"พระวังหน้า.."นี้ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ควรนำไปอ้างอิง (จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ความเข้าใจและความคิดเห็น ในความรู้พระวังหน้า วังหลวง ของผู้เขียนในอนาคต อาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับข้อความที่ปรากฎในกระทู้ "พระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก.." นี้ก็เป็นได้<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2012
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระพิมพ์ที่ลงชาดมักจะเป็นพระพิมพ์ที่พระราชทาน หรือแจกให้กับเจ้านายในวัง อาจารย์ปู่ประถมเคยกล่าวไว้ว่า หากมีพระพิมพ์ ๒ องค์ องค์หนึ่งมีชาด กับอีกองค์ไม่มีชาด ขอเลือกองค์ที่มีชาด เพราะสาเหตุหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ความพิเศษย่อมต่างจากแบบของสามัญชนทั่วไป

    เรื่องของชาด เท่าที่ลองประมวลความรู้หยาบๆแล้ว ตัวอย่างชาวจีนโบราณที่ปัจจุบันก็ยังยึดถือเคร่งครัดกันอยู่ เช่นการเปิดป้ายร้าน นอกจากป้ายทอง แล้วยังต้องลงชาดตามภาพครับ อนึ่ง การใช้สีชาด หรือ สีแดงชาดทาลง หรือถมลงในร่องนี้ เป็นไปตามขนบนิยมและประเพณีนิยมว่า “สีแดง” เป็นสีที่มีความหมายถึง ความสว่าง ความสุกใส ควรใช้ควบคู่กับสีทอง ซึ่งหมายถึง ความรุ่งเรืองจึงเรียกกันว่า “ลงรักปิดทองร่องชาด” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ร่องชาด”

    งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว
    งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว หรือ อย่างที่คนส่วนมากเรียกสั้นๆ ว่า “ลงรักปิดทอง” คือ กระบวนการตกแต่งผิวภายนอก ของศิลปวัตถุ หรือ องค์ประกอบสำหรับงานสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี ด้วยการลงรัก หรือ ทายางรัก แล้วปิดด้วยทองคำเปลวทับ ทำให้ผิวของศิลปวัตถุ หรือ องค์ประกอบสำหรับงานสถาปัตยกรรมบางสิ่ง เป็นสีทองคำเหลืองอร่าม และ เป็นมันวาวเหมือนหนึ่งว่าทำด้วยทองคำ อันเป็นความเชื่อโดยขนบนิยมในสังคมไทยมาแต่โบราณกาล

    งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว ได้ทำการที่เป็นงานปิดทองเป็น ๔ ลักษณะงานด้วยกัน คือ
    ๑. งานลงรักปิดทองทึบ
    ๒. งานลงรักปิดทองร่องชาด
    ๓. งานลงรักปิดทองร่องกระจก
    ๔. งานลงรักปิดทองลายฉลุ
    ๑. งานลงรักปิดทองทึบ

    งานลงรักปิดทองทึบ หมายถึง การปิดทองคำเปลวลงบนงานศิลปวัตถุต่างๆ ซึ่งสร้างขึ้นด้วย ดินเผา ปูนปั้น ไม้แกะสลัก หรือ โลหะหล่อ เพื่อให้ผิวภายนอกของศิลปวัตถุนั้นๆ เป็นผิวทองคำ และเรียบเกลี้ยงทั่วไป ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปปิดทองเป็นพระปฏิมาประธาน เป็นต้น

    [​IMG]

    รูปภาพ พระพิฆเนศวร โดยใช้วิธีการลงรักปิดทองทึบ <SUP>๑</SUP>
    ๒. งานลงรักปิดทองร่องชาด

    งานลงรักปิดทองร่องชาด หมายถึง การปิดทองคำเปลว ลงบนงานศิลปวัตถุประเภทต่างๆ เช่น ปูนปั้น ไม้แกะสลัก ซึ่งมักแสดงออกในลักษณะลวดลายตกแต่งครุภัณฑ์ ยานพาหนะ หรือ องค์ประกอบสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี ซึ่งในส่วนที่เป็นลวดลายก็ดี รูปภาพแทรกระหว่างลวดลายก็ดี จะได้รับการปิดทองคำเปลว ซึ่งดำเนินการด้วยวิธีการปิดทองทึบ แต่จะมีลักษณะต่างกันตรงที่มีการ “ร่องชาด” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของงานนี้
    คำว่า “ร่องชาด” นี้มาแต่คำว่า “ร่อง” คำหนึ่งกับ “ชาด” อีกคำหนึ่ง “ร่อง” หมายถึง รอยลึกต่ำลงไประหว่างผิว พื้นปรกติ ในกรณีนี้ หมายถึง ร่องที่ได้รับการขุดควักลงไป ให้ต่ำอยู่ระหว่างช่องไฟของลวดลาย หรือ พื้นหลังที่ดูเหมือนต่ำลงไปในงานปั้นปูน เน้นลวดลายให้นูนสูงขึ้นจากพื้นหลังนั้น ส่วนคำว่า “ชาด” หมายถึง วัตถุสีแดงชนิดหนึ่ง ใช้ทำเป็นสีสำหรับเขียน หรือ ระบายคำว่า “ร่องชาด” ในลักษณะของงานปิดทองร่องชาด อาจมีความหมายเป็นทั้งคำนาม และคำกิริยา ดังนี้

    งานลงรักปิดทองล่องชาดนี้ ทำขึ้นด้วยความประสงค์ให้สีแดงที่ใช้ทาลง หรือ ถมลงในส่วนที่เป็นร่องระหว่างลวดลาย หรือช่องไฟระหว่างสิ่งที่ทำขึ้น ในลักษณะงานปูนปั้น งานไม้หรือหินแกะสลัก ดูเด่นเห็นกระจะขึ้นจากพื้นที่ เป็นร่องลึกต่ำ หรือ พื้นที่รองรับอยู่เบื้องหลังนั้นนั่นเอง

    ๓. งานลงรักปิดทองร่องกระจก

    [​IMG]

    รูปภาพ งานลงรักปิดทองร่องกระจก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร <SUP></SUP>
    งานลงรักปิดทองร่องกระจก หมายถึง การลงรักลงบนงานศิลปวัตถุต่างๆ ประเภทที่ทำขึ้นด้วย ปูนปั้น ไม้แกะสลัก ดินเผา แล้วปิดทองคำเปลวทับ ลักษณะคล้ายกันกับงานลงรักปิดทองทึบ แต่จะมีลักษณะเฉพาะของงานนี้ อยู่ที่มีการ “ร่องกระจก” เพิ่มขึ้นมา
    “ร่องกระจก” คือ การใช้กระจกสีต่างๆ แผ่นบาง รูปสี่เหลี่ยม นำมาตัดย่อย เป็นชิ้นเล็กรูปร่างต่างๆ ตามประสงค์ ให้เหมาะแก่งาน และพื้นที่นำมาติดลงในพื้นร่อง ระหว่างลวดลาย หรือ ในช่องไฟของสิ่งที่ได้ปิดทองขึ้นในที่นั่น
    ความประสงค์ “ร่องกระจก” ก็เป็นไปเช่นเดียวกับการปิดทองร่องชาด คือ อาศัยกระจกที่เป็นวัตถุมีสี และความมันวาว ถมปิดลงในร่อง เพื่อหนุน หรือ ขับลวดลาย หรือ สิ่งที่ปิดทองซึ่งนูนขึ้นจากพื้นหลัง ให้เป็นที่ดูเด่นชัด เห็นกระจะ ตานั่นเอง
    ๔. งานลงรักปิดทองลายฉลุ

    งานลงรักปิดทองลายฉลุ หมายถึง งานตกแต่งลักษณะหนึ่ง ทำขึ้นด้วยการลงรักแล้วปิดทองคำเปลวให้เป็นลวด ลายแบบต่างๆ โดยอาศัยแบบลายฉลุ เป็นเครื่องกำหนด ให้เกิดเป็นลวดลายเช่นนั้น
    [​IMG]
    รูปภาพ ลวดลายงานลงรักปิดทองลายฉลุฝ้าเพดาน สมัยรัตนโกสินทร์ <SUP></SUP>
    งานลงรักปิดทองลายฉลุนี้ พึงหาตัวอย่างดูได้ตามเพดาน ท้องขื่อ ฝ้าเฉลียง ไขรา ฝาผนังในพระอุโบสถ พระวิหาร หอพระธรรม พระมณฑป เป็นต้น ลักษณะทั่วไปมักเป็นลวดลายหย่อม เช่น ลายดาว ลายดอกจอก ลายดาวรังแตน ลายดอกไม้ร่วง หรือ ทำเป็นลวดลายติดต่อ เช่น ลายก้านแย่งดอกใน ลายกรวยเชิง ลายเกลียว ก็มีลักษณะของลวดลายเป็นสีทองบนพื้นสีแดงบ้าง สีคราม และสีเขียวบ้าง ลวดลายแบบนี้มีลักษณะเป็นตัวขาดจากกัน ไม่ต่อเนื่องกันดัง เช่นลายเขียน ทั้งนี้เนื่องจากมี “ขื่อ” ทำขึ้นในแบบลายฉลุเป็นเครื่องกั้นลาย แต่ละตัวให้ขาดกัน
    งานลงรักปิดทองลายฉลุ และ วิธีการลงรักปิดทองลายฉลุนี้ เป็นมาด้วยการแก้ปัญหาทางการช่าง ในการทำ ลวดลายตกแต่งตามที่สูงๆ เป็นต้น ฝ้าเพดาน ท้องขื่อ หรือฝ้าปีกนก ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ดาดอยู่เหนือศีรษะ เป็นตำแหน่ง ที่ยาก และลำบากแก่การแหงนหน้าขึ้นเขียนลวดลายที่ประณีต และละเอียด จึงได้ใช้วิธีทำแบบลวดลายขึ้นบนกระดาษบ้าง หนังแพะบ้าง แล้วฉลุตัวลายให้ขาดเป็นช่องๆ ตามรูปแบบลายนั้น ขึ้นไว้บนพื้นกระดาษนั้น เมื่อจะทำลวดลาย ก็เอาน้ำยาขึ้นไปทาพื้น ตรงที่จะทำให้เป็นลวดลาย แล้วเอาแบบลวดลายปะติดเข้าตรงที่ต้องการให้ติดแน่น จึงเอาทองคำเปลวปิดลงตรงช่องที่เจาะ ทำเป็นตัวลายบนแบบนั้นให้ทั่ว พอทองจับติดพื้นดี แล้วจึงแกะแบบถอนออกจากพื้น ตามแบบลายฉลุที่ได้ทำขึ้นเป็นแบบนั้น แบบลายฉลุนี้อาจใช้ทำลวดลายต่อเนื่องกันไปได้ไม่จำกัดลวดลาย และวิธีทำให้เกิดเป็นลวดลาย ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่า งานลงรักปิดทองฉลุลาย

    แหล่งที่มาของข้อมูล หรือหนังสืออ้างอิง
    <SUP></SUP> รูปภาพ พระพิฆเนศวร โดยใช้วิธีการลงรักปิดทองทึบ ผู้เขียนเว็บไซต์เป็นผู้ถ่ายภาพ จากงานนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบิดา แห่งการอนุรักษ์มรดกไทย ระหว่างวันที่ ๑๑–๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

    <SUP></SUP> รูปภาพ ผู้เขียนเว็บไซต์เป็นผู้ถ่ายภาพ จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

    <SUP></SUP> รูปภาพ ลวดลายงานลงรักปิดทองลายฉลุฝ้าเพดาน สมัยรัตนโกสินทร์ ผู้เขียนเว็บไซต์เป็นผู้บันทึกภาพ

    จาก งานลงรักปิดทองร่องกระจก การลงรักลงบนงานศิลปวัตถุต่างๆ ประเภทที่ทำขึ้นด้วย ปูนปั้น ไม้แ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขออภัยที่ยังไม่ได้รวบรวมเป็นเรื่องเป็นราว คุยกันเรื่องของ"ชาด"อีกซักนิด พอดีว่า ช่วงที่เรียนเภสัชกรรม เรื่องของการปรุงยา มีหัวข้ออยู่หัวข้อหนึ่ง เรื่องของการฆ่าฤทธิ์ชาดก้อน เนื่องจากชาดก้อนมีส่วนประกอบของปรอทสูง เมื่อจะนำมาทำยา จึงต้องทำการฆ่าฤทธิ์ให้อ่อนลงก่อน จึงจะนำไปเป็นตัวยาของขนานยานั้นๆได้ การฆ่าฤทธิ์ชาดก้อน ในตำราของกองประกอบ บอกไม่ละเอียด ผู้ทำทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะเกิดโทษมากกว่าคุณ ยังไม่ได้ตัวยา ก็รับพิษยาไปก่อนแล้ว เขาเริ่มจาก

    ๑) นำฝาหม้อดินตั้งบนเตาไฟ ให้ร้อนจัดเอาชาดผงใส่ในหม้อดินพอสมควร
    ๒) บีบน้ำมะกรูดครั้งที่ ๑ ให้ชุ่มชาดผง ตั้งไฟ คนไปเรื่อยๆจนแห้ง ทำครบ ๓ ครั้งชาดผงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงอมดำ(สีเข้มกว่าเดิม)
    ๓) ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ขูดออกจากฝาหม้อดิน เก็บใส่ไว้ในขวดโหลแก้วปิดฝาให้สนิท

    ประเด็นที่บอกว่า ทำตามนี้ ตายก่อนได้ตัวยา คือ เมื่อเผาชาด จะมีสารปรอทออกจากชาดก้อน สารมีพิษจะฟุ้งแผ่กระจายไปทั่วบริเวณ ควรจะต้องหาสถานที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกก่อน จึงเริ่มกระบวนการ ไม่เช่นนั้น ทำมากสะสมไปเรื่อยๆครับ แล้วสงสัยจนตายว่า ทำไมฉันเก่งยา แล้วยังตาย ก็มันถึงที่ตาย ยังไงเล่า......

    เมื่อได้อ่านจากหนังสือ"วิเคราะห์พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และพระสกุลสมเด็จ" คุณๆจะได้ความรู้ที่ปู่เล่าให้ฟังว่า มีชาดอะไรบ้าง แต่ปู่ไม่ได้บอกไปทั้งหมด ผมเพิ่มเติมจากที่ปู่บันทึกเอาไว้ให้ครับ ซึ่งความรู้นี้ก็ไม่ใช่ของผม เป็นของวิชาเภสัชกรรม หากไม่เรียนเภสัชกรรม ผมก็ไม่มีทางจะทราบได้เช่นกัน หรือคงไม่ขวนขวายที่จะทราบ แต่เอาสะดวกคือ ปู่ว่ายังไงก็ว่าตามปู่ จากการค้นตำรายาของผม ผมก็พบว่า ชาดมีด้วยกัน ๑๐ ชนิด
    ๑) ชาดก้อน เรียกอีกชื่อว่า ซิ่งซา หนักมาก สีแดงผิวมันเงา มาจากเมืองจีน มีส่วนประกอบของปรอทสูง
    ๒) ชาดจอแส เรียกอีกชื่อว่า จูซา หรือตันซา สีแดงอ่อน คล้ายกำมะถัน มาจากเมืองจีน
    ๓) ชาดหรคุณจีน เรียกอีกชื่อว่า เต้าซา สีแดงอมเหลือง ได้จากการสังเคราะห์ มีส่วนประกอบของปรอทสูง
    ๔) ชาดหรคุณไทย คือข้าวตอกพระร่วงนั่นเอง ก้อนสี่เหลี่ยม สีเหลืองอมน้ำตาลแดง มีในไทย ได้จากธรรมชาติ
    ๕) ชาดหรคุณเหล็ก
    ๖) ชาดผง
    ๗) ชาดอ้ายมุ่ย
    ๘) ชาดลิ้นจี่
    ๙) ชาดห่อ หรือชาดตีตรา
    ๑๐)ชาดเสน

    ชาดลำดับที่ ๑-๕ นี้รสเย็นปร่า มีสรรพคุณคือ ดับพิษอักเสบภายใน แก้ตับปอดพิการ บำรุงตับปอด แก้พิษฝี กัดเม็ดยอด กัดล้างบาดแผล กัดหัวฝี

    ชาดลำดับที่ ๖ มีอีกชื่อว่า งึ่งจู สีเหลืองอมชมพู ผสมยาใส่แผล บำรุงตับปอด ดับพิษอักเสบ แก้กระดูกพิการ

    ชาดลำดับที่ ๗-๙ มาจากเมืองจีน มีพิษมากกินไม่ได้ จึงใช้ผสมยาใส่แผลภายนอก

    ชาดลำดับที่ ๑๐ เป็นของฝรั่ง มีพิษมากกินไม่ได้ ใช้ทำกอเอี๊ยะ(กอคือ ลักษณะเหนอะหนะ เอี๊ยะคือ ยา) ปิดแผลฝี ดูดหนอง

    เมื่อผมได้ศึกษาประวัติการแพทย์แผนไทย ผมก็ทำการต่อ jigsaw เรื่องของยา กับเรื่องของพระพิมพ์วังหน้าที่มีการลงรัก ลงชาด ผมถึงได้ทราบว่า การแพทย์แผนไทยรุ่งเรืองในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปกติทำยาของราชสำนัก เครื่องยาที่สั่งเข้ามาจากทางเมืองจีน แน่นอนต้องรวมทั้งชาดด้วย ต้องจัดเก็บที่ห้องยาหลวง คราวนี้การนำชาดมาใช้ลงพระพิมพ์จะเป็นการสั่งเพื่อการนี้โดยเฉพาะ หรือการเบิกจากห้องยาหลวงในฐานะที่เข้าตำรับยา อันนี้ก็ไม่ทราบครับ แต่มันต้องมีความเกี่ยวพันกันอย่างแน่นอน คือไม่ได้สั่งชาด ๒-๓ ชนิดในชาดกลุ่มแรกเข้ามาเพื่อการสร้างพระพิมพ์เพียงประการเดียวอย่างแน่นอน แต่วัตถุประสงค์หลักก็คงมีเรื่องของยา และงานของช่างสิบหมู่ วังหน้า วังหลวง ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้ในกิจด้านใด

    จุดนี้เองที่ผมกำลังจะบอกว่า พระพิมพ์ใดที่มีการลงชาดเอาไว้ จึงน่าจะเกิดในราวรัชสมัยของรัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา จนถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ส่วนในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา ไม่มีครับ เนื่องจากพระองค์ท่านส่งเสริมการแพทย์แผนตะวันตก ตำรายาส่วนมาก และจำนวนมาก ถูกเผาทำลายในรัชสมัยนี้นี่เอง ทั้งนี้ด้วยราษฎรส่วนมากเกรงจะต้องอาญาแผ่นดินในการครอบครองสูตรยา ตำรายา ลองค้นคว้าต่อกันเองครับ...

    ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ยกเลิกวิชาการแพทย์แผนโบราณ และโรงเรียนราชแพทย์วิทยาลัย

    ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เริ่มใช้พ.ร.บ.การแพทย์ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และป้องกันอันตรายของประชาชนจากผู้ไม่มีความรู้ หรือไม่ได้ฝึกหัด

    และด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาส่วนหนึ่งของ trip การเดินทางไปชมทอผ้าด้วยส่วนหนึ่ง...
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เมื่อเรา clear เรื่องของชาด ก็ง่ายขึ้นในการแยกพิมพ์ว่าอยู่ในยุคสมัยใด ร.๓ หรือร.๔ หรือร.๕ แต่ที่แน่ๆคือ จะทันสมเด็จโตท่านเสกในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ หรือไม่ ก็คงต้องใช้ปีพ.ศ.ที่ท่านเสด็จทิวงคตเป็นตัวตัดสิน แต่หากท่านเสกผง แล้วนำ"ผง"ไปสร้างพระพิมพ์ภายหลังเล่า??? แบบนี้ถือว่า ทันหรือไม่ แบบนี้ในความเห็นของผม ผมคิดว่า ทัน อยู่ที่คุณๆยึด"แป้งหมี่" หรือยึด"ซองบะหมี่พร้อมเครื่องปรุง" กันแน่!!

    ลองพิจารณาพระพิมพ์สมเด็จนี้กันเคยลงมาครั้งหนึ่งแล้ว พบเพียง ๑ องค์ จากจำนวนที่บรรจุใน"ภาชนะ" ที่แม้"ภาชนะที่บรรจุ"ก็จัดสร้างเพียง ๑x ชิ้นเท่านั้น พระพิมพ์สมเด็จนี้จึงไม่น่าจะพบเห็นในปริมาณมากๆ...

    เนื่องจากผู้เขียนเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รู้จริงยังไม่แตกฉานในพระพิมพ์ต่างๆฉนั้นการที่ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดต่างๆที่อยู่ในกระทู้"พระวังหน้า.."นี้ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ควรนำไปอ้างอิง (จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ความเข้าใจและความคิดเห็น ในความรู้พระวังหน้า วังหลวง ของผู้เขียนในอนาคต อาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับข้อความที่ปรากฎในกระทู้ "พระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก.." นี้ก็เป็นได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2012
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ลองไปชมกันครับ เขาบอกว่า

    พระปิดตาวังหน้า พิมพ์สองหน้า เป็นพระปิดตาเนื้อผงผสมว่าน คลุกรัก ยอดนิยมที่รู้จักกันแพร่หลายโดยทั่วไปในหมู่นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ที่มีประวัติชัดเจนเป็นที่ยอมรับของวงการ ในงานประกวดพระฯ ก็ได้รับการบรรจุไว้ในรายการเสมอ สนนราคาค่านิยมสวย ๆ องค์หนึ่งถึงหลักแสน

    รายละเอียดไปหาอ่านตามนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เป็นความบังเอิญหรือไม่ ก็ลองพิจารณาดูครับ ยุคนี้คือยุคเผยแพร่ ผมขอแก้ไขข้อมูลของ post ที่ 50732 ที่ระบุว่า พระปิดตาวังหน้า หรือพิมพ์อธิษฐานฤทธิ์ คงต้องรอให้ลุงๆทั้ง ๓ มาช่วยกันชี้แนะอีกทีเกี่ยวกับลักษณะพระพิมพ์ครับ

    ที่ผมบอกว่าแก้ไขคือ ประเด็นเรื่องวังหน้า วัดชนะสงคราม มีความรู้สึกว่าแยกกันไม่ออก ลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ก่อนนะครับ..

    จากแยกบางลำพู เลี้ยวมายังป้อมพระสุเมรุไปตามถนนพระอาทิตย์ วกกลับย้อนขึ้นมาเลียบเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า กลับมายังย่านบางลำพูหน้าวัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร เป็นย่านเก่าแก่ยาวนานมาตั้งแต่ยุคก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์

    การนำเสนอภาพชุมชนแห่งนี้ให้ชัดเจนที่สุด ต้องกล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ ๑. วัดชนะสงคราม ๒. ชุมชนดั้งเดิมที่เป็นชาวมอญ และ ๓. เจ้าวังหน้า

    เรื่องราวในอดีตย้อนลงไปกว่า ๒๐๐ ปีของชุมชนแห่งนี้ สามารถเชื่อมโยงร้อยเรียงเพื่อนำมาอธิบายภาพที่ปรากฏเป็นชุมชนพระอาทิตย์ในปัจจุบันได้อย่างไม่ขาดตอน เพราะทุกอย่างล้วนมีที่มาที่ไปสืบทอดต่อเนื่องกัน

    ยุคต้นรัตนโกสินทร์ - - ที่ดินบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงถนนพระอาทิตย์ตั้งแต่ปากคลองบางลำพู ตรงข้างวัดสังเวชฯ จนถึงบริเวณท่าช้างวังหน้า (ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า) เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวมอญที่เข้ามาสวามิภักดิ์แหล่งใหญ่แห่งหนึ่ง หัวหน้าชุมชนรับราชการเป็น เจ้ามหาโยธา (ทอเรียะ) ต้นตระกูล คชเสนี โดยมีจุดศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่ วัดตองปุ อันเป็นวัดเก่ามีมาก่อนตั้งกรุงฯ ต่อมาพระราชทานนามว่า วัดตองปุ และตั้งสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายรามัญมาดูแล เพื่อให้เหมือนกับวัดของชุมชนมอญอาสาครั้งกรุงเก่าฯ

    ละแวกดังกล่าวอยู่ใกล้เขตพระราชฐานของกรมพระราชวังบวรฯ หรือ วังหน้า ... ครั้งเมื่อ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ชนะศึกสงครามเก้าทัพ เสด็จมาทำพิธีสรงน้ำและเปลี่ยนเครื่องทรงตามพระราชพิธีโบราณที่วัดตองปุก่อนเสด็จเข้าพระบรมมหาราชวัง จึงทรงโปรดฯ ให้บูรณะพระอารามใหม่เมื่อปี ๒๓๓๐ จากนั้นรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดชนะสงคราม” อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยังคงเรียกชื่อ วัดตองปุเรื่อยมาจนถึงประมาณสมัยรัชกาลที่ ๕

    เจ้ามหาโยธา ทอเรียะ มีบุตรรับราชการสืบต่อ นามว่า พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย) มีธิดาถวายตัวเป็นพระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔ ชื่อว่า เจ้าจอมมารดากลิ่น ซึ่งให้ประสูติพระราชโอรส ทรงพระนามว่า “พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร” ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์”

    ตระกูล คชเสนี จึงถวายที่ดินบริเวณถนนพระอาทิตย์เพื่อเป็นวังที่ประทับของพระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ปัจจุบันคือ 'บ้านมะลิวัลย์' ที่ตั้งของสำนักงาน องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ไม่ไกลนักกับบ้านพระอาทิตย์

    ด้วยทำเลที่ตั้งและความเป็นมาเกี่ยวข้องกับชุมชนมอญ วัดชนะสงคราม จึงเกี่ยวข้องกับเจ้านายวังหน้า – ชุมชนมอญพระอาทิตย์มาตั้งแต่ต้น

    ในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (วังหน้า) ทรงนำไม้ที่รื้อพระพิมานดุสิตา ซึ่งเคยเป็นหอพระสร้างเสนาสนะถวาย จนมาถึงการบูรณะใหญ่อีกครั้งสมัยรัชกาลที่ ๖ พระศรีพัชรินทรา ฯ พระพันปีหลวง ทรงมอบหมายให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (หลานทวดของพระมหาโยธา ทอเรียะ ซึ่งมีวังอยู่ใกล้กับวัด ) บูรณะจนเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๗

    รัตนโกสินทร์ยุคกลางถึงยุคปัจจุบัน - - ละแวกถนนพระอาทิตย์และวัดชนะสงคราม เป็นเขตพระราชฐานของวังหน้า จึงเป็นธรรมเนียมที่ “เจ้านายวังหน้า” ได้พระราชทานที่ดินเพื่อสร้างวัง หรือ ตำหนักประทับ ต่อเนื่องกันมาในแต่ละรัชกาล

    โรงเรียนการข่าวทหารบกปัจจุบัน เคยเป็นวังของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าในรัชกาลที่ ๕ ลึกเข้าไปในตรอกโรงไหม เคยเป็นที่ตั้ง วังของพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ พระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

    บ้านเจ้าพระยา ที่ทำการของ เอเอสทีวี. เดิมเป็นวังของ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวรัตน์ กรมหมื่นสถิตยธำรงสวัสดิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้า) ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๖ พระราชทานที่ดินและอาคารแก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ พระบิดาของ ม.ร.ว.เสนีย์-คึกฤทธิ์ ปราโมช

    ส่วน บ้านพระอาทิตย์ นั้น เดิมเป็นบ้านของ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์(ม.ร.ว เย็น อิศรเสนา) เจ้านายผู้สืบเชื้อสายมาจากพระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศร์ พระโอรสใน สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์-วังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยได้สร้างขึ้นใหม่แทนวังเดิมที่ทรุดโทรมลงเมื่อพ.ศ.๒๔๗๕

    เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกับชุมชนมอญพระอาทิตย์-วัดชนะสงคราม อย่างแนบแน่น บิดาของท่านคือ ม.จ.เสาวรส อิศรเสนา สมรสกับ หม่อมมุหน่าย อิศรเสนา เชื้อสายมอญชุมชนพระอาทิตย์ เมื่อยังเด็ก เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ไปเรียนหนังสือกับหลวงตา (บิดาของหม่อมมุหน่าย) ซึ่งบวชจำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม

    เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เจ้าของบ้านพระอาทิตย์ จึงมีสายใยผูกพันกับชุมชนมอญ และ วัดชนะสงคราม อย่างแยกไม่ออก

    ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9500000129353

    และประวัติของวัดชนะสงคราม ให้ดูว่า มีความเกี่ยวพันกับวังหน้า ร.๑ กันยังไง

    วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่า วัดกลางนา

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 สงครามที่ท่าดินแดง และสามสบ เมื่อ พ.ศ. 2329 และสงครามที่นครลำปางป่าซาง เมื่อ พ.ศ. 2330

    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง

    วัดชนะสงครามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลที่เฉลียงพระอุโบสถด้านหลังตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวงทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ดำเนินการ แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาดำเนินการก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ. 2470

    เรื่องสำคัญออีกเรื่องที่ผมกล่าวว่า แยกกันไม่ออกระหว่าวังหน้า และวัดชนะสงคราม และอีกประการคือ พระสงฆ์มอญ ลองตามอีกนิดครับ ใกล้จะขมวดปมแล้วครับ...

    พระปริตรามัญ
    โบราณประเพณีเก่าแก่ของไทยประการหนึ่ง ที่มีความสำคัญ และมีความหมายยิ่ง ต่อองค์พระมหากษัตริย์โดยตรง หากแต่ไม่ค่อยได้มีผู้ใดรู้จักเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นพิธีที่ปฏิบัติกัน เฉพาะในหอศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง และเป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเฉพาะส่วนพระองค์เท่านั้น พิธีนี้มีความหมายอย่างยิ่งต่อพระราชกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากเป็นพิธีที่สวดเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ทูลเกล้า ฯ ถวาย ส่วนหนึ่งสำหรับจัดเป็นน้ำสรงพระพักตร์ และน้ำโสรจสรง อีกส่วนหนึ่ง เพื่อประพรมพระที่นั่งองค์สำคัญ ในเขตพระราชฐานชั้นใน นอกจากนี้ พิธีดังกล่าว ยังมีลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งคือ จะนิมนต์เฉพาะพระสงฆ์มอญเข้ามาสวดบทสวดพระปริตรมอญเท่านั้น ความสำคัญของพิธีสวดพระปริตรรามัญ เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวังนั้น ปรากฏตามพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

    "ในพระราชนิเวศน์เวียงวัง ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ตามแบบแผนบุรพประเพณีสืบมา พระสงฆ์รามัญ ได้สวดพระปริตรตามแบบอย่างข้างรามัญ ถวายน้ำพระพุทธมนต์และน้ำสรงพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นน้ำสำหรับสรงพระพักตร์ ประพรมเป็นทักษิณาวัฏรอบขอบ ในจังหวัดพระราชมหามณเฑียรนี้ทุกวัน เป็นการพระราชพิธีมีสำหรับบรมราชตระกูลสืบมาแต่โบราณ พระสงฆ์อื่น ๆ แม้นมีฐานันดรยศปรากฏด้วยเกียรติคุณ คือ เรียนรู้พระคัมภีร์ที่เป็นพระราชาคณะเปรียญ หรือที่เป็นอาจารย์บอกภาวนาวิธี หรือพระสงฆ์ที่รู้ประกอบวิทยามนต์ดล เป็นที่นับถือของคนเป็นอันมากก็ดี ก็ไม่มีราชบัญญัติ ที่จะได้รับวาระผลัดเปลี่ยนมาสวดพระปริตรถวายน้ำพระพุทธมนต์เลย เหตุอันนี้ได้ทรงพระราชดำริว่า ชะรอยจะมีเหตุวิเศษอย่างหนึ่งแต่โบราณรัชกาล เป็นมหัศจรรย์อยู่อย่างไรแน่แท้ เพราะว่าปกติธรรมดาคนชาวภาษาใด ประเทศใด ก็ย่อมนับถือพระสงฆ์และแพทย์หมอต่าง ๆ ตามประเทศ ตามภาษาของตัว ในการสวดและการบุญต่าง ๆ แลการปริตรรักษาตนรักษาไข้ แต่การซึ่งมีนิยมเฉพาะให้พระสงฆ์รามัญพวกเดียว ประจำสวดปริตรอย่างรามัญ ในพระราชวังนี้ จะมีความยืนยันมา ในพระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุการต่อมาเป็นแน่นอนก็ไม่มี

    อนึ่ง เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินประทับแรมราตรี ณ ตำบลใดเป็นทางไกล คือเสด็จไปการสงคราม หรือแทรกโพนช้างในแผ่นดินก่อน ๆ พระสงฆ์รามัญสวดพระปริตรนี้ ก็ต้องตามเสด็จพระราชดำเนินด้วยทุกครั้ง เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า เสด็จไปประทับอยู่กรุงลพบุรี 8 เดือน ในฤดูแล้งทุกปี ก็ได้อาราธนาพระสงฆ์รามัญวัดตองปุให้ตามเสด็จขึ้นไปตั้งอารามชื่อวัดตองปุ อยู่สวดพระปริตรถวายพระพุทธมนต์ทุกวัน อารามนั้นก็มีปรากฏจนทุกวันนี้ แลน้ำพระพุทธมนต์พระปริตรนี้ ย่อมเป็นที่เห็นว่ามีอำนาจป้องกันอุปัทวันตรายต่าง ๆ ได้จริง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ดำรงสิริ รัตนราไชยสวริยาธิปัตย์ เถลิงถวัลยราช ณ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยานี้ ก็ได้ทรงถือน้ำพระพุทธมนต์ประปริตรที่พระสงฆ์รามัญสวดถวายนั้น เป็นน้ำสรงพระพักตร์และน้ำสรงมาทุกพระองค์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นิพนธ์อธิบายเพิ่มเติม ถึงราชประเพณีดังกล่าวในหนังสือ "ตำนานพระปริต" โดยแสดงให้เห็นว่า แม้ปกติจะมีการแต่งตั้งตำแหน่งพระครูปริตไทย 4 รูป และพระครูปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ในงานพระราชพิธีโดยทั่วไปแล้วนั้น แต่สำหรับพิธีสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ที่หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวังนั้นมีเฉพาะพระครูปริตมอญเท่านั้นเข้ามาสวดทุกวัน ดังความว่า

    "แต่การสวดพระปริตทำน้ำพระพุทธมนตร์ ถือเป็นการสำคัญในราชประเพณีอย่างหนึ่ง มีตำแหน่งพระครูพระปริตไทย 4 รูป พระครูพระปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ ในบรรดางานพระราชพิธีซึ่งมีสรงมุรธาภิเษก พระราชาคณะไทยรูป 1 มอญรูป 1 กับพระครูพระปริต 8 รูปนั้นสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์สำหรับสรงมุรธาภิเษกทุกงาน และโดยปกติพระครูพระปริตมอญต้องเข้ามาสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ที่หอศาสตราคม ทุกวัน น้ำมนตร์พระปริตนั้น ส่วนหนึ่งแบ่งส่งไปสำหรับเป็นน้ำสรงพระพักตร์และโสรจสรง อีกส่วนหนึ่งในบาตร 2 ใบให้สังฆการีถือตามพระครูพระปริต 2 รูป เข้าไปเดินประพรมด้วยกำหญ้าคาที่ในพระราชวังเวลาบ่าย 14 นาฬิกา ทุกวันเป็นนิตย์มาแต่โบราณ
    เมื่อมีการสวดพระปริตรเป็นพิธีหลวง จึงได้ทรงแต่งตั้งพระครูพระปริตรประจำพระราชวัง สำหรับการสวดพระปริตร และสวดพระพุทธมนต์สำหรับทำน้ำมนต์ และสำหรับเสกทรายโดยเฉพาะ โดยมีพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ 4 รูป ซึ่งแต่เดิมจำพรรษาอยู่ตามวัดต่าง ๆ ที่สังกัดอยู่ในคณะรามัญนิกาย เช่น วัดบวรมงคล วัดราชคฤห์ วัดชนะสงคราม เป็นต้น ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนแปลง เป็นพระสงฆ์มอญจากวัดชนะสงครามเพียงอารามเดียว ทั้งนี้สาเหตุอาจเนื่องมาจากการจัดเวรหมุนเวียนพระแต่ละแห่งเกิดความไม่ สะดวก หรือเป็นเพราะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีพระที่สวดพระปริตรรามัญหลบภัยสงครามไปอยู่ตามวัดในต่างจังหวัด จะเหลืออยู่ก็แต่ที่วัดชนะสงคราม จึงได้สวดวัดเดียวนับแต่นั้นมา
    ตำแหน่งพระครูปริตรรามัญทั้ง 4 รูป ได้แก่

    1. พระครูราชสังวร
    2. พระครูสุนทรวิลา
    3. พระครูราชปริต
    4. พระครูสิทธิเตชะ
    ตำแหน่ง พระครูปริตรามัญทั้งหมดนี้ ปัจจุบันประจำอยู่ที่วัดชนะสงคราม รับหน้าที่เข้าไปสวดพระปริตรทำน้ำพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวังที่หอศาสตราคมเรื่อยมา จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2489 ปรากฏว่า พระสงฆ์ที่สามารถสวดพระปริตรามัญได้นั้น มีน้อยรูปลง ไม่พอจะผลัดเปลี่ยนกัน พระครูราชสังวร (พิศ อายุวฑฺฒโก) ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในครั้งนั้น จึงได้มีหนังสือถึงกรมการศาสนา ขอลดวันสวดลงมา เหลือสวดเฉพาะวันธรรมสวนะเท่านั้น พิธีเริ่มแต่เวลา 13 นาฬิกา พระสงฆ์ 4 รูปพร้อมด้วยพระครูปริตรผู้เป็นประธาน 1 รูป สวดพระปริตรอย่างภาษารามัญที่หอศาสตราคม เมื่อเสร็จราว 14 นาฬิกา มีเจ้าหน้าที่ถือบาตรน้ำมนต์นำพระ 2 รูป ไปประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบหมู่พระมหามณเฑียรเป็นเสร็จพิธี ในการสวดพระปริตรามัญที่หอศาสตราคม ในชั้นเดิม มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันระหว่างพระครูปริตทั้ง 4 รูป ในการไปสวดแต่ละวันโดยแบ่งกันรับผิดชอบตามวัน-เวลา ดังนี้

    1. พระครูราชสังวร รับผิดชอบวันธรรมสวนะขึ้น 8 ค่ำ
    2. พระครูสุนทรวิลาส รับผิดชอบรวันธรรมสวนะขึ้น 15 ค่ำ
    3. พระครูราชปริต รับผิดชอบวันธรรมสวนะแรม 8 ค่ำ
    4. พระครูสิทธิเตชะ รับผิดชอบวันธรรมสวนะแรม 15 ค่ำ

    โดยที่พระครูปริตทั้ง 4 รูป จะทำหน้าที่เป็นประธานในการสวดแต่ละครั้ง ซึ่งจะมีพระมอญอีก 4 รูปมาสวดร่วมด้วย รวมเป็นสวด 5 รูปในแต่ละวัน


    ปัจจุบัน พระสงฆ์มอญมีจำนวนลดน้อยลงโดยลำดับ เช่นเดียวกับพระสงฆ์ไทย สืบเนื่องจากสาเหตุหลายประการ แม้แต่ในวัดชนะสงคราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่พระสงฆ์มอญ มีบทบาทโดยตรงกับราชประเพณีสำคัญดังกล่าว ก็กำลังประสบสภาพการณ์เช่นเดียวกัน

    ลำดับเจ้าอาวาส
    1. พระมหาสุเมธาจารย์ พ.ศ. 2325-2363
    2. พระสุเมธาจารย์ 2363-2383
    3. หม่อมเจ้าพระสีลวราลังการ (ม.จ.สอน) พ.ศ. 2383-2410
    4. พระสุเมธาจารย์ (ศรี ป.ธ.5) พ.ศ. 2410-2455
    5. พระประสิทธิศีลคุณ (พุธ) พ.ศ. 2455-2456
    6. พระครูภาวนาพิจารณ์ (ลืม) รักษาการ พ.ศ. 2457-2459
    7. พระพิศาลสมณกิจ (ริด ป.ธ.๖) พ.ศ. 2459 (๑ เดือน ภายหลังโดนถอด)
    8. พระสุเมธมุนี (ลับ สงฺกิจโจ ป.ธ.3) พ.ศ. 2460-2485
    9. พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทัสโส ป.ธ.8) พ.ศ. 2492-2508
    10. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.9) พ.ศ. 2509-11 มีนาคม พ.ศ. 2554(ถึงแก่มรณภาพ)

    ขอบคุณข้อมูลจาก วิกีพีเดีย

    อยากให้ลองไปค้นบทความ หรือพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุ มาอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสงคราม ๙ ทัพ สงครามครั้งสำคัญ ที่สร้างไทยให้เป็นไทยอยู่ทุกวันนี้ และคงยังไม่สายเกินไปที่จะนำกล่าวถึงในโอกาสนี้ และจะเป็นที่มาของการสร้างพระพิมพ์ของวัดชนะสงคราม ภาพพระพิมพ์ที่แสดงไว้ใน post ที่ 50732 เป็น ๑ จำนวนนั้นเท่านั้น วันนี้ผมนำพิมพ์ที่ ๒ มาให้ชมกัน การได้อ่านเรื่องราวของสงคราม ๙ ทัพนี้ จะรู้สึกถึงความสำคัญ และหวงแหนพระพิมพ์นี้ เนื่องจากพระพิมพ์นี้เรียกว่า "พระพิมพ์เล็บช้าง" ได้จัดสร้างขึ้นในโอกาสฉลองชัยสงคราม ๙ ทัพ การจัดสร้างอยู่ในช่วงปีพ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๖๓ โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระมหาอุปราชวังหน้า รัชกาลที่ ๑ นั่นเอง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่พระมหาสุเมธาจารย์ เป็นเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม


    ความเห็นตัวผมเอง คิดว่า น่าจะเป็นปีพ.ศ.๒๓๓๐ เมื่อคราวเสร็จศึกที่นครลำปางป่าซางนั่นเอง เช่นนั้น อายุพระพิมพ์จึงมีอายุ ๒๒๕ ปี (คำนวณที่ปีพ.ศ.๒๓๓๐-๒๕๕๕)

    เนื่องจากผู้เขียนเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รู้จริงยังไม่แตกฉานในพระพิมพ์ต่างๆฉนั้นการที่ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดต่างๆที่อยู่ในกระทู้"พระวังหน้า.."นี้ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ควรนำไปอ้างอิง (จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ความเข้าใจและความคิดเห็น ในความรู้พระวังหน้า วังหลวง ของผู้เขียนในอนาคต อาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับข้อความที่ปรากฎในกระทู้ "พระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก.." นี้ก็เป็นได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2012
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ santisayan [​IMG]
    เป็นความบังเอิญหรือไม่ ก็ลองพิจารณาดูครับ ยุคนี้คือยุคเผยแพร่ ผมขอแก้ไขข้อมูลของ post ที่ 50732 ที่ระบุว่า พระปิดตาวังหน้า หรือพิมพ์อธิษฐานฤทธิ์ คงต้องรอให้ลุงๆทั้ง ๓ มาช่วยกันชี้แนะอีกทีเกี่ยวกับลักษณะพระพิมพ์ครับ

    ที่ผมบอกว่าแก้ไขคือ ประเด็นเรื่องวังหน้า วัดชนะสงคราม มีความรู้สึกว่าแยกกันไม่ออก ลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ก่อนนะครับ..

    จากแยกบางลำพู เลี้ยวมายังป้อมพระสุเมรุไปตามถนนพระอาทิตย์ วกกลับย้อนขึ้นมาเลียบเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า กลับมายังย่านบางลำพูหน้าวัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร เป็นย่านเก่าแก่ยาวนานมาตั้งแต่ยุคก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์

    การนำเสนอภาพชุมชนแห่งนี้ให้ชัดเจนที่สุด ต้องกล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ ๑. วัดชนะสงคราม ๒. ชุมชนดั้งเดิมที่เป็นชาวมอญ และ ๓. เจ้าวังหน้า

    เรื่องราวในอดีตย้อนลงไปกว่า ๒๐๐ ปีของชุมชนแห่งนี้ สามารถเชื่อมโยงร้อยเรียงเพื่อนำมาอธิบายภาพที่ปรากฏเป็นชุมชนพระอาทิตย์ใน ปัจจุบันได้อย่างไม่ขาดตอน เพราะทุกอย่างล้วนมีที่มาที่ไปสืบทอดต่อเนื่องกัน

    ยุคต้นรัตนโกสินทร์ - - ที่ดินบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงถนนพระอาทิตย์ตั้งแต่ปากคลองบางลำพู ตรงข้างวัดสังเวชฯ จนถึงบริเวณท่าช้างวังหน้า (ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า) เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวมอญที่เข้ามาสวามิภักดิ์แหล่งใหญ่แห่งหนึ่ง หัวหน้าชุมชนรับราชการเป็น เจ้ามหาโยธา (ทอเรียะ) ต้นตระกูล คชเสนี โดยมีจุดศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่ วัดตองปุ อัน เป็นวัดเก่ามีมาก่อนตั้งกรุงฯ ต่อมาพระราชทานนามว่า วัดตองปุ และตั้งสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายรามัญมาดูแล เพื่อให้เหมือนกับวัดของชุมชนมอญอาสาครั้งกรุงเก่าฯ

    ละแวกดังกล่าวอยู่ใกล้เขตพระราชฐานของกรมพระราชวังบวรฯ หรือ วังหน้า ... ครั้งเมื่อ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ชนะศึกสงครามเก้าทัพ เสด็จมาทำพิธีสรงน้ำและเปลี่ยนเครื่องทรงตามพระราชพิธีโบราณที่วัดตองปุก่อน เสด็จเข้าพระบรมมหาราชวัง จึงทรงโปรดฯ ให้บูรณะพระอารามใหม่เมื่อปี ๒๓๓๐ จากนั้นรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดชนะสงคราม” อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยังคงเรียกชื่อ วัดตองปุเรื่อยมาจนถึงประมาณสมัยรัชกาลที่ ๕

    เจ้ามหาโยธา ทอเรียะ มีบุตรรับราชการสืบต่อ นามว่า พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย) มีธิดาถวายตัวเป็นพระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔ ชื่อว่า เจ้าจอมมารดากลิ่น ซึ่งให้ประสูติพระราชโอรส ทรงพระนามว่า “พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร” ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์”

    ตระกูล คชเสนี จึงถวายที่ดินบริเวณถนนพระอาทิตย์เพื่อเป็นวังที่ประทับของพระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ปัจจุบันคือ 'บ้านมะลิวัลย์' ที่ตั้งของสำนักงาน องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ไม่ไกลนักกับบ้านพระอาทิตย์

    ด้วยทำเลที่ตั้งและความเป็นมาเกี่ยวข้องกับชุมชนมอญ วัดชนะสงคราม จึงเกี่ยวข้องกับเจ้านายวังหน้า – ชุมชนมอญพระอาทิตย์มาตั้งแต่ต้น

    ในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (วังหน้า) ทรงนำไม้ที่รื้อพระพิมานดุสิตา ซึ่งเคยเป็นหอพระสร้างเสนาสนะถวาย จนมาถึงการบูรณะใหญ่อีกครั้งสมัยรัชกาลที่ ๖ พระศรีพัชรินทรา ฯ พระพันปีหลวง ทรงมอบหมายให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (หลานทวดของพระมหาโยธา ทอเรียะ ซึ่งมีวังอยู่ใกล้กับวัด ) บูรณะจนเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๗

    รัตนโกสินทร์ยุคกลางถึงยุคปัจจุบัน - - ละแวกถนนพระอาทิตย์และวัดชนะสงคราม เป็นเขตพระราชฐานของวังหน้า จึงเป็นธรรมเนียมที่ “เจ้านายวังหน้า” ได้พระราชทานที่ดินเพื่อสร้างวัง หรือ ตำหนักประทับ ต่อเนื่องกันมาในแต่ละรัชกาล

    โรงเรียนการข่าวทหารบกปัจจุบัน เคยเป็นวังของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าในรัชกาลที่ ๕ ลึกเข้าไปในตรอกโรงไหม เคยเป็นที่ตั้ง วังของพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ พระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

    บ้านเจ้าพระยา ที่ทำการของ เอเอสทีวี. เดิมเป็นวังของ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวรัตน์ กรมหมื่นสถิตยธำรงสวัสดิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้า) ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๖ พระราชทานที่ดินและอาคารแก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ พระบิดาของ ม.ร.ว.เสนีย์-คึกฤทธิ์ ปราโมช

    ส่วน บ้านพระอาทิตย์ นั้น เดิมเป็นบ้านของ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์(ม.ร.ว เย็น อิศรเสนา) เจ้านายผู้สืบเชื้อสายมาจากพระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศร์ พระโอรสใน สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์-วังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยได้สร้างขึ้นใหม่แทนวังเดิมที่ทรุดโทรมลงเมื่อพ.ศ.๒๔๗๕

    เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกับชุมชนมอญพระอาทิตย์-วัดชนะสงคราม อย่างแนบแน่น บิดาของท่านคือ ม.จ.เสาวรส อิศรเสนา สมรสกับ หม่อมมุหน่าย อิศรเสนา เชื้อสายมอญชุมชนพระอาทิตย์ เมื่อยังเด็ก เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ไปเรียนหนังสือกับหลวงตา (บิดาของหม่อมมุหน่าย) ซึ่งบวชจำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม

    เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เจ้าของบ้านพระอาทิตย์ จึงมีสายใยผูกพันกับชุมชนมอญ และ วัดชนะสงคราม อย่างแยกไม่ออก

    ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/politics/vi...=9500000129353

    และประวัติของวัดชนะสงคราม ให้ดูว่า มีความเกี่ยวพันกับวังหน้า ร.๑ กันยังไง

    วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่า วัดกลางนา

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 สงครามที่ท่าดินแดง และสามสบ เมื่อ พ.ศ. 2329 และสงครามที่นครลำปางป่าซาง เมื่อ พ.ศ. 2330

    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็น พระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง

    วัดชนะสงครามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลที่เฉลียงพระอุโบสถด้านหลังตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวงทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ดำเนินการ แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาดำเนินการก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ. 2470

    เรื่องสำคัญออีกเรื่องที่ผมกล่าวว่า แยกกันไม่ออกระหว่าวังหน้า และวัดชนะสงคราม และอีกประการคือ พระสงฆ์มอญ ลองตามอีกนิดครับ ใกล้จะขมวดปมแล้วครับ...

    พระปริตรามัญ
    โบราณประเพณีเก่าแก่ของไทยประการหนึ่ง ที่มีความสำคัญ และมีความหมายยิ่ง ต่อองค์พระมหากษัตริย์โดยตรง หากแต่ไม่ค่อยได้มีผู้ใดรู้จักเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นพิธีที่ปฏิบัติกัน เฉพาะในหอศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง และเป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเฉพาะส่วนพระองค์เท่านั้น พิธีนี้มีความหมายอย่างยิ่งต่อพระราชกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากเป็นพิธีที่สวดเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ทูล เกล้า ฯ ถวาย ส่วนหนึ่งสำหรับจัดเป็นน้ำสรงพระพักตร์ และน้ำโสรจสรง อีกส่วนหนึ่ง เพื่อประพรมพระที่นั่งองค์สำคัญ ในเขตพระราชฐานชั้นใน นอกจากนี้ พิธีดังกล่าว ยังมีลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งคือ จะนิมนต์เฉพาะพระสงฆ์มอญเข้า มาสวดบทสวดพระปริตรมอญเท่านั้น ความสำคัญของพิธีสวดพระปริตรรามัญ เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวังนั้น ปรากฏตามพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

    "ในพระราชนิเวศน์เวียงวัง ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ตามแบบแผนบุรพประเพณีสืบมา พระสงฆ์รามัญ ได้สวดพระปริตรตามแบบอย่างข้างรามัญ ถวายน้ำพระพุทธมนต์และน้ำสรงพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นน้ำสำหรับสรงพระพักตร์ ประพรมเป็นทักษิณาวัฏรอบ ขอบ ในจังหวัดพระราชมหามณเฑียรนี้ทุกวัน เป็นการพระราชพิธีมีสำหรับบรมราชตระกูลสืบมาแต่โบราณ พระสงฆ์อื่น ๆ แม้นมีฐานันดรยศปรากฏด้วยเกียรติคุณ คือ เรียนรู้พระคัมภีร์ที่เป็นพระราชาคณะเปรียญ หรือที่เป็นอาจารย์บอกภาวนาวิธี หรือพระสงฆ์ที่รู้ประกอบวิทยามนต์ดล เป็นที่นับถือของคนเป็นอันมากก็ดี ก็ไม่มีราชบัญญัติ ที่จะได้รับวาระผลัดเปลี่ยนมาสวดพระปริตรถวายน้ำพระพุทธมนต์เลย เหตุอันนี้ได้ทรงพระราชดำริว่า ชะรอยจะมีเหตุวิเศษอย่างหนึ่งแต่โบราณรัชกาล เป็นมหัศจรรย์อยู่อย่างไรแน่แท้ เพราะว่าปกติธรรมดาคนชาวภาษาใด ประเทศใด ก็ย่อมนับถือพระสงฆ์และแพทย์หมอต่าง ๆ ตามประเทศ ตามภาษาของตัว ในการสวดและการบุญต่าง ๆ แลการปริตรรักษาตนรักษาไข้ แต่การซึ่งมีนิยมเฉพาะให้พระสงฆ์รามัญพวกเดียว ประจำสวดปริตรอย่างรามัญ ในพระราชวังนี้ จะมีความยืนยันมา ในพระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุการต่อมาเป็นแน่นอนก็ไม่มี

    อนึ่ง เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินประทับแรมราตรี ณ ตำบลใดเป็นทางไกล คือเสด็จไปการสงคราม หรือแทรกโพนช้างใน แผ่นดินก่อน ๆ พระสงฆ์รามัญสวดพระปริตรนี้ ก็ต้องตามเสด็จพระราชดำเนินด้วยทุกครั้ง เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า เสด็จไปประทับอยู่กรุงลพบุรี 8 เดือน ในฤดูแล้งทุกปี ก็ได้อาราธนาพระสงฆ์รามัญวัดตองปุให้ ตามเสด็จขึ้นไปตั้งอารามชื่อวัดตองปุ อยู่สวดพระปริตรถวายพระพุทธมนต์ทุกวัน อารามนั้นก็มีปรากฏจนทุกวันนี้ แลน้ำพระพุทธมนต์พระปริตรนี้ ย่อมเป็นที่เห็นว่ามีอำนาจป้องกันอุปัทวันตรายต่าง ๆ ได้จริง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ดำรงสิริ รัตนราไชยสวริยาธิปัตย์ เถลิงถวัลยราช ณ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยานี้ ก็ได้ทรงถือน้ำพระพุทธมนต์ประปริตรที่พระสงฆ์รามัญสวดถวายนั้น เป็นน้ำสรงพระพักตร์และน้ำสรงมาทุกพระองค์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นิพนธ์อธิบายเพิ่มเติม ถึงราชประเพณีดังกล่าวในหนังสือ "ตำนานพระปริต" โดยแสดงให้เห็นว่า แม้ปกติจะมีการแต่งตั้งตำแหน่งพระครูปริตไทย 4 รูป และพระครูปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ในงานพระราชพิธีโดยทั่วไปแล้วนั้น แต่สำหรับพิธีสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ที่หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวังนั้นมีเฉพาะพระครูปริตมอญเท่านั้นเข้ามาสวดทุกวัน ดังความว่า

    "แต่การสวดพระปริตทำน้ำพระพุทธมนตร์ ถือเป็นการสำคัญในราชประเพณีอย่างหนึ่ง มีตำแหน่งพระครูพระปริตไทย 4 รูป พระครูพระปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ ในบรรดางานพระราชพิธีซึ่งมีสรงมุรธาภิเษก พระราชาคณะไทยรูป 1 มอญรูป 1 กับพระครูพระปริต 8 รูปนั้นสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์สำหรับสรงมุรธาภิเษกทุกงาน และโดยปกติพระครูพระปริตมอญต้องเข้ามาสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ที่หอศาสตราคม ทุกวัน น้ำมนตร์พระปริตนั้น ส่วนหนึ่งแบ่งส่งไปสำหรับเป็นน้ำสรงพระพักตร์และโสรจสรง อีกส่วนหนึ่งในบาตร 2 ใบให้สังฆการีถือตามพระครูพระปริต 2 รูป เข้าไปเดินประพรมด้วยกำหญ้าคาที่ในพระราชวังเวลาบ่าย 14 นาฬิกา ทุกวันเป็นนิตย์มาแต่โบราณ
    เมื่อมีการสวดพระปริตรเป็นพิธีหลวง จึงได้ทรงแต่งตั้งพระครูพระปริตรประจำพระราชวัง สำหรับการสวดพระปริตร และสวดพระพุทธมนต์สำหรับทำน้ำมนต์ และสำหรับเสกทรายโดยเฉพาะ โดยมีพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ 4 รูป ซึ่งแต่เดิมจำพรรษาอยู่ตามวัดต่าง ๆ ที่สังกัดอยู่ในคณะรามัญนิกาย เช่น วัดบวรมงคล วัดราชคฤห์ วัดชนะสงคราม เป็นต้น ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนแปลง เป็นพระสงฆ์มอญจากวัดชนะสงครามเพียงอารามเดียว ทั้งนี้สาเหตุอาจเนื่องมาจากการจัดเวรหมุนเวียนพระแต่ละแห่งเกิดความไม่ สะดวก หรือเป็นเพราะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีพระที่สวดพระปริตรรามัญหลบภัยสงครามไปอยู่ตามวัดในต่างจังหวัด จะเหลืออยู่ก็แต่ที่วัดชนะสงคราม จึงได้สวดวัดเดียวนับแต่นั้นมา
    ตำแหน่งพระครูปริตรรามัญทั้ง 4 รูป ได้แก่

    1. พระครูราชสังวร
    2. พระครูสุนทรวิลา
    3. พระครูราชปริต
    4. พระครูสิทธิเตชะ
    ตำแหน่ง พระครูปริตรามัญทั้งหมดนี้ ปัจจุบันประจำอยู่ที่วัดชนะสงคราม รับหน้าที่เข้าไปสวดพระปริตรทำน้ำพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวังที่หอศาสตราคมเรื่อยมา จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2489 ปรากฏว่า พระสงฆ์ที่สามารถสวดพระปริตรามัญได้นั้น มีน้อยรูปลง ไม่พอจะผลัดเปลี่ยนกัน พระครูราชสังวร (พิศ อายุวฑฺฒโก) ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในครั้งนั้น จึงได้มีหนังสือถึงกรมการศาสนา ขอลดวันสวดลงมา เหลือสวดเฉพาะวันธรรมสวนะเท่า นั้น พิธีเริ่มแต่เวลา 13 นาฬิกา พระสงฆ์ 4 รูปพร้อมด้วยพระครูปริตรผู้เป็นประธาน 1 รูป สวดพระปริตรอย่างภาษารามัญที่หอศาสตราคม เมื่อเสร็จราว 14 นาฬิกา มีเจ้าหน้าที่ถือบาตรน้ำมนต์นำพระ 2 รูป ไปประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบหมู่พระมหามณเฑียรเป็นเสร็จพิธี ในการสวดพระปริตรามัญที่หอศาสตราคม ในชั้นเดิม มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันระหว่างพระครูปริตทั้ง 4 รูป ในการไปสวดแต่ละวันโดยแบ่งกันรับผิดชอบตามวัน-เวลา ดังนี้

    1. พระครูราชสังวร รับผิดชอบวันธรรมสวนะขึ้น 8 ค่ำ
    2. พระครูสุนทรวิลาส รับผิดชอบรวันธรรมสวนะขึ้น 15 ค่ำ
    3. พระครูราชปริต รับผิดชอบวันธรรมสวนะแรม 8 ค่ำ
    4. พระครูสิทธิเตชะ รับผิดชอบวันธรรมสวนะแรม 15 ค่ำ

    โดยที่พระครูปริตทั้ง 4 รูป จะทำหน้าที่เป็นประธานในการสวดแต่ละครั้ง ซึ่งจะมีพระมอญอีก 4 รูปมาสวดร่วมด้วย รวมเป็นสวด 5 รูปในแต่ละวัน


    ปัจจุบัน พระสงฆ์มอญมีจำนวนลดน้อยลงโดยลำดับ เช่นเดียวกับพระสงฆ์ไทย สืบเนื่องจากสาเหตุหลายประการ แม้แต่ในวัดชนะสงคราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่พระสงฆ์มอญ มีบทบาทโดยตรงกับราชประเพณีสำคัญดังกล่าว ก็กำลังประสบสภาพการณ์เช่นเดียวกัน

    ลำดับเจ้าอาวาส
    1. พระมหาสุเมธาจารย์ พ.ศ. 2325-2363
    2. พระสุเมธาจารย์ 2363-2383
    3. ม่อมเจ้าพระสีลวราลังการ (ม.จ.สอน) พ.ศ. 2383-2410
    4. พระสุเมธาจารย์ (ศรี ป.ธ.5) พ.ศ. 2410-2455
    5. พระประสิทธิศีลคุณ (พุธ) พ.ศ. 2455-2456
    6. พระครูภาวนาพิจารณ์ (ลืม) รักษาการ พ.ศ. 2457-2459
    7. พระพิศาลสมณกิจ (ริด ป.ธ.๖) พ.ศ. 2459 (๑ เดือน ภายหลังโดนถอด)
    8. พระสุเมธมุนี (ลับ สงฺกิจโจ ป.ธ.3) พ.ศ. 2460-2485
    9. พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทัสโส ป.ธ.8) พ.ศ. 2492-2508
    10.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.9) พ.ศ. 2509-11 มีนาคม พ.ศ. 2554(ถึงแก่มรณภาพ)

    ขอบคุณข้อมูลจาก วิกีพีเดีย

    อยากให้ลองไปค้นบทความ หรือพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุ มาอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสงคราม ๙ ทัพ สงครามครั้งสำคัญ ที่สร้างไทยให้เป็นไทยอยู่ทุกวันนี้ และคงยังไม่สายเกินไปที่จะนำกล่าวถึงในโอกาสนี้ และจะเป็นที่มาของการสร้างพระพิมพ์ของวัดชนะสงคราม ภาพพระพิมพ์ที่แสดงไว้ใน post ที่ 50732 เป็น ๑ จำนวนนั้นเท่านั้น วันนี้ผมนำพิมพ์ที่ ๒ มาให้ชมกัน การได้อ่านเรื่องราวของสงคราม ๙ ทัพนี้ จะรู้สึกถึงความสำคัญ และหวงแหนพระพิมพ์นี้ เนื่องจากพระพิมพ์นี้เรียกว่า "พระพิมพ์เล็บช้าง" ได้จัดสร้างขึ้นในโอกาสฉลองชัยสงคราม ๙ ทัพ การจัดสร้างอยู่ในช่วงปีพ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๖๓ โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระมหาอุปราชวังหน้า รัชกาลที่ ๑ นั่นเอง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่พระมหาสุเมธาจารย์ เป็นเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม


    ความเห็นตัวผมเอง คิดว่า น่าจะเป็นปีพ.ศ.๒๓๓๐ เมื่อคราวเสร็จศึกที่นครลำปางป่าซางนั่นเอง เช่นนั้น อายุพระพิมพ์จึงมีอายุ ๒๒๕ ปี (คำนวณที่ปีพ.ศ.๒๓๓๐-๒๕๕๕)

    เนื่องจากผู้เขียนเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รู้จริงยังไม่แตกฉานในพระพิมพ์ต่างๆฉนั้นการที่ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดต่างๆที่อยู่ในกระทู้"พระวังหน้า.."นี้ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ควรนำไปอ้างอิง (จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ความเข้าใจและความคิดเห็น ในความรู้พระวังหน้า วังหลวง ของผู้เขียนในอนาคต อาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับข้อความที่ปรากฎในกระทู้ "พระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก.." นี้ก็เป็นได้
    </td> </tr> </tbody></table>

    โดยส่วนตัวผม ผมเองมีจุดยืนในเรื่องของ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) อธิษฐานจิตที่วังหน้า

    สำหรับพระวังหน้า หรือ วัตถุมงคลต่างๆที่สร้างขึ้น 3 สมัย (สมัยของวังหน้า)

    1.สมเด็จพระราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

    2.สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

    3.สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ

    หลวง ปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) ท่านไม่ได้มาอธิษฐานจิตให้ในพระราชพิธีหลวงต่างๆ เนื่องจากหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับวังหน้าทั้ง 3 พระองค์

    หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) มีความเกี่ยวเนื่องกับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเท่านั้น

    ส่วน เรื่องของการตรวจสอบพลังอิทธิคุณ ผมเองเคยอธิบายไว้ในกระทู้พระวังหน้าฯนี้ บ่อยครั้งมากแล้ว สำหรับท่านผู้อ่าน ลองเข้าไปอ่านดูเอง

    เรื่อง ของโพสความเห็นต่างๆของบุคคลต่างๆในกระทู้พระวังหน้าฯ เป็นสิทธิของแต่ละท่านที่จะโพสแสดงความคิดเห็น และเป็นผู้ที่รับผิดชอบในโพสของตนเอง


    โมทนา
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2012
  16. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งพิมพ์ที่น่าศึกษาไม่ได้ได้ขายเป็นโหลนะครับท่าน.... เนื่องจากผู้เขียนเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รู้จริงยังไม่แตกฉานในพระพิมพ์ต่างๆฉนั้นการที่ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดต่างๆที่อยู่ในกระทู้"พระวังหน้า.."นี้ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ควรนำไปอ้างอิง (จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ความเข้าใจและความคิดเห็น ในความรู้พระวังหน้า วังหลวง ของผู้เขียนในอนาคต อาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับข้อความที่ปรากฎในกระทู้ "พระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก.." นี้ก็เป็นได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 เมษายน 2012
  17. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เปลี่ยนบรรยากาศ ต้นไม้พิเศษ สถานที่พิเศษ ที่ผมเคยแจ้งหลายครั้ง สวยงาม ร่มเย็น สดชื่นมากๆเลยครับ หุ หุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0083.JPG
      IMG_0083.JPG
      ขนาดไฟล์:
      279.5 KB
      เปิดดู:
      74
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ๑) ผ่านมา 2537 หน้าs ผมก็ยังไม่เห็นว่าจะมีความเห็นใดที่ไปแย้งกับความเชื่อใน"เรื่องนี้"เลยครับ หากเห็นว่าเป็น post ใดแย้งกับความเชื่อ"เรื่องนี้" ลุงหนุ่มน้อยช่วยไปหามาอ้างอิง และยืนยันชัดๆหน่อยนะครับ

    ๒) การที่ผมแนะนำให้ลุงหนุ่มน้อย"เผื่อใจ"ไว้บ้าง ซัก ๐.๐๐๐๑% เพื่อทางรอด เพื่อไม่นำตนเองไปเสี่ยงภัยจนเกินไป เพื่อชีวิตที่มีความสุขขึ้น เหมือนซื้อประกันชีวิตให้ตนเอง เหตุการณ์นอกเหนือความคาดหมายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เป็นอย่างที่ลุงกูรูน้องนู๋กล่าวไว้ว่า ชีวิตคือความไม่แน่นอน สังขารไม่เที่ยง ไม่มีอะไรร้อย% เต็ม ความเชื่อที่ร้อย% เต็ม กับความเชื่อที่ ๙๙.๙๙๙๙% ไม่ต่างกันหรอกครับ เช่นผลการสอบเวชกรรมที่จะประกาศผลอีกไม่นานจากนี้ไป เขาวัดผลที่ ๖๐ % ก็ผ่านได้รับใบประกอบโรคศิลปะเวชกรรม ผู้ได้ ๖๐% กับผู้ที่ได้ ๑๐๐ % ต่างมีศักดิ์แห่งวิชาชีพเท่าเทียมกัน สอบได้ทั้งคู่ ได้ใบประกอบโรคศิลปะมาติดข้างฝาเหมือนกัน เพียงแต่ผมขอ ๔๐% เป็นสมดุลชีวิตด้านอื่นบ้าง เช่นได้ดูหนังดีๆซักเรื่อง ได้ทานอาหารค่ำพร้อมหน้าพร้อมตากันซักมื้อ ได้ไปท่องเที่ยงดูทอผ้าซักรอบกับเพื่อนผู้รู้ใจ ได้เดินตลาดดูพระปูนสอซักอาทิตย์ ได้ไปทานขาหมูเจริญแสงกับลุงกูรู ลุงไฟดูด ลุงหนุ่มน้อยซักมื้อ ฯลฯ

    จริตลุงหนุ่มจะเอาร้อย% แบบนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกอะไรที่จะพบเรื่องราวที่ไม่สบอารมณ์บ่อยๆ สำหรับผมขอ ๙๙.๙๙๙๙% อีก ๐.๐๐๐๑% ซื้อหลักประกันชีวิตสำหรับความไม่รู้ หากมีอะไรเกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหมาย ก็ยังอยู่ในส่วน ๐.๐๐๐๑% ครับ ยังไงก็ปลอดภัยตลอดกาลครับ หุ...หุ..ตามสบายครับ สำหรับความเชื่อที่เต็มร้อย% ของลุง

    ระหว่างลายแทงพระวังหน้าชิ้นนี้เป็นการจัดสร้างด้วยทองคำ ๙๙% ขึ้นไป กับ ลายแทงพระวังหน้าที่จัดสร้างด้วยทองคำ ๑๐๐%

    หากระหว่างที่กำลังเททองอยู่นั้น มีอนุภาคของฝุ่นผงตกลงไปบ้าง ความบริสุทธิ์ไม่ใช่ ๑๐๐% แล้วครับ อาจจะเป็น ๙๙.๙๙๙๙%

    ลุงคิดว่าความเห็นอันไหนที่ดูแล้วเสี่ยงภัยกับตนเองในฐานะผู้เผยแพร่ความรู้กว่ากัน ลุงช่วยตอบชัดๆหน่อยครับ...

    นี่คือความหมายที่ post ข้างต้นไว้ว่า
    ลุง"ไม่เผื่อใจ"ยังไงละครับ เพิ่งจะรู้ว่า ลุงเป็นแมว ๙ ชีวิต น่าจะมากมายพอที่จะเอาไว้ใช้เสี่ยงได้ตลอด...

    เห็นต่างจากลุงเพียง๐.๐๐๐๑% ลุงคงไม่พาผมไปสาบานที่วัดพระแก้ววังหน้าหรอกนะ...หุ...หุ..ว่าแต่ผมเห็นต่างจากลุงตรงไหนหรือ ผมยังงงๆ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    ๑) ผ่านมา 2537 หน้าs ผมก็ยังไม่เห็นว่าจะมีความเห็นใดที่ไปแย้งกับความเชื่อใน"เรื่องนี้"เลยครับ หากเห็นว่าเป็น post ใดแย้งกับความเชื่อ"เรื่องนี้" ลุงหนุ่มน้อยช่วยไปหามาอ้างอิง และยืนยันชัดๆหน่อยนะครับ

    ๒) การที่ผมแนะนำให้ลุงหนุ่มน้อย"เผื่อใจ"ไว้บ้าง ซัก ๐.๐๐๐๑% เพื่อทางรอด เพื่อไม่นำตนเองไปเสี่ยงภัยจนเกินไป เพื่อชีวิตที่มีความสุขขึ้น เหมือนซื้อประกันชีวิตให้ตนเอง เหตุการณ์นอกเหนือความคาดหมายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เป็นอย่างที่ลุงกูรูน้องนู๋กล่าวไว้ว่า ชีวิตคือความไม่แน่นอน สังขารไม่เที่ยง ไม่มีอะไรร้อย% เต็ม ความเชื่อที่ร้อย% เต็ม กับความเชื่อที่ ๙๙.๙๙๙๙% ไม่ต่างกันหรอกครับ เช่นผลการสอบเวชกรรมที่จะประกาศผลอีกไม่นานจากนี้ไป เขาวัดผลที่ ๖๐ % ก็ผ่านได้รับใบประกอบโรคศิลปะเวชกรรม ผู้ได้ ๖๐% กับผู้ที่ได้ ๑๐๐ % ต่างมีศักดิ์แห่งวิชาชีพเท่าเทียมกัน สอบได้ทั้งคู่ ได้ใบประกอบโรคศิลปะมาติดข้างฝาเหมือนกัน เพียงแต่ผมขอ ๔๐% เป็นสมดุลชีวิตด้านอื่นบ้าง เช่นได้ดูหนังดีๆซักเรื่อง ได้ทานอาหารค่ำพร้อมหน้าพร้อมตากันซักมื้อ ได้ไปท่องเที่ยงดูทอผ้าซักรอบกับเพื่อนผู้รู้ใจ ได้เดินตลาดดูพระปูนสอซักอาทิตย์ ได้ไปทานขาหมูเจริญแสงกับลุงกูรู ลุงไฟดูด ลุงหนุ่มน้อยซักมื้อ ฯลฯ

    จริตลุงหนุ่มจะเอาร้อย% แบบนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกอะไรที่จะพบเรื่องราวที่ไม่สบอารมณ์บ่อยๆ สำหรับผมขอ ๙๙.๙๙๙๙% อีก ๐.๐๐๐๑% ซื้อหลักประกันชีวิตสำหรับความไม่รู้ หากมีอะไรเกิดขึ้นนอกเหนือความคาดหมาย ก็ยังอยู่ในส่วน ๐.๐๐๐๑% ครับ ยังไงก็ปลอดภัยตลอดกาลครับ หุ...หุ..ตามสบายครับ สำหรับความเชื่อที่เต็มร้อย% ของลุง

    ระหว่างลายแทงพระวังหน้าชิ้นนี้เป็นการจัดสร้างด้วยทองคำ ๙๙% ขึ้นไป กับ ลายแทงพระวังหน้าที่จัดสร้างด้วยทองคำ ๑๐๐%

    หากระหว่างที่กำลังเททองอยู่นั้น มีอนุภาคของฝุ่นผงตกลงไปบ้าง ความบริสุทธิ์ไม่ใช่ ๑๐๐% แล้วครับ อาจจะเป็น ๙๙.๙๙๙๙%

    ลุงคิดว่าความเห็นอันไหนที่ดูแล้วเสี่ยงภัยกับตนเองในฐานะผู้เผยแพร่ความรู้กว่ากัน ลุงช่วยตอบชัดๆหน่อยครับ...

    ๓) พระพิมพ์ซุ้มไข่ปลาวังหน้า อยุธยา ไม่เกี่ยวพันกับพระโลกอุดรหรือยังไง
    หากลุงตอบว่า เกี่ยวข้อง แบบนี้แสดงว่า post ความเห็นของลุงนี้บันทึกไว้ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง บอกไม่หมด แล้วลุงก็บอกว่า นี่ไงร้อย% ที่ลุงเชื่อ ลุงไม่คิดว่า ยังมีสิ่งที่ลุงยังไม่รู้อีกหรือครับ?? ลุงจะเอาร้อย% ลุงไม่เลือก ๙๙.๙๙๙๙%

    นี่คือความหมายที่ post ข้างต้นไว้ว่า
    ลุง"ไม่เผื่อใจ"ยังไงละครับ เพิ่งจะรู้ว่า ลุงเป็นแมว ๙ ชีวิต น่าจะมากมายพอที่จะเอาไว้ใช้เสี่ยงได้ตลอด...

    เห็นต่างจากลุงเพียง๐.๐๐๐๑% ลุงคงไม่พาผมไปสาบานที่วัดพระแก้ววังหน้าหรอกนะ...หุ...หุ..ว่าแต่ผมเห็นต่างจากลุงตรงไหนหรือ ผมยังงงๆ
    </td></tr></tbody></table>



    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    โดยส่วนตัวผม ผมเองมีจุดยืนในเรื่องของ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) อธิษฐานจิตที่วังหน้า

    สำหรับพระวังหน้า หรือ วัตถุมงคลต่างๆที่สร้างขึ้น 3 สมัย (สมัยของวังหน้า)

    1.สมเด็จพระราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล


    2.สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล


    3.สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ


    หลวง ปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) ท่านไม่ได้มาอธิษฐานจิตให้ในพระราชพิธีหลวงต่างๆ เนื่องจากหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับวังหน้าทั้ง 3 พระองค์

    หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) มีความเกี่ยวเนื่องกับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเท่านั้น

    ส่วน เรื่องของการตรวจสอบพลังอิทธิคุณ ผมเองเคยอธิบายไว้ในกระทู้พระวังหน้าฯนี้ บ่อยครั้งมากแล้ว สำหรับท่านผู้อ่าน ลองเข้าไปอ่านดูเอง

    เรื่อง ของโพสความเห็นต่างๆของบุคคลต่างๆในกระทู้พระวังหน้าฯ เป็นสิทธิของแต่ละท่านที่จะโพสแสดงความคิดเห็น และเป็นผู้ที่รับผิดชอบในโพสของตนเอง
    โมทนา
    </td> </tr> </tbody></table>


    ผมอธิบายเพียงวังหน้ายุครัตนโกสินทร์เท่านั้นครับ

    ส่วนในยุคก่อนหน้ายุครัตนโกสินทร์ ผมเองก็ทราบแค่บางช่วงเท่านั้นครับ

    คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) ท่านเดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ.235

    ส่วนที่จะรู้ว่า ท่านอธิษฐานจิตพระพิมพ์ต่างๆทั้งหมด คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน เพราะว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.235 จนถึงปี พ.ศ.2555 ไม่รู้ว่า ท่านอธิษฐานจิตไว้กี่รุ่น กี่ครั้ง เพราะส่วนใหญ่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า มีพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวงที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร หรือพิธีพุทธาภิเษกที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

    ถ้าจะตรวจสอบกันจริงๆ อย่างที่ผมโดนข้อหามานั่นแหละครับว่า มีหลักฐานไหมว่า มีการสร้างเมื่อไหร่ สร้างพิมพ์อะไร ใช้อะไรเป็นมวลสาร ใครเป็นผู้สร้าง ใครเป็นผู้ให้สร้าง มีพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวงที่ไหน อย่างไร และหลักฐานต้องเป็นจดหมายเหตุ หรือ พงศาวดาร หรือ หนังสือที่ออกโดยราชการเท่านั้น

    .
    ผมนำมาลงให้อ่านกันใหม่อีกครั้ง จากที่ผมลงไว้หลายรอบครับ

    เรื่อง ของพลังอิทธิคุณกับ กรอบพลาสติกนั้น พลาสติกไม่กี่มิลลิเมตรจะปิดกั้นอำนาจของผู้ปลุกเสกได้ ผมจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบนะครับ เช่นก้อนแร่รังสีปรมนู ถ้านำไปเก็บไว้ในที่เก็บ รังสีจะออกมาได้หรือไม่ และทำอันตรายกับผู้คนที่อยู่บริเวณนั้นได้หรือไม่หรือเพียงแต่นำเอาตะกั่ว แผ่นบางๆ หุ้มก้อนแร่รังสีปรมณูไว้ รังสีสามารถออกมาทำอันตรายกับสิ่งมีชีวิตรอบข้างได้หรือไม่ แต่ถ้านำออกมาวางไว้กลางแจ้ง ผู้คนที่อยู่รอบข้างจะได้รับรังสีหรือไม่ เฉกเช่นเดียวกับพลังจิตของผู้ที่ปลุกเสกพระครับ หรือเปรียบเทียบกับสายไฟฟ้าภายในบ้าน ถ้าเราเปิดไฟ กระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งมาตามสายไฟ ซึ่งมีฉนวนหุ้มอยู่ เราสามารถจับสายไฟเส้นนั้นได้ แต่ถ้าเราลอกฉนวนออก เราก็ไม่สามารถจับสายไฟเส้นนั้นได้ ใช่ไหมครับ เรื่องของพลังจิตนั้น เป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถสัมผัสได้หากบุคคลผู้นั้น ได้ปฎิบัติธรรมมาจนถึงในระดับหนึ่งนะครับ


    เรื่อง ของพลังอิทธิคุณ ต้องเดินทางในอากาศธาตุนะครับ เหมือนกับกระแสไฟฟ้าซึ่งต้องเดินบนตัวนำไฟฟ้า แต่จะไม่เกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ศักดิ์สิทธิ์ครับ พระพิมพ์หรือวัตถุมงคล ที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกมานั้น ย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น แต่ว่าจะมากน้อยนั้น อยู่ที่ผู้เสกเป็นสำคัญครับ



    พระ พิมพ์ที่ผมห้อยอยู่นั้น ผมเลี่ยมแล้วผมนำเข็มเย็บผ้าไปลนไฟให้ร้อนแล้วเจาะรูบริเวณด้านล่างหรือตรง กลางของกรอบพระ (จะกี่รูก็ได้)ครับ ท่านอาจารย์ประถมท่านเองเลี่ยมพระแบบเปิด คือหมายความว่า เป็นการเลี่ยมจับขอบเท่านั้น ไม่มีพลาสติกหุ้มอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเลยครับ


    ผม เองเคยมีประสบการณ์ กรอบพระสแตนเลสระเบิดออกมา พระที่กรอบสแตนเลสระเบิดเป็นหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรีครับ ถ้าเป็นทางวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถอธิบายได้ว่า ระเบิดออกมาได้อย่างไร ก่อนวันสงกรานต์ ผมได้ไปทำความสะอาดพระ ที่กุฏิที่ผมเคยไปบวช วันนั้นผมห้อยพระไป 5 องค์ โดยองค์กลางเป็นพระธาตุพระสิวลี องค์อยู่ข้างบนต่อมาด้านซ้ายเป็นหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ องค์ด้านขวา เป็นหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ผมทำความสะอาดพระซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ผมไปเห็นโกฏิที่ใส่กระดูกคนตาย ที่อยู่หลังพระพุทธรูปองค์ใหญ่ พี่เขยผมไม่เข้าไปยุ่ง ไม่ได้นำออกมาทำความสะอาด แต่ผมนำออกมาวางบนตู้พระไตรปิฎก ซึ่งผมลืมคิดไปว่าไม่สมควร ผมนำผ้าชุบน้ำแล้วทำความสะอาด พอทำความสะอาดเสร็จแล้ว ผมกำลังนำผ้าไปซัก เดินพ้นจากตู้พระไตรปิฎกมา 2 ก้าว ปรากฏว่าเหรียญหลวงปู่ม่นซึ่งผมเลี่ยมใส่กรอบพลาสติกและผมได้เจาะรูไว้ 3 รูนั้น ได้เกิดระเบิดขึ้น ผมเองก็ตกใจว่าเกิดอะไรขึ้น ผมกลับไปมองที่โกฏินั้น ผมเห็นว่าไม่สมควรที่จะนำไปวางไว้บนตู้พระไตรปิฎก ผมจึงรีบนำโกฏิไปไว้ที่เดิม ต่อมาผมได้สอบถามเพื่อนผม เพื่อนบอกว่าหลวงปู่ม่นท่านดังในเรื่องของการไล่ผีมาก (ในตอนแรกๆ ผมไม่ค่อยศรัทธาหลวงปู่ม่นเท่าไร ท่านคงมาช่วยผมไว้และแสดงให้เห็นว่าหลวงปู่ม่น ท่านก็ไม่ธรรมดา) การที่กรอบแสตนเลสระเบิดนั้น มันเกิดจากสาเหตุอะไร ลองคิดดูกันเองนะครับ


    เรื่องของการจับพลังพระพิมพ์นั้น มีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่หลายประการ อาทิเช่น
    1.พระ พิมพ์บางองค์ เวลาที่กดพระพิมพ์นั้น อาจกดไปโดนฤกษ์ดอกลูกพิษ ถ้าพระพิมพ์องค์ไหน กดโดนฤกษ์ดอกลูกพิษ ไม่ว่าพระองค์ไหน ก็เสกไม่เข้าทั้งสิ้น ฤกษ์ดอกลูกพิษนั้น มีทุกวัน แต่ว่ามีเป็นช่วงๆ บางครั้งในหนึ่งวัน มีช่วงเดียว บางครั้งในหนึ่งวัน อาจมีหลายช่วงก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น
    2.ใน การจับพลังองค์พระพิมพ์นั้น บางวัน พระผู้เสกท่านอาจปิดกระแสขององค์พระพิมพ์ก็เป็นได้ การปิดกระแสนั้น พระผู้เสกย่อมทำได้เนื่องจากว่า ระดับของญาณหรืออภิญญาสูงกว่าผู้จับพลังองค์พระพิมพ์ มีเพื่อนผมคนหนึ่ง สามารถจับพลังขององค์พระพิมพ์ได้ มีอยู่วันหนึ่ง เพื่อนผมผู้นี้ได้นำพระพิมพ์องค์หนึ่ง ไปให้อาจารย์ของเขาตรวจพลังให้ แต่ปรากฏว่า อาจารย์ของเขาได้บอกว่า พระพิมพ์องค์นี้ ไม่มีพลัง ไม่มีอะไรเลย แต่เพื่อนผมได้นำพระพิมพ์องค์เดิมไปให้เพื่อนของเขาจับ ปรากฎว่าเพื่อนของเขาจับพลังได้ และยังบอกอีกว่า พลังขององค์พระพิมพ์นั้น แรงมากด้วย ในเรื่องนี้ ความคิดเห็นส่วนตัวผม ผมเห็นว่า พระผู้เสกท่านอาจปิดกระแสไม่ให้อาจารย์ของเพื่อนตรวจพลัง นะครับ
    3.ในบางวัน พระผู้เสก ท่านอาจปิดกระแสขององค์พระพิมพ์ ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน
    4.และในบางวัน ผู้ที่ตรวจพลังของพระพิมพ์ เป็นวันที่เบื้องบนไม่ให้ตรวจพลังขององค์พระพิมพ์ ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน
    5.พิมพ์ ทุกองค์นั้น เวลาที่ผ่านการปลุกเสกแล้ว จะมีเทวดารักษาองค์พระพิมพ์ทุกองค์ บางครั้งเทวดาที่รักษาองค์พระพิมพ์อาจจะปิดกระแสก็เป็นไปได้อีกเช่นกัน
    6.ในบางครั้งพระปลอมก็มีพลังเช่นเดียวกัน ถ้าผู้ทำพระปลอมได้นำพระไปเข้าพิธีพุทธาภิเษก
    7.หรือบางครั้งผู้ทำพระปลอมได้นำเศษพระแท้ผสมลงไป ก็สามารถมีพลังได้เหมือนกัน เพียงแต่พลังอาจจะน้อยกว่าพระแท้ครับ
    8.การ นำพระแท้ไปไว้ในที่ไม่สมควร เทวดาที่รักษาองค์พระพิมพ์ ท่านอาจจะไม่อยู่ครับ และทำให้พลังขององค์พระพิมพ์นั้นเสื่อมได้ครับ ตามหลัก มีเกิดได้ก็มีดับได้นะครับ
    9.พระ พิมพ์ที่ปลุกเสกโดยพระคณาจารย์บางองค์นั้น จะเป็นสื่อให้กับพระคณาจารย์หรือเทพเบื้องบน เวลาที่มีเหตุให้ช่วย พระคณาจารย์หรือเทพเบื้องบนบางองค์จะทราบและจะลงมาช่วยเหลือ โดยพระพิมพ์เป็นเพียงสื่อให้พระคณาจารย์หรือเทพเบื้องบนเท่านั้นครับ

    การ ตรวจสอบพลังอิทธิคุณขององค์พระพิมพ์นั้น ผมแนะนำให้ไปหาผู้ทรงฌานหรือผู้ทรงญาณ หลายๆท่าน(ควรไม่ต่ำว่า 5 ท่าน) นะครับ และผลที่ตรวจได้นั้น ต้องตรงกัน

    เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง แล้วแต่ท่านผู้อ่านใช้ว่ามีคิดเห็นกันอย่างไรครับ


    โมทนา
    .
     
  20. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    นี่นะที่เค้าเรียกว่า""ทีม"" ทีมประกอบไปด้วยอะไรบ้างคงไม่ต้องพูดถึงนะทุกคนรู้อยู่แล้ว การที่มีทีมที่ดี อยู่ในบ้านหลังนี้ก็เป็นความภูมิใจของทุกคน แต่ละคนมีหน้าที่การงาน มีฐานะที่มั่นคง มีความแตกต่างทางความคิด มีความแตกต่างทางการศึกษา มีความแตกต่างทางความเชื่อ มีความแตกต่างทางปัญญา และนี่ก็ไม่ใช่ความแตกแยก เหตุ ผลที่มีก็ไม่แตกต่างกัน เหมือนเรามองเห็นเหรียญด้านหนึ่งแล้วเราบอกว่าอีกด้านนั้นไม่มี แต่จุดมุ่งหมายที่เดียวกัน คืออะไรทุกคนรู้อยู่แก่ใจดี ว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร เพื่อใคร และได้อะไรไหม?เป็นสิ่งตอบแทน ทุกคนมีคำตอบอยู่แล้วในใจ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อมูล ของแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อผู้คนที่ยังไม่ได้รับทราบ ให้ทราบ อีกทั้งได้เผยแผ่ในสิ่งที่เราตั้งใจกันไว้ว่าจะทำ เพื่อให้รุ่นหลังได้รับรู้ เข้าใจ ในสิ่งที่ใกล้ความจริงที่สุด ฉนั้นอย่าลืมแนวทางนี้ที่เราตั้งใจทำ
     

แชร์หน้านี้

Loading...