คชสีห์๙บารมี๙บารมี๙แผ่นดินหลวงปู่หมุนเสก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 30 สิงหาคม 2010.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงปู่บาง วัดสโมสร นนทบุรี พระเกจิอาจารย์เชื้อสายมอญที่มีศฺษย์ยานุศฺษย์ทั้งสองฝั่ง

    ไทย มอญ ทั้งในและต่างแดน วัตถุมงคลท่านมีประสบการณ์มากและเป็นที่บูชาของคนไทย

    เชื้อสายมอญ หาไม่ยากครับแต่ก็ไม่ง่าย

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    [​IMG]



    • หลวงพ่อจวน สุจิตโต หรือ พระครูสุจิตตานุรักษ์ แห่งวัดหนองสุ่ม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก หลวงพ่อจวนเป็นพระเถราจารย์ที่มีจริยาวัตรที่น่าเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง มีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี มีเมตตา และสมถะ สมเป็นผู้ทรงศีล ใครได้พบเห็นจะเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริง วัดหนองสุ่ม ในอดีตอยู่ในท้องที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี แต่ก่อนเป็นชุมชนล้าหลัง ชุกชุมด้วยโจรผู้ร้าย ชาวบ้านหาที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ได้ จากสภาพท้องที่กันดาร การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีถนน ไม่มีการติดต่อที่สะดวกสบาย ชาวบ้านต้องช่วยเหลือปกป้องตัวเองตามมีตามเกิด ณ ที่แห่งนี้เอง หลวงพ่อจวน ได้ถือกำเนิด เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2458 ที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ด้วยฐานะยากจน พ่อแม่สิ้นชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ ได้เรียนหนังสือจบแค่ชั้นประถมศึกษา


    • พ.ศ.2473 บรรพชาที่วัดหนองสุ่ม แต่บวชได้เพียง 3 ปี ก็ลาสิกขา เพื่อไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพกสิกรรม


    • พ.ศ.2475 อายุได้ 22 ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดประศุก ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองสุ่ม 1 พรรษา แล้วย้ายไปอยู่ที่วัดโพธิลังกา ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก


    • ครั้น พ.ศ.2482 หลวงพ่อจวนได้ลาสิกขาไปประมาณ 5 เดือน เพื่อไปช่วยงานพี่สาวที่อุปการะเลี้ยงดู หลังจากนั้น หลวงพ่อจวนท่านได้อุปสมบทใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2483 ณ พัทธสีมา วัดประศุก และได้มาจำพรรษาอยู่วัดหนองสุ่ม หลวงพ่อจวน ได้มุ่งศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ (วัดโฆสิทธาธรรม) หลวงพ่อกอง จ.สุโขทัย, หลวงพ่อปั้น วัดค้างคาว อ.สรรคบุรี, หลวงพ่อลา วัดโพธิศรี, หลวงพ่อผึ่ง วัดโบสถ์, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเจ๊ก วัดระนาม, หลวงพ่อโต๊ะ วัด กำแพง, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน, หลวงพ่อเอาะ วัดม่วง, หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข เป็นต้น


    • “หลวงพ่อจวนเป็นพระองค์หนึ่ง ที่หลวงพ่อฤาษีฯ ให้ลูกศิษย์ไปกราบ และทำบุญด้วย เนื่องจากหลวงพ่อ ไปเจอหลวงพ่อจวนที่พระจุฬามณี โดยหลวงพ่อจวนไปทั้งกายเนื้อ” “สมัยที่หลวงพ่อจวนยังอยู่ จะไม่ให้ทำหนังสือวัตถุมงคล ท่านบอกว่า ของ ๆ ฉันถ้าจะดังเดี๋ยวดังเอง” ตามประวัติ ตอนมาเยี่ยมหลวงพ่อกวยที่วัด ท่านทำให้ไฟฟ้าวัดบ้านแคดับ หลวงพ่อกวยรินน้ำชาให้แต่หลวงพ่อจวนฉันไม่ได้เพราะน้ำชาในถ้วยไม่ไหล หลวงพ่อจวนถามหลวงพ่อกวยว่าแล้วผมจะฉันน้ำชาได้อย่างไร หลวงพ่อกวยตอบว่าท่านก็ทำให้ไฟมันติดขึ้นมาก่อนสิ หลวงพ่อจวน ประกอบด้วยศีลที่งดงาม มีเมตตาธรรมสูง ถือสันโดษ มีปฏิปทาต่อสาธุชน ไม่เลือกยากดีมีจน มีผู้คนไปขอความเมตตาจากท่าน เวลามีทุกข์ร้อน จะไปกราบไหว้ขอพร และรดน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อปัดเป่าความทุกข์ร้อน จนเป็นที่เลื่องลือกันว่าน้ำมนต์ของท่านขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก หลวงพ่อจวนได้พัฒนาวัด สร้างโรงเรียน สร้างความเจริญให้หมู่บ้านแห่งนี้ ส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเข้าวัดและประกอบสัมมาชีพ ทำให้พื้นที่ แห่งนี้กลายเป็นชุมชนแห่งความสงบสุข ตลอดชีวิตหลวงพ่อจวน จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมในแต่ละวัน คนจึงไปกราบไหว้รดน้ำพระพุทธมนต์จากหลวงพ่อจวนเป็นประจำ หลวงพ่อจวนได้ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2536 สิริอายุได้ 79 ปี พรรษา 55


    • ใน ด้านพระเครื่องของหลวงพ่อจวน กล่าวได้ว่า พระเครื่องของหลวงพ่อจวนแต่ละรุ่น มีกิตติคุณเลื่องลือว่าเข้มขลังยิ่งนัก มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดภยันตรายและเมตตามหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรือง ทำให้เป็นที่ปรารถนาของบรรดานักสะสมพระเครื่อง ที่ต่างเสาะแสวงหาไว้บูชาครอบครอง พระเครื่องหลวงพ่อจวนที่หายาก มีอยู่หลายรุ่น แต่ที่นับว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ คือ พระรูปหล่อเหมือนหลวงพ่อจวน เนื้อโลหะกะไหล่ทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2519 ที่สังฆาฏิ ด้านหลังมีจารึก “มหาเศรษฐี” กับเหรียญรูปใบเสมารมดำ และกะไหล่ทอง สร้างในปี 2494 และ 2499 ได้รับการชี้แจงจากพระครูพิทักษ์ศาสนวงศ์ว่า วัดหนองสุ่มได้เก็บรักษาไว้ และพร้อมจะนำออกให้บูชา เพื่อสมทบทุนนำปัจจัยบูรณะวัด ตามความเหมาะสมต่อไป


    • ผู้สนใจสามารถไปขอเช่าบูชาพระเครื่องหลวงพ่อจวน ได้ที่วัดหนองสุ่ม ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี สามารถเดินทางไปที่วัด ด้วยการไปที่ จ.สิงห์บุรี ออกจากตัวจังหวัดสิงห์บุรี ถึงสี่แยกหลักเมือง เลี้ยวขวาบนเส้นทางสิงห์บุรี-อินทร์บุรี-ชัยนาท ประมาณ 20 กิโลเมตรจะพบทางแยก ซ้ายมือมีป้ายบอก ทางไปวัดหนองสุ่มเลี้ยวซ้ายตรงไปอีกประมาณไม่ถึง 10 กิโลเมตร จะถึงวัดหนองสุ่ม การคมนาคมสะดวก ไปเช้ากลับเย็นได้สบาย แม้ว่าหลวงพ่อจวนจะละสังขารไปนานเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ชื่อเสียงและคุณงามความดีของหลวงพ่อจวน มุ่งปฏิบัติธรรม ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลัง เป็นที่ยกย่องจากชาวบ้าน ยังอยู่ในความทรงจำของพุทธศาสนิกชนสืบไป
    ที่มา คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

    พระสมเด็จหลังสุ่ม หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม พิมพ์ใหญ่ วัตถุมงคลพิมพ์นิยมของท่านครับที่

    ศิษย์ตามเก็บ

    ให้บูชาองค์ละ 1500 บาทค่าจัด

    ส่งEMS50บาทครับมี2องค์2เนื้อครับ



    องค์ที่ 1 (ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]







     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2012
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    [​IMG]


    หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ที่ชาวจังหวัดเลย รวมทั้งชาวภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลางให้ความเคารพนับถือมาก

    ด้วยความเป็นพระนักปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น ภูริทตโต อีกด้วย

    อัตโนประวัติหลวงปู่คำดี เกิดในสกุล นิลเขียว เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2445 ที่บ้านหนองคู ต.หว้า อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-มารดาชื่อ นายพร และนางหมอก นิลเขียว

    ในช่วงวัยเยาว์ ด.ช.คำดีไม่ได้เรียนหนังสือ เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีโรงเรียน จนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ อายุครบ 22 ปี จึงได้ขอบุพการีออกบวช

    ตอนแรก ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายมหานิกาย ที่วัดหนองแหวง เมืองเก่า ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์โพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ ชสนุหลิด เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ต่อมา เจ้าอาวาสวัดหนองแวงได้ลาสิกขาบท หลวงปู่คำดีจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแทน
    <table style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" align="right" border="1" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#ffe9ff"><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table>

    ในระหว่างที่ออกบวชนั้น ท่านพิจารณาเห็นว่า การบวชตามประเพณีคงไม่ใช่แนวทางพ้นทุกข์ จึงมีดำริออกไปธุดงควัตร ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้รู้แจ้งเห็นจริง

    หลังจากออกธุดงค์แล้วหลวงปู่ดำดี ปภาโส ได้แปรญัตติจากมหานิกายมาเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต ในปีพ.ศ.2471 และย้ายไปจำพรรษาที่วัดโคกศรี บ้านยาง อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    หลวงปู่คำดีได้มีโอกาสพบกับ 2 พระอาจารย์ ที่ธุดงค์ผ่านมาที่วัด เป็นพระวิปัสสนากัมมัฏฐานคือ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล

    ในช่วงนั้นมีพระอาจารย์มาอยู่จำพรรษาด้วยหลายรูป อาทิ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์จันทร์ เขมปัตตโต ทำให้หลวงปู่คำดีได้รับการอบรมในเรื่องวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างดี

    จากนั้น หลวงปู่คำดีได้ออกท่องธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ และในช่วงที่หลวงปู่ออกธุดงค์ได้พบกับเรื่องต่างๆ มากมาย ในขณะที่ปฏิบัติธรรมอยู่ตามป่าเขามาโดยตลอด ก่อนที่ท่านจะมาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ประมาณปีพ.ศ.2497

    ตอนนั้น หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดคีรีวันคำหวายยาง ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น มีพระอดิสัยคุณาทาน หรือหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ หรือพระธรรมวราลังการ เจ้าอาวาสวัดเลยหลง จ.เลย เดินทางไปตรวจปัญหาธรรมที่จังหวัดนครราชสีมาและมาแวะพักกับหลวงปู่คำดี

    หลวงปู่คำดีถามว่า สถานที่วิเวกที่จังหวัดเลยมีที่ไหนบ้าง พอจะเป็นที่วิเวกประกอบความเพียรได้สะดวกบ้าง หลวงปู่ศรีจันทร์ฯ บอกว่ามีหลายแห่ง เป็นถ้ำที่สำคัญทั้งนั้น ตอนนั้นไม่ค่อยมีพระอยู่ ไปๆ มาๆ เนื่องจากอยู่ในที่กันดาร น้ำอาหารการกินลำบากมาก มีถ้ำมโหฬาร อ.วังสะพุง ปัจจุบันอยู่ในกิ่ง อ.หนองหิน ถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง, ถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ อ.เมืองเลย

    ต่อมา หลวงปู่คำดี ปภาโส ได้พาลูกศิษย์เดินทางมาจังหวัดเลยเพื่อเสาะแสวงหาความวิเวก และแวะตามถ้ำต่างๆ แต่ไม่ถูกใจ จนมาถึงวัดเลยหลง หลวงปู่ศรีจันทร์จึงให้ไปจำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่ มีพระพุทธรูปอยู่ในถ้ำ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง

    และหลวงปู่คำดีพอใจมาก เพราะเป็นสถานที่สงบ เหมาะสำหรับการบำเพ็ญเพียรภาวนา ท่านจึงจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่มาโดยตลอด และพัฒนาวัดจนเจริญในทุกวันนี้

    ปัจจุบัน หลวงปู่คำดีได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2527 สิริรวมอายุ 83 ปี

    แม้หลวงปู่คำดีมรณภาพไปนานแล้ว แต่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างพากันไปกราบไว้บูชาที่พิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่ ซึ่งมีการรวมรวมเรื่องราวความเป็นมา ประวัติและคำสั่งสอนของหลวงปู่คำดี ในหนังสือเอาไว้เป็นจำนวนมาก


    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่คำดี ปภาโส ศิษย์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น

    เหรียญสภาพผ่านการบูชา วััตถุมงคลพระอรหันต์อธิฐานจิตไม่ต้องบรรยาย

    ให้บูชาองค์ละ 1300 บาทค่าจัด
    ส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  4. นพพร 2553

    นพพร 2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    743
    ค่าพลัง:
    +1,230
    จอง 1 รายการครับ รูปหล่อพระธาตุเสด็จ(เขาเรียกกันแบบนี้ครับ) หลวงปู่ชม วัดนางใน

     
  5. คชสารบูรพา

    คชสารบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +1,107
    ขออนุญาตจอง สมเด็จหลวงพ่อจวน องค์ดำ นะครับ โอนแล้วจะแจ้งให้ทราบ
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ


    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  7. คชสารบูรพา

    คชสารบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +1,107
    สอบถามอีกทีครับ สมเด็จหลวงพ่อจวน ดีและเด่นทางด้านไหนครับ:cool:
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    [​IMG]




    อัตโนประวัติ
    "พระ ครูอุดมเวท" หรือ "หลวงปู่เจียม อติสโย" พระเกจิชื่อดังเมืองสุรินทร์ เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรดีงาม ไม่บกพร่องเสื่อมเสีย ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด กอปรด้วยวิทยาคม มีลูกศิษย์ลูกหามากมายให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก

    หลวงปู่ เจียม มีนามเดิมว่า เจียม นวนสวัสดิ์ (เดือมดำ) เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน สายเลือดกัมพูชา ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านดองรุน ต.ประเตียเนียง อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน ท่านเป็นบุตรคนโต

    เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียน ประชาบาล อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ศึกษาภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศส ตามหลักสูตรที่รัฐบาลกัมพูชากำหนดไว้

    เมื่อเรียนจบในระดับชั้นประถม ศึกษา ได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในจังหวัดพระตะบอง แต่เรียนได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น มีเหตุให้ต้องลาออกจากโรงเรียน เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน และได้รับผลกระทบจากสภาวะสงครามภายในประเทศ

    เมื่อออกจากโรงเรียน แล้ว ได้ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย เช่น ค้าข้าว ค้าวัว รวมทั้งเป็นช่างไม้ ทำให้ฐานะทางครอบครัวดีขึ้น เมื่ออายุ 26 ปี ท่านได้สมรสกับหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกัน มีบุตรธิดารวม 4 คน

    เนื่อง จากขณะนั้นประเทศกัมพูชาตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส ท่านเป็นคนหนึ่งที่มีความรักชาติรักแผ่นดิน ต้องการให้ประเทศชาติเป็นเอกราช จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มชาวเขมรที่รักชาติ จัดตั้งกองกำลังเขมรเสรีเพื่อกอบกู้ประเทศชาติ โดยสู้รบกับทหารฝรั่งเศสอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และต่อมาถูกปราบปรามอย่างหนักจนต้องหลบหนีเข้ามายังเขตประเทศไทย โดยหวังว่าจะรวมตัวกันกลับเข้าไปต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชอีกครั้งหนึ่ง

    พ.ศ.2485 จึงตัดสินใจอพยพครอบครัว มุ่งหน้าเข้าสู่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ โดยเดินทางมากับพระสงฆ์ชาวเขมรชื่อ พระครูดี ใช้วิธีเดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆ ค่ำไหนก็พักนอนที่นั่น แล้วออกตระเวนรับจ้างชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสังขะ เพื่อหาเลี้ยงชีพไปตามอัตภาพ

    ในที่สุดได้แวะพักที่วัดทักษิณวารี (วัดทักษิณวารีสิริสุข) บ้านลำดวน ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ พร้อมทั้งได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต ที่วัดแห่งนี้ ซึ่งท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนรับใช้หลวงพ่อวางอย่างดียิ่ง จนทำให้บรรดาโยมอุปัฏฐากของหลวงพ่อวาง เกิดความรักความศรัทธา จึงขอเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 47 ปี


    การอุปสมบท
    เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2501 ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดทักษิณวารี ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ โดยมีหลวงพ่อวาง ธัมมโชโต เกจิดังเรืองวิทยาคม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า "อติสโย"


    ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง-หลวงพ่อเปราะ
    หลัง จากอุปสมบทแล้ว ท่านสมัครใจอยู่จำพรรษา ณ วัดทักษิณวารี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ฝึกวิปัสนากัมมัฏฐาน เรียนภาษาไทย และปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต จนเป็นที่ยอมรับ พร้อมกับฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอรับการถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ อาทิ การเสกน้ำมนต์ เขียนแผ่นทอง เป็นต้น

    รวมทั้ง ในแต่ละพรรษา หลวงปู่เจียมได้มีโอกาสแวะเวียนไปนมัสการหลวงพ่อเปราะ พุทธโชติ วัดสุวรรณรัตนโพธิวนาราม อ.ลำดวน พระเกจิชื่อดัง เพื่อปรนนิบัติรับใช้และได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอรับถ่ายทอดวิทยาคม อาทิ การเขียนอักขระลงแผ่นทอง ทำตะกรุด วิชาเสริมสิริมงคล ให้อย่างครบถ้วน เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์ภัยให้ชาวบ้านในถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีผู้เจ็บป่วยด้วยวิชาไสยศาสตร์มนต์ดำเป็นจำนวนมาก

    นอกจากนี้ แล้ว ท่านยังวนเวียนออกธุดงค์ไปตามถ้ำและป่าเขาอย่างต่อเนื่อง ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชายแดนประเทศลาว โดยยึดป่าเขาเป็นสถานศึกษา ได้พบกับพระอาจารย์หลายท่านในระหว่างเดินธุดงค์ ได้สนทนาธรรมและเรียนรู้วิธีการปฏิบัติสมาธิภาวนาจากพระอาจารย์เหล่านั้น เป็นเวลานานถึง 13 ปี แล้วกลับมาเข้าพรรษาที่วัดทักษิณวารี


    สร้างวัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว)
    ภาย หลังกลับจากธุดงค์แล้ว เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2513 กลุ่มชาวบ้านหนองยาง ได้นิมนต์หลวงปู่เจียม ให้ไปสร้างวัดในพื้นที่บ้านหนองยาว ถนนโชคชัย-เดชอุดม ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เป็นสำนักสงฆ์ ด้วยการสร้างกุฏิเล็กๆ สำหรับการปฏิบัติธรรม โดยหลวงปู่เจียมได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาสำนักสงฆ์แห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "วัดอินทราสุการาม"

    ขณะเดียวกัน ท่านก็เผยแผ่พระพุทธศาสนา คอยเทศน์อบรมบรรยายธรรมให้แก่ชาวบ้านหมั่นรักษาศีล และปฏิบัติธรรม


    การสร้างวัตถุมงคล
    ต่อ มา หลวงปู่เจียมได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นครั้งแรก เป็น "ตะกรุดโทน" ลักษณะม้วนแผ่นทองสอดสายยางร้อยกับสายร่ม และผูกห้อยพระแก้วมรกตและเหรียญรูปเหมือน เป็นต้น

    ปรากฏว่าผู้ที่มี วัตถุมงคลหลวงปู่เจียมไว้ในครอบครอง มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์นานัปการ ทำให้มีฝูงชนแห่แหนไปร่วมทำบุญกันอย่างเนื่องแน่น โดยมีชาวบ้านบางส่วนนิยมนำยานพาหนะส่วนตัว ตลอดทั้งรถยนต์โดยสารในท้องถิ่นสุรินทร์ หรือต่างจังหวัด ผูกห้อยตะกรูดโทนของหลวงปู่เจียม เพื่อความเป็นสิริมงคล

    ขณะเดียวกัน ในแต่ละวันจะมีฝูงชนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลไปกราบขอให้หลวงปู่เจียม เสริมสิริมงคล ถอดถอนคุณไสย ด้วยการอาบน้ำมนต์

    นอก จากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้ไปกราบนมัสการขอให้เขียนตะกรุดโทนแขวนคอ ลงเหล็กจารในแผ่นทองกับมือของท่าน เพื่อสวมใส่เป็นขวัญกำลังใจ ในการออกไปรับใช้ชาติในต่างแดน อาทิ เวียดนาม ลาว และเขมร จนได้รับการกล่าวขานเลื่องลือระบือไกล ด้วยพุทธคุณเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดภยันตราย

    พ.ศ.2515 หลวงปู่เจียมอนุญาตให้คณะศิษยานุศิษย์ จัดสร้างวัตถุมงคลกริ่งรูปเหมือน รุ่น 1 จำนวน 7,000 องค์ เหรียญรูปเหมือน รุ่น 1 จำนวน 7,000 เหรียญ พร้อมตะกรุดแขวนคอชุดใหญ่ จำนวน 7,000 เส้น

    พ.ศ.2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมหลวงปู่เจียม ที่วัดอินทราสุการาม เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อสนทนาธรรม ในโอกาสนี้ หลวงปู่เจียมได้ทูลเกล้าฯถวายวัตถุมงคลพระกริ่งรูปเหมือน รุ่นรับเสด็จ ตะกรุด เป็นที่ระลึกด้วย

    พ.ศ.2546 หลวงปู่เจียมอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นมูลนิธิอติสโย เป็นวัตถุมงคลหล่อโบราณ รูปเหมือน (เททองในวัด) สรุปรวมวัตถุมงคลทั้งวัดจัดสร้าง ภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งสิ้นประมาณ 50 รุ่น เมื่อรวบรวมปัจจัยได้นำไปสร้างถาวรวัตถุมากมายและจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม


    สมณศักดิ์ที่ได้รับ
    พ.ศ.2527 หลวงปู่เจียมได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ "พระครูอุดมวรเวท"


    พระนักพัฒนา
    นอก จากมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม ท่านยังเป็นพระนักพัฒนา ได้ช่วยสร้างวัดที่อำเภอบัวเชด จ.สุรินทร์ 2 แห่ง สร้างสถานีอนามัยที่บ้านหนองยาว มอบครุภัณฑ์ให้โรงพยาบาลสุรินทร์ สร้างศาลาประชาคม 61 แห่ง รวมทั้งสาธารณประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย


    มรณภาพ
    ย่าง เข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ

    ครั้น เมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ศิษย์สม่ำเสมอ

    กระทั่งเมื่อเวลา 16.59 น ของวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2549 คณะศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียมได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม 96 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่เคารพนับถือ เป็นยิ่งนัก

    คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์รวมไปถึงชาวบ้านได้นำร่าง หลวงปู่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ ณ ศาลาการเปรียญวัดอินทราสุการาม เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้รำลึกถึงคุณงามความดี สำหรับกำหนดการเบื้องต้น จะมีการบรรจุศพหลวงปู่เจียมที่วัดอินทราสุการาม เป็นเวลา 15 วัน เพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้ร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน



    คัดลอกมาจาก ::
    1. หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 1 คอลัมน์ มงคลข่าวสด
    วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 576


    ขอบคุณท่านเจ้าของข้อมูลและที่มาอย่างสูงครับ


    รูปหล่อขนาดบูชาแบบตั้งหน้ารถยนต์ หลวงปู่เจียม วัดหนองยาว จ.สุรินทร์

    สร้า้งปี 2544

    (ปิดรายการ)


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2012
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    [​IMG]


    หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ที่ชาวจังหวัดเลย รวมทั้งชาวภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลางให้ความเคารพนับถือมาก

    ด้วยความเป็นพระนักปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น ภูริทตโต อีกด้วย

    อัตโนประวัติหลวงปู่คำดี เกิดในสกุล นิลเขียว เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2445 ที่บ้านหนองคู ต.หว้า อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-มารดาชื่อ นายพร และนางหมอก นิลเขียว

    ในช่วงวัยเยาว์ ด.ช.คำดีไม่ได้เรียนหนังสือ เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีโรงเรียน จนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ อายุครบ 22 ปี จึงได้ขอบุพการีออกบวช

    ตอนแรก ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายมหานิกาย ที่วัดหนองแหวง เมืองเก่า ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์โพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ ชสนุหลิด เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ต่อมา เจ้าอาวาสวัดหนองแวงได้ลาสิกขาบท หลวงปู่คำดีจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแทน
    <table style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" align="right" border="1" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#ffe9ff"><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table>

    ในระหว่างที่ออกบวชนั้น ท่านพิจารณาเห็นว่า การบวชตามประเพณีคงไม่ใช่แนวทางพ้นทุกข์ จึงมีดำริออกไปธุดงควัตร ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้รู้แจ้งเห็นจริง

    หลังจากออกธุดงค์แล้วหลวงปู่ดำดี ปภาโส ได้แปรญัตติจากมหานิกายมาเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต ในปีพ.ศ.2471 และย้ายไปจำพรรษาที่วัดโคกศรี บ้านยาง อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    หลวงปู่คำดีได้มีโอกาสพบกับ 2 พระอาจารย์ ที่ธุดงค์ผ่านมาที่วัด เป็นพระวิปัสสนากัมมัฏฐานคือ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล

    ในช่วงนั้นมีพระอาจารย์มาอยู่จำพรรษาด้วยหลายรูป อาทิ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์จันทร์ เขมปัตตโต ทำให้หลวงปู่คำดีได้รับการอบรมในเรื่องวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างดี

    จากนั้น หลวงปู่คำดีได้ออกท่องธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ และในช่วงที่หลวงปู่ออกธุดงค์ได้พบกับเรื่องต่างๆ มากมาย ในขณะที่ปฏิบัติธรรมอยู่ตามป่าเขามาโดยตลอด ก่อนที่ท่านจะมาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ประมาณปีพ.ศ.2497

    ตอนนั้น หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดคีรีวันคำหวายยาง ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น มีพระอดิสัยคุณาทาน หรือหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ หรือพระธรรมวราลังการ เจ้าอาวาสวัดเลยหลง จ.เลย เดินทางไปตรวจปัญหาธรรมที่จังหวัดนครราชสีมาและมาแวะพักกับหลวงปู่คำดี

    หลวงปู่คำดีถามว่า สถานที่วิเวกที่จังหวัดเลยมีที่ไหนบ้าง พอจะเป็นที่วิเวกประกอบความเพียรได้สะดวกบ้าง หลวงปู่ศรีจันทร์ฯ บอกว่ามีหลายแห่ง เป็นถ้ำที่สำคัญทั้งนั้น ตอนนั้นไม่ค่อยมีพระอยู่ ไปๆ มาๆ เนื่องจากอยู่ในที่กันดาร น้ำอาหารการกินลำบากมาก มีถ้ำมโหฬาร อ.วังสะพุง ปัจจุบันอยู่ในกิ่ง อ.หนองหิน ถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง, ถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ อ.เมืองเลย

    ต่อมา หลวงปู่คำดี ปภาโส ได้พาลูกศิษย์เดินทางมาจังหวัดเลยเพื่อเสาะแสวงหาความวิเวก และแวะตามถ้ำต่างๆ แต่ไม่ถูกใจ จนมาถึงวัดเลยหลง หลวงปู่ศรีจันทร์จึงให้ไปจำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่ มีพระพุทธรูปอยู่ในถ้ำ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง

    และหลวงปู่คำดีพอใจมาก เพราะเป็นสถานที่สงบ เหมาะสำหรับการบำเพ็ญเพียรภาวนา ท่านจึงจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่มาโดยตลอด และพัฒนาวัดจนเจริญในทุกวันนี้

    ปัจจุบัน หลวงปู่คำดีได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2527 สิริรวมอายุ 83 ปี

    แม้หลวงปู่คำดีมรณภาพไปนานแล้ว แต่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างพากันไปกราบไว้บูชาที่พิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่ ซึ่งมีการรวมรวมเรื่องราวความเป็นมา ประวัติและคำสั่งสอนของหลวงปู่คำดี ในหนังสือเอาไว้เป็นจำนวนมาก


    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่คำดี ปภาโส ศิษย์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น

    เหรียญสภาพผ่านการบูชา วััตถุมงคลพระอรหันต์อธิฐานจิตไม่ต้องบรรยาย

    ให้บูชาองค์ละ 1300 บาทค่าจัด
    ส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) ลาดพร้าว บางกะปิ กรุงเทพฯ
    [​IMG]


    นามเดิม หลอด ขุริมน
    เกิด วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ปีเถาะ จ.ศ. 1277 กำเนิด ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ. อุดรธานี
    โยมบิดา คุณพ่อบัวลา ขุริมน
    โยมมารดา คุณแม่แหล้ (แร่ ขุริมน) มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 คน คือ
    1. นายเกิ่ง ขุริมน (ถึงแก่กรรม)
    2. นางประสงค์ ขุริมน (ถึงแก่กรรม)
    3. พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)

    การศึกษา
    เมื่อ พระเดชพระคุณหลวงปู่ มีอายุครบเกณฑ์ที่จะเข้าศึกษาเล่าเรียนในชั้นประถมศึกษา คุณพ่อบัวลาจึงได้พาไปฝากเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านหิน ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งท่านได้จบการศึกษาตามหลักสูตรในสมัยนั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พออ่านออกเขียนได้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ 16 ปี ก็เรียกได้ว่ากำลังหนุ่มแน่น มีกำลังแรงงานดี จึงเป็นแรงสำคัญของทางบ้านในการทำเรือกสวนไร่นา แต่ก็เป็นอันต้องมีเหตุให้เกิดความเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เมื่อคุณแม่แหล้ผู้เป็นมารดาล้มป่วยอย่างหนัก และถึงแก่กรรมในที่สุด พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบรรพชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาเมื่อถึงเวลาอันสมควร

    บรรพชา

    เมื่อ หลวงปู่อายุได้ 18 ปี ก็ได้มีโอกาสเข้าบรรพชาเป็นสามเณรสมดังใจตั้งมั่นที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอธิการคูณ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อบวชเณรอยู่ได้ไม่นาน บิดาก็มาเสียชีวิตไป เมื่อคุณพ่อบัวลามาด่วนจากไปเสียอีกคน หลวงปู่ท่านจึงต้องลาสิกขาออกมาเพื่อช่วยพี่ ๆ ทำเรือกสวนไร่นาต่อไป

    อุปสมบท
    เมื่อ ความคิดอยากจะบวชอีกครั้งยังมีอยู่ ยังไม่ลบเลือนไปจากจิตใจ สองปีต่อมาหลวงปู่จึงได้หาโอกาสที่จะปล่อยวางงานและภาระทางบ้าน เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา

    พระเดชพระคุณ หลวงปู่ได้ก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ สังกัดมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดธาตุหันเทาว์ ตำบลบ้านขาม บ้านเกิดของหลวงปู่นั่นเอง เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลีวัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ขาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้พำนักที่วัดธาตุหันเทาว์ ในขณะนั้นมีพระอาจารย์มหาตัน สุตตาโนเป็นเจ้าอาวาส
    เมื่อหลวงปู่บวชได้แล้วประมาณ 3 เดือน พอขึ้นเดือนมิถุนายน หลวงปู่ก็ได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์มณฑา ซึ่งท่านเดินทางมาจากวัดบ้านโกทา จังหวัดขอนแก่น และก็ได้ปรึกษากันว่าจะพากันไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ในตัวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีพระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลอยู่ นับว่าเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาคอีสานในขณะนั้นก็ว่าได้

    พรรษา ที่ 1-3 (พ.ศ.2479-2482) หลวงปู่ได้เดินทางมาถึงวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2479 เมื่อหลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้สมัครเรียนนักธรรม และพระบาลีตามประกาศของสำนักเรียนในวัดโพธิ์ฯ เมื่อเปิดเรียนไม่นาน หลวงปู่ก็ลาออกจากการเรียนพระบาลี เหลือแต่นักธรรมอย่างเดียว

    แปรญัตติเป็นธรรมยุติ
    เนื่องจากการที่ ท่านเป็นพระมหานิกาย จึงทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการทำสังฆกรรม เช่นการลงประชุมฟังพระปาติโมกข์ หลวงปู่ก็มิได้ลงร่วมฟังสังฆกรรมดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงปู่ท่านรู้สึกไม่ค่อยสะดวกและสบายใจเท่าไรนัก จึงได้ตัดสินใจที่จะขอแปรญัตติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2479 โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธโล) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูประสาทคณานุกิจ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปโมทิโต” หมายถึง ผู้มีความบันเทิง ผู้ปลื้มใจ ผู้มีใจอันเบิกบาน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 21 ปี

    การอยู่ที่วัด โพธิสมภรณ์ในยุคโน้น นับว่าเป็นโชคดีแก่ชีวิตหลายอย่าง เพราะนอกจากจะเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่ ผู้มีบทบาท และมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ตลอดทั้งด้านสมถะและวิปัสสนามาพำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์อยู่เรื่อยมา จึงทำให้หลวงปู่ได้มีโอกาสได้พบเห็นและฟังการอบรมจากพระเถระเหล่านั้นมาก ท่านและหลายครั้ง และมีหลักในการปฏิบัติกับตนได้เป็นอย่างดี
    หลวงปู่ได้ อยู่วัดโพธิสมภรณ์ไปถึงเดือนมิถุนายน 2481 หลวงปู่ได้เดินทางกลับไปวัดธาตุหันเทาว์ และก็ได้ถูกมอบหมายหน้าที่ให้เป็นครูสอนนักธรรมตรี ซึ่งขณะนั้นกำลังขาดแคลนครูสอน ท่านเจ้าคุณพิศาลเถระ เจ้าคณะหนองบัวลำภู จึงได้ขอร้องให้หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดธาตุหันเทาว์ เพื่อเป็นครูสอนนักธรรม หลวงปู่ท่านเลยรับคำอยู่ช่วยสอนนักธรรมตรีจนออกพรรษาและสอบธรรมสนามหลวง ประจำปี 2481 แล้วเสร็จ ท่านจึงได้เดินทางกลับมาที่วัดโพธิสมภรณ์เหมือนเดิม เพื่อมาศึกษานักธรรมโทต่อที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี และสอบได้ในปีนั้นเอง จากนั้นก็สมัครสอบนักธรรมเอกในปีต่อมา

    พรรษา ที่ 4 (พ.ศ.2483) ในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ. 2482 หลังจากออกพรรษาและสอบนักธรรมเสร็จ หลวงปู่ท่านได้มีโอกาสพบกับเพื่อภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์วิฤทธิ์ ปุญฺญมาโน ซึ่งท่านเคยอยู่วัดโพธิสมภรณ์มาก่อน และก็ได้ชวนหลวงปู่ให้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมด้วยกัน ก็เป็นอันตกลง และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2482 จึงได้พากันออกเดินธุดงค์โดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ตั้งจุดหมายปลายทางคือ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งต้องผ่านไปทางบ้านปากดง บ้านหนองขุ่ม บ้านนาแอ่ง การเดินธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่มีความประทับใจไม่รู้ลืม ที่ได้สัมผัสกับธรรมชาติ เสียงของสัตว์นานาชนิด ป่าดงพงไพรยังอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่ใสและเย็นสดชื่นให้ได้เห็นมากแห่ง เป็นสิ่งที่หายากยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากการทำลายป่าและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ การเดินธุดงค์ในครั้งนี้เป็นการเดินธุดงค์หาวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรมจริง ๆ หากพบสถานที่ใดที่มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียรแล้ว ก็จะพักปฏิบัติธรรมอยู่ระยะหนึ่ง จึงค่อยย้ายจากไปหาที่ใหม่ เพื่อจะได้ไม่ติดในสถานที่ และจิตใจจะได้มีการตื่นตัว แปลกที่อยู่เสมอ ทำให้การทำความเพียรได้ผลดีมาก

    ท่านเดินทางธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และหยุดพักปฏิบัติธรรมในที่เห็นว่าสมควร และในที่สุดก็ได้มาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอาจารย์โชติ กาญจโน เป็นเจ้าอาวาส เป็นอันว่าในพรรษาของปี พ.ศ. 2483 พรรษาที่ 4 ของหลวงปู่ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ และในพรรษานี้เอง หลวงปู่ได้ตั้งสัจจะปวารณาถือเนสัชชิก (อาการสาม ยืน เดิน นั่ง) โดยเอาแบบอย่างการปฏิบัติของหลวงปู่ซามา โดยจะไม่ยอมให้หลังแตะพื้น จะเป็นอย่างไรจะไม่ยอมให้หลังนี้สัมผัสพื้นเลย หลวงปู่ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษามิได้ขาด และการปฏิบัติของท่านก้าวหน้าไปด้วยดี

    พรรษาที่ 5-7 (พ.ศ.2484-2486) พอออกพรรษา หลวงปู่ก็ออกธุดงค์หาวิเวกไปในถิ่นต่าง ๆ ภายในเขตอำเภอหล่มสัก ต่อมาเมื่อใกล้จะเข้าพรรษาในปี พ.ศ.2484 หลวงปู่ตั้งใจว่าจะกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนาเหมือนเดิม แต่เนื่องจากทางวัดเกาะแก้ว ตำบลน้ำเฮี้ย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระที่จำพรรษาไม่ครบ 5 รูป ทางพระอาจารย์สิงห์ทอง สุวณฺณธมฺโม เจ้าอาวาสในขณะนั้น จึงได้มากราบเรียนขอความอนุเคราะห์ และได้หลวงปู่ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดในพรรษานี้เอง หลวงปู่ท่านตั้งใจจะเพียรพยายามท่องปาติโมกข์ให้ได้ เนื่องจากท่านตั้งใจจะเป็นผู้สวดปาติโมกข์ในวันออกพรรษาเอง และท่านก็ทำได้สำเร็จสามารถท่องพระปาติโมกข์ได้จบ

    ก่อนจะถึงวันออก พรรษา หลังจากออกพรรษามาไม่นาน หลวงปู่ก็กลับมาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา ในขณะที่ท่านกลับมาพักที่นี่ ก็มีคณะญาติโยมจากบ้านหนองไขว่ บ้านน้ำกร้อ บ้านน้ำชุน บ้านโนนทอง บ้านปากดุก บ้านดงเมือง มานิมนต์หลวงปู่ไปช่วยเทศน์อบรมชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ซึ่งหลวงปู่ก็รับนิมนต์แล้วก็ย้ายไปเรื่อย ๆ ตามแนวริมผั่งแม่น้ำป่าสัก ตลอดระยะเวลา 4 เดือนในหน้าแล้ง พอถึงหน้าฝน หลวงปู่ก็ย้อนกลับมาวัดสามัคคีพัฒนาอีก รวมแล้วหลวงปู่ได้อยู่จำพรรษาและได้เที่ยวตระเวนธุดงค์ไปเขตจังหวัด เพชรบูรณ์ เป็นระยะเวลา 3 ปีเต็มๆ หลังจากนั้นในพรรษาที่ 6 หลวงปู่ก็ได้เดินทางออกจากจังหวัดเพชรบูรณ์มาจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีหลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมและสะดวกแก่การออกธุดงค์

    และในระหว่างที่ กำลังธุดงค์อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีนั้น นับเป็นความโชคดีของหลวงปู่ที่ได้พบครูบาอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ทางพระ กรรมฐานมากอีกองค์หนึ่ง คือพระอาจารย์อ่อนศรี สีลขนฺโธ ซึ่งท่านเคยปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลาหลายปี ท่านจึงได้ชวนกันไปเดินธุดงค์มุ่งหน้าไปทางอำเภอบ้านผือ และก็ได้ธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และก็ได้กลับไปพักที่วัดโนนนิเวศน์ และก็ได้พบกับพระอาจารย์คำภา จุนโท จึงได้ชวนกันออกวิเวกไปแถบตำบลหนองหาร ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน และก็เดินทางผ่านไปจนถึงบ้านเชียง เห็นว่าจวนเข้าพรรษาแล้ว จึงตกลงกันอยู่จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านเชียง (พรรษาที่ 7) และที่นี่เองท่านได้ผจญกับมารทางจิตแทบเอาตัวไม่รอดในเรื่องของสตรีเพศ ในที่สุดท่านก็ใช้หลักมหาสติปัฏฐานมาแก้ปัญหาดังกล่าว และก็สามารถชนะอารมณ์กามคุณดังกล่าวได้สำเร็จ

    พรรษาที่ 8 (พ.ศ.2487) ได้พบพระผู้เป็นบิดาแห่งกองทัพธรรม (พระบูรพาจารย์) เมื่อออกพรรษาแล้วคณะธุดงค์ของหลวงปู่และพระอาจารย์คำภาก็ยังคงปักหลักอยู่ ที่ป่าช้าบ้านเชียงนั้นต่อไปอีก ประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นเพื่อสหธรรมมิกผู้ร่วมธุดงค์ จึงได้มาชวนหลวงปู่ไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านโคก (ปัจจุบันคือ วัดป่าวิสุทธิธรรม อำเภอโคกสีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) จึงออกเดินทางจากอุดร ราววันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2487 ในระหว่างที่อยู่กับหลวงปู่มั่น ท่านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนธรรมกับพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ร่วมอยู่ในระหว่างนั้น ซึ่งพระอาจารย์เหล่านั้นก็มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน เช่น อาจารย์สุวัจน์ สุวจฺโจ หลวงตามหาบัว เป็นต้น จึงถือว่าพรรษานี้หลวงปู่ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล ที่ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งกองทัพธรรม หลังจากนั้นมาระยะหนึ่ง หลวงปู่และพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาพาโส ก็ตกลงกันว่าจะออกวิเวกร่วมกัน จึงได้เข้าไปกราบขออนุญาตลาหลวงปู่มั่นเพื่อออกธุดงค์หาประสบการณ์ ซึ่งหลวงปู่มั่นก็ได้อนุญาตการธุดงค์

    ครั้งนั้นหลวงปู่ได้มุ่งหน้าไป ทางทิศตะวันตก ล่องลงมาตามเขาภูพานในเขตจังหวัดสกลนคร เข้าสู่อำเภอเมือง และก็ได้ดั้นด้นลงถึงเชิงเขาภูพานที่บ้านกวนบุ่น และไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนี้นัก มีถ้ำพอพักอาศัยปฏิบัติได้ ท่านจึงได้พักอาศัยปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำนี้ และก็ได้สอนให้ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้เลิกนับถือผี และหันมาสนใจพระพุทธศาสนากันมากขึ้น หลวงปู่กับหลวงปู่บัวพาอยู่บำเพ็ญสมณธรรมที่บ้านกวนบุ่นเป็นระยะเวลาสอง เดือนเศษ เมื่อย่างเข้าเดือนเมษายน หลวงปู่เกิดอาการอาพาธด้วยโรคไข้ป่า อาการหนักมาก เมื่ออาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้ตกลงกับอาจารย์บัวพาว่าจะกับไปที่บ้านโคก เพื่อกราบพึงบารมีหลวงปู่มั่น ซึ่งหลวงปู่มั่นท่านไม่ให้ฉันยา ท่านให้ภาวนารักษาตัว อย่าไปยึดติด ที่สุดหลวงปู่ก็หายได้ด้วยกำลังของภาวนา
    การ ได้พบกับหลวงปู่มั่นนั้นทำให้หลวงปู่ได้รับอุบายธรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ทำให้สติปัญญาสว่างไสวมากขึ้น เป็นอันว่าพรรษานี้ (พรรษาที่ 8 ปี พ.ศ.2487) หลวงปู่ก็ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น และได้รับธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่น ชนิดที่เรียกว่าเป็นธรรมอันล้ำค่าทีเดียว

    พรรษาที่ 9-10 (พ.ศ.2488 – 2489) เมื่อพ้นจากฤดูกาลเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2487 แล้ว หลวงปู่ก็ได้ชักชวนเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันออกธุดงค์อีก ครั้งนั้นได้พากันธุดงค์มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เดินทางไปพักอยู่ที่ถ้ำขาม ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุง ไม่มีพระเณรอยู่ประจำ ต่อมาพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ก็ได้พาคณะพระเณรมาปรับปรุงถ้ำขามจึงน่าอยู่มาก และมีพระเณรอยู่รักษาเป็นประจำจนกระทั่งทุกวันนี้ ถ้ำแห่งนี้เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่พำนักพักพิงของครูบาอาจารย์มาแล้วหลายรูป เช่น พระอาจารย์ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี และพระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ท่านก็ได้มาพำนัก ณ ที่ถ้ำขามแห่งนี้จนกระทั่งมรณภาพ

    หลวงปู่ท่านพักอยู่เพียงคืนเดียว รุ่งขึ้นท่านก็รีบเดินทางต่อ มุ่งไปทางอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ขณะนั้นอาการอาพาธจากไข้ป่าของหลวงปู่ก็ได้กำเริบขึ้นอีก หลวงปู่ก็พยายามอดทน และได้เดินทางออกวิเวกไปยังอำเภอหนองบัวลำภู ถิ่นกำเนิด ไปถึงป่าช้าบ้านขาม (วัดป่าศรีสว่างในปัจจุบัน) หลวงปู่ได้พักรักษาตัวอยู่ที่ป่าช้าบ้านขาม (วัดป่าศรีสว่าง) ประมาณหนึ่งเดือนอาการป่วยจึงหายเป็นปกติ ก็ออกตามหาพระอาจารย์คำภา เพื่อนธุดงค์คู่ทุกข์คู่ยาก จนในที่สุดก็ได้พบกันที่วัดป่าบ้านบก ก็ได้พากันออกวิเวกไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติธรรมและอบรมประชาชน โดยแวะพักหมู่บ้านละคืนสองคืนเรื่อยไป และมุ่งหน้าไปทางจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์ ซึ่งมากายไปด้วยภูเขา ถ้ำและเหว อันเหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียร พอใกล้เข้าพรรษา (พรรษาที่ 9) หลวงปู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองบัว พอออกพรรษา หลวงปู่ก็ได้ออกวิเวกไปหาพระอาจารย์คำภา ซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์บ้านปากเหมือนใหม่ ต.ลานป่า อ.หล่มสัก ต่อมาหลวงปู่และคณะก็ตระเวนวิเวกและอบรมประชาชนไปตามที่ต่าง ๆ และประมาณเกือบ 15 วัน จะเข้าพรรษา ชาวบ้านน้ำเล็นมากราบขอพระไปอยู่จำพรรษาที่บ้านน้ำเล็น พระอาจารย์คำภาจึงตกลงในหลวงปู่ไปจำพรรษาอยู่ที่นั้น

    เป็นอันว่า ปี 2489 (พรรษาที่ 10) หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านน้ำเล็น รวมแล้วหลวงปู่ท่านได้พำนักจำพรรษาอยู่ในเขตอำเภอหล่มสักติดต่อกันสองพรรษา
    พรรษา ที่ 11-13 (พ.ศ. 2490-2492) ครั้นพอได้เวลาออกพรรษา หลวงปู่ก็ออกจาริกธุดงค์ต่อ ได้ตั้งใจบำเพ็ญภาวนาและอบรมศีลธรรมแก่ญาติโยมตามเส้นทางที่ผ่านไปเท่าที่มี โอกาส ในระหว่างที่วิเวกนั้นท่านไปเพียงรูปเดียว หลวงปู่ได้ปรึกษากับพระอาจารย์คำภาว่า ปี 2490 นี้ จะขอให้ธุดงค์ ทางภาคเหนือ ดังนั้น ราวต้นเดือนเมษายน ปี 2490 หลวงปู่ได้เดินทางมุ่งสู่ภาคเหนือ ท่านได้ไปพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่หลายคืน เพื่อสืบเสาะหาวัดกรรมฐานที่อยู่ภายในจังหวัดเชียงใหม่ ก็ทราบว่ามีอยู่หลายแห่ง หลวงปู่ท่านจึงได้เริ่มต้นจากสำนักสงฆ์สันต้นเปา อำเภอสันกำแพง ท่านได้พักที่นี่หนึ่งเดือน และที่นี้เองหลวงปู่ได้พบตำราเล่มหนึ่ง คือโลกนิติคำกาพย์ ภาษาลาว และกาพย์ปู่สอนหลาน ซึ่งประพันธ์ขึ้นโดยหลวงปู่เจ้าคุณอุบาลี คุณูปมาจารย์ จากนั้นหลวงปู่ท่านก็ย้ายไปพำนักอยู่เพื่อศึกษาธรรมกับหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร แห่งวัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ.2490 หลวงปู่จึงได้จำพรรษาที่วัดป่าโรงธรรมสามัคคี (พรรษาที่ 11) ในพรรษานี้หลวงปู่ตั้งสัจจะ จะไม่นอนทอดหลังจนตลอดภายในพรรษา ผลของการปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่ในพรรษานี้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ท่านทำความเพียรได้มากขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ

    ในราวเดือนธันวาคมของปี พ.ศ.2490 หลวงปู่ได้ออกเดินทางจากวัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ ประมาณ 30 กิโลเมตร ท่านได้ออกวิเวกไปตามป่าในแถบนั้นเรื่อยไป หลวงปู่ท่านอยู่วิเวกในละแวกอำเภอสันป่าตอง ส่วนมากท่านก็จะพักปักกลดอยู่ตามป่าช้า จนถึงเดือนมิถุนายน 2491 ขณะที่ท่านพำนักอยู่ใกล้บ้านสันขะยอม ก็มีญาติโยมสนใจปฏิบัติฟังธรรมมาขอรับการอบรมจากท่านมาก เมื่อหลวงปู่ท่านพิจารณาแล้วว่าในแถบนี้ เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การเจริญภาวนา ญาติโยมสนใจภาวนาดี ท่านจึงได้สร้างกุฏิเล็ก ๆ ได้ 3 หลัง และศาลาโรงธรรม แล้วจึงตกลงใจอยู่จำพรรษา (พรรษาที่ 12 พ.ศ. 2491) ณ ที่นี้ ท่านอยู่ที่ป่าช้า บ้านสันขะยอมได้ 7 วัน ชาวบ้านพอทราบข่าว ก็มีศรัทธาหลั่งไหลมาฟังธรรมและชมบารมีหลวงปู่ทุกวัน ระยะแรกเข้าพรรษาไปได้ไม่กี่วัน คณะของท่านก็ได้ถูกพวกมารศาสนาผจญเอาอย่างหนัก พยายามเบียดเบียนรังแกสารพัดวิธี เพื่อให้คณะของท่านทนอยู่ไม่ได้ ต้องหนีไปจากที่นั่น เพราะไปขัดลาภสักการะของเขา อีกทั้งยังมีศีลาจารวัตรอันแตกต่าง ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและช่องว่างขึ้นมา แต่คณะของท่านก็อดทนด้วยขันติตลอดมา โดยยึดมั่นอยู่ในศาสนธรรม ไม่มุ่งเบียดเบียนใคร มีแต่แผ่เมตตาและกระทำประโยชน์ให้เกิดแก่หมู่ชนเท่านั้น

    เมื่อป่าช้า บ้านสันขะยอมไม่ใช่สถาน ที่ ๆ สัปปายะอีกต่อไปแล้ว ทั้งยังคับแคบเนื่องจากขณะนั้นมีญาติโยมมาขอฟังและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มาก มาย ชาวบ้านสันขะยอมจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะหาที่สร้างสำนักสงฆ์แห่งใหม่ และชาวบ้านหลาย ๆ คนเห็นว่า สวนมะม่วงและสวนลำไยซึ่งอยู่ไม่ห่างจากป่าช้าสันขะยอมมากนัก และเจ้าของที่ก็ได้ถวายที่ดินซึ่งเป็นสวนมะม่วงแห่งนั้นให้กับหลวงปู่ พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็รวบรวมปัจจัยและมาช่วยสร้างสำนักสงฆ์กันอย่างมากมาย เพียงไม่กี่วันก็กลายเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนา หลวงปู่สร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในไม่ถึง 2 ปี เพราะญาติโยมที่นั่นเขาศรัทธาหลวงปู่มาก

    เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว หลวงปู่จึงได้ให้ชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า สำนักสงฆ์อัมพวัน (ปัจจุบันคือวัดป่าเจริญธรรมนั่นเอง) และหลวงปู่ได้นิมนต์พระอาจารย์น้อย สุภโร เป็นประธานสงฆ์แทน ส่วนตัวหลวงปู่เองก็ออกวิเวกไปในอำเภอสันป่าตอง การวิเวกนั้นมักใช้ป่าช้าเป็นที่พำนักพักพิง เพราะเงียบสงัดดี แต่ละแห่งในเวลากลางคืนก็มักจะมีประชาชนไปฟังเทศน์ฟังธรรมกันมากมาย
    เมื่อ หลวงปู่ทราบว่า พระอาจารย์แว่น ธนปาโล ได้พาคณะไปบูรณะถ้ำพระสบาย ที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มาประมาณ 6 เดือนแล้ว ท่านจึงได้ไปตรวจดูถ้ำที่นั่นและก็พอใจเป็นอย่างมาก แห่งเห็นว่าเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่จึงตัดสินใจอยู่จำพรรษา(พรรษาที่ 13 พ.ศ.2492) ที่นี้ และสาเหตุที่ถ้ำนี้ชื่อว่าถ้ำพระสบาย ก็เนื่องจากหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร ท่านเป็นผู้ตั้งชื่อ โดยท่านปรารภว่าถ้ำนี้เย็นเงียบสงัด อากาศปลอดโปร่งทั้งกลางวันกลางคืน พระที่อยู่ก็รู้สึกสบาย ท่านจึงตั้งชื่อว่าถ้ำพระสบาย คนอื่นก็เรียกตาม ๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้
    พรรษา ที่ 14-15 (พ.ศ. 2493-2494) ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ทางวัดป่าสำราญนิวาสมีงานทอดกฐิน ทางวัดได้นิมนต์ให้คณะของหลวงปู่จากถ้ำพระสบายไปร่วมงานด้วย ระหว่างนี้หลวงปู่ท่านก็ไป ๆ มา ๆ ระหว่างถ้ำพระสบายกับวัดป่าสำราญนิวาส หลังจากเสร็จงานแล้ว หลวงปู่ก็ลาหลวงปู่แว่นและหลวงปู่หลวง เพื่อเดินทางไปเยี่ยมหลวงปู่เหรียญ ที่สำนักสงฆ์นันทวนาราม อำเภอเถิน หลวงปู่ไปช่วยบูรณะวัดร่วมกับพระอาจารย์เหรียญ ต่อมาจากนั้นอีก 15 ปี คณะกรรมการวัดก็ปรึกษากันและมีมติให้เปลี่ยนชื่อวัดจากเดิมคือวัดนันทวนาราม มาเป็นวัดสันติสุขาราม จนเท่าทุกวันนี้

    ขณะที่หลวงปู่ได้พำนักอยู่ ที่สำนักสงฆ์นันทวนารามนั้น ได้ทราบข่าวมาว่า ห่างจากอำเภอเถินไปประมาณ 10 ปิโลเมตร มีถ้ำสวยงามมากมาย หลวงปู่จึงเดินทางไปสำรวจ และพอใจในถ้ำแม่แก่งมาก และตั้งใจจะไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำนี้ หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจว่าจะมาพัฒนาถ้ำแม่แก่ง และถ้ำใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม โดยมีชาวบ้านมากมายที่ศรัทธาหลวงปู่ มาช่วยกันสร้างที่พักชั่วคราวให้ตามริมฝั่งแม่น้ำแก่ง กลางคืนก็มีชาวบ้านพากันไปฟังเทศน์ ฝึกสมาธิ เป็นประจำ
    เมื่อหลวงปู่ปรับ ปรุงบันไดขึ้นสู่ถ้ำอินทร์โขงเรียบร้อยแล้ว ก็ย้ายขึ้นไปอยู่ถ้ำอินทร์โขง สำหรับเสนาสนะถ้ำอินทร์โขง หลวงปู่ท่านใช้เวลาบุกเบิกประมาณเกือบ 2 ปี จนมีกุฏิที่พักโยม ศาลาโรงธรรม ครบสมบูรณ์พอเป็นสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม และอบรมสั่งสอนญาติโยมได้อย่างสะดวกสบาย ในระหว่างที่หลวงปู่มาอยู่ที่นี้ ก็มีญาติโยมออกมาปฏิบัติฟังธรรมมากมาย ซึ่งก็บรรลุวัตถุประสงค์ในการมาของท่านจริง ๆ

    เป็นอันว่า หลวงปู่ได้จำพรรษาที่ 14 ที่ถ้ำอินทร์โขง ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2493 และขณะที่หลวงปู่พักอยู่ที่ถ้ำอินทร์โขงนั่นเอง ก่อนออกพรรษาไม่นาน ท่านได้อาพาธเป็นไข้ป่าอีกครั้ง อาการหนักมาก ไม่ว่าจะรักษาประการใดอาการก็ไม่ดีขึ้น หลวงปู่จึงได้สัตตาหะไประหว่างพรรษา เพื่อความสะดวกในการรักษา จึงได้ไปพักที่วัดอุ่มลองในอำเภอเถิน ใกล้คลีนิคหมอผู้เป็นเจ้าของไข้ อาการก็ทุเลาลงมาก เมื่อครบ 7 วัน คือครบสัตตาหะ จึงต้องกลับถ้ำอินทร์โขง เพื่อประกอบพิธีออกพรรษาแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ประกอบกับมีอาการหัวใจเต้นไม่ปกติควบคู่กันด้วย เมื่อหมอแนะว่าไข้หนักและมีโรคแทรกซ้อนด้วย จึงควรไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ที่เชียงใหม่ หลวงปู่จึงได้ออกจากถ้ำอินทร์โขงมุ่งไปแวะพักที่สำนักสงฆ์นันทวนาราม อำเภอเถิน พักอยู่ 4-5 วัน ก็ออกเดินทางต่อไปพักอยู่ที่วัดเจริญธรรม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พักรักษาตัวอยู่ 4-5 เดือน อาการโรคหายเกือบปกติ

    ขึ้นปี 2494 คณะญาติโยมจากอำเภอเถิน จึงตามมานิมนต์ให้กลับไปอยู่จำพรรษา (พรรษาที่ 15) ที่วัดนันทวนาราม หรือวัดสันติสุขาราม ในปัจจุบัน ซึ่งหลวงปู่ท่านก็รับนิมนต์ ในพรรษาท่านได้บำเพ็ญเพียรอย่างเต็มที่ พอออกพรรษาในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่และเพื่อสหธรรมิกก็ได้ออกธุดงค์แสวงหาวิเวกเช่นเคย โดยวิเวกไปทางใต้ ผ่านบ้านนาเกลือ บ้านสันต้นขิง จนกระทั่งถึงอำเภอแม่พริก แล้วจึงกลับไปพักอยู่ที่วัดนันทวนารามตามเดิม

    พรรษาที่ 16-18 (พ.ศ.2495-2597) ขึ้นปี พ.ศ.2494 พระอาจารย์แส่ว (กุศล) กุสลจิตฺโต พร้อมด้วยญาติโยมจากอำเภอหล่มเก่า ไปนิมนต์หลวงปู่ถึงอำเภอเถิน เพื่อให้หลวงปู่ไปช่วยก่อสร้างสำนักสงฆ์ที่อำเภอหล่มเก่า เดือนกุมภาพันธ์ท่านจึงออกเดินทาง สถานที่ที่จะสร้างสำนักสงฆ์นั่นเป็นเนินเล็ก ๆ อยู่ทางทิศตะวันออกของหล่มเก่า ซึ่งก็มีพวกต่อต้านสร้างปัญหาไม่เว้นแต่ละวัน จนญาติโยมที่มาช่วยงานต่างก็ท้อแท้ไปตาม ๆ กัน ถึงกระนั้นก็ยังมานะพยายามสร้างจนแล้วเสร็จ จนสามารถทำให้สำนักสงฆ์นฤมลวัฒนาเกิดขึ้นที่หล่มเก่า เมื่อปี พ.ศ.2495 ในเนื้อที่ 18 ไร่

    เมื่อสำนักสงฆ์แห่งนี้เสร็จตามประสงค์แล้ว หลวงปู่ได้อยู่จำพรรษา ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลา 3 พรรษา ติดต่อกัน โดยมิได้ย้ายไปวิเวก ณ ที่แห่งใดเลย และดูเหมือนว่าหลวงปู่จะชอบสถานที่แห่งนี้เป็นพิเศษ จึงเป็นอันว่าหลวงปู่ได้มาสร้างมาพัฒนาวัดนฤมลพัฒนาเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2495-2497) ศาลาการเปรียญหลังเก่านั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2496 ส่วนศาลาอเนกประสงค์หลังใหม่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งสร้างพร้อมกับปโมทิตะเจดีย์ ที่หนองบัวลำภู ครั้นเมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. 2497 หลวงปู่ก็หวนคิดถึงถิ่นมาตุภูมิ หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับมาตุภูมิ โดยไปพักที่ป่าช้าศรีสว่าง (ป่าช้าบ้านขาม) ตำบลบ้านขาม อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี

    พรรษาที่ 19-24 (พ.ศ.2498-2503) ท่านพักอยู่ที่ป่าช้าศรีสว่างประมาณ 2-3 ปี (พรรษาที่ 19-20) ก็ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสหธรรมิกของท่านว่า ท่านพ่อลี ธมฺมโร ได้ไปสร้างวัดพัฒนาเสนาสนะอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อวัดอโศการาม หลวงปู่ท่านเคารพนับถือท่านพ่อลีเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ และเคยอยู่ร่วมปฏิบัติกับท่านพ่อลี ไม่ว่าจะเป็นที่ห้วยน้ำริน จังหวัดเชียงใหม่ วัดนฤมล หล่มเก่า และภูกระดึง และนอกจากจะทราบว่าท่านพ่อลีไปสร้างวัดอโศการาม ท่านยังทราบอีกว่าท่านจะจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ อย่างใหญ่โตมโหฬารในปี พ.ศ.2500 รับสมัครผู้บวชเณร 5,000 กว่าคน บวชพราหมโณ พราหมณี 5,000 คน หลวงปู่จึงตัดสินใจไปร่วมงานในครั้งนี้ด้วย เพราะคิดว่าคงมีพระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ไปร่วมในงานใหญ่โตมโหฬารเช่นนี้มากมาย เรียกว่าเป็นงานประวัติศาสตร์ซึ่งหาจัดและดูได้ยากยิ่ง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2500 นี้เอง หลวงปู่จึงได้อยู่จำพรรษากับท่านพ่อลีที่วัดอโศการาม ครั้นออกพรรษาแล้ว คณะญาติโยมจากอำเภอเถินก็ตามมานิมนต์หลวงปู่ถึงวัดอโศการาม เพื่อกลับไปอยู่ที่วัดนันทวนารามอีก ซึ่งหลวงปู่ก็รับนิมนต์ เป็นวันว่าปี พ.ศ. 2501 หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษาที่วัดนันทวนาราม อำเภอเถิน ให้การอบรมแก่ญาติโยมและพระเณร โดยเน้นหนักทางด้านการปฏิบัติ

    ต่อมา ในปี พ.ศ. 2502 หลวงปู่จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดนฤมลวัฒนา ได้พัฒนาและจัดสร้างเสนาสนะที่ค้างอยู่จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเป็นที่น่าพอ ใจ และพอจวนจะเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2503 หลวงปู่จึงเดินทางมาพักจำพรรษาที่วัดอโศการามอีกครั้งหนึ่ง

    พรรษาที่ 25-29 (พ.ศ.2504-2508) ครั้นในปี พ.ศ. 2504 และ 2505 หลวงปู่ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดนฤมลวัฒนา คราวนี้หลวงปู่ท่านเร่งพัฒนาทั้งทางวัตถุและบุคคล ที่ว่าวัตถุนั้นคือท่านพัฒนาเสนาสนะภายในวัดในส่วนที่ท่านยังทำค้างคาอยู่ และด้านบุคคลคือท่านอบรมสั่งสอนชาวบ้านโป่งตูม และหมู่บ้านใกล้เคียง เน้นการเจริญภาวนา อีกทั้งเรื่องไตรสิกขา ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับหลวงปู่มั่นทุกประการ จากนั้นหลวงปู่ท่านได้กลับไปวัดป่าศรีสว่าง จังหวัดอุดรธานี ในราวต้นปี พ.ศ.2506 เพื่อรวมงานฉลองศาลาการเปรียญ เมื่อเสร็จงานหลวงปู่จึงได้ชักชวนหลวงปู่อ่อนสี จุนฺโทวัดบ้านอูบมุง (วัดป่ารัตนมงคล) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ไปวิเวกปฏิบัติธรรมทางจังหวัดหนองคาย ได้ไปแวะพักที่วัดอรัญญวาสี ในเขตอำเภอท่าบ่อ ซึ่งวัดนี้ท่านหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น และครูบาอาจารย์ในสายกรรมฐานอีกหลายรูปเคยมาพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดนี้ จึงเป็นอันว่าหลวงปู่ท่านพำนักอยู่ที่วัดอรัญญวาสี ถึง 3 พรรษาติดต่อกัน คือ พ.ศ. 2506-2508 หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2508 แล้ว หลวงปู่ก็ได้ออกธุดงค์วิเวกในแถบอำเภอใกล้เคียง คือ อำเภอบ้านผือ อำเภอศรีเชียงใหม่ อยู่ประมาณ 2-4 เดือน แล้วจึงกลับมาพักอยู่ที่วัดอรัญญวาสี อีกระยะหนึ่ง

    พรรษาที่ 30-32 (พ.ศ. 2509-2511) ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2509 หลวงปู่ตัดสินใจจะเข้าอยู่กรุงเทพฯ โดยการชักชวนของเพื่อนพรหมจรรย์ ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมยากกันมา ในที่สุดหลวงปู่ก็ตัดสินใจเข้าอยู่จำพรรษาที่วัดธรรมมงคล พระโขนง กรุงเทพฯ กับเจ้าคุณวิริยังค์ ซึ่งในอดีต หลวงปู่เคยอยู่ด้วยที่วัดป่าบ้านโคกนามน ตำบลตองโขบ จังหวัดสกลนคร โดยขณะนั้นพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นประธานสงฆ์ ส่วนเจ้าอาวาสคือพระอาจารย์กงมา ส่วนวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เพิ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2506 หลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดนี้เมื่อปี พ.ศ.2509 และหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ.2511 แล้ว หลวงปู่จึงได้เดินทางไปประเทศอินเดีย ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2511 เพื่อไปสถานที่ต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ นับเป็นการเดินทางที่หลวงปู่ประทับใจมิรู้ลืมจนกระทั่งทุกวันนี้

    พรรษา ที่ 33-ปัจจุบัน (พ.ศ.2512-ปัจจุบัน) หลวงปู่อยู่ที่วัดธรรมมงคลเพียง 3 ปี (พ.ศ.2509-2511) พอปี พ.ศ.2512 ได้มีผู้ใจบุญถวายที่ดินจำนวน 6 ไร่ กับอีก 33 วา แก่พระเทพเจติยาจารย์ (ท่านเจ้าคุณวิริยังค์ สิรินฺธโร) หลวงพ่อวิริยังค์จึงให้หลวงปู่มาช่วยสร้างวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) ในที่ดังกล่าว และขอร้องให้มาอยู่ เดิมทีนั้นหลวงปู่ได้มาสร้างวัดสิริกมลาวาส ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2517 ท่านก็ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสามัญที่ “พระครูปราโมทย์ ธรรมธาดา” พร้อมกันนั้นท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสิริกมลาวาส โดยถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ อีกทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธียกช่อฟ้า และตัดหวายลูกนิมิตในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 เวลา 16.19 น.

    ต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ท่านก็ได้รับการพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระคร

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความและที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่มั่นหลวงปู่หลอด

    ให้บูชาองค์ละ 200 บาทค่าจัด
    ส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. นพพร 2553

    นพพร 2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    743
    ค่าพลัง:
    +1,230
    โอนเงิน

    โอนเงินเเล้วครับ รวมค่า EMS = 900 + 50 = 950 บาท วันที่ 8 เมษา 2555 เวลาประมาณ 12:50 จาก ธ ไทยพาณิฃย์ สาขาย่อย Tesco lotus จันทบุรี
    เเจ้งที่อยู่ทาง pm เเล้วครับ


     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    [​IMG]

    หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต นามเดิมคือ จันทร์ ไชยคุตร

    เกิดเมื่อ วันจันทร์ แรม 12 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง จุลศักราช 1266 ตรงกับวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2447 บ้านคูเมือง อ.มหาชนะชัย จ.อุบลราชธานี

    ท่านมีพี่ น้องรวม 7 คน ท่านเป็นคนที่ 6 ท่านบวชตั้งแต่เป็นเณร เมื่ออายุ 16 ปีที่วัดบูรพาราม อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2463 และท่านมาบวชาพระอีกครั้งเมื่อ วันที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ.2471 ได้รับฉายา**เขมปัตโต**ที่วัดบางขวาง จ.นนทบุรี

    ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้นักธรรมเอก ท่านเป็นครูสอนนักธรรม ยามว่างจากสอนท่านก็หมั่นฝึกกรรมฐานเป็นประจำ

    จาก นั้นพ.ศ. 2474 ท่านก็ได้พิจารณาดูแล้วว่า อันวัดบางขวางนั้น ถ้าจะอยู่ทำความเพียรต่อไป ย่อมหาความสงบยาก ประกอบกับในสมัยนั้นชื่อเสียงของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    และ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม โด่งดังมากเป็นที่รู้จัก ในวงกรรมฐานเป็นอย่างมากท่านก็กลับสู่ภาคอีสาน เดินทางไปพบพระอาจารย์สิงห์ที่โคราช เพื่อรับข้อธรรมและช่วยพระอาจารย์สิงห์

    และจากนั้นท่านก็เดินทางไปรับธรรมะปฏิบัติจากพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลังจากที่ได้รับอุบายธรรมจากพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านก็ออกวิเวก ธุดงค์ไปทั่ว อยู่ตามป่าเขาเพียงลำพังองค์เดียว

    เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว จนสุดท้ายท่านก็อยู่ที่วัดจันทาราม จ.หนองคาย

    ตัวอย่าง ข่าวดังสมัยก่อนว่า (มาจากหนังสือพระเครื่องสมัยปีหนึ่งกว่าๆ)

    คือ เมื่อเอยถึงหลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต แล้วน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักท่าน เหตุว่า ท่านเคยมีข่าวเกรียวกราวลงทางหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งสร้างความน่าทึ่งมหัศจรรย์ ให้แก่วงการแพทย์ของเมืองไทยมาแล้ว

    เรื่อง มีอยู่ว่าลูกชายของนายพลท่านจากฝั่งลาว เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เศษกระจกเข้าดวงตา รักษาหมอแผนปัจจุบันก็ไม่ดีขึ้น และในช่วงนั้นชื่อเสียงของหลวงปู่จันทร์และน้ำมนต์ท่านดังมาก

    จึงพา มาหาให้หลวงปู่จันทร์เมตตา รักษาให้ ท่านจึงเพ่งกระแสจิตรักษาให้ ก็ทันใดนั้นเศษกระจกละลายกลายเป็นน้ำตาไหลออกมา โดยไม่ต้องผ่าตัด ดวงตามองเห็นได้ตามปรกติ และบารมีท่านสมัยนั้นก็ไม่ธรรมดาครับ ต้องนิมนต์ท่านไปช่วยสร้างวัดสารนาท ที่จ.ระยองด้วยครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลและที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต ออกวัดสารนารถ ผสมมูลเหล็กไหล บางสายว่าหลวงปู่ทิม

    ร่วมปลุกเสกด้วย อันนี้ไม่แน่ใจ ไม่แน่ชัดครับแต่ลำพังหลวงปู่จันทร์พระอรหันต์สายระป่า

    หลวงปู่มั่นอธิฐาจิตแล้วไม่ธรรมดา เหรียญนี้สภาพผ่านการบูชา

    ให้บูชาองค์ละ 600 บาทค่าจัด
    ส่งEMS50บาทครับ


    [​IMG] [​IMG]
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงปู่บุญมา มุนิโก บ้านหนองตูม ขอนแก่น

    เชิญเข้าไปอ่านประวัติท่านได้ครับ
    http://school.obec.go.th/nongtoom-school/pic-puboonma/pic-puboonma%28prawat%29.htm]

    เหรียญบล็อคกษาปสวยเดิมๆ

    ให้บูชาองค์ละ 300 บาทค่าจัด
    ส่งEMS50บาทครับ
    (ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2012
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดผาใหญ่วชิรวงค์ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

    เชิญอ่านประวัติปฎิปทาที่ผู้ที่เคารพท่านบอกเล่าไว้ครับ


    www.udon108.com/board/index.php?topic=68623.0

    ขอขอบคุณข้อมูลอย่างสูงครับ

    เหรียญรุ่น 2 ของหลวงปู่สภาพสวยเดิมๆ

    ให้บูชาองค์ละ 300 บาทค่าจัด
    ส่ง
    EMS50บาทครับ(ปิดรายการ)


    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2012
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    [FONT=Tahoma,]<table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>'ครูบาสร้อย ขันติสาโร' หรือ 'พระครูนิมมานการโสภณ' วัดมงคลคีรีเขตร์ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมรูปหนึ่งภาคเหนือ

    เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28 ก.ย. 2472 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง พื้นที่เขตตำบลละหานทราย อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

    เมื่อ อายุได้ 7 ขวบ โยมมารดาของท่านได้ถึงแก่กรรม ท่านได้มาอยู่ในความดูแลของคุณยาย ซึ่งคุณยายของท่านชอบเข้าวัดฟังธรรมตามวิถีชีวิตชนบท และมักพาท่านไปด้วยเสมอ ทำ ให้ท่านได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอด

    เมื่อเรียนจบชั้นประถม 4 เด็กชายสร้อยจึงได้ขออนุญาตคุณยายบรรพชาที่วัดชุมพร มีหลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์

    หลัง จากนั้น ได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อ มั่น ฝึกบริกรรมด้วยการนับลูกประคำเป็นการฝึกสมาธิ เรียนวิทยาคมต่างๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติสมาธิด้วย

    อยู่กับหลวงพ่อมั่น จวบจนอายุ 22 ปี จึงได้อุปสมบท มี หลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และหลวงพ่อสุต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ขันติสาโร

    หลังจากบวช หลวงพ่อสุขได้กล่าวชวนไป อยู่ด้วย ซึ่งส่วนตัวมีความเลื่อมใสศรัทธาและประสงค์ขอเรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อสุข

    ใน ช่วงต้นหลวงพ่อสุขได้เน้นหนักในเรื่องการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ในพรรษาถัดมา หลวงพ่อมั่น ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านได้มรณภาพลง ท่านจึงได้กลับไปจัดงานถวายหลวงพ่อมั่น เสร็จสิ้นแล้วจึงกลับมายังวัดหลวงพ่อสุขดังเดิม

    หลวงพ่อสุข ได้เริ่มสอนวิชาต่างๆ แก่ท่าน วิชาที่สำคัญ คือ การตรวจดูบุญวาสนา เพื่อช่วยในการรักษาโรคภัยต่างๆ

    พ.ศ.2497 ครูบาสร้อยได้ขอลาหลวงปู่สุขเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยจุดหมายคือ วัดมหาธาตุฯ ด้วยขณะนั้นขึ้นชื่อในเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านได้อยู่ศึกษาเป็นเวลา 7 เดือน จึงลาพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) ผู้สอนท่านกลับคืนยังบุรีรัมย์ เมื่อญาติโยมได้รู้ข่าวการกลับมาของท่าน จึงได้ต้อนรับและนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่วัดกลางนา

    แต่หลังจากออกพรรษา ท่านได้ตัดสินใจออกธุดงค์ ถือรุกขมูลลัดเลาะไปตามจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ต่อไปยังอุบลราชธานี จนยาวไปถึงนครพนม ข้ามไปยังฝั่งลาวแล้วข้ามกลับมายังมุกดาหาร ต่อเรื่อยไปจนเข้าสู่เทือกเขาภูพาน เขตสกลนคร เรื่อยไปจนเข้าหล่มสักเข้าพิษณุโลก ซึ่งช่วงนี้ท่านหลงป่าอยู่ จนทะลุออกมายังอุตรดิตถ์

    จากการหลงป่าครั้งนี้ ท่านจึงเปลี่ยนมาเดินโดยใช้เส้นทางรถไฟช่วย ล่วงได้ 7 วัน ท่านก็ถึงดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ได้มีโอกาสพบ 'หลวงปู่แหวน สุจิณโณ' พระสายปฏิบัติชื่อดัง และได้ขอศึกษาข้อธรรมต่างๆ

    หลวงปู่แหวนท่าน เน้นไปทางอสุภกัมมัฏ ฐาน ซึ่งช่วงนี้ท่านได้พบกับข้อธรรมที่ลึกซึ้งมาก ขึ้น จากนั้นท่านได้กราบลาหลวงปู่แหวน ออกธุดงค์ถือรุกขมูลไปจนถึงแม่สะเรียง พักที่วัดศรี บุญเรือง

    ท่าน ตั้งใจจะไปที่แม่ฮ่องสอน แต่ด้วยติดกาลพรรษา จึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดศรีบุญเรือง จนล่วงกาลพรรษา ท่านจะออกเดินทางต่อ พอดีได้ทราบจากญาติโยมว่าที่ท่าสองยางมีวัดร้างอยู่

    ท่านได้ไปดูสถานที่แห่งนั้น พบว่าเงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงได้ตกลงใจสร้างวัดมงคลคีรีเขตร์

    ครู บาสร้อยได้พัฒนาวัดมงคลคีรีเขตร์ จนเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักของญาติโยมและคณะศรัทธา จนท่านได้รับการขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งท่าสองยาง

    วัตถุมงคลของครูบา สร้อยมีจัดสร้างขึ้นมาก มายทั้งพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะประเภทเหรียญ ที่ได้รับความนิยมจากบรรดาเซียนพระและนักสะสมพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง คือ เหรียญครูบาสร้อย รุ่นสุริยุปราคา ปี 2538

    เหรียญครูบาสร้อย เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย

    นอก จากนี้ ชาวบ้านในแถบพื้นที่ใกล้เคียง ที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการท่าน จะรู้ดีว่าท่านเป็นพระภิกษุที่มากด้วยเมตตา นอกจากให้เข้าพบโดยง่ายแล้ว ยังชอบแจกวัตถุมงคล กระบอก ยาอันศักดิ์สิทธิ์ ภายในมีของดีบรรจุอยู่คือ สีผึ้ง ชานหมาก เกศา ว่าน พระสีวลีองค์จิ๋ว ชาวกะเหรี่ยง พม่า และชนเผ่าต่างๆ นับถือและชื่นชอบกันมาก

    กระบอกยา ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวัตถุมงคลอีกชนิดหนึ่ง ที่สร้างชื่อเสียงให้กับครูบาสร้อยเป็นอย่างมาก ท่านจะนำหลอดยานี้แจกให้กับลูกศิษย์อยู่เสมอ มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม

    ครูบาสร้อยได้ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2541 สิริอายุ 69 พรรษา 49
    [/FONT]


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลและที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสดอย่างสูงครับ

    เหรียญรุ่น2 ครูบาสร้อย จ.ตาก รุ่นประสบการณ์ครับในพื้นที่ ตอนนี้วัตถุมงคลของท่านกำลัง

    เป็นที่แสวงหาครับ

    ให้บูชา 2200 บาท

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2012
  16. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    5,129
    ค่าพลัง:
    +5,418
    ขอจองครับ:cool:
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เหรียญหลวงพ่อแพ โรงเรียนจ่าอากาศสร้างปี๒๕๑๔

    สร้า้งมา 40 ปีแล้วครับ ตอกโค๊ดกันการปลอมแปลง

    ให้บูชาองค์ละ 250 บาทค่าจัด
    ส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงปู่ธรรมรังษี เชิญเข้าไปอ่านประวัติตามนี้ได้เลยครับ

    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B8%B5-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99.138254/

    เหรียญหลวงปู่ธรรมรังษี รุ่นมหาโชค ปี๒๕๔๐

    ให้บูชาองค์ละ 400 บาทค่าจัด
    ส่ง
    EMS50บาทครับ(ปิดรายการ)


    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2012
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,149
    ค่าพลัง:
    +21,318
    [​IMG]


    หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ที่ชาวจังหวัดเลย รวมทั้งชาวภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลางให้ความเคารพนับถือมาก

    ด้วยความเป็นพระนักปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น ภูริทตโต อีกด้วย

    อัตโนประวัติหลวงปู่คำดี เกิดในสกุล นิลเขียว เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2445 ที่บ้านหนองคู ต.หว้า อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-มารดาชื่อ นายพร และนางหมอก นิลเขียว

    ในช่วงวัยเยาว์ ด.ช.คำดีไม่ได้เรียนหนังสือ เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีโรงเรียน จนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ อายุครบ 22 ปี จึงได้ขอบุพการีออกบวช

    ตอนแรก ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายมหานิกาย ที่วัดหนองแหวง เมืองเก่า ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์โพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ ชสนุหลิด เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ต่อมา เจ้าอาวาสวัดหนองแวงได้ลาสิกขาบท หลวงปู่คำดีจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแทน
    <table style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" align="right" border="1" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#ffe9ff"><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table>

    ในระหว่างที่ออกบวชนั้น ท่านพิจารณาเห็นว่า การบวชตามประเพณีคงไม่ใช่แนวทางพ้นทุกข์ จึงมีดำริออกไปธุดงควัตร ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้รู้แจ้งเห็นจริง

    หลังจากออกธุดงค์แล้วหลวงปู่ดำดี ปภาโส ได้แปรญัตติจากมหานิกายมาเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต ในปีพ.ศ.2471 และย้ายไปจำพรรษาที่วัดโคกศรี บ้านยาง อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    หลวงปู่คำดีได้มีโอกาสพบกับ 2 พระอาจารย์ ที่ธุดงค์ผ่านมาที่วัด เป็นพระวิปัสสนากัมมัฏฐานคือ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล

    ในช่วงนั้นมีพระอาจารย์มาอยู่จำพรรษาด้วยหลายรูป อาทิ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์จันทร์ เขมปัตตโต ทำให้หลวงปู่คำดีได้รับการอบรมในเรื่องวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างดี

    จากนั้น หลวงปู่คำดีได้ออกท่องธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ และในช่วงที่หลวงปู่ออกธุดงค์ได้พบกับเรื่องต่างๆ มากมาย ในขณะที่ปฏิบัติธรรมอยู่ตามป่าเขามาโดยตลอด ก่อนที่ท่านจะมาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ประมาณปีพ.ศ.2497

    ตอนนั้น หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดคีรีวันคำหวายยาง ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น มีพระอดิสัยคุณาทาน หรือหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ หรือพระธรรมวราลังการ เจ้าอาวาสวัดเลยหลง จ.เลย เดินทางไปตรวจปัญหาธรรมที่จังหวัดนครราชสีมาและมาแวะพักกับหลวงปู่คำดี

    หลวงปู่คำดีถามว่า สถานที่วิเวกที่จังหวัดเลยมีที่ไหนบ้าง พอจะเป็นที่วิเวกประกอบความเพียรได้สะดวกบ้าง หลวงปู่ศรีจันทร์ฯ บอกว่ามีหลายแห่ง เป็นถ้ำที่สำคัญทั้งนั้น ตอนนั้นไม่ค่อยมีพระอยู่ ไปๆ มาๆ เนื่องจากอยู่ในที่กันดาร น้ำอาหารการกินลำบากมาก มีถ้ำมโหฬาร อ.วังสะพุง ปัจจุบันอยู่ในกิ่ง อ.หนองหิน ถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง, ถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ อ.เมืองเลย

    ต่อมา หลวงปู่คำดี ปภาโส ได้พาลูกศิษย์เดินทางมาจังหวัดเลยเพื่อเสาะแสวงหาความวิเวก และแวะตามถ้ำต่างๆ แต่ไม่ถูกใจ จนมาถึงวัดเลยหลง หลวงปู่ศรีจันทร์จึงให้ไปจำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่ มีพระพุทธรูปอยู่ในถ้ำ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง

    และหลวงปู่คำดีพอใจมาก เพราะเป็นสถานที่สงบ เหมาะสำหรับการบำเพ็ญเพียรภาวนา ท่านจึงจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่มาโดยตลอด และพัฒนาวัดจนเจริญในทุกวันนี้

    ปัจจุบัน หลวงปู่คำดีได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2527 สิริรวมอายุ 83 ปี

    แม้หลวงปู่คำดีมรณภาพไปนานแล้ว แต่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างพากันไปกราบไว้บูชาที่พิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่ ซึ่งมีการรวมรวมเรื่องราวความเป็นมา ประวัติและคำสั่งสอนของหลวงปู่คำดี ในหนังสือเอาไว้เป็นจำนวนมาก


    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่คำดี ปภาโส ศิษย์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น

    เหรียญสภาพผ่านการบูชา วััตถุมงคลพระอรหันต์อธิฐานจิตไม่ต้องบรรยาย

    ให้บูชาองค์ละ 1300 บาทค่าจัด
    ส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  20. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,545
    ค่าพลัง:
    +406
    จองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...