บทเรียนเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและสร้างสรรค์สังคมไทย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 27 มีนาคม 2012.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    <CENTER>ฟังเพลง บรรลุธรรม

    </CENTER>


    เอนทรี่ก่อนได้พูดถึงแนวทางของการบรรลุธรรมไว้ ๓ แนวทางตามแนวที่ปรากฏในคัมภีร์ คือ

    ๑.บรรลุธรรมเพราะได้ฟัง

    ๒.บรรลุธรรมเพราะได้คิด

    ๓.บรรลุธรรมเพราะได้ปฏิบัติ

    ตัดข้อ ๒ และข้อ ๓ ออกก่อน คงกล่าวเฉพาะประเด็นแรกก่อน เพื่อไม่ให้เนื้อความยาวเกินไป

    คราวก่อนได้ยกตัวอย่างพระอัครสาวกทั้ง ๒ ว่า ได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันเพราะการฟัง

    เป็นที่น่าสังเกตว่า เฉพาะการฟังอย่างเดียวสามารถส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมถึงขั้นอรหัตผลนั้น มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย เอาที่เราคุ้นเคยมากที่สุดก็เห็นจะเป็นปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้บรรลุอรหัตต์เพราะฟังธรรมเทศนาชื่ออนัตตลักขณสูตรจากพระพุทธเจ้า

    การบรรลุธรรมที่เกิดขึ้นจากการฟังนี้ หากจะพิจารณากรณีตัวอย่างโดยละเอียดจะเห็นว่า จะบรรลุธรรมขั้นใดขึ้นอยู่กับพื้นเพอุปนิสัยเดิมของผู้นั้นเป็นสำคัญ บางท่านฟังแล้วบรรลุขั้นโสดาบัน บางท่านได้สกทาคามี อนาคามี หรือบางท่านก็ก้าวกระโดดบรรลุขั้นพระอรหันต์เลยก็มี

    การได้ฟังธรรม แล้วได้บรรลุธรรมในระดับต่าง ๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก

    ในอรรถกถามังคลัตถทีปนีจึงกล่าวไว้ว่า “การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์”

    ที่น่าอัศจรรย์คือ แม้แต่เสียงเพลง เสียงขับร้อง ถ้าผู้ฟังรู้จักพิจารณา ไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน

    ตัวอย่างในพระคัมภีร์มีให้เห็นมากมาย เช่น

    อุตตรมาณพ เดินทางไปประกวดร้องเพลงชิงรางวัล ระหว่างทางก็พบพระพุทธเจ้า ๆ จึงเรียกไปสอบถาม ทราบความแล้วก็ทรงถามว่า เพลงที่จะร้องเนื้อหาเป็นอย่างไร อุตตรมาณพจึงร้องเพลงให้พระพุทธเจ้าฟัง แต่พอฟังจบ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เพลงขับแบบนี้ ไม่ถูก ร้องไปไม่มีทางชนะแน่นอน

    คัมภีร์ธรรมบทได้พรรณนาไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้แต่งเพลงขับให้อุตตรมาณพใหม่ พร้อมกับให้ท่องจำให้แม่น

    เนื้อหาเพลงที่เป็นโจกย์ให้ผู้ท้าชิงร้องแก้ท่านผูกเป็นปัฏฐยาวัตรฉันท์ แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายอย่างนี้

    “เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา

    เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร

    แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าปราศจากธุลี

    แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าเป็นคนพาล

    เพลงตอบโจทย์ที่พระพุทธเจ้าแต่งให้อุตตรมาณพว่าดังนี้

    “ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา

    พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร

    ผู้ไม่กำหนัด ชื่อว่าปราศจากธุลี

    ผู้กำหนัดอยู่เรียกว่าเป็นคนพาล

    บทเพลง ๔ บรรทัดแค่นี้ ส่งผลให้อุตตรมาณพบรรลุโสดาบันทันที

    ว่ากันว่า หลังจากเรียนเพลงขับจากพระพุทธเจ้าจนคล่องปากแล้ว อุตตรมาณพก็ออกเดินทางไปท้าประลอง และในที่สุดก็ประสบชัยชนะ

    คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา ท่านเดินทางผ่านสระปทุม เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่งเก็บดอกบัวอยู่ นางคงจะมีอารมณ์สุนทรีย์ ขณะที่เก็บดอกบัวก็ร้องเพลงไปด้วย เนื้อเพลงผูกเป็นฉันทลักษณ์เช่นกัน แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า

    “ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่

    ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้งไปฉันใด

    สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์

    ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น

    บทเพลงความยาวเพียงแค่ ๔ บรรทัดเท่านี้ ทำให้พระติสสะเถระถึงกับรรลุพระอรหันต์ทันที

    ถัดจากเรื่องนี้ไปนิดหน่อย ในคัมภีร์เดียวกันนี้ ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่ง พร้อมด้วยบุตรชาย ๗ คนกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่งกำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงเพลงไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลงฟังแล้วชวนให้พิจารณา

    “สรีระนี้อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว

    สรีระนี้ถึงความเป็นอามิส คือเหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ

    สรีระนี้เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ

    สรีระนี้เป็นภาชนะของไม่สะอาด

    สรีระนี้เสมอด้วยท่อนไม้

    สิ้นสุดเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง ๗ คน บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที

    ที่สุดของเรื่องนี้ ท่านสรุปเป็นประเด็นทิ้งไว้อย่างนี้ว่า “แม้เทวาดาและมนุษย์เหล่าอื่น บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้”

    ทำให้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างหนึ่งว่า เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วยเนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน

    หากจะมีคำถามว่า แล้วเนื้อเพลงแบบไหนเข้าข่ายดังกล่าวข้างต้น

    ในคัมภีร์ท่านไม่ได้พรรณนารายละเอียด ท่านเพียงแต่ให้แนวกว้าง ๆ ไว้สำหรับพิจารณาดังนี้

    “เพลงขับที่ประกอบด้วยธรรมควร”

    “เมื่อบุคคลฟังเสียงแม้มีอักขระอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตรใด ราคะเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น เสียงเห็นปานนั้นบุคคลไม่ควรฟัง แต่เมื่อบุคคลฟังเสียงที่อาศัยธรรม แม้เพลงขับของนางกุมภทาสี ความเลื่อมใสย่อมเกิดขึ้นได้ หรือความเบื่อหน่ายย่อมปรากฏ เสียงเห็นปานนั้นควร”

    จากตัวอย่างเบื้องต้นนี้ ทำให้มองเห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าสัจธรรมนั้น แฝงตัวอยู่ในธรรมชาติรอบกายเรา ขอเพียงรู้จักไตร่ตรอง พินิจ และพิจารณาเราก็จะสามารถมองเห็นได้ แม้จะไม่มีใครแสดงให้เราฟังก็ตาม

    ตรงกันข้าม หากเราไม่รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ต่อให้พระพุทธเจ้ามายืนต่อหน้าเรา ก็ทรงช่วยอะไรเราไม่ได้

    เพราะทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า “เราตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอกแนวทางเท่านั้น”

    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=370333
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2012
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    [​IMG]

    ภาพจากเว็บ http://www.4x4.in.th/webboardpic/00034.html

    ค้างคาวฟังธรรม

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ตอนนี้ก็ขอพบกับบรรดาท่านพุทธบริษัทในเรื่องการปฏิบัติธรรมง่าย ๆ เป็นกฎของกรรมเดิม แล้วก็เข้าถึงซึ่งพระนิพพานอีก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความง่ายในการปฏิบัติในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคมีอยู่ สมเด็จพระบรมครูสอนไว้

    แต่ทว่า สำหรับที่ท่านทั้งหลายเห็นว่า การปฏิบัติในศาสนาขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเข้าถึงพระนิพพานเป็นของยาก

    อาตมาเองก็มีความสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมหนอ สาวกขององค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ชอบสอนแบบนั้น จะไปโทษสาวกขององค์สมเด็จพระทรงธรรมทุก ๆ องค์ก็ไม่ได้ เราต้องเรียกว่า คณาจารย์ทั้งหลายตั้งเหตุผลกันขึ้นมา หาเหตุยาก ๆ มาสอนบอกว่า พระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนนั้น ต้องปฏิบัติกันให้ตึงเครียดกันแบบนี้มันจึงจะดี

    นี่สิบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย การเรียนปฏิบัติแบบนี้อาตมาไม่อยากจะพูดว่าเป็นการทำลายความดีของพระพุทธเจ้า จะขอพูดเสียใหม่ว่า ท่านทั้งหลายมีความเข้าใจผิด คิดว่าสอนให้ลูกศิษย์ปฏิบัติในแบบฉบับที่ยาก ๆ มันเป็นของขลังดี ความรู้สึกอย่างนี้เป็นเหตุให้เสียผล ที่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้ปรารถนาในความดี แต่ความจริงถ้าสาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่บรรลุมรรคผลแล้ว สอนตามแบบฉบับที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอน ก็รู้สึกว่าเป็นของไม่ยาก

    ถ้าจะว่ากันไปอีกที สำหรับท่านทั้งหลายที่เป็นพระอรหัตผล สอนคนไม่ยากจริง ๆ ทั้งนี้เพราะว่า ท่านทั้งหลายเหล่านั้นท่านได้บรรลุแล้ว ย่อมทราบดีกว่า พระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วที่ท่านได้บรรลุมาแล้ว สิ่งใดบ้างที่พอสมควรกับกำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท เหมือนกับการเดินทาง ถ้าเรารู้จักทางลัดแต่ว่าไม่เสียผลประโยชน์ เราเดินทางลัดจะถึงไวกว่า ดีกว่าปล่อยให้บุคคลผู้ไม่รู้จักทาง เดินบุกเข้าป่าเข้ารก ไปพบหนามบ้าง พบสัตว์ร้ายบ้าง ในที่สุดเขาเหล่านั้นก็จะคลายความพยายาม เห็นว่าคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายากเกินไป เลยหมดกำลังใจที่จะพึงปฏิบัติ

    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท บรรดาคณาจารย์ทั้งหลายที่สอนกัน หรือเขียนตำราขึ้นมา นิยมเขียนให้มันยาก แต่ความจริงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เวลาสอนคน องค์สมเด็จพระทศพลไม่ได้สอนยาก หาวิธีที่บุคคลผู้รับฟังจะเข้าใจได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะง่ายได้

    เรามาฟังเรื่องราวขององค์สมเด็จพระจอมไตร ฟังกันไปจะเห็นว่าองค์สมเด็จพระบรมครูสอนแบบง่าย ๆ ตอนนี้ก็จะนำเอาสัตว์เดรัจฉานเข้านิพพานมาให้ฟังอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งความจริงก็เป็นพวกเดียวกับงูเหลือม ฟังธรรมพร้อมกัน

    สำหรับการฟังธรรมของสัตว์เดรัจฉานกลุ่มนี้ ก็ฟังเช่นเดียวกับงูเหลือม ชอบใจเฉพาะในเสียงธรรม เขาไม่ได้รู้เรื่องว่าผู้ที่ไปกล่าวนั้นเป็นพระ เขาไม่รู้จักคำว่าพระ และเขาเองก็ไม่รู้จักภาษามนุษย์ เสียงที่กล่าวไปจะหาว่าเขารู้จักว่าเป็นธรรมก็เปล่า เพียงแค่พอใจในเสียงเท่านั้น เมื่อตายจากความเป็นสัตว์ไปเกิดเป็นเทวดา พ้นจากเทวดาเป็นลูกของชาวประมงเป็นคน จากลูกชาวประมง บวชเป็นพระในสำนักของพระสารีบุตร ฟังธรรมนั้นซ้ำอีกครั้งเดียวเป็นพระอรหัตผล เรียกว่าเร็วกว่างูเหลือม

    งูเหลือมต้องมาเกิดเป็นคน มาบวชเป็นอเจลกแล้วก็ได้ทิพจักขุญาณ กว่าจะเข้าถึงพระศาสนาขององค์สมเด็จพระพิชิตมารต้องใช้เวลาตั้งหลายสิบปี คือตอนบวชเป็นพระได้ทิพจักขุญาณ แล้วพระเจ้าอโศกมหาราชยังเป็นเด็ก ต่อมาเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชครองราชสมบัติแทนพระราชบิดา ก็แสดงว่าอย่างน้อยพระองค์ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี หลวงตาองค์นี้ก็คงจะปาเข้าไปถึง 60 – 70 ปี เข้าไปแล้ว เสียเวลามาก สำหรับกลุ่มหลังนี้ไม่เสียเวลามาก

    เรื่องนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเคยฟังพระเทศน์มามาก แต่อาจจะไม่ได้สนใจ ท่านพวกนี้คือใคร ท่านพวกนี้คือ ค้างคาว 500 ตัว ที่ไปนอนห้อยหัวอยู่ในถ้ำเดียวกับงูเหลือม ขณะนั้น พระสงฆ์ทั้งหลายพากันไปซ้อมพระอภิธรรม

    การซ้อมแบบนั้นเป็นการซ้อมให้คล่อง ไม่ใช่ว่าจะซ้อมอภิธรรมให้เกิดความชำนาญแล้วนำไปสวดศพเพื่อหวังจะได้ปัจจัยมาหล่อเลี้ยงชีวิต พระสมัยนั้นท่านไม่ได้คิดแบบนั้น ท่านคิดอย่างเดียวว่า ทำอย่างไรหนอเราจะเป็นอรหันต์เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ นี่เป็นอารมณ์ใจส่วนใหญ่ และมีปริมาณสูงสุด ในขณะที่พระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่

    เมื่อพระทั้งหลายเหล่านั้นเรียนอภิธรรม จากสำนักของสมเด็จพระบรมครูแล้ว จึงได้นำเอาพระอภิธรรมที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอน ไปสาธยายให้ขึ้นใจ เพื่อจะได้จำข้อธรรมไว้ประพฤติปฏิบัติ

    ฉะนั้น ในขณะที่ท่านทั้งหลายเข้าไปซ้อมอภิธรรมในถ้ำหลังนั้น คือในถ้ำเดียวกันกับที่งูเหลือมนอนอยู่ แต่ว่าค้างคาวพวกนี้ไม่ได้ชอบธรรมะขององค์สมเด็จพระบรมครู หรือชอบเสียงอภิธรรมแต่เฉพาะบทอายตนะ ท่านชอบฟังเสียงทั้งหมด แต่ไม่รู้ว่าเสียงนั้นว่าอย่างไร พระทั้งหลายไปซ้อมกันก็ซ้อมแบบเสียงพร้อม ๆ กัน ทำเสียงให้สม่ำเสมอกันเพื่อความคล่องและความมีระเบียบ ค้างคาวทั้งหมดชอบใจเสียงทั้หมด เพราะว่าฟังเรียบ ๆ เสนาะดี จะรู้ว่าเสียงนี้เป็นเสียงธรรมก็หาไม่ ฟังมาฟังไป ฟังไปฟังมา เผลอหลับ เท้าก็หลุดหล่นลงมา ศีรษะกระทบหินตายหมดทั้ง 500 ตัว

    เมื่อตายแล้วเพราะฟังเสียงในธรรม พอใจในธรรม ก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกทั้งหมด มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้า 500 เป็นบริวาร

    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ฟังพระสูตรคือบุคคลตัวอย่าง ก็ดูตัวอย่างค้างคาว บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มีเครื่องบันทึกเสียง เมื่อฟังธรรมจากเสียง ถ้าบังเอิญเสียงในธรรมบทใดบทหนึ่งก็ตาม อันเป็นที่พอใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท พยายามฟังบทนั้นไว้ให้ขึ้นใจ เราจะจำได้หรือไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าทำจิตใจให้รัดรึงผูกติดเข้าไว้กับธรรมบทนั้น หมายความว่าขณะจะตาย ถ้าเปิดธรรมบทนั้นฟังก็ดี หรือไม่เปิดฟังธรรมบทนั้น แต่ทว่าจิตใจจับอยู่ในธรรมบทนั้น

    เป็นอันว่าจิตใจของท่านจับอยู่ในธรรม ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จิตฺเต ปาริสุทฺเธ สุคติ ปาฏิกงฺขา เพราะว่าในขณะใดที่จิตใจเราพอใจในธรรม ขณะนั้นจิตก็ว่างจากกิเลส ถ้าเป็นอย่างนั้น ท่านเองก็จะได้ผลดีเช่นเดียวกับค้างคาวทั้ง 500 ตัว หรือว่าเช่นเดียวกับงูเหลือม

    ตอนนี้มาคุยกันถึงเรื่องค้างคาวต่อไป เป็นอันว่าท่านทั้งหลายทราบแล้วว่า วิธีไปสวรรค์แบบง่าย ๆ ด้วยการพอใจในการฟังธรรม พอใจบทไหนมาก ฟังซ้ำอยู่แค่นั้น เราไปสวรรค์ได้เอาไว้ตอนหนึ่งก่อน อันดับแรก เรายึดสวรรค์ไว้เป็นทุนก่อน

    ต่อมา ค้างคาวพวกนั้น ที่ฟังธรรมในศาสนาขององค์สมเด็จพระชินวรไม่รู้เรื่อง แต่ว่าพอใจในเสียง เมื่อศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น คือพระพุทธเจ้าทรงมาอุบัติในโลก เป็นพระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนา ปรากฎว่าเทวดาค้างคาวทั้ง 500 ก็จุติจากเทวดา (คำว่าจุติ แปลว่า เคลื่อน ไม่ได้หมายความว่า ตาย) มาเกิดเป็นลูกชาวประมงในเขตของพระพุทธศาสนา ชาวประมงพวกนี้มีความเลื่อมใสในพระสารีบุตรมาก

    ต่อมาค้างคาวทั้ง 500 ที่มาเปิดเป็นลูกชาวประมง ขอได้โปรดทราบ ไม่ได้เกิดพ่อเดียวแม่เดียวกัน ถ้าเกิดพ่อเดียวแม่เดียวกันทั้ง 500 อย่างนี้ เขาเรียกว่าครอก ไม่ใช่ เหล่าคนมาเกิดในคณะนั้นร่วมกัน ร่วมคณะ ไม่ใช่ร่วมพ่อร่วมแม่คนเดียวกัน พ่อแม่คนหนึ่งอาจจะมีลูกห้าคน สามคน สี่คน แบ่งกันเกิด ไม่ใช่ไปรวมไปเกิดท้องเดียวคราวละ 500 คน เห็นจะแย่

    เมื่อเกิดมาแล้ว ต่อมาโตขึ้นก็มีความพอใจในพระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอบวชในสำนักของพระสารีบุตร เมื่อบวชแล้วก็อยู่ในสำนักของพระสารีบุตร

    ในกาลนั้น ปรากฎว่าเป็นเวลาที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา คือนำเอาอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์นี้ไปสอนพระพุทธมารดา พร้อมไปด้วยเทวดาและพรหมทั้งหมด

    ในวันหนึ่ง องค์สมเด็จพระบรมสุคต เวลาเช้าลงมาบินฑบาต ความจริงเมื่อถึงเวลาเช้าทุกวันร่างกายต้องการอาหาร เพราะว่าการที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นไปเทศน์โปรดพระพุทธมารดา พระองค์ไปด้วยอภิญญาสมาบัติ ยกกายไปทั้งกาย ไม่ใช่ว่าถอดจิตขึ้นไปอย่างที่พระได้มโนมยิทธิ

    การขึ้นไปของพระต่างกัน บางท่านที่ได้เฉพาะมโนมยิทธิก็เอาไปแต่นามกาย คือกายภายในที่เราเรียกกันว่า จิต จิตในที่นี้จะไปหมายความว่ามันเป็นดวง ๆ ก็ไม่ถูก ความจริงแล้วมันเป็นกายอีกกายหนึ่งที่เราเรียกว่า อทิสมานกาย มีหัว มีเท้า มีขา มีร่างกายเหมือนกัน

    แต่ว่ากายนี้จะสวยหรือไม่สวยปานใด ต้องวัดกันถึงด้านกุศลผลบุญที่เราทำไว้ ถ้าเราทำบาป กายนี้ก็จะเสื่อมโทรมมองดูไม่สวย ถ้าเรามีบุญร่างกายก็สวย ถ้าบุญมากเท่าไรกายนี้ยิ่งสวยมากเท่านั้น ถ้ากายของพระที่ประกอบไปด้วยนิพพาน จะเป็นแก้วประกายพรึกทั้งดวง มีแสงสว่าง กายประเภทนี้เราจะทราบได้เมื่อเราได้เจโตปริยญาณ เพราะอาศัยที่เรามีความเคารพในศาสนา ขององค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ ความรู้อันนี้ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ได้มาแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้สอนพวกเราเหล่าพุทธบริษัท ถ้าเราปฏิบัติตามเราก็ได้เช่นเดียวกัน

    มาพูดกันต่อไปว่า เมื่อถึงเวลาบิณฑบาต องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ทรงใช้ปาฏิหาริย์เนรมิตรูปพระขึ้นองค์หนึ่ง เหมือนกับพระองค์ ให้เทศน์ต่อ พระองค์ก็ลงมาบิณฑบาตยังเมืองมนุษย์

    ในวันหนึ่ง พระองค์เห็นพระสารีบุตรที่ขอบสระโบกขรณี องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสเรียกพระสารีบุตรว่า สารีปุตฺต ดูก่อนสารีบุตร เธอจงมาหาตถาคตในเวลากลับจากบิณฑบาตแล้ว พระสารีบุตรกำลังจะกลับวัด องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์จึงมาดักพระสารีบุตรอยู่ เพราะว่าองค์สมเด็จพระบรมครูทรงทราบว่า พระที่เป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตรทั้ง 500 รูป เดิมทีเดียวเคยฟังอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ ถ้าเขาฟังซ้ำอีกที เขาจะได้บรรลุมรรคผล

    เมื่อองค์สมเด็จพระทศพลทรงทราบอย่างนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้ไปดักพระสารีบุตรที่ขอบสระโบกขรณี เมื่อพระสารีบุตรพบองค์สมเด็จพระชินสีห์ เข้ามากราบถวายบังคมแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สารีปุตฺต ดูก่อนสารีบุตร เธอจงเรียนปกรณ์ 7 ประการนี้ไป คำว่า ปกรณ์ หมายความถึง หัวข้อธรรมที่บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายนำมาสวดผีตาย คือคนตายในเวลานี้

    แล้วองค์สมเด็จพระชินสีห์ก็มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สารีบุตร ลูกศิษย์ของเธอทั้ง 500 รูป ที่บวชอยู่ในสำนักของเธอ เดิมทีเขาเป็นค้างคาว 500 ตัว เคยฟังปกรณ์ 7 ประการนี้มาแล้ว และก็หล่นลงมาตายพร้อมกัน ไปเกิดเป็นเทวดาทั้ง 500 ท่าน เมื่อหมดบุญจากเทวดา ก็จุติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นลูกชาวประมง เวลานี้บวชในสำนักของเธอ ถ้าเขาฟังปกรณ์ 7 ประการนี้จบด้วยความเคารพ ท่านทั้งหมดนั้นจะเป็นอรหันต์ทั้งหมดทันที

    เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแนะนำพระสารีบุตรแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็บอกกับพระสารีบุตร ให้เรียนปกรณ์ทั้ง 7 ประการ คืออภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวธรรมแต่เพียงโดยย่อ พอได้ความตามที่พระนำมาสวดเวลาคนตายในเวลานี้

    เมื่อจบแล้ว องค์สมเด็จพระชินสีห์ก็แยกจากพระสารีบุตรขึ้นไปสู่สวรรค์
    เทวโลกชั้นดาวดึงส์ เสด็จประทับที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์เทศน์ต่อ พระที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงเนรมิตไว้ ทั้งนี้ พรหมและเทวดาทั้งหมดจะทราบก็หาไม่ เพราะเป็นอำนาจพระพุทธปาฏิหาริย์

    สำหรับพระสารีบุตรนั้น เมื่อได้สดับปกรณ์ทั้ง 7 ประการ จากองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดามาแล้ว กลับมาก็ปฏิบัติตามกระแสคำแนะนำขององค์สมเด็จพระประทีบแก้วคือ ฉันข้าวเสร็จแล้วจึงได้เรียกพระที่เป็นบริษัททั้ง 500 รูป มาประชุมกันแล้วก็แสดงปกรณ์ 7 ประการ พร้อมด้วยคำอธิบายให้เข้าใจ

    บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อได้ฟังปกรณ์ 7 ประการ พร้อมด้วยคำอธิบาย ก็ปรากฎว่าบรรลุอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลสูงสุดในพระพุทธศาสนา

    นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า การที่นำประวัติความเป็นมาของงูเหลือมก็ดี ค้างคาวก็ดี มาแสดงให้แก่บรรดาพุทธบริษัททราบ ก็มีความหวังตั้งใจอยู่อย่างเดียว คือว่า การสั่งสมบุญบารมีในเขตของพระพุทธศาสนานี้ และการเข้าถึงนิพพานเป็นของไม่ยากนัก

    ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีความเคารพในองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ดัดแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้เสียผล ท่านทั้งหลายที่เกิดมาเป็นคน พบพระพุทธเจ้าแล้วก็มีความเคารพในพระพุทธศาสนา ตั้งหน้าบำเพ็ญกิริยาวัตถุ คือสร้างความดีทุกประการ ตามที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ที่เป็นเช่นนี้ก็แสดงว่า ท่านทั้งหลายเคยพบองค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว และมีน้ำใจผ่องแผ้วประกอบไปด้วยกุศล บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนจึงมีความพอใจในการสดับและปฏิบัติธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ แสดงว่าบุญบารมีของท่านทั้งหลายสร้างมาแล้วใหญ่โตมาก จึงมีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้เคยได้พบตัวพระพุทธเจ้า แต่ก็มีความแน่ใจว่าพระพุทธเจ้ามีจริง

    เรื่องอย่างนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง จะเปรียบเทียบกันได้ว่า คนที่เขาเป็นเพื่อนกับท่านก็ดี อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงก็ดี ที่ได้มีความเคารพในศาสนาขององค์สมเด็จพระชินสีห์อย่างท่านอาจจะไม่มี ท่านไปพูดเรื่องพระพุทธศาสนา เขาจะสั่นหัวว่า เรื่องของศาสนา เป็นยาเสพติด ใช้ไม่ได้ นักบวชในศาสนาขององค์สมเด็จพระจอมไตรเป็นผู้ถ่วงความเจริญ ถ่วงความมั่งมีศรีสุขของสังคมอย่างนี้เป็นต้น

    นี่แหละบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน เป็นการเปรียบเทียบถึงบุญบารมี หากว่าท่านทั้งหลายจะบอกว่า บารมีที่ข้าพเจ้าสร้างมาน้อยเต็มที ไม่สามารถจะเป็นพระอรหันต์ได้ แต่บางท่านไม่พูดอย่างนั้น พูดเสียใหม่ว่า ข้าพเจ้าไม่มีบุญบารมีมาเลย ไม่สามารถจะเป็นพระอรหันต์ได้

    ถ้าหากว่า บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้ ก็ขอโปรดประทานอภัยกลับใจคิดเสียใหม่ คิดว่า ถ้าเราไม่เคยมีบุญบารมีที่เคยสะสมไว้ เราจะพอใจในคำสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ ดูตัวอย่างเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงของท่านก็แล้วกัน ท่านพอใจในพระธรรม แต่เขาไม่มีความพอใจ เปรียบเทียบบารมีกันได้ในตอนนี้ เป็นอันว่าท่านทั้งหลายทราบแล้วว่า เวลานี้ท่านมีบารมีพอสมควร

    รวมความแล้วก็ดีกว่าค้างคาว ดีกว่างูเหลือมมาก อย่างน้อยที่สุดท่นก็รู้ว่า นี่เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าที่สอนไว้ ถ้าบุคคลผู้ใดปฏิบัติตามจะมีความสุข หรือถ้าความเลื่อมใสไม่มีถึงแค่นั้น ท่านทั้งหลายก็ยังรู้จักคำพูดที่พระท่านสวด หรือฟังเครื่องบันทึกเสียงที่ฟังว่า นี่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า รู้ภาษาแห่งคำพูด ถ้าจะเปรียบเทียบกับค้างคาวและงูเหลือม ท่านดีกว่าหลายแสนเท่า

    ในเมื่อค้างคาวและงูเหลือมเป็นสัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรมไม่รู้ว่าธรรม และก็ไม่รู้เรื่อง พอใจแต่เพียงเสียง ตายแล้วเป็นเทวดาได้ อันนี้เป็นทุนใหญ่เบื้องแรก แล้วกลับลงมาเกิดเป็นคน ฟังธรรมซ้ำอีกคราวหนึ่ง ปรากฎว่าสำเร็จอรหัตผล

    บรรดาท่านพุทธบริษัทเกิดเป็นคน ฟังภาษาก็รู้เรื่อง และก็มีความเข้าใจว่า นี่เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอันว่าท่านมีกำไรดีกว่างูเหลือมและค้างคาวทั้งหมด

    หากว่าท่านพอใจในเสียงธรรมขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ที่บรรดาพระสงฆ์สาวกนำมาแสดง ฟังแล้วจงอย่าทิ้งไป เลือกฟังหลาย ๆ เรื่อง อย่ากลัวเปลืองเวลาและอย่ากลัวเปลืองเงิน บันทึกเข้าไว้หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ ตอน แล้วก็พิจารณาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรว่า เรื่องไหนเราชอบใจมากที่สุด มีอยู่เท่าไร ฟังตอนที่เราชอบใจให้หนัก ให้ขึ้นใจ

    เวลาก่อนจะหลับ นึกถึงพระธรรมบทนั้น หนักเข้าไว้สัก 2-3 นาที แล้วก็หลับไปไม่เป็นไร เวลาตื่นใหม่ ๆ นึกถึงพระธรรมบทนั้นเข้าไว้สักนิดหน่อย เป็นการกระตุ้นเตือนใจ เวลากลางวันประกอบกิจการงาน ถ้าว่างเมื่อไรนึกถึงธรรมบทนั้นเข้าไว้

    ถ้าเป็นอย่างนี้ ถ้าบุญวาสนาบารมีท่านยังอ่อน จะต้องเร่ร่อนไปในวัฏสงสาร ถ้าตายไปจากมนุษย์เมื่อไร อย่างน้อยที่สุดท่านก็เกิดเป็นเทวดาหรือพรหม

    ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีจากเทวดาหรือพรหม มาเกิดเป็นคน ฟังธรรมซ้ำอีกหนเดียว เพราะว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ย่อมรู้ใจคนว่ามีกุศลส่วนใดมาในชาติก่อน องค์สมเด็จพระชินวรจะสอนบทนั้นเป็นการซ้ำ หรือสะกิดแผลเก่า จะทำให้เราเข้าถึงธรรมบทนั้นได้โดยฉับพลัน และเป็นอรหันต์ทันที

    เวลาที่เราเกิดเป็นเทวดา ถ้าพระศรีอาริย์ตรัสขึ้นมา เรายังเป็นเทวดาหรือพรหม ถ้าฟังเทศน์จากพระศรีอาริย์เพียงจบเดียว บรรดาท่านพุทธบริษัทก็จะได้บรรลุมรรคผลพระนิพพาน เพราะว่าองค์สมเด็าจพระพิชิตมารเทศน์สอนพุทธบริษัทคราวใด ปรากฎว่าเทวดาหรือพรหมบรรลุมรรคผลมากกว่าคน เพราะว่าเทวดาก็ดี พรหมก็ดี มีกายเป็นทิพย์ มีความเป็นอยู่เป็นทิพย์ ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความกังวล เมื่อจิตน้อมไปในส่วนของกุศลแล้ว ก็ปรากฎว่ามีความเข้าใจในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วได้ดี เป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลได้ง่าย

    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ขอยุติคำแนะนำในเรื่องของพระสูตรไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี

    ***************

    <O:phttp://www.kaskaew.com/index.asp?catid=4&contentID=10000004&getarticle=130&title=%A4%E9%D2%A7%A4%D2%C7%BF%D1%A7%B8%C3%C3%C1</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2012
  3. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529

    นางหนูเกือบจะดีแล้วกระทู้นี้ ยกเว้นมีกระทู้นี้นี่แหละ............อา.............ลุงเห็นแล้ว เลือดลมมันปั่นป่วนยิ่งนัก
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เลือดลมไม่ปกติ ก็ให้รู้สึกตัวไว้นะคะ ว่ากายไม่ปกติ อิอิ
    ว่ากันตามตำราเถรวาท ที่มีบันทึกไว้ ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์
    อ่านเพื่อรู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม
    และไม่ได้ให้เชื่อ เนาะ
    บางคนอ่านแล้ว เลือดลมปั่นป่วน กายไม่ปกติ ใจไม่ปกติ
    บางคนอ่านแล้ว เกิดปีติ ชอบใจ เกิดเป็นกุศลจิต กายเบา ใจเบา
    บางคนอ่านแล้วเฉยๆ ไร้ความรู้สึก ไร้อารมณ์
    มันก็แล้วแต่ ธาตุ ของแต่ละคน อะค่ะ อ่านอย่างเดียวกัน ให้ผลไม่เหมือนกัน
    ไม่มีใครผิดใครถูก มันเป็นเรื่องของธาตุปัจจุบันมันแสดงตัว ให้รู้

    ก็แค่ รู้ๆไป ให้ถูกต้องตามจริง ของใครของมัน
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

    ๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
    [๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้า
    ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย
    และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้
    สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ
    [๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
    เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
    ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
    ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
    *ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
    ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
    เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ
    [๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
    น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
    โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
    อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ
    [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม
    เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ
    เป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
    ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
    ๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อ
    ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
    [๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ
    ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็น
    ไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
    ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
    ๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
    ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
    จบสูตรที่ ๑๓
    จบกัสสปสังยุตต์ที่ ๔
    -----------------------------------------------------
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. สันตุฏฐสูตร ๒. อโนตตัปปิสูตร ๓. จันทูปมสูตร
    ๔. กุลูปกสูตร ๕. ชิณณสูตร ๖. โอวาทสูตรที่ ๑ ๗. โอวาท
    สูตรที่ ๒ ๘. โอวาทสูตรที่ ๓ ๙. ฌานาภิญญาสูตร
    ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร ๑๑. จีวรสูตร ๑๒. ปรัมมรณสูตร
    ๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร ฯ

     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

    โมฆบุรุษ บุรุษเปล่า, คนเปล่า, คนที่ใช้การไม่ได้, คนโง่เขลา, คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง

    -----------------------

    ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    คำว่า "โมฆะบุรุษ" เป็นคำพระพุทธเจ้าใช้ตำหนิสาวกของพระองค์
    เท่าที่ค้นได้ มีอยู่ในพระวินัย ๔ ที่ คือ
    - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ (มี ๑ คำ)
    - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒(มี ๑ คำ)
    - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒(มี ๒ คำ)
    ขอยกตัวอย่างสักหนึ่งเล่ม



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
    [๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า
    พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า

    ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ

    อ้างอิง
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑๓๑๕ - ๑๓๒๗. หน้าที่ ๕๔ - ๕๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka...27&pagebreak=0

    สำหรับในพระสูตรเท่าที่ค้นได้ มีแค่สองสูตร ขอยกมาเป็นตัวอย่างครับ



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    ๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
    ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
    สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆบุรุษวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

    ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว
    ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.

    อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค
    มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
    ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.
    ตอบว่า ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระศาสดาตรัสเรียกเราว่าโมฆบุรุษดังนี้ จะไม่มีอุปนิสสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายโดยสักแต่คำที่กล่าวแล้วว่า โมฆบุรุษนี้เท่านั้นก็หามิได้ เพราะว่า แม้พระอุปเสนเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า
    ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเร็วนักดังนี้ ภายหลังสืบต่ออยู่ พยายามอยู่ ก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ แม้เราประคองความเพียรแล้ว ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลทั้งหลายดังนี้.

    อ้างอิง
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๘๐๔๑ - ๘๕๐๖. หน้าที่ ๓๓๐ - ๓๔๘.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_ite...06&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    ๙. อุทายีสูตร
    [๓๐๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอุทายีมาถามว่า
    ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้วท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๒ ว่า
    ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๓ ว่า
    ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้นิ่งอยู่

    ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ดูกรท่านอุทายี พระศาสดาตรัสถามท่าน
    ท่านพระอุทายีได้กล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
    ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติ ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
    ดูกรอานนท์เราได้รู้แล้วว่า อุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิตอยู่ แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ต่อไปว่า
    ดูกรอานนท์ อนุสสติมีเท่าไรหนอแล
    ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติมี ๕ ประการ

    อ้างอิง
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๗๕๙๕ - ๗๖๕๙. หน้าที่ ๓๓๓ - ๓๓๕. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka...59&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/...php?b=22&i=300


    โมฆะบุรุษโดย สมเด็จพระญาณสังวร สกลมหาสังฆปริณายก
    ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ ในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเราก็ยังเอาติดตัวไปด้วยไม่ได้
    และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้จักกันมานานนับล้านๆปีคนแล้วคนเล่า

    ในเมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆกันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้ง จะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี
    ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้

    เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ์ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้าแม้หากว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด

    หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเอาไว้ว่ามีจริงดั่งที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับแล้ว เราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายไม่ขาดทุนหรอกหรอ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ กลับต้องโมฆะเสียเปล่าก็สมควรทีจะได้ชื่อว่าเป็น " โมฆะบุรุษ " โดยแท้


    ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/view...hp?f=7&t=37882

    เครดิต http://www.madchima.org/forum/index....ic=6354.0;wap2<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2012
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ที่มาแห่งพระไตรปิฎก

    เราทราบที่มาของพระไตรปิฎกจากข้อความในพระไตรปิฎกนั้นเอง คือมีในมหาปรินิพพานสูตร กล่าวคือ ..........

    เมื่อวันที่โทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุนั้นมีภิกษุไปประชุมกันเป็นครั้งใหญ่ โดยมีพระมหากัสสปะเป็นพระมหาเถระในที่นั้น พระเถระผู้นี้ได้อ้างข้อที่มีผู้ติเตียนพระธรรมวินัย และจึงได้แนะให้มีการทดสอบพระธรรมขึ้น เรียกว่า ธรรมสังคายนา ครั้งนี้จึงเป็นการสังคายนาธรรมครั้งแรก ความสำคัญของการทดสอบธรรมจะเห็นได้จากพุทธวจนะแก่พระอานนท์ในวันปรินิพพานว่า

    “เมื่อเรา, ผู้เป็นพระตถาคต, ได้ปรินิพพานล่วงลับไปแล้ว ธรรมและวินัยเป็นศาสดาแห่งท่านทั้งหลาย”

    การสังคายนานี้ กระทำโดยการเล่าถึงพระจริยานุวัตรแห่งพระบรมศาสดา ซึ่งในวาระนั้นเองได้เกิดการสอนพระธรรมและพระวินัยไว้ด้วย การสอนพระธรรมและการกำหนดพระวินัยนี้เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่นพระองค์ทรงสอนคำสอนโดยตรงบ้าง มีผู้สงสัยมาทูลถามบ้าง ทำการโต้แย้งกับผู้อื่นบ้าง ส่วนพระวินัยนั้นเราทราบจากพระไตรปิฎกว่า เกิดจากการมีการกระทำผิดพรหมจรรย์ขึ้นก่อน แล้วพระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติพระวินัยห้ามไว้

    จากการอ่านพระสูตรต่าง ๆ เราจึงทราบวิธีให้การศึกษาของคนโบราณว่า เขาหาได้สอนระบบความคิดใดโดยตรงไม่ หากได้นำเอาเรื่องทั้งเรื่องที่มีอาจารย์สอนศิษย์มาว่าไว้ คำสอนจึงปรากฏเป็นคำสนทนาโต้ตอบกันระหว่างอาจารย์กับศิษย์ ในการนี้บางทีไม่ใช่เป็นการถามแล้วตอบเฉย ๆ หากมีการโต้แย้งความเข้าใจผิดๆ ของศิษย์ด้วย หรือบางทีคำสอนเป็นการโต้แย้งระหว่างอาจารย์ผู้รู้ด้วยกัน คำสอนเช่นนี้ปรากฏขึ้น ทั้งในอินเดียและกรีก คำสอนของพลาโต้เกี่ยวกับปัญญาของซอเครตีส (Socrates) นักปรัชญาคนแรกที่มีชื่อก็เป็นดังนี้เหมือนกัน ทำให้เห็นว่าน่าจะเป็นวิธีทั่วไปของมนุษยชาติก่อนและหลังพุทธกาลการโต้แย้งนี้มีชื่อทางอังกฤษว่า Dialectics ทางไทยจะเรียกว่า วิภาษวิธีก็คงจะเหมาะ มิลินทปัญหาก็เป็นวิภาษวิธีอย่างหนึ่งระหว่างพระเจ้ามิลินท์, หรือเมนานเดอร์ ชาวมักเตรียนกรีก กับพระนาคเสนภิกษุในพุทธศาสนา
    คำว่าสูตรแปลว่า “เส้น ,สาย, เชือก” หมายถึงเรื่องหนึ่ง ๆ จบในตัวเอง ในพระสูตรทางพุทธศาสนาจะปรากฏจริยานุวัตรของพระพุทธเจ้าหรือของมหาสาวกแสดงคำสอนธรรม หรือคำประสาทพระวินัยแก่บรรพชิต หรืออุบาสก, อุบาสิกา ทั้งหลาย ได้มีผู้แปลพระสูตรบาลีตรง ๆ มาเป็นภาษาต่าง ๆ ปรากฏความจริงอีกอย่างหนึ่งว่า

    สมัยพุทธกาลนิยมการกล่าวซ้ำ ๆ ข้อนี้น่าจะเป็นความจำเป็นในสมัยนั้น ซึ่งยังไม่มีการบันทึก ต้องใช้จดจำเอาไว้ในใจกัน การกล่าวซ้ำนี้คงจะช่วยความทรงจำด้วย และคงจะกระทำเพื่อความแจ้งชัดของถ้อยความด้วย

    การสังคายนา, ตามพุทธโอวาทที่ว่า “สังคีติเป็นกิจชอบ” เป็นครั้งที่ ๑ นั้น เริ่มขึ้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานล่วงไปแล้วได้ ๓ เดือน และมีการใช้เวลาทำสังคายนาอยู่ถึง ๗ เดือน จึงเสร็จ ในครั้งที่ ๑ นี้ต้องนับว่าพระไตรปิฎกก่อเป็นเค้าโครงขึ้นแล้วในส่วนพระธรรมกับพระวินัย

    เมื่อพุทธกาลล่วงไปแล้วได้ ๑๐๐ ปี หรือเมื่อ ๔๔๓ B. C. ภิกขุพวกวัชชีบุตรแห่งนครเวสาลีได้ประพฤติละเมิดพระธรรมวินัย แล้วมีผู้คนหลงตามกันเป็นอันมาก พระยสเถระกากัณฑกบุตรจึงนำพระอรหันต์ ๗๐๐ องค์ กระทำสังคายนาธรรมอีก ณ วาลิการามเมืองเวสาลี

    ครั้นถึงรัชสมัยแห่งวงศ์โมรียะ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นพระราชา ณ ปาฏลิบุตรนคร เป็นพุทธศักราช ๒๑๗ หรือ ๓๒๖ B.C. ได้เกิดเสี้ยนหนามต่อพระธรรมวินัยอีก พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเจ้า, ผู้พึ่งราโชปถัมภ์ในพระเจ้าอโศกมหาราช ก็กำจัดพวกเดียรถีย์ออกไปจากพุทธศาสนา แล้วกระทำสังคายนาพระธรรมอีกแต่จะเป็นใน พ.ศ. ใดไม่ทราบชัด

    ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๓๖ หรือ ๓๐๗ B C พระมหินทเถรเจ้าราชบุตรหรือพระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราชได้นำพระธรรมวินัยไปสู่ ทวีป สีหล หรือลังกา (Ceylon) พุทธบริษัทชาวสีหลได้จดจำพระธรรมวินัยมาเป็นลำดับกระทั่งถึง พ.ศ. ๔๕๐ หรือ ๙๓ B.C. ปรากฏการเสื่อมความทรงจำขึ้น พระเถระเห็นว่าถ้าปล่อยให้จดจำพระธรรมวินัยไปคงจะไม่เป็นการ พระศาสนาอาจเสื่อมได้ จึงจัดทำสังคายนาพระธรรมวินัย ณ อาโลกเลณสถาน ในมลัยชนบทเกาะลังกา แล้วจารึกพระธรรมวินัยไว้บนใบลาน นี่จัดได้ว่าเป็นสังคายนาครั้งที่ ๔
    ตั้งแต่บัดนั้นมา, เราจึงมีพระไตรปิฎกเป็นตัวอักขระเราไม่ทราบแน่ว่าอินเดียมีตัวอักขระใช้เมื่อไร แต่ทางยุโรปอักขระใช้เมื่อ ๗๕๐ B.C. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราชแห่งแม็ซซีโดเนีย (Macedonia) ในเผ่าชนกรีกทรงมาตีอินเดียได้ ในปี ๓๒๕ B.C. และคงจะได้นำอักขระของเมดิเตอเรเนียนมาให้อินเดียด้วย อินเดียจึงมีอักขระใช้ต่อมา และคงจะสร้างอักขระใหม่ ขึ้นเพิ่มเติมให้เขียนเสียงได้ครบด้วย

    ส่วนประกอบของพระไตรปิฎก

    ขณะนี้ได้มีผู้ “นำเที่ยวในพระไตรปิฎก” แล้วดังปรากฏใน “ธรรมจักษุ” ของมหากุฎราชวิทยาลัยในปี ๒๔๙๕

    ดังได้กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ แต่ละเรื่องแสดงไว้ซึ่งที่มาแห่งพระวินัยและคำสอนของพระพุทธองค์ จึงปรากฏว่าไม่ได้มีการเรียงลำดับเรื่องราวนี้ไว้เป็นเรื่องใหญ่ ที่มีการขึ้นต้นและการจบบริบูรณ์ในตัว เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงปรารภไว้ใน “พุทธประวัติ” เล่ม ๑ ว่า

    “เรื่องพุทธประวัตินั้นไม่ปรากฏในบาลีซึ่งขึ้นสู่สังคีติจนตลอดเรื่องสักแห่งเดียว (คือไม่ปรากฏรวมกันเป็นเรื่อง สมบูรณ์-ผู้เขียน ) มีมาในบาลี ประเทศนั้น ๆ เพียงเป็นท่อน ๆ เช่นเรื่องประสูติมาในมหาปทานสูตรแห่งทีฆนิกายมหาวรรค เรื่องครั้งยังทรงพระเยาว์มาในติกนิบาตอังคุตตรนิกาย เรื่องตั้งแต่ปรารภเหตุที่เสด็จออกบรรพชาจนภิกษุวัคคิยะสำเร็จพระอรหันตผลมายังในปาสราสิสูตรแห่งมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เรื่องเสด็จออกบรรพชาแล้วบำเพ็ญทุกกรกริยาจนได้ตรัสรู้ มาในมหาสัจจกสูตรแห่งมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เรื่องตั้งแต่ตรัสรู้แล้ว,จนถึงอัครสาวกบรรพชามาในมหาวรรคแห่งพระวินัยทรงบำเพ็ญพุทธกิจนั้น ๆ มาในพระสูตรต่าง ๆ หลายสถาน ตอนใกล้จะนิพพานจนถึงนิพพานแล้วมัลลกษัตริย์ในนครสินาราทำการถวายเพลิงพระพุทธสรีระ แล้วแบ่งพระสรีริกธาตุไว้บ้าง แจกไปในนครอื่นบ้าง มาในมหาปรินิพพานสูตร แห่งทีฆนิกายมหาวรรค......”

    ดังนั้น ผู้ใคร่จะศึกษาพระธรรมหรือพุทธประวัติที่เป็นข้อความติดต่อกัน, เป็นระบบความคิดหรือประวัติบุคคล จึงต้องเรียงเรื่องเอาใหม่ ดังที่พระมหาสมณเจ้าทรงกระทำแล้วในกรณีพุทธประวัติ ในการเรียงเรื่องใหม่นี้ ก็ต้องตัดข้อความที่ซ้ำกันดังกล่าวมาแล้วออก ปราชญ์ทางวรรณคดี ในยุโรปกล่าวว่า พระไตรปิฎกนั้นแม้จะเป็นวรรณกรรมขนาดใหญ่ก็ตาม หากย่อได้ให้ความพอดี โดยตัดข้อความที่ซ้ำออกแล้ว น่าจะมีข้อความยาวพอ ๆ กับคัมภีร์ของคริสต์ศาสนา ในที่นี้ก็ควรแจ้งให้ทราบด้วยว่าคัมภีร์คริสตศาสนานั้นประกอบด้วยข้อความที่เรียงต่อทอดกันไปและไม่ปรากฏการกล่าวข้อความซ้ำ ๆ นี่เป็นลักษณะของการบันทึกในศตวรรษที่ ๖ แห่งพุทธกาล ซึ่งขณะนั้นระดับการศึกษาหรือปัญญาของโลกก้าวหน้าไปมากแล้วและมีอักขระใช้อย่างแพร่หลายแล้วด้วย

    *******

    บัดนี้ จึงควรกล่าวถึงลักษณะของพระไตรปิฎกเสียก่อน พระไตรปิฎก หรือตะกร้าแห่งธรรมสามใบประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้คือ

    ก. พระวินัยปิฎก ซึ่งกล่าวถึงข้อวินัย, คำอธิบายและสาเหตุแห่งการบังเกิดวินัย ในเรื่องนี้มีการเฉลยในมิลินทปัญหาว่า พระพุทธองค์ไม่ทรงวางพระวินัยไว้ล่วงหน้า ซึ่งถ้าหากพระองค์ใคร่จะทำแล้ว ก็จะทรงกระทำได้ด้วยพระปรีชาญาณ แต่ทรงเห็นว่าถ้าวางพระวินัยไว้ล่วงหน้า ผู้ที่มาบวชใหม่อาจท้อใจไม่กล้าเข้ามาลองอุปสมบทดู จึงทรงบัญญัติพระวินัยต่อเมื่อได้มีการกระทำผิดพรหมจรรย์ขึ้นแล้ว

    เนื้อเรื่องในวินัยปิฎกส่วนหนึ่งจึงกล่าวถึงการที่มีภิกษุประพฤติผิดพรหมจรรย์ และพระพุทธองค์ทรงติเตียนแล้ว จึงทรงวางพระวินัยห้ามไว้วินัยปิฎกประกอบด้วยพระปาติโมกข์ หรือระเบียบปฏิบัติชีวิตสำหรับสงฆ์ทุกองค์ ศีลของภิกษุรวมด้วยกันทั้งหมด ๒๒๗ ข้อนั้น พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติขึ้นทั้งหมดน่าจะมีการบัญญัติศีลของภิกษุขึ้นในสมัยต่อๆ มาภายหลังพุทธกาลด้วย ทั้งนี้เพื่อให้รับกับความเป็นอยู่ใหม่ ๆ ของมนุษย์ในชั้นหลัง
    ข. พระสุตตันตปิฎก รวมเอาไว้ซึ่งเรื่องราวและคำเทศนาของพระพุทธองค์ เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งทั้งในทางศาสนาและวิทยาศาสตร์ สังคม เพราะเป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งความนึกคิดต่าง ๆ ทั้งของโบราณสมัย และของพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกถือสุตันตปิฎก เป็นที่รวมแห่งข้อเท็จจริงในพุทธศาสนาเป็นที่รวบรวมพุทธวจนะ และบันทึกอันมีความสำคัญชั้นที่หนึ่งเกี่ยวกับพุทธศาสนา ในศตวรรษที่ ๓ B.C. หรือพุทธศตวรรษที่ ๓ พระสุตตันตปิฎกแยกออกเป็นห้านิกาย หรือหมวด ซึ่งทางฝ่ายสรวัสติวาทให้ชื่ออีกอย่างหนึ่ง ว่า “อาคม” การแบ่งแยกเช่นนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของการทรงจำเท่านั้น สูตรหนึ่ง ๆ เป็นหน่วยแห่งคำสอนเรื่องหนึ่ง เป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองประกอบด้วยบทสนทนาระหว่างพระพุทธองค์กับสาวกหรือคฤหัสถ์ ร้อยเข้าเป็นพวงเดียวกันเหมือนลูกประคำของพราหมณ์ ฉะนั้นจึงเรียกว่า สูตร ซึ่งแปลว่า “เชือก” นิกายทั้งห้ามีดังนี้คือ ทีฆนิกาย หรือ พระสูตรยาว,มัชฌิมนิกาย หรือพระสูตรยาวปานกลาง, สังขยุตนิกาย หรือพระสูตรรวมเป็นชุด, อังคุตรนิกาย, หรือ พระสูตรที่เรียงตามลำดับจำนวนนับ และประมวลพระสูตรที่จัดเข้าในนิกายดังกล่าวแล้วไม่ได้ นี่คือ ขุทกนิกาย

    ในทีฆนิกายมีอยู่ ๓๔ พระสูตร บางสูตรก็มีชื่อเสียงมาก บางสูตรไม่ใคร่มีคนนำมาอ้างกัน สูตรที่มีชื่อที่สุดคือ มหาปรินิพพานสูตร เพราะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์โลก ดังกล่าวมาแล้ว

    มัชฌิมนิกายมี ๑๕๒ พระสูตร ซึ่งแบ่งออกเป็น ๑๕ วรรค แล้วแต่ประเภทของเรื่อง สังยุตนิกายมีพระสูตรเป็น ๕๖ พวก โดยเกี่ยวข้องกันทางบุคคลหรือเรื่อง ในนิกายนี้มีคำเทศนาเกี่ยวกับพระธรรมจักร อันเป็นคำเทศนาครั้งแรก ภายหลังการหลุดพ้นของพระบรมศาสดาและมีการแสดงให้เห็นสังสารวัฏฏ์เป็นนิทาน ๑๒ เรื่องด้วยกัน

    อังคุตรนิกาย หรือประมวล “บวกหนึ่ง” ประกอบด้วย ๒,๓๐๘ พระสูตร แบ่งแยกออกได้เป็น ๑๑ พวก หรือ นิบาต จากนิบาตที่หนึ่งไปถึงที่ ๑๑ ตัวอย่างเช่นนี้ นิบาตที่สองกล่าวถึง พระพุทธเจ้าสองประเภท คุณธรรมสองประเภทอันเนื่องมาจากเสนาสนะป่า, นิบาตที่สามกล่าวถึงภิกขุสามประเภท นิบาตที่สี่กล่าวถึงทางไปสวรรค์สี่ประการ และเป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปกระทั่งถึงนิบาตที่สิบเอ็ดว่าด้วยความดีและความชั่วสิบเอ็ดประการของพระภิกษุ

    ขุทกนิกาย หรือนิกายเล็ก รวมเอาไว้ซึ่งเรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา อันรวมไว้ในนิกายดังกล่าวแล้วไม่ได้ ในนิกายนี้มีผลงานอันมีคุณค่าทางวรรณคดีเป็นอย่างสูงแม้จะรวบรวมไว้ทีหลังก็มีข้อความเก่าแก่ในพระคัมภีร์ไว้ด้วย ขุทกนิกายเริ่มต้นด้วยขุทกบท ซึ่งเป็นการวางแนวให้แก่ชีวิตในพระพุทธศาสนา ในนี้ปรากฏมีเมตตาสูตรว่าด้วยความหมายและประโยชน์ของเมตตา และมีมหามงคลสูตรอันกล่าวถึงการกระทำอันเป็นมงคลด้วยประการต่าง ๆ ถัดมาก็มี พระธรรมบท ซึ่งเป็นคัมภีร์ ทางเถรวาทที่มีชื่อที่สุด ประกอบด้วยข้อความ ๔๓๒ ชิ้น แบ่งเป็น ๒๖ วรรค หรือบทว่าด้วยแนวทางที่ควรประพฤติ เป็นการส่งเสริมลัทธิกรรมของพระพุทธศาสนา พระธรรมบทนี้เป็นที่นิยมอ่านกันมากในโลก อุทาน และอิติวุทกะก็เป็นคัมภีร์มีชื่อเหมือนกัน แต่ละคัมภีร์ประกอบด้วยร้อยกรองผสมร้อยแก้วอันมีคุณค่าทางจริยศาสตร์และปรัชญาสุตตนิบาทก็มีชื่อดังอยู่ในยุโรป, ฐานมีความสำคัญรองจากพระธรรมบทไป คือมีทั้งความไพเราะในถ้อยคำและความลึกซึ้งในความคิดด้วย

    ถัดมาก็มีเถรคาถาและเถรีคาถา ซึ่งเป็นคำสวดมนต์ของภิกขุและภิกขุนีตามลำดับ คำสวดมนต์นี้มีความไพเราะทางสำเนียงและทางร้อยกรองไม่ยิ่งหย่อนกว่าฤคเวทของพราหมณ์ หรือวรรณกรรมของกาลิทาสและชัยเทพเลยมันเป็นคำสวดแสดงความปิติยินดีที่ได้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาและปริเวทนาการทั้งปวง

    ในชั้นสุดท้าย ในขุทกนิกายนี้ก็ปรากฏมีนิทานชาดกต่าง ๆ อันมีที่รู้จักกันดีทั่วโลก ชาดกต่าง ๆ นี้มักกล่าวถึงชีวิตในชาติก่อนของพระพุทธเจ้า แต่หลายเรื่องเป็นนิทานเก่าแก่กว่าพุทธศาสนามาก เช่น เรื่องนิทานเกี่ยวกับสัตว์นั้นเข้าใจว่าเก่าแก่ที่สุด นิทานเกี่ยวกับสัตว์นี้น่าจะแพร่สะพัดไปถึงยุโรปและกลายเป็นเทพนิยายของยุโรปไปขุทกนิกายจึงมีอิทธิพลเหนือวรรณคดีของประเทศต่าง ๆ เช่นของไทยเราเป็นต้น ตัวอย่างเช่น ภูริทัตตชาดกให้ความคิดแก่ผู้เขียนพงศาวดารชาวเหนือ ซึ่งอ้างถึงกำเนิดพระร่วง ว่าเกิดจากนางนาคมาได้กับกษัตริย์ ไทย เรื่องสังข์ทองก็มีมาในพระชาดก ทั้งนี้ไม่ต้องอ้างเรื่องไตรภูมิพระร่วง หรือเวสสันดรชาดก ซึ่งเห็นได้ชัดอยู่แล้วมาจากพุทธศาสนาโดยตรง ในชาดกเรื่องสัตว์นี้ยังปรากฏความคิดอย่างหยาบ ๆ เกี่ยวกับวิวัฒนาการ (Evolution) ซึ่งพระพุทธองค์ทรงก้าวหน้าทางชาติกำเนิดจากสัตว์ต่ำผ่านสัตว์สูง ๆ มาเป็นมนุษย์ด้วยการบำเพ็ญบารมี ชาดกอันประกอบด้วยเทพนิยาย (Myth) และนิทานสัตว์ (Animal fable)นี้ทำให้เกิดพุทธศิลปะขึ้นอย่างกว้างขวางไม่แพ้ศิลปะของศาสนาใด ดังจะเห็นเป็นศิลปะสลักในศิลาของถ้ำอชันตาตอนกลางของประเทศอินเดียเป็นต้น

    ชาดกต่าง ๆเหล่านี้มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ และสังคมวิทยาเป็นอันมากเพราะมันเป็นบันทึกเกี่ยวกับนิทานเก่า ๆ ของมนุษยชาติจากการศึกษาชาดกเหล่านี้ สามารถทราบถึงความนึกคิดก่อนพุทธกาลได้ และยังทราบถึงการปกครองและวัฒนธรรมก่อนพุทธกาลด้วย จึงขอเขียนเตือนนักศึกษาพุทธศาสตร์ทั้งหลายว่า ไม่ควรดูถูกชาดกเหล่านี้ว่าเป็นเรื่องอุปมาอุปไมย เป็นจิตนาการอันไร้ความจริง หรืออะไรในทำนองนี้ เพราะมันอาจเป็นนิทานแต่เก่าก่อน ซึ่งบันทึกจากความเป็นจริง แถมด้วยทรรศนะของคนโบราณหรือคนสมัยพุทธกาล ซึ่งหากกรองเอาทรรศนะเหล่านี้ออกเสียงเราก็จะได้ข้อเท็จจริงทางสังคมวิทยา และประวัติศาสตร์มาใช้บ้าง ทั้งนี้จะเป็นการกระทำไปตามญาณวิทยาใหม่ดังกล่าวมาแล้ว ที่ถือว่าจินตนาการสร้างขึ้นด้วยการเอามโนภาพจริงซึ่งเป็นข้อเท็จจริงมาปรุงแต่งกันเข้าเป็นมโนภาพสร้างสวรรค์ใหม่ ในการเขียน การนำชาดกบางเรื่องมากล่าวอ้าง จะทำให้เราเข้าใจพุทธศาสนาได้ดีขึ้นด้วยซ้ำไป

    ค. พระอภิธรรมปิฎก เป็นข้อความเกี่ยวกับจิตวิทยาอันเราอาจถือได้ว่าเป็นจิตวิทยาของพุทธศาสนา แต่ก็หาได้เป็นบันทึกทางจิตวิทยาชุดเดียวเท่าที่มีไม่ เพราะนาง Rhys Davids นักพุทธศาสตร์ชาวอังกฤษถอดจิตวิทยาของพุทธศาสนาตามทรรศนะของเธอจากนิกายต่าง ๆ ในสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก เป็นผลงานทางปรัชญาซึ่งอาศัยคำสอนจากพระสูตรอีกทีหนึ่ง จึงเป็นผลงานของพระอรรถกถาจารย์ในชั้นหลัง ๆ

    ได้มีการกล่าวว่าประเทศทางอาเซียอาคเนย์ทั้งสามมีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกต่าง ๆ กัน คือ ลังกาเชี่ยวชาญในสุตตันตปิฎก ไทยเชี่ยวชาญในพระวินัย พม่าเชี่ยวชาญในพระอภิธรรม แต่ในของผู้เขียนอยากให้ทุก ๆ ประเทศสนใจในสุตตันตปิฎกให้มากที่สุด

    ************************************************

    เรียบเรียงจาก : ปรีชาญาณของสิทธัตถะ โดย สมัคร บุราวาส

    ๖. แนวทางบรรยายของหนังสือเล่มนี้
    ผู้เขียนมีความประสงค์อย่างยิ่งที่จะให้ผู้อ่านมีความรู้อย่างทั่วถ้วนในพุทธศาสตร์ ทั้งนี้
    ไม่ใช่อย่างจดจำมติโดยสรุปของผู้เขียนไปเท่านั้น หากได้เห็นงานดั้งเดิมในพระพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่นๆ ด้วย เพื่อจะได้ก่อรูปความคิดของตนเองขึ้นได้ เนื่องจากพุทธศาสนางอกงามอยู่ภายในศาสนาพราหมณ์ การศึกษาศาสนาพราหมณ์และวัฒนธรรมพราหมณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อพุทธศาสนาแพร่ไปถึงจีน ก็กระทบเข้ากับลัทธิเต๋าของเหลาจื่อ และกลายเป็นลัทธิเซ็นไป ด้วยประการฉะนี้จะเข้าใจพุทธศาสนาให้ทั่วถ้วนก็ต้องศึกษาลัทธิเต๋าด้วย พุทธศาสตร์ครอบงำไปถึงลัทธิเซ็นไป ด้วยประการฉะนี้เข้าใจพุทธศาสนาให้ทั่วถ้วนก็ต้องศึกษาลัทธิเต๋าด้วย พุทธศาสตร์ครอบงำไปถึงลัทธิมหายานด้วย ฉะนั้นเราจึงต้องศึกษาปรัชญาของพราหมณ์ที่เรียกว่าอุปนิษัท เพราะปรัชญานี้ได้มาครอบงำพุทธศาสนา ทำให้เกิดปรัชญามหายานขึ้น
    อนึ่งผู้เขียนมุ่งที่จะให้ผู้อ่านเข้าใจลึกซึ้งในปรัชญาเถรวาท อันเป็นปรัชญาที่แท้ของพุทธศาสนา จึงเสาะเลือกเอาข้อความที่จะอธิบายให้ทราบถึงปรัชญาเถรวาทเป็นอย่างดีมารวมไว้ในหนังสือนี้ - คือข้อความบางตอนใน “มิลินทปัญหา” ผู้เขียนไม่ได้พยายามจะรวบรวมพุทธวจนะที่แท้ไว้ ดังที่อินทปัญโญภิกขุ, ไชยา, ได้จัดทำไว้ในหนังสือ “พุทธประวัติจากพระโอษฐ์” เพราะเห็น ว่าผลงานของพระอรรถกถาจารย์และบันทึกอื่น ๆ ในพระไตรปิฎกส่วนที่ไม่ใช่พุทธวจนะ ก็มีประโยชน์ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันในการสาดแสงสว่างให้แก่ปรัชญาทางพุทธศาสนาและวิชชาพุทธศาสตร์

    “ปรีชาญาณของพระสิทธัตถะ” จึงประกอบด้วยพระสูตรที่เหมาะสมและผลงานอื่น ๆ ของพุทธศาสนา อันได้รับการจัดวางเสียใหม่ ให้ก่อเค้าโครงวิชาพุทธศาสตร์ขึ้น

    อนึ่งเพื่อให้เข้าใจลักษณะสังคมในสมัยพุทธกาลและเพื่อให้เข้าใจพุทธศาสนาได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องกล่าวเท้าความมาจากต้นที่สุดทีเดียว คือกล่าวมาจากกำเนิดของจักรวาล นี่เป็นการกระทำล้อเลียนเอกภพวิทยา (Cosmology) ซึ่งมีมาในศาสนาทุกศาสนา หากคราวนี้จะเป็นเอกภพวิทยา ทางวิทยาศาสตร์อย่างใหม่เอี่ยมที่สุด วัตถุประสงค์ของการกระทำเช่นนี้ อยู่ที่ความต้องการที่จะชี้ให้เห็นวิวัฒนาการทางปัญญาของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิวัฒนาการทางศาสนา ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจความเกี่ยวข้องของศาสนาต่าง ๆ ได้ดีขึ้นและไม่เป็นผู้หลงศาสนาอีกต่อไป

    วิวัฒนาการทางศาสนา เป็นวิวัฒนาการตอนต้น ๆ ของปัญญาแห่งมนุษย์ชาติ พุทธศาสนาเป็นยอดปลายของวิวัฒนาการของศาสนา การศึกษาพุทธศาสตร์จึงต้องเริ่มด้วยการศึกษาวิวัฒนาการ แห่งศาสนาเสียก่อน

    ที่มาแห่งพระไตรปิฎก?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2012
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พระศาสดาเสด็จไปโปรดพระมารดาชั้นดาวดึงส์
    ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางเทวบริษัท ทรงปรารภพระมารดาเริ่มตั้งอภิธรรมปิฎกว่า "กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, อพฺยากตา ธมฺมา" ดังนี้เป็นต้น. ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโดยนัยนี้เรื่อยไปตลอด ๓ เดือน.
    ก็แลทรงแสดงธรรมอยู่ ในเวลาภิกษาจาร ทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต ด้วยทรงอธิษฐานว่า "พุทธนิรมิตนี้จงแสดงธรรมชื่อเท่านี้ จนกว่าเราจะมา" แล้วเสด็จไปป่าหิมพานต์ ทรงเคี้ยวไม้สีฟันชื่อนาคลตา บ้วนพระโอษฐ์ที่สระอโนดาต นำบิณฑบาตมาแต่อุตตรกุรุทวีป ได้ประทับนั่งทำภัตกิจในโรงกว้างใหญ่แล้ว.
    พระสารีบุตรเถระไปทำวัตรแด่พระศาสดาในที่นั้น.
    พระศาสดาทรงทำภัตกิจแล้ว ตรัสแก่พระเถระว่า "สารีบุตร วันนี้ เราภาษิตธรรมชื่อเท่านี้ เธอจงบอกแก่ (ภิกษุ ๕๐๐) นิสิตของตน." ได้ทราบว่า กุลบุตร ๕๐๐ เลื่อมใสยมกปาฏิหาริย์ บวชแล้วในสำนักของพระเถระ.
    พระศาสดาตรัสแล้วอย่างนั้น ทรงหมายเอาภิกษุเหล่านั้น. ก็แลครั้นตรัสแล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมเอง ต่อจากที่พระพุทธนิรมิตแสดง. แม้พระเถระก็ไปแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ในเทวโลกนั้นแล ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ แล้ว.
    ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ภิกษุเหล่านั้นเป็นค้างคาวหนู ห้อยอยู่ที่เงื้อมแห่งหนึ่ง เมื่อพระเถระ ๒ รูปจงกรมแล้วท่องอภิธรรมอยู่ ได้ฟังถือเอานิมิตในเสียงแล้ว
    ค้างคาวเหล่านั้นไม่รู้ว่า "เหล่านี้ ชื่อว่าขันธ์, เหล่านี้ ชื่อว่าธาตุ" ด้วยเหตุสักว่าถือเอานิมิตในเสียงเท่านั้น จุติจากอัตภาพนั้น แล้วเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในเรือนตระกูลในกรุงสาวัตถี เกิดความ<WBR>เลื่อม<WBR>ใส<WBR>ในยมกปาฏิหาริย์ บวชในสำนักของพระเถระแล้ว ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ ก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง. แม้พระศาสดาก็ทรงแสดงอภิธรรมโดยทำนองนั้นแล ตลอด ๓ เดือนนั้น.
    ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดา ๘ หมื่นโกฏิ.
    แม้พระมหามายาก็ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.

     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    แม่ไก่ฟังธรรม
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)

    จากหนังสือธรรมะของ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ท่านนำออกมาจากพระไตรปิฏกอีกทีหนึ่ง และชี้ให้เห็นว่าผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานไปเกิดอยู่ในพรหมโลกแล้ว เมื่อหมดบุญก็สามารถกลับมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้อีก

    มีเรื่องเล่าไว้ว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ มีแม่ไก่ตัวหนึ่งอยู่ในที่ใกล้อาสนะศาลา แม่ไก่ตัวนั้นได้ฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุ ผู้เป็นนักปฏิบัติธรรมรูปหนึ่ง กำลังสาธยายเรื่องวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ขณะนั้นเอง เหยี่ยวตัวหนึ่งบินมาโฉบเอาแม่ไก่ไปกินเสีย พอแม่ไก่ตัวนี้ตายไปในขณะที่ฟังธรรมอยู่ จึงได้เกิดมาเป็นพระราชธิดานามว่า อุพพรี และได้ออกบวชในสำนักของปริพาชิกาทั้งหลาย

    วันหนึ่งนางได้เข้าไปสู่ในเว็จกุฎี (ห้องส้วม) ทอดพระเนตรเห็นหมู่หนอนแล้วได้เจริญสมถกรรมฐานโดยเอาหนอนเป็นอารมณ์ เรียกว่า ปุฬุวกสัญญา ได้บรรลุปฐมฌาน เพราะสามารถฝึกสมาธิจนได้ฌาน

    ตายจากชาตินั้นจึงได้ไปเกิดในพรหมโลก อยู่บนนั้นเสียนาน ตายแล้วมาเกิดในตระกูลเศรษฐี จากนั้นก็ตายไปเกิดเป็นลูกนางสุกรในกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นกาลแห่งพระพุทธเจ้าของเรานี้ พระบรมศาสดาได้ทอดพระเนตรเห็นลูกนางสุกรตัวนั้น จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์เถระจึงได้ทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ตรัสตอบข้อความนั้นทั้งหมด (คือเล่าตั้งแต่แม่ไก่มาถึงลูกนางสุกร)

    ภิกษุทั้งหลายมีพระอานนท์เป็นประมุขได้สดับเรื่องนั้นแล้ว ต่างพากันสังเวชสลดใจเป็นอันมาก พระศาสดายังความสังเวชสลดใจให้เกิดแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงประกาศโทษแห่งราคะตัณหา ทั้งๆ ที่ประทับยืนอยู่ในระหว่างถนนนั่นเอง ท่านตรัสเป็นพระคาถาแปลเป็นใจความว่า “ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึงจะถูกบุคคลตัดแล้ว รากก็ยังขึ้นได้อีก แม้ฉันใดทุกข์นี้ก็ฉันนั้น”

    คือเมื่อตัณหานิสัยอันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นได้อยู่ร่ำไปเหมือนกันอย่างนั้นหมู่สัตว์เกิดตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อมกระเสือกกระสนเหมือนกระต่าย ที่นายพรานดักได้แล้วนั้น เพราะเหตุนั้นผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร หวังธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสแก่ตนพึงบรรเทา พึงกำจัด พึงนำออก พึงละตัณหา ผู้กระทำการดิ้นรนนั้นเสียด้วยญาน มีโสดาปัตติมรรคญาน เป็นต้นดังนี้

    ฝ่ายลูกนางสุกรตัวนั้น ตายจากชาตินั้นแล้วได้ไปเกิด ในราชตระกูลในสุวรรณภูมิ ไปเกิดในกรุงพาราณสี เกิดในเรือนพ่อค้าม้าที่ท่าสุปปารกะเกิดในเรือนของกฎุมพีชื่อสุมนะ ในเภกกันตคาม มีชื่อว่าสุมนา ต่อมาบิดาย้ายไปสู่แคว้นทีฆวาปีอยู่ในหมู่บ้านชื่อมหามุนีคาม อำมาตย์ของพระเจ้าทุฏฐคามณี นามว่า ลกุณฏอติมพระไปที่หมู่บ้านนั้นด้วยกิจบางอย่าง เห็นนางสุมนาแล้วเกิดรักใคร่ จึงทำการมงคลให้อย่างใหญ่โต และได้พานางไปสูบ้านมหาปุณณคาม

    ครั้งนั้นพระมหาอตุลเถระเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้น ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของนาง เห็นนางแล้วจึงกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า

    “ผู้มีอายุทั้งหลายลูกนางสุกรถึงความเป็นภรรยาของอำมาตย์ชื่อลกุณฏอติมพระแล้ว โอ.....น่าอัศจรรย์จริง”

    นางสุมนาเมื่อได้ฟังคำของพระเถระแล้ว สามารถระลึกชาติในอดีตได้ทันทีและเกิดความสลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่ง อ้อนวอนสามีขอบวชในสำนักพระเถรีผู้ประกอบด้วยพละ๕ ด้วอิสริยยศชั้นสูงได้ฟังกถาพรรณนามหาสติปัฏฐานสูตรในติสสมหาวิหาร ได้สำเร็จโสดาปัตติผล

    ภายหลังเมื่อพระเจ้าทุฏฐคามณีทรงปราบทมิฬได้แล้ว พระนางสุมนาเถรีได้เดินทางไปสู่บ้านเภกกันตคามซึ่งเป็นที่อยู่ของมารดาบิดา ขณะอยู่ในบ้านนั้นได้ฟังอาสีวิสูปมสูตรในกัลลกมหาวิหาร จนบรรลุพระอรหันต์ในวันปรินิพพาน นางอันพวกภิกษุณีได้ถามแล้วได้เล่าประวัติทั้งอย่างละเอียดแก่ภิกษุณีสงฆ์ แล้วสนทนากับพระมหาติสสเถระ ผู้กล่าวบทแห่งธรรม ผู้มีปกติอยู่ในมณฑลาราม ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ผู้ประชุมกันแล้วกล่าวว่า

    “ในกาลก่อน ข้าพเจ้าตายจากมนุษย์แล้วเกิดเป็นแม่ไก่ ถูกเหยี่ยวตัดศีรษะในอัตตภาพนั้น ได้ไปเกิดในกรุงราชคฤห์ แล้วออกบวชในสำนักของปริพาชิกาทั้งหลายเจริญสมถกรรมฐานได้บรรลุปฐมฌาน ตายไปแล้วบังเกิดในพรหมโลก แล้วมาเกิดในตระกูลเศรษฐี ตายจากนั้นแล้วไปเกิดเป็นสุกร แล้วไปเกิดในสุวรรณภูมิ.....ตายจากนั้นไปเกิดที่บ้านเภกันตคาม ข้าพเจ้าได้เกิดถึง ๑๒ อัตตภาพ อันสูงๆ ต่ำๆ ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เกิดในอัตตภาพอันอุกฤษฏ์ ขอให้ท่านทั้งหลายแม้ทั้งหมดจงยังธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลายให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

    ดังนี้ได้ยังบริษัท ๔ ให้สังเวชสลดใจ แล้วปรินิพพาน





    ที่มา พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist

    เครดิต
     
  10. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    นางหนูเอ๋ยลุงเชียร์เอ็งเต็มที่ ยกเว้นกระทู้ของพระฤาษี นั้นแลที่ลุงรู้สึกขัดตาลุงเป็นนัก เข้าข่ายพวกอวดอุตริมนุษยธรรม ยิ่งนัก เห็นมีคำพูดของสมัคร เพื่อนลุงด้วยนี่ ระวังไว้หน่อยก็จะดี เพราะสมัครนั้นแล ค่อนข้างจะงมงายในพุทธปรัชญามากเกินไป ดังคำว่า เอาผ้าพลาสติกมาคลุมพิภพนั้นแล การใช้เพียงแต่สมองเพียงอย่างเดียวในการหยั่งมหาสมุทรแห่งธรรมะก็เป็นเช่นนี้แล

    อ้อ..เมื่อเช้าลุงเห็นภิกษุสายธรรมกายนับพันผ่านมา ให้เป็นที่รำคราญตาลุงยิ่งนัก จักเล่าให้ฟัง ระหว่างที่เหล่า นักบวชหัวโล้นได้ก้าวเดินนั้น เหล่าสาวกก้นำเอาดอกไม้โรยเป็นทางเดิน ดูขลังยิ่งนัก พระพันรูป เดินบนทางเดินที่โรยด้วยดอกไม้ น่าจักเป็นกุหลาบ ตลอดทางหลายสิบโล คำถามคือ ทำไมจึ่งต้องลงทุนมากมายขนาดนี้ ดอกกุหลาบนั้นถูกถอนทำลายมาเพียงใดกี่ต้นเล่า (ดอกกุหลาบนั้นก็มีชีวิตมิใช่หรือ ทำลายชีวิตมิใช่น้อย แลเงินค่ากุหลาบนับล้านนี้นำไปทำประโยชน์ให้สังคมได้มาเพียงใด) เพื่อมาให้พวกนี้เดินเหยียบหรือ ราวกับว่าจะจำลอง ตำนานในพุทธประวัติ ที่มีคนบางคนเอาตัวเองเป็นพรมให้ภิกษุ และ พระพุทธเจ้าดำเนินผ่านบนตัวไป

    อีกประเด็นที่น่าหัวเราะคือ แทนที่จะนำเอาพระพุทธรูปแห่ กลายมาเป็นรูปที่แห่ให้คนสรงน้ำกราบไห้ว กลายเป็นขรัวตาสดไป ลุงสงสัยว่านับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาหรือขรัวตาสดกันแน่ แลประกาศว่า มาร่วมทำบุญสืบต่ออายุพระศาสนา ช่างน่าหัวเราะยิ่งนัก นี่หรือสืบต่อ การทำแบบนี้ยิ่งเร่งให้ศาสนาพุทธให้พินาศฉิบหาย เร็วขึ้นอีกต่างหาก คิดดูเถิดนี่มันไม่เหลือปัญญาแล้ว มันเน้นศรัทธา และ พิธีกรรมใหญ่โต เวอร์เข้าไว้ โดยไม่ดูฐานะทางเศรษฐกิจเสียเลย หลักธรรมหายไปที่ใดกัน น่าเสียดายนักอีกประการเมื่อลุงสังเกตุภิกษุเหล่านั้นแค่การเดินลุงก็รู้แล้ว ราวกับว่ากำลังรีบไปจองตั๋วรถเที่ยวสุดท้าย แต่ละก้าวรวดเร็วยิ่งนัก ปราศจากอำนาจแห่งสัมมาสติ ลุงสงสัยยิ่งนักว่าเวลานั้นใจของภิกษุเหล่านั้นไปอยู่ที่แห่งใด สติไปไหน ทั้งที่พระพุทธองค์ทรงเน้นยิ่งนัก ก้าวเดินแต่ล่ะก้าวต้องช้าแต่ตื่นรู้ รู้ตัวทั่วพร้อมทุกขณะ เบิกบานเต็มที่ แม้เวลาตายพระองค์ก็ยังเป็นเช่นนี้ิ ยังรักษาสติไว้ได้ ดังที่พระองค์สามารถรู้ตัวได้ว่าบัดนี้ในอีกไม่กี่เพลาความตายก็จะเข้ามา พระองค์ตรัสว่าความเสื่องแห่งสังขารนี้เป็นเรื่องธรรมดา นี่จงตั้งตนบนทางแห่งความไม่ประัมาท แม้แต่จะตายก็ยังเน้นย้ำ สติเห็นไหม แต่พวกที่เรียกตัวว่าสาวกเล่า ช่างน่าขันยิ่งนัก


    ยังไม่นับประเด็นบิดเบือนพุทธธรรมเพื่อประโยชน์ตัวอีก เช่นสอนนิพพานเป็นอัตตา บิดเบือนถึงขั้นเมื่อถูกชี้มูลความผิด ก็ยังคงบิดเบิอนต่อไปครอบงำคนไม่รู้ให้หลงผิด บางพวกเป็นใหญ่เป็นโตก็ถึงขั้นจะเข้าไปเผาทำลายตำราทางพุทธศาสนาทั้งหมด(ของสำนักอื่น)ในองค์กรมหาลัย เพื่อให้เหลือแต่ฉบับของตน แปลความคัมภีร์ขึ้นมาใหม่บรรจุคำสอนของตนลงไปโดยที่สาวกไม่รู้แล นี่ยังไม่นับใช้อำนาจทำลาย ทำร้ายผู้หวังดีที่ออกมาเตือน เช่น ภิกขุปยุตโต

    เหตุไฉนคนพวกนี้ยังปั้นหน้าให้คนกราบไหว้ได้อีกในสังคมนี้ ช่างประหลาดใจลุงนัก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 เมษายน 2012
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ลุงเทพฯ รำคาญใจพระฤาษี หรอ หุหุ

    ก็เป็น นานาทัศนะ นังนู๋ อ่านได้ แต่ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น บางอย่างก็ต้องตรวจสอบกับตำรา

    นังนู๋ ก็ เดินตามท่านภิกขุปยุตโต อยู่ และก็เหมือนเดิม คือ สอบทานกับตำรา

    ส่วนวัดธรรมกาย ก็ขัดใจอยู่เหมือนกัน แต่ก็ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของเขาแหละ

    อันไหนไม่ถูกจริตเราก็ห่างๆไว้ ไม่ร่วมสังฆกรรม
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑
    อชปาลนิโครธกถา
    เรื่องพราหมณ์หุหุกชาติ
    [๔] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้
    โพธิพฤกษ์ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ
    ควงไม้อชปาลนิโครธตลอด ๗ วัน.
    ครั้งนั้น พราหมณ์หุหุกชาติคนหนึ่ง ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัย
    กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้
    ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พราหมณ์นั้นได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้
    แด่ผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ก็แล
    ธรรมเหล่าไหนทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์?
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
    ว่าดังนี้:-
    พุทธอุทานคาถา
    พราหมณ์ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่
    ตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด มีตน
    สำรวมแล้ว ถึงที่สุดแห่งเวท มีพรหมจรรย์
    อยู่จบแล้ว พราหมณ์นั้นไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น
    ในอารมณ์ไหนๆ ในโลก ควรกล่าวถ้อยคำว่า
    ตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม.
    อชปาลนิโครธกถา จบ
    -----------------------------------------------------
    มุจจลินทกถา
    เรื่องมุจจลินทนาคราช
    [๕] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธ
    เข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์
    ตลอด ๗ วัน.
    ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาว ตลอด
    ๗ วัน. ครั้งนั้น มุจจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน ได้แวดวงพระกายพระผู้มีพระภาคด้วย
    ขนด ๗ รอบ ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียรสถิตอยู่ด้วยหวังใจว่า ความหนาว ความร้อน
    อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อย่า
    เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค. ครั้นล่วง ๗ วัน มุจจลินทนาคราชรู้ว่า อากาศปลอดโปร่งปราศจาก
    ฝนแล้ว จึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาค จำแลงรูปของตนเป็นเพศมาณพ ได้ยืน
    ประคองอัญชลีถวายมนัสการพระผู้มีพระภาค ทางเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
    ว่าดังนี้:-
    พุทธอุทานคาถา
    ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ มีธรรม
    ปรากฏแล้ว เห็นอยู่ ความไม่พยาบาท คือความ
    สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความ
    ปราศจากกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลาย
    เสียได้ เป็นสุขในโลก การกำจัดอัสมิมานะ
    เสียได้นั่นแล เป็นสุขอย่างยิ่ง.
    มุจจลินทกถา จบ
    -----------------------------------------------------
    ราชายตนกถา
    เรื่องตปุสสะภัลลิกะ ๒ พ่อค้า
    [๖] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น แล้วเสด็จจากควงไม้
    มุจจลินท์ เข้าไปยังต้นไม้ราชายตนะ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ
    ควงไม้ราชายตนะ ตลอด ๗ วัน.
    ก็สมัยนั้น พ่อค้าชื่อตปุสสะ ๑ ภัลลิกะ ๑ เดินทางไกลจากอุกกลชนบท ถึงตำบลนั้น.
    ครั้งนั้น เป็นเทพยดาผู้เป็นญาติสาโลหิตของตปุสสะ ภัลลิกะ ๒ พ่อค้า ได้กล่าวคำนี้กะ ๒ พ่อค้านั้น
    ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่าน
    ทั้งสองจงไปบูชาพระผู้มีพระภาคนั้น ด้วยสัตตุผง และ สัตตุก้อน การบูชาของท่านทั้งสองนั้น
    จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน.
    ครั้งนั้น พ่อค้าชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ ถือสัตตุผงและสัตตุก้อนเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคแล้วถวายบังคม ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. สองพ่อค้านั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่งแล้ว ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจง
    ทรงรับสัตตุผงสัตตุก้อนของข้าพระพุทธเจ้าทั้งสอง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่
    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนาน. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงปริวิตกว่า พระตถาคต
    ทั้งหลาย ไม่รับวัตถุด้วยมือ เราจะพึงรับสัตตุผง และสัตตุก้อนด้วยอะไรหนอ
    ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ทรงทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้มีพระภาค ด้วย
    ใจของตนแล้ว เสด็จมาจาก ๔ ทิศ ทรงนำบาตรที่สำเร็จด้วยศิลา ๔ ใบเข้าไปถวายพระผู้มี พระภาค
    กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับสัตตุผงและสัตตุก้อนด้วยบาตรนี้ พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคทรงใช้บาตรสำเร็จด้วยศิลาอันใหม่เอี่ยม รับสัตตุผงและสัตตุก้อน
    แล้วเสวย.
    ครั้งนั้น พ่อค้าตปุสสะและภัลลิกะ ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า
    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคและพระธรรมว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค
    จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่าเป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
    ก็นายพาณิชสองคนนั้น ได้เป็นอุบาสกกล่าวอ้าง ๒ รัตนะ เป็นชุดแรกในโลก.
    ราชายตนกถา จบ
    -----------------------------------------------------
    [๗] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จจากควงไม้
    ราชายตนะ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ. ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ
    นั้น และพระองค์เสด็จไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ธรรม
    ที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่ง
    ลงสู่ความตรึก ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ส่วนหมู่สัตว์นี้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีใน
    อาลัย ชื่นชมในอาลัย ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้ เป็นสภาพอาศัย
    ปัจจัยเกิดขึ้นนี้ อันหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัยเห็นได้ยาก แม้
    ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้น
    กำหนัด เป็นที่ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้นี้ ก็แสนยากที่จะเห็นได้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดง
    ธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า
    แก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา.
    อนึ่ง อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ ที่ไม่เคยได้สดับในกาลก่อน ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค
    ว่าดังนี้:-
    อนัจฉริยคาถา
    บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว
    โดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะ
    ครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว
    ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด
    ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์
    ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย
    ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=116&Z=208
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พระสูตร
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
    จูฬกัมมวิภังคสูตร
    ว่าด้วย กฎแห่งกรรม
    พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕
    เล่ม ๑๔ ข้อ ๕๗๙-๕๙๗ หน้า ๒๘๗-๒๙๒
    ดูพระสูตรความย่อตอนเดียวกัน โดยคลิกที่
    {น.๒๘๗}[๕๗๙] ข้าพเจัาได้สดับมาอย่างนี้ :-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    [๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ มีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลว และความประณีต ?

    [๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
    ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญ ตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนึ้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์ จะพึงทราบเนื้อความแห่งอุเทศโดยพิสดารได้เถิด
    พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
    สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า

    {น.๒๘๘}[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต
    [๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
    [๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา
    [๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรค ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย คือ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา
    {น.๒๘๙} [๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และขึ้งเคียดให้ปรากฏ
    [๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามาก ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ
    [๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
    [๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การ{น.๒๙๐}ไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้ คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
    [๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
    [๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะ หรือพราหมณ์
    [๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะ คนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ {น.๒๙๑}ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา
    [๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา
    [๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
    [๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญา{น.๒๙๒}มากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
    [๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น ย่อม นำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณงาม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณงาม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก
    ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต

    [๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยยบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=116&Z=208
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2012
  14. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +452
    อย่าเดินตามคนแถวนี้กันนะครับ ให้เดินตามพ่อหลวงของเรานะครับ

    Code:
    
    
    ภาพจากเว็บ http://www.4x4.in.th/webboardpic/00034.html

    ค้างคาวฟังธรรม

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ตอนนี้ก็ขอพบกับบรรดาท่านพุทธบริษัทในเรื่องการปฏิบัติธรรมง่าย ๆ เป็นกฎของกรรมเดิม แล้วก็เข้าถึงซึ่งพระนิพพานอีก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความง่ายในการปฏิบัติในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคมีอยู่ สมเด็จพระบรมครูสอนไว้

    แต่ทว่า สำหรับที่ท่านทั้งหลายเห็นว่า การปฏิบัติในศาสนาขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเข้าถึงพระนิพพานเป็นของยาก

    อาตมาเองก็มีความสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมหนอ สาวกขององค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ชอบสอนแบบนั้น จะไปโทษสาวกขององค์สมเด็จพระทรงธรรมทุก ๆ องค์ก็ไม่ได้ เราต้องเรียกว่า คณาจารย์ทั้งหลายตั้งเหตุผลกันขึ้นมา หาเหตุยาก ๆ มาสอนบอกว่า พระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนนั้น ต้องปฏิบัติกันให้ตึงเครียดกันแบบนี้มันจึงจะดี

    นี่สิบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย การเรียนปฏิบัติแบบนี้อาตมาไม่อยากจะพูดว่าเป็นการทำลายความดีของพระพุทธเจ้า จะขอพูดเสียใหม่ว่า ท่านทั้งหลายมีความเข้าใจผิด คิดว่าสอนให้ลูกศิษย์ปฏิบัติในแบบฉบับที่ยาก ๆ มันเป็นของขลังดี ความรู้สึกอย่างนี้เป็นเหตุให้เสียผล ที่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้ปรารถนาในความดี แต่ความจริงถ้าสาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่บรรลุมรรคผลแล้ว สอนตามแบบฉบับที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอน ก็รู้สึกว่าเป็นของไม่ยาก

    ถ้าจะว่ากันไปอีกที สำหรับท่านทั้งหลายที่เป็นพระอรหัตผล สอนคนไม่ยากจริง ๆ ทั้งนี้เพราะว่า ท่านทั้งหลายเหล่านั้นท่านได้บรรลุแล้ว ย่อมทราบดีกว่า พระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วที่ท่านได้บรรลุมาแล้ว สิ่งใดบ้างที่พอสมควรกับกำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท เหมือนกับการเดินทาง ถ้าเรารู้จักทางลัดแต่ว่าไม่เสียผลประโยชน์ เราเดินทางลัดจะถึงไวกว่า ดีกว่าปล่อยให้บุคคลผู้ไม่รู้จักทาง เดินบุกเข้าป่าเข้ารก ไปพบหนามบ้าง พบสัตว์ร้ายบ้าง ในที่สุดเขาเหล่านั้นก็จะคลายความพยายาม เห็นว่าคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายากเกินไป เลยหมดกำลังใจที่จะพึงปฏิบัติ

    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท บรรดาคณาจารย์ทั้งหลายที่สอนกัน หรือเขียนตำราขึ้นมา นิยมเขียนให้มันยาก แต่ความจริงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เวลาสอนคน องค์สมเด็จพระทศพลไม่ได้สอนยาก หาวิธีที่บุคคลผู้รับฟังจะเข้าใจได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะง่ายได้

    เรามาฟังเรื่องราวขององค์สมเด็จพระจอมไตร ฟังกันไปจะเห็นว่าองค์สมเด็จพระบรมครูสอนแบบง่าย ๆ ตอนนี้ก็จะนำเอาสัตว์เดรัจฉานเข้านิพพานมาให้ฟังอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งความจริงก็เป็นพวกเดียวกับงูเหลือม ฟังธรรมพร้อมกัน

    สำหรับการฟังธรรมของสัตว์เดรัจฉานกลุ่มนี้ ก็ฟังเช่นเดียวกับงูเหลือม ชอบใจเฉพาะในเสียงธรรม เขาไม่ได้รู้เรื่องว่าผู้ที่ไปกล่าวนั้นเป็นพระ เขาไม่รู้จักคำว่าพระ และเขาเองก็ไม่รู้จักภาษามนุษย์ เสียงที่กล่าวไปจะหาว่าเขารู้จักว่าเป็นธรรมก็เปล่า เพียงแค่พอใจในเสียงเท่านั้น เมื่อตายจากความเป็นสัตว์ไปเกิดเป็นเทวดา พ้นจากเทวดาเป็นลูกของชาวประมงเป็นคน จากลูกชาวประมง บวชเป็นพระในสำนักของพระสารีบุตร ฟังธรรมนั้นซ้ำอีกครั้งเดียวเป็นพระอรหัตผล เรียกว่าเร็วกว่างูเหลือม

    งูเหลือมต้องมาเกิดเป็นคน มาบวชเป็นอเจลกแล้วก็ได้ทิพจักขุญาณ กว่าจะเข้าถึงพระศาสนาขององค์สมเด็จพระพิชิตมารต้องใช้เวลาตั้งหลายสิบปี คือตอนบวชเป็นพระได้ทิพจักขุญาณ แล้วพระเจ้าอโศกมหาราชยังเป็นเด็ก ต่อมาเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชครองราชสมบัติแทนพระราชบิดา ก็แสดงว่าอย่างน้อยพระองค์ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี หลวงตาองค์นี้ก็คงจะปาเข้าไปถึง 60 – 70 ปี เข้าไปแล้ว เสียเวลามาก สำหรับกลุ่มหลังนี้ไม่เสียเวลามาก

    เรื่องนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเคยฟังพระเทศน์มามาก แต่อาจจะไม่ได้สนใจ ท่านพวกนี้คือใคร ท่านพวกนี้คือ ค้างคาว 500 ตัว ที่ไปนอนห้อยหัวอยู่ในถ้ำเดียวกับงูเหลือม ขณะนั้น พระสงฆ์ทั้งหลายพากันไปซ้อมพระอภิธรรม

    การซ้อมแบบนั้นเป็นการซ้อมให้คล่อง ไม่ใช่ว่าจะซ้อมอภิธรรมให้เกิดความชำนาญแล้วนำไปสวดศพเพื่อหวังจะได้ปัจจัยมาหล่อเลี้ยงชีวิต พระสมัยนั้นท่านไม่ได้คิดแบบนั้น ท่านคิดอย่างเดียวว่า ทำอย่างไรหนอเราจะเป็นอรหันต์เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ นี่เป็นอารมณ์ใจส่วนใหญ่ และมีปริมาณสูงสุด ในขณะที่พระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่

    เมื่อพระทั้งหลายเหล่านั้นเรียนอภิธรรม จากสำนักของสมเด็จพระบรมครูแล้ว จึงได้นำเอาพระอภิธรรมที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอน ไปสาธยายให้ขึ้นใจ เพื่อจะได้จำข้อธรรมไว้ประพฤติปฏิบัติ

    ฉะนั้น ในขณะที่ท่านทั้งหลายเข้าไปซ้อมอภิธรรมในถ้ำหลังนั้น คือในถ้ำเดียวกันกับที่งูเหลือมนอนอยู่ แต่ว่าค้างคาวพวกนี้ไม่ได้ชอบธรรมะขององค์สมเด็จพระบรมครู หรือชอบเสียงอภิธรรมแต่เฉพาะบทอายตนะ ท่านชอบฟังเสียงทั้งหมด แต่ไม่รู้ว่าเสียงนั้นว่าอย่างไร พระทั้งหลายไปซ้อมกันก็ซ้อมแบบเสียงพร้อม ๆ กัน ทำเสียงให้สม่ำเสมอกันเพื่อความคล่องและความมีระเบียบ ค้างคาวทั้งหมดชอบใจเสียงทั้หมด เพราะว่าฟังเรียบ ๆ เสนาะดี จะรู้ว่าเสียงนี้เป็นเสียงธรรมก็หาไม่ ฟังมาฟังไป ฟังไปฟังมา เผลอหลับ เท้าก็หลุดหล่นลงมา ศีรษะกระทบหินตายหมดทั้ง 500 ตัว

    เมื่อตายแล้วเพราะฟังเสียงในธรรม พอใจในธรรม ก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกทั้งหมด มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้า 500 เป็นบริวาร

    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ฟังพระสูตรคือบุคคลตัวอย่าง ก็ดูตัวอย่างค้างคาว บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มีเครื่องบันทึกเสียง เมื่อฟังธรรมจากเสียง ถ้าบังเอิญเสียงในธรรมบทใดบทหนึ่งก็ตาม อันเป็นที่พอใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท พยายามฟังบทนั้นไว้ให้ขึ้นใจ เราจะจำได้หรือไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าทำจิตใจให้รัดรึงผูกติดเข้าไว้กับธรรมบทนั้น หมายความว่าขณะจะตาย ถ้าเปิดธรรมบทนั้นฟังก็ดี หรือไม่เปิดฟังธรรมบทนั้น แต่ทว่าจิตใจจับอยู่ในธรรมบทนั้น

    เป็นอันว่าจิตใจของท่านจับอยู่ในธรรม ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จิตฺเต ปาริสุทฺเธ สุคติ ปาฏิกงฺขา เพราะว่าในขณะใดที่จิตใจเราพอใจในธรรม ขณะนั้นจิตก็ว่างจากกิเลส ถ้าเป็นอย่างนั้น ท่านเองก็จะได้ผลดีเช่นเดียวกับค้างคาวทั้ง 500 ตัว หรือว่าเช่นเดียวกับงูเหลือม

    ตอนนี้มาคุยกันถึงเรื่องค้างคาวต่อไป เป็นอันว่าท่านทั้งหลายทราบแล้วว่า วิธีไปสวรรค์แบบง่าย ๆ ด้วยการพอใจในการฟังธรรม พอใจบทไหนมาก ฟังซ้ำอยู่แค่นั้น เราไปสวรรค์ได้เอาไว้ตอนหนึ่งก่อน อันดับแรก เรายึดสวรรค์ไว้เป็นทุนก่อน

    ต่อมา ค้างคาวพวกนั้น ที่ฟังธรรมในศาสนาขององค์สมเด็จพระชินวรไม่รู้เรื่อง แต่ว่าพอใจในเสียง เมื่อศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น คือพระพุทธเจ้าทรงมาอุบัติในโลก เป็นพระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนา ปรากฎว่าเทวดาค้างคาวทั้ง 500 ก็จุติจากเทวดา (คำว่าจุติ แปลว่า เคลื่อน ไม่ได้หมายความว่า ตาย) มาเกิดเป็นลูกชาวประมงในเขตของพระพุทธศาสนา ชาวประมงพวกนี้มีความเลื่อมใสในพระสารีบุตรมาก

    ต่อมาค้างคาวทั้ง 500 ที่มาเปิดเป็นลูกชาวประมง ขอได้โปรดทราบ ไม่ได้เกิดพ่อเดียวแม่เดียวกัน ถ้าเกิดพ่อเดียวแม่เดียวกันทั้ง 500 อย่างนี้ เขาเรียกว่าครอก ไม่ใช่ เหล่าคนมาเกิดในคณะนั้นร่วมกัน ร่วมคณะ ไม่ใช่ร่วมพ่อร่วมแม่คนเดียวกัน พ่อแม่คนหนึ่งอาจจะมีลูกห้าคน สามคน สี่คน แบ่งกันเกิด ไม่ใช่ไปรวมไปเกิดท้องเดียวคราวละ 500 คน เห็นจะแย่

    เมื่อเกิดมาแล้ว ต่อมาโตขึ้นก็มีความพอใจในพระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอบวชในสำนักของพระสารีบุตร เมื่อบวชแล้วก็อยู่ในสำนักของพระสารีบุตร

    ในกาลนั้น ปรากฎว่าเป็นเวลาที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา คือนำเอาอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์นี้ไปสอนพระพุทธมารดา พร้อมไปด้วยเทวดาและพรหมทั้งหมด

    ในวันหนึ่ง องค์สมเด็จพระบรมสุคต เวลาเช้าลงมาบินฑบาต ความจริงเมื่อถึงเวลาเช้าทุกวันร่างกายต้องการอาหาร เพราะว่าการที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นไปเทศน์โปรดพระพุทธมารดา พระองค์ไปด้วยอภิญญาสมาบัติ ยกกายไปทั้งกาย ไม่ใช่ว่าถอดจิตขึ้นไปอย่างที่พระได้มโนมยิทธิ

    การขึ้นไปของพระต่างกัน บางท่านที่ได้เฉพาะมโนมยิทธิก็เอาไปแต่นามกาย คือกายภายในที่เราเรียกกันว่า จิต จิตในที่นี้จะไปหมายความว่ามันเป็นดวง ๆ ก็ไม่ถูก ความจริงแล้วมันเป็นกายอีกกายหนึ่งที่เราเรียกว่า อทิสมานกาย มีหัว มีเท้า มีขา มีร่างกายเหมือนกัน

    แต่ว่ากายนี้จะสวยหรือไม่สวยปานใด ต้องวัดกันถึงด้านกุศลผลบุญที่เราทำไว้ ถ้าเราทำบาป กายนี้ก็จะเสื่อมโทรมมองดูไม่สวย ถ้าเรามีบุญร่างกายก็สวย ถ้าบุญมากเท่าไรกายนี้ยิ่งสวยมากเท่านั้น ถ้ากายของพระที่ประกอบไปด้วยนิพพาน จะเป็นแก้วประกายพรึกทั้งดวง มีแสงสว่าง กายประเภทนี้เราจะทราบได้เมื่อเราได้เจโตปริยญาณ เพราะอาศัยที่เรามีความเคารพในศาสนา ขององค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ ความรู้อันนี้ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ได้มาแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้สอนพวกเราเหล่าพุทธบริษัท ถ้าเราปฏิบัติตามเราก็ได้เช่นเดียวกัน

    มาพูดกันต่อไปว่า เมื่อถึงเวลาบิณฑบาต องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ทรงใช้ปาฏิหาริย์เนรมิตรูปพระขึ้นองค์หนึ่ง เหมือนกับพระองค์ ให้เทศน์ต่อ พระองค์ก็ลงมาบิณฑบาตยังเมืองมนุษย์

    ในวันหนึ่ง พระองค์เห็นพระสารีบุตรที่ขอบสระโบกขรณี องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสเรียกพระสารีบุตรว่า สารีปุตฺต ดูก่อนสารีบุตร เธอจงมาหาตถาคตในเวลากลับจากบิณฑบาตแล้ว พระสารีบุตรกำลังจะกลับวัด องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์จึงมาดักพระสารีบุตรอยู่ เพราะว่าองค์สมเด็จพระบรมครูทรงทราบว่า พระที่เป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตรทั้ง 500 รูป เดิมทีเดียวเคยฟังอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ ถ้าเขาฟังซ้ำอีกที เขาจะได้บรรลุมรรคผล

    เมื่อองค์สมเด็จพระทศพลทรงทราบอย่างนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้ไปดักพระสารีบุตรที่ขอบสระโบกขรณี เมื่อพระสารีบุตรพบองค์สมเด็จพระชินสีห์ เข้ามากราบถวายบังคมแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สารีปุตฺต ดูก่อนสารีบุตร เธอจงเรียนปกรณ์ 7 ประการนี้ไป คำว่า ปกรณ์ หมายความถึง หัวข้อธรรมที่บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายนำมาสวดผีตาย คือคนตายในเวลานี้

    แล้วองค์สมเด็จพระชินสีห์ก็มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สารีบุตร ลูกศิษย์ของเธอทั้ง 500 รูป ที่บวชอยู่ในสำนักของเธอ เดิมทีเขาเป็นค้างคาว 500 ตัว เคยฟังปกรณ์ 7 ประการนี้มาแล้ว และก็หล่นลงมาตายพร้อมกัน ไปเกิดเป็นเทวดาทั้ง 500 ท่าน เมื่อหมดบุญจากเทวดา ก็จุติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นลูกชาวประมง เวลานี้บวชในสำนักของเธอ ถ้าเขาฟังปกรณ์ 7 ประการนี้จบด้วยความเคารพ ท่านทั้งหมดนั้นจะเป็นอรหันต์ทั้งหมดทันที

    เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแนะนำพระสารีบุตรแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็บอกกับพระสารีบุตร ให้เรียนปกรณ์ทั้ง 7 ประการ คืออภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวธรรมแต่เพียงโดยย่อ พอได้ความตามที่พระนำมาสวดเวลาคนตายในเวลานี้

    เมื่อจบแล้ว องค์สมเด็จพระชินสีห์ก็แยกจากพระสารีบุตรขึ้นไปสู่สวรรค์
    เทวโลกชั้นดาวดึงส์ เสด็จประทับที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์เทศน์ต่อ พระที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงเนรมิตไว้ ทั้งนี้ พรหมและเทวดาทั้งหมดจะทราบก็หาไม่ เพราะเป็นอำนาจพระพุทธปาฏิหาริย์

    สำหรับพระสารีบุตรนั้น เมื่อได้สดับปกรณ์ทั้ง 7 ประการ จากองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดามาแล้ว กลับมาก็ปฏิบัติตามกระแสคำแนะนำขององค์สมเด็จพระประทีบแก้วคือ ฉันข้าวเสร็จแล้วจึงได้เรียกพระที่เป็นบริษัททั้ง 500 รูป มาประชุมกันแล้วก็แสดงปกรณ์ 7 ประการ พร้อมด้วยคำอธิบายให้เข้าใจ

    บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อได้ฟังปกรณ์ 7 ประการ พร้อมด้วยคำอธิบาย ก็ปรากฎว่าบรรลุอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลสูงสุดในพระพุทธศาสนา

    นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า การที่นำประวัติความเป็นมาของงูเหลือมก็ดี ค้างคาวก็ดี มาแสดงให้แก่บรรดาพุทธบริษัททราบ ก็มีความหวังตั้งใจอยู่อย่างเดียว คือว่า การสั่งสมบุญบารมีในเขตของพระพุทธศาสนานี้ และการเข้าถึงนิพพานเป็นของไม่ยากนัก

    ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีความเคารพในองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ดัดแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้เสียผล ท่านทั้งหลายที่เกิดมาเป็นคน พบพระพุทธเจ้าแล้วก็มีความเคารพในพระพุทธศาสนา ตั้งหน้าบำเพ็ญกิริยาวัตถุ คือสร้างความดีทุกประการ ตามที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ที่เป็นเช่นนี้ก็แสดงว่า ท่านทั้งหลายเคยพบองค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว และมีน้ำใจผ่องแผ้วประกอบไปด้วยกุศล บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนจึงมีความพอใจในการสดับและปฏิบัติธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ แสดงว่าบุญบารมีของท่านทั้งหลายสร้างมาแล้วใหญ่โตมาก จึงมีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้เคยได้พบตัวพระพุทธเจ้า แต่ก็มีความแน่ใจว่าพระพุทธเจ้ามีจริง

    เรื่องอย่างนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง จะเปรียบเทียบกันได้ว่า คนที่เขาเป็นเพื่อนกับท่านก็ดี อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงก็ดี ที่ได้มีความเคารพในศาสนาขององค์สมเด็จพระชินสีห์อย่างท่านอาจจะไม่มี ท่านไปพูดเรื่องพระพุทธศาสนา เขาจะสั่นหัวว่า เรื่องของศาสนา เป็นยาเสพติด ใช้ไม่ได้ นักบวชในศาสนาขององค์สมเด็จพระจอมไตรเป็นผู้ถ่วงความเจริญ ถ่วงความมั่งมีศรีสุขของสังคมอย่างนี้เป็นต้น

    นี่แหละบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน เป็นการเปรียบเทียบถึงบุญบารมี หากว่าท่านทั้งหลายจะบอกว่า บารมีที่ข้าพเจ้าสร้างมาน้อยเต็มที ไม่สามารถจะเป็นพระอรหันต์ได้ แต่บางท่านไม่พูดอย่างนั้น พูดเสียใหม่ว่า ข้าพเจ้าไม่มีบุญบารมีมาเลย ไม่สามารถจะเป็นพระอรหันต์ได้

    ถ้าหากว่า บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้ ก็ขอโปรดประทานอภัยกลับใจคิดเสียใหม่ คิดว่า ถ้าเราไม่เคยมีบุญบารมีที่เคยสะสมไว้ เราจะพอใจในคำสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ ดูตัวอย่างเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงของท่านก็แล้วกัน ท่านพอใจในพระธรรม แต่เขาไม่มีความพอใจ เปรียบเทียบบารมีกันได้ในตอนนี้ เป็นอันว่าท่านทั้งหลายทราบแล้วว่า เวลานี้ท่านมีบารมีพอสมควร

    รวมความแล้วก็ดีกว่าค้างคาว ดีกว่างูเหลือมมาก อย่างน้อยที่สุดท่นก็รู้ว่า นี่เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าที่สอนไว้ ถ้าบุคคลผู้ใดปฏิบัติตามจะมีความสุข หรือถ้าความเลื่อมใสไม่มีถึงแค่นั้น ท่านทั้งหลายก็ยังรู้จักคำพูดที่พระท่านสวด หรือฟังเครื่องบันทึกเสียงที่ฟังว่า นี่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า รู้ภาษาแห่งคำพูด ถ้าจะเปรียบเทียบกับค้างคาวและงูเหลือม ท่านดีกว่าหลายแสนเท่า

    ในเมื่อค้างคาวและงูเหลือมเป็นสัตว์เดรัจฉาน ฟังธรรมไม่รู้ว่าธรรม และก็ไม่รู้เรื่อง พอใจแต่เพียงเสียง ตายแล้วเป็นเทวดาได้ อันนี้เป็นทุนใหญ่เบื้องแรก แล้วกลับลงมาเกิดเป็นคน ฟังธรรมซ้ำอีกคราวหนึ่ง ปรากฎว่าสำเร็จอรหัตผล

    บรรดาท่านพุทธบริษัทเกิดเป็นคน ฟังภาษาก็รู้เรื่อง และก็มีความเข้าใจว่า นี่เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอันว่าท่านมีกำไรดีกว่างูเหลือมและค้างคาวทั้งหมด

    หากว่าท่านพอใจในเสียงธรรมขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ที่บรรดาพระสงฆ์สาวกนำมาแสดง ฟังแล้วจงอย่าทิ้งไป เลือกฟังหลาย ๆ เรื่อง อย่ากลัวเปลืองเวลาและอย่ากลัวเปลืองเงิน บันทึกเข้าไว้หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ ตอน แล้วก็พิจารณาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรว่า เรื่องไหนเราชอบใจมากที่สุด มีอยู่เท่าไร ฟังตอนที่เราชอบใจให้หนัก ให้ขึ้นใจ

    เวลาก่อนจะหลับ นึกถึงพระธรรมบทนั้น หนักเข้าไว้สัก 2-3 นาที แล้วก็หลับไปไม่เป็นไร เวลาตื่นใหม่ ๆ นึกถึงพระธรรมบทนั้นเข้าไว้สักนิดหน่อย เป็นการกระตุ้นเตือนใจ เวลากลางวันประกอบกิจการงาน ถ้าว่างเมื่อไรนึกถึงธรรมบทนั้นเข้าไว้

    ถ้าเป็นอย่างนี้ ถ้าบุญวาสนาบารมีท่านยังอ่อน จะต้องเร่ร่อนไปในวัฏสงสาร ถ้าตายไปจากมนุษย์เมื่อไร อย่างน้อยที่สุดท่านก็เกิดเป็นเทวดาหรือพรหม

    ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีจากเทวดาหรือพรหม มาเกิดเป็นคน ฟังธรรมซ้ำอีกหนเดียว เพราะว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ย่อมรู้ใจคนว่ามีกุศลส่วนใดมาในชาติก่อน องค์สมเด็จพระชินวรจะสอนบทนั้นเป็นการซ้ำ หรือสะกิดแผลเก่า จะทำให้เราเข้าถึงธรรมบทนั้นได้โดยฉับพลัน และเป็นอรหันต์ทันที

    เวลาที่เราเกิดเป็นเทวดา ถ้าพระศรีอาริย์ตรัสขึ้นมา เรายังเป็นเทวดาหรือพรหม ถ้าฟังเทศน์จากพระศรีอาริย์เพียงจบเดียว บรรดาท่านพุทธบริษัทก็จะได้บรรลุมรรคผลพระนิพพาน เพราะว่าองค์สมเด็าจพระพิชิตมารเทศน์สอนพุทธบริษัทคราวใด ปรากฎว่าเทวดาหรือพรหมบรรลุมรรคผลมากกว่าคน เพราะว่าเทวดาก็ดี พรหมก็ดี มีกายเป็นทิพย์ มีความเป็นอยู่เป็นทิพย์ ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความกังวล เมื่อจิตน้อมไปในส่วนของกุศลแล้ว ก็ปรากฎว่ามีความเข้าใจในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วได้ดี เป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลได้ง่าย

    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ขอยุติคำแนะนำในเรื่องของพระสูตรไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี

    ***************

    <O:phttp://www.kaskaew.com/index.asp?catid=4&contentID=10000004&getarticle=130&title=%A4%E9%D2%A7%A4%D2%C7%BF%D1%A7%B8%C3%C3%C1</O:p>
    นางหนูเกือบจะดีแล้วกระทู้นี้ ยกเว้นมีกระทู้นี้นี่แหละ............อา.............ลุงเห็นแล้ว เลือดลมมันปั่นป่วนยิ่งนัก





    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset; background-origin: initial; background-clip: initial" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ หมอกฤช comfirm [​IMG]


    อย่าเอาความคิดของปุถุชน

    มาตัดสินกันครับ แล้วอย่าเดินตาม

    ให้เดินตามพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย

    พระดังไม่สำคัญเท่าพระดี

    ({) ฟันธงตคราบ















    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 เมษายน 2012
  15. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +452
    <CENTER>ผมเคยร่วมทำบุญผ้าป่าช่วยชาติ กับหลวงตาครับ

    </CENTER>
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); COLOR: rgb(255,255,255)" SIZE=1>อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset; background-origin: initial; background-clip: initial" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เตชพโล [​IMG]
    สาธุ ผมก็เคารพบูชา หลวงพ่อฤษี เช่นกันครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี ทรงก้มลงกราบหลวงตาบัวด้วยความเคารพ


    ไม่รู้สิครับ หลวงปู่บัว หรือหลวงตาบัวของคนไทย

    ผมก็กราบท่านแบบสุดตัว สุดหัวใจ

    กราบทุกครั้ง จะเอาเท้าท่านไว้บนศรีษะ

    รู้สึกว่าเป็นมงคลยิ่ง

     
  16. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +452
    ให้เดินตามพระหลวงพ่อ หลวงตากันนะครับ เดินตามพระแท้ ตามพ่อหลวงกันครับ

    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset; background-origin: initial; background-clip: initial" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ หมอกฤช comfirm [​IMG]
    [​IMG]

    หลวงพ่อฤษีกับพระเจ้าอยุ่หัวของเรา


    [​IMG]



    พ่อหลวงของเรา เข้าวัดไหน วัดนั้น ไม่ธรรมดาแล้ว

    กราบได้สุดตัวเลย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ทำไม พระเจ้าอยุ่หัวของเราเวลา

    ไปกราบนมัสการ หลวงพ่อฤษีลิงดำ

    ทำไมพระองค์ แต่ชุดทหารสีเขียวเข้ม

    เต็มยศ ซึ่งในยุคนี้ จะมีองค์เดียวเท่านั้น

    ที่เป็นแบบนี้ ที่พระเจ้าอยู่หัวไปกราบ

    จะต้องแต่งชุดทหารเต็มพิกัด เพราะอะไร

    ใครรู้คำตอบ มาโพสไว้ครับ?
    อย่าเดินตามคนแถวนี้กันนะครับ

    ให้เดิมพระจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของเรา

    เดินตามคนแถวนี้ ร่วงไปอยู่ข้างล่าง

    แล้วจะหาว่าผมไม่เตือนนะครับ

    ({) ฟันธงคราบ
     
  17. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +452
    พระเจ้าอยู่หัว ฟังธรรมของใคร ให้ฟังตามพระองค์ท่าน

    ราคะจริต-จริต ๖ ชุดทูลถวาย

    (พ่อหลวงขอเราขอให้หลวงพ่อฤษีโปรดเทศนาสอน)

    Posted by ศูนย์พุทธศรัทธา on July 2nd, 2011No Comments


    <CENTER>ราคะจริต-จริต ๖ ชุดทูลถวาย
    โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)</CENTER>

    <CENTER>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]</CENTER>
    อาตมาจะขอถวายพระพร ในจริต ๖ ประการ ที่พระมหาบพิตรมีพระราชประสงค์ แต่ว่าเวลากาลที่เนิ่นช้ามา อาตมาไม่ได้บันทึกเสียงถวาย ทั้งนี้ก็เพราะว่าคอไม่ดี พูดเสียงไม่ออก ไม่สามารถจะบันทึกได้เป็นเวลานาน มาในโอกาสนี้เสียงพอจะใช้ได้บ้าง แต่ก็ยังไม่ปกติ เห็นว่าสมควรจะบันทึกถวายได้แล้ว จึงบันทึกถวายมา
    สำหรับ จริต ๖ ในตอนนี้ อาตมาจะขอปรารภเรื่อง ราคะจริต ที่พระมหาบพิตรเคยตรัสว่า บางคนเขาเข้าใจว่าตัวเขาเองไม่มีราคะจริต ความจริงคำว่า ราคะจริต ไม่ได้หมายถึงว่า เป็นผู้ใคร่ในกามารมณ์เสมอไป ทั้งนี้ก็หมายถึงว่า บุคคลใดก็ตาม ยังมีความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย การสัมผัสเป็นที่พอใจ อย่างนี้เป็นต้น ก็ชื่อว่าบุคคลเป็นผู้มีราคะจริต เพราะคำว่าราคะจริต หมายถึงว่า การรักสวยรักงาม เป็นต้น มิได้หมายความว่าเป็นผู้มักมากในกามารมณ์
    นี้คนส่วนใหญ่ถ้ากล่าวกันว่าราคะจริต ก็มักจะมีความเข้าใจว่า ตนเองจะเป็นผู้มักมากในกามาารมณ์ จึงจัดว่าเป็นราคะจริต ความเห็นเช่นนี้ย่อมมีการพลาดจากความจริงไปมาก เป็นเหตุให้บุคคลนั้นมีความประมาท คิดว่าตนเป็นผู้ไม่มีราคะ ฉะนั้น ในการที่พระมหาบพิตรทรงมีพระราชประสงค์ ต้องการจะให้บันทึกเฉพาะจริตต่อจริต หรือว่าจริตหนึ่งต่อหนึ่งเทป อาตมาเห็นชอบด้วย
    สำหรับราคะจริตนี้ เป็นอันว่าพอจะเข้าใจได้ว่า คนใดก็ตาม ถึงแม้ว่าไม่มีความรู้สึกทางเพศ ถ้ายังมีความต้องการรูปสวย ภาชนะสวย ดอกไม้มีลักษณะสวย อย่างนี้เป็นต้น ก็ยังชื่อว่ามีราคะ และอีกประการหนึ่ง อารมณ์ใดที่ปรากฏ อารมณ์นิ่งอยู่ ไม่มีความพอใจในกามารมณ์ อารมณ์นั้นยังจะถือว่าเป็นผู้ไม่มีราคะจริตไม่ได้ ต้องอาศัยการสัมผัสเป็นสำคัญ ถ้าความสัมผัสและการยั่วเย้าทำให้เกิดขึ้น ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ มีอารมณ์ด้านจากกามารมณ์จริงๆ อย่างนี้จึงจะใช้ได้
    สำหรับท่านที่มีอารมณ์ด้านจากกามารมณ์โดยอำนาจของธรรมะ ก็จะต้องมีข้อเปรียบเทียบอีกข้อหนึ่ง นั่นก็คือไม่มีอารมณ์โทสะเข้ามาเจือปน คือว่า คนที่ไม่มีราคะจริตจริงๆ ตัดความรู้สึกในเพศได้จริงๆ ก็ต้องตัดโทสะร่วมกันได้ด้วย ทั้งนี้เพราะว่าเป็นองค์ของพระอนาคามี
    ทีนี้ต่อไปนี้ อาตมาจะขอปรารภเรื่อง ราคะจริต ที่องค์สมเด็จพระธรรมสามิตร์ได้ทรงตรัสว่า มีกรรมฐาน ๑๑ อย่างควบคู่กัน เป็นผู้เข้าทำลายหรือประหัตประหารราคะจริต สำหรับกรรมฐาน ๑๑ อย่างนั้น อาตมาจะขอย่อลงมาเหลือเป็น ๒ คือ หนึ่ง กายคตานุสสติการพิจารณากายว่ามีแต่อาการ ๓๒ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น และทุกส่วนของร่างกาย องค์สมเด็จพระจอมไตรให้พิจารณาว่าเต็มไปด้วยความสกปรก คำว่าเห็นสกปรกเป็นของน่าเกลียด อย่างนี้เป็นลักษณะของ อสุภกรรมฐาน อีก ๑๐ อย่าง
    แต่อาตมาจะไม่จำแนกแต่ละอย่าง จะขอถวายพระพรแบบรวบๆ ทั้งนี้เพราะว่าพระมหาบพิตรทรงมีความเข้าพระทัยดีแล้วในเรื่องนี้ แต่ว่าพระมหาบพิตรทรงมีความสงสัยหรือแคลงใจในด้านการพิจารณากาย ว่าจะทำอย่างไร จึงจะเห็นว่าร่างกายสกปรก นี้เป็นส่วนที่มหาบพิตรทรงมีความสงสัยมาก แล้วก็จะรู้สึกว่าเห็นด้วยไม่ได้ ที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสตรัสสั่งว่า หรือว่าจริตของผมจะไม่ตรงกัน อันนี้อาตมาก็ขอถวายพระพรว่า ข้อนี้เป็นความจริง
    เรื่องการที่จะทำลายนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งก็ดี หรือจะทำลายกิเลสจุดใดจุดหนึ่งก็ดี ซึ่งเป็นจุดใหญ่ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาให้มุ่งจริตเป็นสำคัญ อย่างบุคคลผู้มีพุทธจริต เป็นบุคคลที่มีความฉลาดมาก อย่างนี้อาตมาเคยประสบมาในสมัยที่เคยฝึกร่วมกัน ว่าเขาผู้นั้นไม่สามารถจะเจริญในอสุภกรรมฐานได้ และไม่สามารถที่จะเจริญในกายคตานุสสติได้ ทั้งนี้เพราะว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อปานวัดบางนมโค เคยเตือนท่านผู้นั้นว่า เธอไม่เหมาะสมที่จะไปพิจารณาอสุภกรรมฐาน ทั้งนี้ก็เพราะว่าจริตของเธอไม่เหมาะสม
    สำหรับพระมหาบพิตรก็เช่นเดียวกัน อาตมาพิจารณาแล้วเห็นว่า พระมหาบพิตรมีพระจริตไปในด้านพุทธจริตเป็นสำคัญ แล้วนอกจากนั้นก็มีศรัทธาจริตเจือปนผสมอยู่ จึงมีกำลังมาก หากว่าจะมาพิจารณาในด้านอสุภกรรมฐานและกายคตานุสสติกรรมฐาน ย่อมจะเห็นยาก หากว่าจะตรัสถามว่า ถ้าไม่สามารถจะใช้อสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้อารมณ์สมาธิจะมีผลไหม อาตมาก็ต้องขอถวายพระพรว่า สมาธิมีผลแน่ ไปตามสายของโลกียฌาน
    แต่ในเมื่ออารมณ์สมาธิจะก้าวเข้าสู่โลกุตตรฌานในขั้นพระโสดาบัน ก็ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ กายคตานุสสติกรรมฐานและอสุภกรรมฐานเป็นกำลังใหญ่ ต่อเมื่อกำลังใจก้าวเข้าไปสู่สกิทาคามี ตอนนี้กายคตานุสสติกรรมฐานกับอสุภกรรมฐาน เริ่มมีบทบาทเล็กน้อยพอสมควร ไม่มากนัก ถ้ากำลังจิตก้าวเข้าสู่พระอนาคามีมรรค ตอนนี้มีความสำคัญ ต้องใช้กายคตานุสสติและอสุภกรรมฐานเป็นกำลังใหญ่ ควบคู่กับพรหมวิหาร ๔ ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระอนาคามีจำต้องตัดราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในเพศ และปฏิฆะ-อารมณ์กระทบกระทั่งแห่งจิต
    ตอนนี้ถ้าพระมหาบพิตรจะทรงตรัสถามว่า ถ้าไม่ฝึกฝนในด้านราคะจริตไปแล้ว คือ ไม่เจริญอสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานไปในตอนต้น บุคคลที่จะก้าวเข้าสู่เป็นพระอนาคามีจะมิไม่มีผลหรือ ทั้งนี้อาตมาภาพก็ต้องถวายพระพรว่า กาลเวลาเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการนำอารมณ์จิตก้าวเข้าสู่ในความเป็นพระโสดาบัน ย่อมมีกำลังมากกับฌานโลกีย์ คืออารมณ์ทรงตัว
    ทีนี้ตอนที่จิตจะก้าวเข้าสู่พระสกิทาคามี ย่อมเป็นของไม่ยาก เมื่อก้าวเข้าสู่เป็นพระสกิทาคามีมรรค ในตอนนี้ก็ใช้อสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานมากขึ้น อาศัยฌานเป็นฌานโลกุตตระ มีอาการทรงตัว จะทำลายความรู้สึกในเพศได้เล็กน้อยพอสมควร เมื่อทรงความเป็นพระสกิทาคามีแล้ว คราวนี้จิตมีกำลังเข้มแข็งขึ้น การจะใช้อารมณ์เข้าประหัตประหารกามารมณ์ ด้วยอำนาจกายคตานุสสติและอสุภกรรมฐาน เป็นของไม่ยาก
    ทั้งนี้ข้อเปรียบเทียบก็จะเหมือนกับนักเรียน ที่ศึกษามาตั้งแต่ชั้นอนุบาล แล้วขึ้นประถมปีที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ถ้าศึกษาตามลำดับนี้ จะรู้สึกว่าไม่หนัก ถ้าอยู่ๆ โตแล้วเรียนลัด ก็รู้สึกว่าจะหนักมากกว่า และก็คนที่มีความพยายาม มีวิริยะอุตสาหะจริงๆ ก็สามารถทำได้
    สำหรับพระราชปรารภของพระมหาบพิตรก็เช่นเดียวกัน ซึ่งทรงถามว่า จะทำยังไงจึงจะเห็นว่าร่างกายสกปรก พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สกปรก เหมือนกับเอามือไปหยิบของสกปรกมา แล้วก็มาล้างมันก็สะอาด
    ทีนี้การพิจารณา ในอสุภกรรมฐานก็ดี ในกายคตานุสสติกรรมฐานก็ดี องค์สมเด็จพระชินสีห์ ทรงปรารภว่า ต้องพิจารณากายของตนเองด้วย พิจารณากายของบุคคลอื่น และสัตว์อื่นนอกจากตัวเองด้วย พิจารณาวัตถุธาตุต่างๆ ด้วย ว่าเป็นสิ่งสกปรก และที่ทรงตรัสว่า สมมติว่าเอามือไปหยิบอย่างอื่นมา มันเป็นของสกปรก เราล้างเสียมันก็สะอาด ทีนี้ส่วนที่หยิบ ขอให้พระมหาบพิตรทรงพิจารณาว่า ส่วนที่หยิบมันเป็นของสกปรกน่ะมันเป็นอะไร เป็นวัตถุธาตุ หรือว่าเป็นร่างกายส่วนชิ้นส่วนของร่างกายของคนและสัตว์
    ถ้าเป็นวัตถุธาตุ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถก็กล่าวว่า นั่นธาตุดินถ้ามันเป็นของแข็ง ธาตุดินมีสภาวะสกปรก ถ้าเป็นของเหลวก็จัดว่าเป็นธาตุน้ำ ก็แสดงว่าน้ำสกปรก ทีนี้สำหรับธาตุดินกับธาตุน้ำนี่ ในร่างกายมีหรือเปล่า มีดินไหม หรือว่ามีน้ำไหม เมื่อมาพิจารณาเห็นธาตุดินกับธาตุน้ำในร่างกายมี ว่าส่วนใดที่มีความเข้มแข็ง สิ่งนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นธาตุดิน ถ้าส่วนใดเป็นของเหลวในร่างกาย องค์สมเด็จพระจอมไตรเรียกว่าธาตุน้ำ
    ทีนี้มาพิจารณาธาตุดินกับธาตุน้ำในร่างกายของตนเอง ว่าธาตุน้ำส่วนไหนในร่างกายที่ไม่สกปรก ถ้าจะบ้วนน้ำลายออกมา เขฬะ น้ำลายในปากอมได้ แต่พอบ้วนออกมาแล้ว ทุกคนพากันรังเกียจว่าน้ำลายสกปรก ก็ต้องถอยหลังเข้าไปพิจารณาน้ำลายว่าเป็นของอยู่ที่ไหน ถ้าเป็นของอยู่ในร่างกาย ก็แสดงว่าส่วนของร่างกายมีความสกปรก
    ถ้าจะสั่งน้ำมูกออกมา น้ำมูกออกมาจากร่างกาย แล้วก็พิจารณาว่าน้ำมูกนี่สกปรกหรือสะอาด เมื่อพิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นว่าน้ำมูกสกปรก ต้องถอยหลังคิดว่าน้ำมูกนี่มาจากไหน
    ถ้าน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ไหลออกมาจากร่างกาย ทุกคนก็ทราบว่า น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง สกปรก อันนี้ก็ต้องทวนคิดว่า น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองอยู่ที่ไหน หันไปอีกที จะเห็นว่าอยู่ในร่างกาย นี้ส่วนย่อยแค่นี้ ถ้าพิจารณาแล้วก็เห็นว่า ส่วนที่เป็นน้ำในร่างกายเป็นของสกปรก เป็นของไม่สะอาด
    ทีนี้มาพิจารณาธาตุดิน ว่าธาตุดินที่อยู่ในร่างกายเป็นของสกปรกหรือว่าของสะอาด ทวนถอยหลังถึงสรีระร่างกายภายนอก ส่วนที่มีความสำคัญที่สุดก็คือหนังกำพร้า หนังกำพร้านี่ปกติจะมีความเกลี้ยงเกลาอยู่ แต่ทว่าอาศัยการซึมออกมาจากเหงื่อ เมื่อเหงื่อซึมออกมาจากร่างกาย คนทุกคนก็จะต้องยอมรับว่า เวลานี้ร่างกายสกปรก
    แต่ว่าเมื่อร่างกายสกปรกมีความเหนียวๆ เหนอะไปด้วยเหงื่อ ทุกคนก็จะพากันอาบน้ำและเช็ดตัว ชำระร่างกายให้สะอาด ความรู้สึกว่าสกปรกก็หายไป เลยมีความเข้าใจว่าร่างกายสะอาด ถ้าหากว่าการชำระล้างครั้งเดียวสะอาดตลอดกาล ก็ควรจะยอมรับว่าร่างกายสะอาดได้ แต่ทว่าก็ไม่สะอาดจริง เพราะต้องอาศัยการชำระล้างร่างกายเป็นสำคัญ จึงมีอาการเช่นนั้น ถ้าร่างกายสะอาดจริงๆ ตั้งแต่เกิดมาจนวันตาย ก็ไม่ต้องชำระล้างร่างกาย
    นี่การชำระล้างร่างกาย มีการอาบน้ำ มีการเช็ดตัวกันตามปกติ ก็เพราะว่าร่างกายเป็นของสกปรก แต่อาศัยความเคยชินของจิต จึงไม่มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้สกปรก มีความรู้สึกอยู่เสมอว่า เหมือนกับร่างกายนี้สะอาด แต่ความจริงการพิจารณาว่า ร่างกายสกปรก หรือร่างกายสะอาดนี้ ต้องค่อยๆ ทำไปตามกำลัง
    คำว่ากำลัง อันนี้อาตมาก็จะขอถวายพระพรว่า กำลังของจิตมีความไม่สม่ำเสมอกัน ถ้าจะใช้ในด้านของกำลังฌานโลกีย์ ในตอนนี้พระมหาบพิตร ถ้าหากว่าทรงตำรับตำราต่างๆ หรือรับฟังมาจากที่ไหนก็ตาม จะเห็นว่าบุคคลผู้ทรงฌานโลกีย์ ยังมีสติแห่งสมาธิไม่แน่นอน ทั้งนี้ก็หมายถึงว่า ยังมีอาการขึ้นลงของจิต บางขณะจิตทรงฌานได้ดี บางขณะอารมณ์ของฌานก็เสื่อมตัวลง หาความทรงตัวแน่นอนไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะจิตของบุคคลผู้ทรงฌานโลกีย์ ยังมีความไม่มั่นคง ยังมีความโยกโคลง จิตยังตกเป็นทาสของนิวรณ์ ๕ ประการ คือ อารมณ์ที่เป็นอกุศล นอกจากนิวรณ์ ๕ ประการแล้ว อารมณ์ที่เป็นอกุศลอย่างอื่น ก็ยังมีอีกมากที่ยังมีอำนาจเหนือจิต
    ฉะนั้น ตามที่พระมหาบพิตรตรัสว่า การพิจารณาร่างกายเป็นของสกปรกนี่ กระผมเห็นจะทำไม่ได้ เพราะว่าคงจะไม่ใช่จริตของตน อันนี้อาตมาก็ขอรับรองว่า จริตของพระมหาบพิตรไม่ตรงกับราคะจริต ความจริงมี แต่ว่ากำลังของราคะจริตมีเป็นกำลังส่วนน้อย กำลังส่วนใหญ่ของพระมหาบพิตร นั่นก็คือพุทธจริตเป็นสำคัญ แล้วก็มีศรัทธาจริตเป็นกำลังหนุนใหญ่ น้ำพระทัยก็ทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหาร ๔ ถ้าอาการอย่างนี้มีกำลังใหญ่ ย่อมไม่สามารถจะมองเห็นราคะจริตได้ง่ายนัก แต่ก็เป็นผลดีเพราะว่าเป็นปัจจัยสำคัญ พุทธจริตก็ดี ศรัทธาจริตก็ดี กำลังพรหมวิหาร ๔ ก็ดี เป็นกรรมฐานที่มีกำลังใหญ่ และเป็นกุศลที่มีกำลังใหญ่ ที่สามารถจะนำกำลังใจให้เข้าสู่ความเป็นอริยมรรค อริยผลได้โดยไม่ยาก
    นี่เป็นอันว่า กำลังของจิตของท่านที่จะพิจารณาในด้านราคะจริต คือ พิจารณากายคตานุสสติและอสุภกรรมฐาน มีความสำคัญ ต้องวัดระดับจิต แต่ความจริงอาตมาก็ดี ดูเหมือนว่าอาจารย์องค์อื่นก็จะมีหลายองค์เหมือนกัน ที่เทศน์สอนบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เลยเขียนเป็นตำรับตำรากันออกมา ก็มักจะบอกว่าให้ทำลายอารมณ์ราคะจริตให้หมดไปในอันดับของฌาน
    นี่การพูดแบบนี้ของอาตมาและการเขียนก็ตาม ตามที่พระมหาบพิตรทรงตรัสว่าเป็นของยาก เป็นปัจจัยให้อาตมามีความรู้สึกตัวว่า การเขียนตำราก็ดี การแนะนำบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ก็ดี ผิดจากพุทธประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้ก็เพราะว่าไม่ได้พิจารณาว่าคนที่จะรับฟังนั้น เป็นคนอันดับไหน ทั้งนี้ก็เพราะว่า อาตมาเองก็ได้เคยถวายพระพร และกล่าวกับบุคคลทั้งหลายว่าไม่ใช่สัพพัญูวิสัย แต่ทว่าถึงกระนั้นก็ดี ก็ยังแบกความโง่ไปสอนคนอื่น อาตมาขอขอบพระคุณในพระมหากรุณาธิคุณในข้อนี้ที่ทรงเตือน
    คำว่าเตือน ก็หมายความถึงว่า พระองค์ทรงตรัสว่า เข้าใจได้ยาก เป็นการตัดได้ยาก ในการที่จะตัดราคะ อันนี้ก็ต้องหมายถึงว่า ถ้าเป็นกำลังฌานโลกีย์ เค้าตัดกันเพียงแค่นี้ คนที่ปฏิบัติเพียงแค่ฌานโลกีย์ จะเห็นว่า ยังมีการสมสู่กันอยู่ระหว่างสามีภรรยา ยังมีความรักในเพศ ยังมีความโกรธคิดจะประหัตประหารบุคคลอื่น ยังมีความหลงในความต้องการต่างๆ ในด้านวัตถุและบุคคล เป็นอันว่าคนในระดับขั้นฌานโลกีย์ ไม่อยู่ในเกณฑ์ตัดอะไรได้ทั้งหมด
    คำว่าตัดอารมณ์ ยังไม่มีเลย สำหรับบุคคลผู้ทรงฌานประเภทนี้ นี้ฌานโลกีย์เป็นแต่เพียงระงับอารมณ์ได้เล็กน้อยเท่านั้น ถ้าจะปฏิบัติ ในด้านฌานโลกีย์ในราคะจริต คือใช้กายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐาน เอาตามที่ปฏิบัติกันมา ถ้าจะว่าเฟ้ยไปตามตำราก็เป็นของยาก เพราะมองเห็นได้ยาก ตามที่ปฏิบัติกันมาจริงๆ ต้องถอยหลังนิด เพราะว่าการก้าวเลยไปนานๆ อาจจะลืมหลังได้
    แต่ทั้งนี้ ก็ต้องขอขอบพระมหากรุณาธิคุณที่พระมหาบพิตรทรงติงมาให้เข้าใจ มีความรู้สึกตัวว่า ถอยหลังลงไปในอดีต ขณะที่ปฏิบัติกันอยู่ในขั้นกรรมฐานเบื้องต้น อันนี้จะมีความรู้สึกตนอยู่ว่า ทรงอารมณ์ดีอยู่ในด้านขณะที่คุมจิตเป็นสมาธิเท่านั้น แต่ความจริงในเวลาที่ทรงสมาธิจริงๆ บางครั้งก็ไม่มีอะไรเป็นผล หรือว่ามีผลบ้างก็เล็กน้อยเท่านั้น คือ อารมณ์อาจจะซ่านไปสู่ หาความสวยสดงดงามตามระหว่างเพศ หรือสีสันวรรณะของวัตถุ ความรักในวัตถุ ในทรวดทรงของวัตถุ ในสีสันวรรณะของวัตถุ ในกลิ่นของวัตถุก็ตาม ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนหรือสัตว์ ก็จัดว่าเป็นราคะจริต
    ทีนี้ในบางครั้งที่ทรงฌานโลกีย์ เวลานั้นกิเลสมันยังเข้าสิงใจได้ง่าย เป็นของไม่ยาก บางคราวขณะที่ทรงจิตเป็นสมาธิ ทรงได้ดี ระงับตัดอารมณ์ความรู้สึกในความสวยสดงดงามของคน และสัตว์ และวัตถุทั้งหมด ข่มใจได้ปกติก็ทรงสมาธิได้แนบสนิท
    เมื่อเวลาที่จิตถอนออกมาจากสมาธิ อารมณ์แห่งการรักในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส และความสัมผัสระหว่างเพศ มันก็ยังเกิดขึ้นมาอีก อันนี้แสดงว่า บุคคลที่ทรงจิตในด้านฌานโลกีย์ ไม่มีอะไรดีจริงๆ หาความดีที่เที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ จะคุมอารมณ์ได้ ไม่พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส คือระงับ ไม่ใช่ไม่พอใจ หยุดไว้เฉยๆ เหมือนกับเครื่องจักรกลที่กำลังวิ่งอยู่ หรือรถที่กำลังวิ่งอยู่ แต่อยู่ๆ ก็ถอดเกียร์ ก็เหยียบเบรค กดไว้เฉยๆ เครื่องยังเดินแต่ไม่ให้เพลาวิ่ง
    ข้อนี้ก็เปรียบเทียบได้กับคนที่กำลังทรงจิตอยู่ในฌานโลกีย์ หรือขั้นพระโสดาบัน สกิทาคามี ทั้ง ๓ ประเภทนี้ ยังไม่สามารถจะตัดอารมณ์ของราคะจริตได้ เพราะยังอยู่ในอำนาจของราคะจริต แต่ว่ามีอารมณ์จิตยับยั้งตามขั้น สำหรับท่านที่ทรงฌานโลกีย์ ก็จะพึงยับยั้งได้แต่ชั่วขณะที่ทรงจิตเป็นสมาธิเท่านั้น เมื่อจิตไม่ทรงสมาธิ ก็สามารถจะละเมิดพรหมจารีย์ได้ หมายความว่า มีความเกลือกกลั้วในกามารมณ์ ดีไม่ดีก็ทำกาเมสุมิจฉาจารก็ยังได้ เพราะท่านผู้ทรงฌานโลกีย์จริงๆ ก็ยังไม่มีอารมณ์สามารถจะคุมศีลได้เป็นปกติ
    ฉะนั้นอารมณ์จิตของท่านผู้ทรงฌานโลกีย์จริงๆ ยังมีอาการขึ้นลงอยู่มาก ยังไม่มีการทรงตัว หากว่าจะพิจารณาในขั้นฌานโลกีย์ ตามที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงตรัส พิจารณาถอยหลังในด้านการปฏิบัติ ก็เพียงให้มีการฝึกจิตยับยั้ง ว่าเวลานี้เราจะหยุดความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ยับยั้งอารมณ์ความใคร่ในกามารมณ์เสียชั่วคราว ข่มใจ ยังไม่ใช่ตัดใจ เป็นแต่เพียงข่มใจเข้าไว้ พิจารณาหาความจริงเพียงแค่ด้วยความลำบากๆ สักหน่อย หมายความว่า คิดว่าร่างกายเป็นของไม่ดี ร่างกายเป็นของสกปรก จะเปรียบเทียบกับอสุภกรรมฐาน คือ พิจารณาคนตายกับสัตว์ตายมีสภาวะเหมือนกัน ว่าร่างกายเขาสกปรกได้ ร่างกายเราก็สกปรกได้ ต่างคนต่างก็มีความสกปรกสม่ำเสมอกัน ไม่น่าจะถึงปรารถนาซึ่งกันและกัน
    การพิจารณากายว่าเป็นของสกปรก สำหรับในด้านฌานโลกีย์ องค์สมเด็จพระชินสีห์ให้พิจารณาชั่วขณะ คือหมายถึงว่า ขณะที่จะรวบรวมกำลังใจให้ทรงอารมณ์เป็นสมาธิ พิจารณาข่มใจไว้ว่า จะไม่ยอมเป็นทาสของกามารมณ์ จะไม่ยอมให้อารมณ์ของกามารมณ์มีอำนาจเหนือหัวใจทั้งหมด และข่มใจทรงจิตให้ทรงตัว พิจารณาตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ปัสสาวะ ว่าเป็นของสกปรกโสโครก
    อารมณ์ในขั้นนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นไปได้ไม่มาก จะสามารถพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ได้เพียงชั่วระยะสักสองสามนาที ต่อหนึ่งวาระ ก็มีประโยชน์ ทั้งนี้ก็เพราะว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงบีบบังคับ ไม่ทรงเร่งรัด ให้ทรงปฏิบัติเป็นมัชฌิมาปฏิปทา
    คำว่ามัชฌิมาปฏิปทา ก็หมายถึงว่า ทำแบบสบายๆ กลางๆ ไม่ขี้เกียจเกินไป ไม่ขยันเกินไป การเคร่งเครียดเกินไปเป็นการทำลายอารมณ์ของตัวเองให้เกิดความงุ่นง่าน ฟุ้งซ่าน มีความลำบาก มีอารมณ์เครียดเกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้เป็นโรคประสาท แล้วถ้าหากว่าจะมีการเกียจคร้านเกินไป ก็ใช้ไม่ได้ เอาดีไม่ได้ พยายามรักษาหาอารมณ์ใจให้สบายๆ
    ทั้งนี้ก็เพราะว่า อารมณ์ใจของคนทั้งหมดที่เกิดมาในโลกนี้ ยังหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์ คือในราคะจริต จิตพอใจในความสวยสดงดงาม ซึ่งเป็นของตรงกันข้ามกับความเป็นจริง มานับเป็นหลายๆอสงไขยกัป สะสมมานาน สิ่งสกปรกที่สะสมมานาน อยู่ๆ ก็จะมาล้างให้หมดไปภายในพริบตาเดียว ย่อมเป็นไปไม่ได้ เหมือนกับแท่งเหล็กใหญ่ ปล่อยให้สนิมเกาะมาเป็นแสนปี อยู่ๆ ก็จะมาเคาะหนึ่งทีสองทีให้สนิมหมด อันนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะชั้นของสนิมมันหนามาก
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ให้ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ คิด แต่ว่าคิดไม่หยุด พิจารณาไม่หยุด ใช้เวลาใคร่ครวญไม่หยุด เวลาพิจารณาก็ใช้ปัญญาให้ถึงความเป็นจริง ดึงลิ้นออกมาดูว่าลิ้นสกปรกหรือสะอาด เวลาถ่ายอุจจาระออกมา ก็พิจารณาดูว่าอุจจาระสกปรกหรือสะอาด ถ่ายปัสสาวะออกมา ก็พิจารณาดูว่าปัสสาวะสกปรกหรือสะอาด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง หลั่งไหลออกมา ก็พิจารณาดูว่า น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง สกปรกหรือสะอาด
    อาหารที่กำลังบริโภคอยู่ เคี้ยวๆ เวลาที่จะบริโภค คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้พิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา มักจะมีความรู้สึกว่าอาหารนี่มีรสอร่อย อาหารนี่มีสีสวย อาหารนี่มีกลิ่นดี มีความเรียบร้อยเป็นกรณีพิเศษ มีความพอใจ ถ้าเคี้ยวอาหารได้เล็กน้อย หรือละเอียดพอสมควร ก็บ้วนออกมา บ้วนออกมาหลายๆ คราว แล้วกลับบริโภคเข้าไปใหม่ อาตมาคิดว่าหาคนทำได้ยาก ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่า ทุกคนก็จะพากันเห็นว่า อาหารนี้มันสกปรกเสียแล้ว
    ทีนี้การพิจารณาเห็นว่าสภาวะสกปรกในร่างกายของตนมีความสำคัญ พอเห็นว่าร่างกายของตนเองมีความสกปรก ก็พิจารณาเห็นร่างกายของบุคคลอื่นที่เราต้องการมีความสกปรกได้
    มีเรื่องหลายเรื่องที่อาตมาจะไม่ขอถวายพระพรให้ทรงทราบ เพราะว่าพระมหาบพิตรก็ทรงทราบดีแล้ว เพราะว่ามีพระราชจริยาวัตร ความสามารถในด้านนี้เป็นกรณีพิเศษ สามารถทรงวินิจฉัยได้ละเอียดยิ่งไปกว่านี้ และจะกล่าวไปก็ยาวความ
    กล่าวออกมาเพียงเท่านี้ ก็เข้าใจว่าพระมหาบพิตรทรงทราบได้ตลอดว่า การพิจารณาจิตในด้านอสุภกรรมฐานกับกายคตานุสติ ในระหว่างที่ทรงฌานโลกีย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าเป็นปุถุชน ในตอนนี้เพียงแค่ใช้อารมณ์ระงับชั่วคราวเท่านั้น และก็การระงับชั่วคราวชั่วขณะหนึ่งครั้งละ ๒-๓ นาทีก็ตาม ถ้าทำไปบ่อยๆ อารมณ์จิตก็จะเกิดความชิน เหมือนกับคนเรียนหนังสือ เรียนวันแรก ตัว ก. ก็อ่านไม่ได้ จำไม่ได้ เขียนไม่ได้ พอเรียนนานๆ ไป ความเคยชินปรากฏ ก็สามารถทำอะไรได้ทุกอย่างในหลักวิชาความรู้
    ทีนี้การเจริญพระกรรมฐานในด้านอสุภสัญญาก็เช่นเดียวกัน และการปราบราคะจริตก็เช่นเดียวกัน ค่อยๆ ทำไปครั้งละเล็กครั้งละน้อย หนักเข้าๆ จิตก็สามารถจะคุมเวลาได้สักครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง สองชั่วโมง คุมอารมณ์ให้จิตไม่เข้าไปยุ่งกับกามารมณ์ด้วยประการทั้งปวง ทั้งบุคคล ทั้งสัตว์ และวัตถุ
    คำว่า กามารมณ์ อารมณ์ประกอบไปด้วยกาม คำว่า กาม แปลว่า ความใคร่ อยากจะได้เข้ามา ไม่ใช่หมายความถึงร่วมรักในระหว่างเพศเสมอไป การตีปัญหาความหมายเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ คนทั้งหลายที่ไม่เข้าใจก็มักจะคิดเอาว่า ราคะจริตต้องเป็นเรื่องของเพศ ระหว่างเพศ เสมอไป ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น แม้แต่ความพอใจในความสวยสดงดงามของวัตถุ พอใจในความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกาย พอใจในความเรียบร้อย ความสะอาดของพื้นที่ อะไรก็ดี อย่างนี้จัดว่าเป็นราคะจริตหมด
    สำหรับพระมหาบพิตรอาตมาทราบว่าถวายพระพรมาเพียงเท่านี้ พอเข้าพระทัยดีมาก เพราะมีพระสติปัญญาเฉียบแหลมเป็นกรณีพิเศษ แต่คนอื่นอาจจะมีความไม่เข้าใจว่า ทำไมนะคนแต่งตัวให้เรียบร้อยจึงมีราคะจริต จัดบ้านให้สะอาดทำไมจึงเรียกว่าราคะจริต จัดความเรียบร้อยของพื้นที่หรือจริยา ทำไมจึงเรียกว่ามีราคะจริต คำว่า จริต แปลว่า จิตเที่ยวไป ราคะ เนื่องในความสวยงาม
    ถ้าจะถามว่าการจัดบ้านให้เรียบร้อย แต่งกายให้เรียบ ทำพื้นที่ให้สะอาด ทำวัตถุให้สะอาดเป็นบาปหรือเป็นบุญ อันนี้อาตมาก็ต้องขอตอบว่า การทำความดีเป็นบุญ เพราะบุญแปลว่าความดี จัดบ้านสะอาด ทำให้จิตใจสบาย ใจสะอาดไปด้วย จัดเครื่องแต่งกายให้สะอาด ใจก็สะอาดไปด้วย ใจไม่สกปรก หมายถึงใจสบาย การทำจริยาให้เรียบร้อยเป็นความดีเพราะทำจิตใจให้เป็นสุข คนที่มองเห็นก็มีความสุข อย่างนี้เป็นความดี
    แต่ว่าถ้าจะถามว่า ถ้าเป็นความดีแล้วทำไมองค์สมเด็จพระชินสีห์ จึงเรียกว่า ราคะจริต ต้องหาทางตัดกัน อันนี้ก็ต้องถวายพระพรว่า ยังเนื่องอยู่ในฐานะปุถุชนคนธรรมดา
    เรื่องความสะอาดนี้แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงใช้ และมีการบังคับให้บรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายปฏิบัติให้เคร่งครัด ถ้าพระองค์ใดไม่มีความสะอาด ปล่อยให้เล็บมือมีขี้เล็บนิดเดียวเท่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ก็ทรงปรับเป็นโทษ อันนี้จะมองเห็นว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ทรงต้องการความสะอาด แต่ความสะอาดในที่นี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงตรัสเพื่ออนามัยเท่านั้น ไม่ใช่มีความผูกพัน
    สำหรับบุคคลที่เป็นปุถุชนคนธรรมดา มีความผูกพันมากเกินไป หมายความว่า มีความพอใจในความสะอาดมากเกินไป ถ้าร่างกายไม่สะอาด ทุกสิ่งทุกอย่างไม่สะอาด ก็รู้สึกว่าจะมีความไม่สบายใจ ความไม่สบายใจเกิดขึ้น เป็นปัจจัยของความทุกข์ ฉะนั้นต้องวางอารมณ์เสีย ทำใจให้สบาย ว่าส่วนใดที่จะรักษาความสะอาดได้ดีก็ทำ ถ้าทรงความสะอาดได้ดีไม่ได้ มันจะไม่สะอาด ก็จำจะต้องปล่อยมัน ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
    นี่เป็นอันว่ากำลังของปุถุชนคนธรรมดาคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ไม่ได้คาดคั้น ว่าจะต้องตัดกายคตานุสสติ เมื่อเห็นว่าร่างกายเป็นของสกปรกจนกระทั่งไม่ยึดถือเอาเลย หรือว่าพิจารณาเห็นว่าร่างกายเป็นอสุภะ จนกระทั่งไม่ยึดถือเอาเลย เป็นแต่เพียงว่าให้ยับยั้งให้มีความรู้สึกไว้บ้างในบางขณะ ว่าเวลานี้เรามีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า ร่างกายเป็นของไม่สะอาด ร่างกายของบุคคลอื่นก็เป็นของไม่สะอาด ไม่ควรที่จะมามัวเมาในร่างกายของตัวและร่างกายของบุคคลอื่น แต่ทว่าเวลาที่ไม่ได้ควบคุมอารมณ์เช่นนี้ บางครั้งก็ทำกามารมณ์หรือทำเป็นปกติ ดีหรือไม่ดีก็ทำกาเมสุมิจฉาจารไปเลย นี่สำหรับพวกฌานโลกีย์
    ทีนี้ก้าวเข้ามาสู่อารมณ์ของฌานโลกุตตระ ถ้ามีอารมณ์เป็นพระโสดาบัน ในด้านกายคตานุสสติ อสุภกรรมฐานก็ยังไม่มีความหมาย ยังมีกำลังอ่อนมาก หรือเกือบจะไม่มีเลย เพราะว่าพระโสดาบันก็ยังมีการแต่งงาน มีสามี มีภรรยา มีลูกมีเต้า ดูตัวอย่างนางวิสาขากับภรรยาของพราหมณ์กุกกุฎมิตร หญิงทั้งสองคนนี้เป็นพระโสดาบันมาตั้งแต่อายุ ๗ ปี แต่ทั้งสองคนก็มีสามี มีบุตรมีธิดาเหมือนกัน เป็นอันว่าเรื่องกามารมณ์ยังเต็มอยู่สำหรับพระโสดาบัน และก็ยังมีความรักสวยรักงาม
    แต่คนที่ไม่รักสวยรักงาม เขาก็ไม่แต่งงานแล้ว อย่างนางวิสาขาก็มีเครื่องประดับราคาถึงสิบหกโกฏิ อย่างนี้เป็นต้น และสร้างวิหารให้องค์สมเด็จพระทศพล ผ้าแต่ละผืน หญิงผู้เป็นเพื่อน มีผ้าอยู่ผืนหนึ่งราคาห้าแสนกหาปณะ ปูลงไปไม่ได้ เพราะผ้าในกุฏิแต่ละผืน ราคามากกว่านั้น ของที่จัดถวายก็จัดว่าเป็นของเลิศทุกอย่าง ต้องสวยทุกอย่าง ต้องดีทุกอย่าง นี่แสดงว่าพระโสดาบันก็ยังมีกามราคะ ยังมีราคะจริตเต็มตัว ยังไม่ยับยั้ง แต่ว่ากั้นไว้ได้ด้วยกาเมสุมิจฉาจาร เอาอำนาจศีลกั้นไม่ให้ทำกาเมสุมิจฉาจารเท่านั้น ความรักสวยรักงาม การวางในร่างกายยังไม่ได้วางเลย
    ทีนี้ต่อไปเข้าถึงพระสกิทาคามี ในตอนนี้ตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงตรัสว่า พระสกิทาคามีละสังโยชน์ได้เท่าพระโสดาบัน คือสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิของพระโสดาบันกับสกิทาคามี ยังไม่เห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มีความรู้สึกเบาๆ ที่ท่านกล่าวว่าพระโสดาบันกับสกิทาคามี เป็นด้านอธิศีลสิกขา เป็นผู้มีศีลดีเท่านั้น ยังไม่ถึงอธิจิตสิกขา
    ฉะนั้นในด้านสักกายทิฏฐิ จึงพิจารณาเห็นแต่เพียงว่า ร่างกายมันจะต้องตายเป็นปกติ เราไม่สามารถจะยับยั้งมันไว้ได้ แต่ว่าก็ยังเห็นว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราอยู่ เพียงรู้ตัวดีกว่าปุถุชนคนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส ที่ไม่เคยคิดว่าตัวจะต้องตาย มีความเมาในร่างกายเป็นปกติ คิดว่าตนจะทรงอยู่
    นี่ถ้าพิจารณาตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระบรมครู จะมีความรู้สึกว่าพระโสดาบันยังปกติในด้านกามารมณ์หรือราคะจริต ในด้านความรักสวยรักงาม ยังไม่ถอนตัว แต่ทว่าไม่เผลอ ไม่ละเมิดศีลในด้านกาเมสุมิจฉาจารเท่านั้น
    มาถึงพระสกิทาคามี ท่านบอกว่า ทำโลภะ-ความโลภ ทำโทสะ-ความโกรธ ทำโมหะ-ความหลง ให้เบาบางลง ยังไม่ได้บอกว่าตัดกามราคะ หรือ ตัดความรักสวยรักงาม นี่เป็นอันว่า ถ้าถึงพระสกิทาคามี ก็ทรงความดีเท่าพระโสดาบัน แต่ว่ากำลังน้ำใจของพระสกิทาคามีนั้น เต็มเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารสี่ มีความเมตตาปรานีแก่บุคคลและสัตว์ผู้มีความลำบาก บริจาคทานเป็นการสงเคราะห์อยู่เป็นปกติ ถ้าสิ่งใดไม่เกินวิสัยที่ตนจะให้ได้ก็เต็มไปด้วยการสงเคราะห์ คนใดที่มุ่งการสงเคราะห์บุคคลอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน นั่นชื่อว่าเป็นผู้บรรเทาความโลภได้เป็นอย่างมาก เป็นอาการของพระสกิทาคามี
    ทีนี้มาในด้านของความโกรธ พระสกิทาคามีก็ยังมีความโกรธ แต่ทว่ามีการให้อภัยแก่บุคคลผู้ทำผิด และจัดเป็นอภัยทาน ทั้งนี้เว้นไว้แต่ว่าสิ่งใดที่เป็นไปตามระเบียบ ตามวินัย ตามกฎหมาย ตามกฎข้อบังคับที่วางไว้ จะให้อภัยไม่ได้ ต้องทำตามแบบฉบับทุกส่วนสัด เพราะอะไร เพราะว่าท่านผู้นี้เป็นพระอริยเจ้า ทรงเคารพในระเบียบวินัยเป็นอย่างมาก ไม่ทำลายระเบียบวินัย
    ทีนี้ว่ากันถึงด้านความหลง พระสกิทาคามีก็ทำจิตให้มั่นคงในกายคตานุสสติ สักกายทิฏฐิ พิจารณาเห็นว่า ร่างกายนี้นอกจากจะตายแล้ว มันมีสภาพไม่เที่ยงอยู่ ก็มีความรู้สึกเล็กน้อย คำว่าไม่เที่ยง เห็นบ้างและก็ไม่เห็นบ้าง ยังทำใจไม่แน่นอน ไม่ทรงอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์นัก แต่มีความไม่ประมาทในชีวิตยิ่งขึ้น เพราะคิดว่าความตายอาจจะมีกับเราในวันนี้ก็ได้ จิตใจใกล้ มีความรู้สึกใกล้กับมรณานุสสติมากขึ้น เป็นอารมณ์มากขึ้น นี่ความไม่ประมาทจึงมี คิดว่าถ้าจะตายชาตินี้ ถ้าเกิดไปชาติหน้าใหม่ ถ้าจะต้องเกิดก็ขอให้เป็นคนรวย จะรวยได้ก็เพราะว่าการให้ทาน ตัดโลภะ-ความโลภไปบ้างตามสมควร คนที่ให้ทานได้แสดงว่าคนนั้นมีความโลภน้อย
    ทีนี้ประการหนึ่งก็ต้องการมีความสุข มีความสำราญในสมัยที่จะเกิดขึ้นใหม่มีร่างกายรูปร่างหน้าตาสะสวย มีปัญญาสมบูรณ์บริบูรณ์ จึงได้มีทรงพรหมวิหารสี่และมีอภัยทานเป็นปกติ จิตใจเป็นสุข เมื่อจิตใจเป็นสุขร่างกายก็เป็นสุข ถ้าอารมณ์ในชาตินี้เป็นสุข อารมณ์ในชาติหน้าในการเกิดใหม่ก็เป็นสุข เพราะเป็นจิตดวงเดิม
    ในด้านโมหะความหลง ท่านตัดใจตรงเพื่อความไม่ประมาทในชีวิต นี่จะเห็นว่า องค์สมเด็จพระธรรมสามิตร์ก็ทรงรับรองว่า พระสกิทาคามีนี่ ยังไม่สามารถทำลายราคะจริตลงไปได้
    ทีนี้ที่อาตมาเคยเขียนไว้ในหนังสือก็ดี อธิบายไว้ก็ดี ว่าทุกคนให้ตัดใจทำลายราคะจริตให้หมดในอันดับต้นนั่นผิด อาตมาขอยอมรับว่าเป็นการผิดพลาดที่ไม่ควรแก่การให้อภัย เพราะว่าการพูดไปไม่ได้คิดถึงกำลังใจของบุคคลอื่น คิดถึงกำลังใจของตนเองเป็นสำคัญ คิดว่าตนทำแบบไหนได้คนอื่นจะทำแบบนั้นได้ ลืมคิดไปว่าจริตของบุคคล จริยาของบุคคล กำลังใจของบุคคลย่อมไม่สม่ำเสมอกัน ไม่ได้เอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทรงธรรม์ตามลำดับมาพูดให้แก่บรรดาพุทธบริษัทฟัง ฉะนั้น การที่พระมหาบพิตรทรงติงมาจึงจัดว่าเป็นประโยชน์ใหญ่
    นี่ก้าวต่อไปถึงบุคคลที่จะทำลายราคะจริตให้เด็ดขาด อันนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ กล่าวถึงพระอนาคามี สำหรับพระอนาคามีนี่ตัดเด็ดขาดแน่ แต่ว่าถ้าพระมหาบพิตรจะสงสัยว่า ตอนต้นกำลังใจยังไม่ดีตัดไม่ขาด จะมาขาดกันได้ยังไงในตอนนี้ อาตมาก็ต้องขอถวายพระพรว่า ถ้าจะทบทวนกำลังใจกัน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงอนาคามี จะเห็นว่ามีความเข็มแข็งของกำลังใจมากขึ้นตามลำดับ
    เพราะในลำดับแรก คนเราที่เป็นปุถุชนคนธรรมดา ผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส คนประเภทนี้ เป็นคนที่มีความใจร้าย คือมีความโหดร้าย มือไว ใจเร็ว พูดปด หมดสติ โหดร้าย ได้แก่ ศีลข้อที่หนึ่ง ทำลายศีลข้อปานา มือไว ได้แก่ การลัก การขโมย แย่งชิงวิ่งราว เป็นต้น คดโกงเขา ใจเร็ว ก็หมายถึงว่า ละเมิดในกามารมณ์ ในด้านกาเมสุมิจฉาจาร พูดปดเป็นปกติ ชอบพูดคำที่ไม่จริง หมดสติ เอาน้ำเมาเข้ามาย้อมใจไว้เสมอ คือกินเข้าไปในกาย ใจมันก็ประมาท นี่คนที่จิตเป็นปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส ได้ทรงความชั่ว ๕ ประการครบถ้วน
    บางคนจะดีขึ้นมาบ้าง ก็เว้นได้บางข้อ แต่บางท่านบอกว่า ทำไปละเมิดเพียงแค่บางข้อสองข้อเท่านั้น ข้ออื่นไม่ทำ แต่บางทีก็เชื่อไม่ได้เหมือนกัน ถ้ายังไม่ได้สัมผัส สิ่งที่มันยังไม่เกิดขึ้นมา จะคิดว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเราสามารถจะเว้นได้มันก็ไม่ถูก
    นี่เป็นอันว่ากำลังใจของคนที่เป็นปุถุชน สร้างความชั่ว ๕ ประการได้ครบ และทำมากกว่านั้นก็ได้ แต่ต่อมา มาควบคุมกำลังใจบ้างเล็กๆ น้อยๆ ด้วยกำลังของฌาน ก็เป็นคนมีศีลดีบ้าง มีศีลชั่วบ้าง คำว่าศีลชั่ว ก็หมายถึงว่าศีลขาด
    พอจิตใจก้าวเข้ามาถึงเป็นพระโสดาบัน คราวนี้ความมั่งคงของจิตเกิดขึ้นคือ
    ๑. มีความเคารพในพระพุทธเจ้ามั่นคง
    ๒. เคารพในพระธรรม
    ๓. เคารพในพระอริยสงฆ์
    ๔. มีศีล ๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์
    ๕. มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ถ้าจะเสริมอีกนิด ก็ต้องมีพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ และก็มีหิริและโอตัปปะเป็นปกติ นี่เป็นอันว่าสำหรับพรหมวิหาร ๔ ก็เป็นอย่างแบบเบาๆ พระโสดาบันจะเห็นว่า มีจิตเข้มแข็งกว่าบรรดาปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลสมาก
    ต่อมาถ้าก้าวไปถึงพระสกิทาคามี ก็ทำลายความโลภเสียด้วยการจาคะ ตามที่พระมหาบพิตรเคยพิจารณา คือวินิจฉัยมาให้ ทรงให้ทราบ ว่าใช้คำว่าละ สละ หรือว่า ละ เพื่อความสุขของบุคคลอื่น คำว่าละจริงๆ ต้องเป็นอรหันต์ อาตมาขอใช้คำว่า สละ ไม่ใช่เสียสละ เสียสละตามที่พระมหาบพิตรวินิจฉัยมาบอกว่า เป็นเรื่องของปุถุชน นี่อาตมาเห็นชอบด้วย
    แต่สำหรับพระสกิทาคามีนี่ ใช้คำว่าสละ สละอย่างชนิดไม่มีเยื่อใยอาลัยนัก แต่ต้องดึง เพราะอารมณ์ใคร่ยังมีอยู่ในทรัพย์สิน เป็นการผ่อนปรนความโลภให้หมดไป และมีกำลังใจในด้านพรหมวิหาร ๔ สูงขึ้นละเอียดขึ้น จนเป็นอภัยทาน คือว่าโกรธ แต่ให้อภัยได้ เป็นของหนักไม่ใช่ง่ายนัก และความหลงคลายตัว คิดถึงความตายถี่เข้ามา อารมณ์ที่จะทรงได้อย่างนี้ นั่นก็ต้องแสดงว่ามีความเข้มข้นของจิตมาก ไม่ใช่เล็กน้อย มีความเข้มข้นจัด
    ทีนี้ตอนที่จะก้าวเข้าไปสู่พระอนาคามี จึงเป็นของไม่ยาก การที่จะทรงอารมณ์ทำลายราคะจริต เห็นว่าร่างกายสวย วัตถุธาตุสวยให้หมดไป ทำความรู้สึกในเพศให้สิ้นไป อันนี้จึงเป็นของไม่ยาก เพราะว่าเป็นการก้าวมาตามลำดับ
    เวลาเหลืออีกเล็กน้อย อาตมาก็ขอสรุป เป็นอันว่าสำหรับราคะจริต ขอพระมหาบพิตรและบรรดาท่านพุทธบริษัทผู้รับฟัง ได้โปรดทราบว่า องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าให้พิจารณา ไม่ใช่กรรมฐานภาวนา พิจารณาหาความจริงในร่างกายของตน และร่างกายของบุคคลอื่น พยายามหาความสกปรกให้พบ ถ้ายังไม่พบก็แสดงว่าอารมณ์ยังมืดอยู่
    ทั้งนี้เพราะว่าองค์สมเด็จพระบรมครูทรงยืนยันว่า ธรรมส่วนใดที่องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงตรัส ธรรมส่วนนั้นเป็นความจริง ไม่ใช่ความเท็จ นี่ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณากัน ว่าธรรมใดหนอแลที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัส ว่าร่างกายเป็นของสกปรก ร่างกายเป็นชิ้น เป็นท่อน เป็นตอน เป็นสัด เป็นส่วน ไม่ใช่เป็นแท่งทึบ ข้อนี้เป็นความจริงหรือไม่จริง ใช้ปัญญาคลำ
    หยิบผมลงมา ดูที่ผมกับเนื้อ ลักษณะมันเหมือนกันไหม ถ้าไม่เหมือน ผมปล่อยไว้นานๆ สะอาดหรือว่าสกปรก ก็จะเห็นได้ว่าเป็นของสกปรก และดูส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เสลด น้ำลาย เป็นต้น หรือว่าวัตถุธาตุต่างๆ ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงาม ไปหยิบไปจับเอามาเอาตั้งทิ้งไว้ คลายออกมาจากต้น ตัดมาแล้วไปวางไว้เฉยๆ หรือใส่แจกันไม่มีน้ำ เพียงแค่ไม่สิ้นวัน ก็แสดงถึงอาการเหี่ยวย่นความสกปรก กลิ่นหอมจะหายไป
    อันนี้อาตมาภาพขอถวายพระพรพระมหาบพิตร และก็ขอกล่าวบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านว่า การใช้อสุภสัญญาก็ดี กายคตานุสสติกรรมฐานก็ดี เป็นการทำลายราคะจริตนั้น ก็ใช้ตามกำลังจิตของตน จะสามารถ ไม่สามารถจะระงับได้ทั้งวัน ก็ใช้เฉพาะเวลา เฉพาะ ๒-๓ นาทีต่อวาระ ให้จิตมีอารมณ์ชิน เมื่อจิตมีอารมณ์ชินแล้วภายในไม่ช้านานเท่าไร ก็สามารถจะทำลายได้ตามประสงค์ สำหรับราคะจริตนี้ ก็ขอยุติลงแต่เพียงเท่านี้.
     
  18. Ms,13

    Ms,13 บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    อะไรของแก สดุด ข้อความนี้

    อย่าเดินตามคนแถวนี้กันนะครับ
    ให้เดิมพระจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของเรา
    เดินตามคนแถวนี้ ร่วงไปอยู่ข้างล่าง
    แล้วจะหาว่าผมไม่เตือนนะครับ
    ฟันธงคราบ
     
  19. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    อนุโมทนาสาธุด้วยครับ ดีครับดี ขออนุญาติเก็บข้อมูลดี ๆ นะครับ
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    หุหุ ปล่อยเขาไปเหอะ เอ็ม
    เราเดินตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ไปก็แล้วกัน
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านก็เดินตามคำสอนพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว
    ท่านเทศน์สอนเรื่องในพระไตรปิฎกก็มีมากหลายเรื่อง
    คนทั่วไปเขาก็เคารพบูชาท่านอยู่แล้ว
    พระเจ้าอยู่หัวก็เป็นองค์ราชาอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
    และมีดำริปณิธานดั่งพระมหาชนก ก็เหมือนกันท่านเดินตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นกัน
    คนอื่นเขาจะยึดอะไร ก็ปล่อยเขาไปเหอะ คนมีปัญญาเขาใช้วิจารณญาณกันได้
    หลวงตามหาบัวชาวพุทธเขาก็เคารพบูชากันอยู่แล้ว ไม่ต้องรอให้ใครมาอ้างมาบอก จริงปะ
    ใครเอาหลวงพ่อฤาษี หลวงตามหาบัว พระเจ้าอยู่หัวมาอ้างเข้าข้างตนเอง
    แต่ประสงค์จะสร้างความแตกแยก ก็เรื่องของเขา เราก็อย่าไปสังฆกรรมกับเขา
    มันก็จบ กรรมใครกรรมมัน อะนะ อย่าไปเดือดร้อนกับสิ่งที่เขาตั้งใจทำมาให้เราอ่าน
    จิตสงบได้ก็ไม่เกิดอกุศลจิต เนาะ สบายๆ
    จริงปะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...