อินตาตวายโลก(อินทราธิราชทายโลก)

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 15 เมษายน 2012.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=9IGgDYN6v74]พระอินทน์ตวายโลก.wmv - YouTube[/ame]
    คำทำนายคัดมาจากกัณฑ์ที่๑๐ แห่งตำนานพระเจ้าเลียบโลก
    เนื้อความ พระพุทธเจ้าทรงพุทธพยากรณ์โลกแก่พระอินทร์และพระอินทร์
    ได้นำมาบอกเล่าแก่อินทสมภารฤาษี เชิงดอยเกิ้งเมืองลี้ อินทสมภารได้แต่งคำทำนายนั้นไว้และ ต่อมา พ่อครูสิงห์คำแม่ครูแจ่มจันทร์ได้นำมาเรียบรียงเป็นซอล่องน่านครับ
    ท่านใดอยากอ่านพระเจ้าเลียบโลกต้องไปดูที่ศูนย์หนังสือมช.ครับปริวัตรเป็นภาษากลางโดยอาจารย์สิงฆะ วรรณสัย
     
  2. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    พุทธตำนาน
    พระเจ้าเลียบโลก
    กัณฑ์ที่ ๑๐


    นโม ตสฺสตฺถุฯ เอกํ สมยํ สาลียํ ปพฺพเต วิหรติ อถ โข สกฺโฏ เทวมินฺโท เตสํ ปุญญํ เทวโลกโต โอตริตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา ปุจฺฉิสตฺถารํฯ


    ดูรา สัปบุรุษทั้งหลาย ยังมีในกาลสมัยครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอยู่จำพรรษาที่ภูเขาจาลีเป็นพรรษาที่ ๒๐ หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วในกาลครั้งนั้น พระยาอินทราธิราชได้สดับพระธรรมเทศนา จากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ทรงทราบว่า "การกระทำบุญในพระพุทธศาสนามีอานิสงส์มาก" ทรงใคร่ทราบอานิสงส์แห่งผู้กระทำบุญนั้น จึงเสด็จลงมาจากชั้นฟ้าดาวดึงส์เทวโลก เสด็จเข้ามาสู่สำนักของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ภูเขาจาลีบรรพต เมื่ออภิวาทแล้วแล้วก็นกราบทูลถามว่า "ข้าแด่พระพุทธเจ้า คนและเทวดาทั้งหลายได้กระทำบุญเป็นต้นว่า รักษาศีล ฟังธรรม เจริญเมตตาภาวนาอยู่บ่อยๆ ได้กระทำเมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็ดี ได้กระทำเมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ดี จะมีอานิสงส์เป็นประการใด" ในกาลนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับปัญญาเช่นนั้น เพื่อจะทรงอธิบายปัญญานั้นให้ชัดเจนจึงตรัสว่า "นิพฺพตฺเต โลกนายเก ปยฺจวสฺสสหสฺสานิ สาสนํ มม ติฏฐติ" "ดูรา มหาราช ตถาคตจะเทศนายังโทษและคุณที่มีอยุ่ในศาสนาทั้งหมดให้แก่ท่านบัดนี้ เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วจะตั้งพระศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ พรรษา เพื่อไว้โปรดช่วยเหลือคนและเทวดาทั้งหลาย ดูรา มหาราช คนทั้งหลายหมู่ใดได้กระทำบุญ ให้ทาน รักษาศีลและภาวนาในพ้นพรรษาที่หนึ่ง จะมีผลอานิสงส์แสนโกฏิ ฯ ดูรา มหาราช คนทั้งหลายหมู่ใดได้กระทำบุญให้ทาน รักษาศีลและภาวนาในพรรษาที่สอง ไทยธรรมวัตถุก็ไม่ค่อยจะบริสุทธิ์มาก จิตใจก็ไม่ค่อยจะเลื่อมใสมาก เขาเหล่านั้นจะได้อานิสงส์หนึ่งแสนฯ ประการหนึ่ง คนทั้งหลายกระทำบุญน้อยก็ดี มากก็ดี ในศาสนาตถาคตพันพรรษาที่สาม คนทั้งหลายไม่ค่อยมีศรัทธามาก มักข่มเหงบังคับกันกระทำบุญจึงไม่ค่อยบริสุทธิ์สักเท่าใด เขาทั้งหลายจะได้อานิสงส์หนึ่งหมื่นฯ ดูรา มหาราช คนทั้งหลายจะทำบุญ แม้นจะมากสักปานใดก็ดี ในพรรษาที่สี่ ไทยธรรมวัตถุก็ไม่บริสุทธิ์ใจก็ไม่ค่อยเชื่อไม่ค่อยจะเลื่อมใสสักเท่าใด เขาจะได้อานิสงส์หนึ่งพัน ฯ ดูรา มหาราช คนทั้งหลายกระทำบุญไหว้นบบูชา ให้ท่านจะน้อยก็ดีจะมากก็ดี แต่จิตใจเขาไม่เลื่อมใสในพันพรรษาที่ห้า จะได้อานิสงส์น้อยเท่าที่พอจะได้ เหตุไฉนจึงว่าเช่นนั้น เพราะเหตุว่าคนทั้งหลายเต็มไปด้วยโลภะ โทสะ โมหะ หนาแน่นไปด้วยบาปกรรมภัยทั้ง ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย ภัยอันเกิดขาดข้าวน้ำ พยาธิภัย ภัยอันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย ยุทธภัย ภัยอันเกิดจากการรบราฆ่าฟัน คนทั้งหลายจะฆ่าฟันเบียดเบียนฆ่าฟันเป็นจำนวนมาก ประการหนึ่ง ดูรา มหาราช เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ๕๐๐ พรรษา ผู้หญิงทั้งหลายังบวชเป็นภิกษุณีได้ ต่อแต่นั้นไปจะบวชเป็นภิกษูณีไม่ได้ ดูรา มหาราช ในเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วได้พันพรรษาแรก จะมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อว่า ปัตตมาลิกมหาราช จะรวบรวมธาตุตถาคตแล้วแจกจ่ายแผ่กระจายไป ก่อเป็นเจดีย์ได้ ๘๔,๐๐๐ หลัง ประดิษฐ์อยุ่ในเมืองทั้งหลายได้ ๘๔,๐๐๐ เมือง พระยาองค์นั้นจะเฉลิมฉลองอบรมสมโภชพระธาตุนานได้ ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันจึงจะสำเร็จบริบูรณ์ ดูรา มหาราช เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ๑,๐๐๐ พรรษา พระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ตถาคต จะมีวาทะความคิดความเห็นแตกต่างกัน ต่างหมู่ก็ต่างคิดว่าตัวฉลาด รู้อรรถธรรมคำสอนจะกระจายกันไป ทุกบ้านทุกเมือง หมู่หนึ่งมีลูกศิษย์ ๑๐๐,๐๐๐ รูป หมุ่หนึ่งมีลูกศิษย์ ๘๐,๐๐๐ รูป หมู่หนึ่งมีลูกศิษย์ ๖๐,๐๐๐ หมู่หนึ่งจะมีลูกศิษย์ ๔๐,๐๐๐ รูป พระสงฆ์ทั้งหลายแต่ละหมู่จะมีวาทะแตกต่างกัน มีข้อวัตรปฏิบัติต่างกันต่างก็อวดตัวว่ารู้ฉลาด จะพากันจาริกไปทุกบ้านทุกเมือง แล้วไปสั่งสอนคนทั้งหลายในประเทศต่างๆ ในกาลยามนั้น คนทั้งหลายที่อุปัฏฐากพระสงฆ์หมู่ใด ก็จะว่าพระสงฆ์หมู่นั้นดี จะเกิดเป็นฝักเป็นฝ่าย จะมีใจศรัทธาเชื่อและเลื่อมใสจริงๆ ไม่ค่อยมี จะมีแต่ความสงสัยในคำสอน จะบังเกิดความไม่แน่ใจ ดูรา มหาราช เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๑,๕๐๐ พรรษา ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายจะไปประชุมพร้อมกันในที่ต่างๆ กัน เหตุว่าภิกษุสงฆ์จะต่างหมู่ต่างเหล่ากันทุกหนทุกแห่ง เมื่อตถาคตนิพพานไปได้แล้ว ๑,๖๐๐ พรรษา ท้ายพระยาในสกลชมพูทวีปทั้งมวลองค์ใดมีอาณารัฐเขตแดนใด ก็จะประชุมกันจัดแจงในอาณาเขตของตนและคนของใครของมัน แล้วก็ต่างจะยกย่องกันเองว่าเป็นใหญ่ เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๑,๗๐๐ พรรษา ท้ายพระยาในสกลชมพูทวีปทั้งสิ้น ก็จะบังเกิดมานะโลภะตัณหา จะใช้อำนาจเข้ายึดเอาบ้านเมืองใหญ่ไร่นาคามเขต ตลอดถึงประเทศบ้านเมืองของกันจะทะเลาะวิวาทกัน จะแย่งเอาราชสมบัติบ้านเมืองของกันเป็นอันมาก เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๑,๘๐๐ ปี พระยาธรรมิกราชเกิดมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่ มีเดชานุภาพพอประมาณ ท้าวพระยาและคนทั้งหลายจะสมมุติยกย่องกันว่าเป็นธรรมิกราช โดยที่แท้จะเป้นพระยาธรรมิกราช องค์ประเสริฐหามิได้ เป็นเพราะคนทั้งหลายเกรงกลัวฤทธิ์เดชานุภาพของพระยาตนนั้นเท่านั้น คนทั้งหลายจึงหยุดพักการรบราฆ่าฟัน หากลียุคมิได้ ตอนนี้ท้ายพระยาอำมาตย์รัฐประชาณาราษฏร์ทั้งหลาย จะอยู่ดีมีสุขสิ้นกาลในระหว่างนั้น ดูรา มหาราช เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๑,๙๐๐ พรรษา ภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นในชมพูทวีปนี้จะแสวงหาพระอรหันต์องค์วิเศษจริงไม่มีแม้แต่องค์เดียว เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๑,๙๑๗ พรรษา ภิกษุสามเณรทั้งหลายจะทำการย่ำยีน้ำพระธรรมคำสอนของตถาคตจะสึกจากที่นี้แล้วไปบวชที่โน้นๆ ไม่มั่นคงแน่นอน จะมีในกาลยามนั้น ยิ่งกว่านั้นภิกษุทั้งหลายจะไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ไม่เกรงกลัวในสิกขาปาราชิก จะมีแต่โลภะตัณหาแย่งชิงวัดวาอารามซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความยากลำบากยากใจเป็นอันมาก เมื่อศาสนาตถาคตล่วงไปแล้ว ๑,๙๑๘ พรรษา จะเกิดกลียุคทุพภิกขภัยอดอยากเป็นอันมาก คนทั้งหลายจะทะเลาะวิวาทกันด้วยอาการต่างๆ เมืองเหนือจะรบกับเมืองใต้ บ้านเหนือจะฟันบ้านใต้ พี่น้องก็จะทะเลาะวิวาทกัน พ่อจะฆ่าลูก ลูกจะฆ่าพ่อ ผัวเมียจะฆ่ากัน พี่น้องมิตรสหายก้จะฆ่ากัน ลูกศิษย์และอุปัชฌาย์จะกล่าวโทษซึ่งกันและกันฆ่าฟันกัน จะเกิดมีในกาลยามนั้นครั้งหนึ่ง ดูรา มหาราช เมื่อศาสนาตถาคตล่วงไปได้ ๑,๙๑๙ ปี ท้าวพระยาในชมพูทวีปทั้งสิ้น จะเบียดเบียนทำร้าย ปรับไหมจับกุมใส่คุกใส่ขื่อใส่คาแย่งชิงเอาสิ่งของจากราฏฎรแห่งตน จะบังเกิดมีทุกหนทุกแห่ง ลูกท้าวหลานพระยาทั้งหลายจะชิงสมบัติราชบัลลก์ของพ่อจนเกิดศึกผู้คนพลเมืองจะตายเป้นจำนวนมากและจะเป็นเช่นนี้ทุกหนทุกแห่ง ในหมู่ผู้คนทั้งหลาย เมียจะพยายามหาทางเอาชนะผัว ลูกก็จะหาทางเอาชนะพ่อแม่ น้องก็จะพยายามหาทางเอาชนะพี่ อาคันตุกะคือแขกผุู้มาอาศัยก็จะหาทางเอาชนะเจ้าของที่ พระภิกษุหนุ่มก็จะหาทางเอาชนะพระภิกษุแก่ ลูกศิษย์ก็จะหาทางชนะครู บังเกิดเป็นข้าศึกศัตรูแก่กัน วัดวาอารามศิษย์โยมคณะสงฆ์จะมีวิสัยใจคิดต่างๆ กัน ต่างคนก็ต่างอวดรู้ธรรมอันชอบ แม้ท้าวพระยามหากษัตริย์ เสนาอำมาตย์ นักปราชญ์ หญิงชายทั้งหลาย ต่างคนก็ต่างว่าตนฉลาด จะมีมานะบังเกิดความโกรธแก่กันทะเลาะวิวาทกันด้วยไร่นาเขตคาม ประเทศราชสมบัติ สิ่งของเงินทองช้างม้าข้าคนปศุสัตว์ เรือกสวน จะเกิดเป็นโกลาหล ปรับไหมฆ่าฟันกันตายเป็นอันมาก เมื่ออายุพระศาสนาล่วงไปได้ ๒,๐๐๐ พรรษา ภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ชายหญิงทั้งหลาย ในชมพูทวีปนี้จะโกหกหลองลวงด้วยปริยายต่างๆ ดูรา มหาราชเมื่อสาสนาตถาคตล่วงไปได้ ๒,๐๑๑ พรรษา คนทั้งหลายจะเล่าลือโกหกกันว่า "พระยาธรรมิกราชเกิดในบ้านในเมืองนี้" บางคนก็จะกล่าวอวดอ้างตนเองเป็นพระยาธรรมิกราช เครื่องทิพย์ทั้งหลาย คือ จักร พระขรรค์ชัยศรีเป็นต้น ก็เกิดมี แม้นเทวดา อินทร์ พรหม ก็มาค้ำชูอุดหนุนด้วยเครื่องทิพย์ทั้งหลาย ชื่อนั้นชื่อนี้ แล้วก็จะบังเกิดเป็นโกลาหลเป็นศึก รบราฆ่าฟันซึ่งกันและกันถึงแก่ฉิบหาย เหตุว่าไว้ใจตนเองว่า "เราจะชนะปราบคนทั้งหลาย" นั้นแล ดุรา มหาราช ในเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๒,๐๐๐ พรรษานั้นจะมีพระอรหันต์ ๕ องค์ องค์หนึ่งชื่อว่า ธรรมจุฬ จะหล่อรูปตถาคตด้วยทอง องค์หนึ่งชื่อว่า ทิศาปาโมกข์ จะหล่อรูปตถาคตด้วยทองคำทั้งแท่ง องค์หนึ่งชื่อว่า นารทะ จะสร้างรูปตถาคตด้วยแก้ว องค์หนึ่งชื่อว่าคุตตเถร จะสร้างรูปตถาคตด้วยหินทั้งก้อน องค์หนึ่งชื่อว่า โพธิสัมภาร จะสร้างรูปตถาคตด้วยแก่นไม้จันทน์ ดูรามหาราช รูปตถาคตที่หล่อด้วยทองนั้น ไปสถิตอยู่ที่เมืองในบ้านเมืองที่ใด บ้านเมืองที่นั้นย่อมไม่จำเริญวัฒนา ลูกท้าวหลานพระยาในบ้านในเมืองที่นั้น มักจะคดโกงเข้าหากัน จะชิงกันกินบ้านกินเมือง จะชิงไร่ชิงสวนชิงเขตชิงแดนกัน จะเกิดความเดือดร้อนในบ้านในเมืองที่นั้น ด้วยภัยอุบาทว์ทั้งหลายเป็นอันมาก แม้นภิกษุสามเณรก็ไม่มีใจซื่อสัตย์ต่ออุปัชฌาย์อาจารย์ของตนฯ พระพุทธรูปทองคำนั้น หากไปสถิตอยุ่ในบ้านใดเมืองใดบ้านนั้นเมืองนั้นก็จะประสบความสมบูรณ์พูนสุข เจริญด้วยเงินทองสมบัติ เป็นที่สุขสำราญบานใจยิ่ง หาภัยอุบาทว์อันใดมิได้ พระพุทธรูปไม้จันทน์สถิตอยู่บ้านใดเมืองใด บ้านนั้นเมืองนั้นจะเกิดศึกสงครามไม่ขาดฯ พระพุทธรูปหินไปสถิตอยู่บ้านใดเมืองใด บ้านนั้นจะชุ่มเย็นเป็นสุขฟ้าฝนบริบูรณ์ยิ่งฯ พระพุทธรูปแก้วไปสถิตอยู่บ้านใดเมืองใด บ้านนั้นเมืองนั้น ชาวเมืองท้าวพระยา เสนาอำมาตย์จะชิงกันเป็นใหญ่เป็นโต พระภิกษุสงฆ์ก็จะทะเลาะวิวาทถกเถียงกันด้วยเรื่องวัดวาอารามลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นพรรคเป็นพวก เมื่อใดพระพุทธศาสนา ๒,๐๐๐ พรรษา ต่อไปภายหน้าพระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์นี้จะออกมาปรากฏคือ - ปี จะปรากฏองค์หนึ่ง ดูรา มหาราชพระพุทธรูปทองคำนั้นจะประดิษฐานทสรัฐ พระพุทธรูปแก้วจะประดิษฐานอยุ่ในเมืองอุตตรรัฐ คือเมืองที่อยู่ทางทิศเหนือ พระพุทธรูปหินจะประดิษฐานอยู่ในเมืองนาค คือเมืองนาคอันอยู่ท้ายแม่น้ำ พระพุทธรูปทอง (แดง,เหลือง) และพระพุทธรูปแก่นไม้จันทน์ จะประดิษฐานอยู่ในลังการทวีป ดูรามหาราช ถ้าว่าพระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์นั้นไปปรากฏพร้อมกันอยู่ชุมนุมในที่เดียวกันในเมืองใด บ้านเมืองนั้นก็จะรุ่งเรืองเป็นสุขมาก และในฐานะที่นั้นก็จะเป็นเหมือนนเมื่อตถาคตยังมีชีวิตอยู่ ดูรา มหาราช พระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์นั้นพระอรหันต์สร้างไว้เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาของคนและเทวดาทั้งหลายสืบต่อไปจนตราบสิ้น ๕,๐๐๐ พรรษา ดูรา มหาราชพระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์นั้นถ้าไปรวมชุมนุมกันอยู่บ้านใดเมืองใด บ้านนั้นเมืองนั้นก็จะร่มเย็นเป็นสุขเป็นอันมาก ส่วนพระยาธรรมิกราชองค์ที่จะมาช่วยยกยอศาสนาแห่งตถาคตในพันพรรษที่สามนั้นก็จะเกิดในเมืองนั้น คือเมืองที่มีพระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์ไปรวมกันอยู่ ดูรา มหาราชเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ๒,๐๑๕ พรรษา ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายจะกระทำอุเบกขาวางเฉยต่อกันคือไม่มไปมาหาสู่กันต่างจะอยู่หมู่ใครหมู่มัน ไม่อยู่ร่วมพร้อมเพรียงกันตามพระธรรมวินัยใน ๗ พรรษที่พระสงฆ์กระทำอุเบกขาแก่กันนั้นและภิกษุทั้งหลายจะฉิบหายตายกันเป็นอันมาก นักบวชและคฤหัสถ์ชายหญิงผู้มีปัญญา จงรัีบรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เจริญเมตตาภาวนาไปอย่าให้ขาดจึงจะพ้นจากภัยอันใหญ๋นั้น ดูรา มหาราช เมื่อศาสนาตถาคตล่วงไปได้ ๒,๐๑๗ พรรษา ต่อไปภายหน้า พระยาะรรมิกราชผู้ประเสริฐ จะเกิดมาบำรุงยกย่องพระพุทธศาสนาเสมอเหมือนพระเจ้าปัตติมาลิกอโศกมหาราชนั้น พระเจ้าอโศกธรรมราชประสูติในปีเต่าสี (มะโรง) พระยาธรรมิกราชองค์ที่จะเกิดในพันพรรษาที่สองนั้นจะประสูติในปีก่าเร้า (ระกา) องค์ที่จะเกิดในพันพรรษมที่สามนั้นจะประสูติในปีสัน (ปีวอก) พระยาธรรมิกราชที่จะมาเกิดในพันพรรษาที่สี่นั้น จะประสูติในปีเป้า (ฉลู) ในพรรษาที่ห้านั้นจะไม่มีพระยาธรรมิกราชเกิดแม้แต่องค์เดียว เพราะว่ามนุษย์ทั้งหลายหนาแน่นไปด้วยบาป ไม่สนใจเชื่อในธรรมเสียแล้ว เพราะเหตุนั้นพระยาธรรมิกราชจึงไม่เกิดขึ้น ดูรา มหาราชเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วได้สองพันย่างเข้าสู่เขตสามพันนั้น จะมีอุบาสกผู้หนึ่งประกอบด้วยจิตใจที่มีศรัทธาปสาทะเป็นอันมาก มีความดำริว่า "พระพุทธเจ้าก็นิพพานไปแล้ว เราจะสร้างรูปพระพุทธเจ้าเพื่อไหว้สักการบูชาและอุปัฏฐากบำรุงไว้ที่ใกล้บ้านเราเถิด" แล้วก็สร้างกุฏิวิหารไว้ในที่ใกล้บ้านของตน อุปัฏฐากรักษาอยู่เป็นประจำ คนทั้งหลายมาเห็นเช่นนั้นต่างว่าก็ดีด้วยกันทั้งสิ้น เลยเลียนแบบกันสร้างพระพุทธรูปกุฎิวหารไว้ไหว้สักการบูชาทุกบ้านทุกเมือง ในกาลต่อไปนั้นต่อไปภายหน้า ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายตามปรกติจะปฏิบัติตามคำสอนของตถาคต ย่อมอยู่วัดในป่าห่างไกลจากบ้านเมือง ๕๐๐ วา ที่จะมาอยู่ในวัดใกล้บ้านนอกคำสั่งสอนตถาคตนั้นไม่มีเลย แต่ว่าภายหน้าแต่นี้นั้น ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในบ้านเห็นวิหารและพระพุทธรูปอยู่เช่นนั้นก็เข้าไปหยุดพักฉันข้าว ควรนอนก็นอนไป เพราะขี้เกียจเดินทาง เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดมีขึ้นไป เขาก็เลยได้ปราศรัยคุ้นเคยกับอุบาสกเจ้าศรัทธา จะอยู่พักเมตตาเป็นเวลาชั่วครั้งชั่วคราวก่อน ถึงเวลาก็จะจากไป ภายหน้าแต่นั้นอุบาสกทั้งหลายก็จะตคิดว่า "หากว่าเรามีภิกษุมาอยู่เฝ้าพระพุทธรูป เอาใจใส่แผ้วถางทำความสะอาดก็จะเป็นการดี" พวกเขาก็จะหาโอกาสอาราธนานิมนต์ให้พักอยู่แก่ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งความขี้เกียจและมากด้วยตัณหา ก็จะอยู่รับเมตตารับทานของสรัทธาในอาวาสบ้านนั้น ก็จะเลียนแบบกันไปทุกหนทุกแห่งทุกบ้านทุกเมือง ต่อมาภายหลังภิกษุที่อยู่ป่าไกลบ้าน มาเห็นภิกษุอยู่อาวาสใสกล้านอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัยทั้งสี่ ก็บังเกิดตัณหาจะพากันออกจากป่ามาอยู่อาวาสใกล้บ้านที่ละองค์สององค์ อาวาสป่าก็เลยเหลือน้อยลงตามลำดับ จนกระทั่งอาวาสป่าหมดไป จะคงเหลืออยู่เมืองละแห่งสองแห่ง ส่วนอาวาสใกล้บ้านก็จะแพร่ขยายออกเป็นจำนวนมาก นับด้วยร้อยด้วยพันอาวาส ภายหน้าภิกษูที่อยู่วัดบ้านจะอุดมด้วยลาภสักการมาก ภิกษุที่อยู่ป่าก็จะทิ้งวัดป่าเสียหนีมาอยู่วัดบ้าน วัดบ้านก็จะมีเป็นเป็นแสนเป็นหมื่นวัด ภายหน้าแต่นั้น บ้านหนึ่งๆ จะมีวัด ๒ วัด ๓ วัด บ้านใหญ่จะมีวัดถึง ๑๐ วัด เมืองใหญ่จะมีวัดถึง ๑๐,๐๐๐ วัด ๑๐๐,๐๐๐ วัด เหตุการณ์ทั้งหลายที่กล่าวมานี้จะเกิดมีในพันพรรษาที่สาม คนทั้งหลายที่เกิดมาในยามนั้นจะมีความเข้าใจว่า "มีแต่อาวาสบ้านอย่างเดียวที่เป็นต้นเป็นแบบของศาสนา" ส่วนอาวาสป่านั้นเข้าใจว่าเป็นปลายในกาลยามนั้น คนผู้หาปัญญามิได้ก็เข้าใจว่า "วัดบ้านเป็นต้นมูลเท่านั้น"
    ที่มา พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก โดยสิงฆะ วรรณสัย
     
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    และเข้าใจว่า "ภิกษุที่อยู่ในวัดป่านั้นไม่สมควรจะได้รับกฐิน ผ้ากฐินนั้นสมควรแก่พระอยู่วัดใกล้บ้านเท่านั้น" ส่วนพระชินบุตรผู้อยู่ป่าก็จะค่อยลดน้อยถอยจำนวนลงทุกที จนะกรทั่งบางเมืองมีอยู่ ๑-๒ รูป บางเมืองบางบ้านก็ไม่มีเลย แม้แต่รูปเดียว คนทั้งหลายที่มีปสาทศรัทธาเลื่อมใสในภิกษุผู้อยู่อาวาสป่า ก็จะลดน้อยถอยลงไปจะเหลือ ๑ คน ๒ คน บางเมืองจะไม่มีเลยแม้แต่คนเดียว ดูรามหาราช เมื่อศาสนาตถาคตย่างเข้ามาสู่เขต ๓,๐๐๐ พรรษา พวกทมิฬชาวป่าทั้งหลายจะบังเกิดศรัทธาเลื่อมใสในคุณพระแก้วทั้ง ๓ ประการ เขาจะรู้จักให้ทาน รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนาเจริญเมตตาเขาก็จะสร้างกุฏิวิหารอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ทุกหนทุกแห่ง ประการหนึ่ง พ่อค้าหรือคนทั้งหลายที่เดินทาง เมื่อพวกเขาเข้าไปพักนอนในวัดวาอาราม เขาจะทำสกปรกลามกเหมือนดังพักอยู่ตามศาลา คนทั้งหลายไม่ชอบฟังเทศน์ฟังธรรมคำสอนที่พูดถึงครองวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัด แม้พระภิกษุสามเณรทั้งหลายก็ศึกษาเล่าเรียนพระวินัยและพระไตรปิฎกตามธรรมแห่งตถาคต คฤหัสถ์นักบวชทั้งหลายไม่สนใจปฏิบัติตามธรรมในนิบาตนิกายและวิสุทธิอะไรเลย ภิกษุทั้งหลายที่อยู่วัดบ้านจะสนิทคุ้นเคยซึ่งกันและกัน เลยยินดีพอใจในกันและกัน เขาทั้งหลายจะยินดีในคุณแห่งภิกษุผู้อาวาสป่านี้นั้นไม่มีแม้แต่คนเดียว ภิกษุผู้อยู่ป่าตามธรรมคำสั่งสอนแท้นั้นพวกเขากลับเข้าใจเสียว่า เป็นผู้ปฏิบัติต่ำช้าประกอบด้วยธรรมวินัย และเขาจะเข้าใจว่าภิกษุที่อยู่อาวาสบ้านเป็นผู้ปฏิบัติชอบตามธรรมวินัย จะเกิดภถ้อยคำกระทบกระทั่งซึ่งกันและกันเล็กน้อย แล้วหาโทษใส่ภิกษุผู้อยู่ป่า ขับไล่ภิกษุผู้ปฏิบัติชอบธรรมวินัยเหล่านั้นให้หนีออกไป ซึ่งจะมีต่อไปภายหน้า ประการหนึ่ง คนทั้งหลายจะไม่สนใจสร้างวัดป่า และจะถวายผ้ากฐินเครื่องบริขารแก่ภิกษุที่อยู่ป่าประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายจะไม่รับรักษาสิกขาบทและศีลธรรม สงฆ์ทั้งหลายจะชอบเรียนชอบฟังธรรมในนิบาต ๕๐๐ ชาดกโวหารประการเดียว ไม่ชอบ ไม่สนใจเรียนธรรมวินัย จะบังเกิดมีในยามนั้น เหตุการณ์ต่างๆ ที่ว่ามานี้จะบังเกิดมีเมื่อศาสนาตถาคตล่วงไปแล้ว ๒,๐๐๐ พรรษาย่างเข้าสู่ ๓,๐๐๐ พรรษา จนตลอดถึงพ้นพรรษาที่สี่ ในเมื่อพระพุทธศาสนาย่างเข้าสู่ ๓,๐๐๐ พรรษานั้น ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายจะเลิกละข้อวัตรปฏิบัติอันชอบดันดีเสีย แล้วจะกระทำสิ่งใดก็ดี ไม่ว่าด้วยใจ ด้วยวาจาตลอดถึงการนั่งการนอนการยืนการเดิน ก็ไม่สังวรตามวินัย จะทำกริยาอาการเหมือนดังคฤหัสถ์ จะปฏิบัติตามคติแห่งคฤหัสถ์ คือได้รู้ได้เห็นคฤหัสถ์กระทำ พูดจา เดิน ลุกด้วยอาการที่มัวเมาในเบญจกามคุณอย่างใด ภิกษุทั้งหลายก็จะทำตามด้วยโลภะตัณหาบ่อยๆ เมื่อตายไปเขาก็จะไปร้องไห้อยู่ในนรกนั้นแล ในปัจจุบันนี้หากว่าตัณหาแรงแสวงหาลาภสักการะ เมื่อได้วัตถุเงินทองมากพอที่จะจ่ายเลี้ยงตนได้แล้วเขาก็จะสึกออกไป บางองค์เป็นคนขี้เกียจในการทำงานก็จะข่มใจทนอยู่ แต่ไม่รู้น้ำธรรมคำสอน ก็จะปฏิบัติผิดวินัย เพียงแต่อยู่ไปกินไปในศาสนาจนตราบสิ้นอายุ หาความละอายต่อวินัยธรรมมิได้ เมื่อตายไปแล้วก็จะไปเสวยทุกข์ในนรก เมื่อยังไม่ตายก็จะได้ต้องทุกขเวทนาด้วยภัย ๑๐ ประการ ประการหนึ่ง ตั้งแต่พันพรรษาที่สามเป็นต้นไป คฤหัสถ์ นักบวชทั้งหลายจะทำบุญน้อยก็ดี มากก็ดี เขากลับไม่ตั้งปณิธานปรารถนาถึงนิพพานเพื่อดับทุกข์ในสงสารในศาสนาตถาคตนี้ แต่พวกเขากลับตั้งปณิธานปรารถนาหานิพพานในศาสนาแห่งพระอริยเมตไตรยเจ้าอย่างเดียว เพราะฉะนั้น พึงรู้ว่า ศาสนาแห่งตถาคตยังดำรงอยู่ในพันพรรษาที่สามนั้นเถิด ดูรา มหาราช สักขีพยานแห่งศาสนาตถาคตพึงรู้ดังต่อไปนี้เถิด เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ๑,๐๐๐ พรรษา แรกแห่งพระพุทธศาสนา คนทั้งหลายในบ้านเมืองมัชฌิมประเทศและเมืองใหญ่ ๑๖ เมือง จะมีร่างกายสูง ๖ ศอกมัชฌิมบุรุษ ในพันพรรษาที่สองร่างกายของคนจะสูง ๕ ศอกมัชฌิมบุรุษ ในพรรษาที่สาม ร่างกายของคนจะสูง ๔ ศอกมัชฌิมบุรูษ ในพรรษาที่สี่ ร่างกายของคนจะสูง ๓ ศอก มัชฌิมบุรุษ ในพันพรรษาที่ห้า ร่างกายของคนจะสูง ๒ ศอก มัชฌิมบุรุษ เป็นส่วนมาก (ศอกมัชฌิมบุรุษ ๑ ศอกเท่ากับ ๒ ศอกของปัจจุบัน) กถาสักขีห้าพรรษามีไว้ว่า "วิ สะ สี สุ ทา" คือว่าในพันพรรษาที่หนึ่งนั้นชื่อว่า วิมุตติยุค คฤหัสถ์นักบวชทั้งหลายจะได้ถึงมรรคถึงผลด้วยวิมุตติธรรม คือ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วย่อมจะได้สำเร็จเป็นอรหันต์เป็นส่วนมาก จะได้ถึงด้วยการปฏิบัตินอกจากฟังสัจธรรม ก็ยังมีอีกมากจนไม่อาจจะคณานับได้ฯ ในพันพรรษาที่สองนั้น ปาณสัตว์ทั้งหลายจะได้ถึงสมาธิธรรม คือต้องตั้งมั่นอยู่ในข้อปฏิบัติอันเคร่งครัดแท้ จึงจะได้ถึงมรรคผลเป้นส่วนมากฯ ในพันพรรษาที่สามนั้นปาณสัตว์ทั้งหลายจะสนใจเอาใจใส่ เพื่อทำศีลให้บริสุทธิ์และต้องปฏิบัติตามข้อวัตร มรรคธรรมอยู่ไม่ขาด จึงจะได้ถึงมรรคผลเป็นส่วนมากฯ ในเมื่อพระพุทธศาสนาถึงพันพรรษาที่ห้า ปาณสัตว์คือคนและนักบวชทั้งหลายจะแข่งกันสร้างทานวัตถุไทยธรรม จะมุ่งเอาทานผลเป็นปัจจัยและต้องปฏิบัติไม่ขาดในคลองแห่งภาวนา จึงจะสำเร็จได้มรรคได้ผลฯ ดูรา มหาราช ตถาคตตั้งศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ พรรรษา เพื่อโปรดคนและเทวดาทั้งหลาย มีเช่นนี้ ดูรา มหาราช เมื่ออตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๒,๐๐๐ พรรษากับอีก ๑ พรรษา ชื่อว่าเข้าเขต ๓,๐๐๐ พรรษาเมื่อใด ถ้าถึงกึ่งกลาง ๕,๐๐๐ พรรษา น้ำเต้าก็จะจมไป ก้อนหินก็จะลอยฟูขึ้นมาตั้งอยู่เหนือน้ำ คือว่าคนทั้งหลายที่เคยเป็นมิจฉาทิฐิ มีทมิฬชาวเขาเป็นต้น พวกเขากลับจะมีใจเลื่อมใสในคุณแห่งพระรัตนตรัย จะเลิกละมิจฉาทิฐิเสีย จะรู้จักให้ทานรักษาศีล ฟังเทศน์และเจริญภาวนา อุปัฏฐากพระรัตนตรัย สร้างกุฏิวิหารเป็นที่เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมา เมื่อเขาตายไปก็จะได้เข้าถึงสวรรค์และโมกขนิพพาน เหตุนี้จึงได้ชื่อว่า "ก้อนหินจมอยู่ในน้ำกลับลอยฟูขึ้นมา" อีกประการหนึ่ง คฤหัสถ์นักบวชทั้งหลายที่เกิดมาท่ามกลางพระรัตนตรัยรู้จักกรรมอันเป็นบุยเป็นบาปแท้ๆ แต่กลับกลายเป้นคนพาลปัญญาอ่อน ไม่รู้จักศีล ไม่รู้จักบุญ และไม่เลื่อมสในคุณพระรัตนตรัยจะประพฤติแต่ทางชั่วทางบาปเป็นอันมาก เมื่อเขาตายไปก็จะจมลงไปในอบายทั้งสี่ เหมือนน้ำเต้าจมลงไปในน้ำนั้น ดูรา มหาราช ท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้นจะมีความหยาบช้า ไม่ปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมจะทิ้งเสนาผู้เฒ่าผู้แก่ผู้รู้หลักพิจารณาตามโบราณ แล้วจะยกเสนาผู้น้อยผู้หนุ่มตั้งไว้ในที่พิจารณาราชกิจกรรมทั้งมวล พวกเขาจะกระทำตามอำนาจแห่งโลภะ ตัณหา เบียดเบียนราวีประชาราษฎรไพร่เมืองแห่งตนให้ถึงแก่ความพินาศไป เมื่อท้าวพระยามหาราชกษัตริย์และเสนาอำมาตย์ไม่ตั้งอยู่ในความยุติธรรมเช่นนั้น เทวดาที่รักษาโลกทั้งสิ้นก็จะขึงเครียดไม่พอใจ ก็จะบันดาลสิ่งที่ไม่วัฒนาผาสุกให้เกิดขึ้น แม้คนหญิงชายทั้งหลายก็จะทำกรรมชั่ว ตามแบบอย่างแห่งท้าวพระยาเสนาอำมาตย์เหล่านั้น ในการนั้นเทวดาทั้งหลายก็จะบันดาลเหตุวิปริตต่างๆ ให้ เช่น ในฤดูที่ฝนจะตกกลับให้แดดออก ในกาลที่ควรแดดออกกลับให้ฝนตก เมื่อนั้นรสแผ่นดินก็จะซึมลงไปใต้แผ่นดิน พืชข้าวกล้าถั่วงาของปลูกของฝังทั้งสิ้นก็เลยไม่งอกไม่งามเหี่ยวแห้งเฉาไป แมลงทั้งหลายก็จะมากินมาดูดรากและลำต้นแห่งพืช ทำให้เกิดความเสียหายประการหนึ่ง ฤดูทั้งหลายจะไม่เท่ากัน ต้นไม้เครือเถาวัลย์ พืชที่ปลูกไว้ก็ดี ที่ขึ้นมาเองในป่าก็ดี กาลที่ไม่ควรออกดอกก็จะออกดอก กาลที่ไม่ควรออกผลก็จะออกผล พืชทั้งหลาย เช่น ข้าว ถั่ว งา ผลไม้ เต้า แตงเกิดเป็นลูกเป็นผลขึ้นมา เทวดาและยักษ์ทั้งหลาย ก็เอาข้าวสารที่เป้นพิษมาใส่ไว้ กลายเป็นตัวหนอนตัวแมลงถึงคราวที่คนทั้งหลายไปเก็บไปเกี่ยวสมควรจะได้ผลมากก็จะได้ผลน้อย เมื่อคนทั้งหลายเอาข้าวลีบข้าวแมงแตงเต้า ลูกไม้ ยอดไม้ ราก หัว หน่อ และเปลือกของพืช ทั้งหลายเหล่านั้นมากิน ก็ชื่อว่า กินสารพิษของยักษ์และเทวดาทั้งหลายใส่ไว้ มันก็ซึมเข้าไปในกระดูก ในเส้นเลือด ในท้อง แห่งคนทั้งหลาย จะกลับกลายเป็นโรคต่างๆ จนไม่อาจจะนับได้ เป็นตุ่มเป็นฝี เป็นสรรพยาธิแล้วก็ตายไป จะมีเป็นจำนวนมาก บางครั้งได้ยินเสียงฟ้าร้องมาแล้วกลับสว่างหายไป หาน้ำฝนมิได้ประการหนึ่ง ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ก็จะบังคับเก็บภาษีอากรจากประชาชน เพิ่มทวีขึ้นไปทุกปีทุกเดือนจะเบียดเบียนปรับไหมประชาชนอยู่ไม่ขาด อุปมาเหมือนไหน้ำที่มีน้ำอยู่เต็มแล้วกลับตักน้ำมาใส่อยู่ตลอดเวลา ส่วนไหเปล่าที่หาน้ำมิได้ กลับตักขอดออกเสียนั้นแล ประการหนึ่ง ดูรา มหาราช ในกาลยามนั้น ในบริเวณเมืองเดียวกัน ครึ่งหนึ่งฝนจะตกเล็กน้อย อีกครึ่งหนึ่งฝนจะไม่ตกเลย ประการหนึ่ง กลียุคเพราะแต่งตั้งชื่อเสียงยศศักดิ์ให้แก่คนอันธพาลสันดานหบาบ ให้เขามียศศักดิ์เป็นใหญ่เป็นดตก็จะมีขึึ้นประการหนึ่ง กลียุคเพราะทะเลาะวิวาทกันจะเกิดมีทุกหนทุกแห่ง คนจะตายจะแยกจากกันด้วยอำนาจแห่งความโกรธ ตัณหา มานะไม่ยอมอ่อนข้อให้แก่กัน ก็จะเกิดขึ้นเป็นอันมาก ประการหนึ่ง ท้าวพระยาทั้งหลายก็จะจัดให้ประชาชนทำงานทั้งหลายจนไม่มีเวลาหยุดพัก คนทั้งเมืองจะทำแต่งานเจ้าองค์เดียว ภายหน้าแต่นั้น คนทั้งหลายก็จะประสบความทุกข์ยากลำบากใจ จะคิดสิ่งใดก็เกิดความระแวงสงสัย เลยไม่คิดสร้างคิดทำอะไร บ้านเมืองก็จะยิ่งแห้งแล้งอดอยากเหมือนดั่งดวงจันทร์แรม ๑ ค่ำ จนถึงวันเดือนดับนั้น ท้าวพระยาผู้เป็นหัวหน้าทั้งหลาย ก็จะยิ่งบังคับเก็บภาษีอากร เบียดเบียนประชาชนให้ฉิบหาย คนทั้งหลายจะมีใจแตกแยก จะพากันเร้นลี้หนีออกจากบ้านจากมืองไปอยู่ประเทศอื่นเมืองไกล ประการหนึ่ง ท้าวพระยามหากษัตริย์จะจัดการให้ลูกหญิงหลานหญิงที่เป็นเชื้อขัตติยราชสกุลให้ป็นภรรยาของข้าแกล้วคนหาญทำให้เสียเชื้อชาติราชสกุล อุปมาเหมือนดังหมาจิ้งจอกขี้ใส่ชามอ่างทอคำนั้นแล ท้าวพระยามหากษัตยิ์เกิดมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่ แต่กลับหาเดชานุภาพฤทธิ์มิได้เลย จะได้ไหว้และเป็นบริวารของท้าวพระยาเสนอำมาตย์ ผู้มีใจบาปหยาบช้าเหมือนดั่งสุวรรณหงส์ไปเป็นบริวารแห่งกาดำนั้นแล ดูรา มหาราช ประการหนึ่งผัวเมียอยู่กินด้วยกันมีฐานะหาเงินทองร่วมกัน แต่ไม่รู้จักใจกัน คนหนึ่งแสวงหาเงินทองมาเก็บไว้อยู่ไม่ขาด แต่อีกคนหนึ่งกลับมีใจคดเคี้ยว แอบขโมยไปใช้จ่ายเสีย อุปมาเหมือนดั่งว่า ผู้หนึ่งฝั่นเชือกหนังได้เท่าใดก็ม้วนกองไว้ข้างหลัง หมาตัวหนึ่งอยู่ข้างหลัง คอยกัดกินเชือกหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้เชือกเส้นนั้นยาวต่อไปได้ ประการหนึ่ง เด็กหญิงอายุเพียง ๑๑-๑๒ ขวบ ก็จะเอาฝัวเมื่อเอาแล้วก็จะมีลูกมีเต้า ทำให้เฒ่าไว ตายไว อุปมาเหมือนไม้ไผ่กอเล็ก กับแตกกิ่งตกใบแพร่กระจายไปนั้นแล ดูรา มหาราช แม้นภิกษุสงฆ์ทั้งหลายก็จะบังเกิดด้วยโลภตัณหา ในลาภสักการ จะนำเอาธรรมเทศนาของตถาคตไปเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง นึกแต่เพื่อให้ได้ลาภสักการมากินมาบริโภค แม้ที่สุดที่ที่ไม่ควรจะแสดงก็แสดง เป็นต้นว่า กลางบ้าน ประตู เวียงและทางหลวง เขาก็จะไปแสดงธรรมเพื่อเอาเครื่องบูชามากิน อุปมาเหมือนดังชายผู้หนึ่งเอาแก่นไม้จันทร์อันวิเศษไปแลกเอาก้อนอาจมมาไว้ ประการหนึ่ง เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วเข่าสู่เขตพันที่สามแห่งพระพุทธศาสนา บ้านเมืองที่มีอยู่ท่ามกลางชมพูทวีปก็จะเกิดโกลาหล เกิดศึกเกิดโจรรบราฆ่าฟันกันเป็นที่คับขันยิ่ง เท่าจะมีแต่บ้านนอกบ้านป่าจะอยู่เย็นเป็นสุข สะดวกสบายในการทำบุญอยุู่ไม่ขาดอุปมาเหมือนน้ำในสระใหญ่ น้ำท่ามกลางจะขุ่นข้น แต่น้ำทางมุมทางขอบสระจะใสสะอาด ดูรามหาราชเมื่อศาสนาตถาคตเข้าสู่พันพรรษาที่สาม มีในกาลใด ภัยอุบาทว์จะมีเกิดขึ้นในกาลยามนั้น ภัยทั้ง ๑๐ ประการจะเกิดขึ้นในท่ามกลางกึ่งกลาง ๕,๐๐๐ พรรษา ภัยทั้ง ๑๐ ประการนั้น ได้แก่อะไรหรือ ดูรา มหาราช นักบวชทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในวินัยธรรมคำสอนของตถาคต ใจบาปหยาบช้าเป็นจำนวนมาก ๑๐๐ รูป ๑,๐๐๐ รูป จะมีที่ชอบธรรมอยู่สัก ๑-๒ รูป บางที ไม่มีเลยแม้แต่รูปเดียว แม้ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ตลอดถึงประชาชนหญิงชายทั้งหลายก็ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นจำนวนมาก ๑,๐๐๐ คน จะมีชอบธรรมสัก ๑-๒ คน บางบ้านบางเมืองไม่มีเลยแม้แต่คนเดียว เหตุว่ามีบาปกรรมอันหนาแน่นยิ่งนัก เทวดา อินทร์ พรหมทั้งหลาย ก็จะบันดาลให้ยักษ์ คนธรรพ์ นาค ครุฑ ทั้งหลายลงมาราวีเบียดเบียนคนและสัตว์ทั้งหลายจะกระทำให้เป็นโรคระบาดพินาศ ทั้งสัตว์และคนก็จะถึงแก่ความตายเป็ฯจำนวนมาก ประการหนึ่งยักษ์และเทวดาทั้งหลายจะบันดาลให้หัวใจนักบวชทั้งหลายให้ต่ำช้า ให้มีความโกรธความขึ้งเครียดดูถูก ดูแคลนซึ่งกันและกัน องค์ที่มีอายุน้อยก็จะเหยียบย่ำองค์ที่มีอายุมาก องค์ที่มีอายุก็ไม่รักไม่เกรงองค์ที่มีอายุต่ำกว่า ลูกศิษย์ก็ไม่เคารพรักอุปัชฌาย์อาจารย์ อุปัชฌาย์อาจารย์ก็ไม่รักไม่เกรงลูกศิษย์ ใครจะสั่งสนอใครไม่ได้เท่าแต่จะสะสมบาปเป็นนิรันดร์ เขาทั้งหลายก็จะประสบภัยเหล่านั้น แม้ท้าวพระยามหากษัตริย์เสนาอำมาตย์และคนขายทั้งหลาย อันเทวดาและยักษ์หากมาบันดาลหัวใจ เขาก็ไม่ยอมอ่อนน้อม ไม่รักไม่ยำเกรงกัน ต่างคนต่างก็ว่าตนเองมีบุญสมภารมาก มีเดช มียศ มีบริวาร กล้าหาญมาก มีความฉลาดมาก และมีกำลังมาก พระยาเมืองน้อยก็จะดูถูกพระยาเมืองใหญ่ พระยาเมืองใหญ่ก็จะดูถูกพระยาเมืองน้อย ลูกน้องไม่เคารพนับถือนาย ลูกชายหญิงไม่รักไม่ยำเกรงพ่อแม่ ผู้น้อย ผู้หนุ่มไม่รักไม่ยำเกรงผู้แก่ผู้เฒ่า ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จะเบียดเบียนไพร่ฟ้าข้าไทย ดทษมีน้อยจะปรับไหมหลาย โทษบ่ควรตายก็จะห่า จะบีบบังคับเอาข้าวเอาของเงินทองให้ถึงความพินาศฉิบหาย จะได้เป็นทาสเป็นข้าของท่านผู้อื่น จะมีเป็นจำนวนมากประการหนึ่ง เทวดาจะมาบันดาลให้ผู้น้อยผิดจกับผู้ใหญ่ บันดาลให้ผู้ใหญ่ผิดใจกับผู้น้อย เมืองน้อยผิดใจกับเมืองใหญ่ บ้านน้อยผิดใจกับบ้านใหญ่ เรือนใต้ผิดใจกับเรือนเหนือ เรือนเหนือผิดใจกับเรือนใต้ พ่อแม่พี่น้องมิตรสหายก็จะทะเลาะวิวาทกัน หากว่าทะเลาะวิวาทผิดเถียงกันด้วยเรื่องการห่าสัตว์ การลักทรัพย์ การเล่นชู้ การแช่งชิงเอาทรัพย์ สิ่งของไร่นาคามเขต หรือแม้สมบัติสิ่งใดก็ดี ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ก็จะพิจารณาคดีความไม่ชอบธรรม ย่อมจะตัดสินความด้วยฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ หาอุบายกินของจ้าง คือ สินชุกสินบน ควรชนะก็ตัดสินให้แพ้ ควรแพ้ก็ตัดสินให้ชนะ บาปกรรมทั้งหลายร้านแรงยิ่ง ก็จะบันดาลให้วิวาทฟ้องร้องกัน เลยเกิดเป็นโกลาหล จะเกิดศึกใหญ่รบราห่าฟันกันตายเป็นอันมาก เหตุการณืเช่นนี้จะเกิดในระหว่างกึ่งกลาง ๕,๐๐๐ พรรษา ประการหนึ่ง คนจะตายเพราะเสือกัด เงือกกัด และจะตายเพราะตะขาบ แมงป่อง งูต่างๆ กัด คนและสัตว์จะบังเกิดไข้ร้อนไข้หนาว มือเท้าเย็นและตายเป็นโรคปวดท้องเจ็บคอ, ลงเลือด, เป็นกษัย, บางคนเดินอยู่ดีๆ ก็จะล้มตาย จะนั่งตาย นอนตาย ยืนตาย ตายด้วยภัยทั้งหลายต่างๆ ในเวลานั้นแดดร้อน ยิ่งฝนก็ร้ายยิ่ง ฟ้าก็ร้องไม่ตามปกติ จะผ่าคนและสัตว์ให้ถึงแก่ความตาย แม้น้ำก็ร้ายยิ่งจักบังเกิดแก่คนสัตว์ทั้งหลายตามวิบาก บาปกรรมทุกๆ ประการ ดูรา มหาราชคนทั้งหลายจะตายเพราะทุพภิกภัยตายเพราะฆ่าฟันกัน ตายเพราะภัยอุบาทว์ต่างๆ คนทั้งหลายจะถึงแก่พินาศฉิบหายเป็นอันมาก บ้านก็จะว่างเรือนก็จะเปล่าคนทั้งหลายไม่เป็นอันทำมาหากินส่วนตัว ต้องถูกบังคับทำงานให้แก่ทำงานให้เจ้านาย (สำนวนเดิมว่า "คนทั้งหลายจักเยียะเป็นสร้าง เท่าจักช้างไปเอาเจ้าทั้งหลายการนายนักบ่ขาด" อยู่ตลอดเวลา แม้นทำไร่ทำนาก็ไม่ได้ผล จะแห้งแล้งตายเพราะแดดกล้า พืชทั้งหลายเป็นต้นว่า ตัวหนอนก็จะลงมากินข้าวกล้าในนา แม้นข้าวกล้าจะเป็นต้น เป็นกอ เป็นรวงแล้ว นกและหนูก็จะเบียดเบียน เมล็ดข้าวก็จะลีบ ควรจะได้ ๑๐๐ สัด จะได้สัก ๑๐ สัด หรือได้ครึ่งหนึ่งลงมา หากทำนาไม่มากก็จะไม่ได้อะไรเลย ทุกขเวทนาทั้งหลายจะบังเกิดแก่คนทั้งหลายในยามนั้นแล ดูรา มหาราช คนและสัตว์ทั้งหลายที่ประสบภัยพิบัติต่าๆ และต้องพินาศตายไปเช่นนั้น มิใช่ว่าจะเป็นไปทั่วบ้านทั่วเมืองหาได้ไม่ ลางแห่งจะดูดีมีสุข ลางแห่งจะเป็นทุกข์เป็นภัยมาก คือที่ดีก็มีมาก ที่ร้ายก็ร้ายมาก ภัยที่กล่าวมาแล้วจะปรากฏขึ้นในประเทศแดนใด ประเทศแดนนั้นจะฉิบหายพินาศ คน ๒-๓ เมืองจะรวมกันได้ ๑ เมือง บ้าน ๒-๓ บ้านจะรวมกันเป็น ๑ บ้านก็ไม่พอ ๒-๓ เรือนรวมกันเป็น ๑ เรือน ๒-๓ เรือนจะรวมวัวควายได้อย่างละตัวก็หามิได้ ภัยเหล่านี้จะบังเกิดมีในกลางพรรษาพันที่สามของ ๕,๐๐๐ พรรษา (ได้แก่พุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นต้นไป) ดูรา มหาราช ในกาลตอนนั้นศาสนาตถาคตจะหม่นหมองไปเป็นอันมาก ดูรา มหาราชเป็นผู้เจ้า เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย ท่านจงดูแลศาสนาตถาคตอย่าได้ประมาท จงสั่งให้บุตรองค์ที่ชอบธรรมลงมาเกิดในพันพรรษาละ ๑ องค์ เพื่อมาอุ้มชูส่งเสริมยกย่องพระพุทธศาสนาใน ๕,๐๐๐ พรรษานี้ให้เจริญ รุ่งเรืองต่อไปเถิด"
    ที่มา พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก โดยสิงฆะ วรรณสัย
     
  4. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    สมเด็จอินทราธิราชทรงสดับพุทธพยากรณ์เช่นนั้นก็ทรงมีพระทัยโสมนัสยินดีเป็นอันมาก ทรงอภิวาทกราบไหว้พระพุทธเจ้าด้วยความเคารพ แล้วก็เสด็จคืนสู่ชั้นฟ้าอันเป็นที่อยู่แห่งพระองค์ ต่อมาพระอินทร์ก็ทรงนำ ทิพฺพปลฺลวํ ยังดอกลิโลคำ อันเป็นทิพย์ต้นหนึ่งมาปลูกไว้บนยอดภูเขาที่เป็นเขตแดนแห่งโยนกโลกที่นั้น แล้วก็เสด็จมาเล่าถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์นั้นให้แก่พระฤาษีชื่อ อินทสัมภารที่อยู่ในภูเขาที่นั้นว่า ดังนี้ "ข้าแด่เจ้าฤาษีในกาลเมื่อเต็มบริบูรณ์แห่งพันพรรษาครั้งหนึ่งๆ ดอกลิโลคำทิพย์ต้นนี้ ซึ่งประกอบด้วยก้าน ๒ ก้อน ก็จะคลี่บานมีกาบได้ดอกละ ๑๐๐ กาบ จะมีทุกๆ พันพรรษา (คือครบ ๑,๐๐๐ ปีจะบานครั้งหนึ่งในรอบ ๕,๐๐๐ ปี ตามอายุของพระพุทธศาสนา) เพื่อพระยาธรรมิกราชทุกพระองค์ ข้าแด่เจ้าฤาษี ขอท่านอย่าได้ประมาทเลย โปรดเล็งดูกาลเวลาอันเป็นไปแห่งพระพุทธศาสนาตลอดถึงภาวะอันภัยทั้งหลายจะพึงบังเกิดขึ้น ขอท่านจงบอกกล่าวแก่คนทั้งหลายต่อไปภายหน้าเถิด ข้าแด่เจ้าฤาษี ในเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๒,๐๐๐ ปี เมื่อใดพืชทั้งหลาย เช่นว่าเครือเขาเถาวัลย์หญ้าและต้นไม้ทั้งหลาย ที่มีอยู่ในแผ่นดินทั้งสิ้น ก็จะมีดอกมีผลในกาลที่ไม่ใช่ฤดูที่ควรเป็น ทั่วไปในแผ่นดินทั้งหมด นิมิตแห่งดอกไม้เหล่านั้นเป็นการแสดงบอกเหตุภัยว่า "จะบังเกิดมีต่อไปในภายหน้า" เป็นต้นว่า ตั้งแต่นี้ต่อไปภายหน้าคนทั้งหลายไม่ว่าผู้น้อยไม่ว่าผู้ใหญ่ในชมพูทวีป จะไม่ปฏิบัติตามธรรม เขาจะมีใจเป็นบาป ไม่มีความละอายและสะดุ้งกลัวต่อบาป จะยุยงส่งเสริมให้เกิดเป็นศึกเป็นโจรฆ่าฟันล้มตายเป็นอันมาก ประการหนึ่ง คนทั้งหลายจะโกหกหลอกลวงไม่มีศีลไม่มีสัตย์ จะสร้างข่าวลือหลอกลวงกันว่า "เจ้าตนมีบุญคือพระยาธรรมิกราชเกิดแล้ว ที่เมืองนั้นเมืองนี้" บางคนก็จะหลอกลวงว่า "เรานี้แหละเป็นพระยาธรรมมิกราช" ข้าแด่พระฤาษี คนที่เป็นพ่อแม่ผู้เฒ่าผู้แก่ ก็จะทะเลาะวิวาทโต้เถียงกับลูกหลาน คนที่เป็นลูกหลานก็จะทะเลาะวิวาทโต้เถียงพ่อแม่ผู้เฒ่าผู้แก่ เขาทั้งหลายจะบริภาษซึ่งกันและกันด้วยประการต่างๆ ในกาลครั้งนั้น ลูกศิษย์ทั้งหลายก็จะทะเลาะวิวาทโต้เถียงอาจารย์แห่งตน คนทั้งหลายจะทะเลาะวิวาทยื้อแย่งกัน ในเรื่องสิ่งของเงินทอง ข้าวกล้า ไร่นา เขตแดนบ้านช่องเป็นต้น จะเกิดเหตุเบียดเบียนเข่นฆ่ากันถึงแก่พินาศ ข้าแด่พระฤาษีท้าวพระยศกษัตริย์ทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้น จะรบราแย่งชิงราชสมบัติของกันและกัน และจะแย่งข้าวเปลือกข้าวของ ช้างม้า ข้าคน ไร่นา วัวควายต่างๆ เป็นต้น ในกาลครั้งนั้นท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่จะตัดสินถ้อยคำก็ไม่ชอบธรรม จะตัดสินความด้วยอคติ เมื่อได้เงินสินบนแล้วก็แบ่งกันกินประชาชนราษฎรทั้งมวลจะลำบากเข็ญใจอดอยากโหยหิวตลอดไป ข้าแด่เจ้าฤาษี ในกาลนั้น รสของปุ๋ยจะจมลงไปในแผ่นดิน ทำให้แผ่นดินไม่มีรส ไม่มีปุ๋ยปลูกพืชใดๆ ก็ไม่งอกงาม เมื่อแผ่นดินสิ้นรส สัตว์ทั้งหลายที่เป็นศัตรูพืช เช่น ตั๊กแตน ตัวหนอนเป็นต้น ก็ย่อมมาเบียดเบียนกัดกินข้าวกล้าและพืชทั้งมวล จนไม่อาจออกดอกออกผล คนทั้งหลายก็จะอดอยากหอดหิวไปทุกที ข้าแด่เจ้าฤาษี ขอท่านจงโปรดเล็งดูหมู่มนุษย์ทั้งหลายและศาสนาของพระพุทธเจ้าเพราะว่าคนทั้งหลายจะเบียดเบียนรบชิงกันและพวกเขาทั้งหลายก็จะเกิดความทุกข์ไร้เข็ญใจ ไม่มีข้าวน้ำโภชนาหารจะกินเมื่อเกิดความอดอยากก็เลยหาสิ่งที่จะเลื่อมใสยึดถือไม่ได้ จะเป็นเหตุให้ไม่ทำบุญจะทำแต่กรรมอันเป็นบาป ข้าพเจ้านี้มาบอกแก่ท่านฤาษี ก็เพื่อประสงค์ให้ท่านกำหนดรู้ยังกาลอันเป็นอายุแห่งพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ พรรษา ข้าแด่ท่านฤาษี ท่านจงพิจารณาสังเกตดูนิมิตทั้งหลาย ๑๐๑ จำพวก (บางฉบับว่า ๑๐๘ จำพวกๆ แปลว่า เภท หรือชนิด) เหล่านี้ ถ้าบังเกิดมีขึ้นเมื่อใด ท่านจงบอกกล่าวแก่คนทั้งหลายเถิด บุพนิมิตเหล่านี้เช่น "ม้ากินหญ้าด้วยวัว" มีเมื่อใด "คนทั้งหลายทือกุบทั้งหัวหุ้มหน้า" (สวมหมวกหลุบหน้า) "มือลูบลงปกตา" (มือลูบผมลงมาคลุมตา) " ถือถงกำด้ามดาบ" (สะพายย่ามถือดาบ) "แบกง้าวทราบเท่าเล้ารั้วนา" (แบกง้าวทั่วไปใหญ่เท้าเสาล้อมนา) "คนทือหูรานำหน้า" (ถือเอาโหรเป็นใหญ่) "พ่อค้ามักสืบคำโจร" (พ่อค้าหากินกับพวกโจร เช่น ซื้อของโจร เป็นนายหน้าไถ่จากโจร เป็นต้น) "ผีทงบินวนอากาศ" (อันตรายร้ายมาจากอากาศ เช่นจากการทิ้งระเบิดเป็นต้น" "นักปราชญ์บ่รู้คลองบุญ" (เป็นนักปราชญ์หรือเป็นบัณฑิตแต่ไม่ทราบทางแห่งบุญ) "ฝูงเป็นขุนบ่รู้ตกแต่ง" (เป็นราชการ แต่รู้สิ่งที่ชอบที่ควร หรือตัดสินความไม่มีความเที่ยงธรรม) "เอาผ้าสี่แจ่งแปลงถง" (ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนย่าม) "ฝนตกลงบ่ใช่เมื่อ" (ฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล) "ฝูงใบ้เบื่อคลองธรรม" "คนบ่ยำนักบวช" (คนไม่เคารพยำเกรงนักบวช) "คนพาลอวดเป็นอาจารย์" (เอาคนพาลเป็นอาจารย์ บางฉบับว่า "คนพาลโจทก์อาจารย์") "ผิดโบราณแต่งไว้ " "คนผู้ไร้เกิดเป็นดี" "หญิงอายุ ๑๐ ปีมีชู้" "ผู้รู้คนบ่นับ" (ไม่นับถือผู้มีความรู้ ความฉลาด) "คนมักขับฝูงชีหนีจากที่" (ชาวบ้านขับไล่พระให้สึกหรือให้หนีออกจากอาวาส) "สายฟ้าคลี่เป็นทุง" (ฟ้าแลบยาวเหมือนธงแผ่นผ้าที่แขวนไว้บนค้างสูง ธงนี้จะยาวตั้งแต่ ๑ วาขึ้นไปถึง ๔ วา จะพบทั่วไปในงานปอยหลวงทางลานนาไทย) "ผีหุงบินอากาศ" (ผีหุงก็คือ ผีหง, ผีโหง) "นักปราชญ์พ้อยรู้พลาง" (เป็นนักปราชญ์บัณฑิตแต่กลับโกหกหลอกลวง) "คนเทียวทางยกโทษ" (หาโทษแก่คนเดินทาง หรือหาเรื่องใส่อาคันตุกะ) "ฝูงนักบวชบ่ยำกัน" (พระเณรไม่เคารพนับถือกัน) "เงินคำถูกกว่าเบี้ย" "เบี้ย ๑๐๐ หยุดเสียซาว" (เงินคำไร้ค่า เบี้ย ๑๐๐ จะเหลืออยู่ ๘๐ หายไป ๒๐) "ชาวเจ้าตลิรู้ล่าย" (ภิกษุสงฆ์โกหก หลองลวง) "ผู้น้อยม่านกินเมือง" (คนชาวบ้านรวมกันจะยึดครองบ้านเมือง) "ขุนนายเรืองไถ่เอาข้า" (ข้าราชการหาเรื่องเบียดเบียนปรับไหม ชาวบ้านแล้วหาเรื่องไถ่เอามาเป็นบริวารหรือทาสของตัว) "ฟ้าร้องดังเสียงลวา" (เสียงฟ้าร้องเหมือนลาร้อง) "แร้งกาตอมอากาศ" "เป็นพยาธิอ้างหาผี" (เจ็บป่วยขึ้นมาไม่หาหมอ แต่ไปหาผีหรือพวกเข้าทรงรักษา) "ฝูงเป็นชีใจบาปกล้า" (พระภิกษุสามเณรเป็นผู้มีใจบาปหยาบช้า) "ฝูงพ่อค้าช่างลัก" (พ่อค้าขี้โกงขี้ขโมย) "คนทั้งหลายมักบ่ยำคนแก่คนเฒ่า" (ไม่เคารพนับถือคนเฒ่าคนแก่) "ฝูงคนเจ้าทอกุบคะยม" (พระถือหมวกให้เด็กวัด) "ฝูงชีชมพาดาบ" (พระเณรชอบพกอาวุธ) "ตุ๊พระหาบค้าหาเงิน" (พระเณรแสวงหาเงินด้วยการค้าขายหรืออยู่ในลักษณะการค้าขายแลกเปลี่ยน) "เมินนานจักหม่นเส้า) (ไม่นานก็จักหมองมัว) "ต้นข้าวจักลาบเสียรวง" ทั้งทุ่งหลวงจักตายแล้ง" "บ่อจักแห้งเซาะกิน" "แผ่นดินจักร้อนปานไฟไหม้" "คนใบ้จักหาลักกัน" "เสียงมี่นั้นบนอากาศ" (เสียงอึงมี่บนอากาศ) "ขวานฟ้าจักฟาดลงมา" "แผ่นดินหนาไหวหวั่น" "ลมจักปั่นบ้าไม่ไป" "อัคคินาร้อนในโลก" "คนต้านโศกคำพรอง" (คนจะพูดถึงแต่ความเศร้าโศกและความพยายาม) "ตลิปองสอดล่า" (จักคิดหาทางหนีออกไปจากที่ตัวเคยอยู่) "เฮื่อ (เหงื่อ) จักย้อยหน้าพระสัตถา" "สองตาใสจักหลับอยู่" "เจดีย์วู่เป็นควันไฟ "แผ่นดินยับยะแยก" "สายฟ้าจักแถกคนตาย" (แถก คือเถือ) "สระและหนองแลายเป็นเลิด" (เลิดคือเลือด) "หมู่แมงบังเกิดเต็มนา" (แมงบ้ง คือ ตัวหนอน) "หมูหมาหอนสะสู่" "ช้างม้าลู่ตกเมือง" "ผียักษ์เรืองทั่ท้อง" "ผียักษ์ลั่นม็อกกลาง" (ลั่นม็อกแปลว่ายิงปืน "ม็อก" ย่อมาจากคำว่า "อะม็อก" แปลว่าปืนหรือปืนใหญ่) "นกหนูกืนกัดเข้า" (เข้าคือข้าว) "ไก่เถื่อนเพ้ามาเมือง" (เพ้า แปลว่า รุม, ตอมเป็นฝูง) "เสนาเรืองไหมไพร่แล้สู่กันกิน" (ชข้าราชการปรับไหมประชาชนได้เงินแล้วก็เอาไปเลี้ยงกัน) "นักบวชและคนจักหาศีลบ่ได้" "เที่ยงจักเตื่อมแถมผู้ไร้หื้อเป็นทุกข์" (ย่อมจะเพิ่มเติมทับถมคนที่ทุกข์อยู่แล้วให้ทุกข์ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก) "คนจักหาความสุขบ่ได้" "จักปลงหาบไว้กลางทาง(จักวางหาบไว้กลางทาง)" "คนจักโอยครางอยากข้าว" "หายใจเส่าครางตาย" (หายใจกระเส่าคร่ำครวญแล้วก็ตายไป) "นิมิตทั้งหลายฝูงนี้จักเคิงขาบ" (นิมิตเหล่านี้จะบังคับให้เกิดความเคืองเข็ญ ขาบแผลงเป็นขนาบ คือบังคับกดไว้) "นักบวชและคนผู้บาปจักตาย" "ฝูงหญิงชายใคร่บ่เชื่อ" เที่ยงจักได้หันหอกดาบเรื่อมาเถิงตน" "แม้นเลือดคนและเลือดช้าง" ไหลเพียงพ่างข้างตาตีน"

    เมื่อใด ภัยทั้งหลายเหล่านี้หมดไปแล้ว พระยาธรรมิกราชก็จะลงมาปราบสกลชมพูทวีป ยกย่องพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองยั่งยืนนาน ในสมัยกึ่งกลางพระพุทธศาสนา และให้เจริญสืบต่อไปจนกระทั่ง พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายมาประชุมกัน อันเป็นที่ปริโยสานแห่งพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ พรรษานั้นแล


    สมเด็จพระอินทราธิราชองค์เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย ตรัสเล่าคำเหล่านี้ให้แก่พระอินทสัมภารฤาษีที่อยู่ ยอดเขาคำหลวง ในเมืองหริภุญชัยนคร แล้วพระองค์ก็เสด็จขึ้นไปสู่วรรคโลกอันเป็นที่อยู่แห่งพระองค์ ก็มีวันนั้นแล


    พุทธตำนานกัณฑ์ที่ ๑๐ ก็จบด้วยประการฉะนี้
    ที่มา ที่มา พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก โดยสิงฆะ วรรณสัย<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  5. porntips

    porntips เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    955
    ค่าพลัง:
    +2,410
    ใกล้จะถึงวันนั้นแล้วทาน ศีล ภาวนา เท่านั้นที่จะช่วยได้
     
  6. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    แต่งขึ้นภายหลังครับ

    เอามาให้อ่าน เจตนาให้คนนึกถึงความดี อนุโมทนา
    แต่เรื่องราว ในนั้น เฉียดการตู่พุทธพจน์เพราะแต่งมาภายหลัง แล้วอ้างว่าพระพุทธองค์ตรัส คือ ยัดคำพูดใส่พระโอษฐ์พระพุทธเจ้าไปหน่อย แคลงใจ อันนี้ ไม่อนุโมทนา
     
  7. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    เชื่อไว้ก่อนเถิดครับพระอรหันต์ท่านเป็นผุ้แต่งครับ ท่านคงไม่กล่าวตู่พุทธโอษฐ์หรอกครับ
     
  8. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    ยังไม่ค่อยมั่นใจว่า พระอรหันต์แต่งจริงครับ
    เพราะ หนังสือ อินทร์ตก เทพทำนาย หรือพุทธทำนาย แบบ ใบลาน ตกจากสวรรค์ เกิดมานานแล้ว

    จะมีพวกผีบุญ หรือ เจ้าสำนัก เจ้าลัทธิ ใน สยาม สมัยก่อน ทั้ง สมัย กรุงศรี อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ แอบอ้างแต่งข้อความทำปลอม ใบลานแบบจดหมายลูกโซ่ ในปัจจุบัน โยนไว้ตามที่ต่างๆ แล้วอ้างว่า ตัวเค้าคือผู้มีบุญ เป็นพระศรีอาริย์ เป็นพระยาธรรมิกราช มาโปรด ให้เข้าเป็นพวก และนับถือเค้า แล้วจะ โชคดี พ้นเคราะห์ต่างๆ จนถึงกับซ่องสุมกำลังพล จน ทางเมืองหลวง หรือกรุงเทพ จัดกำลังทัพไปปราบ

    ลองหาอ่าน จดหมายเหตุในสมัย ร.๕ เรื่อง กบฏผีบุญ นี่สิครับ

    อีกอย่างครับ ลองหา พวกหนังสือพวกนี้ หลายๆฉบับ มาอ่านดู มักจะอธิบายแบบคล้ายๆ กัน ลองเอาพระไตรปิฎกและอรรถกถามาเทียบ จะพบว่า ไม่สอดคล้องกันในเรื่องคำทำนายเลยครับ

    ขอพิจารณา มาเพียงเท่านี้ เห็นแค่หนังสืออ้างพระพุทธเจ้า ผมไม่คิดว่าพระอรหันต์แต่งนะครับ
     
  9. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,756
    ค่าพลัง:
    +1,220
    ยังไม่ต้องอ่านอะไรมาก ขออนุโมทนาสาธุก่อนเลย อย่างน้อยก็คำของผู้มีบุญบอกไว้ครับ
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ในพุทธทำนาย ในพระปริตร" อภยปริตร" มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของพระยาธรรมิกราช ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้น พระยาธรรม คือผู้รู้และเห็นธรรมเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงตรัสรู้เห็น แต่ไม่มีทศพลณญาน10 และมหาปุริลักษณะ บารมีก็ไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับพระพุทธทั้งหลายได้ พระยาธรรมิกราชเป็นผู้มีปฎิสัมภิทาญานอย่างไม่ต้องสงสัย ชัดเจนเด็ดขาด เป็นผู้มีฤทธานุภาพ ชี้แจงแก้ไขพระไตรปิฎกที่ถูกตีพิมพ์และจารึกเขียนขึ้นได้อย่างชัดเจนตามแบบพระธรรมแม่บทฉบับทิพย์ เป็นผู้ลงทัณฑ์สงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบททั้งหลาย โดยฐานะกรรมบันดาล เป็นผู้รู้ทิพย์ภาษาเป็นผู้ประกาศธรรมเหนือโลก เหนือลัทธิความเชื่อมายาคติต่างๆจะพีงพินาศเป็นผู้รวบรวมจักรวรรดิธรรม จากแตกแยกนิกายเป็นหนึ่งเดียว เป็นผู้ช่วยบอกทางและสรรเสริญในพระธรรมอย่างที่สุด แม้มีใครชื่นชมท่าน ท่านก็จะชี้แนะให้สรรเสริญแด่พระธรรม พระพุทธ และพระสงฆ์ผู้อยู่ในสารคุณเพียงเท่านั้น! ตราบใดที่ยังไม่ปรากฎปาติหาริ์ย3 ตราบนั้น พระยาธรรมิกราชก็จะยังไม่ปรากฎ ผู้ใดที่แสดงปาติหาริ์ย3ในพระธรรมได้ พึงสำเหนียกไว้ว่าเป็นผู้เข้าใกล้ชิดพระยาธรรม กิจต่างๆย่อมเกิดขึ้นตามการ ภาระเป็นไปตามกรรม เมื่อพระธรรมิกราชปรากฎ. อวิชาและอาสวะกิเลสทั้งมวลจะสิ้นไปในผู้ที่สั่งสมบุญบารมีมาดีแล้ว. พึงเข้าใจเถิดว่า. ในยุคนี้ ผู้ที่แสดงพุทธภาษิต แค่เพียงภาษิตเดียว ก็ยังไม่สามารถแสดงได้เทียบเทียมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสพและพระอรหันต์ผู้ที่อยู่ในสารคุณ ให้ผู้รับฟังได้เข้าใจแจ่มแจ้งเข้าถึงวิมุติได้เลยแม้สักผู้เดียว (เมื่อผู้เสวยวิมุติแสดงธรรม ธรรมนั้นย่อมเป็นวิมุติ). ผู้ไม่รู้จริงไม่ควรแก้อรรถที่เราแสดง เหล่าสหชาติของพระยาธรรมเป็นผู้มีบุญรู้ธรรมตามกาลเป็นอย่างยิ่ง. สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญ ขอจงเจริญในภาวะธรรมตามกาล
     
  11. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,132
    เริ่มชัดขึ้ยเรื่อยๆ
    โมทนาสาธุ
    ขอให้มีเมตตาและเจริญในธรรม
    ข้าพเจ้าเกิดมาต้องตาย ชีวิตไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     
  12. pornch

    pornch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2013
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +159
    สาธุๆๆ ครับสิ่งเหล่านี้ได้บังเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้วครับกระผมเห็นและประสบด้วยตนเองอยู่จึงได้ติดตามหาคำอธิบายถึงสาเหตุเหล่านี้จึงขออนุโมทนาสาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...