ทำไงให้อยุ่ในอารมณ์เดียวได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย roneychai, 15 เมษายน 2012.

  1. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ต้องทำให้ได้วสีในสมถะ พอกำหนดปั๊บ จะชั่ววินาที หรือชั่วพริบตา ต้องให้เข้าได้เลย
    วางเฉยต่อนิวรณ์แล้วละ ไม่ใช่วางเฉยแล้วติดอยู่ ตามอำนาจของสมถะ แต่ละขั้นที่เข้าถึงในสังขารนั้น

    หรือด้วยอำนาจของวิปัสสนา พิจารณาไปที่ตัวทุกขสัจ มีความเกิด ความตาย ความพรัดพราก ความเศร้าโศกเสียใจ เป็นต้น ให้ชัดเข้ามาสิ่งเหล่านี้ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์
    จะเป็นอนิจจสัญญา อนัตตสัญญา หรือ มรณสัญญา ก็ดี

    หรืออายตนะภายนอกใน เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์กระทบเข้ามามีเวทนาเกิดขึ้น ให้มีสติสัมปัญชัญญะ พิจารณาวางเฉยในอาการเหล่านั้น คือสังขารที่เป็นทั้งกุศล อกุศล ทั้งสุขและทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เพราะไปยึดในอาการเหล่านั้นมาเป็นเรา พอมีอุปาทานแล้ว จิตก็กวัดแกว่ง ไปตามอำนาจของอุปาทาน เกิดกิเลสแปรรูปเป็นภพเป็นชาติ เพราะเข้าไปยึด

    การอยู่ในอารมณ์เดียว จึงมีทั้งขั้นของสมถะ สังขารุเปกขาแบบสมถะ

    และขั้นของวิปัสสนา ครูบาอาจารย์บางท่าน ท่านบอกว่า "รู้เฉยๆ"
    รู้เฉยดังกล่าว คือรู้แล้วละ แต่ไม่ใช่เฉยๆ ละในเวทนาที่เกิดทางกาย ทางใจ
    แต่จิตนี้ไม่ไหลไปตามอำนาจของเวทนา เพราะมีสติตั้งมั่นอยู่
    ธรรมดาเปรียบเหมือนน้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำ และไม่อยู่เฉยเหมือนลิง จิตนี้ก็เช่นกัน
    สิ่งนี้จึงต้องขึ้นอยู่กับการฝึกฝนอบรมฝึกทวนกระแส เริ่มด้วยการมีสติต่อการแวดระวัง ต่อสิ่งอกุศลยั่วยุ
    ให้กระทำทางกาย และวาจา ความบริสุทธิ์แห่งใจของศีลจะเกิดขึ้น นั่นคือ อินทรียสังวรณ์

    พุทธภาษิต ได้กล่าวไว้ว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้"
    และนั่นก็เป็นสุขแบบไม่กลับกลอก สุขเพราะเป็น "จิตหนึ่ง" รู้ ตื่น เบิกบาน
    นั่นก็หมายไปถึง "นิพพานัง ปรมัง สุขัง"

    แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ต้องเริ่มด้วยการรักษาศีล แล้วพิจารณาดูความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับเรา

    ไม่จะเป็นศีล5 สูงมาหน่อยก็ศีล8 กินข้าวมื้อเดียว เป็นต้น
    แล้วลองหาสิ่งมายั่วยุกิเลสดู ให้สังเกตว่า ความอยาก ความต้องการ
    เกิดขึ้นแล้วรู้ทันกับมันไหม เช่น ซื้ออาหาร ขนมต่างๆ มาไว้ในตู้เย็นในระหว่างที่เปิดตู้กินน้ำ
    แต่ทว่าเราตั้งใจไว้แล้ว ว่าเราจะกินเพียงมื้อเดียว แล้วลองต่อสู้กับความหิวดู
    คือให้สังเกตในอาการที่เกิดขึ้นเหล่านั้นด้วย นั่นแหละ
    เราจะมีสติขึ้นมาเพราะรู้จักยับยั้งและพิจารณาคลายในอาการดังกล่าว
    ก็เรียกได้ว่าเรามีทั้งสมาธิ และภาวนา รวมอยู่ด้วยในเนื้อเดียวกัน

    ศีล สมาธิ ภาวนา หรือไตรสิกขา ก็คือ มรรค นั่นแหละ ที่จะทำให้ให้อยู่ในอารมณ์เดียวได้

    เพียงแต่ต้องฝึกให้ยิ่งขึ้นไป จิตนี้เป็นของฝึกได้ เพราะรู้จักฝืน ยับยั้ง รู้ วาง
    ในอาการทั้งหลาย ทั้งในเวทนา ในสังขาร เป็นต้น พิจารณาทุกข์เพื่อคลายอุปาทาน ทุกข์มีเพราะมีเรา
     
  2. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    ไปห้องเย็นครับ..ตามไปดูทีละหลายยยยยศพ..ดูซิจะสลดไหมครับ.:cool:
     
  3. พยัคฆ์ร้าย

    พยัคฆ์ร้าย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,411
    ค่าพลัง:
    +161
    ไม่สลดธรรมดานะครับ (หด)ด้วย 555+
     
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -อารมณ์เดียวแบบอยู่ ในสมาธิ หรืออยู่ นอกสมาธิ ครับ

    -อยู่นอกสมาธิทำได้โดยการที่เรา รู้เท่าทันจิต ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมากับจิต

    -ธรรมชาติของจิต จะ ปรุงแต่งอายตนะ 12 เมื่อเรารู้เท่าทันจิต เราก็ไม่มีอาการไป หรือ มา กับ จิต สงบนิ่งอยู่ได้ โลกเขานิยม โลกธรรม 8 เมื่อรู้เท่าทันจิตจะไม่ไปหลงตามโลกเขาทีนี้ก็เหลือแต่ สงบ
     
  5. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    เป็นเรื่องธรรมดาที่จิตจะคิดไปในเรื่อง กาย ความรู้สึก อดีต อนาคต เรื่องราวต่าง ๆ หากไม่คิดเลยก็เป็นไปไม่ได้ จะให้คิดในเรื่องเดียวก็ทำได้ชั่วครู่เดียว .....เพราะจิตยังไม่อยู่ในบังคับ มันต้องฝึกกันเสียก่อน

    การที่จะให้อยู่ในอารมณ์เดียวได้ก็ต้องฝึกให้เห็นการเกิด-ดับของจิตให้ได้ คือ เมื่ออารมณ์ใดเกิด ก็ต้องเห็นการเกิด และการดับของอารมณ์นั้นให้ได้จนมีความชำนาญในการเห็นการเกิด-ดับนั้น ..รู้ทันว่ากำลังคิดอะไร และเกิดอารมณ์ใด

    เมื่อเห็นการเกิด-ดับ บ่อย ๆ ก็จะทำให้เราได้รู้ เข้าใจและสามารถบังคับจิตให้วางอารมณ์ที่เห็นนั้นได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น จนกระทั่งอยู่ในอารมณ์เดียวได้ในที่สุด อย่างที่บางคนเรียกว่า ย้ายอารมณ์ ซึ่งก็คือ การที่เราไม่ใ้ห้อารมณ์อื่นเกิด

    ได้นาน เห็นเกิดปุ๊บ วางปั๊บ สติจะัตัดสินใจได้เร็วมากขึ้นไม่ปล่อยให้มันปรุงแต่ง ไปเรื่อยจนเป็นเรื่องเป็นราว กว่าจะรู้ตัว อ้าว.....โกรธ เกลียด รัก ชอบ ซะแล้ว
    หรือจะฝึกด้วยการ รู้ลมหายใจ เข้า-ออก จนเริ่มสงบสบาย จากนั้นก็คิดไปให้

    เป็นเรื่องเป็นราวจนอารมณ์อะไรก็ได้เกิด เช่น โกรธ ...อารมณ์ที่่มันโกรธก็จะคือ ใจสั่น โมโห ขึ้นมาจริง ๆ จากนั้น เราก็ฝึกปล่อยอารมณ์นั้นให้กลับไปอยู่อารมณ์ของกายคือ ลมหายใจ เข้า-ออก ... ที่สงบ สบาย ทำหลาย ๆ ครั้ง

    ลองทำดูรู้สึกว่าจะได้ผล ซึ่งดีกว่ามานั่งพิจารณาเป็นไหน ๆ นี่แหละวิปัสสนา เห็นได้แท้ ๆ ตัดอารมณ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการฝึกของท่าน นั้นเอง...ลองดูนะครับ.
     
  6. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +1,459
    เมื่อปรากฏความรู้กับคำบริกรรมเช่น พุทโธ หรือ ลมหายใจ
    และเมื่อปรากฏความรู้เช่นนั้นชัดเจน
    ก็ให้เพ่งที่ความรู้นั้นด้วยความมีสติ
    เมื่อเพ่งจิตจะไม่เคลื่อนออกจากความรู้
    แล้วอารมณ์เดียวจะปรากฏตรงความรู้นั้น
     
  7. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    ทำสมาธิครับ ทำให้ว่างด้วยสติก่อน เอกคตารมณ์นี่ตามขั้นตอนครับ สุดท้ายสุขใดเท่าความสงบไม่มี และมีต่อๆไปอีกขอรับ ตามที่ท่านรักษาและเขียนไว้ เรียนตามนั้นขอรับ

    ขอทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     
  8. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    ขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่อยู่นอกกาย ใจ ตนเองหรือเปล่า???
    รูป ..ลมหายใจ
    เวทนา ...ความรู้สึก
    สัญญา.....ความจำได้หมายรู้
    สังขาร.....การคิดปรุงแต่งไปในเรื่องต่าง ๆ
    วิญญาณ....ผู้รู้แจ้งในอารมณ์

    จิต มโน วิญญาณ ...ตัวเดียวกัน ที่เป็นของปุถุชน ย่อมคิดไปในขันธ์ 5
    ทุกครั้งที่คิดไปย่อมเกิดอารมณ์ไปในเรื่องราวที่คิดนั้น
    วิญญา่ณก็จะรู้แจ้งในอารมณ์นั้นอย่างแน่นอน......

    "เพราะจะทำให้เราไม่มีสติ จึงกระทำหรือแสดงออกเพราะความไม่รู้ตัว เพราะไม่เห็นตนเอง ไม่รู้ตนเอง
    จึงกระทำและแสดงออกเพื่อสนองอัตตา ตัวตน เงื่อนไข ที่ยังไม่ละออก วางออก เพราะไม่มีสติเป็นตัวระลึก
    "


    ข้อความของคุณ มันมีความหมายจะอธิบายอะไร ??? ในเมื่อความหมายของผมกำลังอธิบายให้เห็นถึงการรู้จักอารมณ์ และปล่อยอารมณ์ที่เกิดนั้น .....
    เป็นการเห็นสิ่งที่เกิด และดับ ของอารมณ์ในขันธ์ 5 ไม่ได้คิดไปนอกกายเลย และฝึกการทิ้งอารมณ์ที่เกิดให้กลับมาสู่อารมณ์ที่เป็นหลัก คือ รู้ลมเข้า-ออก

    ไม่ใช่มาเอาแต่ "ดูใจ เฝ้าดู เผลอไปกับสิ่งที่เห็น ไม่มีสติ ไม่รู้ตัว แสดงออกเพื่ออัตตา สนองอัตตาตัวตน ไม่มีสติเป็นตัวระลึก"....อย่างที่คุณแสดงความเห็นออกมาแต่อย่างใด.....
     
  9. buschannarong

    buschannarong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +541
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ กับทุกท่านที่ร่วมเสวนาธรรมด้วยกัน

    ถ้าผ่านอุปจารสมาธิได้ ละนิมิต ละสุขได้ เหลืออารมณ์เดียวก็ไม่ยากแล้วครับ

    ที่ว่ายากเพราะทำไม่เคยถึงสักที

    อิทธิบาท 4 ไม่มากพอ นิวรณ์ 5 เข้าครอบงำ
     
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    อ้างอิง......
    "ดังนั้น กายอยู่กับกายใจ จึงเป็นทางลัด และรู้เห็นได้ด้วยตนเอง แรกๆ มันก็ไหลเป็นธรรมดา เริ่มต้นจากไหลยาวๆ แล้วค่อยๆ สั้นลง
    แต่หากเราระลึกได้ว่าต้องอยู่กับกายใจ จะช่วยย่นระยะเวลาให้สั้นลง เข้าจได้เร็วขึ้น

    เหมือนเป็นการเรียนรู้ทฤษฏีแล้วนำไปดูด้วยตนเอง ให้เห็นและเข้าใจได้ด้วยตนเองนั่นแหละค่ะ

    เราจึงต้องอยู่กับกายใจ
    เพราะทุกอย่างมันมาอยู่ที่ใจ เกิดที่ใจ และดับที่ใจ กฎไตรลักษณ์

    ต้องอาศัยสตินะคะท่านผู้พันฯ ถึงจะระลึกได้น่ะค่ะ<!-- google_ad_section_end --> "

    การที่จะให้อยู่กับกายและใจตลอดเวลา เราต้องอยู่กับการดำเนินชีวิตในโลก มันต้องมีผัสสะกับทุกสิ่งเพื่อดำรงอยู่ ทำงาน เรียน เล่น ต้องผัสสะกับสิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลาทั้งวันหากจะให้มาอยู่กับกายใจอย่างคุณว่า เป็นไปไม่ได้

    เราไม่ใช่นักบวชที่จะไม่มีภารกิจใด ๆ แต่เราฝึกเพื่อให้อยู่ในโลกได้โดยมีทุกข์น้อยที่สุด หรือไม่ทุกข์เลย เอาแค่ขับรถยนต์ไปแล้วทำอย่างทึ่คุณว่า ออกจากปากตรอกก็ไม่รอดแล้วครับ อย่างนี้เป็นการบังคับสติให้รู้อยู่ที่เดียว

    แต่ที่ผมให้ฝึกมีสติระลึกรู้ทุกผ้สสะ และฝึกหัดการเปลี่ยนอารมณ์ที่ผัสสะนั้นได้อย่างที่ต้องการ รู้แล้วละ ทุกผัสสะรู้หมดแต่ไม่เอา จะเป็นการดีกว่าการให้ฝึกรู้อยุ่ที่กายใจตลอดเวลา เหมือนเอาหินทับหญ้าไม่ให้ขยับ หรือไม่ให้มีอารมณ์อื่น โดยการบังคับไม่ให้เกิดอารมณ์อื่นด้วยการบังคับให้อยู่กับกายใจ เท่านั้น

    เราจะคิดเห็นต่างกันหรือ เหมือนกัน หรือเปล่า ????
     
  11. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    สติอยู่ที่ตัวรู้..หลวงตาสอนไว้อย่างนี้แหละ แต่เข้าขั้น ทรงสมาธิแล้วนะ พี่เตช..!:cool::cool::cool::cool:
     
  12. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    เอาละ...ผมก็ลวงถามคุุณมาจนเข้าใจ ว่าคุณได้ปฏิบัติจนไ้ด้บรรลุถึงธรรมระดับหนึ่ง ไม่ใช่สัญญา หากเป็นการจดจำ การอธิบายจะไม่ใช่อย่างนี้ คนที่มีสติรู้และปล่อยวางการผ้สสะได้จะรู้เองว่ามันคือ การ "เห็นสักแต่ว่าเห็น" นั่นเอง สาธุ

    ขอบคุณที่ได้สนทนาธรรมกันด้วยดี ขอให้เจริญในธรรมเทอญ.....สวัสดี
     
  13. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +1,459
    ครับผมเห็นใครหลายคนบอกในนี้
    ว่าตนกิเลสน้อยลงเมื่อปฏิบัติวิธีของตนแล้วกิเลสน้อยลง
    ใครบอกวิธีไหน ก็ว่ายัดเยียดยัดเยียด
    แต่ความจริงกิเลสมันน้อยลงที่ไหนครับ
    กิเลสคุณก็มีเ่ท่าเดิมนั่นแหละ

    เมื่ออ่านธรรมะมากเข้าความเข้าใจก็มากเข้า
    การตัดอารมณ์กิเลสก็ดีขึ้นเร็วขึ้น
    เพราะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมมากขึ้นเท่านั้นเอง

    แต่มาบอกว่ากิเลสน้อยลงแบบนี้ผิดทันทีครับ
    สังโยชน์ขาดซักตัวแล้วเหรอถึงมาบอกว่ากิเลสน้อยลง
    ถ้าปฏิบัติแล้วมาบอกได้แค่ว่ากิเลสน้อยลงนี่ผมไม่เชื่อล่ะครับ
    สังโยชน์ยังไม่ขาดซักตัวบอกกิเลสน้อยลง

    นี่ถ้าตอบว่านี่ปฏิบัติมาแล้ว ได้ศีลสมบัติ สมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติ
    เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว นี่ครับอย่างนี้นักปฏบัิติจริง ๆ ต้องตอบแบบนี้

    แต่นี่มาตอบปฏิบัติแล้วกิเลสน้อยลง น้อยลง
    โธ่...สังโยชน์ยังไม่ขาดซักตัว กิเลสมันจะน้อยลงได้ยังไง
    พูดออกมาได้ ฉันเชื่อของฉันปฏิับัติตามที่ฉันเชื่อแล้วกิเลสน้อยลง....
     

แชร์หน้านี้

Loading...