ระทึก!อาฟเตอร์ช็อก"ภูเก็ต"กว่า 40 ครั้ง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 17 เมษายน 2012.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ระทึก!อาฟเตอร์ช็อก "ภูเก็ต" กว่า 40 ครั้ง

    วันอังคารที่ 17 เมษายน 2555 เวลา 15:44 น.


    [​IMG]






    [​IMG]


    หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริคเตอร์ ลึกจากผิวดิน 10 กิโลเมตร โดยจุดศูนย์กลางอยู่ใน ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีก 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชน นักท่องเที่ยวต่างกันเก็บข้าวของหนีขึ้นไปอยู่บนที่สูง ล่าสุดวันนี้ ( 17 เม.ย.) สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตรวจพบอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกระรอก โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ใน อ.ถลาง เริ่มตั้งแต่เวลา 00.42 น.วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.2 ริคเตอร์ ลึกจากผิวดิน 4 กิโลเมตร ต่อมาเวลา 02.02 น. ขนาด 2.5 ริคเตอร์ ลึกจากผิวดิน 4 กิโลเมตร และเวลา 08.31 น. วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.3 ริคเตอร์ ลึกจากผิวดิน 5 กิโลเมตร

    ต่อมาเวลา 09.39 น. สำนักงานแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งอีกครั้งว่า หลังเกิดแผ่นดินไหว อ.ถลาง ได้มีอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกประมาณ 40 ครั้ง โดย 8 ครั้งมีขนาดมากกว่า 2.0 ริคเตอร์ ซึ่งรู้สึกสั่นไหวได้ ส่วนที่เหลือมีขนาดต่ำกว่า 2.0 ริคเตอร์ โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดเมื่อเวลา 12.18 น. วัดได้ 3.1 ริคเตอร์ ศูนย์กลางยังอยู่ที่ อ.ถลาง

    ขณะที่ เมื่อช่วงเช้า นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รอง ผวจ.ภูเก็ต ภูเก็ต พร้อมนายเรวัต อารีรอบ ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ นายวรวุฒิ ทรงยศ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง นายสันติ์จันทรวงศ์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณจังหวัดภูเก็ต นายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี นายอานนท์ ปถมาทรัพย์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำบำรุงรักษาที่ 2 อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันตรวจสอบอ่างเก็บน้ำบางเหนียว หมู่ที่ 7 ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวศูนย์กลางอยู่บริเวณ ต.ศรีสุนทร ขนาด 4.3 ริคเตอร์ ซึ่งรับรู้ได้ทั่วทั้งจังหวัดภูเก็ต
    โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ ต.ศรีสุนทร เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยใช้วิธีการเดินสำรวจเป็นแถวหน้ากระดานเพื่อดูรอยรั่วซึมบริเวณสันเขื่อน ซึ่งมีขนาดความยาวประมาณ 860 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 30 เมตร มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุดที่รับได้ประมาณ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งไม่พบความผิดปกติ
    หลังจากนั้นคณะทั้งหมดได้ลงพื้นที่บ้านลิพอน-บางขาม หมู่ที่ 2 ต.ศรีสุนทร เพื่อสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนประชาชน ซึ่งทางเทศบาลฯ ได้จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นมารับเรื่องร้องเรียน เบื้องต้นในช่วงเช้ามีผู้มายื่นเอกสารแล้ว ประมาณ 34 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านชั้นเดียว จะมีรอยร้าวบริเวณผนังบ้านและเสาบ้าน
    นายสมเกียรติ รอง ผวจ.ภูเก็ต กล่าวว่า ทางจังหวัดได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ บริเวณหมู่ 2 ซอยบางมะขาม ต.ศรีสุนทร ให้เป็นพื้นที่เขต ภัยพิบัติ อีกด้วย เนื่องจาก บริเวณ ม.2 บ้านบางมะขาม เป็นพื้นที่จุดศูนย์กลาง ของแผ่นดินไหว และ บ้านเรือนประชาชน ได้รับความเสียหาย ร่วมทั้งสิ้น 34 หลัง ส่วนทาง จ.ภูเก็ต พร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รีบผลกระทบรุนแรงอย่างเต็มที่
    ขณะที่นายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลังฯ กล่าวยืนยันว่า เท่าที่ได้ตรวจสอบและประเมินด้วยตาเปล่าไม่พบรอยร้าวหรือรอยเอียงบริเวณตัวเขื่อน รวมถึงบริเวณทางน้ำล้นด้วย เพราะในการออกแบบก่อสร้างเขื่อนนั้นจะมีการออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหวอยู่แล้ว นอกจากนี้เนื่องจากสัณฐานธรณีของเขื่อนดังกล่าวเป็นหินแกรนิตซึ่งสามารถดูดซับพลังของคลื่นแผ่นดินไหวได้ก็มาช่วยไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย จึงยืนยันว่าจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อตัวเขื่อน ทั้งนี้เพื่อยืนยันความชัดเจนก็จะต้องรอผลการตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ของทางกรมชลประทานอีกครั้ง
    “ในส่วนของบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่หมู่ที่ 1 และ หมู่ 2 ต.ศรีสุนทรนั้น คาดว่าจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวน่าจะใกล้เคียงกับชุมชนบ้านลิพอน-บางขาม เป็นผลมาจากการถูกรบกวนของรอยเลื่อนคลองมะลุ่ย ซึ่งปรากฏตัวทางทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต แต่เนื่องด้วยรอยเลื่อนหยั่งลึกลงไปในใต้ดินเป็นแนวเฉียง พาดผ่านใต้พื้นดิน เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงส่งแรงขึ้นบนพื้นดินในแนวดิ่ง ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ใต้แผ่นดินของเกาะภูเก็ต เมื่อกลับไปกรุงเทพแล้วจะได้มีการหารือกับทางผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ และจะส่งชุดสำรวจมาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาจุดศูนย์กลางที่แน่ชัดต่อไป” นายสุวิทย์ กล่าว
    เช่นเดียวกับนายอำนาจ ตันติธรรมโสภณ นักวิชาการด้านธรณีวิทยา กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวถือว่าภูเก็ตยังมีความโชคดี เพราะธรณีสัณฐานซึ่งเป็นหินแกรนิตจะสามารถดูดซับพลังจากแผ่นดินไหวไม่ให้สะท้อนกลับได้ แต่ก็ต้องมีการเฝ้าระวังในจุดที่รุนแรง
    อย่างไรก็ตามจากคำบอกเล่าของนายถาวร ตรีสุข อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 101/2 หมู่ 2 ต.ศรีสุนทร ซึ่งเป็นชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบบอกว่า ในช่วงเกิดเหตุตนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นโดยมีแรงสั่นสะเทือนในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อสำรวจตัวบ้านพบรอยร้าวบนกำแพงข้างบ้านลากยาวจากพื้นถึงคานบ้าน และถือเป็นครั้งแรก ที่เกิดแผ่นดินไหวในภูเก็ต และรับรู้ได้ แม้จะมีความตื่นตระหนก แต่เชื่อว่าสถานการณ์ยังปลอดภัย



    -----------
    ระทึก!อาฟเตอร์ช็อก "ภูเก็ต" กว่า 40 ครั้ง | เดลินิวส์
     
  2. phirayut

    phirayut Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +92
    สั่นให้แรงๆๆๆขึ้นอีกเพิ่มอีก
    เพื่อเพิ่มให้สมดุลยิ่งขึ้นอีก
     
  3. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    [​IMG]


    ภูเก็ตไหวซ้ำ!3.1ริกเตอร์-กทม.รับมือสึนามิ

    ภูเก็ตแผ่นดินไหวซ้ำ! อ.ถลาง3.1ริกเตอร์ รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้หลายพื้นที่ ด้าน 'สุขุมพันธุ์' เต้น สั่งกทม.เพิ่มแผนรับมือภัยธรรมชาติจากสึนามิ

    17 เม.ย.55 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติแจ้งเมื่อเวลา 12.18 น. แผ่นดินไหวบนบก 3.1 ริกเตอร์ บริเวณ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้หลายพื้นที่ของ จ.ภูเก็ต

    ทั้งนี้ศูนย์เตือนภัยฯ แจ้งเมื่อเวลา 14.13 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเล 7.0 ริกเตอร์ บริเวณชายฝั่งตะวันออกของเกาะนิวกีนี ประเทศปาปัวนิวกีนี ไม่มีผลกระทบต่อไทย

    ปชช.แจ้งบ้านร้าวรวม34หลังแผ่นดินไหวภูเก็ต

    วันเดียวกัน นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายเรวัต อารีรอบ ส.ส.เขต 2 จ.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ นายวรวุฒิ ทรงยศ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร อ.ถลาง นายสันติ์ จันทรวงศ์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณจังหวัดภูเก็ต นายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี นายอานนท์ ปถมาทรัพย์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำบำรุงรักษาที่ 2 อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันตรวจสอบอ่างเก็บน้ำบางเหนียว หมู่ที่ 7 ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวศูนย์กลางอยู่บริเวณ ต.ศรีสุนทร ขนาด 4.3 ริกเตอร์ ซึ่งรับรู้ได้ทั่วทั้งจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ ต.ศรีสุนทร เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
    โดยใช้วิธีการเดินสำรวจเป็นแถวหน้ากระดานเพื่อดูรอยรั่วซึมบริเวณสันเขื่อน ซึ่งมีขนาดความยาวประมาณ 860 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 30 เมตร มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุดที่รับได้ประมาณ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด หลังจากนั้นคณะทั้งหมดได้ลงพื้นที่บ้านลิพอน-บางขาม หมู่ที่ 2 ต.ศรีสุนทร เพื่อสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนประชาชน ซึ่งทางเทศบาลฯ ได้จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นมารับเรื่องร้องเรียน เบื้องต้นในช่วงเช้ามีผู้มายื่นเอกสารแล้ว ประมาณ 34 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านชั้นเดียว จะมีรอยร้าวบริเวณผนังบ้านและเสาบ้าน
    นายสมเกียรติ กล่าวว่า การลงตรวจสอบสภาพเขื่อนดังกล่าว ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นทางจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี เทศบาลตำบลศรีสุนทร และ ส.ส.มีความห่วงใยความรู้สึกและความกังวลของพี่น้องประชาชน ซึ่งจากการตรวจสอบด้วยตาเปล่าไม่พบความผิดปกติของตัวเขื่อนแต่อย่างใด นอกจากนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่มีปัญหาก็จะนำผลจากการตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ของทางอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำมาประกอบด้วย
    นายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลังฯ กล่าวว่า เท่าที่ได้ตรวจสอบและประเมินด้วยตาเปล่าไม่พบรอยร้าวหรือรอยเอียงบริเวณตัวเขื่อน รวมถึงบริเวณทางน้ำล้นด้วย เพราะในการออกแบบก่อสร้างเขื่อนนั้นจะมีการออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหวอยู่แล้ว นอกจากนี้เนื่งอจากสัณฐานธรณีของเขื่อนดังกล่าวเป็นหินแกรนิตซึ่งสามารถดูดซับพลังของคลื่นแผ่นดินไหวได้ก็มาช่วยไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย จึงยืนยันว่าจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อตัวเขื่อน ทั้งนี้เพื่อยืนยันความชัดเจนก็จะต้องรอผลการตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ของทางกรมชลประทานอีกครั้ง
    “ในส่วนของบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่หมู่ที่ 1 และ หมู่ 2 ต.ศรีสุนทรนั้น คาดว่าจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวน่าจะใกล้เคียงกับชุมชนบ้านลิพอน-บางขาม เป็นผลมาจากการถูกรบกวนของรอยเลื่อนคลองมะลุ่ย ซึ่งปรากฏตัวทางทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต แต่เนื่องด้วยรอยเลื่อนหยั่งลึกลงไปในใต้ดินเป็นแนวเฉียง พาดผ่านใต้พื้นดิน เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงส่งแรงขึ้นบนพื้นดินในแนวดิ่ง ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ใต้แผ่นดินของเกาะภูเก็ต เมื่อกลับไปกรุงเทพแล้วจะได้มีการหารือกับทางผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ และจะส่งชุดสำรวจมาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาจุดศูนย์กลางที่แน่ชัดต่อไป” นายสุวิทย์ กล่าว
    นายอำนาจ ตันติธรรมโสภณ นักวิชาการด้านธรณีวิทยา กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวถือว่าภูเก็ตยังมีความโชคดี เพราะธรณีสัณฐานซึ่งเป็นหินแกรนิตจะสามารถดูดซับพลังจากแผ่นดินไหวไม่ให้สะท้อนกลับได้ แต่ก็ต้องมีการเฝ้าระวังในจุดที่รุนแรง
    ด้านนายวรวุฒิ ทรงยศ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร กล่าวว่า หลังจากเกิดเหตุได้ลงสำรวจพื้นที่บ้านเรือนของประชาชนแล้ว ส่วนใหญ่ที่พบจะมีรอยร้าวบริเวณผนังบ้าน และเสาบ้าน ซึ่งได้มีการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งความเสียหายแล้ว เบื้องต้นในช่วงเช้า (17เม.ย.55) มีผู้มาลงทะเบียนแล้ว 34 ราย รวมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่กองช่างของเทศบาลฯ ลงไปตรวจสอบความเสียหายด้วย ขณะเดียวกันขอยืนยันว่าทางหน่วยที่เกี่ยวข้องพร้อมในการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
    นายถาวร ตรีสุข อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 101/2 หมู่ 2 ต.ศรีสุนทร บอกว่า ในช่วงเกิดเหตุตนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นโดยมีแรงสั่นสะเทือนในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อสำรวจตัวบ้านพบรอยร้าวบนกำแพงข้างบ้านลากยาวจากพื้นถึงคานบ้าน และถือเป็นครั้งแรก ที่เกิดแผ่นดินไหวในภูเก็ต และรับรู้ได้ แม้จะมีความตื่นตระหนก แต่เชื่อว่าสถานการณ์ยังปลอดภัย

    ภาคธุรกิจภูเก็ตศึกษาแผ่นดินไหวเน้นการช่วยเหลือนทท.

    จากเหตุแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ขนาด 4.3 ริกเตอร์ เมื่อวานนี้ (16 เม.ย.55) นายสมบูรณ์ จิรายุส นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวคนไทยบ้างในระยะสั้นๆ เนื่องจากคนไทยยังไม่ชินกับเรื่องแผ่นดินไหว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่หากเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็ไม่น่าจะมีผลกระทบ เพราะเขาเข้าใจในเรื่องของภัยธรรมชาติ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดเดาได้ และหากติดตามข่าวสารการเกิดแผ่นดินไหว จะพบว่ามีอย่างต่อเนื่อง แต่ขนาดไม่ใหญ่นัก และในเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายๆ เมืองทั่วโลก ก็มีเรื่องของภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรือญี่ปุ่น แต่ที่สำคัญคือ เรื่องของระบบเตือนภัยและการอพยพซึ่จะต้องมีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้น
    นายภูริต มาศวงศ์ศา อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบกับการท่องเที่ยวบ้างแต่ไม่มากนัก ประมาณ 10% โดยประมาณ 6% มาจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางออกไป ส่วนอีก 3-4% เป็นการยกเลิกเดินทางเข้ามา สิ่งสำคัญ คือ การสร้างความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยวในระยะยาว โดยเฉพาะการนำเสนอความพร้อมเพื่อรับมือเหตุฉุกเฉิน รวมไปถึงแผนการช่วยเหลือประชาชนจากภัยธรรมชาติ อาทิ แนวทางอพยพคน การจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัย การสำรองอาหารและยาเวชภัณฑ์ เป็นต้นเพราะหากไม่มีแผนจัดเตรียมไว้เมื่อเกิดเหตุขึ้นจริงๆ อาจจะเกิดความวุ่นวายได้
    นายภูริต กล่าวว่า ขณะนี้ภาคธุรกิจในพื้นที่กำลังศึกษาแนวทางการรับมือแผ่นดินไหว จากประเทศที่เคยประสบเหตุบ่อยครั้ง อาทิ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ว่า ภาคธุรกิจหรือว่าโรงแรมที่พักในประเทศเหล่านั้นมีแนวทางการเตรียมพร้อมรับมืออย่างไร เช่น การจัดทำกล่องนิรภัยยามฉุกเฉินสำหรับนักท่องเที่ยว การจัดทำคู่มืออพยพหลบภัยและคำแนะนำในการปฏิบัติตัว เป็นต้น โดยจะต้องบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐกับภาคเอกชน นอกจากนี้ที่ผ่านมายังพบว่าในเรื่องของสัญญาณเตือนภัยกับสัญญาณแจ้งยกเลิกภัย เป็นเสียงสัญญาณคล้ายกัน ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่เข้าใจ เป็นเหตุให้หลายคนต้องวิ่งอพยพซ้ำสองอีก นอกจากนี้อยากให้ไปดูปัญหาการจราจร และความพร้อมของจุดรองรับผู้อพยพด้วย

    ปภ.ระนอง เตรียมซ้อมแผนรับมือสึนามิ

    นางสำเนียง มณีรัตน์ รักษาการ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จากกรณีการเกิดภัยพิบัติต่างๆในช่วงนี้ โดยเฉพาะพิบัติภัยจากอุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว หรือสึนามิ ทางสำนักงาน ปภ.ระนองเตรียมกำหนดซ้อมแผนป้องกัน และรับมือพิบัติภัยต่างๆให้กับชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อสร้างความพร้อม และสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่และชุมชนเสี่ยงภัยในการรับมือกับพิบัติภัยต่างๆ
    “ที่ผ่านมาทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดฝึกอบรมเพื่อรับมือกับพิบัติภัย แต่ขณะนี้หลายชุมชนลืมขั้นตอน อันเป็นผลจากการขาดซักซ้อม ปภ.ระนองจึงเตรียมจัดทำแผนฝึกซ้อมให้กับชุมชนในพื้นที่เสี่ยง 15 ชุมชน เพื่อใช้กำหนดทิศทางและเป้าหมายจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติของชุมชน โดยใช้หลักกระบวนการ CBDRR 13 ขั้นตอนในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขแนวเส้นทางอพยพหลบภัยและจุดที่หลบภัยที่พบยังมีปัญหาหรือมีข้อบกพร่อง”
    สำหรับกระบวนการ CBDRR 13 ขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้ 1.จัดประชุมเพื่อแนะนำโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์ 2.ผู้บริหารประสานงานและชี้แจงโครงการในระดับจังหวัด 3.ผู้ปฏิบัติงานประจำจังหวัดประสานงานและชี้แจงโครงการในระดับจังหวัด 4.ผู้ปฏิบัติงานประจำจังหวัดแนะนำ และชี้แจงโครงการในชุมชนเป้าเหมาย 5.ประชุม ชี้แจง สร้างความเข้าใจกับชุมชนที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการ 6.อบรมแกนนำ/อาสาสมัครชุมชนเรื่องการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ 7. ประชุมเพื่อตรวจสอบผลการประเมินสภาวะชุมชนอย่างมีส่วนร่วม PRA TOOLS
    8.ทบทวนหรือพัฒนาแผน เตรียมพร้อมรับและป้องกันภัยพิบัติชุมชน 9.พัฒนาความสามารถของชุมชน 10.ฝึกปฏิบัติตามแผนตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินของชุมชน/ปรับแผน 11.ซ้อมแผนฉุกเฉิน 12.จัดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การฝึกซ้อมระหว่างชุมชน/องค์กรต่างๆ 13.จัดประชุมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ นำเสนอผลงานระหว่างองค์กร และส่งมอบภารกิจให้แก่องค์กรท้องถิ่น
    สำหรับ 15 ชุมชนเขตพื้นที่ จ.ระนองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ประกอบด้วย ชุมชน, บ้านเกาะคณฑี ม. 1 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง , บ้านเกาะพยาม ม. 2 ต.เกาะพยาม อ.เมืองระนอง , บ้านเกาะคณฑี ม. 2 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง , บ้านนาพรุ ม. 2 ต.นาคา อ.สุขสำราญ , บ้านเกาะช้าง ม. 2 ต.เกาะพยาม อ.เมืองระนอง , บ้านบางมัน ม. 1 ต.นาคา อ.สุขสำราญ , บ้านในกรัง ม. 9 ต.จ.ป.ร. อ.กระบุรี , บ้านบางลำพู ม. 3 ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ , บ้านบางกล้วยนอก ม. 3 ต.นาคา อ.สุขสำราญ , บ้านชิมี ม. 8 ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ , บ้านเกาะตาครุฑ ม. 4 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง , บ้านแหลมนาว ม. 6 ต.นาคา อ.สุขสำราญ , บ้านชาคลี ม. 1 ต.บางหิน อ.กะเปอร์ , บ้านเกาะสินไห ม. 4 ต.ปากน้ำ อ.เมือง
    นางกรรณิกา เอี้ยวสกุล เลขาธิการสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคใต้ และเจ้าของกิจการนำเที่ยวใน จ.ระนอง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าจากพิบัติภัยแผ่นดินไหว และสึนามิที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลกในขณะนี้ รวมทั้งภาพเหตุการณ์สึนามิที่เคยเกิดขึ้น และสร้างความสูญเสียให้กับทรัพย์สินและชีวิตกับประชาชนไทย รวมถึง จ.ระนองเมื่อปี 2547 ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่างเกิดความหวาดกลัวและวิตกถึงมหันตภัยดังกล่าวเป็นอย่างมาก รวมถึงผู้ประกอบการที่ต่างวิตกเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือชายทะเล ซึ่งทุกพื้นที่ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งสิ้น ดังนั้นหลายคนจะเริ่มมีการพูดถึงมาตรการด้านความปลอดภัย การแจ้งเตือน ที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชน หรือนักท่องเที่ยวได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
    “ เมื่อคราวเกิดคลื่นยักษ์สึนามิชายฝั่งอันดามันเมื่อปลายปี 2547 ไทยยังขาดสถานที่หลบภัย จึงทำให้เกิดความเสียหายมาก และเหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 11 เม.ย. 2555 ที่ผ่านมา ก็เป็นอีกจุดที่สะท้อนให้เห็นข้อบกพร่อมเมื่อมีการแจ้งเตือนพบว่าชาวบ้านหลายพื้นที่ยังไม่รู้เป้าหมายว่าจะอพยพไปจุดใด โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.เมืองระนองที่พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ตามชุมชนชายฝั่งนับหมื่นคนทะลักเข้าสู่ตัวเมืองเป็นระยะทางกว่า 10 กม. ในขณะที่จุดหรือสถานที่ปลอดภัยที่รองรับตามแนวชายฝั่งไม่มีเลย สร้างความโกลาหลเป็นอย่างยิ่ง และหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาจริงๆ อาจจะสร้างความสูยเสียต่อชีวิตเป็นจำนวนมาก ทางภาคเอกชนจึงต้องการเสนอให้พื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่อาจได้รับผลกระทบ ควรมีการสร้างอาคารหลบภัยให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ ทั้งยังสามารถรองรับผู้อพยพได้อย่างเพียงพอ โดยอาคารหลบภัยมีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ลักษณะยกพื้นสูงเกิน 6 เมตร เปิดโล่งด้านล่างให้น้ำไหลผ่านสะดวก ขณะที่โรงแรมที่พักบริเวณชายฝั่งไม่ควรมีห้องใต้ดิน ควรมีปรับการก่อสร้างใหม่ นอกจากนี้ ต้องทำแผนที่บอกทางหนีภัยด้วย อย่างไรก็ตามเหตุแผ่นดินไหวสิ่งสำคัญคือต้องเฝ้าระวัง และติดตามข่าวสารเนื่องจากไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้”

    'สุขุมพันธุ์'สั่งกทม.เพิ่มแผนรับมือภัยธรรมชาติจากสึนามิ

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงแผนการรับมือเหตุแผ่นดินไหว ว่า กทม.มีแผนการป้องกันภัยพิบัติอยู่แล้ว แต่จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นติดต่อกัน ตนจึงได้สั่งให้มีการเตรียมแผนรับมือกับสึนามิด้วย หากเกิดขึ้นจริงจะต้องมีแผนพร้อมปฏิบัติการ เพราะกรุงเทพฯ มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็บ่งชี้ได้ว่าในอนาคตมีความไม่แน่นอน ส่วนอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นอาคารรุ่นใหม่ มีการก่อสร้างที่รับมือกับแผ่นดินไหวอยู่แล้ว แต่ที่ตนเป็นห่วงคือตึกแถวขนาดกลาง ที่สูงประมาณ 4-5 ชั้น ซึ่งส่วนใหญ่มักมีการก่อสร้างมานานและกฎหมายไม่ได้บังคับเรื่องแผ่นดินไหว จึงอาจได้รับผลกระทบได้
    สำหรับเรื่องถนนทรุดในกรุงเทพฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้กทม.กำลังเร่งสำรวจเพื่อซ่อมแซมถนนที่มีความเสี่ยงในระยะเร่งด่วน 21 สาย ซึ่งเรื่องนี้ตนรู้สึกเป็นห่วงมาก ที่ผ่านมาถนนทรุดเคยเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่และลึกอย่างในขณะนี้ จึงต้องตรวจสอบว่ามีอะไรกระทบต่อคุณภาพชั้นดินด้านล่าง และน้ำท่วมในปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อชั้นดินหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องหารืออย่างละเอียดเพื่อหาข้อสรุปต่อไป
    ในเวลา 14.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และนายทวีจิตร จันทรสาขา นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันแถลงข่าวงานเสวนา “กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์” ในงานสถาปนิก’55 ซึ่งกทม. ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามฯ กำหนดจัดการเสวนาวิชาการในงานสถาปนิก’55 ระหว่างวันที่ 24 - 25 เมษายน ที่ห้องจูปิเตอร์ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เวลา 10.00 - 17.00 น.
    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.ได้น้อมนำกระแสพระราชดำรัส “กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการเมือง และพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองหลวงที่มีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกายภาพของเมือง ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ การจัดการเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม การตรวจสอบอาคารให้อยู่ในสภาพดีสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะต่างๆ ดังนั้นการจัดเสวนาในครั้งนี้ จึงเป็นการให้ความรู้ประชาชนเรื่องบ้าน ให้มีความรู้พื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้างบ้าน เพื่อการเป็นเจ้าของบ้านที่มีความสุข ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี อันจะส่งผลให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่น่าอยู่สำหรับทุกคน
    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การเสวนาครั้งนี้จะมีการเสนอแนวคิดพัฒนากรุงเทพฯ ในอนาคตว่าจะมีทิศทางใดบ้าง และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมเสวนาได้เสนอว่าต้องการเห็นกรุงเทพฯ แบบใด นอกจากนี้จะมีการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยรับมือกับแผ่นดินไหวและน้ำท่วม


    ------------
    komchadluek
     
  4. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    ระทึก!อาฟเตอร์ช็อก "ภูเก็ต" กว่า 40 ครั้ง

    เป็นการเตือน ครั้งที่ ......
    ครั้งนี้ เตือนแรงที่สุด ในรอบปี
    แต่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ยังบอกว่า ปลอดภัย !!
    ซ้อมแผนฯ ก็รอดได้แล้ว

    แป่วววว..

    แล้วแต่จะคิด
     
  5. พ้นเกิด

    พ้นเกิด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +26
    เหมือนวอร์มเครื่องรอบเดินเบา ก่อนสตาร์ทรถยนต์เลยครับ ไหวรัวๆแบบนี้
     
  6. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    เอาอยู่

    ไม่รู้ทางใต้จะใช้คำพูดแบบเหมือนทางภาคกลางหรือเปล่าครับ คำว่าเอาอยู่เนี่ย
     
  7. สาวกพุทธะ

    สาวกพุทธะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +32
    คนใต้ไม่ใช้คำว่า เอาอยู่ แต่พูดว่า ไม่พรือ

    แต่ที่แน่ๆตอนนี้ จุดศูนย์กลางสถานที่เกิด เป็นเขตพื้นที่บ้านเกิดของก้อย แม่บอกว่าเสียงดังเหมือนระเบิด น้องๆจากเสียงฟ้าผ่าครั้งแรกที่เกิด ตอนแรกเข้าใจว่าบ้านไม่มีรอยร้าว ปรากฏว่า ผนังร้าวเป็นแนวยาวหลายจุด

    แต่ที่แน่ๆตอนนี้ ทุกคนยังไม่หายกังวลเพราะตอนหัวรุ่งของเช้านี้ก็เกิดขึ้นอีก เสียงเหมือนฟ้าลั่นฟ้าร้องธรรมดา

    พื้นที่โดยรอบของหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบ เห็นเกาะเล็กๆที่ล้อมรอบด้วยท้องนา บ้านที่ปลูกสองชั้นมีจำนวนไม่กี่หลัง หากแผ่นดินไม่แยกหรือเกิดหลุมยุบก็ไม่น่ากลัว พื้นที่ที่เริ่มเป็นเนินเขาก็ห่างจากเขตบ้านเรือนประมาณ400-500 เมตร ซึ่งคั่นกลางพื้นที่ด้วยท้องนาโดยรอบ ไม่มีลำธารน้ำไหลผ่านจึงไม่น่ากลัวมากนัก ยกเว้นว่าเกิดเหตุการณ์ภูเขาถล่มนั่นแหละถึงจะเดือดร้อนมาก
     
  8. สิงหราชพล

    สิงหราชพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +230
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=subtitle colSpan=8>รายงานแผ่นดินไหวในรอบ 15 วัน </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=1 cellSpacing=0 borderColor=#d9d9d9 borderColorLight=#d9d9d9 borderColorDark=#ffffff cellPadding=3 width="100%"><TBODY><TR class=RH><TD>วันที่</TD><TD>เวลา</TD><TD>จุดศูนย์กลาง</TD><TD>ละติจูด</TD><TD>ลองจิจูด</TD><TD>ขนาด</TD><TD>ลึกจากพื้นดิน</TD><TD>หมายเหตุ</TD></TR><TR class=RADS align=middle><TD>18 เม.ย. 55</TD><TD>04:15</TD><TD align=left>อ.ถลาง จ.ภูเก็ต</TD><TD>8° 01' 12'' N</TD><TD>98° 19' 12'' E</TD><TD>3.2 </TD><TD> </TD><TD align=middle>สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ล่าสุดดดดด :boo::boo: อุ่นเครื่องมานาน กลัวเครื่องติดจัง
     
  9. ถาวโร(ถา-วะ-โร)

    ถาวโร(ถา-วะ-โร) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +672
    ขอเป็นเพื่อนในเฟซแล้วครับ
    เมื่อวานไปภูเก็ตครับ ขึ้นเขาไม้เท้าสิบสอง ผมไปพร้อมกับคุณนาคา
    นัดเจอกับคุณเกาะแ้ก้ว ย่า..ที่วงเวียนท่าเรือ หลังจากนั้นก็แวะรับพี่เต่า
    ตอนหลังคุณทารามาสมทบ สรุปว่าขึ้นเขา 8 คน งานนี้เหงื่อท่วมครับ
    หลังจากลงจากเขาแล้วไปเยี่ยมแม่ชีบีที่พลับพลาต่อกับคุณนาคาและคุณทารา
    เสียดายที่คุณก้อยไม่ได้ไปด้วย

    คนบนฝั่งเป็นห่วงคนบนเกาะครับ
     
  10. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    คุณพระรักษาครับ

    แล้วคุณก้อยกับที่บ้านไม่มีแผนอพยพตามที่เพื่อนหลายคนที่เชี่ยวชาญเรื่องธรณีได้เตือนไว้เหรอครับ
     
  11. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    เมื่อคืนนอนนึกเป็นห่วงพี่น้องชาวภูเก็ต เพราะเท่าที่อ่านเรื่องการวิเคราะห์เรื่องแผ่นเปลือกโลกแล้วเฉียวแทนจริง และนึกขึ้นมาได้ว่าที่ภูเก็ตมีหลวงปู่สุภาอยู่นิ ไม่รู้ว่ามีใครไปกราบปรึกษาท่านบ้างหรือเปล่า
     
  12. ถาวโร(ถา-วะ-โร)

    ถาวโร(ถา-วะ-โร) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +672
    หลวงปู่สุภาท่านไปอยู่ที่ จ.สกลนคร เกิน 1 เดือนแล้วนะครับ
     
  13. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,292
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,115
    อ้าวเหรอครับ ! ผมยังคิดว่าท่านยังอยู่ที่ ภูเก็ต แล้วพอจะรู้ไหมครับว่า ท่านจะกลับมาภูเก็ตเมื่อไหร่ครับ
     
  14. ARUNN

    ARUNN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +296
  15. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    เหมือนท่านจะรู้ล่วงหน้ารึเปล่าครับ...อย่างไรเพื่อน ๆ ที่ภูเก็ตก็ระวังกันไว้นะครับ รู้สึกไม่ค่อยดีเลย...วันนี้ฟ้าก็แดง ๆ เหลือง ๆ ส้ม ๆ ชอบกล
     
  16. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    การสังเกตสีของท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเหลือง จะใช้เป็นหลักในการออกเรือ หรือดูสถาพลมฟ้าอากาศ โดยเฉพาะในเรื่องพายุ ก็ยังใช้ได้ โดยสังเกตว่าเกิดสภาพนี้ขึ้นในเวลาใด เกิดตอนเช้าหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ถ้าท้องฟ้ามีสีแดงส้มในเวลาเช้าหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้วก็จะไม่ออกเรือ เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าจะมีพายุและลมแรง แต่ถ้าท้องฟ้ามีสีส้มแดงในช่วงตอนโพล้เพล้หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน แสดงว่ารุ่งขึ้นอากาศจะดี....


    ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณ Falkman
     
  17. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861
    สั่นสะเทือนกันขนาดนี้

    ผู้คนในภูเก็ตยังดูเฉยๆ ไม่มีใครคิดจะโยกย้ายอพยพกันเลย
    คงมัวแต่ตั้งหน้าทำมาหากิน เพราะกำลังไฮซีซั่น

    กรรม...จริงๆ :'(
     
  18. ANAN JANG

    ANAN JANG เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +175
    เดี๋ยวนี้ท้องฟ้าจะออกสีนี้กันแทบทั้งนั้นเลยเนอะ เหลืองๆส้มๆ ยืนอยู่ในบ้านตัดกับแสงนีออน(ขาว)ดีจัง ++
     
  19. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,224
    ค่าพลัง:
    +15,636
    เมื่อวานนี้ 18 เม.ย.55 เวลา ประมาณ 17.00 น.ตอนขับรถกลับบ้าน บางบัวทอง นนทบุรี เห็นท้องฟ้าทิศทางตะวันตกเฉียงใต้ (ทิศไปทางทะเลอันดามัน) สภาพท้องฟ้า เมฆครึ้มฟ้า ครึ้มฝน แนวเมฆทอดยาวเหมือนเป็นคลื่นยาวๆไปทางใต้ มันดูแปลก เพราะเมฆฝนจะครึ้มดำเป็นกลุ่มก้อน แต่นี่มันเป็นแนวยาวเหมือนแบบจำลองคลื่น
     
  20. พ้นเกิด

    พ้นเกิด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +26
    อ่านข่าวปลาทูขึ้นมาใกล้ฝั่งจ.กระบี่ ปลาทูหนีน้ำลึกมาน้ำตื้นรึป่าว น้ำลึกแถวอันดามันคงไม่ปรกติ ปลาทูน่าจะว่ายน้ำ3วัน งั้นวันอาทิตย์ที่22 ก็คง????
    แหะๆๆ มั่วได้ใจปะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...