พิบัติภัยไม่ใช่เรื่องไกลตัว

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 18 เมษายน 2012.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    พิบัติภัยไม่ใช่เรื่องไกลตัว

    วันอังคารที่ 17 เมษายน 2555 เวลา 08:31 น.

    [​IMG]
    <!-- /.images-list-items -->
    <!-- /.images-list-container -->
    <!-- /.images-list-wrapper -->

    <!-- /.featured-img -->

    ระบบการรับมือกับพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นของประเทศไทยและดินแดนข้างเคียง ถูกธรรมชาติซ้อมใหญ่ไปเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 ด้วยแผ่นดินไหวที่บริเวณชายฝั่งตะวันตก ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย 2 ครั้ง เวลา 15.38 น. และ 17.43 น. ความรุนแรง 8.6 และ 8.2 ริคเตอร์ ตามลำดับ ซึ่งจัดว่ารุนแรงอาจเกิดคลื่นสึนามิ แต่หลังการออกประกาศเตือนภัยอย่างเป็นทางการ ทำให้มีการอพยพ ซึ่งที่สุดไม่เกิดคลื่นยักษ์ จึงไม่มีความเสียหายแก่ทรัพย์หรือเป็นอันตรายแก่บุคคล แต่ก็ควรพิจารณาว่ายังมีจุดใดที่บกพร่อง ทั้งนี้ เพราะเป็นที่สงสัยว่าหากเกิดเหตุร้ายจริงจะหลบหลีกหรือป้องกันความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนได้เพียงใด

    ปัจจุบันไม่มีเครื่องมือ หรือทฤษฎีใด พยากรณ์แผ่นดินไหวได้ แต่นักวิทยาศาสตร์หลายสำนักที่เฝ้าระวังเหตุธรณีพิบัติมีข้อสังเกตว่า หลังจากแผ่นดินไหวขนาด 9 ริคเตอร์ ที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิก่อความเสียหายชายฝั่งหลายประเทศรวมทั้งไทย เมื่อปี 2547 นั้น ได้เกิดแผ่นดินไหวและแผ่นดินไหวตามอย่างต่อเนื่องนับพันครั้ง ในบริเวณหมู่เกาะสุมาตรา ซึ่งไม่ไกลจากชายฝั่งประเทศไทย อีกทั้งการไหวเมื่อวันที่ 11 เมษายน ยังเกิดถึง 2 ครั้งในเวลาห่างกันเพียง 2 ชั่วโมง ด้วยระดับความแรงไล่เลี่ยกัน ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันตราย นอกจากนี้ ยังเกิดซ้ำใกล้เคียงจุดเดิมในช่วงห่างจากปี 2547 เพียง 8 ปี ทั้งที่รอบการเกิดที่คำนวณไว้ก่อนหน้านี้คือ 200–600 ปี

    แผ่นดินไหวบริเวณเหนือเกาะสุมาตราครั้งล่าสุดนี้ เกิดขึ้นคล้ายกับที่เกิดในประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นปี 2554 ที่มีความสั่นไหวรุนแรงซ้อนกัน 2 ครั้ง แย้งกับทฤษฎีที่เชื่อว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจะช่วยปลดปล่อยพลังใต้พิภพให้ความรุนแรงน้อยลง ดังนั้น จึงเท่ากับว่า ความเสี่ยงต่อพิบัติภัยแผ่นดินไหว นอกจากพยากรณ์ไม่ได้ ยังมีสิ่งที่นอกเหนือการคาดหมายหรือแตกต่างจากองค์ความรู้ที่มี ดังนั้นการตรวจสอบความพร้อมของการรับมือและการเตือนภัยจึงต้องเคร่งครัดอยู่เสมอ

    ความที่ไม่มีคลื่นสึนามิเข้าทำความเสียหาย ไม่มีบุคคลใดได้รับอันตราย มีการประกาศเตือนภัยตามกำหนดเวลา การใช้สื่อโทรทัศน์วิทยุได้ตามเป้าหมาย แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่คำอธิบายความพร้อม เพราะยังมีข้อเท็จจริงว่า การประกาศออกไปนั้นประชาชนรับรู้จริงจำนวนเท่าใด การอพยพเพื่อหลบหลีกภัยมีเส้นทางหรือความถูกต้องหรือไม่ บรรดาอุปกรณ์เกี่ยวกับการเตือนภัย เช่น ทุ่นตรวจคลื่นที่มีพร้อมและเพียงพอหรือยัง งบประมาณการบำรุงรักษายังเป็นไปโดยปกติที่ทำให้ระบบยังมีความเชื่อถือได้.




    ------------
    ขอบคุณที่มาของข้อมูล ::
    พิบัติภัยไม่ใช่เรื่องไกลตัว | เดลินิวส์
     
  2. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    เตือนภัยต้องมีประสิทธิภาพ

    วันพุธที่ 18 เมษายน 2555 เวลา 07:39 น.

    [​IMG]
    <!-- /.images-list-items -->
    <!-- /.images-list-container -->
    <!-- /.images-list-wrapper -->

    <!-- /.featured-img -->ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2555 ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวใต้ทะเลครั้งใหญ่วัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 8.9 ริคเตอร์ นอกชายฝั่งของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกติดตามมาหลายครั้ง โดยเกิดอาฟเตอร์ช็อกติดต่อกันถึง 2-3 วัน หลังจากนั้นอีก 2 วัน ก็ได้เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลห่างจากเกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งในวันและเวลาใกล้เคียงกันนั้นก็เกิดแผ่นดินไหว 4.3 ริคเตอร์ ใจกลางเกาะภูเก็ตที่ อ.ถลาง ทำให้มีการวิเคราะห์กันว่าการขยับตัวของเปลือกโลกใต้พื้นพิภพกำลังแผ่มาถึงรอยเลื่อนของประเทศไทยแล้ว ดังนั้นภัยพิบัติเรื่องแผ่นดินไหวในประเทศไทยจึงไม่ควรที่จะประมาทใด ๆ ทั้งสิ้น

    เป็นที่รู้กันว่ายังไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นที่จะวิเคราะห์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่โน่นที่นี่ได้ แต่ระบบเตือนภัยเรื่องภัยพิบัติจึงจำเป็นที่ต้องแจ้งเตือนได้อย่างทันเวลา โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสารต่าง ๆ ที่แจ้งเตือนประชาชนไม่ควรให้เกิดปัญหา
    ที่ถูกตัดขาดอย่างกะทันหัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติจะต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์เตรียมเอาไว้พร้อมเพื่อป้องกันมิให้การสื่อสารล่มจากกรณีมีการใช้งานกันจำนวนมาก ทราบข่าวว่าทางรัฐบาลได้ให้มีการทบทวนเรื่องคำสั่งของผู้รับคำสั่งและปัญหาการสื่อสารล่ม และเป็นเรื่องที่ดีที่สุดก็คือรัฐบาลไม่ควรรอช้าในการปรับปรุงแก้ไขในเรื่องดังกล่าว

    จากข่าวคราวได้ทราบอีกเช่นกันว่านายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำระบบเตือนภัยให้สมบูรณ์ทั้งระบบ โดยให้ระบบเตือนภัยต้องมีการแจ้งเตือนไปถึงชุมชมอย่างชัดเจนเพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากที่รัฐบาลจะได้จัดทำระบบเตือนภัยให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนภัยที่ประชาชนจะต้องเผชิญเหตุภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นมาได้อย่างปลอดภัย และก็เห็นด้วยกับทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบในการร่วมกันวางแผนเตรียมพร้อมเรื่องอพยพประชาชน รวมถึงการจัดการจราจรที่
    สามารถทำให้ประชาชนเคลื่อนย้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัยได้สะดวก

    อีกไม่นานก็จะเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ภัยพิบัติจากน้ำท่วมจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็อยู่ที่ปริมาณของฝนที่จะตกลงมากหรือน้อย แต่การวางแผนป้องกันต่าง ๆ ยังไม่มีการแถลงออกมาให้ประชาชนได้รับรู้ว่าดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ทราบแต่เพียงว่านายกรัฐมนตรีได้ร่วมประชุมกับคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย เพื่อติดตามความคืบหน้าที่จะเผชิญเหตุการณ์น้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น ซึ่งความคืบหน้าต่าง ๆ ของแผนป้องกันนั้นคิดว่าประชาชนก็อยากรู้เช่นกัน โดยเฉพาะระบบเตือนภัยต้องพร้อมทุกอย่างอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทั่วถึง เพราะเชื่อว่าประชาชนต้องการความปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์.




    -----
    เตือนภัยต้องมีประสิทธิภาพ | เดลินิวส์
     
  3. วนิชญา

    วนิชญา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2012
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    นอกจากระบบเตือนภัยแล้ว ถ้าสามารถสร้างที่หลบภัยได้ด้วยก็ดี (เป็นไปได้หรือเปล่าก็ไม่รู้) ช่วงนี้ยิ่งมีอะไรต่ออะไรเกิดขึ้นเป็นประจำด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...