จะต้องทำอย่างไรถึงจะได้ฌาน ๔ ค๊ะ!

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย girl, 27 กันยายน 2004.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. เณรน้อย

    เณรน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +27
    สมโณฤกษ์ ใช้ ฤกษ์ ตาม ดวง ดาว ที่ มี มา แต่ โบราณ กาล
    สามารถ ใช้ได้ผลจริง นะ มีบาง วัน ที่นั่งได้ดี นั่ง ได้ นาน
    เพราะเป็น อนัตตา ฤกษ์ นี้ ก็ มี ส่วน มนุษย์เรา ก็เหมือนกัน
    นั่งได้ บางวันไม่เหมือนกัน ครุบาอาจารย์ ได้ถ่ายทอดออกมา
    เป็น วัน ที่ สามารถ ทำ งาน มลคล ต่างๆ ขอให้ บรรลุ เร็วๆ ฮะ
     
  2. อู่เย่

    อู่เย่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +225
    สงสัยต้องลงทะเบียนซะแล้วครับ

    ข้อความข้างบนของผมครับส่วนเรื่องกายทิพย์นั้นข้อความของคุณGif
     
  3. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,868
    ถ้าอย่างนั้น ดิฉันจะตั้งกระทู้ใหม่ เล่าเรื่องการฝึกฌาณสี่ในกสิณ กับการฝึกทิพจักขุ_าณนะคะ

    ดิฉันโมทนากับทุกท่านที่ฝึกถอดกายทิพย์ และฝึกทิพจักขุ_าณ
    แต่ดิฉันขอแบบไม่ต้องมาพบกันในความเป็นทิพย์ หรือมองดิฉันในความเป็นทิพย์นะคะ
    อยากอยู่เป็นส่วนตัวน่ะค่ะ...ขออนุ_าตนะคะ please.....
     
  4. บรรพต อ.

    บรรพต อ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +306
    .
     
  5. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,868
    ชื่อเล่นของดิฉันไปซ้ำกับสมาชิกท่านอื่นน่ะค่ะก็เลยใช้ชื่อนี้
    ดิฉันรู้นะว่า คุณ Gif ไม่ได้รู้สึกว่าชื่อดิฉันยาวหรอก แต่รู้สึกว่าชื่อสะกดยาก..ใช่มะ
    เอาอย่างนี้ดีไหม ถ้าท่านใดสะกดชื่อดิฉันผิด ดิฉันจะเข้าใจว่าหมายถึงดิฉัน และจะยังราบรื่นใจอยู่ว่าเข้าใจตรงกันค่ะ

    ถ้าอยากเรียกชื่อดิฉันสั้นๆ
    เอ... เอาชื่อนี้มั้ยคะ นี่เลย...
    "ฑ์" สั้นสุด! :D
     
  6. ไจ่ไจ๋ ณ สาทร

    ไจ่ไจ๋ ณ สาทร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +55
    อมิตพุทธ

    มหาบารมี บหาบุ__า มหาวาสนา ในไตรภพศรีนาคาปิฏกโลกครับ คุณณัฐมนฑ์ ผมซึ้งใจจริงๆที่พระอนุตรธรรมเจ้าเบื้องบนได้คัดสรรโพธิสัตย์ที่มากด้วยคุณสมบัติ เช่นนี้มาก่อกิจให_่แห่งโลก เพื่อกอบกู้เหล่าเวไนย์ให้ฟื้นตื่นจากความหลับไหลเสียที...น่ายินดีๆจริงๆครับ

    ในปัจจุบันมีอยู่ลัทธิหนึ่งซึ่งเป็นลัทธิใหม่ที่ขนานนามตัวเองว่า ลัทธิเทียนเต้า หรือมรรควิถีแห่งฟ้า รับสาวกด้วยการชี้จุด_าณทวาร และบอกคำลับหกคำ เพื่อปฏิบัติไปสู่วิสุทธิภูมิ ด้วยวิธีการลัด เพียงช่วยกิจแห่งฟ้าผ่านธรรมสถาน ทานเจ ถือศีล และบำเพ็_กิจโพธิสัตย์ โดยมีคำสั__าว่าเมื่อสะสมหน่วยบุ_จนถึงระดับ จักนิพพานเมื่อละสังขาร

    เพียงแต่ผมค่อนข้างฉงนเล็กน้อยว่าหากไม่ปฏิบัติพระกรรมฐานอย่างที่คุณณัฐมนฑ์ กำลังชี้แนะบอกกล่าวอยู่นี่ จักนิพพานได้แน่หรือ หากมีผู้ใดสามารถให้ความกระจ่างในข้อนี้ได้ จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

    เอ๋...หรือว่าผมศึกษามาไม่ดีพอหนอ หรือผมเข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่านี่

    :confused: :( :( :confused:
     
  7. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,868
    ขอเชิ_คำพูดหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาอีกครั้ง
    ซึ่งท่านกล่าวแสดงประโยชน์ของสมถกรรมฐาน ดังนี้นะคะ

    "ถึงจะปฏิบัติแบบสุขวิปัสสโกก็ต้องมีสมถะ
    สุกขวิปัสสโกนี่ เขาขึ้นต้นตั้งแต่สมาธิขั้นต่ำ ตั้งแต่ขณิกสมาธิ มันขึ้นไปตั้งแต่เล็ก ใช้ปัญญาพิจารณาไปเลย อารมณ์คิดควบคุมจิตโดยเฉพาะจุดเขา
    เขาเรียกว่า สมถะ แต่ว่าถ้าคุมได้น้อยมันจะตัดกิเลสไม่ได้ ต้องคุมเข้าไปถึงปฐมฌาน จึงจะสามารถตัดกิเลสได้

    เป็นพระโสดาบันได้ ถ้าหากว่าแค่ปฐมฌานมันจะอยู่ได้แค่พระโสดาบันและพระสกิทาคามี จะเป็นพระอนาคามีไม่ได้
    ถ้าจะถึงพระอนาคามีได้จิตต้องเข้าถึงฌาน ๔ มันต้องใช้ควบคู่กันไป คือทั้งสมถะและวิปัสสนา"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2004
  8. กิสหา

    กิสหา บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    สวัสดีครับคุณณฐมณฑ์

    ผมก็ชอบเลี้ยงแมวครับ

    ได้อ่านข้อความในกระทู้นี้ที่คุณณฐมณฑ์เขียนลงมา แล้วก็ได้รับความรู้เพิ่มเติม เพราะผมก็เจออาการปิติมาแล้วแต่ก็ยังติดอยู่ และจิตยังมีฟุ้งซ่านบ้าง มัวแต่กังวลคิดจะรีบตัดกิเลส เลยยังนั่งสมาธิไปไม่ถึงไหน
    ตอนนี้ผมจะพยายามนั่งสมาธิจนจิตสงบจริงๆ

    ยังไงก็จะติดตามอ่านครับ
     
  9. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,868
    Re: สวัสดีครับคุณณฐมณฑ์

    ยินดีค่ะที่มีโอกาสเล่าให้คุณกิสหาอ่านด้วย
    คุณลองอย่างนี้ดีไหมคะ... สำหรับ"การทำสมถกรรมฐานแล้วพิจารณาแบบวิปัสสนาฯ"ด้วย นั่นคือ..

    1.เข้าฌานจนถึงฌานสี่ก่อน แล้วค่อยลดระดับสมาธิสู่อุปจารสมาธิมาพิจารณากาย หรือเวทนา ฯลฯ ช่วงนี้เพื่อชำระกิเลส

    โดยช่วงยังไม่ถึงฌานสี่ก็ยังไม่ต้องกังวลอะไรนะคะ ปล่อยวางสู่อารมณ์อุเบกขาไปก่อนค่ะ (ปิติก็ไม่สนใจ)
    เพราะการเข้าฌานจนถึงฌานสี่ จิตจะใส สติจะดีมาก แล้วนำจิตสะอาดช่วงนี้มาพิจารณา จะเกิดปั__าที่ตรงทางมากๆ ค่ะ

    2.การลดระดับสมาธิจากฌานสี่สู่อุปจารสมาธินั้น ขอเรียนท่านอื่นๆ ที่สงสัยว่าทำอย่างไรนะคะ...ว่าทำได้ง่ายๆ ดังนี้...

    ถ้าได้ฌานสี่แล้ว ก็ทรงฌานสี่ไว้นิดนึง แล้วพิจารณากาย หรือเวทนา ฯลฯ ได้เลย
    ขณะพิจารณาตรงนี้เองคืออุปจารสมาธิค่ะ เพราะในฌานนั้นคิดไม่ได้ ถ้าคิด จิตจะเคลื่อนลงมาเองค่ะ
    เมื่อพิจารณาจนจิตเคลื่อนจากอุปจารสมาธิสู่ฌานหนึ่งอีกที ตรงนี้จะชำระกิเลสบางประการได้ในคราวหนึ่งๆ ค่ะ
     
  10. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    โทรมาหานะ

    โทรมาหานะ
    025792201
    ช่วง บ่ายๆ-22.00
    หนุ่ม
    โทรมาบอกว่าคุยเล่นนะ
     
  11. อึดเบเกอรี่

    อึดเบเกอรี่ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +30
    โอวววว คุณ ฑ์ เขียนได้เข้าใจง่ายมากเลย

    จะรับไปปฏิบัตินะจ้ะ
     
  12. 123

    123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +864
    ทำตัวไร้สาระไปเรื่อยๆ
     
  13. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    อยากช่วยต้องเก่งก่อน อยากรู่เก่งอย่างไร โทรมาคุยได้ แลกกัน

    อยากช่วยต้องเก่งก่อน อยากรู่เก่งอย่างไร โทรมาคุยได้ แลกกัน
     
  14. แพรว

    แพรว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +166
    ณฐมณฑ์(y)
    (||) (||) (||) (||) (||)
     
  15. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ฝึกได้ ง่ายๆ สวดมนต์ยาวๆ เช่นชินบั_ชร แล้ว ไปพุทโธไปก่อนครับ

    ฝึกได้ ง่ายๆ สวดมนต์ยาวๆ เช่นชินบั_ชร แล้ว ไปพุทโธไปก่อนครับ
     
  16. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ชินบั_ชร

    ชินบั_ชรดีมากที่จะช่วย
     
  17. anthony

    anthony Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +51
    เห็นด้วยกับ ณฐมณฑ์

    ขอเสริมนิดหนึ่ง สำหรับท่านที่เจริ_พระกรรมฐาน แบบอาปานสตินั้น หากท่านกำหนดดูแต่ลมหายใจ หรือยึดคำภาวนาเป็นหลัก ขณะที่ท่านอยู่ในฌาณ 4 นั้น นอกจากจะมีอาการต่างๆ ตามที่คุณ ณฐมณฑ์ กล่าวไว้แล้วนั้น ท่านจะยังรู้สึกว่า จิตของท่านรวมเป็นหนึ่ง จิตของท่านจะมีอารมณ์คือ เอกัคตา และอุเบกขา และท่านจะรู้สึกว่า จิตของท่านนั้น นิ่งมาก สว่างมาก และมีกำลังมาก

    หากท่านที่ต้องการติดต่อกับสิ่งลี้ลับได้ หรือแม้กระทั่งต้องการรู้ด้านอื่นๆ
    แนะนำว่า ต้องปฏิบัติ ให้ได้ตั้งแต่อุปจารสมาธิ และ ฌาณ 1 ถึงอย่างน้อย ฌาณ 3 ให้ชำนา_ แต่ให้ดีควรจะทำให้ถึงฌาณ 4 ให้สามารถเข้าออกเมื่อไรก็ได้ ให้เกิดวสีนั่นเอง เมื่อท่านต้องการจะกำหนดจิต ดูสิ่งลี้ลับ ให้เดินจิตเข้าองค์ฌาณตามลำดับ แล้วถอยมาอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ แล้วจึงกำหนดจิตไปดู ต้องทำจิตให้นิ่ง ใส และปล่อยวางให้ว่าง เหมือนแก้วเปล่า ถ้ามีสิ่งลี้ลับอยู่บริเวณรอบๆ ท่านจะรู้สึกถึงคลื่นพลังงานนั้นๆ ทีนี้อยู่ที่ว่า กำลังของจิต และกำลังสมาธิของท่านนั้น มีกำลังมากน้อยเพียงไร สำหรับท่านที่มีกำลังสมาธิมาก ท่านจะสามารถเห็นสิ่งเหล่านั้นได้ชัดเจน และสามารถติดต่อสื่อสารได้ด้วย

    อันนี้เป็นเพียงของเล่น เท่านั้นน่ะครับ ถ้าได้แล้วอย่าไปติดยึดกับมัน แต่เราก็สามารถให้วิชา ความรู้ตรงนี้ไปช่วยคนได้เหมือนกันน่ะครับ สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดประโยชน์ ถ้าท่านไม่ได้นำมาใช้ช่วยเหลือผู้อื่น หรือถ้าท่านไม่ได้ ให้รู้ ให้เห็น เพื่อเป็นการละวาง
     
  18. ammytr

    ammytr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +301
    อนุโมทนากับพี่ ณฐมณฑ์ ครับ

    ที่สอนได้ตรง ได้เที่ยง เข้าใจง่าย ฌานเป็นฌาณ สมาธิเป็นสมาธิ แปลกใจที่ทำไมถึงไม่พูดถึงเรื่องนี้กัน อย่างคุณ Catwater แบบนี้มันก็ทำให้คนกลัว ฌาณ กันสิครับ หลวงพ่อบอกว่า ฌาณเป็ฯของไม่ยาก ถ้าปฎิบัติ หลวงพ่อยังสนับสนุนให้ทำให้คล่อง ให้เป็น ฌาณ กีฬาเสียด้วย

    เป็นความรู้มาก ๆ เลยครับ
     
  19. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,691
    ผมขอเสริมเรื่องการพิจารณาธรรมต่อจากคุณณฐมณฑ์เพื่อสรุปข้อความให้สมบูรณ์ดังนี้นะครับ

    มีการเทียบเคียงในเรื่องของสังโยชน์กันเอาไว้มาก ซึ่งอันที่จริงแล้ว "สังโยชน์" นั้นเป็น "ตัววัดผล" ซึ่งใช้วัดระดับ
    ความเป็นพระอริยเจ้า แต่มีบางท่าน หรือหลายๆท่าน มักจะนำสังโยชน์ขึ้นมาเป็นตัวตั้ง แล้วพิจารณาตัดเป็นข้อๆ
    ซึ่งในจุดนี้เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไป

    การพิจารณาธรรมที่ถูกต้อง
    -ประการแรกเริ่มต้นจากการที่มีศีลห้า(เป็นอย่างน้อย) ตั้งมั่นให้บริสุทธิ์ก่อน
    -ประการต่อมาก็เจริญสมถภาวนาหรือเรียกง่ายๆว่า การเจริญสมาธิเพื่อให้จิตตั้งมั่น และจิตมีกำลัง ซึ่งกำลังของจิต
    ควรมีกำลังไม่ต่ำกว่า "ปฐมฌาน" ( แต่ยังไงที่สุดแล้วก็ต้องใช้กำลังถึงฌานสี่ ) เมื่อจิตมีกำลังตั้งมั่นดีแล้ว
    ลดกำลังจิตลงมาในระดับอุปจารสมาธิ คือ ในระดับที่นึกคิดได้ภายใต้นิวรณ์ที่สงัด
    -ประการสุดท้ายก็เข้าสู่การพิจารณาธรรม คือไตรลักษณ์ อันได้แก่
    1) การพิจารณาให้เห็นสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง มีความเคลื่อน และมีการแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา
    2) การพิจารณาเห็นทุกข์ในสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปนั้น เพราะสิ่งใดที่ไม่คงที่ ไม่ทรงตัวสิ่งนั้นย่อมเกิด "ทุกข์"
    3) การพิจารณาเห็นความไม่ใช่ตัวตน ทั้งตัวเราและสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลนี้ เมื่อสลายตัวไปตามหลัก
    สัจจธรรมก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งว่างเปล่าทั้งสิ้น

    *หมายเหตุ ; การพิจารณาไตรลักษณ์นี้ เมื่อพิจารณาเห็นข้อใดข้อหนึ่ง อีกสองข้อก็จะเห็นตามมา เพราะเกี่ยวเนื่อง
    กัน

    เมื่อนักปฎิบัติที่มีจิตสงบลง มีสมาธิตั้งมั่นดีแล้ว น้อมนำมาพิจารณาธรรมด้วยใจที่ละเอียดปราณีต ก็จะพบว่า
    สรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งร่างกายตัวเรา ร่างกายบุคคลอื่น หรือวัตถุอื่นๆ ตลอดจนความยึดติดในภพทั้งสามอันได้แก่
    กามภพ รูปภพ และอรูปภพนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งชั่วคราว เมื่อเกิดขึ้น ก็ต้องดับลงไป ตามกฎแห่งไตรลักษณ์
    หรือลักษณะทั้งสามประการนี้ทั้งนั้น

    ดังนั้นเมื่อจิตที่มีกำลังละเอียด และพิจารณาเห็นลักษณะทั้งสามดังกล่าว จิตของผู้นั้นก็จะปล่อยวางในความยึดมั่น
    ในตัวตนแห่งตนอันเป็นรูป ที่เรียกว่า "สักกายทิฎฐิ" อันเป็นตัวติดยึดข้อแรกของ "สังโยชน์" ที่จะต้องละ

    ต่อมาเมื่อพิจารณาธรรม ด้วยจิตที่มีกำลัง และความละเอียดปราณีตขึ้นไปกว่านั้น ก็จักสามารถปล่อยวาง
    เครื่องติดยึด ในส่วนที่เป็นนามธรรมละเอียดลงได้ และในที่สุด จิตก็จะปล่อยวางความติดยึดทั้งปวง ทั้งใน "รูปธรรม"
    และ "นามธรรม" จนหมดสิ้น ที่เราเรียกว่า "ทำลายอวิชชา" อันเป็นสังโยชน์ในข้อสุดท้าย

    นี่คือวิธีการตัดจาก "ตัวเหตุ" จริงๆ และมิใช่นำ "ตัวผล" ขึ้นมาเป็นตัวตัดดังความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปบ้างของ
    บางท่านนะครับ

    สรุปโดยย่อๆก็คือ การพิจาณาตัดลงที่ "ร่างกาย" ตัวเดียวนี่เอง ดังตัวอย่างในพระสูตรตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า

    มีภิกษุบวชใหม่รูปหนึ่งเข้าไปถามธรรมกับพระสารีบุตรเพื่อที่จะเข้าป่าไปปฎิบัติธรรมว่า
    "การที่พวกกระผมจะบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันได้นั้นจะต้องปฏิบัติอย่างไรขอรับ" พระสารีบุตรกล่าวตอบไปว่า
    "ขอพวกเธอจงพิจารณาเห็นให้เห็นอย่างนี้ว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มี
    ในเรา"

    ต่อมาพระภิกษุบวชใหม่ก็ถามพระสารีบุตรต่อไปอีกว่า
    "การที่พวกกระผมจะบรรลุธรรมเป็นพระสกิทาคามีได้นั้นจะต้องปฏิบัติอย่างไรขอรับ" พระสารีบุตรกล่าวตอบไปว่า
    "ขอพวกเธอจงพิจารณาเห็นให้เห็นอย่างนี้ว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มี
    ในเรา"

    ต่อมาพระภิกษุบวชใหม่ก็ถามพระสารีบุตรต่อไปอีกว่า
    "การที่พวกกระผมจะบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีได้นั้นจะต้องปฏิบัติอย่างไรขอรับ" พระสารีบุตรกล่าวตอบไปว่า
    "ขอพวกเธอจงพิจารณาเห็นให้เห็นอย่างนี้ว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มี
    ในเรา"

    ต่อมาพระภิกษุบวชใหม่ก็ถามพระสารีบุตรต่อไปอีกว่า
    "การที่พวกกระผมจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้นั้นจะต้องปฏิบัติอย่างไรขอรับ" พระสารีบุตรกล่าวตอบไปว่า
    "ขอพวกเธอจงพิจารณาเห็นให้เห็นอย่างนี้ว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มี
    ในเรา"

    ซึ่งสรุปรวมความได้ว่า การพิจารณาธรรมทั้งหลายนั้น ตัดลงที่ขันธ์ห้าร่างกายเรานี่เอง เมื่อจิตละเอียดมากขึ้น
    ก็มีปัญญาตัดได้มากขึ้น .... นี่คือวิธีปฎิบัติธรรมเพื่อจบกิจในพระพุทธศาสนา กิจอื่นไม่มีอีกแล้ว ภพใหม่ไม่เกิดอีก
    แล้ว จบสิ้นการเวียนว่ายตายเกิดในวัฎฎะสังสารอันยาวนานตรงนี้แล้วครับ

    /*บทแทรก; มีคนตั้งคำถามไว้ว่า "สติปัฏฐานเป็นทางเดียวที่จะบรรลุธรรมหรือไม่" กระผมขอตอบตามความเข้าใจ
    ว่า ไม่มีพระอริยเจ้าองค์ไหนไม่ผ่าน "สติปัฏฐาน" เพราะสติปัฏฐานนั้นก็คือที่ตั้งของสติ พระอริยเจ้าทั้งหลายนั้น
    ท่านเป็น ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความมีสติอันยิ่งแล้ว หรือที่เรียกว่ามี "มหาสติปัฏฐาน" อันได้แก่ การเห็นกายในกาย
    เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม และหากจะถามต่อไปว่า สติปัฏฐานเกิดขึ้นอย่างไร? อันที่จริงแล้ว
    ก็คือการเจริญสมถภาวนานี่เอง เพราะจะมีสมาธิได้ก็ต้องมีสติ และในขณะเดียวกันเมื่อมีสติก็ย่อมเกิดสมาธิ
    จากประสบการณ์ เมื่อจิตมีสมาธิตั้งมั่นละเอียดอ่อนดีแล้ว สติปัฏฐานจะเกิดขึ้นเอง คือมีสติรู้โดยรอบ ทั้งสิ่งกระทบ
    ทั้งปวงที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม การเคลื่อนไหวในทุกอริยาบทก็จะมีสติ ส่วนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความ
    ปราณีตของจิตนั้นๆ ส่วนการมีสตินั้นจะต้องมีปัญญาคู่กันเสมอ ดังนั้นเมื่อพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา
    จิตในจิต และธรรมในธรรม นั้นได้อย่างแจ่มแจ้ง อวิชชาก็ย่อมดับลงได้

    ผนวกคำสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโธ ท่านเปรียบการเจริญสติ เหมือนกับการยกกาน้ำเทลงในภาชนะ แรกๆเมื่อยก
    เทแต่น้อย น้ำก็หยดลงทีละหยดน้อยๆ ต่อเมื่อกระดกกาน้ำเทให้ให้สูงขั้น หยดน้ำก็หยดถี่ขึ้นๆ และในที่สุดเมื่อเร่ง
    กาน้ำเทให้มากขึ้น น้ำที่ไหลออกมานั้นก็ไหลต่อเนื่องเป็นสายไม่ขาดตอน เปรียบได้เหมือนสติของผู้ที่ฝึกดีแล้วย่อม
    ไม่ขาดสาย ดังนั้นสิ่งกระทบต่างๆที่เป็นรูปและนาม ก็ไม่ทำให้จิตหวั่นไหวได้อีกต่อไป

    และหากจะกล่าวถึงการพิจารณาไตรลักษณ์ดังข้างต้น ก็จะเห็นได้ว่า เมื่อพิจาณาเห็นไตรลักษณ์อย่างแจ่มแจ้งได้ จน
    ปัญญาญาณ อันคือตัว วิปัสสนาญาณเกิด จิตก็ย่อมปล่อยวางจากรูปและนามเช่นเดียวกัน

    การพิจารณาธรรมทั้งหลายนี้ ไม่จำเป็นว่า จะเริ่มจากสมถกรรมฐานกองไหนเฉพาะเท่านั้น ขอเพียงอย่างเดียวว่า
    เจริญกรรมฐานกองใดก็ตาม ให้จิตสงบลงถึงอัปนาสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ส่วนกำลังจิตที่จะส่งให้ถึงการละ
    สังโยชน์เบื้องสูงได้นั้น กำลังจิตก็ต้องได้ถึงฌานสี่ในที่สุด*/


    /*บทเสริม; องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คราเมื่อพระองค์ทรงบรรลุอภิเสกสัมมาสัมโพธิญาณนั้น พระองค์ทรง
    เป็นผู้ได้สมาบัติแปดมาก่อน แต่พระองค์ทรงใช้กำลังแค่รูปฌานสี่ แล้วลดกำลังลงมา และใช้ทิพยจักขุญาณ จนเกิด
    บุปเพนิวาสานุสติญาณ คือหวนระลึกถึงอดีตชาติย้อนหลังกลับไปได้ แลเห็นความเกิดและก็ตายของพระองค์เอง และ
    สรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่อมาในยามที่สอง พระองค์ทรงเกิดจุตูปปาตญาณ คือญาณที่รู้ว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ตายไปนั้น
    ไปเกิดในที่ใด ภพภูมิใด ซึ่งดูประหนึ่งว่าจักทำพระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งครบใน ๓๑ ภูมิ เมื่อหยั่งลงในญาณจนชัดแจ้งดังนี้แล้วพระองค์ก็ทรงเบื่อหน่ายในการเวียนเกิด จนกระทั่งวิปัสสนาญาณของพระองค์ทรงบังเกิดชัดเป็น
    "อาสวักคยาญาณ" ในยามสุดท้ายนี้เอง จึงตรัสรู้ธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด*/

    **หมายเหตุ ; ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนั้น หากมีจุดใดที่ไม่ตรงตามตำรา หรือตามพระไตรปิฎก ขอท่านผู้รู้กรุณา
    กล่าวแย้งและเสริมเพื่อความถูกต้อง และสมบูรณ์ของข้อนี้ความด้วยนะครับ

    ***หมายเหตุ ; เข้าไปดูกระทู้ประสบการตรงในการฝึกกสินแสงสว่าง จนถึงฌานสี่ ของคุณณฐมณฑ์ได้ที่นี่ครับ http://www.palungjit.org/board//showthread.php?t=1625
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2005
  20. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    ถ้าฝึกกสินไฟ จนถึงฌาณ๔
    แล้วทุกคนจะสามารถเนรมิตรไฟให้เกิดขึ้นแบบให้ตาเนื้อเห็นได้ไหม ?
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...