ปัจจุบันธรรมหรือธรรมโม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 11 มิถุนายน 2012.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    เอาพระสูตรมาฝาก
    *
    พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
    เวทนาไม่เที่ยง ...
    สัญญาไม่เที่ยง ...
    สังขารไม่เที่ยง ...
    วิญญาณไม่เที่ยง...
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
    ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
    เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
    เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี.

    เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
    ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น
    จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่
    จึงยินดีพร้อมเพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
    ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1025&Z=1041&pagebreak=0


    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดๆไม่ต้องตีความตามมติสาวกภาษิต
    เมื่อไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอย่างแรกกล้าในจิตนั้น
    จิตย่อมเบื่อหน่ายในรูปนามขันธ์๕ เมื่อเบื่อหน่ายจิตก็คลายกำหนัดในรูปนามขันธ์๕
    จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย จิตจึงดำรงอยู่ ไม่ได้ดับตายหายสูญใช่หรือไม่?

    เมื่อจิตสามารถปล่อยวางความยึดมั่นในรูป-นามขันธ์ได้แลัว
    จิตจะกลับมาเขลายึดมั่นในไปตนเองอีกทำไม?
    การปฏบัติอริยมรรคมีองค์๘ เป็นการปฏิบัติทางจิต
    เพื่อให้จิตรู้จักการสลัดคืน การปล่อยวางความยึดมั่นในรูปนามขันธ์

    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
    เวทนาไม่เที่ยง ...
    สัญญาไม่เที่ยง ...
    สังขารไม่เที่ยง ...
    วิญญาณไม่เที่ยง...
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    พระพุทธชัดๆขนาดนี้ยังจะเอา จิต เจตสิก มายำจะเละเทะไปหมดเลยนะ
    มีตรงไหนในพระสูตรที่ยกมา พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
    จิต เจตสิก ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของ เล่นสอนกันเกินพระบรมครู ก็แย่สิ ธรรมะเสียหายหมด
    กลับทิฐิเสียใหม่ก็ยังไม่สาย หัดยืนอยู่บนหลักเหตุผลตามความเป็นจริงบ้างก็ดีนะ
    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุงตอบปัญหาธรรม
    ผู้ถาม:- หลวงพ่อ ตัดกรรมได้ไหมคะ…?

    หลวงพ่อ:- ตัดกรรมนี่มันตัดไม่ได้หรอก
    กรรมที่เป็นกุศลก็ตัดไม่ได้ กรรมที่เป็นอกุศลก็ตัดไม่ได้ นี่พูดตามพระพุทธเจ้านะ

    แต่ว่าที่เราทำดีนี่ คือ สร้างกรรมดีที่เป็นกุศลมากขึ้น หนีกรรมที่เป็นอกุศล
    คือ กรรมที่เป็นอกุศลมันมีอยู่ แต่เราสร้างกรรมดีที่เป็นกุศล
    กรรมที่เป็นอกุศลก็ตามช้าลง เราฝึกวิ่งหนีให้มันเร็วเข้า ใช่ไหม…

    ผู้ถาม:- อย่างนี้ก็ไม่มีทางหมดบาปนะซิคะ…?

    หลวงพ่อ:- การจะทำให้หมดบาปนะไม่มีทางหรอก
    ในทางพระพุทธศาสนามีอยู่ทางเดียวคือ ทำบุญหนีบาป
    ใช้กำลังบุญให้สูงขึ้น ความชั่วที่มันเป็นบาปกรรมอยู่มันก็ตามทันยากหน่อย ใช่ไหม…

    แต่ถ้าเป็นพระโสดาบันก็สบาย ตัดกรรมจริงๆ แต่ว่าเศษของกรรมยังมีอยู่บ้าง
    แต่กรรมที่ไม่สามารถจะดึงให้เราลงนรก เป็นเปรตเป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานได้
    แต่ถ้ามาเป็นมนุษย์ ถ้าเรามีโทษปาณาติบาต มันก็ทำให้เราป่วยบ้าง
    ถ้ามีโทษอทินนาทานอยู่ ก็ทำให้ของหาย ไฟไหม้ ขโมยลัก น้ำท่วม ลมพัด
    ถ้าเราเคยมีโทษกาเมสุมิจฉาจาร คนใต้บังคับบัญชาเราก็หัวดื้อไม่เชื่อฟัง
    ถ้าเราเคยมีโทษมุสาวาทพูดโกหกเขา เราพูดอะไรก็ไม่มีใครเชื่อ
    ถ้ากินเหล้าเมายามาก่อน ก็เป็นโรคประสาทบ้าง เป็นคนบ้าบ้าง มันก็แค่นี้
    แต่ว่าถ้าเป็นพระโสดาบันแล้ว มันไม่ถึงบ้าแค่มึนๆ ไปหน่อย
    นี่เป็นโทษจากเศษของกรรม
     
  3. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ช่วยแปลพระสูตรนี้หน่อย ว่าหมายความว่าอะไรครับ

     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    *
    *
    เรื่องแปลพระสูตรนั้น มีอรรกถาจารย์หลายขณะด้วยกัน ที่ัรับชอบในแต่ละส่วนของตน
    และบางครั้ง ด้วยกาลเวลาที่ยาวนาน อาจทำให้ขาดตกบกพร่องไปบ้าง
    แต่ในส่วนสาระสำคัญที่ว่าด้วยเรื่อง
    อริยมรรคมีองค์๘ มหาสติปัฏฐานสี่ อริยสัจ๔ โพฌงค์
    ยังสมบูรณ์ด้วยเนื้อหา ที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

    ส่วนที่ยกพระสูตรมานั้น ผมเองก็ได้พลิกไปดูบริบทหน้าหลังแล้ว
    ก็ยังไม่กล้าที่ระบุชัดเจนอะไรลงไป เพื่อไปสู่การปฏิบัติตามได้
    ลองพลิกไปให้ไกลกว่านี้อาจมีบริบทที่รองรับอยู่ก็ได้

    v
    v
    จอพระสูตรนี้ที่ติดว่า น่าจะลองศึกษาดู

    ภ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า
    คุณชาตินี้เป็นที่สงบระงับ ประณีต คือ
    ความสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งมวล
    ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับสนิท นิพพาน
    ดูกรอานนท์ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
    ไม่พึงมีอหังการ มมังการและมานานุสัย

    อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย
    ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอยู่
    ภิกษุพึงเข้าเจโตวิมุติและปัญญาวิมุตินั้นอยู่ด้วย
    ประการใด การได้สมาธิด้วยประการนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้ด้วยประการฉะนี้แล
    ก็แหละเราหมายเอาเช่นนี้ ได้ภาษิตไว้แล้วในปุณณกปัญหาในปารายนสูตร ดังนี้ว่า

    บุคคลใดรู้อัตภาพของผู้อื่น และอัตภาพของตนเป็นต้นในโลก
    ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหวในโลกไหนๆ เรากล่าวว่า
    บุคคลนั้น สงบระงับแล้ว ไม่มีทุจริตอันทำให้จิตกลุ้มมัวดุจควันไฟ
    ไม่มีกิเลสอันกระทบใจ หาความทะเยอทะยานมิได้ห้ามชาติและชราได้แล้ว ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๔๘๒ - ๓๕๑๑. หน้าที่ ๑๕๐ - ๑๕๑.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=3482&Z=3511&pagebreak=0

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  5. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ท่านธรรมภูต ตอบมาได้ดี ขอบคุณครับ
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    [๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว
    โดยลำดับสิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ
    จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลังปราศจากความน่ารัก
    มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า
    จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในวิญญาณ
    และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในวิญญาณได้
    ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
    จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2445&Z=2669&pagebreak=0

    ^
    ^
    จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    พระพุทธพจน์ชัดๆนะครับว่า
    จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
    ไม่ใช่จิตของข้าพเจ้าผู้รู้บ้างไม่รู้บ้าง เกิดๆดับๆ หรือจิตดับตายหายสูญ อยู่อย่างนั้นแล

    ก็เพราะเห็นจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ตามแบบอย่างที่เชื่อถือตามๆกันมา

    ไม่พิจารณาโดยแยบคาย ไม่เอาพระพุทธพจน์เป็นหลัก
    พระพุทธศาสนาจึงได้เรียวลง สอนกันไปได้
    ในสิ่งที่ขาดเหตุขาดผลรองรับ ตริตรองตามไม่ได้

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงปรินิพพาน จิตของพระต้องดับตายหายสูญไปด้วยหรือ?
    พระพุทธองค์ยังทรงอยู่กับเรานะ ที่ทรงตรัสสั่งสอนพระวักกลิว่า
    "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"ใช่หรือไม่?
    แสดงว่า เมื่อใครสามารถเข้าถึงอมตะธรรมได้จริงในสมัยนี้ ย่อมเห็นพระพุทธองค์ใช่หรือไม่?
    ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบนั้น เป็นกันที่ไหน?
    ที่พระวรกายอันเป็นสิ่งปฏิกูล เน่าเปื่อย หรือ
    จิตที่บริสุทธิ์หลุดพ้น แม้กามสวะ แม้ภาวสวะ แม้อวิชชาสวะกันแน่?

    คำว่า "ดับในภพนี้" พิจารณาดีๆจะเห็นได้ว่า ในพระสูตรนั้น
    พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงการดับ อวิชชา ตัณหา อุปาทานใช่หรือไม่?
    ไม่ได้ทรงกล่าวไว้ตรงไหนเลย"เราจักดับจิตในภพนั้น"ใช่หรือไม่?

    เจริญในะรรมทุกๆท่าน
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    ขุททกนิกาย มหานิทเทส
    (จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน)

    รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ชอบใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด.
    กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว.
    รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท.
    กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว.

    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดเจนขนาดนี้ ยังดัน...เอาอรรถกถามาแย้งอีกหรือ

    พระพุทธองค์ทรงแยกจิตกับมโนวิญญาณออกจากกันอย่างชัดเจน
    จิตรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ชอบใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด
    จิตรู้แจ้งรรมารมณ์ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท.

    ชัดเจนนะว่าใจเป็นช่องทางให้จิตรับรู้ธรรมารมณ์ใช่หรือไม่?
    เมื่อจิตรู้แจ้งธรรมารมณ์ดว้ยใจแล้ว มีทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจใช่หรือไม่?
    เมื่อจิตรู้แจ้ง ย่อมสำรอก ดับ สละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    จิตบริสุทธิ์คือพุทธะ

    จาก พราหมณวรรค
    ๑.พรหมายุสูตร

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างไรบุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์
    อย่างไรชื่อว่าเป็นผู้รู้จบเวท อย่างไรชื่อว่าเป็นผู้มีวิชชา ๓
    บัณฑิตบุคคลเช่นไรชื่อว่าเป็นผู้มีความสวัสดี อย่างไรชื่อว่าเป็นพระอรหันต์
    อย่างไรชื่อว่ามีคุณครบถ้วน อย่างไรชื่อว่าเป็นมุนี
    และบัณฑิตกล่าวบุคคลเช่นไรว่าเป็นพุทธะ?

    [๕๙๗] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
    ผู้ใดรู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้ เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุถึงความสิ้นชาติ
    ผู้นั้นชื่อว่า เป็นมุนีผู้รู้ยิ่งถึงที่สุด
    มุนีนั้นย่อมรู้ จิตอันบริสุทธิ์ อันพ้นแล้วจากราคะทั้งหลาย
    โดยประการทั้งปวง เป็นผู้ละชาติและมรณะได้แล้ว
    ชื่อว่ามีคุณครบถ้วนแห่งพรหมจรรย์ ชื่อว่าถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
    บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้เช่นนั้นว่าเป็น พุทธะ.


    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9195&Z=9483

    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ข้างต้นนั้น ชัดเจนในตัวเองนะครับ ไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้นครับ
    "จิตอันบริสุทธิ์ อันพ้นแล้วจากราคะทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง
    เป็นผู้ละชาติและมรณะได้แล้ว"? ใช่จิตบริสุทธิ์มั้ยครับ???
    บัณฑิตกล่าวถึงบุคคลผู้เช่นนั้น ว่าเป็นพุทธะ


    พระสูตรกล่าวไว้ชัดเจนแล้วนะครับว่า จิตอันบริสุทธิ์ อันพ้นแล้วจากราคะทั้งหลาย
    ไม่ใช่เกิดๆดับๆ ไปกับราคะทั้งหลายเหล่านั้น
    ความเกิดและความดับคืออุปกิเลสราคะทั้งหลายที่เกิดขึ้น ดับไปจากจิตนั่นเอง
    จิตจึงบริสุทธิ์ปราศจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายได้ จิตได้รับความบริสุทธิ์

    ในโอวาทปาติโมกข์ ที่ทรงกล่าวไว้ชัดเจนเช่นกันว่า
    ๑.ละชั่ว
    ๒.ทำดี
    ๓.ทำจิตใจให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย

    เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ที่ทรงอุบัติขึ้นมาในโลกได้สั่งสอนไว้

    "เมื่อนั้นจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ
    ศีล(งามในเบื้องต้น) สมาธิ(งามในท่ามกลาง) ปัญญา(งามในที่สุด)."

    ฉะนั้นเรื่อง "จิต" จึงเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนาที่เราต้องสนใจศึกษาอย่างจริงจัง
    ด้วยการลงมือปฏิบัติอริยมรรคมีองค์๘ ตามรอยพระบาทของพระบรมครูจอมศาสดา
    ที่ทรงให้เริ่มต้นด้วยสัมมาสมาธิ(มหาจัตตารีสกสูตร) จึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้

    เมื่อสามารถชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากราคะเครื่องเศร้าหมองได้แล้ว
    เราเรียกบุคคลเข่นนั้นว่า "พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"


    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  9. เกิดดับ

    เกิดดับ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +20
    ความเห็นส่วนตัวผมนะ
    จะใส่ใจไปทำไมกับบัญญัติว่ามันจะเรียกยังไงก็ช่าง
    ก็ให้รู้เห็นสภาวะตามที่มันปรากฏให้เห็นก็พอแล้ว
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ^
    ^
    แสดงคคห.ได้เต็มที่
    ถูกผิดไม่ว่ากัน เอาสัจธรรมเท่านั้น
    แต่ขอให้ตั้งอยู่บนเหตุผล ที่ตริตรองตามความเป็นจริงได้

    ต้องใส่ใจสิ เพราะเป็นคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา
    ให้อบรมฝึกฝนจิตของตน
    ให้มีสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเป็นสมาธิ

    คนที่มีจิตใจตั้งมั่นมีสติไม่หวั่นไหว ดีหรือไม่ดีหละ?
    เมื่อเข้าใจไปเองว่า จิตเกิดๆ-ดับๆ
    เอาแน่เอานอนไม่ได้ เหลวไหลไร้สาระไปเสียแล้ว
    จะมัวฝึกฝนอบรมจิตให้เสียเวลาไปทำไม?

    เท่ากับว่าที่พระบรมศาสดาทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว
    เรื่องหัวใจพระพุทธศาสนาก็ไม่มีความหมายนะสิ

    พูดนะมันง่าย "ให้รู้เห็นสภาวะตามที่มันปรากฏให้เห็นก็พอแล้ว"
    แล้วที่จะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้นะ ทำยังไงหละ?
    เวลาใครจะคุยอวดใครต่อใคร พูดยังไงก็ได้ทั้งนั้น ใช่หรือไม่?

    ต้องบอกออกมาได้ด้วยสิว่า ทำอย่างไร?
    จึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ตามบัญญัติ

    ถามว่า"แล้วคนที่ติดยา บ้าการพนันฯลฯ
    มันรู้เห็นสภาวะตามที่มันปรากฏให้เห็นที่ตนเองหรือเปล่า?
    คนพวกนั้น รู้ใช่มั้ยว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี ทำไมจึงยังไม่ยอมเลิกหละ?

    รู้หรือไม่ว่า บัญญัตินั้นสำคัญไฉน?
    เพราะคำบัญญัตินั้น ไม่ใช่เรื่องที่ติต่าง(ไม่มีอยู่จริง)ขึ้นเอง
    ต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงๆ จึงจะสมมุติบัญญัติสิ่งนั้นขึ้นมาได้ ใช่หรือไม่?

    สนทนาธรรมสมควรแก่ธรรม




     

แชร์หน้านี้

Loading...