เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    น้าปราบมาแล้ววุ๊ย น้าปราบมาแล้ววุ๊ย :cool:
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    มาให้รู้ว่ามา มาครั๊บ^^
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    มันสำคัญที่ว่า เอาไปใช้ยังไง ถึงจะเรียกว่า รู้รูปนาม
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ไปดีก่า โพสมาก เดี๋ยวคน ตามลบให้ เหนื่อย


    ถ้าเริ่ม ยิ้มไหม ? นี่ คริสหอวังมาเชียว ( *** คนขึ้นรถไฟฟ้า จะรู้ )
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พิจารณาที่ลักษณะครับ ^^

    ๑ ตรงความใส เยื่อตา
    ๒ ตรงภาพ หรือสีที่ปรากฏ
    ๓ ตรงที่เห็น อาการที่เห็น

    ผัสสะ ธรรม ๓ อย่าง เกิดพร้อมกัน

    ปัญญาแยกรู้ออกจากสิ่งที่ถูกรู้
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ใหม่ๆอาจจะงง เพราะดูยังก็เห็นเป็นวัตถุ คนสัตว์ถูกไหม

    พึงทราบว่าขณะนั้น ไปรู้ที่สัญญา ตัดสินเป็นสิ่งของ คนสัตว์

    นั้นแล สักกายทิฏฐิ เห็นตนในรูป เห็นรูปในตน
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ที่บอกแยกๆกันมานี่ กิเลสมันมาตอนไหน
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    กิเลสมันเกิดตั้งแต่เห็นแล้ว

    ตัณหาเกิดแล้ว มองชอบ ไม่ชอบ มองหาความหมาย มองหาเรื่องราว มองแล้วติดข้อง

    มองแล้วตาขุ่น มองแล้วตาใส มันแสดงออกมาหทด นี้แลตัณหาเกิดทางตา

    ลองไปค้นโสตตัณหา จักขุตัณหา ฯลฯ

    ที่เจริญรู้อย่างนี้ เพื่อดับความติดข้อง

    ก็ถามน้าปราบกลับ ขณะที่เห็นนั้นอะไรเห็น

    น้าปราบเห็นหรือ

    ลูกตาน้าปราบเห็นหรือ

    อะไรหนอที่กำลังเห็นอยู่ขณะนี้
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    โอยยยยย ไปดีก่า หัวใจเห็นแล้ว ฮิ๊วสสสสสสส
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มึนหรอ ^^

    อย่าไปเผลอรวมเข้าล่ะ
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE style="WIDTH: 494px; HEIGHT: 144px" border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=494 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 bgColor=#ffece3><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 vAlign=top width=119></TD><TD width=561>ข้อสำคัญ คือ ตอนที่เราเอาไปเจริญวิปัสสนา ต้องพิจารณาตรงที่กระทบ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คือ ตรงผัสสะ ว่ารูปนามเกิดขึ้น โดยอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
    คือ ตา+สี+แสงสว่าง+โยนิโสมนสิการ การเห็นจึงจะเกิดขึ้นได้
    มิใช่เราเป็นผู้เห็น เมื่อพิจารณาเห็นได้ดังนี้ย่อมละอัตตาที่ยึดถือว่าตัวตน
    และยังเป็นการแยกรูปแยกนาม เป็นการเจริญสายวิปัสสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=680 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 bgColor=#ffece3><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 vAlign=top width=119></TD><TD width=561>
    ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปาทาน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    กิเลสจะมาตอน ตรง เวทนา เพราะเวทนานี้เป็นที่อาศัยเกิดของ อนุสัยกิเลส
    เพราะขาดการโยสิโสมนสิการ ตัณหา-อุปาทานจึงเกิดขึ้น
    โสมนัสเวทนา เป็นที่อาศัยเกิดขึ้นของ ๑.กามราคานุสัย ๒.ภวรานุสัย ๓.ทิฏฐานุสัย ๔.มานานุสัย
    โทมนัสเวทนา เป็นที่อาศัยเกิดขึ้นของ ๑.ปฏิฆานุสัย
    อุเบกขาเวทนา เป็นที่อาศัยเกิดขึ้นของ ๑.วิจิกิจฉานุสัย ๒.อวิชชานุสัย
    ถ้าจะพูดโดยไม่ใช้หลักวิชาการมาก กิเลสจะเกิดขึ้นตรงตาที่กระทบแล้วทำให้เวทนาเกิด
    เมื่อโสมนัสเวทนาเกิด ตัณหาก็จะเข้ามาคือชอบใจ
    ในสิ่งที่ถูกเห็น จึงอยากได้ในสิ่งที่เห็น เมื่อได้มาแล้วอุปาทานก็ยึดว่านี่เป็นของเราทันที
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=680 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 bgColor=#ffece3><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 vAlign=top width=119></TD><TD width=561>
    อาการแบบนี้มีมากเพราะเป็นสิ่งเข้าใจยาก ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผู้จะศึกษาจึงมีน้อยจึงหันไปพูดว่าสู้ไปปฏิบัติเลยดีกว่า ง่ายด้วย ไม่ยุ่งยาก
    แต่พอไปปฏิบัติเข้าจริงๆ ยากยิ่งกว่าการศึกษาเป็นไหนๆ
    เพราะปฏิบัตินั้นมีทั้งของแท้ของเทียม เราอาจจะไม่สามารถแยกแยะว่าอันไหนของจริงอันไหนของปลอม
    เพราะเราขาดการศึกษาจึงแยกไม่ออก เช่นว่า อาจเกิดนิมิตในระหว่างการปฏิบัติ
    เพราะว่าเราไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้มาก่อน จึงคิดว่าใช่ ตรงนี้อันตรายอาจทำให้หลงได้
    หลงว่าตัวเองว่าได้ฌาน ได้อภิญญา ได้มรรค ผล ก็ขอบอกตรงนี้ว่า ก่อนจะเดินทางเราเตรียมตัวพร้อมหรือยัง? ถ้าพร้อม ลุยยยยย ย ย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กรกฎาคม 2012
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=702><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE style="WIDTH: 527px; HEIGHT: 64px" border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=527 align=center><TBODY><TR><TD>
    มหาภูตรูป ๔
    </TD></TR><TR><TD>มหาภูตรูป มี ๔ ได้แก่ ปฐวี. อาโป. เตโช. วาโย. มีสภาวลักษณะประจำตัวของตนโดยลำดั ดังนี้ :-
    ๑. ปฐวี เป็นรูปธรรม หรือรูปธาตุชนิดหนึ่งที่เรียกว่าธาตุดิน มีคุณลักษณะดังนี้

    กกฺขฬ ลกฺขณา มีความแข็ง เป็นลักษณะ
    ปติฏฐาน รสา มีการรับรูปทั้งหลาย เป็นกิจ
    สมฺปฏิจฉน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการรับซึ่งรูปธาตุทั้งปวง เป็นผล
    อวเสสาธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

    ปฐวีธาตุ มีความแข็งเป็นลักษณะนั้น คือ เมื่อเปรียบเทียบกับมหาภูตรูปที่เหลืออีก ๓ รูปแล้ว ปฐวีธาตุมีสภาพแข็งกว่ารูปอื่นๆ ในวัตถุสิ่งของอันใดอันหนึ่ง ถ้ามีปฐวีธาตุอยู่มากวัตถุนั้นๆ ก็จะปรากฎแข็งมาก เช่นไม้ หิน เหล็ก เป็นต้น แต่ถ้าวัตถุอื่นอันใด มีปฐวีธาตุจำนวนน้อย ลักษณะแข็งก็ปรากฏไม่มาก เช่น สำลี ยาง ฟองน้ำ เป็นต้น เมื่อสัมผัสจะมีลักษณะอ่อนหรือแข็งก็ตาม ธรรมชาตินั้นจัดเป็นปฐวีธาตุทั้งสิ้น ธาตุอื่นๆ นอกจากปฐวีธาตุแล้ว รูปธาตุอื่นๆ ไม่สามารถทำให้เกิดความรู้สึกแข็งหรืออ่อนปรากฏขึ้นได้โดยกายสัมผัส
    ฉะนั้น ปฐวีธาตุนี้ จึงเป็นที่อาศัยของรูปอื่นๆ เหมือนพื้นแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของสิ่งต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หมายความว่า สิ่งต่างๆทั้งหลายที่ปรากฎรูปร่าง สัณฐาน สีสัน วรรณะ ตลอดจนอารมณ์ต่างๆ ที่มีรูปารมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ เหล่านี้ ถ้าปราศจากปฐวีธาตุเสียแล้ว ก็จะปรากฏขึ้นไม่ได้ มีวจนัตถะว่า สหชาตรูปานิ ปถนฺติ ปติฏฺฐหนฺติ เอตฺถาติ = ปฐวี แปลความว่า รูปที่เกิดร่วมกันทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ในธรรมชาตินั้น ฉะนั้นธรรมชาติอันเป็นที่ตั้งอาศัยของรูปที่เกิดร่วมกันเหล่านั้นชื่อว่า ปฐวี
    ปฐวีธาตุ หรือธาตุดินนี้ มี ๔ อย่าง คือ
    ๑. ปรมัตถปฐวี หรือลักขณปฐวี ได้แก่ ปฐวีธาตุที่แสดงลักษณะแข็งและอ่อนให้พิสูจน์ได้ด้วยการถูกต้องสัมผัส โดยความรู้สึกทางกายมี ๒ ลักษณะ คือ
    ๑) กกฺขฬ ลกฺขณ หรือ ขรภาว มีสภาวลักษณะที่แข็ง
    ๒) อถทฺธ ลกฺขณ มีสภาวลักษณะที่อ่อน
    ปฐวีธาตุตามความหมายในข้อนี้จึงมุ่งหมายถึงธรรมชาติที่ทรงไว้ความแข็งและอ่อนเป็นลักษณะตามความเป็นจริงจึงเรียกว่าปรมัตถปฐวีธาตุ หรือลักขณปถวี
    ๒. สสมฺภารปฐวี หมายถึง ปฐวีธาตุอันเป็นส่วนประกอบของธาตุดินในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่แสดงไว้ตามนัยแห่งพระสูตรหรือที่เรียกว่า สุตฺตนฺตปฐวี ซึ่งยังแบ่งออกเป็น ๒ จำพวก
    ๑) อชฺฌตฺติกปฐวี ได้แก่ ธาตุดินภายใน หมายถึง ธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบที่มีอญู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย ในธาตวิภังคบาลี แสดงว่า มีอยู่รวม ๒๐ ได้แก่ เกสา-ผม / โลมา-ขน / นขา-เล็บ / ทนฺตา-ฟัน / ตโจ-หนัง / มํสํ-เนื้อ / มหารู-เอ็น / อฏฐิ-กระดูก / อฏฺฐิมิญฺชํ-เยื่อในกระดูก / วกฺกํ-ม้าม / หทยํ-หัวใจ / ยกนํ-ตับ / กิโลมกํ-พังพืด / ปิหกํ-ไต / ปปฺผาสํ-ปอด / อนฺตํ-ใส้ใหญ่ / อนฺตคุณํ-ใส้น้อย / อุทฺริยํ-อาหารใหม่ / กรีสํ-อาหารเก่า / มตฺถลุงฺคํ-มันสมอง
    ๒) พาหิรปฐวี เป็นธาตุดินภายนอก หมายถึงธาตุดินที่มิได้อยู่ในสัตว์ หรือสิ่งมีชีวิต ในธาตุวิภังคบาลี มีตัวอย่างโดยสังเขป ๖ ชนิด คือ
    อโย-เหล็ก / โลห-ทองแดง / รชต-เงิน / ชาตรูป-ทอง / ภูมิ-ดิน / ปาสาณ-ศิลา
    ๓) กสิณปฐวี หรือ อารมฺณปฐวี ไดแก่ ดินที่ใช้เป็นนิมิตรเครื่องหมายในการเจริญสมถภาวนา โดยการกำหนดปฐวี คือธาตุดินที่ใช้สมมติเรียกว่าอารมณ์กรรมฐาน
    ๔) สมฺมติปฐวี หรือปกติปกติปฐวี ได้แก่ ธาตุดินที่สมมติเรียกกันตามปกติว่า ที่ดิน แผ่นดิน หรือพื้นดินธรรมดาที่ใช้ทำเรือกสวนไร่นา เหล่านี้เป็นต้น
    ฉะนั้น ความหมายของธาตุทั้ง ๔ อย่างนี้ จึงมีความแตกต่างกันโดย ความเป็น ปรมัตถปฐวี/สสมฺภารปฐวี / กสิณปฐวี/ สมมติปฐวี ตามนัยดังกล่าวนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE style="WIDTH: 508px; HEIGHT: 1030px" border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=508 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 bgColor=#ffece3><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 vAlign=top width=119></TD><TD width=561>
    อาโป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>๒. อาโป เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เรียกว่า ธาตุน้ำ มีลักษณะดังนี้
    ปคฺฆรณ ลกฺขณา (วา) มีการไหล เป็นลักษณะ
    อาพนฺธน ลกฺขณา (หรือ) มีการเกาะกุม เป็นลักษณะ
    พฺยูหน รสา มีการทำให้เต็มหรือให้อิ่มชุ่ม เป็นกิจ
    สงฺคห ปจฺจุปฏฺฐานา มีการเชื่อมยึดให้ติดต่อกัน เป็นผล
    อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฐานา มีธาตุที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

    อาโปธาตุ คือธาตุน้ำ ถ้าน้ำมีอยู่เป็นจำนวนมากในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมทำให้สิ่งนั้นเหลวและไหลไปได้ ถ้ามีอยู่จำนวนน้อยก็ทำให้สิ่งนั้นๆเกาะกุมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน อุปมาเหมือนกาวและยางเหนียว ที่สามารถเชื่อมสิ่งของต่างๆ ให้ติดกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนได้ ฉันใด อาโปธาตุก็สามารถเชื่อมปรมาณูแห่ง ปฐวีธาตุให้เกาะกุมเป็นรูปร่างสันฐานได้ ฉันนั้นในวัตถุใดที่มีจำนวนอาโปมากกว่าปฐวีธาตแล้ว ด้วยอำนาจของอาโปธาตุนั้นเอง ทำให้ปฐวีธาตมีอำนาจลดน้อยลง จึงเป็นเหตุให้วัตถุนั้นมีความอ่อนเหลวและสามารถไหลไปได้ เช่นน้ำในแม่น้ำลำคลอง ที่เราเห็น ไหลไปมาได้ก็เพราะอาโปธาตุมีมากกว่าปฐวีธาตุ เมื่อปฐวีธาตุน้อยแล้ว ปฐวีธาตุนั้นแหละเป็นผู้ไหลไปด้วยอำนาจของอาโปธาตุ หาใช่อาโปธาตุไหลดังที่เราเข้าใจกัน เพราะอาโปธาตุ ที่เห็นด้วยตา หรือสัมผัสทางกายไม่ได้ เพียงแต่รู้ได้ด้วยใจเท่านั้นส่วนในวัตถุใดที่มีจำนวนอาโปธาตุน้อยกว่าปฐวีธาตุแล้ว อำนาจของอาโปธาตุเพียงแต่ทำให้ปรมาณูของปฐวีธาตุเกาะกุมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเท่านั้น ไม่อาจทำให้ทำให้ไหลไปได้ อาโปธาตุ มี ๒ อย่างคือ

    ก) อาโปธาตุ ที่มีปกติเป็นอาพันธนลักขณะ คือ ลักษณะเกาะกุมเมื่อถูกต้องกับอุณหเตโช คือความร้อนแล้ว ปัคฆรณลักษณะ คือ อาการไหลก็ปรากฎขึ้น ได้แก่ อาโปธาตุที่อยู่ในโลหะต่างๆ เช่น เหล็ก ทองแดง เงิน หรือ ขี้ผึ้ง เป็นต้น หมายความว่า อาโปธาตุที่อยู่ในสิ่งเหล่านี้ เมื่อถูกไฟเผาไหม้แล้วก็กลายเป็นของเหลว และสามารถละลายไปได้ แต่การไหลไปของวัตถุเหล่านั้น หาใช่ อาโปธาตุเป็นตัวไหลไม่ ปฐวีธาตุที่เกิดร่วมกับอาโปธาตุนั้นเองเป็นตัวไหล ในวัตถุสิ่งเดียวกันนั้นเองโดยกลับกัน ถ้าเอาไปใส่ในน้ำ เมื่อถูกความเย็นเข้า วัตถุเหล่านั้น ก็หาใช่เป็นการแข็งตัวของอาโปธาตุไม่ แต่เป็นการแข็งตัวของปฐวีธาตุนั่นเอง

    ข) อาโปธาตุ ที่มีปกติเป็นปัคฆรณลักษณะ คือ ลักษณะที่ไหลไป ถ้าถูกต้องกับสีหเตโช คือความเย็นแล้ว อาพันธนลักษณะ คือการไหลเกาะกุมก็จะปรากฎขึ้น ได้แก่ อาโปธาตุที่อยู่ในน้ำ เพราะธรรมดาน้ำเป็นของเหลวอยู่แล้ว ถ้านำน้ำไปใส่ในที่มีความเย็นสูง น้ำก็จะแข็งตัวเป็นก้อน และเมื่อเอาน้ำแข็งออกจากที่นั้นแล้ว น้ำแข็งถูกอากาศภายนอก ที่มีอุณหเตโชสูงกว่าก้อนน้ำแข็งนั้นก็จะกลายกลับเป็นของเหลวตามเดิม อาโปธาตุ หรือธาตุน้ำนี้ มีความหมาย ๔ อย่าง คือ

    ๑) ปรมตฺถอาโป หรือลักขณอาโป ได้แก่ ธาตุน้ำที่แสดงถึงสภาวะลักษณะไหล หรือเกาะกุมอันรู้ได้ด้วยใจ ไม่ใช่ด้วยการเห็น หรือการสัมผัส

    ๒) สสมฺภารอาโป หรือ สุตฺตนฺตอาโป คือธาตุน้ำที่ใช้ความหมายเป็นส่วนประกอบภายในร่างกาย หรือเป็นส่วนประกอบที่มีในพืชผลต่างๆอันมีมาในพระสูตร จึงเรียกว่า สุตฺตนฺอาโป อาโปธาตุตามความมุ่งหมายนี้มี ๒ จำพวก คือ

    ก) อตฺฌตฺติกอาโป ได้แก่ ธาตุน้ำ ภายใน หมายถึง ธาตุน้ำที่มีอยู่ทั่วไปภายในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย ในธาตุวิภังคบาลี มีแสดงไว้ ๑๒ ประการ

    ได้แก่ ปิตฺตํ-ดี / เสมฺหํ-เสมหะ / ปุพฺโพ-หนอง / โลหิตํ-เลือด / เสโท-เหงือ / เมโท-มันข้น / อสฺสุ-น้ำตา / วสา-มันเหลว / เขโฬ-น้ำลาย / สิงฺฆาณิกา-น้ำมูก / ลสิกา-ไขข้อ / มุตฺตํ-น้ำมูต(น้ำปัสสวะ)

    ข) พาหิรอาโป ได้แก่ธาตุน้ำภายนอก หมายถึง ธาตุน้ำที่มีอยู่ในสิ่งอื่นๆภายนอกร่างกายของสัตว์ ในธาตุวิภังคบาลีมีแสดงไว้มากมาย
    แต่ขอยกตัวอย่างพอเป็นสังเขป น้ำที่มีอยู่ในพืชผลไม้ต่างๆ เพียง ๖ ชนิด คือ มูลรโส=น้ำจากรากของต้ไม้ / ขนฺธรโส=น้ำจากลำต้นของต้นไม้ / ตจรโส=น้ำจากเปลือกไม้ / ปตฺตรโส=น้ำจากใบไม้ / ปุปฺผรโส=น้ำจากดอกไม้ / ผลรโส=น้ำจากผลไม้ / นอกจากนี้ยังมีธาตุอื่นๆ เช่นน้ำค้าง น้ำฝน เป็นต้น

    ๓) กสิณอาโป หรือ อารมฺมณอาโป คือ น้ำที่ใช้เป็นนิมิตหรืออารมณ์ของพระโยคาวจรที่ใช้ในการเจริญสมถกัมมัฎฐาน ได้แก่ น้ำนอ่าง ในขัน หรือในบ่อ ที่ใช้เพ่งเป็นอารมณ์เพื่อให้เกิดนิมิตต่างๆ

    ๔) สมฺมติอาโป หรือปกติอาโป ได้แก่ น้ำสมมติเรียกกันตามปกติ เช่น น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือในภาชนะที่ใช้ดื่ม ใช้อาบ ใช้ซักเสื้อผ้าเหล่านี้เราเรียกว่า น้ำ ตามปกติสมมติ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กรกฎาคม 2012
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE style="WIDTH: 494px; HEIGHT: 144px" border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=494 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 bgColor=#ffece3><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 vAlign=top width=119></TD><TD width=561>เตโช
    </TD></TR></TBODY></TABLE>๓. เตโช เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่าธาตุไฟ มีลักษณะร้อนหรือเย็น ลักษณะร้อนเรียกว่า อุณหเตโช ลักษณะเย็นเรียกว่า สีตเตโช
    เมื่อว่าคุณลักษณะพิเศษแล้ว มีดังนี้
    อุณฺหตฺตลกฺขณา....................................... มีไอร้อน .......... เป็นลักษณะ
    ปริปาจนรสา............................................. มีการทำให้สุก ... เป็นกิจ
    มทฺทวานุปฺปาทนปจฺจุปฏฐนา..................... มีอาการอ่อนนิ่ม .. เป็นผล
    อวเสสธาตุตฺตยปทฏฺฐานา ......................... มีธาตุที่เหลือ.......เป็นเหตุใกล้
    ในวิสุทธิมรรคแสดงว่า โย ปริปาจนภาโว วา อุณฺหวาโว วา อยํ เตโชธาตุ แปลว่า ธรรมชาติที่ทรงภาวะการสุกงอมก็ดี ความอบอุ่นในกายนั้นก็ดี เรียกว่า เตโชธาตุ
    อธิบาย เตโชธาตุ คือธาตุไฟ ที่มีลักษณะร้อน เรียกว่า อุณหเตโช ที่มี ลักษณะเย็น เรียกว่า สีหเตโช เตโชทั้งสองชนิดนี้ มีสภาพเป็นไอ เป็นลักษณะ (อุณฺหตฺตลกฺขณา) หมายความว่า อุณหเตโช มีไอร้อน เป็นลักษณะ สีตเตโช มีไอเย็น เป็นลักษณะ เตโชทั้งสองนี้ ต่างก็มีหน้าที่ทำให้ต่างๆ สุกและทำให้ละเอียดนุ่มนวล เช่นอาหารต่างๆ เป็นต้น สุกด้วยความร้อน หรือบางอย่างสุกด้วยความเย็น ดังวจนัตถะ
    แสดงว่า เตเชติ ปริปาเจตีติ = เตโช แปลว่าความว่า ธรรมชาติที่ทำให้สุก ธรรมชาตินั้นชื่อว่าเตโช

    เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟนี้ มีความหมายแบ่งออกเป็น ๔ อย่างคือ
    ๑) ปรมตฺถเตโช หรือ ลกฺขณเตโช ได้แก่ ไฟธาตุที่มีสภาวะลักษณะให้พิสูจน์ได้จากการสัมผัสถูกต้องได้ด้วยกายโดยแสดงลักษณะร้อนหรือลักษณะเย็น
    ๒) สสมฺภารเตโช หรือ สุตฺตนฺตเตโช ได้แก่ ไฟธาตุอันเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ในร่างกาย หรือที่แสดงไว้ตามนัยแห่งพระสูตร แบ่งออกเป็น ๒ จำพวกคือ
    ก. อชฺฌตฺติกเตโช ได้แก่ ธาตุไฟภายใน หมายถึงธาตุอันเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ภายในของสัตว์ที่มีชีวิต ในธาตุวิภังคบาลี แสดงธาตุไฟจำพวกนี้ไว้ ๔ ประการ
    ๑. อุสฺมาเตโช คือ ไฟธาตุที่มีประจำอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายที่ เรียกว่า ไออุ่นภายในร่างกาย
    ๒. ปาจกเตโช คือ ไฟธาตุที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร
    ๓. ชิรณเตโช คือ ไฟธาตุ ที่ทำให้ร่างกายแก่ชราทรุดโทรม เช่น ทำให้ ผมหงอก ฟันหัก หนังเหียว เป็นต้น
    ๔. สนฺตาปนเตโช คือ ไฟธาตุที่มีความร้อนมาก ได้แก่ไฟธาตุที่ทำให้ร้อนถึงเป็นไข้

    ข. พาหิรเตโช ได้แก่ธาตุไฟภายนอก หมายถึง ธาตุไฟที่มีอยู่ในสิ่งต่างๆ ที่มีชีวิต ในธาตุวิภังคบาลีกล่าวไว้มากมาย แต่นำมาแสดงเพียงสังเขป ๕ อย่าง คือ
    กฏฺฐคฺคิ = ไฟฟืน. ติณคฺคิ = ไฟหญ้า. โคมยคฺคิ = ไฟขี้วัวแห้ง. ถูสคฺคิ = ไฟแกลบ. สงฺการคฺคิ = ไฟขยะ

    ๓) กสิณเตโช หรือ อารมฺมณเตโช ได้แก่ อารมฺมณเตโช ได้แก่ ไฟที่ใช้เป็นนิมิตอารมณ์เพื่อการเพ่งกสิณ จึงเรียกว่า กสิณเตโช หรือ อารมฺมณเตโช

    ๔) สมฺมติเตโช หรือ ปกติเตโช ไดแก่ ไฟตามธรรมดาที่สมมติโวหารของชาวโลกที่ใช้เรียกขานกันตามปกติ เช่นไฟฟ้า ไฟถ่าน ไฟฟืน หรือไฟแก๊ส เป็นต้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กรกฎาคม 2012
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE style="WIDTH: 485px; HEIGHT: 144px" border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=485 align=center><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 bgColor=#ffece3><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 vAlign=top width=119></TD><TD width=561>วาโย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>๔. วาโย เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่า ธาตุลม มีคุณลักษณะเฉพาะตัวดังนี้
    วิตฺถมฺภน ลกฺขณา .................มีการเคร่งตึง................... เป็นลักษณะ
    สมุทีรณ รสา ............. .....มีการเคลื่อนไหว................ เป็นกิจ
    อภินิหาร ปจฺจุปฏฺฐานา . .มีการน้อมไป หรือเคลื่อนย้ายไป เป็นผล
    อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา ..มีธาตุที่เหลือ.....................เป็นเหตุใกล้
    ในวิสุทธิมรรค แสดงว่า โย วิตฺถมฺภน วาสมุทีรณภาโว วา อยํ วาโยธาตุ แปลความว่า ธรรมชาติใดที่ทรงภาวะเคร่งตึง
    หรือภาวะเคลื่อนไหวที่มีอยู่ภายในร่างกายนั้น เรียกว่า วาโยธาตุ
    วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มี ๔ อย่าง คือ
    ๑) ปรมตฺถวาโย หรือ ลกขณวาโย ได้แก่ ธาตุลมที่มีลักษณะให้พิสูจน์รู้อาการเคร่งตึง หรือการเคลื่อนไหวได้
    มีลักษณะประจำตัวอยู่ ๒ ประการ
    วิตฺถมฺภนลกฺขณา ได้แก่ มีลักขณะเคร่งตึง หรือ
    สมุทีรณลกฺขณา ได้แก่ มีลักษณะเคลื่อนไหว
    ๒) สสมฺภารวาโย หรือ สุตฺตนฺตวาโย ได้แก่ ธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ภายในร่างกายของสัตว์ที่มีชีวิต
    หรือธาตุลมที่แสดงไว้ตามนัยพระสูตรแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
    ก. อชฺฌตฺติกวาโย ได้แก่ ธาตุลมภายใน หมายถึง ธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบ
    ภายในร่างกายของสัตว์ที่มีชีวิต ซึ่งในธาตุวิภังคบาลี แสดงว่ามีอยู่ ๖ อย่าง คือ
    ๑) อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่นการเรอ การหาว การไอ การจาม เป็นต้น
    ๒) อโธคมวาโย ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ เช่น การผายลม การเบ่ง (ลมเบ่ง)เป็นต้น
    ๓) กุจฺฉิสยวาโย หรือ กุ๗ฉิฏฺฐวาโย ลมที่อยู่ในช่องท้อง ทำให้ปวดท้อง เสียดท้อง เป็นต้น
    ๔) โกฎฺฐาสยวาโย ลมที่อยู่ในลำไส้ เช่นท้องลั่น ท้องร้อง เป็นต้น
    ๕) องฺคมงฺคานุสาริวาโย ลมที่พัดอยู่ในร่างกาย ทำให้ไหวร่างกายได้
    ๖) อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้า-หายใจออก
    ข. พาหิรวาโย ได้แก่ ธาตุลมภายนอก หมายถึง ธาตุลมที่อยู่ภายนอกสิ่งที่มีชีวิต ในธาตุวิภังคบาลียกเป็นตัวอย่างสังเขป ๖ ชนิด คือ
    ปุรตฺถิมวาตา = ลมทิศตะวันออก
    ปจฺฉิมวาตา = ลมทิศตะวันตก
    อุตฺตรวาตา = ลมทิศเหนือ
    ทกฺขิณวาตา = ลมทิศใต้

    สีตวาตา = ลมเย็น(ลมหนาว)
    ๓) กสิณวาโย หรือ อารมฺมณวาโย ได้แก่ ลมที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณของผู้ทำฌาน โดยกำหนดเอาธาตุลมที่ทำให้ก้อนเมฆลอยไป
    ใบไม้ไหว หรือเส้นผมปลิว เป็นนิมิตในการพิจารณาว่า เป็นไปด้วยอาการของธาตุลมพร้อมทั้งบริกรรมว่า วาโย ๆ
    ๔) สมฺมติวาโย หรือ ปกติวาโย ได้แก่ลมตามธรรมชาติที่พัดไปมาอยู่เป็นปกติ
    อธิบาย วาโยธาตุ คือธาตุลมนี้ ถ้ามีลักษณะเคร่งตึงก็ เรียกว่า วิตถัมภนวาโย เป็นลมที่ทำให้รูปที่เกิดพร้อมกับตนนั้นตั้งมั่นไม่เคลื่อนไหว
    ภายในร่างกายของเรานี้ ถ้าวิตถัมภนวาโยมีมากทำให้ผู้นั้นรู้สึกตึงปวดเมื่อยไปทั่วร่างกายหรือมิฉะนั้นเกิดขึ้นในขณะที่มีอาการเก็งแขน ขา
    หรือขณะที่เพ่งตาดูอะไรไม่กระพริบ ถ้าเกิดภายนอกร่างกาย คือ เกิดในวัตถุสิ่งของต่างๆ ก็ทำให้สิ่งนั้นตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง หรือทำให้ตึง
    ด้วยอำนาจของวิตถัมภนาวาโย เช่น ในยางรถที่สูบลมแล้ว หรือในลูกบอลที่อัดลมเข้าไปภายในก็จะตึงขึ้น เพราะมีวิตถัมภนวาโย
    วายติ สหชาตธมฺเม อปตมาเน กตฺวา วหตีติ = วาโย
    แปลความว่า ธรรมชาติใด ย่อมนำให้รูปที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับตนตั้งมั่นไม่เคลื่อนไหว ธรรมชาตินั้นหรือธาตุนั้น ชื่อว่า วาโย
    ธาตุลมอีกลักษณะหนึ่งมีลักษณะเคลื่อนไหว เรียกว่า สมุทีรณวาโย หรือ บางทีเรียกว่า สมีรณวาโย เป็นธาตุลมที่ทำให้รูปอันเกิดพร้อมกัน

    กับตนนั้นเคลื่อนไหวไปมาได้ เช่นอาการเคลื่อนไหวของสัตว์ทั้งหลายที่มีการเคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆ หรือมีการกระพริบตา กระดิกนิ้ว
    กระดิกเท้า หรือขับถ่ายสิ่งโสโครกออกจากร่างกายตลอดจนการคลอดบุตรเหล่านี้เป็นไปด้วยอำนาจของสมีรณวาโยทั้งสิ้น ส่วนลมที่เคลื่อนไหวอยู่ภายนอกสัตว์ที่มีชีวิตนั้น ย่อมทำให้วัตถุสิ่งของต่างๆเคลื่อนไหวไปจากที่เดิม ดังวจนนัตถะว่า
    วายติ เทสนฺตรุปฺปตฺติ เหตุภาเวน ภูตสงฺฆาติ ปาเปตีติ = วาโย
    แปลความว่าธรรมชาติหรือธาตุใดย่อมทำให้มหาภูตรูปที่เกิดพร้อมกันกับตน เคลื่อนไปที่อื่นโดยความเป็นเหตุให้เกิดความเคลื่อนไหว
    จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งธรรมชาติหรือธาตุนั้นชื่อว่า วาโย
    ตามที่กล่าวมาถึง ปฐวี อาโป เตโช วาโย อันเป็นธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ชื่อว่า เป็นมหาภูตรูป เพราะเป็นรูปใหญ่ที่เป็นประธานแก่รูปอื่นๆ
    และปรากฎชัดเจน เช่น ในวัตถุสิ่งของต่างๆ จะใหญ่หรือเล็กก็ตามที่ปรากฎเป็นรูปร่างสัณฐานขึ้นมาได้นั้น ก็เพราะมหาภูตรูปที่รวมกัน
    มากบ้างน้อยบ้างนั่นเอง ฉะนั้นมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้เมื่อว่าโดยสัณฐานแล้วก็ใหญ่กว่ารูปอื่นๆเมื่อว่าโดยสภาวะก็ปรากฎชัดเจนกว่ารูปอื่นๆ
    สมดังวจนัตถะที่แสดงว่า
    มหนฺตานิ หุตฺวา ภูตานิ ปาตภูตานีติ = มหาภูตานิ
    แปลความว่า รูปเหล่าใดเมื่อว่าโดยสัณฐานและว่าโดยสภาพแล้วเป็นใหญ่และปรากฎชัด รูปเหล่านั้น ชื่อว่า มหาภูตรูป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    เฮ้อ!!!กลุ้ม

    ของดี ของแท้ มีอยู่ในอภิธัมเม อภิวินเย

    ไม่นำพา แต่กลับชอบนอนแช่อยู่ในตำราอภิธรรม

    มีคำสละสลวยรวยคำพูด โยงกันไปมาเยอะแยะ

    แต่หาเหตุผล ให้ตริตรองตามไม่ได้ ก็ยังจะเชื่อตามกันไป

    ส่วนธรรมะที่แท้จริงที่พระพุทธองค์ให้ทรงค้นหานั้น

    ให้ค้นหาได้ที่กายยาววา หนาคืบ กว้างแค่ศอกที่มีจิตเป็นผู้ครอง

    กลับไม่ยอมอาศัยความเพียรปฏิบัติสมาธิภาวนาเพื่อค้นหา

    กลับมานั่งบ้าท่องจำมันแต่ตำรา ใครท่องได้เยอะพ่นออกมาได้มาก คนนั้นเก่ง

    ทั้งๆที่สิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องภายนอกกาย

    เป็นเพียงพทหิทธาธัมมา ไม่ใช่อัชฌัตตา ธัมมาที่ทรงให้ค้นหา

    การไม่เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิกขาบท สมาธิ

    พระพุทธพจน์ตรัสไว้ชัดๆว่าเป็นเหตุแห่งสัทธรรมปฏิรูปในอนาคต

    เพราะนักตำรานิยมมีความเชื่อแบบผิดๆที่ถูกสอนๆกันมาว่า

    สิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่จริงเป็นเพียงสมมุติขึ้นมา(ติต่าง)เท่านั้น

    ถ้าใครยังมีความเชื่อแบบผิดๆอย่างนี้อยู่

    ยังกล้าปฏิญาณตนว่าเป็นชาวพุทธอยู่อีกหรือ?

    เจริญในธรรมทุกท่าน รู้สึกอายแทนจริงๆ ไปล่ะ

     
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
                   ธาตุมนสิการบรรพ               
                   [๑๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาด้วยอำนาจปฏิกูลมนสิการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจการมนสิการถึงธาตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปรํ ไว้.
                   ในคำเหล่านั้นมีการพรรณนาความพร้อมกับคำอุปมาเป็นการเปรียบเทียบกัน ดังนี้ :-

                   เปรียบพระเหมือนคนฆ่าวัว               
                   คนฆ่าวัวบางคนหรือลูกมือของเขาที่เป็นลูกจ้างฆ่าวัวแล้ว ชำแหละแล้ว ต้องแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ นั่ง (ขาย) อยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง. กล่าวคือที่ท่ามกลางถนนใหญ่ที่แยกไป ๔ ทิศฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายตามที่สถิตอยู่แล้วโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งอิริยาบถทั้ง ๔ และตามที่ดำรงอยู่แล้ว เพราะตามที่ได้ตั้งปณิธานไว้อย่างนี้ว่า มีอยู่ในกายนี้ (คือ) ธาตุดิน ฯลฯ ธาตุลม.

                   มีพุทธาธิบายไว้อย่างไร?
                   มีพุทธาธิบายไว้ว่า :-
                   คนฆ่าโค เมื่อกำลังเลี้ยงโคก็ดี กำลังจูงไปสู่ที่ฆ่าสัตว์ก็ดี ครั้นจูงไปแล้วกำลังผูกให้ยืนอยู่ที่นั้นก็ดี กำลังฆ่าก็ดี กำลังดูวัวที่เขาฆ่าแล้วก็ดี ความหมายรู้ว่าแม่โค ยังไม่จางหายไปตลอดเวลาที่ยังไม่ชำแหละแม่โคนั้นแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ แต่ครั้นนั่งแบ่ง (เนื้อ) แล้ว ความหมายรู้ว่าแม่โค ก็จะจางหายไป. ความหมายรู้ว่าเนื้อ ก็จะเป็นไปเข้ามาแทนที่ เขาจะไม่มีความคิดอย่างนี้ว่าเราขายแม่โค เขาเหล่านี้ซื้อแม่โค. โดยที่แท้แล้ว เขาจะมีความคิดอย่างนี้เท่านั้นว่าเราขายเนื้อ เขาเหล่านี้ซื้อเนื้อฉันใด.

                   ในเวลาที่ภิกษุแม้รูปนี้ยังเป็นพาลปุถุชนอยู่ก่อนก็เช่นนั้นเหมือนกัน ความหมายรู้ว่าสัตว์หรือบุคคลของท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ก็ดี ผู้บวชแล้วก็ดี ยังไม่อันตรธานไป ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ทำกายนี้นั้นเอง ตามที่สถิตอยู่แล้ว ตามที่ตั้งอยู่แล้วให้เป็นการแยกออกไปจากก้อนแล้วเห็นโดยเป็นธาตุ แต่เมื่อท่านพิจารณาเห็นอยู่โดยเป็นธาตุ สัตตสัญญา (ความหมายรู้ว่าสัตว์) ของท่านก็จะอันตรธานไป จิตจะตั้งอยู่ด้วยอำนาจของธาตุนั้นเอง.

                   เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า เธอจะพิจารณาเห็นกายนี้ตามที่สถิตอยู่แล้ว ตามที่ตั้งอยู่แล้วโดยเป็นธาตุว่า ในกายนี้มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคฆาตก์ผู้ขยัน หรือ ฯลฯ วาโยธาตุ แม้ฉันใด.
                   อธิบายว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร (โยคี) เหมือนคนฆ่าโค ความหมายรู้ว่าสัตว์ เหมือนความหมายรู้ว่าแม่โค อิริยาบถ ๔ เหมือนทางใหญ่ ๔ แพร่ง การพิจารณาเห็น (กาย) โดยเป็นธาตุ เหมือนนายโคฆาตก์ผู้นั่งแบ่ง (เนื้อ) ออกเป็นส่วนๆ. นี้คือการพรรณนาความตามพระบาลีในธาตุมนสิการบรรพนี้.

                   ส่วนกถาว่าด้วยกรรมฐาน ได้ให้พิสดารไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
                   บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือมีปกติพิจารณาเห็นกายในกายของตนตามกาล หรือในกายของผู้อื่นตามกาล อยู่อย่างนี้ คือโดยการกำหนดธาตุ ๔.
                   คำต่อจากนี้ไปมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ. เพราะว่าในธาตุมนสิการบรรพนี้ สติที่กำหนดธาตุ ๔ เป็นทุกขสัจอย่างเดียว.
                   บัณฑิตพึงทราบช่องทางแห่งธรรมเครื่องนำออก (จากทุกข์) ตามที่ได้อธิบายความประกอบมาอย่างนี้แล.
                   คำที่เหลือเช่นกับคำก่อนนั้นเอง ดังนี้แล.

                   จบธาตุมนสิการบรรพ               

                            
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กรกฎาคม 2012
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
    ธรรมสังคณีปกรณ์



    ปัญจกนิทเทศ
    [๖๕๖] รูปที่เรียกว่า ปฐวีธาตุ นั้น เป็นไฉน?
    ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายใน หรือภายนอก
    ก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ.
    รูปที่เรียกว่า อาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
    ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเครื่อง
    เกาะกุมรูป เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม อันใด
    รูปทั้งนี้เรียกว่า อาโปธาตุ
    รูปที่เรียกว่า เตโชธาตุ นั้น เป็นไฉน?
    ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น
    เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า
    เตโชธาตุ.
    รูปที่เรียกว่า วาโยธาตุ นั้น เป็นไฉน?
    ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป เป็นภายในหรือภายนอก
    ก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า วาโยธาตุ.
    รูปที่เป็น อุปาทา นั้น เป็นไฉน?
    จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปที่เป็นอุปาทา.
    สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๕ อย่างนี้
    ปัญจกนิทเทศ จบ
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    หลง กับ หมาน ยากจะเห็นธรรมในชาตินี้ เพราะว่า สองคนนี้มันไปปรามาสพระอริยเจ้าเอาไว้เยอะ
    กรรมตัวนี้ แรงมาก คนประมาทนึกว่าเป็นเรื่องเล่นๆ เวลามันปิด ทำอย่างไรมันก็ไม่เห็น
    บอกไม่รู้กี่ครั้งว่า ให้สำนึกแล้วไปกราบขอขมา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่า กรรมอันใดที่ตนพลั้งเผลอไปขอขมา
     
  20. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +1,459
    “คนที่รู้จักเพชรพองู ๆ ปลา ๆ กับคนไม่รู้จักเพชรเสียเลย
    คนทั้งนี้จะไม่สามารถรู้จักเพชรแท้และปลอมได้เลย
    แต่คนที่รู้จักเพชรแท้ พร้อมทั้งเจียระไนเพชรขึ้นเองได้อย่างคล่องแคล่ว
    ผู้นี้เองจะรู้จักเพชรแท้หรือปลอมได้อย่างชัดเจน

    คนที่รู้จักธรรมพองู ๆ ปลา ๆ กับคนที่ไม่รู้จักธรรมเสียเลย
    คนทั้งนี้จะไม่สามารถรู้ธรรมว่าเป็นของจริงหรือของปลอมได้เลย
    แต่คนที่รู้จักธรรมแท้ พร้อมทั้งที่เกิดขึ้นแห่งธรรมและที่ดับแห่งธรรม
    โดยความรอบคอบด้วยปัญญา และพร้อมทั้งความไม่ถือมั่นในธรรม
    ผู้นี้เองจะสามารถรู้จักธรรมที่แท้จริงหรือธรรมปลอม
    ในเมื่อธรรมสิงสถิตอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน”

    (ธรรมคู่แข่งขัน : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
     

แชร์หน้านี้

Loading...