เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,805
    ค่าพลัง:
    +7,940
    คุณกล่าวหาว่า ลุงหมาน กับ อาหลง ไปปรามาสพระอริยะเจ้า

    ไม่ทราบว่า คุณ เห็นมากับตา ประจักษ์กับตัว หรือ ?

    ถ้าเห็นมากับตา ช่วยบอกได้ไหมว่า เขาไปปรามาส พระเริยะเจ้า ในนาม ว่าอะไร

    สมมติว่า คุณไม่ได้เห็นมากับตา ประจักษ์กับตัว แต่เป็นเพราะ ฟังความ
    เขาเล่ากันมา ก็ช่วยบอกได้ไหมว่า ใครเล่าให้คุณฟัง ว่าเขาไปปรามาส
    พระอริยะเจ้า แล้ว พระอริยะเจ้าที่คุณฟังเขามา พระท่านนั้นชื่ออะไร

    สมมติว่า คุณไม่ได้เห็นกับตา ไม่ได้ประจักษ์กับตัว อีกทั้งไม่ได้ฟัง
    ความมาจากปากใคร แต่เป็นเพราะ แล่นไปรู้ไปเห็นด้วยวิธีวิเศษ
    อื่นๆอันเกิดจากแดนทิพย์จะพึงบอกกันและกัน ก็ช่วยบอกได้ไหมว่า
    เขาไปปรามาสพระชื่ออะไร

    ถ้าทั้งหมด ไม่รู้ว่า ปรามาสพระอริยะเจ้า ชื่ออะไร จะให้สาธุชน
    เขาเข้าใจการกระทำของคุณอย่างไร ที่พูดจากหาหลักฐาน สืบสวน
    เอาข้อเท็จจริงจากปากใครก็ไม่ได้
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    น่าตลกขบขัน คนไข้มีบาดแผลไปหาหมอ ต้องไปค้นหาวัตถุต้นเหตุบาดแผลหรือ
    ลองไปถามเจ้าตัวดูเองสิว่าไปปรามาสใครเอาไว้บ้าง
     
  3. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,805
    ค่าพลัง:
    +7,940
    ตลกเข้าไปใหญ่ ก็ ถ้า สองคนเขานั้นรู้ว่า คนที่เขาปรามาสเป็นพระอริยะ เขาจะทำหรือ !?

    ดังนั้น เขาอาจจะไม่รู้ก็ได้ว่าคนที่เขาปรามาสนั้นเป็นพระอริยะ เขาจึงได้พลั้งเผลอไป
    โดยไม่ได้เจตนาจะไปทำให้เขาเสื่อมจากความเป็นอริยะ

    คนที่รู้ หรือ ไปยกว่ารู้ ก็แปลว่า ต้องรู้ ต้องเห็น หรือฟังความมาจากใคร หรือ จากสรรพ
    สัตว์ใดๆ มันกระซิบบอก ......หากมันเป็นประโยชน์ ที่จะพึงทำให้เขาทราบว่านั่นพระ
    อริยะ เขาจะได้ ลด หรือ พึงระวัง

    ก็จะสมกับการมากล่าว เพื่อประโยชน์

    แต่ถ้ามายกลอยๆ ประโยชน์อันใดหาไม่ได้ แบบนี้จะให้ สาธุชนเขาพิจารณา
    การกล่าวของคุณอย่างไร ที่พูดจากหาหลักฐาน สืบสวน เอาข้อเท็จจริงจาก
    ปากใครก็ไม่ได้ เอาประโยชน์อะไรไม่ได้ <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ใครคือพระอริยะเจ้า? เอาไว้เยอะแค่ไหน? ที่ไหน? เมื่อไหร่ ? ตรงไหน?ไปกับใคร? ขันธ์เห็นที่ไหน? หรือใครเป็นผู้บอก ? บอกมากี่ครั้งแล้ว ? บอกตรงไหน ? โพสท์ที่เท่าไหร่? ว่ามาๆ .....อย่ามั่วบาปกรรมน่า

    กำลังรอให้ถามอยู่...กล่าวมาได้มั่วแท้ๆ แล้วต่อๆไปจะโดนข้อหาอะไรอีก?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กรกฎาคม 2012
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ลองกดดูแล้วจะไม่ปากพล่อยๆ

    พระครูสมุห์ทวี เกตุธมฺโม

    คนที่ไร้ศึกษามันก็ต้องโง่เป็นธรรมดา โง่แล้วทำเป็นว่าฉลาดนี่ซิ อุ้ย ! จะสำรอก

    "ให้ค้นหาได้ที่กายยาววา หนาคืบ กว้างแค่ศอกที่มีจิตเป็นผู้ครอง"

    ธรรมะมีแค่นี้หรือเห็นยกเอาแสดงบ่อยมาก ไอ่พวกฝาชีเอาไปครอบทำเป็นฝาชาม ก็น่าอายอยู่หรอกน่า ชาตินี้ทั้งชาติก็ไม่ได้ศึกษา ไปเหอะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กรกฎาคม 2012
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]
    ปสาทรูป ๕
    อุปาทายรูป หมายถึง รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิดมี ๒๔ รูป ได้แก่ :-
    ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป ๕
    ปสาทรูป คำว่า ปสาท แปลว่าความใส ปสาทรูป หมายถึง รูปที่มีความใสสามารถในการรับรู้อารมณ์ได้ คล้ายกระจกเงาที่มีความใส
    ย่อมสามารถรับภาพต่างๆภายนอกได้ ถ้ากระจกเลาขุ่นมัวเสียแล้ว ก็ไม่สามารถรับภาพเหล่านั้นได้เลย
    ปสาทรูป คือรูปที่มีความใสนี้มีอยู่ ๕ อย่างต่างๆกัน ได้แก่ จักขุปสาทรูป. โสตปสาทรูป. ฆานะปสาทรูป. ชิวหาปสาทรูป. กายปสาทรูป.
    ดังจะแสดงปสาทรูปทั้ง ๕ โดยลำดับในวันต่อไป

    ๑. จักขุปสาทรูป
    จักขุปสาทรูป เป็นรูปชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรม มีความใสดุจกระจกเงา และสามารถรับรูปารมณ์ คือสีต่างๆได้ ตั้งอยู่ในระหว่างกลางตาดำ
    มีเยื่อตา ๗ ชั้น มีสัณฐานโตประมาณเท่าหัวเหา มีหน้าที่สำเร็จกิจ ๒ ประการ คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณจิตประเภทหนึ่ง
    และเป็นทวารอันประตูเกิดแห่งจักขุทวารวิถีอีกประเภทหนึ่ง

    จักขุปสาทรูปนี้ มีคุณลักษณะพิเศษอยู่ ๔ ประการ
    ๑. มีความใสของมหาภูตรูป ที่กระทบรูปารมณ์ เป็นลักษณะ
    ๒. มีการชักนำมาซึ่งรูปารมณ์ เป็นกิจ
    ๓. มีการเป็นที่ตั้งรองรับ จักขุวิญญาณจิต เป็นผล
    ๔. มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม อันประสงค์ที่จะเห็น เป็นเหตุใกล้

    จักขุปสาทรูปนี้จึงไม่ได้หมายถึงตาหรือลูกตาทั้งลูก แต่มุ่งหมายเอาเฉพาะจักขุปสาทรูปที่ตั้งอยู่กลางตาดำโดยเฉาะเท่านั้น
    ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงความหมายของจักขุไว้เป็น ๒ ประการ คือ มังสจักขุ และ ปัญญาจักขุ

    มังสจักขุ ได้แก่ นัยน์ตาเนื้อที่ใช้มองสิ่งต่างๆได้ เช่นนัยน์ตาของสัตว์ ทั้งหลาย ว่าโดยสภาวธรรมแล้วก็ได้แก่ จักขุปสาทรูปนั่นเอง
    ปัญญาจักขุ ได้แก่ ความสามารถในการรู้เรื่องต่างๆ ด้วยปัญญาคือ เป็นการรู้ได้ทางใจ ไม่ใช่รู้ได้ด้วยตาเนื้อ
    ปัญญาจักขุนี้พระพุทธองค์ยังแสดงไว้เป็น ๕ ชนิด คือ

    ๑. พุทธจักขุ หมายถึง ญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่หยั่งรู้ในอัธยาศัยของสัตว์โลกทั้งปวงได้ เรียกว่า อาสยานุสยญาณ
    และญาณปัญญาที่สามารถรู้นามอินทรีย์(สัทธินทรีย์. วิริยินทรีย์. สตินทรีย์. สมาธินทรีย์.ปัญญินทรีย์.) ของสัตว์ทั้งหลายว่า
    ยิ่งหรือหย่อนเพียงใด ที่เรียกว่าอินทริยปโรปริยัติญาณ องค์ธรรม ได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง
    ๒. สมันตจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรอบรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งบัญญัติและปรมัตถธรรม ที่เรียกว่า
    สัพพัญญุตญาณ องค์ธรรม ได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตดวงที่ ๑
    ๓. ญาณจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่ทำให้สิ้นอาสวะกิเลสที่เรียก อรหันตมัคคญาณ หรืออาสวักขยญาณ องค์ธรรม ได้แก่
    ปัญญาเจตสิกในอรหันตตมัคคจิต
    ๔. ธรรมจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระอริยะบุคคลเบื้องต่ำทั้งสาม คือ พระโสดาบัน. พระสกทาคามี. พระอนาคามี.
    อแงค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่มัคจิตเบื้องต่ำ ๓
    ๕. ทิพพจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกลแสนไกลได้อย่างละเอียดด้วยอำนาจสมาธิ ที่เรียกว่า
    อภิญญาสมาธิ องค์ธรรม ได้แก่ อภิญญาจิต ๒ ดวง

    ปัญญาจักขุทั้ง ๕ ประการนี้ พุทธจักขุ และ สมันตจักขุ ย่อมมีได้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
    ส่วนปัญญาที่เหลือ ๓ ย่อมเกิดแก่พระอริยะบุคคลอื่นๆ หรือฌานลาภีบุคคลที่ได้ทิพพจักขุญาณตามสมควรแก่ญาณและบุคคล
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๒. โสตปสาทรูป
    โสตปสาทรูป หมายถึง รูปประสาทหูที่มีความใสสามารถรับสัททารมณ์ได้ เป็นเหตุให้ได้ยินเสียงและเป็นที่ตั้งของโสตวิญญาณจิต
    มีวจนัตถะว่า โสตวิญญาณ ธิฏฺฐิตํ หุตฺวา สทฺทํ สุณาถิติ = โสตํ แปลความว่ารูปใดเป็นที่ตั้งแห่งโสตวิญญาณจิตและย่อมได้ยินเสียง
    ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่าโสตะ ได้แก่ โสตปสาท
    อีกนัยหนึ่ง สทฺทํ สุณนฺติ เอเตนาติ = โสตํ (วา) สทฺเท สุยฺยนฺติ เอเตนาติ = โสตํ
    แปลความว่า จิต เจตสิกเหล่าใดย่อมได้ยินเสียง โดยอาศัยรูปนั้น ฉะนั้นรูปที่เป็นเหตุแห่งการได้ยินของจิตและเจตสิกเหล่านั้น
    ชื่อว่า โสตะ ได้แก่ โสตปสาท หรือ สัตว์ทั้งหลายที่ได้ยินเสียงโดยอาศัยรูปนั้น รูปที่เป็นเหตุแห่งการได้ยินของสัตว์เหล่านั้น
    ชื่อว่า โสตะ ได้แก่โสตปสาท
    โสตะ มีความหมายเป็น ๓ ประการ คือ
    ๑. ทิพพโสต หมายถึง หูทิพย์ คืออำนาจแห่งการกระทำอภิญญาที่เกี่ยวกับทิพพโสตอภิญญา คือ หูทิพย์ ย่อมสามารถให้ได้ยินสรรพสำเสียงใดๆ
    แม้ที่ไกลล่วงเกินมนุษย์ธรรมดาจะสามารถได้ยินได้ โดยองค์ธรรมแล้ว ได้แก่ อภิญญาจิต ๒ ดวง
    ๒. ตัณหาโสต คือ กระแสของตัณหา คำว่า โสตะ ในที่นี้หมายถึงกระแสตัณหา โสต จึงหมายความว่า สภาพของตัณหานั้นเป็นกระแสที่พาให้ไหลไป
    ในกามอารมณ์ทั้ง ๖ และย่อมนำไหลไปสู่กามภูมิ เป็นต้น
    ๓. ปสาทโสต คือ โสตปสาทรูป โสตปสาทรูปนี้เป็นธรรมชาติของรูปธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นภาวะที่มีความใส
    และเป็นเครื่องรับเสียงต่างๆ ตั้งอยู่ในช่องหูส่วนลึก มีสัณฐาณเหมือนวงแหวนและมีขนสีแดงเส้นละเอียดอยู่โดยรอบ มีความสามารถที่ทำให้
    สำเร็จกิจ ๒ ประการ คือ เป็นที่ตั้งแห่งโสตวิญญาณจิต และเป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่งโสตวิญญาณวิถีจิต มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตน ๔ ประการ

    สทฺทาภิฆาตรหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ..... .........มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบสัททารมณ์........ เป็นลักษณะ
    สทฺเทสุ อาวิญฺฉน รสํ............. ..... . .......... . มีการชักมาซึ่งสัททารมณ์........ ..... ..... ................. เป็นกิจ
    โสตวิญญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ... มีการเป็นที่ตั้งรองรับของโสตวิญญาณ.... ............. เป็นผล
    โสตุกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ..... ... มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรมอันประสงค์ที่จะฟัง . ...เป็นเหตุใกล้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กรกฎาคม 2012
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๓. ฆานปสาทรูป
    ......ฆานปสาทรูป เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถรับคัณธารมณ์ คือ กลิ่นต่างๆ ดังมีวจนัตถะว่า ฆานตีติ = ฆานํ
    แปลว่ารูปใดย่อมสูดดมกลิ่นได้ รูปนั้นชื่อว่า ฆาน ได้แก่ฆานปสาท วจนัตถะนี้ เป็นการแสดงโดยอ้อม
    เพราะฆานปสาทไม่สามารถดมกลิ่นได้ ฆานวิญญานจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยฆานปสาทต่างหากเป็นผู้ดมกลิ่นได้
    ......อีกนัยหนึ่ง ฆายนฺติ เอเตนาติ = ฆานํ (วา) ฆายียนฺติ เอเตนาติ = ฆานํ แปลความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมสูดดมกลิ่นด้วยรูปใด
    ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุแห่งการสูดดมกลิ่นของสัตว์ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ฆาน (หรือ)สัตว์ทั้งหลายพึงดมกลิ่นด้วยรูปนั้น
    ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุแห่งการดมกลิ่นของสัตว์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าฆาน วจนัตถะนี้ เป็นการแสดงโดยมุขยนัย (คือนัยโดยตรง)
    ฆานปสาทรูป เป็นรูปธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานโดยตรงเฉพาะมีความใส สามารถรับคันธารมณ์ คือ กลิ่นต่างๆได้
    ตั้งอยู่ภายในช่องจมูกมีสันฐานคล้ายกีบเท้าแพะ มีหน้าที่สำเร็จกิจ ๒ ประการ คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งฆานวิญญานจิตประการหนึ่ง
    และเป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่งฆานทวารวิถี อีกประการหนึ่ง มีคุณลักษณะพิเศษดังนี้ คือ

    คนฺธาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ.............. มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบคันธารมณ์........... เป็นลักษณะ
    คนฺเธสุ อาวิญฺฉน รสํ .............................เป็นการชักนำมาซึ่งคันธารมณ์.......................... เป็นกิจ
    ฆานวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ ........มีการเป็นที่ตั้งรองรับของฆานวิญญาณ..................เป็นผล
    ฆายิตุกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ ..........มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรมอันประสงค์ที่จะดม..........เป็นเหตุใกล้
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE id=pid786 cellSpacing=0 summary=pid786 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=plc><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_786 class=t_f>๔. ชิวหาปสาทรูป
    ชิวหาปสาทรูป เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีความสดใส สามารถรับรสต่างๆได้ และเป็นเหตุให้อายุยืน ดังวจนัตถะว่า ชีวิตํ อวฺหายตีติ = ชิวฺหา
    แปลว่ารูปใดมีสภาพคล้ายกับว่าเรียกร้องรส เป็นเหตุให้อายุยืน รูปนั้น ชื่อว่า ชิวหา
    .....คำว่า ชิวหา นี้แยกศัพท์ได้ ๒ ศัพท์ คือ ชีวิต+อวฺหา = =ชิวหา
    .....คำว่า ชีวิต แปลว่า อายุ แต่ในที่นี้แปลว่า รส เพราะอายุจะตั้งอยูได้นั้นต้องอาศัย รสเปรี้ยว หวาน เผ็ด เค็ม ที่ได้จากการกินอาหารต่างๆ เป็นต้น
    อายุจึงจะตั้งอยู่ได้นาน ด้วยเหตุนี้จึงยกเอาคำว่าชีวิตเป็นชื่อของอายุ เพราะเป็นผลของรสนั้นขึ้นตั้งไว้ โดยอาศัยเหตุ คือ รส แล้วเรียกรสต่างๆ นั้นว่า
    ชีวิต ซึ่งเป็นการเรียกโดยอ้อม
    .....คำว่า อวฺหา แปลว่าเรียก มารวมกับคำว่าชีวิตแล้วก็หมายถึง เรียกรสต่างๆนั้นเอง เพราะธรรมดาชิวหาปสาทย่อมน้อมอยู่ในรสชาติต่างๆ
    อันเป็นที่พอใจของชิวหาวิญญาณให้มาสู่ตน เมื่อรวมบทว่า ชีวิต กับ อวฺหา เข้าด้วยกัน ก็เป็น ชิวหา
    .....ชิวหาปสาทรูปนี้ เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานเป็นรูปที่มีความใสเป็นเครื่องรับรสต่างๆได้ ตั้งอยู่ท่ามกลางลิ้น
    มีสัณฐานเหมือนปลายกลีบดอกอุบล มีหน้าที่สำเร็จกิจ ๒ ประการ คือเป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งชิวหาวิญญาณประการหนึ่ง กับเป็นทวารอัน
    เป็นที่เกิดแห่งชิวหาทวารวิถีอีกประการหนึ่ง ชิวหาปสาทนี้ มีคุณลักษณะพิเศษดังนี คือ
    รสาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ............................. มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบอารมณ์........... เป็นลักษณะ
    รเสสุ อาวิญฺฉน รสํ ...................................................มีการชักมาซึ่งการแสวงหารสารมณ์ ....................เป็นิกจ
    เป็นกิจชิวหาวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฎฺฐานํ ....มีการเป็นที่ตั้งของชิวหาวิญญาณ .......................เป็นผล
    สายิตุกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฎฺฐานํ ....................มีมหาภูตรูปที่เกิดจากกรรมอันประสงค์จะลิ้มรส....เป็นเหตุใกล้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD></TR><TR><TD class="plc plm"></TD></TR><TR><TD class=pls></TD><TD class=plc>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE id=pid795 cellSpacing=0 summary=pid795 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=plc><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_795 class=t_f>๕.กายปสาท
    กายปสาทรูป เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับโผฏฐัพพารมณ์ คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึง ได้
    คำว่ากายนี้ มีความหมายหลายประการ คือ หมายถึงรูปอันเป็นที่ประชุมแห่งส่วนต่างๆ มี ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
    บางที่ก็ใช้ความหมายของร่างกายทั้งหมด และบางทีก็ใช้ในความหมายของนามธรรม เช่น จิตและเจตสิก
    และบางทีก็ใช้ความหมายของความเป็นกลุ่ม เป็นกอง เมื่อรวมความแล้ว อาจจำแนกความหมายของคำว่า กาย ได้เป็น ๔ ประการ
    ๑. ปสาทกาย หมายถึง กายปสาทรูป
    ๒. รูปกาย หมายถึง รูปธรรมทั้งปวง
    ๓. นามกาย หมายถึง นาม จิตและเจตสิก
    ๔. บัญญัติกาย หมายถึง สมูหบัญญัติ คือ บัญญัติหมวดหมู่ กลุ่ม กองต่างๆ มีกองช้างเรียกว่าหัตถกาย กองม้าเรียกว่า อัสสกาย เป็นต้น มีวจนัตถะว่า กุจฺฉิตานํเกสาทีนํปาปธมฺมานญฺจ อาโยติ = กาโย แปลความว่า รูปใดเป็นที่ประชุมแห่งส่วนต่างๆ มีผม ขน เล็บ เป็นต้น และเป็น ที่ประชุมแห่งอกุศลธรรม รูปนั้น ชื่อว่ากาย หมายถึงร่างกายทั้งหมด
    สำหรับกายปสาทที่เรียกว่ากายนั้น เป็นการแสดงโดยอ้อม คือยกเอาคำว่ากาย อันเป็นชื่อของร่างกายทั้งหมดนั้นมาตั้งในกายปสาทที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายนั้น
    อีกนัยหนึ่ง กายปสาทที่ชื่อ กายะ นั้นนับเป็นการแสดงโดยอ้อม คือยกเอาคำว่า กายะ ที่เป็นชื่อของร่างกาย อันเป็นที่เกิดแห่งกายปสาทมาตั้งในกายปสาทที่เป็นผู้อาศัยเกิด
    กายปสาทนี้เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน มีสภาพเป็นความใส และเป็นเครื่องรับสิ่งสัมผัสต่างๆ มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึงได้ กายปสาทนี้เกิดอยู่ทั่วร่างกาย เว้นไว้ที่ปลายผม ปลายขน ปลายเล็บ หนังที่หนา และที่รวมแห่งอาหารใหม่ใต้ลำใส้ใหญ่อันเป็นสถานที่ของปาจกเตโช มีหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ ประการ คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณประการหนึ่ง และเป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่งกายทวารวิถีอีกประการหนึ่ง
    กายปสาทรูป มีคุณลักษณะพิเศษ คือ
    โผฏฺฐพฺพภิฆาตรหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ ..... มีความใสของมหาภูตรูปที่มากระทบโผฏฐัพพารมณ์ เป็นลักษณะ
    โผฏฐพฺเพสุ อาวิญฺฉน รสํ...................... มีการแสวงหาโผฏฐัพพารมณ์ ................................เป็นกิจ
    กายวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฐานํ มีการทรงอยู่ของกายวิญญาณ.................................เป็นผล
    ผุสิตากามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ.....มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรมอันประสงค์ที่จะถูกต้อง เป็นเหตุใกล้
    จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูปทั้ง ๕ รูปนี้ชื่อว่าปสาทรูปเพราะมีสภาพใสสามารถรับอารมณ์ที่มากระทบได้ มีวจนัตถะว่า ปสีทตีติ = ปสาโท แปลความว่า รูปใดมีความใส รูปนั้นชื่อว่า ปสาท ปสาทรูปทั้ง ๕ นี้เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานประการเดียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD></TR><TR><TD class="plc plm"></TD></TR><TR><TD class=pls></TD><TD class=plc>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]



    <TABLE id=pid797 cellSpacing=0 summary=pid797 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=plc><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left><TBODY><TR><TD id=postmessage_797 class=t_f>ประเภทที่ ๓ วิสยรูป หรือ โคจรรูป ๗
    วิสยรูป หรือ โคจรรูป หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของจิต และเจตสิก

    เกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย โดยตรงมีจำนวน ๗ รูป หรือ ๔ รูปดังต่อไปนี้

    ๑. รูปารมณ์ ได้แก่ รูปร่าสัณฐาน หรือสีต่างๆที่แสดงให้ปรากฎแก่จิตและเจตสิกทางตา ย่อมแสดงถึงความรู้สึก
    ทางใจให้ปรากฏรู้วัตถุสิ่งของนั้นๆ มีรูปร่างสัณฐานอย่างไร ดังมีวจนัตถะว่า รูปยติ หทยํคตภวํ ปกาเสตีติ = รูปํ แปลความว่า
    รูปใดแสดงถึงความรู้สึกของจิตใจให้ปรากฎ ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า รูปารมณ์ หรือ รูปยติ ทพฺพํ ปกาเสตีติ = รูปํ แปลความว่า
    รูปใดย่อมแสดงวัตถุของรูปร่างสัณฐานให้ปรากฎ รูปนั้นชื่อว่า รูปารมณ์
    จากวจนัตถะแรกหมายความว่า คนที่กำลังดีใจอยู่ก็ตาม เสียใจอยู่ก็ตาม กลุ้มใจ กลัว อาย อยู่ก็ตาม
    เมื่อผู้อื่นเห็นหน้าตา ท่าทางอันเป็นอาการแสดงออกของผู้นั้น แล้วก็รู้ได้ว่าผู้นั้นกำลังดีใจ เสียใจ กลุ้มใจ กลัว หรืออายอยู่
    การที่ผู้อื่นรู้ได้นั้น ก็เพราะรูปารมณ์นั้นแสดงออกถึงความรู้สึกผู้นั้นให้ปรากฏออกมา หรือในวจนัตถะหลังมีความหมายว่า
    บรรดาวัตถุสิ่งของต่างๆ ก็ดีรูปร่างสัณฐานของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตก็ดี ที่ปรากฏออกมาได้นั้น ก็เพราะอาศัยรูปารมณ์
    เป็นผู้กระทำให้ปรากฏ รูปารมณ์ที่เป็นผู้กระทำสิ่งต่างๆ ให้ผู้อื่นรู้ได้นั้นก็ได้แก่สีต่างๆ นั่นเอง
    รูปารมณ์มีคุณสมบัติพิเศษที่จะพิจารณาได้ดังนี้

    จกฺขุปฏิหนน ลกฺณํ.........................มีการกระทบกับจักขุปสาท ............. เป็นลักษณะ
    จกฺขุวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ........มีการเป็นอารมณ์ให้จักขุวิญญาณ... เป็นกิจ
    ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปทฏฺฐานํ..........มีการรู้เห็นของจักขุวิญญาณ........... เป็นผล
    จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ ....................มีมหาภูตรูปทั้ง ๔............................ เป็นเหตุใกล้






    </TD></TR></TBODY></TABLE>










    </TD></TR><TR><TD class="plc plm">
    </TD></TR><TR><TD class=pls>
    </TD><TD class=plc>




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กรกฎาคม 2012
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ยิ่งว่าเหมือนยิ่งยุ ตะแบง
    หมาน คนตะแบงนี่มีจิตอกุศลอะไร
    คนที่คิดว่า กูจะทำของกูแบบนี้ใครจะทำไม แบบนี้จิตมีอกุศลอะไร
    คนที่ เห็นคนอื่นไม่ชอบ แล้วยิ่งชอบทำ นี่มีอกุศลอะไร
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มันไปขวางหูขวางตาตรงไหน เมื่อไม่ชอบก็ไม่ต้องสนใจ ก็เองไม่ได้ศึกษามันก็โง่เองช่วยไม่ได้
    เราทำกุศลผลย่อมเป็นกุศล คนอื่นไม่ชอบหรือใครไม่ชอบ จิตของผู้นั้นก็เป็นอกุศลไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 กรกฎาคม 2012
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๒. สัททารมณ์
    สัททารมณ์ ได้แก่ สัททะ คือ เสียงที่กระทบปสาทหู ทำให้เกิดโสตวิญญาณ คือการได้ยิน สัททะ ได้แก่เสียงที่ปรากฎเป็นอารมณ์
    ให้แก่โสตวิญญาณนี้ ชื่อว่า สัททารมณ์ มีวจนัตถะวา สทฺทียติ อุจฺจารียตีติ = สทฺท แปลความว่า รูปใดที่เปล่งออกมาได้ ฉะนั้น
    รูปนั้นชื่อว่า สัททะ ได้แก่ เสียงที่สัตว์ทั้งหลายเปล่งออกมา อีกนัยหนึ่ง สปฺปติ โสตวิญเญยฺยภาวํ คจฺฉตีติ = สทฺโท แปลว่า รูปใด
    ย่อมถึงสภาพที่ทำให้โ สตวิญญาณรู้ได้ ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า สัททะ

    วจนัตถะแรกมุ่งหมายเอาเสียงของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ที่ต้องเปล่งออกมา เช่น เสียงคนพูด เสียงที่สัตว์ต่างๆ ร้อง
    ส่วนวจนัตถะอีกนัยหนึ่ง หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหมด เพราะเสียงเหล่านั้น ปรากฏเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณ
    ได้แก่ การได้ยินทั้งสิ้น

    สัททารมณ์ มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะดังนี้
    โสตปฏิหนน ลกฺขณํ............... มีการกระทบโสตปสาท.................เป็นลักษณะ
    โสตวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ....มีการเป็นอารมณ์ให้โสตวิญญาณ........ เป็นกิจ
    ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฐานํ.........มีการรู้ ได้ยิน ของโสตวิญญาณ ........เป็นผล
    จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ ...............มีมหาภูตรูปทั้ง ๔......................เป็นเหตุใกล้
     
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สบายใจรึยัง ^^
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๓. คันธารมณ์
    คันธารมณ์ ได้แก่ คันธะ คือ กลิ่นต่างๆ หมายถึง ไอระเหยของรูปกลิ่นต่างๆ ที่กระทบฆานประสาท โดยอาศัยลมเป็นผู้นำไป
    และทำให้เกิดฆานวิญญาณ
    คือการรู้กลิ่นขึ้น คันธะที่ปรากฏเป็นอารมณ์ให่แก่วิญญาณจิตนี้ชื่อคันธารมณ์ มีวจนัตถะว่า คนฺธยติ อตฺตโน วตฺถุง สูเจตีติ = คนฺโธ
    แปลความว่า รูปใดย่อมแสดงที่อยู่ที่อาศัยของตนปรากฎ รูปนั้นชื่อว่าคันธะ

    กลิ่นต่างๆ ที่ได้ชื่อว่า คันธารมณ์นั้น เพราะเป็นรูปที่แสดงวัตถุที่ตนอาศัยอยู่ให้ปรากฏรู้ได้ เช่น ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม
    หรือน้ำหอมที่อยู่ในขวด สิ่งเหล่านี้จะอยู่ในที่ใดก็ตาม เมื่อคันธารมณ์ คือรูปกลิ่น ได้มีโอกาสแผ่ตัวระเหยออกไปแล้ว
    ย่อมทำให้คนทั้งหลายรู้ได้ทันที่ว่า นี่เป็นกลิ่นดอกไม้ หรือกลิ่นน้ำหอม และยิ่งกว่านั้นยังรู้ด้วยว่า ดอกไม้หรือน้ำหอมอยู่ที่ใด
    คล้ายๆกับว่าคันธารมณ์นี้ เมื่อได้อาศัยวาโยธาตุแล้วก็จะกระจายข่าวประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่า ดอกไม้อยู่ที่นั่น น้ำหอมอยู่ที่นี่
    ด้วยเหตุนี้ ท่านฎีกาจารย์จึงไขคำ สูเจติ ว่า " อิทเมตฺถ อตฺถีติ เปสุญฺญํ กโรนฺตํ วิยโหติ" แปลความว่า คันธารมณ์นี้มีสถาพคล้ายกับส่อเสียดว่า วัตถุสิ่งของนั้นๆ อยู่ที่นี่

    คันธารมณ์ มีคุณสมบัติดังนี้ คือ
    ฆานปฏิหนน ลกฺขณํ.................มีการกระทบฆานปสาท ...............เป็นลักษณะ
    ฆานวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ .......มีการเป็นอารมณ์ให้ฆานวิญญาณ.....เป็นกิจ
    ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฐานํ............มีการรู้กลิ่นของฆานวิญญาณ.........เป็นผล
    จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ ................มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ .....................เป็นเหตุใกล้

    อนึ่ง คำว่า คันธ ยังใช้เรียกในความหมายอื่นอีก ๔ ประการ คือ
    ๑) สีลคนฺธ หมายถึง สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    ๒) สมาธิคนฺธ หมายถึง สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    ๓) ปญฺญาคนฺธ หมายถึง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    คันธ ตามความหมายนี้ หมายถึง อาการฟุ้งกระจายแผ่ไปของศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งย่อมเป็นไปได้ ทั้งตามลมและทวนลม
    ไม่มีขอบเขตจำกัด
    ๔) อายตนคนฺธ หมายถึง คัฯธารมณ์ คือกลิ่นต่างๆ ทั้งดีและไม่ดี
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๔. รสารมณ์
    รสารมณ์ ได้แก่ รสะ คือรสต่างๆ ที่กระทบชิวหาปสาท และทำให้เกิดชิวหาวิญญาณขึ้น รสะที่ปรากฎขึ้นเป็นอารมณ์แก่ชิวหาวิญญาณนี้ ชื่อว่า รสารมณ์ มีวจนัตถะว่า รสียติ อสฺสาทียตีติ = รโส แปลความว่า รูปใด ชิวหาวิญญาณยินดีพอใจ ฉะนั้น รูปที่พอใจของชิวหาวิญญาณนั้นชื่อว่า รสะ
    รสารมณ์นี้ มีคุณสมบัติพิเศษ (วิเสสลกฺขณ) คือ
    ชิวฺหาปฏิหนน ลกฺขณํ .....................มีการกระทบชิวหาปสาท....................... เป็นลักษณะ
    ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส วิสยภาวรสํ .........มีการเป็นอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณ...... เป็นกิจ
    ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ................มีการรู้รสของชิวหาวิญญาณ...................เป็นผล
    จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ............. .........มีมหาภูตรูปทั้ง ๔.................................. เป็นเหตุใกล้
    อนึ่ง คำว่า รสะนี้ยังใช้ในความหมายต่างๆได้ ๔ ประการ คือ:-
    ๑) ธมฺมรส หมายถึงธรรมที่เป็นเหตุ คือ กรรม กุศลธรรม และ อกุศลกรรม ได้แก่มัคคจิตตุปบาท ๔ โลกียกุศล ๑๗ อกุศลจิต ๑๒
    ๒) อตฺถรส หมายถึงธรรมที่เป็นผลของกุศล และอกุศล ได้แก่ ผลจิตตุปบาท ๔ โลกียวิบาก ๓๒
    ๓) วิมุตติรส ได้แก่พระนิพพาน
    ๔) อายตนรส ได้แก่ รสารมณ์ หมายถึงรสต่างๆ ซึ่งเมื่อประมวลรสต่างๆทั้งสิ้นแล้วได้ ๖ รสด้วยกัน คือ อมฺพิล = รสเปรี้ยว. มธุรส = รสหวาน.
    โลณิก = รสเค็ม. กฏุก = รสเผ็ด. ติตฺต = รสขม. และ กสาว = ฝาด
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE id=pid808 cellSpacing=0 summary=pid808 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=plc><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_808 class=t_f>๕.โผฏฐัพพารมณ์
    ๕. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่โผฏฐัพพะ หมายถึง รูป ดิน ไฟ ลม ที่กระทบกายปสาท ทำให้กายวิญญาณปรากฎขึ้น โผฏฐัพพะที่ปรากฎเป็นอารมณ์ในกายวิญญาณนี้ มีชื่อว่า โผฏฐัพพารมณ์ ดังมีวจนัตถะว่า ผุสิตพฺพนฺติ = โผฏฐัพพะ แปลว่ารูปใด กายปสาทพึงถูกต้องสัมผัสได้ ฉะนั้นรูปนั้นชื่อว่าโผฏฐัพพะ
    โผฏฐัพพารมณ์นี้มี ๓ อย่าง คือ
    ๑. ปถวีโผฏฐัพพารมณ์ได้แก่ แข็ง หรือ อ่อน
    ๒. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ได้แก่ ร้อน หรือ เย็น
    ๓. วาโยโผฎฐัพพารมณ์ได้แก่ ตึง หรือ หย่อน
    ฉะนั้น โผฏฐัพพารมณ์ทั้ง ๓ นี้ ก็ได้แก่ มหาภูตรูป ๓ (เว้นอาโป)
    คุณลักษณะพิเศษของโผฏฐัพพารมณ์นี้ จึงไม่มีโดยเฉพาะ อาศัยคุณลักษณะพิเศษของมหาภูตรูป ๓ ดังกล่าวแล้วนั่นเอง
    สำหรับ อาโปธาตุ นั้น กายปสาทกระทบถูกต้องไม่ได้ จึงไม่จัดเข้าไว้ในโผฏฐัพพารมณ์
    รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ทั้ง ๓ รวมทั้ง ๗ รูปนี้ มีชื่อว่าวิสยรูป เพราะเป็นรูปที่เป็นอารมณ์ให้แก่จิต และเจตสิกที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยตรง และมีชื่อเรียกอีกอย่างคือ โคจรรูป นั้นก็เพราะเป็นที่ท่องเที่ยวของจิตและเจตสิก ที่เกิดขึ้นในทวารทั้ง ๖ ดังมีวจนัตถะว่า คาโว จรนฺติ เอตฺถาติ = โคจรา แปลความว่าโคทั้งหลายย่อมท่องเที่ยวไปที่นั้น ฉะนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า โคจร ได้แก่ สถานที่ที่โคทั้งหลายท่องเที่ยวไป รูปใดเป็นที่เที่ยวแห่งฉทวารริกจิต เหมือนเป็นที่ที่เที่ยวไปแห่งโคทั้งหลาย รูปเหล่านั้น ชื่อว่า โคจร
    อีกนัยหนึ่ง คาโว จรนฺติ เอตฺถาติ = โคจรํ แปลความว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีจักขุนทรีย์ เป็นต้น ย่อมท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ มีรูปารมณ์ เป็นต้นนั้น ฉะนั้นอารมณ์ มีรูปารมณ์ เป็นต้น ชื่อว่า โคจร
    คำว่า "โค" แปลว่า อินทรีย์ ฉะนั้น คำว่า "โคจร" กับ อารมณ์ จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน
    วิสยรูป หรือ โคจรรูป นี้ ถ้านับโดยจำนวนรูปแล้วได้ ๗ รูป เรียกว่า วิสยรูป ๗ เนื่องจากโผฏฐัพพารมณ์คือ ปถวี เตโช วาโย โผฏฐัพพารมณ์ เป็นมหาภูตรูป ๓ ฉะนั้น เมื่อจะเรียกชื่อรูปที่เป็นอารมณ์เหล่านี้โดยเฉพาะแล้ว นิยมเรียกว่า"โคจรรูป ๔" (ซึ่งไม่นับ ปถวี เตโช วาโย โผฏฐัพพารมณ์) ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า วิสยรูป มีจำนวน ๗ และโคจรรูป มีจำนวน ๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD></TR><TR><TD class="plc plm"></TD></TR><TR><TD class=pls></TD><TD class=plc>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>ภาวรูป ๒
    ภาวรูป หมายถึงรูปที่แสดงสภาพความเป็นหญิงเป็นชาย ให้รู้ได้ด้วยใจ โดยอาศัย รูปร่างสัณฐาน
    เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ จากรูปเหล่านั้นเป็นเครื่องหมายให้รู้ได้
    ภาวรูป มี ๒ อย่าง คือ อิตถีภาวรูป และ ปุริสภาวรูป
    อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง เป็นรูปธรรมที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน มีแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย
    เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจคือ รู้ได้ทางมโนทวารวิถี มิใช่รู้ได้ด้วยตา หรือได้ด้วยหู เป็นเพราะเห็นรูปร่างสัณฐานหรือได้ยินเสียง
    ก็สามารถรู้ว่าเป็นหญิง แท้ที่จริง ตามีความเพียงแต่เห็นสีต่างๆ และหูก็มีความสามารถเพียงได้ยินเสียงต่างๆ เท่านั้นเอง
    ไม่สามารถเห็นเป็นหญิง หรือได้ยินเป็นหญิงได้ แต่ที่รู้ว่าเป็นหญิงนั้น ย่อมรู้ได้ด้วยใจ โดยอาศัยภาวรูปเป็นส่วนแสดงออกนั่นเอง
    อิตถีภาวรูป มีวจนัตถะว่า อิตถิยา ภาโว = อิตฺภาโว แปลว่า รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง
    ฉะนั้นรูปนั้นชื่อว่า อิตถีภาวะ มีคุณลักษณะเฉพาะตัวดังนี้ คือ
    อิตฺถีภาว ลกฺขณํ............................................มีสภาวะเป็นหญิง..... ......................................เป็นลักษณะ
    อิตฺถีติปกาสน รสํ...........................................มีการประกาศความเป็นหญิง...........................เป็นกิจ
    อิตฺถีลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ............มีรูปสัณฐานหรือการงานของหญิง เป็นต้น......เป็นผล
    จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ......................................มีมหาภูตรูป ๔ ................................................เป็นเหตุใกล้


    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    ปุริสภาวรูป
    ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชายให้ปรากฎ เป็นรูปธรรมที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน
    มีแผ่ซ่านทั่วไปในร่างกายมีรูปธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ คือทางมโนทวาร มีวจนัตถะว่า ปุมสฺส = ปุมภาโว
    แปลความว่า รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็นชาย ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า ปุมภาวะ หรือ ปุริสภาวะ มีลักษณะพิเศษดังนี้คือ
    ปุริสภาว ลกฺขณํ............................... ..........มีสภาวะของชาย.................................................เป็นลักษณะ
    ปุริโสติปกาส รสํ.........................................มีการประกาศความเป็นชาย..................................เป็นกิจ
    ปุริสลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ .........มีรูปร่างสัณฐาน หรือ การงานของชายเป็นต้น ....เป็นผล
    จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ .................... .............มีมหาภูตรูป ๔ .....................................................เป็นเหตุใกล้


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 กรกฎาคม 2012
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    บรรดาสัตว์ทั้งหลายต่างๆ ในโลกนี้ ที่จะรู้ได้ว่า เพศหญิง หรือเพศชายนั้น อาศัยเครื่องหมายที่แสดงออกให้รู้ภาวะเพศได้ ๔ ประการ คือ
    ๑) ลิงฺค หมายถึงรูปร่างสัณฐาน ได้แก่ อวัยวะต่างๆ เช่น แขน. ขา. หน้าตา. เพศที่ปรากฎแต่กำเหนิดเป็นต้น
    ๒) นิมิตฺต หมายถึงเครื่องหมายที่แสดงออกมาในโอกาสต่อมาเช่น หนวด เครา หน้าอก เป็นต้น
    ๓) กุตฺต หมายถึง นิสัยใจคอ และความประพฤติ มีการเล่น และการกระทำต่างๆ เช่น หญิงชอบเล่นขายของ เย็ยปักถักร้อย ทำครัว เป็นต้น ชายชอบเล่นซุกซน โลดโผน มีการชกต่อย ห้อยโหน ผจญภัย เป็นต้น
    ๔) อากปฺป หมายถึง กิริยาอาการ เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน การพูด เหล่านี้ เป็นเพศหญิง มักมีกิริยาอาการเรียบร้อย แช่มช้อย เอียงอาย เพศชาย มีกิริยาอาการกล้าหาญ เข้มแข็ง ว่องไว
    เครื่องหมายที่แสดงให้รู้ถึงเพศชายและเพศหญิง ทั้ง ๔ ประการ ดังกล่าวมานี้ย่อมเกิดขึ้น โดยอิตถีภาวรูป เป็นผู้ปกครอง หรือปุริสภาวรูปเป็นผู้ปกครอง รูปร่างสัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และอาการ จึงแตกต่างกันไปจึงให้รู้ได้ว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย
    ภาวรูป เรี่มตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล ส่วนทรวดทรง เครื่องหมาย นิสัย กิริยาอาการ ตั้งขึ้นในปวัตติกาล อุปมาเหมือนพืช เมื่อพืชมีอยู่ ต้นไม้ที่อาศัยพืชเป็นปัจจัยให้เติบโตเจริญขึ้น เป็นกิ่ง ก้าน ดอก ผล
    ภาวรูปที่แสดงความเป็นหญิง หรือชาย ทั้ง ๒ นี้เกิดจากกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน กล่าวคือ ถ้าชาติปางก่อนได้ประกอบกุศลกรรมมีกำลังอ่อนที่เป็น ทุพฺพลกุสลกมฺม คือ กรรมที่ประกอบด้วยสัททาปสาทก็จริง แต่เต็มไปด้วยความหวั่นไหว (อวิสทฺธาการ) ทุพพลกุศลกรรมนั้นก็จะกระทำกัมมชรูปชนิดเป็นอิตถีภาวรูปให้ปรากฎ
    ผู้ที่ได้กระทำกุศลกรรมแต่ชาติปางก่อนไว้ด้วย พลวกุสลกมฺม อันเป็นกุศลกรรมที่มีกำลังเข้มแข็ง ประกอบด้วยศรัทธาอันแก่กล้าและอธิโมกข์ มีการตัดสินใจอันเด็ดเดี่ยว ปราศจากความหวั่นไหว พลวกุศลกรรมนี้ ก็จะกระทำปุริสภาวรูปให้ปรากฎเป็นเพศชาย ส่วนอบายสัตว์ที่เกิดเป็นเพศผู้ เพศเมีย ก็ด้วยอำนาจพลวอกุศลกรรม หรือ ทุพพลอกุศลกรรมเช่นเดียวกัน
    ฉะนั้น ท่านที่จะปรารถนาเป็นเพศชาย หรือเพศหญิงต่อไปภายภาคหน้า ย่อมอาจจะปรับปรุงกุศลของตนให้เข้มข้นหรือย่อหย่อนได้ตามใจปรารถนาภาวรูปก็จะเป็นไปตามความสมประสงค์ได้​
     

แชร์หน้านี้

Loading...