เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932
    ขอเข้ามาศึกษาด้วยคนนะครับ (f)
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]

    วิการรูป ๓
    วิการรูป คือ รูปที่แสดงอาการพิเศษ เป็นอาการเบา อาการอ่อน และอาการพอดีของนิปผันนรูป
    ย่อมเกิดขึ้นแก่สิ่งที่มีชีวตเท่านั้น สิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งหลายวิการรูปทั้ง ๓ นี้ ย่อมปรากฎไม่ได้
    มีวจนัตถะแสดงว่า วิเสโส อากาโร = วิกาโร แปลความว่า อาการอันเป็นพิเศษของนิปผันนรูปที่เกิดขึ้น
    ชื่อว่า วิการ พระบาลีนี้แสดงให้เห็นว่า วิการรูป มี ๓ รูป ได้แก่​

    ๑. รูปลหุตา มีวจนัตถะว่า ลหุโน ภาโว = ลหุตา แปลความว่า อาการที่เบา ชื่อว่า ลหุตา
    หรืออีกนัยหนึ่ง รูปสฺส ลหุตา = รูปลหุตา แปลความว่า อาการเบาของนิปผันนรูป
    ชื่อว่า ลหุตา = รูปลหุตา ได้แก่ รูปที่ทำอาการให้ร่างกายเบา คล่องแคล่วในอริยาบถ
    หรือการพูดจาต่างๆ รูปลหุตา คือ รูปเบานี้มีคุณลักษณะพิเศษ คือ
    อทนฺธตา ลกฺขณํ .....................มีความเบา..................................เป็นลักษณะ
    รูปานํ ครุภาววิโนทน รสา ............มีการทำลายความหนักของรูป .............เป็นกิจ
    ลหุปริวตฺติตา ปจฺจุปฎฺฐานา ..........มีการทำให้ว่องไว ..........................เป็นผล
    ลหุรูป ปทฏฺฐานา......................มีรูปที่เบา....................................เป็นเหตุใกล้​

    ๒. รูปมุทุตา
    รูปมุทุตา หมายถึง รูปอ่อน มีวจนัตถะว่า มุทุโน ภาโว = มุทุตา แปลว่า อาการที่อ่อน ชื่อว่ามุทุตา และ รูปสฺส มุทุตา = รูปมุทุตา
    แปลความว่า อาการอ่อนของนิปผันนรูป ชื่อว่า มุทุตา ได้แก่ อาการอ่อนของร่างกายในเวลาที่ก้มเงย เอี้ยว เอน ร่างกายได้สะดวกเป็นต้น
    รูปมุทุตา มีคุณลักษณะพิเศษโดยเฉพาะดังนี้คือ​
    อถทฺธตา ลกฺขณา ...............................มีความอ่อน....................................เป็นลักษณะ
    รูปานํ ตทฺธวิโนทน รสา..........................มีการทำลายความกระด้างของรูป..............เป็นกิจ
    สพฺพกฺริยาสุ อวิโรธิตา ปจฺจุปฏฺฐานา.............มีการไม่ขัดแย้งต่ออริยาบถ เป็นต้น............เป็นผล
    มุทุรูป ปทฏฺฐานา.................................มีรูปที่อ่อน......................................เป็นเหตุใกล้​

    ๓.รูปกัมมัญญตา
    รูปกัมมัญญตา หมายถึงรูปที่เหมาะที่พอดีแก่การงาน มีวจนัตถะว่า กมฺมนิ สาธุ = กมฺมญฺญตา แปลว่า ความดีในการงานต่างๆ ชื่อว่า กัมมัญญะ
    กมฺมญฺญสฺส ภาโว = กมฺมญฺญตา แปลว่า ภาวะที่เป็นความดีในการงานต่างๆ ชื่อว่า กัมมัญญตา ได้แก่ อาการเหมาะสมแก่การงานของร่างกาย
    หรือกล่าววาจา ก็ทำได้ตามความประสงค์
    รูปสฺส กมฺมญฺญตา = รูปกมฺมญฺญตา แปลว่า ภาวะที่เป็นควาดี ในการงาต่างๆ ของนิปผันนรูป ชื่อว่า รูปกัมมัญญตา
    รูปนี้มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตนดังนี้
    กมฺมญฺญภาว ลกฺขณา............มีการเหมาะควร...................เป็นลักษณะ
    อกมฺมญฺญตาวิโนทน รสา........มีการทำลายความไม่ควร.........เป็นกิจ
    อทุพฺพภาว ปจฺจปฏฺฐานา........มีการไม่อ่อนแอ...................เป็นผล
    กมฺมญฺญรูป ปทฏฺฐานา....... ...มีรูปที่ควร.........................เป็นเหตุใกล้

    วิการรูปทั้ง ๓ นี้ มีแก่สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายในขณะที่มีความสบายกายสบายใจไม่อาพาธเมื่อเกิดขึ้นในอาการขงนิปผันรูปนั้นย่อมเกิดขึ้น
    พร้อมกันทั้ง ๓ รูป แต่อาจยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
    วิการรูปนี้ บางทีบ ๕ รูป ทั้งนี้โดยนับวิญญัติรูป ๒ ที่แสดงแล้ว นั้นเข้าร่วมในวิการรูปด้วย เพราะเป็นรูปที่เกิดได้กับสิ่งที่มีชีวิตด้วยกัน
    คือการเคลื่อนไหวร่างกาย และวาจานั้น ย่อมประกอบด้วยรูปลหุตา.มุทุตา.กัมมัญญตา ได้แก่รูปเบา.รูปอ่อน.รูปเหมาะแก่การงาน
    แสดงการเคลื่อนไหว อิริยาบถใหญ่น้อย หรือการพูดที่เป็นไปได้โดยสะดวกสบาย ไม่มีอาการขัดข้องแต่อย่างใด
    ฉะนั้น วิการรูปนี้จึงนับว่ามี ๕​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2012
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    นิทานเรืีองนี้สนุกนะ ขำขันไม่หยอก
    ขอภาค 2 หน่อยสิ
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]

    ลักขณรูป ๔ ได้แก่ ๑ อุปจยรูป ๒. สันตติรูป ๓. ชรตารูป ๔. อนิจจตารูป

    ๑. อุปจยรูป หมายถึง รูปที่เกิดขึ้นเป็นขณะแรกในปฏิสนธิกาล
    มีวนจัตถะ แสดงว่า อาทิโต อุปริโต จ จโยติ แปลความว่า การเกิดขึ้นครั้งแรกของนิปผันรูป
    ชื่อว่า "อุปจยะ" รวมทั้งการเกิดขึ้นครั้งแรกของรูปที่เกิดจาก จิต. อุตุ และอาหาร ก็ชื่อว่า อุปจยรูป
    ในปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย กัมมชรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกแห่งภพ ชื่อว่าอุปจยะรวมตลอดไป
    ถึงการเกิดขึ้นแห่งกัมมชรูปที่ยังเกิดไม่ครบของคัพภเสยยกะนั้น ย่อมยังมีการเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสัปดาห์ที่ ๑๑ กัมมชรูป
    จึงสร้างรูปให้เกิดขึ้นบริบูรณ์ ฉะนั้นการเกิดขึ้นของกัมมชรูปที่เกิดต่อจากปฏิสนธิขณะเป็นต้นมาจนรูปเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ ก็ชื่อว่า อุปจยะ
    ส่วนพวกสัตว์ที่เป็นสังเสทชกำเนิดและโอปปาติกะกำเนิดนั้นในปฏิสนธิขณะเอง กัมมชรูปเกิดขึ้นครบบริบูรณ์
    ฉะนั้น กัมมชรูปที่เกิดขึ้นเฉพาะในปฏิสนธิขณะเท่านั้น ก็ชื่ออุปจยะ
    อุปจยรูป มีคุณลักษณะพิเศษโดยเฉพาะดังนี้ คือ
    อาจย ลกฺขโณ.................... มีการเกิดขึ้นครั้งแรก..............เป็นลักษณะ
    รูปนํ อุมฺมชฺชาปน รโส .... ...... มีการทำให้รูปเติบโตขึ้น.. ........เป็นกิจ
    ปริปุณฺณภาว ปจุจุปฏฐาโน...... .มีสภาพที่บริบูรณ์ของรูป...........เป็นผล
    อุปจิตรูป ปทฏฐาโน...............มีรูปที่กำลังจะเกิด..................เป็นเหตุใกล้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กรกฎาคม 2012
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]<TABLE id=pid1499 cellSpacing=0 summary=pid1499 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=plc><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_1499 class=t_f>๒. สันตติรูป
    สันตติรูป หมายถึง การเกิดขึ้นสืบต่อกันของนิปผันนรูป มีวจนัตถะว่า สํ ปุนปฺปุนํ ตติ = สนฺตติ แปลความว่า การเกิดขึ้น
    ของนิปผันนรูปบ่อยๆ ชื่อว่า สันตติ อีกนัยหนึ่ง สมฺพนฺธ ตติ = สฺตติ แปลความว่า การเกิดขึ้นสืบต่อกัของิปผันนรูป ชื่อว่า สันตติ
    หมายความว่า บรรดารูปที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อเกิดขึ้นครั้งแรก และครั้งหลังๆ จนอวัยวะของสัตว์ครบบริบูรณ์
    ชื่อว่าอุปจยรูป ต่อจากนั้น นับตั้งแต่อวัยวะครบถ้วนเป็นต้นมารูปเหล่านี้ ยังคงเกิดขึ้นติดต่อสืบเนื่องกันเรื่อยๆไปจนตลอดชีวิตนั้นเอง

    ชื่อว่า สันตติรูป มีคุณลักษณะพิเศษโดยเฉพาะดังนี้ คือ
    ปวตฺติ ลกฺขณา......................มีการเกิดเนื่องกัน......................................เป็นลักษณะ
    อนุปฺปพนฺธนรสา....................มีการสืบต่อ...............................................เป็นกิจ
    อนุปจฺเฉท ปจฺจุปฏฺฐานา........มีการไม่เข้าไปทำลายรูปนั้น......................เป็นผล
    อตุปพนฺธกรรูป ปทฏฺฐานา.....มีการยังให้รูปที่เกิดขึ้นนั้นต่อเนื่องกัน.........เป็นเหตุใกล้

    ในอัฏฐสาลินี และวิสุทธิมรรคอรรถกถา ได้อุปมา อุปจยรูปและสันตติรูปไว้ว่า เหมือนหนึ่งน่อน้ำที่ขุดใกล้ๆแม่น้ำ
    เมื่อขุดเสร็จใหม่ๆ มีน้ำไหลซึมเข้ามาในบ่อครั้งแรก ต่อมาน้ำไหลเข้าบ่อเรื่อยๆ จนเต็มบ่อ ก็เปรียบเหมือนอุปจยรูป
    ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิขณะจนครบบริบูรณ์ และเมื่อน้ำเต็มบ่อแล้ว และยังไหลล้นออกจากบ่อไปตามพื้นดินอีกนี้
    เปรียบเหมือน สันตติรูป คือ เป็นรูปที่เกิดขึ้นติดต่อกันมาเรื่อยๆ มานั่นเอง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD class="plc plm"></TD></TR><TR><TD class=pls></TD><TD class=plc>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๓. ชรตารูป
    ชรตารูป หมายถึง รูปที่แสดงภาวะแห่งความแก่ของนิปผันนรูป มีวจนัตถะ แสดงว่า ชรานํ ภาโว = ชรตา แปลความว่า
    ภาวะแห่งความแก่ของนิปผันนรูปชื่อว่า ชราตา มีคุณลักษณะดังนี้
    รูปปริปาก ลกฺขณา .....................มีการเสื่อมของรูป..........................เป็นลักษณะ
    อุปยน รสา .............................มีการนำไปซึ่งความเสื่อม...................เป็นกิจ
    นวภาวาปคมน ปจฺจุปฏฐานา...........มีสภาพที่ไม่งามหรือเปลี่ยนเป็นเก่า.........เป็นผล
    ปริปจฺจมาน ปทฏฐานา ................มีรูปที่เสื่อม..................................เป็นผล
    ตามธรรมดา จตุชนิปผันนรูป คือ รูปที่เกิดขึ้นจากสมุฏฐานทั้ง ๔ มีกรรม จิต อุตุ และอาหาร เหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
    อายุของรูปเหล่านั้นมีอายุอยู่ได้ ๕๑ อนุขณะของจิต ในจำนวน ๕๑ อนุขณะจิต เป็นขณะเกิด ๑ ขณะ คือ ขณะที่ ๑ และ
    เป็นขณะดับ ๑ ขณะ คือขณะที่ ๕๑ ส่วนขณะที ๒ ถึงขณะที่ ๕๐ มีจำนวน ๔๙ อนุขณะนั้น เป็นขณะที่ตั้งอยู่ของนิปผันนรูปนั่นเอง
    ชื่อว่า ชรตารูป ซึ่งเป็นระหว่างที่มีความแก่ขึ้นนั่นเอง
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๔. อนิจจตารูป
    อนิจจตารูป หมายถึงรูปที่กำลังแตกดับ มีชื่อเรียกว่า มรณรูป หรือภังครูปก็ได้ มีวจนัตถะว่า อนิจฺจตา ภาโว = อนิจฺจตา
    ภาวะแห่งความเกิดดับของนิปผันนรูป ชื่อว่า อนิจจตา
    อนิจจตารูป หมายเอาขณะดับของรูป คือ ขณะที่ ๕๑ นั่นเอง
    มีคุณลักษณะพิเศษแสดงไว้ดังนี้
    ปริเภท ลกฺขณา............................มีการเปลี่ยนแปลงของรูป............เป็นลักษณะ
    สํสีทน รสา.................................มีการทำให้จม........................เป็นกิจ
    ขยวย ปจฺจุปฏฐานา........................มีการสูญหาย.........................เป็นผล
    ปริภิจชฺชมานรูป ปทฏฺฐานา................มีรูปที่แตกดับ..................... ...เป็นเหตุใกล้
    อนิจจตารูปนี้ จึงหมายเอาขณะดับของรูป ฉะนั้น ชรตารูปและอนิจจตารูปทั้ง ๒ นี้ มีอยู่ในนิปผันนรูปที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิขณะเป็นต้น
    จนถึงขณะที่สัตว์นั้นตายลง
    ลักขณรูปทั้ง ๔ ที่ได้แสดงมาแล้วนั้น เป็นการแสดงตามปรมัตถัย เรียกว่า อุปจย. สันตติ. ชรตา. อนิจจตา
    ส่วนที่แสดงตามพระสูตรนั้น ที่ชื่อว่า ชาติ ชรา มรณะ เป็นไปโดยสมมุติ (ชาติ ชรา มรณะ)
    หมายความว่าขณะที่สัตว์ทั้งหลายอยู่ในครรภ์มารดาจนคลอดออกมา เรียกว่า ชาติ คือเกิด
    ขณะที่สิ้นชีวิตถึงแก่ความตาย เรียกว่ามรณะและในระหว่างตายกับเกิดนั้นเรียกว่า ชรา อันที่จริง สภาพของชรามี ๒ อย่าง คือ
    ๑. ปฏิจฺฉนฺชรา คือ ความชราไม่ปรากฎ
    ๒. ปากฏชรา คือ ความชราที่ปรากฏ
    บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่คลอดจากครรภ์มารดาแล้วจนเติบโตเป็นหนุ่มสาวขึ้นมาความชราที่ปรากฎ
    ผมหงอก ฟันหัก ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นต้นเหล่านี้ ยังไม่มีอาการแสดงออกมาให้ปรากฎ
    อันที่จริงระหว่างนี้มีความชราปรากฎอยู่แล้วแต่เป็นความชราชนิดที่เป็น ปฏิจฺฉนฺนชรา คือความชราที่ไม่ปรากฎ
    เมื่อผ่านพ้นวัยหนุ่มสาวเข้าสู่อาการผมหงอก ฟันหัก ปรากฎขึ้นแล้ว ความชราย่อมแสดงออก
    เรียกว่าปรากฏชรา คือ ความชราปรากฎ แม้ในบรรดารูปทั้งหลายในสิ่งที่ไม่มีชีวิต เรียกว่า อนินนทริยพัทธรูป
    ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ต้นไม้ ภูเขา เหล่านี้ เป็นต้น ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในโลกนี้
    ย่อมมีความชราเข้าครอบงำย่ำยีด้วยกันทั้งนั้น และความชราของสิ่งเหล่านี้ ก็มี ๒ อย่างเช่นกัน
    บางพวกเป็นปฏิจฺฉนชราอย่างเดียว ได้แก่ ดิน น้ำ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เพชร นิล จินดา เหล่านี้เป็นต้น
    เป็นความชราที่ไม่ปรากฎ หรือเรียกว่า อวีจิชรา คือความชราที่รู้ได้ยาก
    ส่วนต้นไม้ ตึกราม บ้านช่องและวัตถุต่าๆ ที่นอกจากภูเขา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เพชร นิล จินดา ที่กล่าวมาแล้ว
    มีทั้งที่เป็นปฏิจฉนชราและชราปรากฏทั้ง ๒ อย่าง ชราที่อยู่ในรูปเหล่านี้ เรียกว่า สวีจิชรา คือ เป็นความชราที่รู้ได้ง่าย
    เพราะปรากฎให้เห็นความชรานั้นๆได้ เช่นรถยนต์ เรือยนต์ เป็นต้น
    ในรูปสมุทเทสนัยที่กล่าวมานี้ โดยประเภทเล็ก มี ๑๑ ประเภท ประเภทใหญ่มี ๒ ประเภท โดยจำนวนรูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป
    สรุปเอาใจความแล้ว ในลักขณรูป ๔ ก็มี ๓ อย่างเท่านั้น คือมีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับลง อุปจย และสันตติ
    รวมอยู่ในความเกิด ชรตา อยู่ในความตั้งอยู่ อิจจตา อยู่ในความดับ
    ลักขณรูปนี้ แสดงสามัญลักษณะของนิปผันนรูป ที่จะส่องให้วิปัสสนาปัญญาเห็นความเป็นไตรลักษณ์ได้

    จบการอธิบายรูป ๒๘ ด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กรกฎาคม 2012
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD> เมื่อกล่าวถึงคำว่า พระอภิธรรม ก็มักจะถูกถามเสมอว่า </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="58%" bgColor=#ffffff><TBODY><TR><TD vAlign=center width="9%" align=right>[​IMG]</TD><TD width="91%">พระอภิธรรม คืออะไร</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=center align=right>[​IMG]</TD><TD>พระอภิธรรม เรียนเกี่ยวกับอะไร</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=right>[​IMG]</TD><TD>ใครเป็นผู้แต่งพระอภิธรรม</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=center align=right>[​IMG]</TD><TD>เรียนพระอภิธรรมแล้ว ได้ประโยชน์อะไร</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> คนส่วนใหญ่จะเข้าใจแต่เพียงว่า พระอภิธรรมเป็นบทสวด ในงานศพที่ไม่ค่อยจะมีใครฟังรู้เรื่อง แม้แต่ผู้สวดเองหลายท่านก็ไม่รู้ความหมาย</TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD> พระอภิธรรม เป็นธรรมะชั้นสูงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน พระอภิธรรมเปรียบเสมือน แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาสุขุมล้ำลึก อันนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติ ของชีวิต เรื่องของกรร มและการส่งผลของ กรรม เรื่องภพภูมิต่างๆ เรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด และเรื่องของการปฏิบัต ิเพื่อให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นจุดหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> วิชาการทั้งหลายทางโลก ที่เราได้เคยเรียน เคยฟังและเคยอ่านกันมา มิใช่แต่เพียงในภพนี้เท่านั้น ในภพก่อนๆ ที่เราเวียนว่ายตายเกิดกันมาจน นับไม่ถ้วนนั้น เราก็คงได้เคยเรียน เคยฟัง และเคยอ่านกันมามากแล้ว แต่ก็ไม่เห็นว่า จะทำให้เราพ้นจากความทุกข์ พ้นจากความลำบาก หรือพ้น จากกิเลสไปได้เลย นี่ก็แสดงให้เห็นว่า วิชาการต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้ทำให้ เราเกิดปัญญาอันถูกต้องอย่างแท้จริง แต่เป็นเพียงแค่ความรู้ทางโลกเพื่อ ใช้ในการดำรงชีพไปภพหนึ่ง ชาติหนึ่ง เท่านั้นเอง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> เพื่อให้เกิดความรู้ และความเข้าใจในเบื้องต้น เกี่ยวกับประวัติความ เป็นมา และเนื้อหาของ พระอภิธรรม อันจะนำไปสู่การศึกษา ที่ละเอียดลึกซึ้ง และการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงต่อไป ข้าพเจ้าจึงได้รวบรวม และเรียบเรียง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม นี้ขึ้น </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> บุญกุศลอันเกิดขึ้นจากการรวบรวม และเรียบเรียงจนสำเร็จเป็น หนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอบูชาแด่พระรัตนตรัย พระอรรถกถาจารย์ และ ปรมาจารย์ทั้งหลายที่ได้สืบสาน มรดกธรรมอันล้ำค่านี้ไว้ จนตกทอดมาถึง ปัจจุบัน</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> และขอความสันติสุข ความเป็นผู้มีปัญญารู้แจ้ง ในหลักธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงบังเกิดแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ กำลังเวียนว่ายอยู่ใน ๓๑ ภพภูมิโดยทั่วกันเทอญ </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>หลังจากที่ สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม โปรดเวไนยสัตว์ เป็นเวลายาวนานถึง ๔๕ พรรษา คำสอนที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงไว้ทั้งหมดรวบรวมได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียกว่า พระไตรปิฎก ซึ่งบรรจุคำสอน และเรื่องราวของ พระพุทธศาสนาไว้โดยละเอียด </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3> พระไตรปิฎก แบ่งออกเป็น ๓ ปิฎกหรือ ๓ หมวด ด้วยกันคือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="60%"><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD width="21%" align=right>๑.</TD><TD width="79%">พระวินัยปิฎก</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๒.</TD><TD bgColor=#f6f6f6>พระสุตตันตปิฎก </TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD align=right>๓.</TD><TD>พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> พระวินัยปิฎก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับศีลหรือสิกขาบท (บทบัญญัติ) ตลอดจนพิธีกรรม และ ธรรมเนียมของสงฆ์ อันเป็นกฎระเบียบที่พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณี สงฆ์จะต้องปฏิบัติ รวมถึงพุทธประวัติบางตอน และประวัติการทำสังคายนา มีทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3> พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า อา. ปา. มะ. จุ. ปะ. (หัวใจพระวินัย) ได้แก่</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="98%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="32%">๑. คัมภีร์อาทิกัมมิกะ </TD><TD width="68%">ว่าด้วยอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส อนิยต และต้นบัญญัติในสิกขาบทต่างๆ</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๒. คัมภีร์ปาจิตตีย์ </TD><TD>ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นอาบัติอย่างเบา</TD></TR><TR><TD vAlign=top>๓. คัมภีร์มหาวรรค </TD><TD>ว่าด้วยพุทธประวัติตอนปฐมโพธิกาล และพิธีกรรมทาง พระวินัย</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๔. คัมภีร์จุลวรรค </TD><TD>ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัยต่อจากมหาวรรค ตลอดจนความเป็นมาของภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา</TD></TR><TR><TD vAlign=top>๕. คัมภีร์ปริวาร </TD><TD>ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย พระสุตตันตปิฎก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระสูตร เป็นหมวดที่ประมวล พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรม และเรื่องเล่าต่างๆ อันยักเยื้องตามบุคคล และโอกาส เป็นธรรมที่แสดงโดยใช้สมมุติโวหาร คือยกสัตว์ บุคคล กษัตริย์ เทวดา เป็นต้น มาแสดง มีคำสอนทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3> พระธรรมขันธ์ แบ่งออก เป็น ๕ นิกาย เรียกโดยย่อว่า ที. มะ. สัง. อัง. ขุ. (หัวใจพระสูตร) ได้แก่</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="97%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="30%">๑. ทีฆนิกาย</TD><TD width="70%">ประกอบด้วย พระสูตรขนาดยาว จำนวน ๓๔ สูตร</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๒. มัชฌิมนิกาย</TD><TD>ประกอบด้วย พระสูตรขนาดปานกลางจำนวน ๑๕๒ สูตร</TD></TR><TR><TD vAlign=top>๓. สังยุตตนิกาย</TD><TD>ประกอบด้วย พระสูตรที่จัดเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า สังยุตต์ มีชื่อตามเนื้อหา เช่น เกี่ยวกับแคว้นโกสล เรียกว่า โกสลสังยุตต์ เกี่ยวกับมรรคเรียกว่า มรรคสังยุตต์ มีจำนวน ๗,๗๖๒ สูตร</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๔. อังคุตตรนิกาย</TD><TD>ประกอบด้วย พระสูตรที่จัดหมวดหมู่ตามจำนวนข้อของ หลักธรรม เรียกว่า นิบาต เช่น เอกนิบาต ว่าด้วยหลักธรรมที่มีหัวข้อเดียว จนถึงหลักธรรมที่มี ๑๑ หัวข้อที่เรียกว่า เอกาทสกนิบาต ในนิกายนี้มีจำนวนพระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร</TD></TR><TR><TD height=* vAlign=top>๕. ขุททกนิกาย</TD><TD>ประกอบด้วยภาษิตเบ็ดเตล็ด ประวัติและนิทานต่างๆ นอกเหนือจากที่จัดไว้ ในนิกายทั้ง ๔ ข้างต้น </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=406>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3> ขุททกนิกาย แบ่งออกเป็นหมวดได้ ๑๕ หมวด คือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=514>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="98%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="31%"> ๑) ขุททกปาฐะ</TD><TD width="69%">แสดงบทสวดเล็กๆ น้อยๆ โดยมากเป็นบทสวดสั้นๆ</TD></TR><TR><TD bgColor=#f6f6f6 vAlign=top> ๒) ธรรมบท</TD><TD bgColor=#f6f6f6>แสดงคาถาพุทธภาษิต ประมาณ ๓๐๐ คาถา</TD></TR><TR><TD vAlign=top> ๓) อุทาน</TD><TD>แสดงพระพุทธดำรัสที่เปล่งอุทาน เป็นภาษิตโดยมีเนื้อเรื่องประกอบ ตามสมควร</TD></TR><TR><TD bgColor=#f6f6f6 vAlign=top> ๔) อิติวุตตก</TD><TD bgColor=#f6f6f6>แสดงคำอ้างอิงว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้นอย่างนี้</TD></TR><TR><TD vAlign=top> ๕) สุตตนิบาต</TD><TD>เป็นหมวดที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดไว้ด้วยกัน</TD></TR><TR><TD bgColor=#f6f6f6 vAlign=top> ๖) วิมานวัตถุ</TD><TD bgColor=#f6f6f6>แสดงเรื่องราวของผู้ได้วิมาน และแสดงเหตุที่ทำให้ได้วิมานไว้ด้วย</TD></TR><TR><TD vAlign=top> ๗) เปรตวัตถุ</TD><TD>แสดงเรื่องราวของเปรต ที่ได้ทำบาปกรรมไว้</TD></TR><TR><TD bgColor=#f6f6f6 vAlign=top> ๘) เถรคาถา</TD><TD bgColor=#f6f6f6>แสดงภาษิตต่างๆ ของพระอรหันตสาวก</TD></TR><TR><TD vAlign=top> ๙) เถรีคาถา</TD><TD>แสดงภาษิตต่างๆ ของพระอรหันตสาวิกา</TD></TR><TR><TD bgColor=#f6f6f6 vAlign=top>๑๐) ชาดก</TD><TD bgColor=#f6f6f6>เป็นหมวดที่ประมวลคาถาธรรมภาษิต เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตชาติ ของพระพุทธองค์</TD></TR><TR><TD vAlign=top>๑๑) นิทเทส</TD><TD>เป็นหมวดที่ว่าด้วยเรื่องของนิทเทส (การชี้แจง, การแสดง, การจำแนก) แบ่งเป็นมหานิทเทส และจุลนิทเทส</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๑๒) ปฏิสัมภิทามรรค</TD><TD>กล่าวถึงการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงความมีปัญญาอันประเสริฐ</TD></TR><TR><TD vAlign=top>๑๓) อปทาน</TD><TD>หมวดนี้จะกล่าวถึง อัตตชีวประวัติของพระพุทธองคŒ และพระอรหันตสาวกและอรหันตสาวิกา </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๑๔) พุทธวงศ์</TD><TD>แสดงประวัติของอดีตพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์</TD></TR><TR><TD height=30 vAlign=top>๑๕) จริยาปิฎก</TD><TD>แสดงเรื่องราวการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของ ปรมัตถธรรม๑ ล้วนๆ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ดังนั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราว ของบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=406>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD> พระอภิธรรมปิฎก มีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง. วิ. ธา. ปุ. กะ. ยะ. ปะ. (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่</TD></TR><TR><TD height=514>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top width="100%"><TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>๑. คัมภีร์ธัมมสังคณี </TD></TR><TR><TD> ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มีทั้งหมด ๔ กัณฑ์ คือ</TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD width="33%"> ๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ </TD><TD width="67%">แสดงการจำแนกจิตและเจตสิก เป็นต้น</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD> ๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ </TD><TD>แสดงการจำแนกรูป เป็นต้น</TD></TR><TR><TD> ๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ </TD><TD>แสดงคำอ้างอิงว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้นอย่างนี้</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD> ๔) อัตถุทธารกัณฑ์ </TD><TD>แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของ ปรมัตถธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top><TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>๒. คัมภีร์วิภังค์ </TD></TR><TR><TD> ว่าด้วยการจำแนกมาติกาในคัมภีร์ธัมมสังคณี ทั้งติกมาติกา ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๑๐๐ หมวด โดยแบ่งเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น ขันธวิภังค์ จำแนกขันธ์, ๒ อายตนวิภังค์ จำแนกอายตนะ, ธาตุวิภังค์ จำแนกธาตุ, สัจจวิภังค์ จำแนกสัจจะ, อินทริยวิภังค์ จำแนกอินทรีย์, ปฏิจจสมุปบาทวิภังค์ จำแนกปฏิจจสมุปบาท, สติปัฏฐานวิภังค์ จำแนกสติปัฏฐาน เป็นต้น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top><TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>๓. คัมภีร์ธาตุกถา </TD></TR><TR><TD> ว่าด้วยคำอธิบายเรื่องขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ โดยนำมาติกาของคัมภีร์นี้จำนวน ๑๐๕ บท และมาติกาจาก คัมภีร์ธัมมสังคณีจำนวน ๒๖๖ บท (ติกมาติกา ๖๖ บท ใน ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๒๐๐ บท ใน ๑๐๐ หมวด) มาแสดงด้วยนัยต่างๆ (จำนวน ๑๔ นัย) เพื่อหาคำตอบว่าสภาวธรรมบทนั้นๆ สงเคราะห์เข้าได้กับ ขันธ์เท่าไร เข้าได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าได้กับธาตุเท่าไร เข้าไม่ได้ กับขันธ์เท่าไร เข้าไม่ได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าไม่ได้กับธาตุเท่าไร </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top><TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>๔. คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ </TD></TR><TR><TD> ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชี้แจง) ในเรื่อง ๖ เรื่อง คือ (๑) ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขันธ์ (๒) อายตน บัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ (๓) ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่องธาตุ (๔) สัจจบัญญัติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ (๕) อินทริยบัญญัติ การบัญญัติ เรื่องอินทรีย์ (๖) ปุคคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top> </TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top><TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>๕. คัมภีร์กถาวัตถุ </TD></TR><TR><TD> ว่าด้วยการโต้วาทะเพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลให้เห็นว่าวาทกถา (ความเห็น) ของฝ่ายปรวาที (พวกภิกษุในนิกายที่แตกไปจาก เถรวาท ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จำนวน ๒๒๖ กถา ล้วนผิด พลาดคลาดเคลื่อนจากพระพุทธพจน์ดั้งเดิมที่ภิกษุฝ่ายเถรวาทยึดถือ ปฏิบัติอยู่ วิธีการโต้วาทะใช้หลักตรรกศาสตร์ที่น่าสนใจมาก นับเป็น พุทธตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งมีในคัมภีร์นี้เท่านั้น </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top><TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>๖. คัมภีร์ยมก </TD></TR><TR><TD> ว่าด้วยการปุจฉา-วิสัชนา สภาวธรรม ๑๐ หมวด ด้วย วิธีการยมก คือการถาม-ตอบ เป็นคู่ๆ ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะ ของคัมภีร์ยมก สภาวธรรม ๑๐ หมวด ได้แก่ (๑) หมวดมูล (สภาวธรรมที่เป็น เหตุ) (๒) หมวดขันธ์ (๓) หมวดอายตนะ (๔) หมวดธาตุ (๕) หมวด สัจจะ (๖) หมวดสังขาร (๗) หมวดอนุสัย (๘) หมวดจิต (๙) หมวด สภาวธรรมในกุสลติกะ เรียกสั้นๆ ว่า หมวดธรรม (๑๐) หมวดอินทรีย์ สภาวธรรม ๑๐ หมวดนี้ทำให้แบ่งเนื้อหา ของคัมภีร์ยมกออกเป็น ๑๐ ยมก เรียกชื่อตามหมวดสภาวธรรม ที่เป็นเนื้อหา คือ (๑) มูลยมก (๒) ขันธยมก (๓) อายตนยมก (๔) ธาตุยมก (๕) สัจจยมก (๖) สังขาร ยมก (๗) อนุสยยมก (๘) จิตตยมก (๙) ธัมมยมก (๑๐) อินทริยยมก </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top><TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>๗. คัมภีร์ปัฏฐาน </TD></TR><TR><TD> ว่าด้วยการจำแนกสภาวธรรมแม่บท หรือ มาติกา ทั้ง ๒๖๖ บท (๑๒๒ หมวด) ในคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยอำนาจปัจจัย๒๔ ประการ ๓ มี เหตุปัจจัย เป็นต้น เพื่อให้เห็นว่าสภาวธรรมทั้งหลาย ปรากฏเกิดขึ้น ตามเหตุ ตามปัจจัยทั้งสิ้น มิได้เกิดจากการบงการของ ผู้ใด แต่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ที่เรียกว่า จิตตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#e9f8ea> สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่ สอนให้รู้จักธรรมชาติอันแท้จริง ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมาย อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คำว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่าธรรมอัน ประเสริฐ, ธรรมอันยิ่ง, ธรรมที่มีอยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรม ล้วนๆ โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงควร ทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ปรมัตถธรรม และ บัญญัติธรรม นั้น ต่างกันอย่างไร</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    ผมชอบใจตรงนี้ครับ
    ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นให้มองแต่ลูกปิงปอง
    การละสมมุตินี้คือกลมๆนี้เป็นสังเขต
    เหมือนกลมๆมีขอบเขต
    คือสังเขตธรรมหรือไม่

    แล้วเรารู้แต่เรื่องจิตภาพไม่สามารถสื่อใครได้
    ท่านจึงนำมาสมมุติเป็นสื่ออีก
    ด้วยการเขียนลงบนผนัง.....หนังสัตว์
    เป็นหนังสื่อ เหมือนหนังตะลุงที่เล่นเงาและแสง
    และเป็นหนังสือ หรือลายสือ ลายสื่อ

    ภาษาที่เอามาสื่อนี้แปลก

    กะลาผ่าครึ่งคว่ำกะโหลกหงายกะลา
    บาตร........ยกปากกะลามา.....สูงมาหน่อยคือบ่า.....บ่าหรือบาตร
    ภาพหยินหยางนี้มี ห.....ล......ต
    หากท่านเอาไปใส่ไว้ในกรอบสามเหลี่ยมที่ได้สมดุลย์พอดี
    ท่านจะเจออะไรอีกมากมาย ที่ทั้งสมดุลย์และไม่สมดุลย์ในมุมมอง
    หากไม่ดูอย่างว่างเปล่าจริงๆ
    ท่านจะเจอกะให้เป็นลามก ไม่ใช่กะลามา

    หาเอาเองไหมครับ
    เพราะปัจจัยที่เราเห็นไม่เหมือนกัน
    และภาพเจตีย์ที่เอามาเป็นภาพแรกนั้น
    หากท่านเอาไปไว้ในวงกลมท่านจะได้คำตอบเยอะแยะมาก
    ในวงกลมสามวงซ้อนกันอยู่
    แต่อย่าลืมนะครับ
    กงจักรไม่ใช่ดอกบัว

    เอาดอกบัวก่อนไหมครับ
    หากท่านไม่เจอบัวสี่เหล่าในภาพนี้แสดงว่ายังไม่แม่น
    มีทั้งกอบัว
    เต่า
    ปลา
    และบัวที่พ้นน้ำ
    ในสามเหลี่ยมด้านเท่าที่อยู่ในวงกลมนี้
    โดยภาษาบาลี
    แต่หากหาไม่เจอใช้ตัวหนังสือไทยก็เจอแต่ไม่หมด
    และมีอีกภาษาหนึ่งผมไม่ได้ชี้ให้แตกแยกนะครับของเขามีมานานแล้วคือ
    ตั๋วเมือง หรือตัวหนังสือเมืองที่เขาใช้กันอยู่

    ผมอ้างอิงได้ว่าคำว่า.....กัม กับ...ธัม......นั้นเขียนกลับหัวกับฐานกันอยู่
    หากท่านใช้หางมะเป็นสระกำกับ

    เสร็จแล้วภาพของความสมมุติทั้งหมดที่ท่านเขียนอยู่จะไปปรากฎเป็นเจตีย์
    หรือเจดีย์ดังทีท่านเคยแสดงไว้
    ในวงกลมและสามเหลี่ยมด้านเท่าที่อยู่ในวงกลมนั้น
    พยัญชนะทั้งหลายแหล่คงอยู่ในวงกลมสามวง สี่วงนี้แน่นอน

    แล้วยังมีคำผสม
    ยังมีบรรทัด
    ยังมีฐาน

    หากได้เรื่องนี้ทั้งหมดอิติต้องปิโสครับ
    จะไปเป็นอื่นไปไม่ได้
    เพราะมีการยุบขึ้นการขยายตัว
    การแตกออกด้านข้าง
    ภาษาจีนเขียนบนลงล่าง
    ภาษาแขกเขียนซ้ายไปขวา
    คนไทยเขียนหน้ามาหลัง

    ยากครับ
    สุดท้ายบนยอดเจดีย์ที่ท่านสมมุติเนวสัญญาในอรูป
    หากสมมติให้มีรูปอยู่บนยอดเจดีย์คือลูกแก้วใสที่ส่องสว่าง
    หรือความว่างเปล่าในความเป็นจริงเท่านั้น

    แต่ยาวได้แปดหมื่นสี่หรือมากกว่านั้นคงเป็นมองต่างมุมหรือมีปัจจัยในการมองไม่เหมือนกันอีกหรือไม่
    เพราะทางดับทุกข์คงไม่ใช่หนทางเกิดทุกข์แน่นอน
    หากท่านเป็นบ้านำไปคิดว่าตรงนั้น
    มาทางนี้ตรงนี้อยู่ที่นั้น และจะต้องเป็นดังนั้นโดยหาต้นชนเหตุไม่ได้
    รัศมีจะยาวมากๆ เส้นรอบวงไม่ต้องพูดถึง
    นิ้วยาวสาวไปไม่ถึงครับ ตายเมื่อไรได้คำตอบเมื่อนั้นว่าถึงหรือไม่ถึงไหน

    ผมว่าเอาสติสมาธิปัญญาก่อน
    แล้วท่านจะเจอบัวสี่เหล่า
    คือกอบัวเต่าปลาและฤษีขี่เต่าพระเจ้าขี่ช้างขี่กันอยู่
    เอาอย่างพราห์มไหมครับ
    คือสุดท้ายบนสุดของผ้ายันต์คือพระนารายณ์ทรงครุฑถือปี่

    เข้าใจเอาเอง.......หากท่านสมมุติอย่างผมสมมุติ
    หาให้ตาย และยังมีนิครนอีกนะครับที่ไม่เข้าใจ

    หากเพื่อนท่านใดมีมุมมองเหมือนผมไปเจออะไรเข้า
    ลองเปรียบเทียบกันและหาข้อแตกแยกสงสัย
    คงเป็นประโยชน์มากกับเองนี้
    หากหาข้อสรุปได้

    ยาวแล้วครับกราบขอบพระคุณครับ
    และขอท่านเจริญในธรรมยิ่งครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2012
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>ปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่ดำรง ลักษณะเฉพาะของตนไว้โดยไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธ ความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="60%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3> ปรมัตถธรรม มี ๔ ประการ คือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="60%"><TBODY><TR><TD width="32%" align=right>๑.</TD><TD width="68%">จิต</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๒.</TD><TD>เจตสิก </TD></TR><TR><TD align=right>๓.</TD><TD>รูป </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๔.</TD><TD>นิพพาน</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> จิต คือธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น, ได้ยิน, รับกลิ่น, รับรส, รู้สัมผัส ถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติที่ทำให้เกิดการคิด นึก สภาวะของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ อย่าง (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สิ่งต่าง ๆ และเรื่องราวต่างๆ ที่จิตไปรับรู้)</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ และ มนายตนะ เป็นต้น</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความ รู้สึก นึก คิด ที่แตกต่างกัน ทั้งทางที่ดีและไม่ดี มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ เจตสิกเป็นนามธรรม ที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต สภาพของจิต เป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์ แต่การที่จิตโกรธ หรือจิตโลภ เป็นเพราะ มีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่ง ให้เกิดความโกรธ หรือความโลภนั่นเอง จิต เปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยา ที่อยู่ในเม็ดยา จิตเกิดโดย ไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกเกิด โดยไม่มีจิตก็ไม่ได้เช่นกัน</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> เนื่องจาก จิต และ เจตสิก เป็นสิ่งที่ต้องเกิดร่วมกันตลอดเวลา ดังนั้น การอธิบายบางแห่งในหนังสือเล่มนี้ จึงเขียนว่า " จิต + เจตสิก " เพื่อให้ระลึก ไว้อยู่เสมอว่าจิตและเจตสิกนั้น เป็นธรรมชาติที่ต้องเกิดร่วมกัน ต้องอิง อาศัยซึ่งกันและกัน และไม่สามารถแยกออกจากกันได้</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> รูป คือ ธรรมชาติที่แตกดับ ย่อยยับ สลายไปด้วยความเย็นและ ความร้อน ในร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีรูปประชุมกันอยู่ ทั้งหมด ๒๘ ชนิด และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้ แต่ละรูปต่างก็แตกดับย่อยยับ สลายไปตลอดเวลา หาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้เลย</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3> นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัด พ้นจากการ เวียนว่ายตายเกิด นิพพานโดยปริยายมี ๒ ลักษณะ คือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#f6f6f6>
    <TABLE border=0 cellSpacing=10 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ ๕ หมายถึง การที่ประหาณกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ ๕ ยังมีการเกิดดับสืบต่ออยู่ (ยังมีชีวิตอยู่)</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ปราศจากขันธ์ ๕ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ (ผู้หมดจดจากกิเลส) และสิ้นชีวิตไปแล้ว (คือ กิเลสก็ไม่เหลือ ขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ) หรือที่เรียกว่า ปรินิพพาน (ปริ = ทั้งหมด) เมื่อ ปรินิพพานแล้ว จิต+เจตสิก และรูปจะหยุดการสืบต่อ และดับลงโดยสิ้นเชิง (คือเมื่อปรินิพพานไปแล้ว ก็จะไม่มีการเกิดอีก หรือไม่มีภพชาติต่อไปอีก)</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าถึง ให้จงได้จึงจะได้ชื่อว่า เป็นพุทธสาวก เป็น อริยบุคคล และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรม ในพุทธศาสนานี้</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    จิตหรือเจตสิก
    คือจิตลาสิกขา
    จิตละศึกษา

    ปริคือ บริ.........ในภาษาไทยหรือไม่
    หากเรามีเจตนาที่ดี
    หรือสร้างเจตีย์เจดีย์แล้ว
    แม้ความดีที่กลับมาเป็นดาบเสียบหลังเป็นเหมือนขนเม่น
    หรือเจอฤทธิมีดสั้น
    เราคงต้องยอมรับกัมที่เราสร้างใช่หรือไม่

    หากมีจิตและเจตนาที่ดีแล้ว
    เหมือนการก่อเจตนาดีหรือเจดีย์
    ทำไมต้องก่อเจดีย์ไว้ให้เขางุนงง....สงสัย.....ศึกษา
    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้ว
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอโทษนะไม่รู้ว่าถามหรือพร่ำอะไรอยู่
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>บัญญัติธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เพื่อสื่อสารให้เข้าใจความหมายซึ่งกันและกัน เช่น ชื่อ นายมี นางมา สีเขียว สีแดง ทิศเหนือ ทิศใต้ วันจันทร์ วันอังคาร เดือน ๘ เดือน ๑๐ ปีชวด ปีฉลู เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น. พลเอก อธิบดี รัฐมนตรี เหรียญ ๕๐ สตางค์ ธนบัตร ๑๐๐ บาท ระยะทาง ๑ กิโลเมตร น้ำหนัก ๑ กิโลกรัม เนื้อที่ ๑ ไร่ ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า บัญญัติธรรม</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หนังสือ ปากกา นาฬิกา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ แก้วน้ำ ช้อน ชาม พัดลม วิทยุ เกวียน เรือ รถยนต์ คน และสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ก็จัดเป็นบัญญัติธรรม เช่นกัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD> หากไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกนี้ ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นว่า เป็นนั่นเป็นนี่ มีชื่อเรียกอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นเช่นกัน แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ พื้นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ ก็เป็นเพียงธรรมชาติ ที่ปราศจากความหมาย ปราศจากชื่อ คือเป็นแต่เพียงสภาวะ ที่เกิดจากการประชุมกัน ของมหาภูตรูปทั้ง ๔๔ อันเป็นรูปธรรม (รูป) ที่ปราศจากนามธรรม (จิต+เจตสิก) ซึ่งเป็นสภาวะปรมัตถ์ (ปรมัตถธรรม) ที่พ้นจากสมมุติบัญญัติ โดยสิ้นเชิง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ส่วนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้น หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้ว ถือว่าไม่มีตัวตน ไม่มี นายมี ไม่มี นางมา มีแต่รูปธรรม (รูป) และนามธรรม (จิต+เจตสิก) มาประชุมกันเท่านั้น</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ดังนั้น ไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่น ซึ่งรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรม หรือธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว จะมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วนเท่านั้น คือ</TD></TR><TR><TD height=150>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="84%" bgColor=#ffffff><TBODY><TR><TD vAlign=top width="19%">๑. จิต</TD><TD width="81%">คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๒. เจตสิก</TD><TD>คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี ๕๒ ลักษณะ </TD></TR><TR><TD vAlign=top>๓. รูป</TD><TD>คือ องค์ประกอบ ๒๘ ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>จะเห็นได้ว่า คนเราทุกคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีส่วนประกอบเหมือนกันคือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff> เราก็มี จิต เจตสิก รูป เขาก็มี จิต เจตสิก รูป สัตว์ทั้งหลายก็มี จิต เจตสิก รูป</TD></TR><TR><TD>จะมีความแตกต่างกัน ก็ตรงที่รูปร่าง หน้าตาผิวพรรณ ซึ่งถูกจำแนกให้ แตกต่างกันด้วย อำนาจของกรรม ที่กระทำไว้ในอดีต</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>จิต + เจตสิก และรูป มีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการคือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="93%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="29%">๑. อนิจจลักษณะ </TD><TD width="71%">คือมีลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๒. ทุกขลักษณะ </TD><TD>คือมีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดขึ้นแล้ว ต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา</TD></TR><TR><TD vAlign=top>๓. อนัตตลักษณะ </TD><TD>คือมีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ เรียกว่า ไตรลักษณ์</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> โดยสรุปแล้ว จิต + เจตสิก และรูป ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคล หรือเป็นสัตว์ใดๆ ก็ตามนั้น แท้จริงแล้ว ไม่ได้มีแก่นสารอะไรเลย เป็นเพียงการ ประชุมกันของส่วนประกอบ ที่มีความไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับสืบต่อกันอย่าง รวดเร็ว (ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเกิดดับ แสนโกฏิขณะ หรือหนึ่งล้านล้านครั้ง) เป็นสภาพที่หาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของผู้ใด ว่างเปล่าจากความเป็นคนนั้นคนนี้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ว่างเปล่าจากความเป็นนั่น เป็นนี่ตามที่สมมุติกันขึ้นมา แต่เป็นสภาวธรรม อันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ขึ้นกับเหตุ ขึ้นกับปัจจัย พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ปรมัตถธรรมเหล่านี้ ก็คงมีอยู่ตามธรรมชาติ พระพุทธองค์ เป็นแต่เพียงผู้ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผย ให้เราทั้งหลายได้ทราบเท่านั้น </TD></TR><TR><TD> (หากต้องการทราบ เนื้อหาอันลึกซึ้งของปรมัตถธรรม ทั้ง ๔ ก็ต้องศึกษาพระอภิธรรม โดยละเอียดต่อไป)</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211

    สร้างเจตนาดีย์อยู่ครับ
     
  20. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,800
    :':)':)'( เราอโหสิกรรม
    เสียใจอย่างสุดซึ้งที่ได้เคยล่วงเกินท่านมา(ทุกภพชาติใดใด ขออโหสิกรรม) ขอโมทนาสาธุ ทุกบุญกุศลธรรมที่ท่านแสดงมา ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...