ได้ อานาปานสติ ขั้น 4 แล้วครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Sir-Pai, 25 กรกฎาคม 2012.

  1. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    คือการที่กำหนดลมหายใจเข้า-ออก โดยที่จับลมหารใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไปครับ

    อยากทราบว่าถ้าฝึกอานาปานสติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆดีอย่างไรครับ ??

    แล้วเป็นการกรรมฐานหรือวิปัสนาอย่างนึงป่าว

    ขอบคุณครับผม :cool:
     
  2. Pra_THoNG

    Pra_THoNG เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +739
    ผมก็เคยครับ แต่ของผม มีปิติ น้ำตาไหลด้วย
    น่าจะเป็น อุปจารสมาธิ ครับ รอผู้รู้ ตอบอีกทีครับ
     
  3. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    แท้จริงแล้วลมหายใจไม่ได้หายไปไหน หากสังเกตุดี ๆ ด้วยจิตที่ตั่งมั่นจริง ย่อมเห็นครับ หาจุดกระทบสัมผัสให้เจอ

    อานาปานสติ คือหนึ่งใน พระกรรมฐาน ทั้ง 40 กองครับ ประโยชน์คงไม่ต้องถามว่าดีอย่างไร เพราะองค์พระสัมมาท่านตรัสรู้ได้เพราะสิ่งนี้ เป็นกรรมฐานกองแรกที่ท่านแนะ

    วิปัสสนา และ สมถะ ทั้งสองอย่างนี้ จะมีบทบาทในการต่อยอดเข้าสู่มรรคผลครับ

    หากต้องการทราบอย่างละเอียด รอผู้ที่ปฏิบัติดีชอบหลายท่าน มาแนะทางให้ครับ

    หากผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยครับ
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ช่วยเล่าปฏิกริยาที่เกิดขึ้นกับจิตและร่างกายและนิมิตรที่เกิดให้ฟังเพิ่่มเติมหน่อยได้ไหมครับ
     
  5. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    อานาปานสติขั้นสี่คืออะไร?

    จตุตถญานหรือครับ?

    พิจารณาตัวเองให้ดีๆ เพราะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังไม่เคยบรรลุจตุตถญานโดยมีอานาปานสติเป็นฐานเลย จนกระทั่งวันตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ------------------------------------
    จับลมหายใจไม่ได้เพราะอะไร ลมหายใจดับหรือสติไม่ถึงกันแน่

    กรรมฐาน นี้หาเป็นอย่างกรรมฐานอื่น ๆ ซึ่งปรากฏชัดยิ่ง ๆ ขึ้นไป ส่วนกรรมฐานนี้เมื่อเจริญยิ่งสูง ๆ ขึ้นไป ก็ถึงเพียงความละเอียด แต่ไม่ถึงความปรากฏ แต่เมื่อกรรมฐานนั้นไม่ปรากฏอย่างนั้น ภิกษุนั้นก็พึงอย่าลุกจากที่นั่งสลัดท่อนหนังไปเสีย ถามว่า พึงทำอย่างไร? แก้ว่า อย่าลุกไปด้วยคิดว่าเราจักถามท่านอาจารย์หรือด้วยเข้าใจว่า บัดนี้กรรมฐานของเราเสื่อมเสียแล้ว เพราะเมื่อทำอิริยาบถให้กำเริบไป กรรมฐานก็จะกลายเป็นของใหม่ๆไปเท่านั้น เพราะเหตุนั้น เธอนั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละพึงนำ (ลม) มาจากถิ่นที่เกิด

    ในข้อนั้นมีอุบายเครื่องนำ (ลมคืน) ดังต่อไปนี้ ภิกษุนั้นรู้ภาวะคือความไม่ปรากฏ แห่งพระกรรมฐานแล้ว พึงพิจารณาดูดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าลมหายใจออกเข้านี้มีอยู่ที่ไหน ไม่มีที่ไหน มีแก่ใคร หรือไม่มีแก่ใคร? ครั้นเมื่อเธอพิจารณาอย่างนั้นก็จะทราบได้ว่า ลมหายใจออกเข้านี้ไม่มีอยู่แก่สัตว์ที่อยู่ในท้องของมารดา ๑ ไม่มีแก่พวกคนที่ดำลงในน้ำ ๑ ไม่มีแก่คนตาย ๑ ไม่มีแก่ผู้เข้าจตุตถฌาน ๑ ไม่มีแ่ผู้ประกอบด้วยรูปภพและอรูปภพ(พรหม) ๑ ไม่มีแก่ผู้เข้านิโรธ ๑ ฉะนี้แล้ว พึงตักเตือนตนด้วยตนเองดังนี้ว่า นี่แน่ะ พ่อบัณฑิต ตัวเจ้ามิใช่ผู้อยู่ในท้องมารดา มิใช่ผู้ดำลงในน้ำ มิใช่ผู้ที่ตายแล้ว มิใช่ผู้เข้าจตุตถฌาน มิใช่ผู้ประกอบด้วยรูปภพอรูปภพ มิใช่ผู้เข้านิโรธ มิใช่หรือ ลมหายใจออกเข้าของเจ้ามีอยู่แท้


    แต่เจ้าไม่อาจกำหนดได้เพราะภาวะที่เจ้ามีปัญญาอ่อน ลำดับนั้นเธอพึงวางจิตไว้ตามที่ลมกระทบโดยปกติ ยังมนสิการให้เป็นไป ก็ลมหายใจออกเข้าเหล่านี้ สำหรับคนจมูกยาวกระทบกระพุ้งจมูกเป็นไป สำหรับคนจมูกสั้นกระทบริมฝีปากบนเป็นไป เพราะฉะนั้นเธอพึงตั้งนิมิตไว้ว่าลมกระทบที่ตรงนี้ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลจึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติภาวนาแก่คนที่หลงลืมสติไม่มีสัมปชัญญะ

    จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมสำเร็จแก่คนผู้มีสติสัมปชัญญะเท่านั้นก็จริง แต่ว่ากรรมฐานอื่นจากนี้ เมื่อภิกษุมนสิการไป ๆ ย่อมปรากฏ(ชัดขึ้น) ส่วนอานาปานสติกัมมัฏฐานนี้หนัก(เพราะยิ่งละเอียด ยิ่งสัมผัสยาก) การภาวนาก็หนัก เป็นภูมิแห่งมนสิการแห่งพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและพระพุทธบุตรทั้งหลาย ผู้เป็นมหาบุรุษเท่านั้น ไม่ใช่การนิดหน่อยและไม่ใช่การที่สัตว์เล็กน้อยจะสร้องเสพได้ มนสิการไปด้วยประการใด ๆ ก็ย่อมสงบและสุขุมไปด้วยประการนั้น ๆ เพราะเหตุนั้นในกรรมฐานข้อนี้จำต้องปรารถนาสติและปัญญาอันกล้าแข็ง เหมือนในเวลา ชุนผ้าเนื้อเกลี้ยง แม้เข็มก็ต้องใช้เข็มเล็ก ยิ่งด้ายร้อยห่วงเข็มยิ่งต้องใช้เล็กกว่านั้น ฉันใดในเวลาเจริญกรรมฐานนี้อันเป็นเช่นผ้าเนื้อเกลี้ยง ก็จำต้องปรารถนาทั้งสติที่เปรียบด้วยเข็ม ทั้งปัญญาอันสัมปยุตด้วยสติเปรียบด้วยด้ายร้อยห่วงเข็มอันกล้าแข็ง ฉันนั้นเหมือนกัน (วิสุทธิมรรค)

    ผลของอานาปานสติ

    อานาปานสติสมาธิแม้นี้แล อันพระโยคีเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมสงบประณีตเยือกเย็นและเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบระงับไปโดยพลัน ดังนี้ แล้วทรงแสดงไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิอันพระโยคีอบรมแล้วอย่างไร ? ทำให้มากแล้วอย่างไร ? จึงเป็นธรรมสงบประณีตเยือกเย็นและเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบระงับโดยพลัน (วิสุทธิมรรค)

    ----------------------------------------

    ป.ล. อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กรกฎาคม 2012
  6. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    เนื่องจากซ้องวิ่งเพื่อเตรียมสอบ ใจจะคิดตลอดเวลาว่าอีกไกลๆๆๆ

    เลยเอาธรรมะเข้าช่วย เลยนั่งสมาธิมาหลายเดือน

    อารมณ์คือหายใจ เข้า-พุทธ ออก-โท แล้วพอสตินิ่งแล้วพุทธและโทที่หมั่นภาวนาในใจหายไป ไม่นึกคิดอะไรเลย ประมาณนี้ครับที่ผมอธิบายได้

    ขอบคุณทุกๆท่านนะครับ ที่สอนสั่ง ขอบคุณฮะ
     
  7. เฉยฉิบ

    เฉยฉิบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +251
    เรามีหน้าที่ทำ เมื่อได้แล้ว ก็รักษาเอาไว้ให้ได้ อย่าหลงคิดเป็นอย่างอื่น เช่น ดีแล้ว เก่งแล้ว เอาจิตอยู่กับลมหายใจ ให้แนบแน่น และตลอดเวลา เมื่อจิตตามดูลมหายใจได้ทั้งวัน ทุกอิริยาบท ได้ซักระยะหนึ่งแล้ว เดี๋ยวพระท่านจะสงเคราะห์เองจ๊ะ สำคัญต้องได้ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับและตื่นจ๊ะ
     
  8. aiiiim

    aiiiim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +197
    ทำดีแล้วค่ะ แค่มีความพยายามทำ ก็ดีมากแล้วค่ะ
    ขอให้พยายามต่อไปนะค่ะ เป็นกำลังใจให้นะค่ะ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...